www.tuewsob.com
กระชับความจริงพฤษภาเลือด "คอป."สรุปชุดดำชนวนยิง "ศอฉ.-นปช."ไม่ป้องเหตุรุนแรง
นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และกรรมการ คอป. แถลงรายงานฉบับสมบูรณ์ของ คอป. หลังดำเนินการมาจนสิ้นสุดวาระตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 ถึงเดือนกรกฎาคม 2555 เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 17 กันยายน ที่โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว ฟอร์จูน ดังนี้
นายคณิตกล่าวว่า รายงาน คอป.มีเรื่องสำคัญคือข้อเสนอแนะหลายอย่าง ในการสร้างความปรองดองที่ยั่งยืน นำหลักยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านมาปรับใช้ หลักธรรมภิบาล การเคารพสิทธิมนุษยชน การแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบัน บทบาทของสื่อ รัฐบาล และกองทัพ สิทธิการชุมนุมของผู้ชุมนม นอกจากนี้ คอป.ยังทำแนวทางการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของ คอป.ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้เกิดความจริงมากที่สุด
ด้าน นายสมชาย หอมลออ กรรมการ คอป.กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2553 พบว่ามีผู้เสียชีวิต 92 คน เป็นทหาร 8 คน ตำรวจ 2 คน ที่เหลือเป็นผู้ชุมนุม จาก 92 คน มีหลักฐานว่าเสียชีวิตเพราะชุดดำ 9 คน แยกเป็นหทาร 6 คน ตำรวจ 2 คน และประชาชนกลุ่มรักษ์สีลม 1 คน
จุดเริ่มต้นเหตุการณ์เริ่มส่อเค้ารุนแรงตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2553 ที่สถานีดาวเทียมไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี รัฐพยายามจะระงับการออกอากาศ เจ้าหน้าที่นำอาวุธสงครามไปด้วย แต่เก็บอาวุธและกระสุนแยกกันไว้ในรถเสบียง แต่ผู้ชุมนุมยึดมาและแถลงต่อสื่อ ทำให้กลายเป็นประเด็นว่า เจ้าหน้าที่ทหารเตรียมอาวุธปราบผู้ชุมนุม
ส่วนเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความสูญเสียมากสุดคือ บริเวณแยกคอกวัวและถนนดินสอ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 มีผู้เสียชีวิต 26 คน เป็นพลเรือน 21 คน รวมสื่อต่างประเทศ 1 คน ทหาร 5 คน บาดเจ็บรวมกว่า 864 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารกว่า 300 คน ที่สำคัญพบหลักฐานชายชุดดำคือ บุคคลที่ไม่ทราบฝ่ายแน่ชัดใช้อาวุธสงครามโจมตีเจ้าหน้าที่ทั้งก่อนและหลังวันที่ 10 เมษายน 2553
โดยตรวจสอบกับกองพิสูจน์หลักฐานของตำรวจพบการใช้ระเบิดเอ็ม 79 และปืนเล็กยาวยิงใส่เจ้าหน้าที่ด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 ราย ส่วนที่ถนนดินสอ โรงเรียนสตรีวิทยา และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถูกชายชุดดำโจมตี บริเวณถนนดินสอพบร่องรอยระเบิดเอ็ม 67 แต่ผู้เชี่ยวชาญบางรายบอกมีเอ็ม 79 ด้วย แต่ไม่พบร่องรอยกระสุนที่ยิงสวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปสะพานวันชาติ โดยอาวุธระเบิดเอ็ม 67 คาดว่าน่าจะขว้างมาจากบ้านไม้โบราณฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา แรงระเบิดทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 4 ราย รวมทั้ง พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ด้วย
จากการตรวจสอบไม่พบ พ.อ.ร่มเกล้าถูกยิงด้วยกระสุนปืน แต่เสียชีวิตเพราะระเบิดเอ็ม 67 น่าเชื่อว่าเป็นฝีมือของคนชุดดำ ปฏิบัติการของชายชุดดำมีหลักฐานว่าได้รับการสนับสนุนจากการ์ด นปช. 6 คน และบางคนใกล้ชิด พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง และพบว่า เสธ.แดงปรากฏตัวบริเวณดังกล่าวในช่วงบ่ายทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์รุนแรง
ส่วนภาพที่เห็นเหมือนมีคนซุ่มอยู่บริเวณกองสลากฯ จากตรวจสอบกับตำรวจด้วยการจำลองเหตุการณ์พบว่าเป็นเงาต้นปาล์มไม่ใช่พลซุ่มยิง
สำหรับเหตุการณ์รุนแรงบริเวณแยกสีลม มีการยิงมาจากพื้นที่ควบคุมของผู้ชุมนุมที่สำคัญคือ การเสียชีวิตของ เสธ.แดง ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 พบว่ามีการยิงจากอาคารสูงโดยรอบด้านขวา เช่น โรงแรมดุสิตธานี สีลมพลาซ่า และบางอาคารในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในช่วงนั้น ศอฉ.ได้อนุญาตและจัดให้มีพลแม่นปืนและซุ่มยิงประจำอาคารต่างๆ แล้ว
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์รุนแรงพัฒนาในขั้นการปิดล้อมตั้งแต่วันที่ 13-18 พฤษภาคม 2553 โดยเกิดรุนแรงหลายพื้นที่ ช่วงนี้มีผู้เสียชีวิต 42 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ชุมนุม นอกนั้นเป็นชาวบ้าน อาสาสมัครพยาบาล พบมีการปฏิบัติการคนชุดดำในบริเวณที่มีเหตุรุนแรง มีข้อน่าสังเกตคือมีกระสุนปืนกลหรือแม็กนั่ม ทำให้คนเสียชีวิตหลายราย ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่มีในการปฏิบัติการครั้งนี้
เหตุการณ์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ต้องการให้ผู้ชุมนุมกลับบ้านโดยวิธีการของเจ้าหน้าที่คือ การเข้ากระชับพื้นที่บริเวณสวนลุมพินี โดยหวังว่าการกดดันจะทำให้ผู้ชุมนุมไปขึ้นรถที่สนามกีฬาแห่งชาติ แต่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น ทางราชดำริขึ้นไปแยกสารสิน มีผู้เสียชีวิต 6 คน เป็น ทหาร 1 คน นักข่าวต่างประเทศ 1 คน ที่เหลือเป็นผู้ชุมนุม ครั้งนั้นทหารเสียชีวิตเพราะเอ็ม 79
สำหรับเหตุการณ์ที่วัดปทุมวนาราม ก่อนจะเกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต 6 ศพ หลายคนอาจไม่ทราบว่ามีเหตุการณ์ที่ทหารประจำการบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสจะเล็งปืนและยิงไปที่วัดนั้น ได้มีการปะทะระหว่างทหารกับชายชุดดำที่พยายามเข้าไปอำนวยความสะดวกในการดับเพลิงที่โรงหนังสยาม จนชายชุดดำหนีมาแยกเฉลิมเผ่า จนพบมีการยิงโต้กันกับชายชุดดำใต้สกายวอล์กกับเจ้าหน้าที่บนรถไฟฟ้าสยาม และมีพยานเห็นว่าชายชุดดำวิ่งเลียบกำแพงวัดปทุมวนารามไป
ส่วนที่มีการตั้งคำถามในวัดปทุมวนาราม มีการซ่องสุมชายชุดดำหรือไม่ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีคนพบการ์ด นปช.อยู่ในวัด และพบอาวุธเอ็ม 16 ในวัด ซึ่งพบว่าเป็นกระบอกที่ผู้ชุมนุมยึดไปจากทหารเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553
มีการแต่งกายของชายชุดดำจริงใช้อาวุธโจมตีเจ้าหน้าที่อยู่ สิ่งนี้ต้องยอมรับ ประกอบกับการก่อวินาศกรรมทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุมหลายสิบจุด ขณะนี้ยังจับตัวคนร้ายไม่ได้ ยกเว้นคนยิงกระทรวงกลาโหม
ชายชุดดำที่มีอาวุธเหล่านี้หลายคนใกล้ชิดกับ เสธ.แดง และปฏิบัติการของชุดดำได้รับความร่วมมือจากการ์ด นปช.แต่จะใกล้ชิดผู้นำและแกนนำ นปช.หรือไม่ คอป.ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่หลายเหตุการณ์ชายชุดดำปฏิบัติการมาจากพื้นที่ควบคุม นปช. เช่น พระบรมรูป ร.6 และสวนลุมพินี และประตูน้ำ
คอป.คิดว่าแกนนำ นปช. ยังไม่ใช้ความพยายามอย่างเพียงพอในการป้องกันเหตุรุนแรง แถมสนับสนุนการกระทำชุดดำด้วย อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่รัฐจะใช้ทหารมาควบคุมฝูงชนหรือใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ
ในส่วนของ ศอฉ.พบความบกพร่อง ไม่มีระบบตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่ออกไปปฏิบัติการนอกจากได้รับรายงาน ไม่มีการประเมินผลว่าคำสั่งปฏิบัติการจะมีผลอย่างไรกับผู้ชุมนุม ผู้บริหารบางคนยังเข้าใจว่าใช้กระสุนซ้อม ทั้งที่มีการใช้กระสุนจริง การใช้อาวุธที่จะละเมิดต่อชีวิตจำเป็นต้องระวังเป็นพิเศษ เช่น การยิงผู้ที่ไม่มีอาวุธอาจทำให้บาดเจ็บล้มตายได้
เคยมีคำพิพากษาเหตุรุนแรงเมื่อปี 2552 ว่าการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ แม้จะถูกยั่วยุโจมตีแต่ถ้าได้ใช้อาวุธกับคนไม่มีอาวุธในมือ กองทัพต้องรับผิดชอบ มีการวางพลแม่นปืน แต่ไม่พบชายชุดดำยิงลงมาจากที่สูง ยกเว้นแค่กรณีโรงเรียนสตรีวิทยา สำหรับกระสุนที่ถูกเบิกไปใช้ในปฏิบัติการครั้งนี้มากที่สุดคือ กระสุนปืนลูกซอง (เบอร์ 12) คิดเป็นร้อยละ 53 รองลงมาคือ กระสุนปืนเล็กยาว และกระสุนขนาด .308 เป็นต้น
ด้าน นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ กรรมการ คอป.กล่าวว่า ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจคือ คอป.เรียกร้องให้กองทัพและผู้นำกองทัพวางตัวเป็นกลาง งดเว้นการก่อรัฐประหาร ไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง นอกจากนี้เห็นว่าการใช้กำลังทหารแก้ไขปัญหาความขัดแย้งมักนำไปสู่ความขัดแย้ง คอป.จึงเห็นว่า รัฐต้องไม่ใช้กำลังทหารเข้าไปแก้ไขความขัดแย้งของบ้านเมือง และการชุมนุมของประชาชนโดยเด็ดขาด เพราะลักษณะของกองทัพไม่เหมาะที่จะควบคุมฝูงชน
ส่วนข้อเสนอแนวทางดำเนินการในระยะเปลี่ยนผ่าน คอป.เห็นควรให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทุกคนทุกฝ่ายโดยไม่เลือกปฏิบัติ เยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อที่รับผลกระทบ รวมถึงกลุ่มผู้ที่ถูกตั้งข้อหารุนแรงเกินสมควร และไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ตลอดจนการสร้างสัญลักษณ์แห่งความทรงจำให้แก่สาธารณชนเพื่อเตือนใจ การแสดงความรับผิดชอบด้วยการขอโทษ และการนิรโทษกรรม ซึ่งต้องอาศัยจังหวะเวลาที่เหมาะสม
นายคณิตกล่าวว่า รายงาน คอป.มีเรื่องสำคัญคือข้อเสนอแนะหลายอย่าง ในการสร้างความปรองดองที่ยั่งยืน นำหลักยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านมาปรับใช้ หลักธรรมภิบาล การเคารพสิทธิมนุษยชน การแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบัน บทบาทของสื่อ รัฐบาล และกองทัพ สิทธิการชุมนุมของผู้ชุมนม นอกจากนี้ คอป.ยังทำแนวทางการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของ คอป.ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้เกิดความจริงมากที่สุด
ด้าน นายสมชาย หอมลออ กรรมการ คอป.กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2553 พบว่ามีผู้เสียชีวิต 92 คน เป็นทหาร 8 คน ตำรวจ 2 คน ที่เหลือเป็นผู้ชุมนุม จาก 92 คน มีหลักฐานว่าเสียชีวิตเพราะชุดดำ 9 คน แยกเป็นหทาร 6 คน ตำรวจ 2 คน และประชาชนกลุ่มรักษ์สีลม 1 คน
จุดเริ่มต้นเหตุการณ์เริ่มส่อเค้ารุนแรงตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2553 ที่สถานีดาวเทียมไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี รัฐพยายามจะระงับการออกอากาศ เจ้าหน้าที่นำอาวุธสงครามไปด้วย แต่เก็บอาวุธและกระสุนแยกกันไว้ในรถเสบียง แต่ผู้ชุมนุมยึดมาและแถลงต่อสื่อ ทำให้กลายเป็นประเด็นว่า เจ้าหน้าที่ทหารเตรียมอาวุธปราบผู้ชุมนุม
ส่วนเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความสูญเสียมากสุดคือ บริเวณแยกคอกวัวและถนนดินสอ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 มีผู้เสียชีวิต 26 คน เป็นพลเรือน 21 คน รวมสื่อต่างประเทศ 1 คน ทหาร 5 คน บาดเจ็บรวมกว่า 864 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารกว่า 300 คน ที่สำคัญพบหลักฐานชายชุดดำคือ บุคคลที่ไม่ทราบฝ่ายแน่ชัดใช้อาวุธสงครามโจมตีเจ้าหน้าที่ทั้งก่อนและหลังวันที่ 10 เมษายน 2553
โดยตรวจสอบกับกองพิสูจน์หลักฐานของตำรวจพบการใช้ระเบิดเอ็ม 79 และปืนเล็กยาวยิงใส่เจ้าหน้าที่ด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 ราย ส่วนที่ถนนดินสอ โรงเรียนสตรีวิทยา และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถูกชายชุดดำโจมตี บริเวณถนนดินสอพบร่องรอยระเบิดเอ็ม 67 แต่ผู้เชี่ยวชาญบางรายบอกมีเอ็ม 79 ด้วย แต่ไม่พบร่องรอยกระสุนที่ยิงสวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปสะพานวันชาติ โดยอาวุธระเบิดเอ็ม 67 คาดว่าน่าจะขว้างมาจากบ้านไม้โบราณฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา แรงระเบิดทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 4 ราย รวมทั้ง พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ด้วย
จากการตรวจสอบไม่พบ พ.อ.ร่มเกล้าถูกยิงด้วยกระสุนปืน แต่เสียชีวิตเพราะระเบิดเอ็ม 67 น่าเชื่อว่าเป็นฝีมือของคนชุดดำ ปฏิบัติการของชายชุดดำมีหลักฐานว่าได้รับการสนับสนุนจากการ์ด นปช. 6 คน และบางคนใกล้ชิด พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง และพบว่า เสธ.แดงปรากฏตัวบริเวณดังกล่าวในช่วงบ่ายทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์รุนแรง
ส่วนภาพที่เห็นเหมือนมีคนซุ่มอยู่บริเวณกองสลากฯ จากตรวจสอบกับตำรวจด้วยการจำลองเหตุการณ์พบว่าเป็นเงาต้นปาล์มไม่ใช่พลซุ่มยิง
สำหรับเหตุการณ์รุนแรงบริเวณแยกสีลม มีการยิงมาจากพื้นที่ควบคุมของผู้ชุมนุมที่สำคัญคือ การเสียชีวิตของ เสธ.แดง ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 พบว่ามีการยิงจากอาคารสูงโดยรอบด้านขวา เช่น โรงแรมดุสิตธานี สีลมพลาซ่า และบางอาคารในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในช่วงนั้น ศอฉ.ได้อนุญาตและจัดให้มีพลแม่นปืนและซุ่มยิงประจำอาคารต่างๆ แล้ว
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์รุนแรงพัฒนาในขั้นการปิดล้อมตั้งแต่วันที่ 13-18 พฤษภาคม 2553 โดยเกิดรุนแรงหลายพื้นที่ ช่วงนี้มีผู้เสียชีวิต 42 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ชุมนุม นอกนั้นเป็นชาวบ้าน อาสาสมัครพยาบาล พบมีการปฏิบัติการคนชุดดำในบริเวณที่มีเหตุรุนแรง มีข้อน่าสังเกตคือมีกระสุนปืนกลหรือแม็กนั่ม ทำให้คนเสียชีวิตหลายราย ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่มีในการปฏิบัติการครั้งนี้
เหตุการณ์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ต้องการให้ผู้ชุมนุมกลับบ้านโดยวิธีการของเจ้าหน้าที่คือ การเข้ากระชับพื้นที่บริเวณสวนลุมพินี โดยหวังว่าการกดดันจะทำให้ผู้ชุมนุมไปขึ้นรถที่สนามกีฬาแห่งชาติ แต่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น ทางราชดำริขึ้นไปแยกสารสิน มีผู้เสียชีวิต 6 คน เป็น ทหาร 1 คน นักข่าวต่างประเทศ 1 คน ที่เหลือเป็นผู้ชุมนุม ครั้งนั้นทหารเสียชีวิตเพราะเอ็ม 79
สำหรับเหตุการณ์ที่วัดปทุมวนาราม ก่อนจะเกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต 6 ศพ หลายคนอาจไม่ทราบว่ามีเหตุการณ์ที่ทหารประจำการบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสจะเล็งปืนและยิงไปที่วัดนั้น ได้มีการปะทะระหว่างทหารกับชายชุดดำที่พยายามเข้าไปอำนวยความสะดวกในการดับเพลิงที่โรงหนังสยาม จนชายชุดดำหนีมาแยกเฉลิมเผ่า จนพบมีการยิงโต้กันกับชายชุดดำใต้สกายวอล์กกับเจ้าหน้าที่บนรถไฟฟ้าสยาม และมีพยานเห็นว่าชายชุดดำวิ่งเลียบกำแพงวัดปทุมวนารามไป
ส่วนที่มีการตั้งคำถามในวัดปทุมวนาราม มีการซ่องสุมชายชุดดำหรือไม่ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีคนพบการ์ด นปช.อยู่ในวัด และพบอาวุธเอ็ม 16 ในวัด ซึ่งพบว่าเป็นกระบอกที่ผู้ชุมนุมยึดไปจากทหารเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553
มีการแต่งกายของชายชุดดำจริงใช้อาวุธโจมตีเจ้าหน้าที่อยู่ สิ่งนี้ต้องยอมรับ ประกอบกับการก่อวินาศกรรมทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุมหลายสิบจุด ขณะนี้ยังจับตัวคนร้ายไม่ได้ ยกเว้นคนยิงกระทรวงกลาโหม
ชายชุดดำที่มีอาวุธเหล่านี้หลายคนใกล้ชิดกับ เสธ.แดง และปฏิบัติการของชุดดำได้รับความร่วมมือจากการ์ด นปช.แต่จะใกล้ชิดผู้นำและแกนนำ นปช.หรือไม่ คอป.ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่หลายเหตุการณ์ชายชุดดำปฏิบัติการมาจากพื้นที่ควบคุม นปช. เช่น พระบรมรูป ร.6 และสวนลุมพินี และประตูน้ำ
คอป.คิดว่าแกนนำ นปช. ยังไม่ใช้ความพยายามอย่างเพียงพอในการป้องกันเหตุรุนแรง แถมสนับสนุนการกระทำชุดดำด้วย อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่รัฐจะใช้ทหารมาควบคุมฝูงชนหรือใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ
ในส่วนของ ศอฉ.พบความบกพร่อง ไม่มีระบบตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่ออกไปปฏิบัติการนอกจากได้รับรายงาน ไม่มีการประเมินผลว่าคำสั่งปฏิบัติการจะมีผลอย่างไรกับผู้ชุมนุม ผู้บริหารบางคนยังเข้าใจว่าใช้กระสุนซ้อม ทั้งที่มีการใช้กระสุนจริง การใช้อาวุธที่จะละเมิดต่อชีวิตจำเป็นต้องระวังเป็นพิเศษ เช่น การยิงผู้ที่ไม่มีอาวุธอาจทำให้บาดเจ็บล้มตายได้
เคยมีคำพิพากษาเหตุรุนแรงเมื่อปี 2552 ว่าการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ แม้จะถูกยั่วยุโจมตีแต่ถ้าได้ใช้อาวุธกับคนไม่มีอาวุธในมือ กองทัพต้องรับผิดชอบ มีการวางพลแม่นปืน แต่ไม่พบชายชุดดำยิงลงมาจากที่สูง ยกเว้นแค่กรณีโรงเรียนสตรีวิทยา สำหรับกระสุนที่ถูกเบิกไปใช้ในปฏิบัติการครั้งนี้มากที่สุดคือ กระสุนปืนลูกซอง (เบอร์ 12) คิดเป็นร้อยละ 53 รองลงมาคือ กระสุนปืนเล็กยาว และกระสุนขนาด .308 เป็นต้น
ด้าน นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ กรรมการ คอป.กล่าวว่า ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจคือ คอป.เรียกร้องให้กองทัพและผู้นำกองทัพวางตัวเป็นกลาง งดเว้นการก่อรัฐประหาร ไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง นอกจากนี้เห็นว่าการใช้กำลังทหารแก้ไขปัญหาความขัดแย้งมักนำไปสู่ความขัดแย้ง คอป.จึงเห็นว่า รัฐต้องไม่ใช้กำลังทหารเข้าไปแก้ไขความขัดแย้งของบ้านเมือง และการชุมนุมของประชาชนโดยเด็ดขาด เพราะลักษณะของกองทัพไม่เหมาะที่จะควบคุมฝูงชน
ส่วนข้อเสนอแนวทางดำเนินการในระยะเปลี่ยนผ่าน คอป.เห็นควรให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทุกคนทุกฝ่ายโดยไม่เลือกปฏิบัติ เยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อที่รับผลกระทบ รวมถึงกลุ่มผู้ที่ถูกตั้งข้อหารุนแรงเกินสมควร และไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ตลอดจนการสร้างสัญลักษณ์แห่งความทรงจำให้แก่สาธารณชนเพื่อเตือนใจ การแสดงความรับผิดชอบด้วยการขอโทษ และการนิรโทษกรรม ซึ่งต้องอาศัยจังหวะเวลาที่เหมาะสม
มติชน
"ติวสอบดอทคอม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น