แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ให้คณะรรมการ สพท. รร. 2550
- ยึดคุณธรรมนำความรู้
- ความเป็นมา การพัฒนาต้องยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางการตัดสินใจ การมีส่วนร่วม กระจายอำนาจ ความรับผิดชอบตรวจสอบได้
- 5 มาตรการสู่การปฏิบัติ
มาตรการที่ 1 กระจายอำนาจด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไป สำหรับเขตพื้นที่และสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรการที่ 2 พัฒนาผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูแกนนำ ของเขตพื้นที่และสถานศึกษา
มาตรการที่ 3 นำร่องการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจในสถานศึกษาที่มีความพร้อมทุกเขตพื้นที่
มาตรการที่ 4 เปลี่ยนสถานะของอุดมศึกษา เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามความสมัครใจ
มาตรการที่ 5 จัดระบบการกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาตามหลัก SBM
- สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น บริษัท หจก.
2. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ประเภทเฉพาะ เช่น โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ บริหารตามกฎหมายแต่ละองค์กร ไม่เหมือนกัน
3. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ประเภททั่วไป เช่น โรงเรียนของรัฐสังกัดสพท. จังหวัด อบต. คุรุสภา บริหารจัดการภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนดหรือมอบอำนาจหน้าที่ให้ บริหารตามอำเภอใจไม่ได้
- โรงเรียนนิติบุคคล หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาที่กฎหมายกำหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่มีกฎหมายให้ดำเนินการโดยเฉพาะเพียงแต่อาศัยอำนาจผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปมอบอำนาจให้ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับบัญชากำกับดูแลของ สพท และ สพฐ
- โรงเรียนมีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ เว้นแต่ อสังหาริมทรัพย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานก่อน
- กรณีโรงเรียนถูกดำเนินคดี ผู้บริหารต้องเป็นผู้ดำเนินคดีแทนสถานศึกษา
- โรงเรียนต้องจัดทำงบดุลประจำปีและรายงานสาธารณะทุกสิ้นปีงบประมาณ
- ความแตกต่างระหว่างสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคล แตกต่างกันตรงที่บุคคลภายนอกสามารถฟ้องสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลได้โดยตรง แต่สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคล บุคคลภายนอกไม่สามารถฟ้องโดยตรงได้ต้องฟ้อง สพฐ.
- การมอบอำนาจ ความรับผิดชอบยังอยู่กับผู้มอบอำนาจหน้าที่นั้น ๆ และผู้มอบอำนาจมีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจและให้มีอำนาจแนะนำแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้
- รูปแบบเขตพื้นที่ตามแนวคิดการปฏิรูปการศึกษา ให้บริการทางการศึกษา คำนึงถึง ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากรเป็นหลัก และความเหมาะสมด้านอื่น ๆ
- แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้ประสบผลสำเร็จ ควรตระหนักและดำเนินการ ดังนี้
1. พัฒนาบุคลากร ทีมงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการกระจายอำนาจ
2. ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการศึกษา
3. กระจายอำนาจการตัดสินใจ
4. ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยองค์คณะบุคคล
5. ความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) คือ การพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานที่กำหนด
- แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ให้ทุกหน่วยงานปรับเปลี่ยนการบริหาร เป็นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management ; NPM) มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีดัชนีความสำเร็จเป็นรูปธรรม
โดยประยุกต์ แนวคิดการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ดังนี้
1. กำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม
2. กำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือแผนกลยุทธ์
3. กำหนดปัจจัยความสำเร็จ (CSFs) และดัชนีวัดผลการปฏิบัติงาน (KPIs) เป้าหมาย ละมาตรฐานการปฏิบัติงาน
4. การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
5. ประเมินผลการปฏิบัติงาน จัดทำรายงานประเมินตนเอง
6. การประกันคุณภาพการศึกษา
- ยุทธศาสตร์สำคัญในการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้ในสถานศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเตรียมความพร้อมของบุคลากร ได้แก่
1. สร้างความตระหนัก
