เรื่องใหม่น่าสนใจ
-ครม.ประยุทธ์ 3 http://tuewsob.blogspot.com/2015/08/blog-post_23.html
-เขตที่เปิดสอบ-เกณฑ์สอบ-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 / 2558
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
-รัฐธรรมนูญ 2557 แก้ไข ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 289/2558เปิดสัมมนาความท้าทายแห่งการพัฒนาภายหลังปี 2015
โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ - พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ เรื่อง “ความท้าทายแห่งการพัฒนาภายหลังปี 2015 : ความสำคัญต่อการค้าและการพัฒนา ภายในประชาคมอาเซียน” (Post-2015 Development Challenges : Implications for Trade and Development for ASEAN Community) ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมาย เมื่อวันพุธที่ 2 กันยายน 2558 โดยมี ดร.กมลินทร์ พินิจภูวดล ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ผู้แทนจากสถานทูตและองค์การระหว่างประเทศที่ประจำในประเทศไทย นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนองค์กรอิสระ เข้าร่วมกว่า 200 คน
ชื่นชมการสัมมนาครั้งนี้ที่เน้น 2 เรื่องสำคัญ : ประชาคมอาเซียน และการพัฒนาภายหลังปี 2015
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความยินดีและเป็นเกียรติที่มาเปิดการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการค้าและการพัฒนาของประเทศไทย ตลอดจนให้ความสำคัญกับบทบาททางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการตระหนักถึงการที่เชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียนมากขึ้นโดยลำดับ ด้วยตระหนักถึงการที่ประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ตกลงที่จะรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปลายปี 2558 ทั้งในแง่การเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการก็ได้กำหนดกรอบและแนวทางในการปฏิบัติด้านการศึกษาของไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้
สำหรับหัวข้อของการประชุมในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ เรื่องของประชาคมอาเซียน ซึ่งมีความสำคัญมาก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้คำตอบและแนวทางที่ดีเพื่อรัฐบาลจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนอาเซียนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม วัฒนธรรม ส่วนเรื่องการพัฒนาภายหลังปี 2015 มีความสอดคล้องกับการที่นายกรัฐมนตรีและคณะจะเดินทางไปเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสำนักงานสหประชาชาติ (UN) ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ด้วย จึงได้เร่งให้หน่วยงานต่างๆ นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องส่งไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประชุมครั้งนี้ต่อไป
ปีนี้เป็นปีแห่งการเริ่มต้นวางแผนอนาคตของโลกในหลายเรื่อง
อย่างไรก็ตาม ปีนี้เป็นปีแห่งการเริ่มต้นวางแผนอนาคตของโลกในหลายเรื่อง เช่น การประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศระดับโลก (Climate Change) ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสในช่วงเดือนธันวาคมนี้ เพื่อทบทวนและกำหนดกติกาใหม่เพื่อเริ่มใช้ในปี 2020 เป็นต้นไป เพราะที่ผ่านมาพบว่า ยังมีความร่วมมือหรือผลลัพธ์ในเรื่องนี้น้อยมาก ส่วนใหญ่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาและไม่มีการปฏิบัติตามแผน แม้กระทั่งแผนการพัฒนาของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ก็ยังมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมเพียง 1% เท่านั้น
เน้น ITD ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมและสนองพระราชดำริ
ดังนั้น ในการพัฒนาเรื่องต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อโลก ประกอบกับขณะนี้สหประชาชาติและหลายประเทศให้ความสำคัญและตื่นตัวกับเรื่องนี้มาก จึงขอให้ทุกคนมีความตื่นตัวในเรื่องนี้ด้วย โดยเฉพาะ ITD ที่จะต้องมีหน้าที่ในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมกับคนในประเทศ นอกเหนือจากเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการพัฒนาประเทศ
ในเรื่องของการพัฒนาที่ยังยืน ประเทศไทยมีตัวอย่างที่ดีอยู่แล้ว กล่าวคือ พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของหลักเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องน้ำ เรื่องป่า ตลอดจนแนวทางเรื่อง Biodiversity ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำมาสานต่อ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแนวทางที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนที่มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยและคนไทยทั้งสิ้น
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วที่ ITD จะใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการดำเนินงานพัฒนาตามภารกิจ เพราะนายกรัฐมนตรีและตนเองได้นำแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการกล่าวปาฐกถาในเวทีต่างๆ เช่นกัน
หวังว่าการประชุมครั้งนี้จะได้ข้อเสนอการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ดังนั้น การประชุมสัมมนาวิชาการนานานาชาติ เรื่อง ความท้าทายแห่งการพัฒนาภายหลังปี 2015 : ความสำคัญต่อการค้าและการพัฒนา ภายในประชาคมอาเซียน ถือเป็นการระดมความคิดเห็นในประเด็นที่ถูกทิศ ถูกทาง และถูกเวลา
จึงขอให้ช่วยกันสรุปกระบวนความคิดให้เร็ว จบให้ได้ ได้ข้อยุติโดยเร็ว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับการพัฒนาแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติ ที่ได้กำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี 2015 (Post-2015Development Agenda) ตามกระบวนทัศน์ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" มุ่งเน้นประเด็นสำคัญหลายประการ อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย ความเสมอภาคทางเพศ การลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ การจัดการเรื่องน้ำอย่างยั่งยืน การเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย การส่งเสริมศักยภาพการมีงานทำและการจ้างงาน การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเล การส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่แบ่งแยก การเข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน ตลอดจนสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ดร.นิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความเป็นมาของการก่อตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD ว่า เป็นองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (The United Nations Conference on Trade and Development - UNCTAD) ซึ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาอบรมและให้การสนับสนุนเพื่อการค้นคว้าวิจัยแก่บุคลากรประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ทั้งในด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงิน การคลัง การลงทุน การพัฒนา และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เหมาะสมร่วมกัน ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และสร้างความเป็นเอกภาพ โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางจัดการฝึกอบรมและกิจกรรมเสริมศักยภาพต่างๆ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ
เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 14 แห่งการก่อตั้ง ITD จึงได้จัดการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ เรื่อง “ความท้าทายแห่งการพัฒนาภายหลังปี 2015 : ความสำคัญต่อการค้าและการพัฒนา ภายในประชาคมอาเซียน” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการแก่ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ทำให้เกิดแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการสังเคราะห์ประเด็นเชิงนโยบาย เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศและภูมิภาคเอเชีย และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงบทบาทและภารกิจหลัก ตลอดจนผลงานของ ITD ที่มีต่อการพัฒนาประเทศและภูมิภาคให้กว้างขวางมากขึ้น โดยในการประชุมสัมมนาจะมุ่งเน้นการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านการค้าและการพัฒนาแห่งศตวรรษที่ 21 การค้าและการพัฒนาในบริบทสหัสวรรษแห่งการพัฒนา(Milliennium Development Goals : MDGs) เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และการเชื่อมโยงระหว่างการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 กับวาระแห่งการพัฒนาภายหลังปี 2558 อันจะส่งผลต่อความร่วมมือเชิงนโยบายและวิชาการ เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการพัฒนา และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและภูมิภาคต่อไป
โดยมีวิทยากรปาฐกถาพิเศษในหัวข้อต่างๆ ได้แก่
- Dr. Edward Clarence-Smith เรื่องประเด็นด้านการค้าและการพัฒนาในศตวรรษที่ 21
- นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก นายธานินทร์ ผะเอม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และDr.Susan F.Stone Director of Trade and Investment Division, Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP) เรื่อง “จากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : ความท้าทายใหม่แห่งการค้าและการพัฒนา”
- ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง ประธานคณะอนุกรรมการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง “การค้าและการพัฒนาในประชาคมอาเซียน”
- นางสาวสุภาสินี ขมะสุนทร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์อาเซียนศึกษา และศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Assoc. Prof. Dr. Sufian Jusoh External Fellow of the World Trade Institute (WTI) and Senior Fellow of the National University of Malaysia เรื่อง “การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 กับวาระการพัฒนาภายหลังปี 2558”
- นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก นายธานินทร์ ผะเอม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และDr.Susan F.Stone Director of Trade and Investment Division, Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP) เรื่อง “จากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : ความท้าทายใหม่แห่งการค้าและการพัฒนา”
- ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง ประธานคณะอนุกรรมการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง “การค้าและการพัฒนาในประชาคมอาเซียน”
- นางสาวสุภาสินี ขมะสุนทร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์อาเซียนศึกษา และศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Assoc. Prof. Dr. Sufian Jusoh External Fellow of the World Trade Institute (WTI) and Senior Fellow of the National University of Malaysia เรื่อง “การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 กับวาระการพัฒนาภายหลังปี 2558”
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น