หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

แถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและบริหารราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการ ในภูมิภาค

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 



-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่


 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 135/2559
แถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและบริหารราชการ
ของกระทรวงศึกษาธิการ ในภูมิภาค


ศึกษาธิการ – เมื่อวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559 พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, นายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, นายอกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมแถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
 
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เหตุผลของการใช้มาตรา 44 ในการออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค เพื่อแสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคนั้นมีความจำเป็นเร่งด่วน และส่งผลต่อการขับเคลื่อนการศึกษา ซึ่งโครงสร้างเดิมที่ดำเนินการอยู่ก็สามารถดำเนินการได้แต่ไม่ทันเวลา

  1. เหตุผลความจำเป็น
 
 กระทรวงศึกษาธิการมีเหตุผลและความจำเป็น 4 ประการ ที่ทำให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ในกรณีนี้ คือ

1.การบูรณาการงานระดับพื้นที่
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงสร้างการบริหารจัดการแบบเดิมของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคนั้น จะพบว่ามีปัญหาเรื่องการบูรณาการในการดำเนินงานของระดับพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระดับต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนในระดับเดียวกัน ภายในจังหวัดเดียวกันก็ยังไม่เชื่อมโยง อีกทั้งโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.), โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จะหลุดวงโคจรจากการบริหารจัดการโดยสิ้นเชิง เนื่องจากต่างคนต่างบริหารจัดการ แม้ว่าทุกหน่วยงานจะได้รับแนวทางและนโยบายจากกระทรวงศึกษาไปดำเนินการ แต่เมื่อถึงเวลาดำเนินการจริงจะไม่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ในเขตพื้นที่การศึกษาของจังหวัดหนึ่ง อาจจะมีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเขตก็จะไม่ได้หารือกัน ทำให้ยากต่อการบูรณาการระดับพื้นที่
 
 ในส่วนของโครงสร้างการบริหารจัดการกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคแบบใหม่ตามคำสั่ง คสช. นั้น จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค โดยมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานและมีผู้บริหารองค์กรหลักเป็นกรรมการ ซึ่งจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในส่วนภูมิภาค ด้วยการบริหารจัดการตรงไปที่สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ที่ 1-18 กล่าวคือ จะทำการแต่งตั้งศึกษาธิการภาคขึ้นมา 18 คน และจะมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รวมทั้งสิ้น 77 จังหวัด เพื่อดูแลการศึกษาทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาปฐมวัย, สถานศึกษา กศน., สถานศึกษาอาชีวศึกษา, สถานศึกษาการศึกษาพิเศษ, สถานศึกษาเอกชน เป็นต้น รวมทั้งโรงเรียนในสังกัด อปท., กทม., ตชด. ด้วย ทำให้ขับเคลื่อนนโยบายในการบริหารงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างเป็นเอกภาพ ในขณะที่โครงสร้างแบบเดิมดำเนินการในส่วนนี้ได้ยาก 
 1.2 ช่วงการบังคับบัญชากว้าง
 อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดปรับโครงสร้าง คือ การที่มีช่วงการบังคับบัญชากว้าง กล่าวคือ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องกำกับดูแลผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด 225 คน เทียบอัตราส่วน 1 ต่อ 225  ส่วนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาก็มีภาระหนักขึ้น เนื่องจากมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนรวมกันถึง 886 แห่ง ซึ่งโครงสร้างใหม่จะทำให้สัดส่วนในการกำกับดูแลน้อยลง ด้วยการที่ รมว.ศึกษาธิการ กำกับดูแลสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง จากนั้นสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง จะกำกับดูแลสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 77 จังหวัด ต่างจากแบบเดิมที่คุมคนเยอะ ทำให้ดูแลกันไม่ทั่วถึง
 
 
1.
3 เพิ่มความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการศึกษา
นอกจากนี้ การดำเนินงานตามโครงสร้างแบบเดิมพบว่า ทั้ง สพฐ.และ สำนักงาน ก.ค.ศ. ต่างคนต่างดำเนินการไม่บูรณาการซึ่งกันและกัน โดย สพฐ. ทำหน้าที่ดูแลศึกษานิเทศก์ และคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (กพท.) ส่วน สำนักงาน ก.ค.ศ.จะกำกับดูแล อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ที่มีอำนาจดูแลเรื่องการบริหารงานบุคคล โครงสร้างแบบใหม่จะยุบ กพท. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ แต่ สพฐ. จะยังคงทำหน้าที่ประเมินผลและนิเทศเช่นเดิม ตลอดจนเรื่องการจัดสรรงบประมาณและงานบริหารทั่วไป ส่วนการบริหารงานวิชาการจะเข้าบอร์ดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่ดูในภาพรวม ดังนั้น ทั้ง 2 ส่วนงานที่ถูกยุบไปไม่ได้หายไปไหน แต่ย้ายไปอยู่บอร์ดใหญ่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
 
