อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
รอบรู้ข่าว ติวเป็นข้อสอบ 19-29 ก.ค.2563
1.สังคมวิจารณ์ยับ! อัยการสั่งไม่ฟ้อง “บอส” ทายาทกระทิงแดงซิ่งรถชนตำรวจดับ ขณะที่ ตร.เห็นพ้อง-ถอนหมายจับ ด้าน “ศรีสุวรรณ” เตรียมยื่น ป.ป.ช.เอาผิด!
เมื่อวันที่ 24 ก.ค. สำนักข่าวรอยเตอร์และซีเอ็นเอ็นรายงานอ้างการเปิดเผยของตำรวจไทยเมื่อวัน 23 ก.ค.ว่า ได้มีการถอนฟ้องคดีอาญา “บอส-วรยุทธ อยู่วิทยา” ทายาทแสนล้านของกระทิงแดง ที่เป็นผู้ต้องหาซิ่งรถชนตำรวจเสียชีวิตในปี 2012 โดยรายงานข่าวระบุว่า นายวรยุทธเผชิญข้อกล่าวหาต่างๆ ทั้งขับรถเร็ว, ชนแล้วหนี และขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
รอยเตอร์อ้างคำสัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ธนาวุฒิ สงวนสุข รองผู้กำกับการสอบสวน ปฏิบัติราชการแทนผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อว่า ไม่มีการฟ้องคดีตามคดีอาญา และมีการเพิกถอนหมายจับแล้วเช่นกัน
นอกจากนี้รอยเตอร์และซีเอ็นเอ็นยังอ้างคำสัมภาษณ์ของ พ.ต.อ.สัมพันธ์ เหลืองสัจจกุล ผกก.ตม.จว.ชลบุรี ว่า “เราได้รับรายงานจากสำนักงานอัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. โดยไม่มีคำสั่งฟ้อง และมีการเพิกถอนหมายจับแล้ว”
ทั้งนี้ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ตกเป็นผู้ต้องหาขับรถเฟอร์รารีสีดำชนตำรวจนายหนึ่งซึ่งกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์ในกรุงเทพฯ แล้วหลบหนีไปจากจุดเกิดเหตุ โดยหลังชน ได้ลากร่างของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าวไปไกลหลายสิบเมตร โดยคดีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ของไทยได้ออกหมายจับนายวรยุทธหลังจากเกิดเหตุ 5 ปี หลังจากเขาไม่ยอมมาตามหมายเรียกถึง 8 ครั้ง
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังมีข่าวอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของอัยการอย่างกว้างขวาง กระทั่งวันเดียวกัน (24 ก.ค.) พล.ต.อ.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พร้อมด้วย พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. ได้แถลงข่าวกรณีสื่อต่างประเทศรายงานว่าอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ โดยยอมรับว่า เมื่อเดือน มิ.ย.ได้รับคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี เป็นหนังสือจากอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพฯ ใต้ 1 ได้มีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เมื่อเราได้รับคำสั่งแล้ว ก็มีการพิจารณาในฝ่ายกฎหมายว่า เราจะมีความเห็นอย่างไร และเราเห็นพ้องตามอัยการ จึงมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ก็ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือ ยื่นต่อศาลเพื่อขอเพิกถอนหมายจับ และให้กองการต่างประเทศประสานไปยังตำรวจสากล เพื่อขอเพิกถอนหมายจับของอินเตอร์โพลด้วย
พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวต่อไปว่า การเพิกถอนหมายจับเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนปกติ ส่วนเรื่องเหตุผลที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง เราคงไม่ไปก้าวล่วงได้ แต่ในเรื่องความเห็นแย้งหรือไม่แย้ง ไม่ใช่เฉพาะคดีนี้คดีเดียว มันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนปกติ หลายคดีตำรวจก็มีความเห็นแย้ง หลายคดีตำรวจก็ยืนตามความเห็นอัยการ ก็คงเป็นการพิจารณาตามพยานหลักฐาน ไม่ใช่เรื่องของสองมาตรฐานในเรื่องการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การตรวจสอบถ่วงดุลกันระหว่างตำรวจ อัยการ และศาล มีอยู่แล้ว ขั้นตอนก็คือว่า เมื่อมีการส่งความเห็นไปเพิ่มเติมตามที่พนักงานอัยการได้สั่งการ เราก็ดำเนินการตามนั้น
พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวอีกว่า การแย้งหรือไม่แย้งความเห็นอัยการ อยู่ที่พยานหลักฐาน ไม่ใช่การทำตามกระแสสังคม เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในปี 2555 นั้น บางนายที่มีความบกพร่องในการทำสำนวนก็ถูกดำเนินการทางวินัย บางส่วนเสร็จสิ้นไปแล้วด้วยซ้ำ ในการแจ้งข้อกล่าวหาอาจจะมีพยานหลักฐานบางส่วน แต่ถ้ามีหลักฐานเพิ่มเข้ามาใหม่จะไปตัดสิทธิในการมีความเห็นทางคดีไม่ได้ และมีการกลั่นกรองโดยพนักงานอัยการทุกขั้นทุกตอน ในการสอบสวนใครก็เข้าไปก้าวล่วงไม่ได้ แม้กระทั่ง ผบ.ตร.ก็เข้าไปสั่งคดีไม่ได้ ทุกอย่างเป็นไปตามเนื้อผ้า และไม่ได้ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะไปยื่นฟ้องร้องเองตามกฎหมาย
ส่วนกรณที่เหตุใดชื่อของ ดาบตำรวจวิเชียร กลั่นประเสริฐ ผู้บังคับหมู่งานจราจร สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ ที่ถูกรถของนายวรยุทธชนเสียชีวิต ถูกระบุเป็นผู้ต้องหาที่ 2 ในคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ ผู้ต้องหาที่ 1 นั้น พ.ต.อ.กฤษณะไม่สามารถชี้แจงได้ โดยกล่าวว่า ขออนุญาตไปตรวจสอบเอกสารก่อน
ทั้งนี้ หลัง ตร.แถลงกรณีเห็นพ้องกับความเห็นของอัยการในการสั่งไม่ฟ้องและถอนหมายจับนายวรยุทธ ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของ ตร.อย่างกว้างขวางเช่นกัน
ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวถึงข่าวอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ และพนักงานสอบสวนได้ขออนุมัติศาลเพิกถอนหมายจับในคดีขับรถชนตำรวจ สน.ทองหล่อ เสียชีวิตเมื่อปี 2555 ซึ่งรองโฆษก สนง.ตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมาแถลงยืนยันว่า อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องจริงว่า กรณีดังกล่าวมีข้อสงสัยอยู่ว่า อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธได้อย่างไร ในเมื่อคดีขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ.มาตรา 291 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะมีมีอายุความถึง 15 ปี โดยจะขาดอายุความในปี 2570 ซึ่งยังมีระยะเวลาอีกหลายปีที่ตำรวจจะต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อนำคนผิดมาลงโทษได้ การเพิกถอนหมายจับจึงอาจเป็นการใช้อำนาจอย่างเลือกปฏิบัติและทุจริตต่อหน้าที่ได้ ไม่เช่นนั้นผู้ที่กระทำความผิดในลักษณะเดียวกัน หากหนีคดีได้เพียง 7-8 ปี ก็จะทำให้อัยการถอนหมายจับได้ทุกคดีทุกกรณีเช่นนั้นหรือไม่ หรือเป็นดั่งข้อครหาของสังคมที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” เท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นจริง กระบวนการยุติธรรมไทยและระบบนิติรัฐ คงต้องปฏิรูปกันอย่างจริงจังเสียที
นายศรีสุวรรณ กล่าวด้วยว่า คดีนายวรยุทธขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีการเร่งรีบถอนหมายจับ ทั้งๆ ที่ยังไม่หมดอายุความ โดยที่ตำรวจก็มิได้คัดค้านอัยการแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวของอัยการสูงสุดและตำรวจเจ้าของคดี จึงอาจเข้าข่ายความผิดทางวินัยและความผิดอาญาหรือไม่ สมาคมฯ จะนำความไปร้องต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้ไต่สวนและสอบสวนเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อไปในสัปดาห์หน้า
ล่าสุด วันนี้ (25 ก.ค.) นายประยุทธ เพขรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เผยว่า ขณะนี้นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด ตรวจราชการอยู่ที่อัยการภาค 4 จะกลับ กทม.สัปดาห์หน้า อัยการสูงสุดเพิ่งทราบข่าวจากสื่อมวลชนเมื่อวานนี้กรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ซึ่งอัยการสูงสุดได้สั่งการให้ตรวจสอบสำนวนคดีแล้ว
นายประยุทธ กล่าวด้วยว่า โดยหลักกฎหมายแล้ว คดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องเอง และกรณีคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถ้าไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุดแล้ว จะต้องเสนอสำนวนไปให้ ผบ.ตร. พิจารณาทำความเห็นแย้ง ถ้าตำรวจเห็นพ้องกับอัยการ ก็ถือว่าเป็นคำสั่งเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บอกว่า หากมีพยานหลักฐานชิ้นใหม่ ก็สามารถสอบสวนและดำเนินคดีได้ภายในอายุความ
2.ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด “ยิ่งลักษณ์-สุรนันทน์-นิวัฒน์ธำรง” จัดโรดโชว์มิชอบ-รวบรัดจ้าง 2 สื่อ 240 ล้าน “มติชน-สยามสปอร์ตฯ” โดนด้วย!
เมื่อวันที่ 22 ก.ค. นายนิวัติไชย เกษมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช.แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อนุมัติและดำเนินการจัดนิทรรศการ การสัมมนา และการโฆษณาประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ “โครงการ Roadshow สร้างอนาคตไทย Thailand 2020” โดยมิชอบ ซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ...รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้มีการยกร่าง พ.ร.บ.บัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มีดำริให้จัดนิทรรศการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนภายใต้ชื่อ “โครงการ Roadshow สร้างอนาคตไทย Thailand 2020”
ปรากฏว่า ในการดำเนินโครงการดังกล่าว มีการอนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น วงเงิน 40 ล้านบาท เพื่อจัดโครงการในจังหวัดหนองคายและนครราชสีมา ทั้งที่ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทยังไม่ผ่านสภา อีกทั้งการจัดโครงการประชาสัมพันธ์ไม่ใช่ความเร่งด่วนที่จะต้องใช้งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น โดยบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างจัดโครงการดังกล่าว โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจนถึงขั้นตอนการลงนามในหนังสือสั่งจ้าง ใช้เวลาดำเนินการเพียง 2 วันเท่านั้น
ต่อมา นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯ ได้ร่วมกันอนุมัติหลักการจัดการการ Roadshow อีก 10 จังหวัดที่เหลือ วงเงิน 200 ล้านบาท โดยตกลงแบ่งงานให้บริษัท มติชนฯ และบริษัท สยามสปอร์ตฯ บริษัทละ 5 จังหวัด ซึ่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจนถึงขั้นตอนการลงนามในหนังสือสั่งจ้าง ใช้เวลาดำเนินการเพียงวันเดียวเท่านั้น และพบว่า การลงนามในหนังสือสั่งจ้างได้กระทำไปก่อนที่ได้รับเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณ ทั้งที่ส่วนราชการทราบดีว่า การจะลงนามในหนังสือสั่งจ้างได้ ก็ต่อเมื่อสำนักงบประมาณได้แจ้งจัดสรรเงินงบประมาณ (ใบงวดงาน) มาให้แล้วเท่านั้น
ต่อมา จึงมีการเสนอ ครม.ให้ยกเว้นการลงนามในหนังสือสั่งจ้างก่อนใบงวดงาน ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ตราขึ้นโดยมิใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วน ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มีผลให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นอันตกไป ทำให้โครงการต่างๆ ตามที่ได้ออกไป Roadshow มิได้เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด การใช้งบประมาณในโครงการ Roadshow จำนวน 240 ล้านบาท จึงเกิดความสูญเปล่า เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย
คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายนิวัฒน์ธำรง และนายสุรนันทน์ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 และ 157, พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554 มาตรา 123/1 ประกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192 และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 และ 13 ส่วนการกระทำของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) นายฐากูร บุนปาน บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคจ จำกัด (มหาชน) และนายระวิ โหลทอง มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151,157 ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554 มาตรา 123/1 ปะกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192 และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 4 ฐานเป็นผู้สนับสนุน
ป.ป.ช.จึงให้ส่งรายงานสำนวนการไต่สวน เอกสาร พยานหลักฐาน และความเห็น พร้อมสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป
ด้านนายฐากูร บุนปาน รองประธานกรรมการบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ยืนยันว่า การดำเนินการตามโครงการดังกล่าวเป็นไปโดยบริสุทธิ์ ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของราชการ
ขณะที่นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กยืนยันเช่นกันว่า การดำเนินการใดๆ ในตำแหน่งหน้าที่เลขาธิการนายกฯ เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ และทำด้วยยความระมัดระวังอย่างรอบคอบ ยึดถือกฎหมาย มุ่งมั่นและคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชนเป็นที่ตั้ง
3.“บิ๊กตู่” เซ็นคำสั่งให้ “พล.ต.อ.วิระชัย” กลับ สตช.ดังเดิม ด้าน “บิ๊กแป๊ะ” ให้ฝ่าย กม.แจ้งความเอาผิด “วิระชัย” ปล่อยคลิปเสียงคดียิงรถ “บิ๊กโจ๊ก”!
เมื่อวันที่ 23 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงนามในคำสั่งที่ 219/2563 ให้ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กลับไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติดังเดิม โดยคำสั่งระบุว่า ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 22/2563 ลงวันที่ 23 ม.ค. 2563 ให้ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม และให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ และสิทธิประโยชน์อื่นใด ไม่ต่ำกว่าที่ได้รับอยู่เดิม โดยเบิกจ่ายจากสังกัดเดิม เพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 24/2563 ลงวันที่ 21 ม.ค.2563 จนกว่าจะมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่นนั้น
บัดนี้ ได้รับรายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) (3) (4) และ (6) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกฯ ดังกล่าว และให้ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กลับไปปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.2563 เป็นต้นไป
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 ม.ค.63 พล.อ.ประยุทธ์ ได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกฯ ให้ พล.ต.อ.วิระชัย มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี หลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่า พล.ต.อ.วิระชัย มีพฤติการณ์และการกระทำซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ในการอำนวยการยุติธรรม กระทบต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นเหตุให้ราชการเสียหาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างตรวจสอบ สมควรพิจารณาสั่งการให้ พล.ต.อ.วิระชัย ไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้ พล.ต.อ.วิระชัย มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้มอบหมายให้กองคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน กองปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. ฐานกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 21 เรื่องห้ามดักฟังทางโทรศัพท์หรือข้อมูลสื่อสารอื่นใด กรณีเปิดเผยข้อมูลการสนทนาโทรศัพท์ ระหว่าง พล.ต.อ.จักรทิพย์ และ พล.ต.อ.วิระชัย ผ่านสื่อมวลชน ซึ่งทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะนิติบุคคลได้รับความเสียหาย มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ ที่มีการปล่อยคลิปเสียงการสนทนากันระหว่าง พล.ต.อ.จักรทิพย์ กับ พล.ต.อ.วิระชัย ซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับคดียิงรถยนต์ส่วนตัวของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง พล.ต.อ.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร จเรตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนกรณีดังกล่าว จากการสอบสวน เห็นว่า พล.ต.อ.วิระชัย มีความผิด จึงได้ส่งมอบให้สำนักงานกฎหมายและคดี (กมค.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาว่า เป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายฐานใดหรือไม่ จากการตรวจสอบพบว่า การปล่อยคลิปเสียงดังกล่าวต่อสื่อมวลชน ถือเป็นความผิดต่อองค์กร ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับความเสียหาย จึงได้รายงานไปยัง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ก่อนที่ กมค. จะประสานงานให้กองคดีเข้าแจ้งความดังกล่าว
โดยล่าสุด มีรายงานว่า พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาออกหมายเรียก พล.ต.อ.วิระชัย มาสอบปากคำ และแจ้งข้อกล่าวหาต่อไป
4.ศบค.ไฟเขียวต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 1 เดือน เตรียมเสนอ ครม. 28 ก.ค. ยันเป็นสิ่งจำเป็นช่วงเปิด ปท.!
เมื่อวันที่ 22 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) หลังประชุม นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.แถลงว่า ที่ประชุมได้มีการรายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 4 และ 5 ซึ่งพบว่า ระยะที่ 5 มีการกระทำความผิดเพิ่มขึ้น โดย พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ มีความเห็นว่า จะต้องสร้างความร่วมมือให้มากขึ้น รวมถึงมีบทลงโทษ หากเกิดการฝ่าฝืน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อไปว่า “มีการพิจารณาความเหมาะสมที่จะขยายระยะเวลาประกาสสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ท่านเลขาฯ สภาความมั่นคงแห่งชาติ รายงานว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ในภาพรวมทั่วโลก ยังคงมีการระบาดที่รุนแรง อีกทั้งมีคนไทยจากต่างประเทศและชาวต่างชาติที่ได้รับการผ่อนผันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจะมีการอนุญาตชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม นอกจากนี้มาตรการผ่อนคลายภายในประเทสที่ดำเนินการอยู่ เป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค จึงมีความจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลโดยเจ้าหน้าที่รับอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการระบาดของโรคภายในประเทศ จึงมีความจำเป็นในการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน”
นอกจากนี้ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ยังมีความคืบหน้าในการจัดทำข้อตกลงพิเศษและมาตรการสำหรับบุคคลในคณะทูตหรือคณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ผู้แทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐหรือต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการต่างประเทศ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มนักธุรกิจ/ผู้เชี่ยวชาญ 2.กลุ่มนักการทูต โดยเมื่อเข้ามาแล้ว จะต้องอยู่ในสถานกักกันโรคของรัฐ (State Quarantine)
ขณะที่กระทรวงแรงงานได้เสนอให้พิจารณาแนวทางและหลักเกณฑ์การอนุญาตแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ เมียนมา ลาว กัมพูชา เข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากมีความต้องการแรงงานไร้ฝีมือ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีใบอนุญาตทำงาน (Work permit) และมีวีซ่าอยู่แล้ว จำนวน 69,235 คน 2.กลุ่มที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือไม่มีวีซ่า แต่ต้องการนำเข้ามาจำนวน 42,168 คน รวมทั้งสิ้นกว่าแสนคน เพื่อเข้ามาในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน หรือก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอาหาร โดยเสนอให้หน่วยงานหรือเจ้าของกิจการจัดสถานที่กักกันโรคฯ ในรูปแบบของ Organizational Quarantine ที่ให้คนกลุ่มนี้เข้าพักได้มากกว่า 1 คน/ห้อง โดยจะต้องมีการดูแลระบบควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ตามข้อกำหนดของ สธ. ซึ่งเป็นไปตามสถานกักกันโรคฯ แบบ State and Local Quarantine
ด้าน พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงเหตุผลของการขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีก 1 เดือนว่า เนื่องจากเราต้องเปิดประเทศมากขึ้น “วันนี้ ศบค.มีความเห็นชอบหลายประการในการเปิดประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการรับแรงงานต่างด้าว การมีโปรแกรมด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น การอนุญาตให้ชาวต่างชาติจัดการประชุมในประเทศไทย รวมถึงการถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ บนพื้นฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข เครื่องมือเพียงอย่างเดียวที่จะประกันได้ว่า สิ่งที่เราอนุญาตหรือผ่อนคลายไปในเชิงธุรกิจ เศรษฐกิจจะถูกชั่งน้ำหนักโดยความปลอดภัยด้านสาธารณสุข เครื่องมืออย่างเดียวในขณะนี้ที่มีอยู่คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จึงมีความจำเป็นต้องต่อไปอีก 1 เดือน โดยเฉพาะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ยังไม่มีกฎหมายตัวอื่น”
พล.อ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า “การห้ามการชุมนุมจะไม่ปรากฏใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่จะต่อไปอีก 1 เดือน แต่การชุมนุมทางการเมืองจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่เป็นกฎหมายปกติ โดยจะมีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันที่ 28 ก.ค.นี้ ในการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 1 เดือน โดยไม่มีการห้ามการชุมนุม เพื่อให้มั่นใจว่า ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใช้เพื่อประโยชน์ทางสาธารณสุขจริงๆ”
5.กลุ่มโจ๋ปากน้ำเหิม ยกพวกไล่ยำคู่อริกลาง รพ.-ชก พญ.จนล้มทรุด หลังไม่พอใจเพื่อนตาย ตร.รวบตัวฝากขัง ศาลไม่ให้ประกัน!
เมื่อช่วงเย็นวันที่ 19 ก.ค. ได้เกิดเหตุกลุ่มบุคคล 2 กลุ่มยกพวกทำร้ายกัน โดยใช้อาวุธมีดที่ซอยโรงเหล็ก ต.บ้างหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งนำผู้บาดเจ็บฝ่ายตนเข้ารักษาตัวที่ รพ.วิภาราม ชัยปราการ อีกฝ่ายเข้ารักษาตัวที่ รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย
ต่อมา กลุ่มที่พาเพื่อนที่ถูกแทงเข้ารักษาตัวที่ รพ.วิภาราม ชัยปราการ ทราบจากหมอว่า เพื่อนเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนถึง รพ. ส่งผลให้เพื่อนผู้ตายไม่พอใจ จึงลงมือทำร้ายหมอผู้หญิงด้วยการชกเข้าที่ใบหน้าจนหมอล้มลง นอกจากนั้นยังชกเจ้าหน้าที่ รพ.อีกคนด้วย
ทั้งนี้ รปภ.ของโรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ เล่าว่า เพื่อนของผู้บาดเจ็บขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายพาผู้บาดเจ็บที่ถูกแทง แต่เลือดไม่ออกมา รพ. เมื่อมาถึง ผู้บาดเจ็บหมดสติอยู่ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ รพ.ได้พาเข้าห้องฉุกเฉิน แพทย์ได้ปั๊มหัวใจและจับชีพจรผู้บาดเจ็บ พบว่า ขณะมาถึง รพ. ผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นแล้ว แพทย์และพยาบาลจึงช่วยกันปั๊มหัวใจ แต่ไม่เป็นผล
“แพทย์จึงบอกกับญาติของผู้บาดเจ็บว่า ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตก่อนจะมาถึง รพ.แล้ว แพทย์พยายามแล้วแต่ไม่เป็นผล ทำให้พรรคพวกของผู้ตายไม่พอใจและกรูกันเข้าไปทำร้ายหมด ซึ่งเป็นแพทย์หญิงและพนักงานเวรเปล โดยหาว่าหมอไม่ยอมช่วยเพื่อนของเขา ก่อนที่กลุ่มผู้ก่อเหตุทั้งหมดจะออกมาที่หน้าห้องฉุกเฉิน และทำร้ายกันเอง ซึ่งผมได้ยินว่า “มึงโทรตามเพื่อนมาตาย” ขณะเดียวกันหลังจากที่พรรคพวกของผู้ตายทราบว่า คู่อริที่ทำร้ายคนตายก็ได้รับบาดเจ็บเข้าไปรักษาตัวที่ รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย จึงได้ยกพวกพากันไปก่อเหตุที่ รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพรายอีก”
ขณะที่ พล.อ.ท.นพ.ชูพันธ์ ชาญสมร ผู้อำนวยการ รพ.วิภาราม ชัยปราการ เผยว่า รพ.ได้รับผู้บาดเจ็บทำการรักษา หลังพบว่าถูกแทงที่บริเวณหน้าอก โดยเมื่อมาถึง รพ. พบผู้ป่วยไม่สามารถวัดชีพจรได้ และมีเลือดออกในช่องอก จึงรักษาด้วยการเจาะปอดระบายเลือดออก ซึ่งก็มีจำนวนมาก แพทย์จึงออกไปคุยรายละเอียดอาการกับญาติ โดยมีพี่สาวของผู้บาดเจ็บไปบอกกับกลุ่มเพื่อน ก่อนที่กลุ่มเพื่อนผู้บาดเจ็บจะเดินเข้ามาถามแพทย์ว่า “ไหนใครบอกว่า เพื่อนกูตายตั้งแต่ที่เกิดเหตุ” แล้วชกไปที่ใบหน้าของแพทย์ธนิกานต์ ลู่พานิช ที่รักษาจนทรุดกับพื้น และผลักเจ้าหน้าที่เอกซเรย์ และชกหน้าผากพนักงานขับรถได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุไม่เพียงทำร้ายแพทย์และเจ้าหน้าที่ แต่ยังมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้รับความเสียหายอีกหลายรายการ ทั้งนี้ การกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุที่ทำร้ายแพทย์และเจ้าหน้าที่ รพ.ส่งผลให้กระแสสังคมรับไม่ได้และตำหนิการกระทำดังกล่าวอย่างกว้างขวาง พร้อมเสนอแนะให้เพิ่มบทลงโทษการกระทำในลักษณะนี้ให้ได้รับโทษอย่างหนัก
ด้าน พ.ต.ท.สุเมธ สาลี สว.สส.สภ.สำโรงใต้ กล่าวว่า จากการสืบสวนทราบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดตั้งแต่ช่วงหัวค่ำที่บริเวณบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่ ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง โดยกลุ่มของนายแฮ็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กมหาวงษ์ ได้มีปากเสียงชกต่อยกับนายธนพล ทองชัยยะ หรือแจ๊ค อายุ 21 ปี กลุ่มเด็กซอยโรงเหล็ก นายแฮ็กจึงไปตามนายรัชพงษ์ วาสนา หรือคิว อายุ 22 ปี ผู้ตาย และพวกอีก 8-9 คน ให้มาช่วย และเกิดการชุลมุนกันอยู่พักใหญ่
นายคิวได้ถูกของมีคมไม่ทราบชนิดแทงเข้าที่ราวนมข้าวขวา 1 แผล แต่เลือดไม่ออก นายคิวหมดสติ ก่อนที่พรรคพวกจะพากันขี่รถจักรยานยนต์นำนายคิวไปรักษาที่ รพ.วิภาราม ชัยปราการ และเสียชีวิต โดยมีพรรคพวกของผู้ตายติดตามมาหลายสิบคน หลังทราบว่านายคิวเสียชีวิตแล้ว และทราบว่าคู่กรณีที่แทงนายคิว ชื่อแจ๊ค ก็บาดเจ็บมีแผลฉีกขาดบริเวณศีรษะ ปาก และแขนซ้าย เข้ารักษาตัวที่ รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย จึงยกพวกไปก่อเหตุที่ รพ.เมืองสมุทรฯ อีก จนมีผู้บาดเจ็บ
ต่อมา เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ตำรวจ สภ.สำโรงใต้ ได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งหมด 15 ราย ไปฝากขังผัดแรกที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ในเบื้องต้นศาลไม่ให้ประกันตัวและนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าฝากขังในเรือนจำสมุทรปราการ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่แบ่งเป็น 3 คดี โดยคดีแรกที่ซอยโรงเหล็ก แบ่งเป็น 2 ข้อหา คือ ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บโดยมีอาวุธของแหลมมีคม และบุกรุกเคหะสถานในเวลากลางคืน คดีที่ 2 ที่ รพ.วิภาราม ชัยปราการ แบ่งเป็น 2 ข้อหา ประกอบด้วย ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน และร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยใช้ยานพาหนะ และคดีที่ 3 ที่ รพ. เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย แบ่งเป็น 3 ข้อหา คือ ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืนโดยใช้อาวุธ, ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยมีอาวุธ และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
เมื่อวันที่ 24 ก.ค. สำนักข่าวรอยเตอร์และซีเอ็นเอ็นรายงานอ้างการเปิดเผยของตำรวจไทยเมื่อวัน 23 ก.ค.ว่า ได้มีการถอนฟ้องคดีอาญา “บอส-วรยุทธ อยู่วิทยา” ทายาทแสนล้านของกระทิงแดง ที่เป็นผู้ต้องหาซิ่งรถชนตำรวจเสียชีวิตในปี 2012 โดยรายงานข่าวระบุว่า นายวรยุทธเผชิญข้อกล่าวหาต่างๆ ทั้งขับรถเร็ว, ชนแล้วหนี และขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
รอยเตอร์อ้างคำสัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ธนาวุฒิ สงวนสุข รองผู้กำกับการสอบสวน ปฏิบัติราชการแทนผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อว่า ไม่มีการฟ้องคดีตามคดีอาญา และมีการเพิกถอนหมายจับแล้วเช่นกัน
นอกจากนี้รอยเตอร์และซีเอ็นเอ็นยังอ้างคำสัมภาษณ์ของ พ.ต.อ.สัมพันธ์ เหลืองสัจจกุล ผกก.ตม.จว.ชลบุรี ว่า “เราได้รับรายงานจากสำนักงานอัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. โดยไม่มีคำสั่งฟ้อง และมีการเพิกถอนหมายจับแล้ว”
ทั้งนี้ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ตกเป็นผู้ต้องหาขับรถเฟอร์รารีสีดำชนตำรวจนายหนึ่งซึ่งกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์ในกรุงเทพฯ แล้วหลบหนีไปจากจุดเกิดเหตุ โดยหลังชน ได้ลากร่างของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าวไปไกลหลายสิบเมตร โดยคดีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ของไทยได้ออกหมายจับนายวรยุทธหลังจากเกิดเหตุ 5 ปี หลังจากเขาไม่ยอมมาตามหมายเรียกถึง 8 ครั้ง
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังมีข่าวอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของอัยการอย่างกว้างขวาง กระทั่งวันเดียวกัน (24 ก.ค.) พล.ต.อ.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พร้อมด้วย พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. ได้แถลงข่าวกรณีสื่อต่างประเทศรายงานว่าอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ โดยยอมรับว่า เมื่อเดือน มิ.ย.ได้รับคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี เป็นหนังสือจากอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพฯ ใต้ 1 ได้มีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เมื่อเราได้รับคำสั่งแล้ว ก็มีการพิจารณาในฝ่ายกฎหมายว่า เราจะมีความเห็นอย่างไร และเราเห็นพ้องตามอัยการ จึงมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ก็ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือ ยื่นต่อศาลเพื่อขอเพิกถอนหมายจับ และให้กองการต่างประเทศประสานไปยังตำรวจสากล เพื่อขอเพิกถอนหมายจับของอินเตอร์โพลด้วย
พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวต่อไปว่า การเพิกถอนหมายจับเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนปกติ ส่วนเรื่องเหตุผลที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง เราคงไม่ไปก้าวล่วงได้ แต่ในเรื่องความเห็นแย้งหรือไม่แย้ง ไม่ใช่เฉพาะคดีนี้คดีเดียว มันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนปกติ หลายคดีตำรวจก็มีความเห็นแย้ง หลายคดีตำรวจก็ยืนตามความเห็นอัยการ ก็คงเป็นการพิจารณาตามพยานหลักฐาน ไม่ใช่เรื่องของสองมาตรฐานในเรื่องการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การตรวจสอบถ่วงดุลกันระหว่างตำรวจ อัยการ และศาล มีอยู่แล้ว ขั้นตอนก็คือว่า เมื่อมีการส่งความเห็นไปเพิ่มเติมตามที่พนักงานอัยการได้สั่งการ เราก็ดำเนินการตามนั้น
พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวอีกว่า การแย้งหรือไม่แย้งความเห็นอัยการ อยู่ที่พยานหลักฐาน ไม่ใช่การทำตามกระแสสังคม เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในปี 2555 นั้น บางนายที่มีความบกพร่องในการทำสำนวนก็ถูกดำเนินการทางวินัย บางส่วนเสร็จสิ้นไปแล้วด้วยซ้ำ ในการแจ้งข้อกล่าวหาอาจจะมีพยานหลักฐานบางส่วน แต่ถ้ามีหลักฐานเพิ่มเข้ามาใหม่จะไปตัดสิทธิในการมีความเห็นทางคดีไม่ได้ และมีการกลั่นกรองโดยพนักงานอัยการทุกขั้นทุกตอน ในการสอบสวนใครก็เข้าไปก้าวล่วงไม่ได้ แม้กระทั่ง ผบ.ตร.ก็เข้าไปสั่งคดีไม่ได้ ทุกอย่างเป็นไปตามเนื้อผ้า และไม่ได้ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะไปยื่นฟ้องร้องเองตามกฎหมาย
ส่วนกรณที่เหตุใดชื่อของ ดาบตำรวจวิเชียร กลั่นประเสริฐ ผู้บังคับหมู่งานจราจร สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ ที่ถูกรถของนายวรยุทธชนเสียชีวิต ถูกระบุเป็นผู้ต้องหาที่ 2 ในคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ ผู้ต้องหาที่ 1 นั้น พ.ต.อ.กฤษณะไม่สามารถชี้แจงได้ โดยกล่าวว่า ขออนุญาตไปตรวจสอบเอกสารก่อน
ทั้งนี้ หลัง ตร.แถลงกรณีเห็นพ้องกับความเห็นของอัยการในการสั่งไม่ฟ้องและถอนหมายจับนายวรยุทธ ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของ ตร.อย่างกว้างขวางเช่นกัน
ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวถึงข่าวอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ และพนักงานสอบสวนได้ขออนุมัติศาลเพิกถอนหมายจับในคดีขับรถชนตำรวจ สน.ทองหล่อ เสียชีวิตเมื่อปี 2555 ซึ่งรองโฆษก สนง.ตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมาแถลงยืนยันว่า อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องจริงว่า กรณีดังกล่าวมีข้อสงสัยอยู่ว่า อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธได้อย่างไร ในเมื่อคดีขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ.มาตรา 291 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะมีมีอายุความถึง 15 ปี โดยจะขาดอายุความในปี 2570 ซึ่งยังมีระยะเวลาอีกหลายปีที่ตำรวจจะต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อนำคนผิดมาลงโทษได้ การเพิกถอนหมายจับจึงอาจเป็นการใช้อำนาจอย่างเลือกปฏิบัติและทุจริตต่อหน้าที่ได้ ไม่เช่นนั้นผู้ที่กระทำความผิดในลักษณะเดียวกัน หากหนีคดีได้เพียง 7-8 ปี ก็จะทำให้อัยการถอนหมายจับได้ทุกคดีทุกกรณีเช่นนั้นหรือไม่ หรือเป็นดั่งข้อครหาของสังคมที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” เท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นจริง กระบวนการยุติธรรมไทยและระบบนิติรัฐ คงต้องปฏิรูปกันอย่างจริงจังเสียที
นายศรีสุวรรณ กล่าวด้วยว่า คดีนายวรยุทธขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีการเร่งรีบถอนหมายจับ ทั้งๆ ที่ยังไม่หมดอายุความ โดยที่ตำรวจก็มิได้คัดค้านอัยการแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวของอัยการสูงสุดและตำรวจเจ้าของคดี จึงอาจเข้าข่ายความผิดทางวินัยและความผิดอาญาหรือไม่ สมาคมฯ จะนำความไปร้องต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้ไต่สวนและสอบสวนเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อไปในสัปดาห์หน้า
ล่าสุด วันนี้ (25 ก.ค.) นายประยุทธ เพขรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เผยว่า ขณะนี้นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด ตรวจราชการอยู่ที่อัยการภาค 4 จะกลับ กทม.สัปดาห์หน้า อัยการสูงสุดเพิ่งทราบข่าวจากสื่อมวลชนเมื่อวานนี้กรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ซึ่งอัยการสูงสุดได้สั่งการให้ตรวจสอบสำนวนคดีแล้ว
นายประยุทธ กล่าวด้วยว่า โดยหลักกฎหมายแล้ว คดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องเอง และกรณีคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถ้าไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุดแล้ว จะต้องเสนอสำนวนไปให้ ผบ.ตร. พิจารณาทำความเห็นแย้ง ถ้าตำรวจเห็นพ้องกับอัยการ ก็ถือว่าเป็นคำสั่งเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บอกว่า หากมีพยานหลักฐานชิ้นใหม่ ก็สามารถสอบสวนและดำเนินคดีได้ภายในอายุความ
2.ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด “ยิ่งลักษณ์-สุรนันทน์-นิวัฒน์ธำรง” จัดโรดโชว์มิชอบ-รวบรัดจ้าง 2 สื่อ 240 ล้าน “มติชน-สยามสปอร์ตฯ” โดนด้วย!
เมื่อวันที่ 22 ก.ค. นายนิวัติไชย เกษมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช.แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อนุมัติและดำเนินการจัดนิทรรศการ การสัมมนา และการโฆษณาประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ “โครงการ Roadshow สร้างอนาคตไทย Thailand 2020” โดยมิชอบ ซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ...รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้มีการยกร่าง พ.ร.บ.บัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มีดำริให้จัดนิทรรศการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนภายใต้ชื่อ “โครงการ Roadshow สร้างอนาคตไทย Thailand 2020”
ปรากฏว่า ในการดำเนินโครงการดังกล่าว มีการอนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น วงเงิน 40 ล้านบาท เพื่อจัดโครงการในจังหวัดหนองคายและนครราชสีมา ทั้งที่ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทยังไม่ผ่านสภา อีกทั้งการจัดโครงการประชาสัมพันธ์ไม่ใช่ความเร่งด่วนที่จะต้องใช้งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น โดยบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างจัดโครงการดังกล่าว โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจนถึงขั้นตอนการลงนามในหนังสือสั่งจ้าง ใช้เวลาดำเนินการเพียง 2 วันเท่านั้น
ต่อมา นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯ ได้ร่วมกันอนุมัติหลักการจัดการการ Roadshow อีก 10 จังหวัดที่เหลือ วงเงิน 200 ล้านบาท โดยตกลงแบ่งงานให้บริษัท มติชนฯ และบริษัท สยามสปอร์ตฯ บริษัทละ 5 จังหวัด ซึ่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจนถึงขั้นตอนการลงนามในหนังสือสั่งจ้าง ใช้เวลาดำเนินการเพียงวันเดียวเท่านั้น และพบว่า การลงนามในหนังสือสั่งจ้างได้กระทำไปก่อนที่ได้รับเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณ ทั้งที่ส่วนราชการทราบดีว่า การจะลงนามในหนังสือสั่งจ้างได้ ก็ต่อเมื่อสำนักงบประมาณได้แจ้งจัดสรรเงินงบประมาณ (ใบงวดงาน) มาให้แล้วเท่านั้น
ต่อมา จึงมีการเสนอ ครม.ให้ยกเว้นการลงนามในหนังสือสั่งจ้างก่อนใบงวดงาน ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ตราขึ้นโดยมิใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วน ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มีผลให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นอันตกไป ทำให้โครงการต่างๆ ตามที่ได้ออกไป Roadshow มิได้เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด การใช้งบประมาณในโครงการ Roadshow จำนวน 240 ล้านบาท จึงเกิดความสูญเปล่า เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย
คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายนิวัฒน์ธำรง และนายสุรนันทน์ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 และ 157, พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554 มาตรา 123/1 ประกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192 และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 และ 13 ส่วนการกระทำของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) นายฐากูร บุนปาน บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคจ จำกัด (มหาชน) และนายระวิ โหลทอง มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151,157 ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554 มาตรา 123/1 ปะกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192 และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 4 ฐานเป็นผู้สนับสนุน
ป.ป.ช.จึงให้ส่งรายงานสำนวนการไต่สวน เอกสาร พยานหลักฐาน และความเห็น พร้อมสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป
ด้านนายฐากูร บุนปาน รองประธานกรรมการบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ยืนยันว่า การดำเนินการตามโครงการดังกล่าวเป็นไปโดยบริสุทธิ์ ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของราชการ
ขณะที่นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กยืนยันเช่นกันว่า การดำเนินการใดๆ ในตำแหน่งหน้าที่เลขาธิการนายกฯ เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ และทำด้วยยความระมัดระวังอย่างรอบคอบ ยึดถือกฎหมาย มุ่งมั่นและคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชนเป็นที่ตั้ง
3.“บิ๊กตู่” เซ็นคำสั่งให้ “พล.ต.อ.วิระชัย” กลับ สตช.ดังเดิม ด้าน “บิ๊กแป๊ะ” ให้ฝ่าย กม.แจ้งความเอาผิด “วิระชัย” ปล่อยคลิปเสียงคดียิงรถ “บิ๊กโจ๊ก”!
เมื่อวันที่ 23 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงนามในคำสั่งที่ 219/2563 ให้ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กลับไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติดังเดิม โดยคำสั่งระบุว่า ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 22/2563 ลงวันที่ 23 ม.ค. 2563 ให้ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม และให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ และสิทธิประโยชน์อื่นใด ไม่ต่ำกว่าที่ได้รับอยู่เดิม โดยเบิกจ่ายจากสังกัดเดิม เพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 24/2563 ลงวันที่ 21 ม.ค.2563 จนกว่าจะมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่นนั้น
บัดนี้ ได้รับรายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) (3) (4) และ (6) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกฯ ดังกล่าว และให้ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กลับไปปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.2563 เป็นต้นไป
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 ม.ค.63 พล.อ.ประยุทธ์ ได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกฯ ให้ พล.ต.อ.วิระชัย มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี หลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่า พล.ต.อ.วิระชัย มีพฤติการณ์และการกระทำซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ในการอำนวยการยุติธรรม กระทบต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นเหตุให้ราชการเสียหาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างตรวจสอบ สมควรพิจารณาสั่งการให้ พล.ต.อ.วิระชัย ไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้ พล.ต.อ.วิระชัย มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้มอบหมายให้กองคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน กองปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. ฐานกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 21 เรื่องห้ามดักฟังทางโทรศัพท์หรือข้อมูลสื่อสารอื่นใด กรณีเปิดเผยข้อมูลการสนทนาโทรศัพท์ ระหว่าง พล.ต.อ.จักรทิพย์ และ พล.ต.อ.วิระชัย ผ่านสื่อมวลชน ซึ่งทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะนิติบุคคลได้รับความเสียหาย มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ ที่มีการปล่อยคลิปเสียงการสนทนากันระหว่าง พล.ต.อ.จักรทิพย์ กับ พล.ต.อ.วิระชัย ซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับคดียิงรถยนต์ส่วนตัวของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง พล.ต.อ.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร จเรตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนกรณีดังกล่าว จากการสอบสวน เห็นว่า พล.ต.อ.วิระชัย มีความผิด จึงได้ส่งมอบให้สำนักงานกฎหมายและคดี (กมค.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาว่า เป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายฐานใดหรือไม่ จากการตรวจสอบพบว่า การปล่อยคลิปเสียงดังกล่าวต่อสื่อมวลชน ถือเป็นความผิดต่อองค์กร ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับความเสียหาย จึงได้รายงานไปยัง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ก่อนที่ กมค. จะประสานงานให้กองคดีเข้าแจ้งความดังกล่าว
โดยล่าสุด มีรายงานว่า พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาออกหมายเรียก พล.ต.อ.วิระชัย มาสอบปากคำ และแจ้งข้อกล่าวหาต่อไป
4.ศบค.ไฟเขียวต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 1 เดือน เตรียมเสนอ ครม. 28 ก.ค. ยันเป็นสิ่งจำเป็นช่วงเปิด ปท.!
เมื่อวันที่ 22 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) หลังประชุม นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.แถลงว่า ที่ประชุมได้มีการรายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 4 และ 5 ซึ่งพบว่า ระยะที่ 5 มีการกระทำความผิดเพิ่มขึ้น โดย พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ มีความเห็นว่า จะต้องสร้างความร่วมมือให้มากขึ้น รวมถึงมีบทลงโทษ หากเกิดการฝ่าฝืน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อไปว่า “มีการพิจารณาความเหมาะสมที่จะขยายระยะเวลาประกาสสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ท่านเลขาฯ สภาความมั่นคงแห่งชาติ รายงานว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ในภาพรวมทั่วโลก ยังคงมีการระบาดที่รุนแรง อีกทั้งมีคนไทยจากต่างประเทศและชาวต่างชาติที่ได้รับการผ่อนผันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจะมีการอนุญาตชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม นอกจากนี้มาตรการผ่อนคลายภายในประเทสที่ดำเนินการอยู่ เป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค จึงมีความจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลโดยเจ้าหน้าที่รับอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการระบาดของโรคภายในประเทศ จึงมีความจำเป็นในการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน”
นอกจากนี้ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ยังมีความคืบหน้าในการจัดทำข้อตกลงพิเศษและมาตรการสำหรับบุคคลในคณะทูตหรือคณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ผู้แทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐหรือต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการต่างประเทศ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มนักธุรกิจ/ผู้เชี่ยวชาญ 2.กลุ่มนักการทูต โดยเมื่อเข้ามาแล้ว จะต้องอยู่ในสถานกักกันโรคของรัฐ (State Quarantine)
ขณะที่กระทรวงแรงงานได้เสนอให้พิจารณาแนวทางและหลักเกณฑ์การอนุญาตแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ เมียนมา ลาว กัมพูชา เข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากมีความต้องการแรงงานไร้ฝีมือ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีใบอนุญาตทำงาน (Work permit) และมีวีซ่าอยู่แล้ว จำนวน 69,235 คน 2.กลุ่มที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือไม่มีวีซ่า แต่ต้องการนำเข้ามาจำนวน 42,168 คน รวมทั้งสิ้นกว่าแสนคน เพื่อเข้ามาในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน หรือก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอาหาร โดยเสนอให้หน่วยงานหรือเจ้าของกิจการจัดสถานที่กักกันโรคฯ ในรูปแบบของ Organizational Quarantine ที่ให้คนกลุ่มนี้เข้าพักได้มากกว่า 1 คน/ห้อง โดยจะต้องมีการดูแลระบบควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ตามข้อกำหนดของ สธ. ซึ่งเป็นไปตามสถานกักกันโรคฯ แบบ State and Local Quarantine
ด้าน พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงเหตุผลของการขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีก 1 เดือนว่า เนื่องจากเราต้องเปิดประเทศมากขึ้น “วันนี้ ศบค.มีความเห็นชอบหลายประการในการเปิดประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการรับแรงงานต่างด้าว การมีโปรแกรมด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น การอนุญาตให้ชาวต่างชาติจัดการประชุมในประเทศไทย รวมถึงการถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ บนพื้นฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข เครื่องมือเพียงอย่างเดียวที่จะประกันได้ว่า สิ่งที่เราอนุญาตหรือผ่อนคลายไปในเชิงธุรกิจ เศรษฐกิจจะถูกชั่งน้ำหนักโดยความปลอดภัยด้านสาธารณสุข เครื่องมืออย่างเดียวในขณะนี้ที่มีอยู่คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จึงมีความจำเป็นต้องต่อไปอีก 1 เดือน โดยเฉพาะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ยังไม่มีกฎหมายตัวอื่น”
พล.อ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า “การห้ามการชุมนุมจะไม่ปรากฏใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่จะต่อไปอีก 1 เดือน แต่การชุมนุมทางการเมืองจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่เป็นกฎหมายปกติ โดยจะมีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันที่ 28 ก.ค.นี้ ในการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 1 เดือน โดยไม่มีการห้ามการชุมนุม เพื่อให้มั่นใจว่า ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใช้เพื่อประโยชน์ทางสาธารณสุขจริงๆ”
5.กลุ่มโจ๋ปากน้ำเหิม ยกพวกไล่ยำคู่อริกลาง รพ.-ชก พญ.จนล้มทรุด หลังไม่พอใจเพื่อนตาย ตร.รวบตัวฝากขัง ศาลไม่ให้ประกัน!
เมื่อช่วงเย็นวันที่ 19 ก.ค. ได้เกิดเหตุกลุ่มบุคคล 2 กลุ่มยกพวกทำร้ายกัน โดยใช้อาวุธมีดที่ซอยโรงเหล็ก ต.บ้างหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งนำผู้บาดเจ็บฝ่ายตนเข้ารักษาตัวที่ รพ.วิภาราม ชัยปราการ อีกฝ่ายเข้ารักษาตัวที่ รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย
ต่อมา กลุ่มที่พาเพื่อนที่ถูกแทงเข้ารักษาตัวที่ รพ.วิภาราม ชัยปราการ ทราบจากหมอว่า เพื่อนเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนถึง รพ. ส่งผลให้เพื่อนผู้ตายไม่พอใจ จึงลงมือทำร้ายหมอผู้หญิงด้วยการชกเข้าที่ใบหน้าจนหมอล้มลง นอกจากนั้นยังชกเจ้าหน้าที่ รพ.อีกคนด้วย
ทั้งนี้ รปภ.ของโรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ เล่าว่า เพื่อนของผู้บาดเจ็บขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายพาผู้บาดเจ็บที่ถูกแทง แต่เลือดไม่ออกมา รพ. เมื่อมาถึง ผู้บาดเจ็บหมดสติอยู่ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ รพ.ได้พาเข้าห้องฉุกเฉิน แพทย์ได้ปั๊มหัวใจและจับชีพจรผู้บาดเจ็บ พบว่า ขณะมาถึง รพ. ผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นแล้ว แพทย์และพยาบาลจึงช่วยกันปั๊มหัวใจ แต่ไม่เป็นผล
“แพทย์จึงบอกกับญาติของผู้บาดเจ็บว่า ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตก่อนจะมาถึง รพ.แล้ว แพทย์พยายามแล้วแต่ไม่เป็นผล ทำให้พรรคพวกของผู้ตายไม่พอใจและกรูกันเข้าไปทำร้ายหมด ซึ่งเป็นแพทย์หญิงและพนักงานเวรเปล โดยหาว่าหมอไม่ยอมช่วยเพื่อนของเขา ก่อนที่กลุ่มผู้ก่อเหตุทั้งหมดจะออกมาที่หน้าห้องฉุกเฉิน และทำร้ายกันเอง ซึ่งผมได้ยินว่า “มึงโทรตามเพื่อนมาตาย” ขณะเดียวกันหลังจากที่พรรคพวกของผู้ตายทราบว่า คู่อริที่ทำร้ายคนตายก็ได้รับบาดเจ็บเข้าไปรักษาตัวที่ รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย จึงได้ยกพวกพากันไปก่อเหตุที่ รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพรายอีก”
ขณะที่ พล.อ.ท.นพ.ชูพันธ์ ชาญสมร ผู้อำนวยการ รพ.วิภาราม ชัยปราการ เผยว่า รพ.ได้รับผู้บาดเจ็บทำการรักษา หลังพบว่าถูกแทงที่บริเวณหน้าอก โดยเมื่อมาถึง รพ. พบผู้ป่วยไม่สามารถวัดชีพจรได้ และมีเลือดออกในช่องอก จึงรักษาด้วยการเจาะปอดระบายเลือดออก ซึ่งก็มีจำนวนมาก แพทย์จึงออกไปคุยรายละเอียดอาการกับญาติ โดยมีพี่สาวของผู้บาดเจ็บไปบอกกับกลุ่มเพื่อน ก่อนที่กลุ่มเพื่อนผู้บาดเจ็บจะเดินเข้ามาถามแพทย์ว่า “ไหนใครบอกว่า เพื่อนกูตายตั้งแต่ที่เกิดเหตุ” แล้วชกไปที่ใบหน้าของแพทย์ธนิกานต์ ลู่พานิช ที่รักษาจนทรุดกับพื้น และผลักเจ้าหน้าที่เอกซเรย์ และชกหน้าผากพนักงานขับรถได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุไม่เพียงทำร้ายแพทย์และเจ้าหน้าที่ แต่ยังมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้รับความเสียหายอีกหลายรายการ ทั้งนี้ การกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุที่ทำร้ายแพทย์และเจ้าหน้าที่ รพ.ส่งผลให้กระแสสังคมรับไม่ได้และตำหนิการกระทำดังกล่าวอย่างกว้างขวาง พร้อมเสนอแนะให้เพิ่มบทลงโทษการกระทำในลักษณะนี้ให้ได้รับโทษอย่างหนัก
ด้าน พ.ต.ท.สุเมธ สาลี สว.สส.สภ.สำโรงใต้ กล่าวว่า จากการสืบสวนทราบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดตั้งแต่ช่วงหัวค่ำที่บริเวณบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่ ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง โดยกลุ่มของนายแฮ็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กมหาวงษ์ ได้มีปากเสียงชกต่อยกับนายธนพล ทองชัยยะ หรือแจ๊ค อายุ 21 ปี กลุ่มเด็กซอยโรงเหล็ก นายแฮ็กจึงไปตามนายรัชพงษ์ วาสนา หรือคิว อายุ 22 ปี ผู้ตาย และพวกอีก 8-9 คน ให้มาช่วย และเกิดการชุลมุนกันอยู่พักใหญ่
นายคิวได้ถูกของมีคมไม่ทราบชนิดแทงเข้าที่ราวนมข้าวขวา 1 แผล แต่เลือดไม่ออก นายคิวหมดสติ ก่อนที่พรรคพวกจะพากันขี่รถจักรยานยนต์นำนายคิวไปรักษาที่ รพ.วิภาราม ชัยปราการ และเสียชีวิต โดยมีพรรคพวกของผู้ตายติดตามมาหลายสิบคน หลังทราบว่านายคิวเสียชีวิตแล้ว และทราบว่าคู่กรณีที่แทงนายคิว ชื่อแจ๊ค ก็บาดเจ็บมีแผลฉีกขาดบริเวณศีรษะ ปาก และแขนซ้าย เข้ารักษาตัวที่ รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย จึงยกพวกไปก่อเหตุที่ รพ.เมืองสมุทรฯ อีก จนมีผู้บาดเจ็บ
ต่อมา เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ตำรวจ สภ.สำโรงใต้ ได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งหมด 15 ราย ไปฝากขังผัดแรกที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ในเบื้องต้นศาลไม่ให้ประกันตัวและนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าฝากขังในเรือนจำสมุทรปราการ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่แบ่งเป็น 3 คดี โดยคดีแรกที่ซอยโรงเหล็ก แบ่งเป็น 2 ข้อหา คือ ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บโดยมีอาวุธของแหลมมีคม และบุกรุกเคหะสถานในเวลากลางคืน คดีที่ 2 ที่ รพ.วิภาราม ชัยปราการ แบ่งเป็น 2 ข้อหา ประกอบด้วย ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน และร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยใช้ยานพาหนะ และคดีที่ 3 ที่ รพ. เมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย แบ่งเป็น 3 ข้อหา คือ ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืนโดยใช้อาวุธ, ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยมีอาวุธ และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ติวสอบ รอง ผอ.เขต 2563
ติวสอบ รอง ผอ.เขต 2563
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น