แก้ไข รธน.ถึงพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ปฏิบัติการ ‘กินรวบ’ ของ ‘เสียงข้างมาก’
หากดูท่าทีจากการประชุมกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่บัดนี้ได้ประธานแล้วชื่อว่า สามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย จะพบว่า “โอกาส” ที่พรรคฝ่ายค้านอย่าง ประชาธิปัตย์ จะ “เป่านกหวีดยาว” น่าจะต้องรออีกซักพักใหญ่
ที่ต้องบอกเช่นนี้เป็นเพราะว่า ใช่แต่ ประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ยื่น “แปรญัตติ” ทุกคนทุกมาตรา พรรคเพื่อไทยก็มีไม่น้อยเช่นกันที่ยื่นแปรญัตติเพื่อหวังจะสะท้อนเจตนาของการสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาของประชาชนจริง ๆ ไม่ใช่แกนนำและผู้สั่งการอย่างที่มีการตั้งข้อสังเกตกันไว้
ถึงวันนี้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะผ่านหรือไม่ผ่านนั้นก็เรื่องหนึ่ง แต่อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้ประโยชน์ทางการเมืองไปแล้วเต็ม ๆ นั่นก็คือ การทำตามสัญญาใจที่ให้ไว้กับมวลชนคนเสื้อแดง
ว่ากันว่า ความพยายามลุยไฟเพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม นั้นไม่ใช่เป็น “ความต้องการ” ที่แท้จริงของพรรคเพื่อไทยที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สนับสนุนหลักในขณะนี้ แต่สิ่งที่เป็นความต้องการจริง ๆ อยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” กับการออก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซะมากกว่า
กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องที่มาของวุฒิสภาเพื่อเพิ่มที่ยืนทางการเมืองให้กับฝ่ายตนเองโดยอ้างว่า ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยหากวุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้นน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ตามที่ปรากฏขึ้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของวุฒิสภาจะเริ่มขึ้นในการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 20 สิงหาคม 2556 ที่จะถึงนี้ ฝ่ายการเมืองระบุว่าเบื้องต้นจะให้เวลาฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอภิปรายแบบเอากันให้ถึงใจ “4 วัน 4 คืน” จากนั้นจะใช้ “เสียงข้างมาก” ของที่ประชุมร่วมรัฐสภา “ลงมติ”
การอธิบายว่าการได้มาซึ่งวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งนั้นเป็นเรื่องที่ดี มีความเป็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่สวยหรู แต่หากมองอย่างเข้าใจสังคมไทย ที่มีระบบ “อุปถัมภ์” กระจายลงไปทุกแห่งหน จะพบว่าโอกาสที่ “คนเก่ง คนดี” จะสอดแทรกเข้ามาเพื่อทำหน้าที่นั้นแทบจะเป็นไปได้ยาก เพราะบัดนี้พรรคการเมืองหรือนักการเมืองได้จัดสรรผลประโยชน์ทางการเมืองไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะมีการแก้ไขโดยตัด “เงื่อนไข” ที่ห้ามไม่ให้ “ผูกขาด” ทางการเมืองทิ้งไป เช่นสามารถลงสมัครได้กี่สมัยก็ได้ตราบเท่าที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาหรือไม่ต้องเว้นวรรคทางการเมือง เป็น ส.ส. อยู่ดี ๆ เมื่อวานนี้จะลาออกมาลง ส.ว. ก็ทำได้ ไม่ต่างอะไรกับการลาออกจาก ส.ส.บัญชีรายชื่อ มาลงสมัคร ส.ส.เขต หรือญาติของนักการเมืองก็สามารถลงได้
การแก้ไขครั้งนี้แก้ไขเฉพาะ “ที่มา” แต่อำนาจหน้าที่ยังอยู่ครบ ว่ากันว่างานนี้ฝ่ายการเมืองต้องการยึดสภาสูงเพื่อไว้เล่นงานองค์กรอิสระทางการเมืองที่ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่ “ตรวจสอบ”
จากจำนวนที่แก้ไขใหม่ด้วยการให้มี ส.ว. 200 คน นั้นพรรคการเมืองใหญ่ต้องการเก้าอี้ราว ๆ 150 ที่นั่ง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเท่ากับว่ามีโอกาสจะใช้อำนาจ “ถอดถอน” ทางการเมืองได้ทันที ปัจจุบันที่การถอดถอนไม่สามารถทำ ได้เพราะต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 5
เหตุที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องที่มาของ ส.ว. นั้นมาก่อนการทำคลอดร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท นั้นจากความต้องการที่สมประโยชน์กันของฝ่ายการเมือง ฝ่ายหนึ่งต้องการสืบทอดตำแหน่ง อีกฝ่ายต้องการเงินกู้เพื่อไปหาเสียงทางการเมืองหลังงบประมาณปกติถูกใช้ไปกับโครงการประชานิยมจนแทบจะไม่มีเงินลงทุน และหวังจะการันตีการ กลับเป็นรัฐบาลใช้อำนาจรัฐในสมัยที่ 2
ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท นี้ บางคนเรียกว่าเป็นการ “ปฏิวัติทางเศรษฐกิจ” ของรัฐบาลชนิดที่ไม่เคยมีการกู้เงินก้อนมโหฬารเช่นนี้มาก่อนนับตั้งแต่มีประเทศไทยมา
หากร่าง พ.ร.บ.นี้ผ่านสภา พรรคเพื่อไทยคงไม่ทู่ซี้อยู่เป็นรัฐบาลต่อไป แต่จะใช้เงื่อนไขตรงนี้ไปเป็นนโยบายหาเสียงเพื่อขอโอกาสกลับมา “ต่อยอด” ทางการเมืองต่อไป
แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การผ่านร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท หรือแม้แต่การทำคลอด พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทั้งหมดต้องผ่าน “ด่านสำคัญ” ทางการเมืองอย่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ระเบิดเวลาทั้ง 3 ลูกนี้ มีโอกาสจะทำให้เกิดการ “พลิกกระดาน” ทางการเมืองได้ทุกเมื่อ
แต่ระหว่างการใช้ความพยายามในรัฐสภา รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็สร้างแนวร่วมทางสังคมผ่านสิ่งที่เรียกว่าเวทีปฏิรูปการเมืองที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม ที่จะถึงนี้หลังใช้เวลา “ตั้งไข่” อยู่ราว ๆ 2 สัปดาห์
การเผชิญหน้า “รอบใหม่” ที่เริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ กำลังจะเริ่มขึ้น อย่าลืมว่าทั้งหมดต้องทำให้เสร็จสิ้นก่อนที่วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งชุดนี้จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปีในเดือนมีนาคม 2557 นี้
พรรคเพื่อไทยในยามนี้ต้องถือว่าได้เปรียบทางการเมืองมหาศาล การกลับมาเป็นรัฐบาลอีกสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ฉะนั้นการเดินหน้าเพื่อสร้างความได้เปรียบโดยไม่กลัวอุบัติเหตุทางการเมืองจึงเกิดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะคู่แข่งทางการเมืองสำคัญก็รู้อยู่ว่าโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลในระยะเวลาอันใกล้นั้นยากยิ่ง สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์คาดหวังคือ ความนิยมทางการเมืองที่น้อยลงของ พ.ต.ท.ทักษิณ มากกว่า
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคยประกาศไว้ว่า จะเข้ามา “แก้ไขไม่แก้แค้น” นับวันจะยิ่งชัดเจนขึ้น
“แก้แค้น” นั้นก็ชัด แต่ที่ชัดกว่าคือ “แก้ไข” แต่เป็นการแก้ไขที่หนักไปทางได้เปรียบทางการเมืองซะล่ะมากกว่า.
ที่ต้องบอกเช่นนี้เป็นเพราะว่า ใช่แต่ ประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ยื่น “แปรญัตติ” ทุกคนทุกมาตรา พรรคเพื่อไทยก็มีไม่น้อยเช่นกันที่ยื่นแปรญัตติเพื่อหวังจะสะท้อนเจตนาของการสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาของประชาชนจริง ๆ ไม่ใช่แกนนำและผู้สั่งการอย่างที่มีการตั้งข้อสังเกตกันไว้
ถึงวันนี้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะผ่านหรือไม่ผ่านนั้นก็เรื่องหนึ่ง แต่อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้ประโยชน์ทางการเมืองไปแล้วเต็ม ๆ นั่นก็คือ การทำตามสัญญาใจที่ให้ไว้กับมวลชนคนเสื้อแดง
ว่ากันว่า ความพยายามลุยไฟเพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม นั้นไม่ใช่เป็น “ความต้องการ” ที่แท้จริงของพรรคเพื่อไทยที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สนับสนุนหลักในขณะนี้ แต่สิ่งที่เป็นความต้องการจริง ๆ อยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” กับการออก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซะมากกว่า
กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องที่มาของวุฒิสภาเพื่อเพิ่มที่ยืนทางการเมืองให้กับฝ่ายตนเองโดยอ้างว่า ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยหากวุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้นน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ตามที่ปรากฏขึ้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของวุฒิสภาจะเริ่มขึ้นในการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 20 สิงหาคม 2556 ที่จะถึงนี้ ฝ่ายการเมืองระบุว่าเบื้องต้นจะให้เวลาฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอภิปรายแบบเอากันให้ถึงใจ “4 วัน 4 คืน” จากนั้นจะใช้ “เสียงข้างมาก” ของที่ประชุมร่วมรัฐสภา “ลงมติ”
การอธิบายว่าการได้มาซึ่งวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งนั้นเป็นเรื่องที่ดี มีความเป็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่สวยหรู แต่หากมองอย่างเข้าใจสังคมไทย ที่มีระบบ “อุปถัมภ์” กระจายลงไปทุกแห่งหน จะพบว่าโอกาสที่ “คนเก่ง คนดี” จะสอดแทรกเข้ามาเพื่อทำหน้าที่นั้นแทบจะเป็นไปได้ยาก เพราะบัดนี้พรรคการเมืองหรือนักการเมืองได้จัดสรรผลประโยชน์ทางการเมืองไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะมีการแก้ไขโดยตัด “เงื่อนไข” ที่ห้ามไม่ให้ “ผูกขาด” ทางการเมืองทิ้งไป เช่นสามารถลงสมัครได้กี่สมัยก็ได้ตราบเท่าที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาหรือไม่ต้องเว้นวรรคทางการเมือง เป็น ส.ส. อยู่ดี ๆ เมื่อวานนี้จะลาออกมาลง ส.ว. ก็ทำได้ ไม่ต่างอะไรกับการลาออกจาก ส.ส.บัญชีรายชื่อ มาลงสมัคร ส.ส.เขต หรือญาติของนักการเมืองก็สามารถลงได้
การแก้ไขครั้งนี้แก้ไขเฉพาะ “ที่มา” แต่อำนาจหน้าที่ยังอยู่ครบ ว่ากันว่างานนี้ฝ่ายการเมืองต้องการยึดสภาสูงเพื่อไว้เล่นงานองค์กรอิสระทางการเมืองที่ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่ “ตรวจสอบ”
จากจำนวนที่แก้ไขใหม่ด้วยการให้มี ส.ว. 200 คน นั้นพรรคการเมืองใหญ่ต้องการเก้าอี้ราว ๆ 150 ที่นั่ง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเท่ากับว่ามีโอกาสจะใช้อำนาจ “ถอดถอน” ทางการเมืองได้ทันที ปัจจุบันที่การถอดถอนไม่สามารถทำ ได้เพราะต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 5
เหตุที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องที่มาของ ส.ว. นั้นมาก่อนการทำคลอดร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท นั้นจากความต้องการที่สมประโยชน์กันของฝ่ายการเมือง ฝ่ายหนึ่งต้องการสืบทอดตำแหน่ง อีกฝ่ายต้องการเงินกู้เพื่อไปหาเสียงทางการเมืองหลังงบประมาณปกติถูกใช้ไปกับโครงการประชานิยมจนแทบจะไม่มีเงินลงทุน และหวังจะการันตีการ กลับเป็นรัฐบาลใช้อำนาจรัฐในสมัยที่ 2
ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท นี้ บางคนเรียกว่าเป็นการ “ปฏิวัติทางเศรษฐกิจ” ของรัฐบาลชนิดที่ไม่เคยมีการกู้เงินก้อนมโหฬารเช่นนี้มาก่อนนับตั้งแต่มีประเทศไทยมา
หากร่าง พ.ร.บ.นี้ผ่านสภา พรรคเพื่อไทยคงไม่ทู่ซี้อยู่เป็นรัฐบาลต่อไป แต่จะใช้เงื่อนไขตรงนี้ไปเป็นนโยบายหาเสียงเพื่อขอโอกาสกลับมา “ต่อยอด” ทางการเมืองต่อไป
แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การผ่านร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท หรือแม้แต่การทำคลอด พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทั้งหมดต้องผ่าน “ด่านสำคัญ” ทางการเมืองอย่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ระเบิดเวลาทั้ง 3 ลูกนี้ มีโอกาสจะทำให้เกิดการ “พลิกกระดาน” ทางการเมืองได้ทุกเมื่อ
แต่ระหว่างการใช้ความพยายามในรัฐสภา รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็สร้างแนวร่วมทางสังคมผ่านสิ่งที่เรียกว่าเวทีปฏิรูปการเมืองที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม ที่จะถึงนี้หลังใช้เวลา “ตั้งไข่” อยู่ราว ๆ 2 สัปดาห์
การเผชิญหน้า “รอบใหม่” ที่เริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ กำลังจะเริ่มขึ้น อย่าลืมว่าทั้งหมดต้องทำให้เสร็จสิ้นก่อนที่วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งชุดนี้จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปีในเดือนมีนาคม 2557 นี้
พรรคเพื่อไทยในยามนี้ต้องถือว่าได้เปรียบทางการเมืองมหาศาล การกลับมาเป็นรัฐบาลอีกสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ฉะนั้นการเดินหน้าเพื่อสร้างความได้เปรียบโดยไม่กลัวอุบัติเหตุทางการเมืองจึงเกิดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะคู่แข่งทางการเมืองสำคัญก็รู้อยู่ว่าโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลในระยะเวลาอันใกล้นั้นยากยิ่ง สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์คาดหวังคือ ความนิยมทางการเมืองที่น้อยลงของ พ.ต.ท.ทักษิณ มากกว่า
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคยประกาศไว้ว่า จะเข้ามา “แก้ไขไม่แก้แค้น” นับวันจะยิ่งชัดเจนขึ้น
“แก้แค้น” นั้นก็ชัด แต่ที่ชัดกว่าคือ “แก้ไข” แต่เป็นการแก้ไขที่หนักไปทางได้เปรียบทางการเมืองซะล่ะมากกว่า.
เดลินิวส์
...อัพเดท /เข้าห้องออนไลน์ / ห้องวิชาเอก / วิชาทั่วไป ที่
"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น