2. ส่งเสริมความรู้ โดยศึกษาดูงาน
3. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ผอ.จัดโครงสร้างและระบบวางคนชัด
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสมรรถภาพของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. ความรู้ความเข้าใจ บทบาทหน้าที่
2. ความสามารถ ภารกิจของสถานศึกษา หลักสูตร แผน
3. ตามเจตนารมณ์ สนใจ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เสียสละ ยอมรับความคิดเห็น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
กล้านำ กล้าตัดสินใจ กล้าเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงการจัดการ สู่ความสำเร็จ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหารและการเรียนการสอน
ข้อมูล ทั้ง 4 ด้าน วิชาการ บริหารบุคคล งบประมาณ ทั่วไป
- การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพให้แก่สถานศึกษา เริ่มจากการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- หลักเกณฑ์ในการกำหนดประเภทของสถานศึกษา มี 2 ประเภท
1. สถานศึกษาประเภทที่ 1
- มีนักเรียนตั้งแต่ 500 คนขึ้นไปหรือโรงเรียนและศูนย์การศึกษาพิเศษ
- มีผลการประเมิน สมศ
รอบแรก อยู่ในระดับ ดี เฉลี่ยทั้ง 14 ม. มากกว่า 2.50 และไม่มี ม.ใดอยู่ในระดับปรับปรุง
รอบสอง อยู่ในระดับ ดี เฉลี่ยทั้ง 14 ม. เท่ากับหรือมากกว่า 2.75 และได้ระดับ ดี 11 ม. ขึ้นไป และไม่มีมาตรฐานใดอยู่ในระดับปรับปรุง
2. สถานศึกษาประเภทที่ 2 ไม่อยู่ในประเภทที่ 1
- เป้าหมายและแนวทางการพัฒนา สพท. โรงเรียนแต่ละประเภท
- สพท. มีความเข้มแข็ง อิสระ คล่องตัว
- สถานศึกษาประเภทที่ 1 รูปแบบบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน SBM มุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ
- สถานศึกษาประเภทที่ 2 ต้องได้รับการสนับสนุนพิเศษจาก สพท.และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ตามกรอบกระจาย 4 ด้าน เขตอาจช่วยบางเรื่อง หรือ จัดเป็นเครือข่ายสถานศึกษา
- แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ให้ สพท.และรร
1. ด้านการบริหารงานวิชาการ จำนวน 17 เรื่อง ที่สำคัญ
หลักสูตร แนะแนว วัดประเมินผล การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ที่ต้องขอ/โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 เรื่อง ได้แก่ (แผน/หลักสูตร/ระบบประกัน)
1. การวางแผนงานด้านวิชาการ
2. การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
3. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา
- หลักสูตรท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้อนุมัติ
2. ด้านการบริหารงานบุคคล จำนวน 20 เรื่อง ที่สำคัญ
การวางแผนอัตรากำลัง สรรหา ลา พัก อุทธรณ์ ออก เครื่องราชฯ ขอรับใบอนุญาต
ที่ต้องขอ/โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 เรื่อง
ได้แก่ การวางแผนอัตรากำลัง
3. ด้านการบริหารงบประมาณ จำนวน 22 เรื่อง
มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณตามมาตรฐานการจัดการทางการเงินทั้ง 7 ด้าน เพื่อรองรับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
1. การวางแผนงบประมาณ
2. การคำนวณต้นทุนผลผลิต
3. การจัดระบบการจัดหาพัสดุ
4. การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ
5. การายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน
6. การบริหารสินทรัพย์
7. การตรวจสอบภายใน
ที่สำคัญ แผนการใช้เงิน การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา พัสดุ การเงิน บัญชี
ที่ต้องขอ/โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 เรื่อง (แผน/จ่าย/โอน/ระดม/ผลประโยชน)
1. การจัดทำแผนงบประมาณ/คำขอตั้งงบประมาณ
2. การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน
3. การขอโอนและขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
4. การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
5. การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
4. ด้านการบริหารทั่วไป จำนวน 22 เรื่อง ที่สำคัญ
การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ การประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา การวางแผนการบริหารงานการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ธุรการ ดูแลอาคารสถานที่ การจัดทำสำมะโนผู้เรียน การรับนักเรียน เสนอความเห็นตั้ง ยุบ รวม เลิก สถานศึกษา การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา การทัศนศึกษา กิจการนักเรียน ประชาสัมพันธ์ ประสานส่วนราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น การรายงานผลการปฏฺบัติงาน การจัดระบบควบคุมภายใน การลงโทษนักเรียน
ที่ต้องขอ/โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 เรื่อง (แผน/รับ/ตั้ง ยุบ รวม/ระดม)
1. การวางแผนการบริหารงานการศึกษา
2. การรับนักเรียน
3. การเสนอความเห็นตั้ง ยุบ รวม เลิกสถานศึกษา
4. การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
- การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและสนับสนุน ส่งเสริม กำกับ ดูแล การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา
1. การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและรายงานผล ของ สพท.และโรงเรียน
- ใช้การประเมินผลแบบสมดุล (Balance Scorcard : BSC) พิจารณา 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ มิติด้านการเรียนรู้และพัฒนา มิติด้านการเงินและงบประมาณ มิติด้านการบริหารจัดการ
2. การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและรายงานผล ของ สพฐ. ดำเนินงานในลักษณะ PMA ; Performance and Management Audit และการทำงานร่วมกันผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินอย่างสร้างสรรค์มีความสุข ใช้วิธี BSC
มิติที่ 1 ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ
- การตอบสนองความต้องการ การบริการที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ท้องถิ่น ภาคเอกชน
มิติที่ 2 ด้านการเรียนรู้และพัฒนา
- การพัฒนานวัตกรรม การพัฒนา สพท.และ รร. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การบริหารจัดการความรู้ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การวิจัยและพัฒนาเพื่อการเรียนรู้
มิติที่ 3 ด้านการเงินและงบประมาณ
- เบิกจ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBB Performance Based Budgeting) การใช้งบประมาณ ระบบควบคุมภายใน ประสิทธิภาพประสิทธิผลบัญชี
มิติที่ 4 ด้านการบริหารจัดการ
- ระบบบริหารจัดการ 4 ด้าน ผลสัมฤทธิ์ตามกลยุทธ์ การเพิ่มประสิทธิภาพ SBM การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบนิเทศติดตาม
ข้อสอบพลวัต 7 27 กันยายน 2552
1.การกระจายอำนาจและการจัดการศึกษา 2550 กระจายไปยัง
ตอบ คณะกรรมการเขตพื้นที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา (ไม่ได้กล่าวถึงคณะกรรมการสถานศึกษาฯ)
2.ใครเป็นผู้กระจายอำนาจดังกล่าว
ตอบ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จัดเป็นโรงเรียนนิติบุคคลแบบใด
ตอบ นิติบุคคล ตามกฎหมายมหาชน ประเภทเฉพาะ
4. บุคคลภายนอกสามารถฟ้องสถานศึกษาได้โดยตรงกรณีที่
ตอบ สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล
5. KPIs ย่อมาจาก
ตอบ Key Performance Indicator หรือตัวชี้วัดความสำเร็จ
6. สถานศึกษาประเภทที่ 1 มีลักษณะ
ตอบ นักเรียน ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ผ่านการประเมิน สมศ.ระดับดี 14 มาตรฐาน ไม่มีปรับปรุง
7.การกระจายอำนาจ งาน 4 งาน เรียงลำดับ คือ
ตอบ งานวิชาการ 17 เรื่อง การบริหารงานบุคคล 20 เรื่อง การบริหารงบประมาณ 22 เรื่อง การบริหารงานทั่วไป 22 เรื่อง
8.มีกี่เรื่องในงานวิชาการที่ต้องขอความเห็นขอบจากกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ 3 เรื่อง การวางแผนงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา การประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
9.มีกี่เรื่องในการบริหารงานบุคคลที่ต้องขอความเห็นชอบจากกกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ 1 เรื่อง การวางแผนอัตรากำลัง
10.มีกี่เรื่องในการบริหารงานงบประมาณที่ต้องขอความเห็นชอบจากกกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ 5 เรื่อง (แผน/จ่าย/โอน/ระดม/ผลประโยชน์)
1. การจัดทำแผนงบประมาณ/คำขอตั้งงบประมาณ
2. การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน
3. การขอโอนและขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
4. การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
5. การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
11.การประเมินผลการดำเนินงานของ สพฐ. ใช้วิธีใด มีกี่มิติ
ตอบ BSC (ฺBalance Score Gard)มี 4 มิติ
มิติที่ 1 ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ (C)
มิติที่ 2 ด้านการเรียนรู้และพัฒนา (L@G)
มิติที่ 3 ด้านการเงินและงบประมาณ (F)
มิติที่ 4 ด้านการบริหารจัดการ (I)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์..เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรทางการศึกษา)
คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย
วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค
แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030
เพิ่งเปิดเจอ ขอบคุณมากครับ ขอให้ท่านจงเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
ตอบลบ