หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

'สุนทรภู่'-กวีของใคร?

ติวสอบดอทคอม  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)    

'สุนทรภู่'-กวีของใคร?


'สุนทรภู่'-กวีของใคร?


            “สุนทรภู่” เป็นกวีเอกของไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคำจำกัดความว่ากวีของประชาชนที่นิยมเรียกขานกันในปัจจุบัน เพราะกวี ก็คือ กวี และในยุคก่อนสมัยก่อนนั้น กวีถือเป็นรัตนะของแผ่นดิน ซึ่งได้รับการอุปถัมภ์จากท้าวพระยามหากษัตริย์และขุนนาง “สุนทรภู่” เอง ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างล้นพ้น เรียกได้ว่าเป็นคนโปรดคนหนึ่ง ดังที่ “สุนทรภู่” ได้เขียนไว้ในนิราศภูเขาทอง ว่า “ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด คิดถึงบาทบพิตรอดิศร โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น” และ “เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์”  เป็นต้น

            การที่ “สุนทรภู่” ออกบวช หรือยังชีพด้วยการลอยเรือเขียนบทกวีให้คนมาลอกไปอ่านนั้น ไม่ได้เกิดจากการที่ท่านปฏิเสธราชสำนักอย่างการตีความของคนรุ่นใหม่ แต่เป็นเพราะความ “เป็นคนโปรด” ของรัชกาลที่ 2 และความอหังการของกวีทำให้เกิดการ “หักหน้า” พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในเรื่องการแต่งบทพระราชนิพนธ์หน้าที่นั่ง เช่นในบทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงพระนิพนธ์ว่า “จำจะคิดปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วสมมาดปรารถนา”  “สุนทรภู่” แย้งว่า “ปรารถนาอะไร”

            แล้วแก้เป็น “จำจะคิดปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วมีคู่เสน่หา” หรือ ในบทละครเรื่องอิเหนา ที่ทรงพระนิพนธ์ว่า “น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัว ว่ายแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว” “สุนทรภู่” แย้งว่าความไม่ชัด และแก้เป็น “น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว” เป็นต้น เหตุการณ์ทำนองนี้ ก็เคยเกิดกับกวีราชสำนักคนอื่นๆ เช่นครั้งหนึ่ง รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางสีดาผูกคอ ซึ่ง กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงพระนิพนธ์ว่า “จึงเอาผ้าผูกพันกระสันรัด เกี่ยวกระหวัดไว้กับกิ่งโศกใหญ่ ข้างซ้ายผูกศออรทัย แล้วโจนองค์ลงไปจะให้ตาย” มีผู้แต่งต่อว่า “บัดนั้น ขุนกระบี่อกสั่นขวัญหาย” รัชกาลที่ 2 มีรับสั่งว่า คนจะผูกคอตายมัวอกสั่นขวัญหายก็จะไม่ทันการ “สุนทรภู่” จึงแก้เป็น “บัดนั้น วายุบุตรแก้ได้ดังใจหมาย”

            เมื่อสิ้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ขึ้นครองราชย์ เฉลิมพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว “สุนทรภู่” เกรงพระราชอาญา จึงออกบวช แต่ก็ได้เป็นพระอาจารย์ถวายการสอนภาษาไทยแด่เจ้าฟ้ากลาง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์) และ เจ้าฟ้าปิ๋ว พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ พระราชชายานารี เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ปรากฏความในเพลงยาวถวายโอวาท รวมทั้งได้รับพระอุปถัมภ์จากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดให้ “สุนทรภู่” แต่ง พระอภัยมณี และสิงหไตรภพ ถวาย

            ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว “สุนทรภู่” ได้ลาอุปสมบท และได้รับพระอุปถัมภ์จากสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ สวรรคต และเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์ เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงสถาปนากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว “สุนทรภู่” จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ ฝ่ายกรมพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร

            อีกเรื่องหนึ่งซึ่งคนยุคนี้พยายามที่จะแก้ต่างแทน “สุนทรภู่” คือเรื่องการดื่มสุราและฉายา “อาลักษณ์ขี้เมา” ว่าเป็นการกล่าวหาหรือให้ร้ายกวีเอกท่านนี้ แต่ถ้าศึกษาประวัติของ “สุนทรภู่” ก็จะพบว่า “สุนทรภู่” มีปัญหาจากการเมาสุราจนเกิดการทำร้ายร่างกายญาติผู้ใหญ่ กระทั่งถูกร้องเรียนและต้องพระราชอาญาถูกคุมขังอยู่ระยะหนึ่ง

            นอกจากนี้ “สุนทรภู่” ก็ยังเขียนไว้ในนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งว่า “ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย” จริงๆ แล้วการดื่มสุราก็เป็นเรื่องปกติของชายไทยในสมัยก่อน แม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ก็ตาม

            ครับ กวี ก็คือ กวี และ “สุนทรภู่” ก็คือ “สุนทรภู่”  ให้ท่านเป็นตามความจริงที่ท่านเป็นเถอะครับ อย่าไปเปลี่ยนแปลงบิดเบือน หรือปั้นแต่งให้ท่านเป็นอย่างอื่นเลยครับ
คม ชัด ลึก


...อัพเดท /เข้าห้องออนไลน์ / ห้องวิชาเอก / วิชาทั่วไป

ที่ "ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี

... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com


... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com


... ห้องวิชาเอก คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com


... ฟรี...ห้องสอบออนไลน์ รับราชการ


ติวสอบดอทคอม  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม