หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. หารือกับ ศธ.

ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด


ติวสอบออนไลน์ชุดสรุปย่อกฎหมายในการปฏฺบัติราชการ

ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 29 จุดปี 2557-2558 


ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 134/2557หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. หารือกับ ศธ.
ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. และคณะ ร่วมประชุมกับ ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารองค์กรหลัก ผู้ตรวจราชการกระทรวง และผู้บริหารหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรับฟังสภาพปัญหา และการผลักดันโครงการเร่งด่วนสำคัญ รวมทั้งแนวทางการปฏิรูปการศึกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ
หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมว่า ศธ.เป็นกระทรวงที่มีขนาดใหญ่มาก มีจำนวนบุคลากรและมีงบประมาณสูงมาก เนื่องจากประเทศไทยให้ความสำคัญกับระบบการศึกษา แต่จากการประเมินผลการศึกษาของนักเรียน ยังมีระดับคุณภาพที่ไม่น่าพึงพอใจนักเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนงบประมาณที่ต้องเสียไป
ฉะนั้น เมื่อมีโอกาสได้มาพบปะหารือกับผู้บริหารของ ศธ. และหน่วยงานในสังกัด ทำให้ได้รับทราบปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการดำเนินงาน ซึ่งฝ่ายสังคมจิตวิทยาก็มีความพร้อมที่จะช่วยผลักดันและแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานของ ศธ.เป็นไปอย่างราบรื่น โดยมีนโยบายและโครงการสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการภายในปี 2557-2558 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
โครงการที่ ศธ.จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ได้แก่
- แท็บเล็ต  ขอให้ ศธ.ทบทวนการจัดซื้อแท็บเล็ตในส่วนของปีงบประมาณ 2556 โซนที่ 4 ที่ยังไม่ได้ประกวดราคา และปีงบประมาณ 2557 ที่อยู่ในขั้นตอนการร่าง TOR ว่าโครงการยังมีความเหมาะสมหรือไม่ โดยจะต้องมีการประเมินความคุ้มค่าของประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการใช้แท็บเล็ตเสียก่อน  หากทบทวนแล้วเห็นว่าควรจะชะลอโครงการ ก็จะนำงบประมาณในส่วนนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น จัดห้องเรียนแบบ Smart Classroom ซึ่งเป็นห้องเรียนที่มีอุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศต่างๆ ให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแทนการแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนแต่ละคน ทั้งนี้ จะมีการประชุมพิจารณาในเรื่องนี้ร่วมกับคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์หน้า (ต้นเดือนมิถุนายน 2557)
- การซ่อมแซมอาคารเรียนของสถานศึกษาทุกระดับที่ประสบเหตุแผ่นดินไหว เนื่องจากมีสถานศึกษาหลายแห่งในพื้นที่ภาคเหนือประสบเหตุแผ่นดินไหว จึงจำเป็นต้องเร่งประสานกับสำนักงบประมาณเพื่อของบกลางในการซ่อมแซมอาคารเรียนโดยเร็วที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานด้วย
- กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  ศธ.ได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กยศ.ไปแล้ว  แต่ที่ผ่านมายังไม่ได้มีการขออนุมัติเป็นมติคณะรัฐมนตรี  ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาทบทวนการนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีใหม่ เพื่อขอรับงบประมาณกองทุนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น ในส่วนของหลักเกณฑ์ต่างๆ ทั้งการให้กู้ยืม การควบคุมการใช้เงินคืน จะต้องมีกระบวนการที่รัดกุมมากกว่านี้  ทั้งนี้ จะจัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในเร็วๆ นี้
ในการมอบนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ศธ.ในครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะให้ ศธ.ดำเนินการในแนวทางเดิม เพียงแต่งานใดที่พ้นอำนาจจากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทางฝ่ายสังคมจิตวิทยาจะช่วยกรองงานให้อีกชั้นหนึ่งเพื่อให้งานรวดเร็วขึ้น แต่ในเบื้องต้นยังไม่ได้พูดถึงรายละเอียดการปฏิรูประบบงาน เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องใช้เวลาพอสมควร ในส่วนของการยกระดับคุณภาพการศึกษา ได้มีการหารือในภาพรวมทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เนื่องจากต้องพิจารณาในรายละเอียดมาก มีปัจจัยและผลกระทบหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงในโอกาสต่อไปอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการดำเนินโครงการต่างๆ ว่า ขอให้มีการพิจารณาทบทวนถึงความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการและงบประมาณที่จะต้องเสียไป ทั้งโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว และโครงการที่จะตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณให้ได้ผลอย่างคุ้มค่า เช่น โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ซึ่งที่ประชุมมีการพูดถึงเรื่องนี้อยู่บ้าง แต่คิดว่าจะต้องมีการประชุมพิจารณากันอีกครั้ง โดยอาจจะเพิ่มวงเงิน หรือหารือในรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป.
 
 
 
 
 
สรุปประเด็น หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยาได้กล่าวในที่ประชุม
 
 
5 ปัญหาหลักในการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ
หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา กล่าวในที่ประชุมถึงวัตถุประสงค์ที่เดินทางมาครั้งนี้ว่า เพื่อต้องการมารับฟังรายละเอียดการแบ่งงานของ ศธ. รวมทั้งหารือถึงปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้องในการปฏิบัติ และแนวทางดำเนินการในอนาคต จากการที่ได้รับฟังข้อมูลและข้อสรุปต่างๆ จาก ศธ. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 ได้พบปัญหาหลักในการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ 5 ประเด็นหลัก คือ
1) ปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบงาน  กลไกการแบ่งงานของ ศธ. มีการแบ่งงานหลายคณะ โดยเฉพาะคณะกรรมการระดับชาติหลายคณะ ซึ่งส่งผลให้การนำนโยบายทางการศึกษาลงไปสู่การปฏิบัติ ไม่ได้ทำงานประสานสอดคล้องกัน
2) การกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  โดยเฉพาะการกระจายอำนาจการบริหารจัดการการศึกษา ยังไม่สามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้การบริหารการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปในลักษณะส่วนกลางเป็นหลัก ซึ่งไม่สนองตอบต่อความต้องการที่แท้จริงของส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด
3) การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและการวางระบบเพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพการศึกษา  จากการที่ปลัด ศธ.รายงานคุณภาพการศึกษาของไทยอยู่ในระดับต่ำ โอกาสของผู้เรียนที่ได้รับการศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา หรือจบแล้วมีงานทำ อยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก ทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษามากเป็นลำดับที่สองของโลก
4) การบริหารต้นทุนและการจัดการบุคลากรทางการศึกษา  จากสัดส่วนงบประมาณของการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของ ศธ. ส่วนใหญ่หมดไปกับเงินเดือนและค่าจ้างครูประมาณร้อยละ 58, ค่าเครื่องแบบ อาหาร และการบริหารจัดการ ประมาณร้อยละ 20, ส่วนที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการเรียนการสอน ค่าครุภัณฑ์ อาคาร และการกู้ยืม ซึ่งจะเห็นได้ว่างบประมาณเพื่อการพัฒนาระบบการศึกษาที่แท้จริง คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก
5) ปัญหาการจัดการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการทั้งภายในและภายนอกประเทศ  ความสามารถในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตแรงงานป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เช่น ตัวเลขแรงงานไทยจากการสำรวจในปี พ.ศ.2551 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น เช่น มาเลเซีย มีผลิตภาพของแรงงานมากกว่าไทยถึง 1.6 เท่า ส่งผลต่อผลกระทบโดยรวมต่อศักยภาพในการแข่งขัน และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะตัวเลขจะใช้เป็นตัวกำหนดเป้าหมายในการลงทุน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการลงทุน และอีกหลายๆ ด้าน
 
โครงการเร่งด่วนสำคัญของ ศธ.ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557
ทั้งนี้ ปลัด ศธ.ได้เสนอโครงการเร่งด่วนสำคัญของ ศธ.ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 จำนวน 7 โครงการ คือ
1) การบูรณะหรือซ่อมแซมอาคารเรียนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่ภาคเหนือ
2) การเยียวยาและช่วยเหลือนักเรียน ครู ผู้บริหาร ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3) การขอเพิ่มงบประมาณสำหรับผู้กู้ยืมเงินจาก กยศ. และเงินทุนอุดหนุนผู้มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโอลิมปิก
4) การจัดหาเครื่องแท็บเล็ต
5) การปรับค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนปกติและผู้พิการ
6) การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การดำเนินงานโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน
7) การขอเปลี่ยนแปลงรายการ สถานที่ และงบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียน
 
8 โครงการสำคัญที่ควรผลักดันดำเนินการในปีงบประมาณ 2558
หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา กล่าวถึงโครงการที่สมควรจะผลักดันดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 จำนวน 8 โครงการ คือ
1) การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
3) การส่งเสริมผู้จบการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
4) การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
5) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
6) การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐาน
7) การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
8) ยุทธศาสตร์การลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศผ่านสถาบันอุดมศึกษา
จากการประชุมที่ผ่านมา ปลัด ศธ.ได้ชี้ให้เห็นถึงการใช้อำนาจของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรี และกลไกของคณะกรรมการด้านการศึกษาระดับชาติ ทำให้ฝ่ายจัดการศึกษาและฝ่ายสังคมจิตวิทยา อาจจะมีอุปสรรคและเกิดความไม่คล่องตัวในการจัดการศึกษาเป็นประเด็นหลัก รวมทั้งความเข้าใจต่อปัญหาระบบการศึกษาของไทย และการวิเคราะห์อย่างถ่องแท้ถึงทางเลือกหลัก แนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษา
จึงทำให้ได้ตระหนักถึงภาระงานในการจัดการศึกษาอันใหญ่หลวงเป็นอย่างมากต่อการสร้างรากฐานอันมั่นคงให้แก่ประเทศชาติในอนาคต โดยเฉพาะการสร้างกลไกให้มีคุณภาพ ซึ่ง ศธ.แบกรับภาระดังกล่าวมาเป็นระยะเวลายาวนาน 122 ปี ตลอดจนทำให้ได้ตระหนักว่าปัญหาต่างๆ ในการจัดการศึกษาต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และต่อปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานภายในและภายนอกประเทศ ความต้องการของต่างประเทศ อันจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น การกำหนดเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรม การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในวาระที่ประเทศจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านการศึกษา จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการ เนื่องจากเป็นปัญหาทั้งในเชิงโครงสร้างและวิธีการบริหารจัดการศึกษา ที่ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งจากฝ่ายการเมืองด้วย ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาอาจเกิดจากการดำเนินการให้เป็นไปตามกระแส ไม่ต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง และแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว และมองเห็นผลงานที่ชัดเจน
 
สิ่งที่ควรมุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา
ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง ไปพร้อมๆ กัน ทั้งการปฏิรูปครูอาจารย์ ปฏิรูปโรงเรียน และปฏิรูประบบบริหารจัดการศึกษา ตามที่ ศธ.ได้วางแนวทางไว้ ซึ่งจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ที่ฝ่ายสังคมจิตวิทยาให้ไว้ด้วย โดยมีส่วนที่ควรมุ่งเน้นและให้ความสำคัญ ดังนี้
1) ศธ.ต้องมีแผนดำเนินการที่มุ่งสู่เป้าหมายและผลสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาตามแผนงานต่างๆ อย่างชัดเจน โดยต้องยึดถือเป็นแนวทางหลัก ซึ่งจะต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ กรอบแผนงานดำเนินงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะตัวชี้วัดที่สามารถวัดและสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าหรือความล้มเหลวได้อย่างเป็นรูปธรรม แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารไปกี่ครั้งกี่คนก็ตาม แต่แนวทางนี้จะต้องยืนต่อไป นอกจากนี้จะต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สังคมได้รับทราบ เปิดโอกาสให้สังคมได้ให้ข้อคิดเห็น สำหรับเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแผนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะต้องดำเนินงานควบคู่ไปกับการกระจายอำนาจไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในภาพรวมของประเทศ ดังนั้นแผนงานโครงการใดๆ ของ ศธ.จึงควรมุ่งสู่เป้าหมายผลสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความคุ้มค่า
2) การพิจารณาแผนงานโครงการในระยะสั้น ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 และปีงบประมาณ พ.ศ.2558 นอกจากจะต้องสอดคล้องกับแผนงานระยะยาวคือการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแล้ว เรื่องที่เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน หากไม่ได้ดำเนินการแล้ว จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการในการจัดการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่รับบริการทางการศึกษา รวมทั้งแผนงานโครงการที่เป็นการเสริมศักยภาพการแข่งขันเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นหลัก ส่วนแผนงานโครงการใดของ ศธ.ที่อาจจะเป็นข้อกังขาของสังคม โดยเฉพาะเป็นประเด็นที่สะท้อนถึงความไม่โปร่งใส หรือไม่ตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาการศึกษา ก็เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีการทบทวน โดยขอให้เร่งพิจารณาและเสนอแผนงานโครงการของปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วในช่วง 3-4 เดือนนี้ ก่อนสิ้นปีงบประมาณ
3) การปรับปรุงหลักสูตร การเรียนการสอน และการบริหารจัดการศึกษา เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เกิดการพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสังคมไทยในอนาคต โดยเฉพาะการปลูกฝังในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การสร้างวินัย การมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม การยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความภาคภูมิใจในการเป็นคนไทย
ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานร่วมกันระหว่าง ศธ.กับฝ่ายสังคมจิตวิทยาเป็นไปอย่างคล่องตัวและสอดคล้องกับประกาศและคำสั่งของ คสช. จึงต้องการให้ ศธ.เร่งพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของปลัด ศธ. และแต่ละองค์กรหลักต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อสรุปจากการพูดคุยร่วมกัน
 
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา กล่าวด้วยว่า ขอให้ผู้บริหารทุกท่านได้สบายใจว่า ไม่ได้เข้ามาควบคุมการดำเนินงาน หรือเข้าไปล้วงลูกในการปฏิบัติ แต่จะช่วยผลักดันโครงการหรือแผนงานต่างๆ ของ ศธ. ซึ่งตระหนักดีว่างานของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่มีใครรู้ดีมากไปกว่าคนในกระทรวงศึกษาธิการ ตนและทีมงานไม่ได้คลุกคลีกับการศึกษามาตั้งแต่ต้น จึงไม่ทราบถึงปัญหาในรายละเอียด ต้องอาศัยผู้บริหารระดับสูงและคนในกระทรวง ซึ่งเชื่อมั่นว่าด้วยคุณวุฒิ และการมีคุณธรรมของท่าน จนมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน มีความมุ่งหวังที่จะให้หน่วยงานการศึกษาแต่ละหน่วยงานประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี หากมีปัญหาอยู่บ้างในระบบบริหารจัดการ หรือมีอำนาจภายนอกเข้ามาแทรกแซง  ก็ขอให้มาคุยได้ ย้ำว่าที่เข้ามานี้ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ต้องการมารับฟังและช่วยกันผลักดันเพื่อให้ภารกิจต่างๆ ของ ศธ. บรรลุตามที่ต้องการ
สุภาษิตจีน บอกว่า "10 ปีสร้างต้นไม้ 100 ปีสร้างคน" ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการครบ 122 ปีแล้ว จึงฝากความหวังและอนาคตของประเทศไว้กับทุกคนในห้องนี้ เพื่อให้ผู้เรียนที่จบออกมาแล้วมีคุณภาพดีขึ้น รวมทั้งประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป

ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ


อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com


สมัคร  ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 29 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม