เรื่องใหม่น่าสนใจ
-ครม.ประยุทธ์ 3
-เขตที่เปิดสอบ-เกณฑ์สอบ-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 / 2558
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558
-รัฐธรรมนูญ 2557 แก้ไข ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 278/2558
ผลประชุมองค์กรหลัก 1/2558
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมกับผู้บริหาร 5 องค์กรหลัก เมื่อวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558 ณ ห้องประชุม MOC อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ
รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมว่า ได้รับฟังแนวทางการดำเนินงานของ 5 องค์กรหลักตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อขัดข้องต่างๆ ซึ่งเป็นการขยายความเพิ่มเติมจากที่ได้นำเสนอไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวานนี้ (24 สิงหาคม) โดยตนได้ขอให้เพิ่มเติมแนวทางดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีใน 2 ประเด็น คือ
การลดเวลาเรียนของเด็กให้น้อยลง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณาปรับลดชั่วโมงเรียนของบางวิชาให้น้อยลง เพื่อต้องการให้เด็กผ่อนคลาย ไม่เครียดในการเรียนมากเกินไปหรือต้องหอบการบ้านไปทำต่อที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีเวลาที่จะอยู่กับพ่อแม่มากขึ้น หรือมีเวลาว่างเรียนรู้ตามวัย คิดบ้างทดลองปฏิบัติบ้าง ไม่ใช่ท่องตำราอย่างเดียว โดยอาจจะเลิกเรียนในชั้นเรียนเวลาประมาณ 14.00 น. ส่วนเวลาที่เหลือให้ สพฐ.ไปพิจารณารายละเอียดและกิจกรรมว่าควรดำเนินการอย่างไรกับเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่จะเดินทางกลับบ้าน หรือกลุ่มซึ่งรอกลับบ้านพร้อมผู้ปกครองหลังเลิกงาน
ทั้งนี้ สพฐ.จะนำร่องโรงเรียนในสังกัดประมาณร้อยละ 10 จากทั้งหมด 38,000 โรงเรียนก่อน เริ่มต้นได้ทันทีในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ดังนั้นจึงขอให้ สพฐ.จัดระบบนิเทศและเตรียมการให้ดีในช่วงปิดภาคเรียนนี้ รวมทั้งสร้างความเข้าใจร่วมกันกับโรงเรียน นักเรียน ครู ผู้ปกครองในการดำเนินการด้วย
การเน้นการสอนอาชีพเฉพาะด้านของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)เพื่อต้องการให้ มทร.แต่ละแห่งมีจุดเด่นในการผลิตผู้เรียนในแต่ละสาขาอาชีพเฉพาะทางแตกต่างกันไป ซึ่งนอกจากจะต้องปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรแล้ว จะต้องพัฒนาครูผู้สอนและเครื่องมือช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เร่งดำเนินการในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นโดยเร็วภายในเดือนกันยายน 2559 อาจจะเริ่มต้นจาก 2-3 แห่งก่อน โดยจัดให้มีทั้งสถาบันหลักและรองลงไปในแต่ละสาขา เช่น มทร.ตะวันออก แม้จะมีความชำนาญด้านการสอนต่อเรือ แต่ก็ต้องวางแผนจัดระบบสำหรับเด็กที่อยู่ห่างไกลในภาคอื่นเช่นภาคใต้ที่ต้องการเรียนในสาขาอาชีพนี้ ซึ่งอาจต้องมี มทร. ระดับรองลงไปในภาคใต้ที่มีความพร้อมในการสอนสาขาอาชีพดังกล่าวรองรับด้วย
แนวทางการดำเนินงาน ของ 5 องค์กรหลัก ตามนโยบายรัฐบาล
รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อขัดข้องต่างๆ
1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) โดยนายแพทย์กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอถึงนโยบายการดำเนินงานที่สำคัญ 5 เรื่อง คือ
1) การปรับปรุงคุณภาพครูให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งมีโครงการสำคัญที่ดำเนินการไปแล้ว เช่น โครงการคุรุทายาท แนวทางการพัฒนา/สรรหา/ประเมินวิทยฐานะ/เลื่อนตำแหน่ง/ย้ายครูผู้สอน ใบประกอบวิชาชีพครู การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู การแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ฯลฯ
2) การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการศึกษาปฐมวัย การแก้ปัญหาเด็กออกกลางคัน การฝึกวิชาชีพระยะสั้นหรือส่งเสริมรายได้ให้แก่ประชาชน การส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ค่านิยมหลัก 12 ประการ
3) การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา คือ การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning Information Technology : DLIT)
4) การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดตั้งศูนย์ครูใต้ที่ จ.ยะลาและนราธิวาส การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อสร้างโอกาสการมีอาชีพมีงานทำ การจัดโครงการ DLIT การช่วยเหลือเยียวยาครูที่เสียชีวิตและทุพพลภาพ
5) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ การพัฒนาทักษะการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน และการพัฒนาอาชีพรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดน
2. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) โดยนางสุทธศรี วงษ์สมาน เลขาธิการสภาการศึกษา ได้นำเสนอการดำเนินงานตามนโยบายและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ร่างวิสัยทัศน์และกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปี (พ.ศ.2559-2563) การปฏิรูปการศึกษาในภาพรวมทั้งระบบ การทบทวนปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ (พ.ศ.2560-2574) และแผนพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาวะการศึกษาไทยในเวทีโลก และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยนายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นำเสนอในประเด็นการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กจบ ป.1 ต้องอ่านออกเขียนได้และต้องมีการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเสริมทักษะอาชีพเด็กชั้น ม.1 ถึง ม.6 (ทวิศึกษา) ที่ต้องเลือกเรียนวิชาเสริมเป็นสาขาวิชาชีพเพื่อการวางแผนอาชีพในอนาคตได้ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการปรับลดเวลาเรียนของเด็กให้น้อยลง
4. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้นำเสนอ
1) ประเด็นเชิงนโยบายรัฐบาล 6 เรื่อง คือ การเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพ ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ สอศ.มีนักศึกษาใหม่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ซึ่งรวมถึงโครงการทวิศึกษาด้วย, การพัฒนาทักษะอาชีพประชาชนทุกช่วงวัย 1 ล้านคน, การแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาอาชีวะ, โครงการอาชีวะมาตรฐานสากลโดยร่วมมือกับประเทศชั้นนำของโลกด้านอาชีวศึกษา 7 ประเทศ คือ เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ อิสราเอล อังกฤษ และไต้หวัน, การเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษเพื่องานอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงานให้สถานประกอบการ, การเพิ่มบทบาทของสถานประกอบการในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ซึ่งปัจจุบันมีความร่วมมือ 10,527 แห่ง นักศึกษา 89,489 คน ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ได้เสนอแนะให้สถานศึกษากลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทได้จับคู่กับสถานประกอบการเพื่อจัดระบบทวิภาคีให้ผู้เรียน ซึ่งจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อีกทางหนึ่งด้วย
2) ประเด็นเร่งด่วน 4 เรื่อง คือ ทวิศึกษา หรือนักเรียนเรียนหลักสูตร ม.ปลายคู่ ปวช. ในโรงเรียนมัธยมฯ โดยจะเสนอของบกลางดำเนินการเพิ่มอีก 92 ล้านบาท, การของบประมาณเพิ่มเพื่อสร้างศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ จ.สงขลาอีก 302 ล้านบาท หลังจากใช้งบฯ ก่อสร้างไปแล้วกว่า 835 ล้านบาท แต่ไม่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติม, การแก้ปัญหาขาดแคลนครูอาชีวศึกษาโดยขอกรอบอัตรา 7,455 อัตรา ใช้งบประมาณ 1,610 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้อัตราส่วนครู : นักศึกษา จากปัจจุบัน 1 : 44 เหลือ 1 : 27 (สัดส่วนที่เหมาะสมคือ 1:20), ทุนช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ (TTS) ระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ.2558-2572) งบประมาณ 29,059 ล้านบาท เพื่อส่งนักศึกษาอาชีวะไปศึกษาต่อในและต่างประเทศ 5 รุ่น รวม 11,500 คน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยนายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เสนอการแนวทางดำเนินงานของ สกอ. ดังนี้
1) ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในการผลิตครูตามโครงการคุรุทายาท, การพัฒนาครูโดยใช้เครือข่ายสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา, การจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ ผ่านโครงการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) 60 แห่ง และการส่งเสริมการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน (WIL) เช่น สหกิจศึกษา, การส่งเสริมศูนย์ความเป็นเลิศ 11 ศูนย์ในการสร้างงานวิจัยเชิงพาณิชย์ฯ, โครงการวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ
2) ข้อขัดข้องที่ให้พิจารณาผลักดัน อาทิ พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. ...., ร่างประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา, การแก้ไขเยียวยาให้กับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ (ร้อยละ 8), โครงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกระยะ 20 ปี วงเงิน 43,196 ล้านบาท, โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี 9,300 ล้านบาท, โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก, โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่, โครงการกองทุนตั้งตัวได้
นอกจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้ขอให้กระทรวงศึกษาธิการทบทวนและจัดทำข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการวางแผนดำเนินการตามนโยบาย เพราะที่ผ่านมาหลายหน่วยงานและหลายกระทรวงก็ไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากนัก หรืออาจนำแนวทางดำเนินการจัดทำ "ตารางประสานสอดคล้อง" มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ส่วนการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้น กระทรวงศึกษาธิการควรจะต้องนำปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจริงๆ มากางให้สังคมดูว่าจะแก้ปัญหาให้ถูกทางได้อย่างไร
ทั้งนี้ แม้จะเร่งการทำงานตามนโยบายเร่งด่วนดังกล่าว แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นด้วย.
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 278/2558
ผลประชุมองค์กรหลัก 1/2558พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมกับผู้บริหาร 5 องค์กรหลัก เมื่อวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558 ณ ห้องประชุม MOC อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ
รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมว่า ได้รับฟังแนวทางการดำเนินงานของ 5 องค์กรหลักตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อขัดข้องต่างๆ ซึ่งเป็นการขยายความเพิ่มเติมจากที่ได้นำเสนอไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวานนี้ (24 สิงหาคม) โดยตนได้ขอให้เพิ่มเติมแนวทางดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีใน 2 ประเด็น คือการลดเวลาเรียนของเด็กให้น้อยลง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณาปรับลดชั่วโมงเรียนของบางวิชาให้น้อยลง เพื่อต้องการให้เด็กผ่อนคลาย ไม่เครียดในการเรียนมากเกินไปหรือต้องหอบการบ้านไปทำต่อที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีเวลาที่จะอยู่กับพ่อแม่มากขึ้น หรือมีเวลาว่างเรียนรู้ตามวัย คิดบ้างทดลองปฏิบัติบ้าง ไม่ใช่ท่องตำราอย่างเดียว โดยอาจจะเลิกเรียนในชั้นเรียนเวลาประมาณ 14.00 น. ส่วนเวลาที่เหลือให้ สพฐ.ไปพิจารณารายละเอียดและกิจกรรมว่าควรดำเนินการอย่างไรกับเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่จะเดินทางกลับบ้าน หรือกลุ่มซึ่งรอกลับบ้านพร้อมผู้ปกครองหลังเลิกงานทั้งนี้ สพฐ.จะนำร่องโรงเรียนในสังกัดประมาณร้อยละ 10 จากทั้งหมด 38,000 โรงเรียนก่อน เริ่มต้นได้ทันทีในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ดังนั้นจึงขอให้ สพฐ.จัดระบบนิเทศและเตรียมการให้ดีในช่วงปิดภาคเรียนนี้ รวมทั้งสร้างความเข้าใจร่วมกันกับโรงเรียน นักเรียน ครู ผู้ปกครองในการดำเนินการด้วยการเน้นการสอนอาชีพเฉพาะด้านของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)เพื่อต้องการให้ มทร.แต่ละแห่งมีจุดเด่นในการผลิตผู้เรียนในแต่ละสาขาอาชีพเฉพาะทางแตกต่างกันไป ซึ่งนอกจากจะต้องปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรแล้ว จะต้องพัฒนาครูผู้สอนและเครื่องมือช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เร่งดำเนินการในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นโดยเร็วภายในเดือนกันยายน 2559 อาจจะเริ่มต้นจาก 2-3 แห่งก่อน โดยจัดให้มีทั้งสถาบันหลักและรองลงไปในแต่ละสาขา เช่น มทร.ตะวันออก แม้จะมีความชำนาญด้านการสอนต่อเรือ แต่ก็ต้องวางแผนจัดระบบสำหรับเด็กที่อยู่ห่างไกลในภาคอื่นเช่นภาคใต้ที่ต้องการเรียนในสาขาอาชีพนี้ ซึ่งอาจต้องมี มทร. ระดับรองลงไปในภาคใต้ที่มีความพร้อมในการสอนสาขาอาชีพดังกล่าวรองรับด้วย
รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อขัดข้องต่างๆ | ||
1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) โดยนายแพทย์กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอถึงนโยบายการดำเนินงานที่สำคัญ 5 เรื่อง คือ
1) การปรับปรุงคุณภาพครูให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งมีโครงการสำคัญที่ดำเนินการไปแล้ว เช่น โครงการคุรุทายาท แนวทางการพัฒนา/สรรหา/ประเมินวิทยฐานะ/เลื่อนตำแหน่ง/ย้ายครูผู้สอน ใบประกอบวิชาชีพครู การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู การแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ฯลฯ
2) การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการศึกษาปฐมวัย การแก้ปัญหาเด็กออกกลางคัน การฝึกวิชาชีพระยะสั้นหรือส่งเสริมรายได้ให้แก่ประชาชน การส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ค่านิยมหลัก 12 ประการ
3) การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา คือ การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning Information Technology : DLIT)
4) การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดตั้งศูนย์ครูใต้ที่ จ.ยะลาและนราธิวาส การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อสร้างโอกาสการมีอาชีพมีงานทำ การจัดโครงการ DLIT การช่วยเหลือเยียวยาครูที่เสียชีวิตและทุพพลภาพ
5) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ การพัฒนาทักษะการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน และการพัฒนาอาชีพรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดน
2. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) โดยนางสุทธศรี วงษ์สมาน เลขาธิการสภาการศึกษา ได้นำเสนอการดำเนินงานตามนโยบายและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ร่างวิสัยทัศน์และกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปี (พ.ศ.2559-2563) การปฏิรูปการศึกษาในภาพรวมทั้งระบบ การทบทวนปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ (พ.ศ.2560-2574) และแผนพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาวะการศึกษาไทยในเวทีโลก และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยนายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นำเสนอในประเด็นการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กจบ ป.1 ต้องอ่านออกเขียนได้และต้องมีการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเสริมทักษะอาชีพเด็กชั้น ม.1 ถึง ม.6 (ทวิศึกษา) ที่ต้องเลือกเรียนวิชาเสริมเป็นสาขาวิชาชีพเพื่อการวางแผนอาชีพในอนาคตได้ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการปรับลดเวลาเรียนของเด็กให้น้อยลง
4. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้นำเสนอ
1) ประเด็นเชิงนโยบายรัฐบาล 6 เรื่อง คือ การเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพ ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ สอศ.มีนักศึกษาใหม่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ซึ่งรวมถึงโครงการทวิศึกษาด้วย, การพัฒนาทักษะอาชีพประชาชนทุกช่วงวัย 1 ล้านคน, การแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาอาชีวะ, โครงการอาชีวะมาตรฐานสากลโดยร่วมมือกับประเทศชั้นนำของโลกด้านอาชีวศึกษา 7 ประเทศ คือ เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ อิสราเอล อังกฤษ และไต้หวัน, การเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษเพื่องานอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงานให้สถานประกอบการ, การเพิ่มบทบาทของสถานประกอบการในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ซึ่งปัจจุบันมีความร่วมมือ 10,527 แห่ง นักศึกษา 89,489 คน ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ได้เสนอแนะให้สถานศึกษากลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทได้จับคู่กับสถานประกอบการเพื่อจัดระบบทวิภาคีให้ผู้เรียน ซึ่งจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อีกทางหนึ่งด้วย
2) ประเด็นเร่งด่วน 4 เรื่อง คือ ทวิศึกษา หรือนักเรียนเรียนหลักสูตร ม.ปลายคู่ ปวช. ในโรงเรียนมัธยมฯ โดยจะเสนอของบกลางดำเนินการเพิ่มอีก 92 ล้านบาท, การของบประมาณเพิ่มเพื่อสร้างศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ จ.สงขลาอีก 302 ล้านบาท หลังจากใช้งบฯ ก่อสร้างไปแล้วกว่า 835 ล้านบาท แต่ไม่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติม, การแก้ปัญหาขาดแคลนครูอาชีวศึกษาโดยขอกรอบอัตรา 7,455 อัตรา ใช้งบประมาณ 1,610 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้อัตราส่วนครู : นักศึกษา จากปัจจุบัน 1 : 44 เหลือ 1 : 27 (สัดส่วนที่เหมาะสมคือ 1:20), ทุนช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ (TTS) ระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ.2558-2572) งบประมาณ 29,059 ล้านบาท เพื่อส่งนักศึกษาอาชีวะไปศึกษาต่อในและต่างประเทศ 5 รุ่น รวม 11,500 คน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยนายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เสนอการแนวทางดำเนินงานของ สกอ. ดังนี้
1) ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในการผลิตครูตามโครงการคุรุทายาท, การพัฒนาครูโดยใช้เครือข่ายสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา, การจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ ผ่านโครงการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) 60 แห่ง และการส่งเสริมการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน (WIL) เช่น สหกิจศึกษา, การส่งเสริมศูนย์ความเป็นเลิศ 11 ศูนย์ในการสร้างงานวิจัยเชิงพาณิชย์ฯ, โครงการวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ
2) ข้อขัดข้องที่ให้พิจารณาผลักดัน อาทิ พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. ...., ร่างประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา, การแก้ไขเยียวยาให้กับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ (ร้อยละ 8), โครงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกระยะ 20 ปี วงเงิน 43,196 ล้านบาท, โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี 9,300 ล้านบาท, โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก, โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่, โครงการกองทุนตั้งตัวได้
|
นอกจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้ขอให้กระทรวงศึกษาธิการทบทวนและจัดทำข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการวางแผนดำเนินการตามนโยบาย เพราะที่ผ่านมาหลายหน่วยงานและหลายกระทรวงก็ไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากนัก หรืออาจนำแนวทางดำเนินการจัดทำ "ตารางประสานสอดคล้อง" มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ส่วนการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้น กระทรวงศึกษาธิการควรจะต้องนำปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจริงๆ มากางให้สังคมดูว่าจะแก้ปัญหาให้ถูกทางได้อย่างไรทั้งนี้ แม้จะเร่งการทำงานตามนโยบายเร่งด่วนดังกล่าว แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นด้วย.
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น