โปรแกรมติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2556
โดย "ติวสอบดอทคอม"
สมัครติว/ เข้าห้องสอบออนไลน์ฟรี ได้ที่ "ติวสอบดอทคอม" หรือ
(แจ้งยืนยัน)
จุด 21 จ.อุบลราชธานี
เสาร์ 8 - อาทิตย์ 9 มิ.ย.2556
ณ โรงแรมกิจตรงวิลรีสอร์ท (ทางไป ตระการฯ)
จุด 22 จ.นครราชสีมา เสาร์ 15 - อาทิตย์ 16 มิ.ย.2556
ณ โรงแรมราชพฤกษณ์แกรนด์ (แยกไฟแดง บิ๊กซี)
อนุมัติแผนสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เมื่อเร็วๆนี้ ได้เห็นชอบแผนแม่บทสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง 20 ปี (55-74) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งตามแผนดังกล่าวได้แบ่งระยะเวลาออกเป็นช่วงๆ ละ 10 ปี มี 11 สะพาน วงเงินรวม 50,530 ล้านบาท โดยการดำเนินการดังกล่าวถือว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่เพิ่มเติม เพื่อรองรับความต้องการเดินทางข้ามฝั่งแม่น้ำ คาดว่าในปี 64 จะมีความต้องการเดินทางข้ามไปมาโดยรถยนต์จากปัจจุบันอีก 450,000 เที่ยวต่อวัน
“ที่ประชุมมีความเห็นว่า การจะดำเนินโครงการจริงก็ต้องทำตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความคุ้มค่าโครงการ พร้อมกับรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบคอบและระมัดระวัง ซึ่งแผนแม่บทนี้ ไม่มีส่วนที่ใช้เงินจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เพราะจะใช้งบประมาณประจำของหน่วยงานนั้นๆ และการพิจารณาความพร้อมโครงการต้องไปดูด้วยว่า สะพานที่จะสร้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือไม่ และอปท.มีความต้องการหรือไม่ หากต้องการ มีความพร้อม และความเหมาะสมแล้ว ก็ให้ส่งเรื่องมาให้พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป”
ทั้งนี้ตามแผนแม่บทดังกล่าว สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้แบ่งระยะเวลาการดำเนินงาน ออกเป็นช่วงๆ ละ 10 ปี โดยใน 10 ปีแรก (55-64) มีจำนวน 9 โครงการ วงเงิน 48,950 ล้านบาท คือ โครงการสะพานเกียกกาย วงเงิน 9100 ล้านบาท (รวมโครงสร้างทางยกระดับ 5.9 กิโลเมตร) เพื่อรองรับการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่จะเปิดให้บริการในปี2559 โดยขณะนี้โครงการมีความพร้อมในการก่อสร้าง และมี กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ,โครงการสะพานพระราม 2 วงเงิน 3000 ล้านบาท กทม.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ,โครงการสะพานสมุทรปราการ วงเงิน 19,437 ล้านบาท (รวมถนนโครงข่าย 37กิโลเมตร) กรมทางหลวงชนบทเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
รวมทั้งโครงการสะพานปทุมธานี 3 วงเงิน 1820 ล้านบาท (รวมโครงข่ายถนน 10.5กิโลเมตร) กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ,โครงการสะพานลาดหญ้า – มหาพฤฒาราม วงเงิน 4,764 ล้านบาท กทม.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ,โครงการสะพานามโคก วงเงิน 5,192 ล้านบาท (รวมถนนโครงข่าย 9.4 กิโลเมตร) กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ,โครงการสะพานท่าน้ำนนท์ วงเงินในการดำเนินการ 800 ล้านบาท กรทางหลวงชนบทเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และโครงการสะพานราชวงศ์ – ท่าดินแดง วงเงิน 837 ล้านบาท กทม.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
รวมทั้งโครงการสะพานปทุมธานี 3 วงเงิน 1820 ล้านบาท (รวมโครงข่ายถนน 10.5กิโลเมตร) กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ,โครงการสะพานลาดหญ้า – มหาพฤฒาราม วงเงิน 4,764 ล้านบาท กทม.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ,โครงการสะพานามโคก วงเงิน 5,192 ล้านบาท (รวมถนนโครงข่าย 9.4 กิโลเมตร) กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ,โครงการสะพานท่าน้ำนนท์ วงเงินในการดำเนินการ 800 ล้านบาท กรทางหลวงชนบทเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และโครงการสะพานราชวงศ์ – ท่าดินแดง วงเงิน 837 ล้านบาท กทม.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
ส่วนแผนการดำเนินระยะ 10 ปีหลัง (65 - 74) คือ โครงการสร้างสะพานสนามบินน้ำ วงเงินดำเนินการ 1,580 ล้านบาท (รวมถนนโครงข่าย 4.5กิโลเมตร) มีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนโครงการสะพานบางกะเจ้า จ.สมุทรปราการ นั้น สนข.ให้ความเห็นว่าแม้ว่าปริมาณการจราจรที่มาใช้สะพานจะมีเป็นจำนวนมากและมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระดับสูง แต่ไม่ควรจัดให้อยู่ในแผนการดำเนินการเนื่องจากมีความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการต่ำ เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ที่มีกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวดและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง
ทั้งนี้สศช.ให้ความเห็นว่าควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการก่อสร้างสะพานฯแต่ละแห่งให้ความสำคัญกับการบูรณาการ แผนงานและโครงการในพื้นที่ร่วมกัน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนตามแนวสายทาง และเพื่อให้การลงทุนของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกแบบสถาปัตยกรรมสะพานควรพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และเอกลักษณ์ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือพื้นที่สันทนาการของประชาชน ตลอดจนกำหนดรูปแบบวิศวกรรมสะพานที่จะช่วยลดการกีดขวางลำน้ำเพื่อสนับสนุนการขนส่งทางน้ำในประเทศ
ทั้งนี้สศช.ให้ความเห็นว่าควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการก่อสร้างสะพานฯแต่ละแห่งให้ความสำคัญกับการบูรณาการ แผนงานและโครงการในพื้นที่ร่วมกัน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนตามแนวสายทาง และเพื่อให้การลงทุนของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกแบบสถาปัตยกรรมสะพานควรพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และเอกลักษณ์ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือพื้นที่สันทนาการของประชาชน ตลอดจนกำหนดรูปแบบวิศวกรรมสะพานที่จะช่วยลดการกีดขวางลำน้ำเพื่อสนับสนุนการขนส่งทางน้ำในประเทศ
นสพ.เดลินิวส์
โปรแกรมติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2556
โดย "ติวสอบดอทคอม" (ผอ.นิกร เพ็งลี)
สมัครติว/ เข้าห้องสอบออนไลน์ฟรี ได้ที่ "ติวสอบดอทคอม" หรือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น