1.4 ความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล
 ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการพบปัญหาเรื่องความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล 4 ประการ ได้แก่ การเกลี่ยครูหรือเปลี่ยนครูข้ามเขต, การบรรจุครูใหม่ในแต่ละเขต, การคัดเลือกผู้อำนวยการโรงเรียน และการดำเนินการทางวินัย ปัญหาดังกล่าวที่ดำเนินการโดยโครงสร้างเดิมนั้นไม่ทันต่อเวลา
 จึงได้ปรับโครงสร้างใหม่ที่จะทำในรูปแบบของจังหวัด ซึ่งจะพิจารณาได้ในขอบข่ายที่กว้างขึ้น เช่น การเปลี่ยนครูในโรงเรียนที่ขาดก็จะทำได้ดีขึ้น การบรรจุครูใหม่ก็เช่นเดียวกัน ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนก็มีตัวเลือกที่จะสามารถหมุนเวียนได้มากกว่าเดิม ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น
 

  2. การใช้อำนาจของ รมว.ศึกษาธิการ
ในการแต่งตั้งคณะกรรมการ


การแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
 
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การคัดเลือกผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 2 คน, การคัดเลือกผู้แทนข้าราชการครูในท้องถิ่น จำนวน 2 คน และการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 3 คน เพื่อเป็นกรรมการนั้น ในทางปฏิบัติจะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธาน กศจ. เป็นผู้เสนอชื่อเข้ามา เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดจะรู้จักพื้นที่ดีกว่า รมว.ศึกษาธิการ
 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการแต่งตั้งศึกษาธิการภาคและรองศึกษาธิการภาค ว่าเพื่อทำให้เกิดการดำเนินการที่มีความคล่องตัว เนื่องจากศึกษาธิการภาคจะเป็นผู้กำกับดูแลศึกษาธิการจังหวัด ด้วยการเข้าไปติดตามว่าศึกษาธิการจังหวัดได้ดำเนินการไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมากน้อยเพียงใด โดยศึกษาธิการภาคจะใช้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ คือ ผู้ตรวจราชการ และจะมีการมอบหมายผู้บริหารระดับต้นบางท่านไปทำหน้าที่ศึกษาธิการภาคไปพราง ๆ ก่อน เพราะมีผู้ตรวจราชการไม่ครบ 18 คน หลังจากนี้ ศึกษาธิการภาคจะเข้าไปเป็นรองประธาน กศจ.ของแต่ละจังหวัด สูงสุดได้ไม่เกิน 5 จังหวัด อีกทั้งจะทำหน้าที่ประสานงานกับจังหวัด เพื่อให้เกิดการประสานงานแบบบูรณาการได้มากขึ้น ทั้งนี้ ศึกษาธิการจังหวัดจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ กศจ. พร้อมทั้งรายงานต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยตรง
 สำหรับศึกษาธิการภาคเดิม จะปรับเป็นศึกษาธิการภาคใหม่ ส่วนภาคที่ยังไม่มีสำนักงานศึกษาธิการภาค ก็จะใช้สำนักงานของสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา (สพม.) ในจังหวัดนั้น ๆ เป็นสำนักงานศึกษาธิการภาค ในทางกลับกันทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั้ง 225 เขตพื้นที่ ก็ยังคงทำหน้าที่เช่นเดิม ไม่ได้ยุบเขตพื้นที่ ยังอยู่ครบทั้งหมด โดยกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ไปดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการกระทบต่อสิทธิ์ของข้าราชการ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงการยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาด้วยว่า ได้โอนอำนาจไปให้ กศจ.แล้ว แต่สำนักงาน ก.ค.ศ. ยังคงอยู่ ส่วนการพิจารณาในเรื่องอื่น ๆ เช่น การสอบครูผู้ช่วย ต้องรอให้แต่งตั้ง กศจ. ขึ้นมาก่อนจึงจะดำเนินการต่อไปได้ และในระหว่างที่ไม่มีศึกษาธิการจังหวัด ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ทำหน้าที่ดังกล่าว โดย สพป.เขต 1 จะสวมหมวก 3 ใบ คือ หน้าที่เดิม, เป็นศึกษาธิการจังหวัด และเป็นเลขา กศจ.
เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า สำนักงาน ก.ค.ศ. ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ ส่วนในเรื่องของความเชื่อมโยงเรื่องการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานทางวินัยนั้น หาก กศจ. ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งตรงมายังสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้เลย สำหรับเรื่องการจัดสรรงบประมาณจะกันงบประมาณไว้สำหรับจังหวัดนั้น ๆ และจะดูสัดส่วนอีกครั้งหนึ่ง

  3. การใช้อำนาจของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
     ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
 
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในทางปฏิบัติจะใช้อำนาจเหล่านี้เมื่อจำเป็น และจะใช้เมื่อมีปัญหาเร่งด่วน อาทิเช่น กรณีการสอบสวนเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใช้เวลาดำเนินการสอบประมาณ 2-3 ปี แต่ก็ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จก็ต้องใช้อำนาจที่มีดำเนินการ มิเช่นนั้นการกระทำดังกล่าวจะเป็นตัวอย่างที่ส่งผลให้เกิดการกระทำผิดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่นอนว่าการใช้อำนาจใด ๆ ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ก่อน ไม่ใช่ว่ารัฐมนตรีจะมาแต่งตั้งหรือโยกย้ายใครก็ได้
 

  4. แผนการดำเนินงาน
 

 กระทรวงศึกษาธิการมีแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ดังนี้ 

4.1 ดำเนินการประชุมชี้แจงผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ  ภายหลังแถลงข่าวครั้งนี้ โดยเฉพาะ ผอ.สพป.เขต 1 ที่จะทำหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด
 4.2 ประสานงานและซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด  ถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) และการทำงานร่วมกับสำนักงาน กคศ. ผ่านช่องทาง VTC ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะเชิญกรรมการโดยตำแหน่งเข้าร่วมรับฟังพร้อมกัน
4.3 จัดทำเอกสารมอบให้ผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้
4.4 ขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ โดยกำหนดเป็น KPIs ประเมินผลงานของศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา ส่วนในระดับจังหวัดก็จะมี KPIs ซึ่งจะมีแนวทางการดำเนินงานให้ เพราะแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น

 5. ภารกิจขับเคลื่อนเร่งด่วน
ตามประเด็นปฏิรูปการศึกษา
 
 กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจเร่งด่วนในการปฏิรูปการศึกษา อาทิ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, คืนครูสู่ห้องเรียน, การผลิตและพัฒนาครู, การจัดการเรียนการสอน STEM ในสถานศึกษา, ยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ, การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน, ทวิภาคีหรือทวิศึกษา,อาชีวศึกษาเป็นเลิศ, มหาวิทยาลัยอุดมศึกษาพี่เลี้ยง, โครงการประชารัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารในสถานศึกษา โดยการเข้าสู่ตำแหน่งของผู้อำนวยการสถานศึกษา
 
 ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำ และเชื่อว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็วมากขึ้น

โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเพิ่มเติม
 สื่อมวลชน : จะใช้แนวทางการบริหารรูปแบบนี้ไปจนถึงเมื่อไร และหลังจากนี้หากไม่ใช้แนวทางนี้จะมีแนวทางใดมาทดแทน
 รมว.ศึกษาธิการ :  เบื้องต้นจะใช้แนวทางนี้ในช่วงรัฐบาลปัจจุบันก่อน ยังตอบไม่ได้ 100% ว่าจะใช้แนวทางนี้ไปนานเท่าไร แต่เป็นช่วงเร่งด่วนที่ต้องปฏิรูปทำให้ต้องดำเนินการแบบเร่งด่วนก่อน จึงต้องใช้มาตรา 44 ไม่เช่นนั้นจะไม่ทันเวลา เพราะมาตรา 44 ไม่ได้ใช้กับทุกอย่าง ถ้ารอเป็นกฎหมายได้ก็รอได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไม่ง่าย เนื่องจากต้องอธิบายและหารือถึงเหตุผลในการปรับโครงสร้าง และโครงสร้างใหม่นี้จะมีส่วนในการนำไปใช้พิจารณาปรับโครงสร้างใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการด้วย โดยจะเห็นได้ว่าใน 2 คำสั่งของ คสช.นี้ ยังไม่ได้ปรับโครงสร้างในส่วนกลาง
 สื่อมวลชน : เหตุผลหนึ่งที่มีการใช้คำสั่งดังกล่าว มาจากการที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ มีการแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรมหรือไม่
 รมว.ศึกษาธิการ :  ใน 225 เขตพื้นที่นั้น ส่วนที่ดีก็มี ส่วนที่ไม่ดีก็มี ซึ่งไม่ปฏิเสธ ยกตัวอย่างเช่น อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ มีอำนาจพิจารณาเรื่องวินัย ซึ่งในขณะนี้มีเรื่องค้างอยู่ 104 เรื่อง ในจำนวน 71 เขตพื้นที่ และเรื่องที่ค้างอยู่ใช้เวลาพิจารณานานเป็นปี และการที่ไม่ลงโทษคนผิดภายในเวลาที่เหมาะสมจะกลายเป็นการลงโทษคนดีที่เฝ้ามองอยู่ นี่คือปัญหาหนึ่งซึ่งส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ
 สื่อมวลชน : กศจ. มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายได้ทันที หรือว่าต้องส่งเรื่องมาที่ส่วนกลาง
 รมว.ศึกษาธิการ : โครงสร้างใหม่อำนาจดังกล่าวจะไปจบที่ กศจ. ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
 สื่อมวลชน : กรณีข้อห่วงใยที่ว่า หากผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ได้มีความสนใจด้านการศึกษา จะส่งผลกระทบต่อการบริหารงานหรือไม่
 รมว.ศึกษาธิการ :  ไม่ต้องห่วง ขอยืนยันผู้ว่าราชการจังหวัดเก่งทุกคน และมีความสนใจด้านการศึกษาแน่นอน นาทีนี้ไม่มีใครไม่สนใจเรื่องการศึกษา จึงมีความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งจะทำในรูปแบบของกรรมการที่มีผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการร่วมด้วย ไม่ได้ดำเนินการโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเพียงผู้เดียว
สื่อมวลชน : รูปแบบดังกล่าวเป็นการถอยหลังเข้าคลองหรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : กรณีโครงสร้างเดิมที่ใช้หลักการกระจายอำนาจ หลังจากการกระจายอำนาจผ่านไป พบว่ากระทรวงศึกษาธิการมีปัญหา ไม่ได้บอกว่ากระจายอำนาจดีหรือไม่ดี แต่ในปัจจุบันพบว่ากระทรวงศึกษาธิการมีปัญหาจำนวนมาก เช่น กระทรวงศึกษาธิการถูกกล่าวโทษเมื่อเด็กนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นต้น โครงสร้างใหม่นี้เมื่อมองดูแล้วเหมือนย้อนกลับไปใช้ของเดิม แต่หากการเดินหน้าไปข้างหน้าแล้วไม่มีสิ่งใดดีขึ้น มีแต่แย่ลง ทำไมเราไม่ถอยมาดูว่าของเดิมเป็นอย่างไร ซึ่งการกระจายอำนาจนั้นเราจะไม่ใช้เวลาเป็นตัวกำหนด แต่จะใช้ปัจจัยในความพร้อมของแต่พื้นที่ว่าใครพร้อมที่จะได้รับการกระจายอำนาจก่อน ไม่ต้องรอเวลาพร้อมกัน โครงสร้างใหม่นี้ไม่ได้ทิ้งเรื่องการกระจายอำนาจ เพราะอย่างน้อยก็มีผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการที่มาจากทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เป็นต้น
สื่อมวลชน : แต่ละจังหวัดมีขนาดไม่เท่ากัน การดูแลจะทำได้ทั่วถึงหรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : สำหรับจังหวัดที่มีขนาดใหญ่จะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหลายท่าน ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดในการดำเนินงานต่าง ๆ อยู่แล้ว นอกจากนี้ กศจ. จะมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเข้ามาช่วยดำเนินการได้ และเป็นครั้งแรกที่จะเกี่ยวร้อย สพฐ., สอศ., กศน. และ สช. อปท. และสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา เข้ามารวมอยู่ด้วยกันในจังหวัดนั้น ๆ
สื่อมวลชน : การแต่งตั้ง กศจ. คาดว่าจะใช้เวลาเท่าไรรมว.ศึกษาธิการ : จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด
สื่อมวลชน : การเพิ่มจำนวนสำนักงานศึกษาธิการภาคจาก 13 ภาค เป็น 18 ภาค มีที่มาจากอะไรรมว.ศึกษาธิการ : กระทรวงศึกษาธิการได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทย โดยการจัดรูปแบบตาม 18 ภาคดังกล่าว จะตอบคำถามได้หากการศึกษาในที่ใดที่หนึ่งไม่ดี ก็จะดูว่าอยู่จังหวัดใด เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการปรับปรุงแก้ไข และต้องประสานงานในลักษณะภาคต่อภาค
สื่อมวลชน : โดยสรุปแล้วตำแหน่งผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาจะโดนยุบหรือยังคงไว้เช่นเดิมรมว.ศึกษาธิการ : ตำแหน่งผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จะทำหน้าที่เหมือนเดิมทุกอย่าง ยกเว้นผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ที่จะมีหน้าที่เพิ่มขึ้นมา ส่วนในกรุงเทพฯ ให้บอร์ดใหญ่ทำหน้าที่เป็น กศจ. คือ บอร์ดที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน
สื่อมวลชน : ขณะนี้มีเสียงคัดค้านจากผู้แทนครูที่อยู่ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ หรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : กระทรวงศึกษาธิการยินดีรับฟังความคิดเห็นของท่านที่ไม่เห็นด้วย ไม่ว่าจะไม่เห็นด้วยในประเด็นใด เนื่องจากบางความคิดเห็นมีเหตุมีผล อย่างน้อยความเห็นดังกล่าวก็นำมาอุดช่องว่างได้ หากมีข้อคิดเห็นหรือความเห็นต่างในประเด็นใดให้แจ้งมาเพื่อจะได้นำมาพิจารณาต่อไป
สื่อมวลชน : โครงสร้างใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของอิทธิพลในวงการครู เกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้าย และจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใดรมว.ศึกษาธิการ : เมื่อยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่แล้ว คาดว่าปัญหาดังกล่าวจะหมดไป แต่ขอแก้ข่าวที่สื่อบางสำนักลงข่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการตัดตอน จึงขอแจ้งว่าอย่านำไปโยงกับการเมืองซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นเรื่องการศึกษาล้วน ๆ และขอยืนยันว่าการตัดสินใจดำเนินการเช่นนี้ มาจากเสียงสะท้อนของคนในกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด ไม่ใช่การตัดสินใจดำเนินการของ รมว.ศึกษาธิการ เพียงผู้เดียว
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดแต่เกิดมาปีกว่าแล้ว และรัฐบาลเหลือเวลาอีก 1 ปีครึ่ง หากไม่ดำเนินการเช่นนี้คงจะยากแก่การแก้ปัญหา ซึ่งได้ดำเนินการอย่างรอบคอบและมีผลกระทบน้อยที่สุด
สื่อมวลชน : จะมั่นใจได้อย่างไรว่าคำสั่งดังกล่าวจะทำให้เกิดประสิทธิภาพอย่างที่ตั้งใจไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริหารงานบุคคล มีอะไรที่เป็นข้อพิสูจน์รมว.ศึกษาธิการ : ในวันนี้ยังตอบไม่ได้ แต่คิดดีแล้วจึงได้ดำเนินการ อย่างน้อยจากสภาพที่ประสบอยู่ คาดว่าผลที่ออกมาต้องดีกว่าเดิม เมื่อ คสช.ได้ออกคำสั่งมาทะลุทะลวงปัญหาเดิมที่ค้างอยู่ให้แล้ว กระทรวงศึกษาธิการต้องดำเนินการให้สำเร็จให้ได้
สื่อมวลชน : อำนาจการแต่งตั้งของ กศจ. จะแก้ปัญหาได้ดีกว่าการให้อำนาจนั้นกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่หรือไม่
รมว.ศึกษาธิการ : โครงสร้างเดิมในบางจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีจำนวนเขตพื้นที่การศึกษามาก การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ จะจำกัดอยู่ในเขตพื้นที่ตนเอง ไม่สามารถข้ามเขตได้ แต่โครงสร้างใหม่จะดูภาพใหญ่ขึ้นสามารถดำเนินการโอนย้ายข้ามเขตได้ จึงเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ดีขึ้น อีกทั้งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนที่ว่างอยู่กว่า 4,000 ตำแหน่ง ขอให้รอดูว่าการขับเคลื่อนตามโครงสร้างใหม่นี้จะได้ผลเพียงใด
สื่อมวลชน : โครงสร้างใหม่จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการวิ่งเต้นโยกย้ายหรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : คาดหวังโครงสร้างใหม่นี้จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่อยากกล่าวโทษรูปแบบเดิมเพราะส่วนที่ดีก็มี
สื่อมวลชน : ต้นทางของโครงสร้างนี้มาจากที่ใดรมว.ศึกษาธิการ : มาจากคนในกระทรวงศึกษาธิการเองที่ประสบปัญหา รวมทั้งมาจากการรับฟังปัญหาจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาบ้าง ทำให้เกิดการพัฒนาให้เกิดโครงสร้างนี้ขึ้นมา
สื่อมวลชน : ในช่วงที่เป็นสุญญากาศ ณ ตอนนี้ จะส่งผลกระทบต่อบุคคลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโยกย้ายหรือรอการเรียกบรรจุหรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : ขอให้รอสักระยะหนึ่งประมาณ 7-10 วันในดำเนินการ ยืนยันว่าไม่กระทบบุคคลดังกล่าว เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนอำนาจจาก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ มาเป็นอำนาจของ กศจ. เท่านั้น



ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม