หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)  


เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ ) 




(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม 

คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   





พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒

 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕ ๖ ๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยค าแนะน าและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติท าหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ 
    มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ ” 
    มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป 
    มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 
    “มาตรา ๓๑ กระทรวงมีอ านาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและก ากับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอ านาจหน้าที่ของกระทรวงอื่น ที่มีกฎหมายก าหนดไว้เป็นการเฉพาะ ก าหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับ การศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มี กฎหมายก าหนดให้เป็นอ านาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง มาตรา ๓๒ การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคล ในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการจ านวนสามองค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้ค าแนะน าแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอ านาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายก าหนด ” 
    มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๑ และมาตรา ๓๒/๒ แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๓๒/๑ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอ านาจหน้าที่ เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และก ากับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย ก าหนดให้เป็นอ านาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือส่วนราชการ ที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาตรา ๓๒/๒ การจัดระเบียบราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ” 
    มาตรา ๕ ให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ 
    มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒“มาตรา ๓๕/๑ ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัด การศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยค านึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษา ระดับปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบ จ านวนกรรมการ คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกและการแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการ และกรรมการและเลขานุการ วาระการด ารงต าแหน่ง และการพ้นจากต าแหน่งของกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ” 
    มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ การอาชีวศึกษา ให้เป็นไปตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง ส าหรับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอ านาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายก าหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ” 
    มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๙ ให้มีส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็น องค์การมหาชนท าหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และท าการประเมินผลการจัด การศึกษา ที่มิใช่การจัดการอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในอ านาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือกระทรวงอื่น เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยค านึงถึง ความมุ่งหมาย หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่ การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ”         มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่ก าหนด ให้ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดท าข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงาน ต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่ก าหนด หากมิได้ด าเนินการดังกล่าว ให้ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อด าเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข ” 
    มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๑/๑ ของหมวด ๗ ครู คณาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษา แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
“มาตรา ๕๑/๑ ค าว่า “คณาจารย์” ในหมวดนี้ ให้หมายความว่า บุคลากรซึ่งท าหน้าที่หลัก ทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน แต่ไม่รวมถึง บุคลากรซึ่งสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ” 
    มาตรา ๑๑ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามมาตรา ๓๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 
    หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ เพื่อก าหนดขอบเขตในการด าเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่น ให้สอดคล้องกับอ านาจหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 




พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ 
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕ ๖ ๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยค าแนะน าและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติท าหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ 
    มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ” 
    มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป        มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ ให้จัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ (๑) ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลา ง (๒) ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา 
(๓) ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงการจัดการศึกษาที่อยู่ในอ านาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายก าหนดไว้เป็นการเฉพาะ ”        
     มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ 
     (๑) ส านักงานรัฐมนตรี 
     (๒) ส านักงานปลัดกระทรวง 
     (๓) ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 
      (๔) ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
      (๕) ส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ” 
       มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๓ ในกรณีที่สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา เสนอความเห็นหรือค าแนะน าต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการน าความเห็นหรือค าแนะน ามาประกอบการพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับการศึกษา ของชาติ ” 
        มาตรา ๖ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ 
        มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๘ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะท างานเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่ง เรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด อันอยู่ในอ านาจหน้าที่ของสภาหรือคณะกรรมการ ก็ได้ ”
        มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การด าเนินการในเรื่องการตรวจราชการและการด าเนินการของคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ก าหนด ในมาตรานี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวงหรือส่วนราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือค าสั่งของนายกรัฐมนตรี ” 
        มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๕) การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ ากว่าปริญญาแต่ไม่รวมถึงสถาบันวิทยาลัยชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันวิทยาลัยชุมชน ”  
      มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๘ ให้ส านักงานที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามมาตรา ๑๐ (๓) (๔) และ (๕) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส านักงาน และอาจแบ่งส่วนราชการ ดังนี้ (๑) ส านักอ านวยการ (๒) ส านัก ส านักบริหารงาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าส านักหรือ ส านักบริหารงาน ” 
     มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๙ ให้ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามมาตรา ๑๐ (๓) (๔) และ (๕) มีเลขาธิการซึ่งมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๐ เลขาธิการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการตามมาตรา ๒๘ มีอ านาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 
     (๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจ าในส านักงาน แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนปฏิบัติการ ก ากับการปฏิบัติงานของส่วนราชการในส านักงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งเร่งรัดติดตามและประเมินผล การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในส านักงาน
     (๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในส านักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของข้าราชการในส านักงาน ตลอดจนการจัดท าแผนพัฒนาของหน่วยงาน ให้เลขาธิการสภาการศึกษารับผิดชอบบังคับบัญชาส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตามมาตรา ๑๐       (๓) ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งรับผิดชอบบังคับบัญชาส านักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา ๑๐ 
     (๔) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือในสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้วย ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาซึ่งรับผิดชอบบังคับบัญชาส านักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาตามมาตรา ๑๐ 
     (๕) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัด ส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้วย ในการปฏิบัติราชการของเลขาธิการตามมาตรานี้ ให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและ ปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีรองเลขาธิการหรือผู้ช่วยเลขาธิการ หรือมีทั้งรองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการ ให้รองเลขาธิการหรือผู้ช่วยเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ รองจากเลขาธิการ ให้รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ และผู้ด ารงต าแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในส านักงาน เลขาธิการ มีอ านาจหน้าที่ตามที่เลขาธิการก าหนดหรือมอบหมาย ” 
      มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความใน (๖) ของมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๖) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา และผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งงานอื่นที่กระทรวงมอบหมาย ” 
      มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๐ การจัดระเบียบราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็น นิติบุคคลซึ่งสังกัดกระทรวง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ” 
       มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ 
       มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๔๔ ให้ปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระจายอ านาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่ การศึกษา และส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง ในกรณีที่มีกฎหมายก าหนดให้เป็น อ านาจหน้าที่ของปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาไว้เป็นการเฉพาะ ให้ผู้ด ารงต าแหน่งดังกล่าวมอบอ านาจ ให้แก่ผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อ านวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้ค านึงถึงความเป็นอิสระและการบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษาของส านักงานเขตพื้นที่ การศึกษาและสถานศึกษา ภายใต้หลักการบริหารงานการศึกษา ดังต่อไปนี้ 
      (๑) อ านาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับงบประมาณและการด าเนินการ ทางงบประมาณของผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อ านวยการสถานศึกษา รวมตลอดถึง หลักการการให้ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสถานศึกษามีอ านาจท านิติกรรมสัญญาในวงเงิน งบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้ว 
      (๒) หลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และด าเนินการทางวินัยกับครูและ บุคลากรทางการศึกษาโดยสัมพันธ์กับแนวทางที่ก าหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา การกระจายอ านาจและการมอบอ านาจตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง ปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อาจก าหนดให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดมอบอ านาจใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่ตนรับผิดชอบไปยังผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อ านวยการ สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ด ารงต าแหน่งใน การบังคับบัญชาส่วนราชการดังกล่าวเป็นผู้ก าหนด ผู้อ านวยการส านักบริหารงานในสังกัดส านักงานปลัดกระทรวง และผู้อ านวยการส านักบริหารงาน ในสังกัดส านักงานคณะกรรมการต่าง ๆ อาจมอบอ านาจในส่วนที่เกี่ยวกับภารกิจที่ตนรับผิดชอบ หรือ ที่ได้รับมอบหมายตามระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ จากส านักงานคณะกรรมการต่าง ๆ ไปยังผู้อ านวยการ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อ านวยการสถานศึกษา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเทียบเท่าผู้อ านวยการสถานศึกษาโดยตรงได้ ทั้งนี้ โดยจะต้องไม่ขัดต่อนโยบายหรือการสั่งการ ของกระทรวง หรือคณะกรรมการต้นสังกัด ”
       มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความใน (๑) (๒) และ (๓) ของมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “
       (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอาจมอบอ านาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง เลขาธิการ หัวหน้าส่วนราชการซึ่งด ารงต าแหน่งเทียบเท่าอธิการบดี หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด 
        (๒) ปลัดกระทรวงอาจมอบอ านาจให้รองปลัดกระทรวง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง เลขาธิการ หัวหน้าส่วนราชการซึ่งด ารงต าแหน่งเทียบเท่าอธิการบดี ผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อ านวยการสถานศึกษา หรือผู้ว่าราชการจังหวัด 
        (๓) เลขาธิการอาจมอบอ านาจให้รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ หัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งด ารงต าแหน่งเทียบเท่าอธิการบดี ผู้อ านวยการส านัก ผู้อ านวยการส านักบริหารงานหรือผู้ด ารงต าแหน่ง เทียบเท่า ผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อ านวยการสถานศึกษา หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ”      มาตรา ๑๗ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการอุดมศึกษาหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา และส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะกรรมการการอุดมศึกษา และหน่วยธุรการตามกฎหมายว่าด้วยการอุดมศึกษาหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
      มาตรา ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อก าหนดโครงสร้างและต าแหน่งต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ อ านาจหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะท าให้การจัดระบบการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจ าเป็นต้องตรา พระราชบัญญัติน 

 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
 ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๓

ทรงนักเรียนยุคใหม่! “ณัฏฐพล” ไฟเขียว นร.ชายไว้ผมยาวได้ถึงตีนผม นร ...
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดข้อปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติในการไว้ทรงผมของนักเรียนเพื่อให้เกิด ความชัดเจนในการดำเนินการของสถานศึกษา มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันและการปฏิบัติตน ของนักเรียนเป็นไปด้วยความถูกต้อง รวมทั้งเป็นการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ 
      ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๓” 
      ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป   
      ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “นักเรียน” หมายความว่า บุคคลซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา        “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดหรือก ากับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เว้นแต่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
    “หัวหน้าสถานศึกษา” หมายความว่า ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 
      ข้อ ๔ นักเรียนต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผม ดังนี้ 
(๑) นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาว ไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย 
(๒) นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสม และรวบให้เรียบร้อย 
      ข้อ ๕ นักเรียนต้องห้ามปฏิบัติตน ดังนี้ 
(๑) ดัดผม 
(๒) ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม 
(๓) ไว้หนวดหรือเครา 
(๔) การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผม เป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย 
     ข้อ ๖ ความในข้อ ๔ และข้อ ๕ มิให้นำมาใช้บังคับแก่นักเรียนที่มีเหตุผลความจำเป็น ในการปฏิบัติตามหลักศาสนาของตนหรือการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษา ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต
    ข้อ ๗ ภายใต้บังคับข้อ ๔ ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา หรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจง ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ การดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้ยึดถือหลักความเหมาะสมในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี ของนักเรียน และการมีส่วนร่วมของนักเรียน สถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนท้องถิ่น 
    ข้อ ๘ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจ ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
          ให้ไว้ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖3 
      ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


ที่มาเว็บ  ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/103/T_0006.PDF

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   



โดย  อ./ผอ.นิกร  ติวสอบดอทคอม 



(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม