อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 528/2560 พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2560
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธานพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2560 เพื่อเชิดชูเกียรติครูดีเด่นในอาเซียนและติมอร์-เลสเต เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2560 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมรับเสด็จฯ อาทิ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี, รศ.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ รองประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ, เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการใน 11 ประเทศ ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาท ความว่า ขอแสดงความยินดีกับครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ทั้ง 11 คนจาก 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้
ครูที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2560 ทั้ง 11 ท่าน เป็นครูที่มีความสามารถและอุทิศตนเป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลาที่ประกอบอาชีพครู ครูเหล่านี้ได้อุทิศตนและเสียสละให้กับลูกศิษย์ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้มีโอกาสทางการศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ที่ทำให้ลูกศิษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตและการศึกษาที่สูงขึ้น ดังนั้น ครูเหล่านี้คือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของลูกศิษย์ และสมควรได้รับการจารึกจดจำไว้ในฐานะนักการศึกษาที่มีคุณค่า
อีกประเด็นหนึ่งสำคัญคือ การศึกษามีความหมายต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในฐานะที่ครูซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเตรียมความรู้ ทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องได้ กล่าวคือ ครูทุกท่านจำเป็นต้องพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ เพราะในปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากครูไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว ครูก็ไม่สามารถติดตามการพัฒนาของนักเรียนได้ ครูที่มีคุณภาพจะสร้างคนที่มีคุณภาพ ซึ่งเราทุกคนรู้ดีว่าต้องใช้เวลาและเอาใจใส่อย่างมากในการส่งเสริมและปลูกฝังเยาวชนคนรุ่นใหม่ในฐานะสมาชิกของชุมชนทั่วโลก
การศึกษาสำหรับคนทุกคน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมลงทุนในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อการสนับสนุนด้านเทคนิคและการระดมทรัพยากร เป็นการแสดงให้เห็นว่า นอกจากการมุ่งเน้นการจัดการศึกษาให้กับทุกคนแล้ว การส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นในปี 2558 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การสอนของครู ถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง และขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการและเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการใน 11 ประเทศ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรรมการมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในการคัดเลือกครูดีเด่นสำหรับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในครั้งนี้ รวมทั้งขอบคุณคณะกรรมการจัดงานในพิธีพระราชทานรางวัลปี 2560 สำหรับการจัดงานที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนตุลาคมนี้เป็นการเฉลิมฉลองวันครูโลกปี 2560 ภายใต้หัวข้อ "อิสรภาพทางการสอน อำนาจการจัดการสอนของครู” จึงเป็นโอกาสอันดีในการเรียนรู้ถึงการทำงานด้านการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ของครูผู้ได้รับรางวัล ทั้ง 11 ท่านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านมีความสุขและสำเร็จลุล่วงในกิจกรรมครั้งนี้
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานว่า รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นรางวัลพระราชทานระดับนานาชาติให้กับครูที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ประเทศละ 1 คน โดยมีคุณสมบัติเป็นครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษา และมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติเจ้าฟ้านักการศึกษา ผู้ทรงพระปรีชาและทรงมีคุณูปการต่อการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งเชิดชูเกียรติครูดีเด่นในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า ครูทั้ง 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ที่ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2560 มีผลงานดีเด่น ดังนี้
1) เนการาบรูไนดารุสซาลาม: มาดามลิม ซง โงว ครูสอนวิชาเคมี ระดับ A-level ที่วิทยาลัยดูไลเพนกิรัน มูด้า อัล-มูตาดี บิลลา (Duli Pengiran Muda Al-Muhtadee Billah College) ครูผู้ดึงศักยภาพลูกศิษย์ทำให้ทุกคนมีตัวตนในชั้นเรียนและเปิดใจที่จะเรียนรู้จนมีคะแนนในระดับที่สูง และยังเป็นครูพี่เลี้ยงแก่ครูในระดับประเทศ ทำให้ได้รับรางวัลเกียรติยศจากสุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม
2) ราชอาณาจักรกัมพูชา: นางดี โส พอน ครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนประถมคุมร็อกร่อง (Kumroukrong) ครูผู้สร้างบรรยากาศการสอนให้เป็น “ห้องเรียนแห่งความสุข” พร้อมกับดึงครอบครัว โรงเรียน และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เพราะเชื่อว่าการศึกษาจะช่วยสร้างอนาคตของลูกศิษย์และประเทศ โดยมีผลสำเร็จจากเป็นครูมา 20 ปี จึงได้รับรางวัลสมเด็จเดโช ในปี 2560
3) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย: นายเอนชอน ระมัน ครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาเมกาวังงี (Mekarwangi Public Elementary School) เป็นครูนักพัฒนาการศึกษาของอินโดนีเซีย ในฐานะผู้ฝึกอบรมโรงเรียนระดับมาตรฐานของประเทศ เป็นผู้เขียนตำราเรียนระดับประถมศึกษา จนเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ครูในชวาตะวันตก และได้รับรางวัลครูผู้สอนดีเด่นในระดับชาติ
4) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: นางคูนวิไล เคนกิติสัก ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาทองคัง (Thongkang School) กรุงเวียงจันทน์ นักบริหารจัดการโรงเรียนยอดเยี่ยม โดยบริหารโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการหลอมรวมการมีส่วนร่วมของครูและชุมชน ส่งผลการพัฒนานักเรียนอย่างมีคุณภาพ
5) ประเทศมาเลเซีย: มาดามฮัจญะห์ ซารีปะ บินตี เอิมบง ครูสอนทักษะชีวิต คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ โรงเรียนมัธยมอิมเทียส ยายาซัน ทีแรงกานู (ImtiazYayasan Terengganu High School) นับเป็นครูผู้สร้างนักนวัตกรรมรุ่นใหม่ ด้วยการดึงความรู้ในห้องเรียนสู่การออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน จนผลงานของลูกศิษย์ได้รับรางวัลทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
6) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา: นายทัน ทุม ครูสอนภาษาอังกฤษและหลักสูตรร่วมระดับมัธยมโรงเรียน เมืองยัวดายี แคว้นซาเกรง ได้รับรางวัลการสอนดีเยี่ยมในการส่งเสริมเด็กระดับ 9 ให้สอบผ่านภาษาอังกฤษทั้งระดับรัฐและภูมิภาคเป็นประจำทุกปี ด้วยวิธีการสอนที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ควบคู่กับการปลูกฝังทักษะชีวิตและคุณธรรม
7) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์: ดร.เฮซุส อินสิลาดา เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา โรงเรียนมัธยมแห่งชาติอัลคาเด กูสทีโล (Alcarde Gustilo Memorial National High School) ผู้สร้างการเรียนรู้แบบองค์รวมบนวิถีทางวัฒนธรรม และนักประพันธ์ภาษาถิ่น เพื่อปลุกความภูมิใจในความเป็นคนฟิลิปปินส์ท้องถิ่น
8) สาธารณรัฐสิงคโปร์: มาดามสะรับจิต คอร์ บุตรี ฮาร์ดิปซิงห์ ครูสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนประถมแอนเดอสัน ผู้ปลดปล่อยศักยภาพเด็กหลังห้อง สู่การมีทัศนคติการเรียนรู้เชิงบวก ความเป็นครูผู้อุทิศตน พร้อมทั้งสนใจความต้องการของเด็กทั้งการเรียนและพฤติกรรม จึงเข้าถึงจิตใจเด็ก ผู้ปกครอง และเพื่อนร่วมงาน โดยได้รับการยกย่องในรางวัล Excellent Service Award ปี 2557
9) สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต: นางลีโอโปลดีนา โจอานา กูเตเรส ผู้อำนวยการโรงเรียนศูนย์กลางประถมศึกษาเซนโฮเซ (S.Jose Basic Education Central School) ซึ่งมีโรงเรียนสาขาอีก 7 แห่ง นับเป็นครูนักบริหารจัดการทรัพยากรเป็นเลิศ โดยการเชื่อมประสานการสนับสนุนจากภายนอก ทำให้ความห่างไกลไม่ใช่อุปสรรคของการพัฒนาโรงเรียน
10) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม: นางฟาน ถิ หนือ ครูสอนภาษาอังกฤษ และหัวหน้าหมวดประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ต่างประเทศโรงเรียนมัธยมเลอ กวิ ดง (Le Quy Don Gifted School) เมืองดานัง นับเป็นครูภาษาอังกฤษและนักเชื่อมความสัมพันธ์ต่างประเทศ ผู้สร้างโอกาสเปิดพรมแดนการเรียนรู้ของลูกศิษย์ในต่างแดน
11) ประเทศไทย: นายจิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง ครูเชี่ยวชาญ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี จ.นนทบุรี ครูผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล บุกเบิกการสอนไอซีทีและนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงเรียนมากว่า 32 ปี และเป็นผู้ให้โอกาสแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงด้วยใจรัก จนลูกศิษย์ประสบความสำเร็จทั้งในเวทีระดับชาติและนานาชาติ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 528/2560 พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2560
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธานพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2560 เพื่อเชิดชูเกียรติครูดีเด่นในอาเซียนและติมอร์-เลสเต เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2560 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมรับเสด็จฯ อาทิ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี, รศ.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ รองประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ, เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการใน 11 ประเทศ ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาท ความว่า ขอแสดงความยินดีกับครูผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ทั้ง 11 คนจาก 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้
ครูที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2560 ทั้ง 11 ท่าน เป็นครูที่มีความสามารถและอุทิศตนเป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลาที่ประกอบอาชีพครู ครูเหล่านี้ได้อุทิศตนและเสียสละให้กับลูกศิษย์ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้มีโอกาสทางการศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ที่ทำให้ลูกศิษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตและการศึกษาที่สูงขึ้น ดังนั้น ครูเหล่านี้คือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของลูกศิษย์ และสมควรได้รับการจารึกจดจำไว้ในฐานะนักการศึกษาที่มีคุณค่า
อีกประเด็นหนึ่งสำคัญคือ การศึกษามีความหมายต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในฐานะที่ครูซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเตรียมความรู้ ทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องได้ กล่าวคือ ครูทุกท่านจำเป็นต้องพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ เพราะในปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากครูไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว ครูก็ไม่สามารถติดตามการพัฒนาของนักเรียนได้ ครูที่มีคุณภาพจะสร้างคนที่มีคุณภาพ ซึ่งเราทุกคนรู้ดีว่าต้องใช้เวลาและเอาใจใส่อย่างมากในการส่งเสริมและปลูกฝังเยาวชนคนรุ่นใหม่ในฐานะสมาชิกของชุมชนทั่วโลก
การศึกษาสำหรับคนทุกคน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมลงทุนในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อการสนับสนุนด้านเทคนิคและการระดมทรัพยากร เป็นการแสดงให้เห็นว่า นอกจากการมุ่งเน้นการจัดการศึกษาให้กับทุกคนแล้ว การส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นในปี 2558 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การสอนของครู ถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง และขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการและเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการใน 11 ประเทศ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรรมการมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ในการคัดเลือกครูดีเด่นสำหรับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีในครั้งนี้ รวมทั้งขอบคุณคณะกรรมการจัดงานในพิธีพระราชทานรางวัลปี 2560 สำหรับการจัดงานที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนตุลาคมนี้เป็นการเฉลิมฉลองวันครูโลกปี 2560 ภายใต้หัวข้อ "อิสรภาพทางการสอน อำนาจการจัดการสอนของครู” จึงเป็นโอกาสอันดีในการเรียนรู้ถึงการทำงานด้านการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ของครูผู้ได้รับรางวัล ทั้ง 11 ท่านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านมีความสุขและสำเร็จลุล่วงในกิจกรรมครั้งนี้
1) เนการาบรูไนดารุสซาลาม: มาดามลิม ซง โงว ครูสอนวิชาเคมี ระดับ A-level ที่วิทยาลัยดูไลเพนกิรัน มูด้า อัล-มูตาดี บิลลา (Duli Pengiran Muda Al-Muhtadee Billah College) ครูผู้ดึงศักยภาพลูกศิษย์ทำให้ทุกคนมีตัวตนในชั้นเรียนและเปิดใจที่จะเรียนรู้จนมีคะแนนในระดับที่สูง และยังเป็นครูพี่เลี้ยงแก่ครูในระดับประเทศ ทำให้ได้รับรางวัลเกียรติยศจากสุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม
2) ราชอาณาจักรกัมพูชา: นางดี โส พอน ครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนประถมคุมร็อกร่อง (Kumroukrong) ครูผู้สร้างบรรยากาศการสอนให้เป็น “ห้องเรียนแห่งความสุข” พร้อมกับดึงครอบครัว โรงเรียน และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เพราะเชื่อว่าการศึกษาจะช่วยสร้างอนาคตของลูกศิษย์และประเทศ โดยมีผลสำเร็จจากเป็นครูมา 20 ปี จึงได้รับรางวัลสมเด็จเดโช ในปี 2560
3) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย: นายเอนชอน ระมัน ครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาเมกาวังงี (Mekarwangi Public Elementary School) เป็นครูนักพัฒนาการศึกษาของอินโดนีเซีย ในฐานะผู้ฝึกอบรมโรงเรียนระดับมาตรฐานของประเทศ เป็นผู้เขียนตำราเรียนระดับประถมศึกษา จนเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ครูในชวาตะวันตก และได้รับรางวัลครูผู้สอนดีเด่นในระดับชาติ
4) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: นางคูนวิไล เคนกิติสัก ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาทองคัง (Thongkang School) กรุงเวียงจันทน์ นักบริหารจัดการโรงเรียนยอดเยี่ยม โดยบริหารโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการหลอมรวมการมีส่วนร่วมของครูและชุมชน ส่งผลการพัฒนานักเรียนอย่างมีคุณภาพ
5) ประเทศมาเลเซีย: มาดามฮัจญะห์ ซารีปะ บินตี เอิมบง ครูสอนทักษะชีวิต คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ โรงเรียนมัธยมอิมเทียส ยายาซัน ทีแรงกานู (ImtiazYayasan Terengganu High School) นับเป็นครูผู้สร้างนักนวัตกรรมรุ่นใหม่ ด้วยการดึงความรู้ในห้องเรียนสู่การออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน จนผลงานของลูกศิษย์ได้รับรางวัลทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
6) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา: นายทัน ทุม ครูสอนภาษาอังกฤษและหลักสูตรร่วมระดับมัธยมโรงเรียน เมืองยัวดายี แคว้นซาเกรง ได้รับรางวัลการสอนดีเยี่ยมในการส่งเสริมเด็กระดับ 9 ให้สอบผ่านภาษาอังกฤษทั้งระดับรัฐและภูมิภาคเป็นประจำทุกปี ด้วยวิธีการสอนที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ควบคู่กับการปลูกฝังทักษะชีวิตและคุณธรรม
7) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์: ดร.เฮซุส อินสิลาดา เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา โรงเรียนมัธยมแห่งชาติอัลคาเด กูสทีโล (Alcarde Gustilo Memorial National High School) ผู้สร้างการเรียนรู้แบบองค์รวมบนวิถีทางวัฒนธรรม และนักประพันธ์ภาษาถิ่น เพื่อปลุกความภูมิใจในความเป็นคนฟิลิปปินส์ท้องถิ่น
8) สาธารณรัฐสิงคโปร์: มาดามสะรับจิต คอร์ บุตรี ฮาร์ดิปซิงห์ ครูสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนประถมแอนเดอสัน ผู้ปลดปล่อยศักยภาพเด็กหลังห้อง สู่การมีทัศนคติการเรียนรู้เชิงบวก ความเป็นครูผู้อุทิศตน พร้อมทั้งสนใจความต้องการของเด็กทั้งการเรียนและพฤติกรรม จึงเข้าถึงจิตใจเด็ก ผู้ปกครอง และเพื่อนร่วมงาน โดยได้รับการยกย่องในรางวัล Excellent Service Award ปี 2557
9) สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต: นางลีโอโปลดีนา โจอานา กูเตเรส ผู้อำนวยการโรงเรียนศูนย์กลางประถมศึกษาเซนโฮเซ (S.Jose Basic Education Central School) ซึ่งมีโรงเรียนสาขาอีก 7 แห่ง นับเป็นครูนักบริหารจัดการทรัพยากรเป็นเลิศ โดยการเชื่อมประสานการสนับสนุนจากภายนอก ทำให้ความห่างไกลไม่ใช่อุปสรรคของการพัฒนาโรงเรียน
10) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม: นางฟาน ถิ หนือ ครูสอนภาษาอังกฤษ และหัวหน้าหมวดประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ต่างประเทศโรงเรียนมัธยมเลอ กวิ ดง (Le Quy Don Gifted School) เมืองดานัง นับเป็นครูภาษาอังกฤษและนักเชื่อมความสัมพันธ์ต่างประเทศ ผู้สร้างโอกาสเปิดพรมแดนการเรียนรู้ของลูกศิษย์ในต่างแดน
11) ประเทศไทย: นายจิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง ครูเชี่ยวชาญ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี จ.นนทบุรี ครูผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล บุกเบิกการสอนไอซีทีและนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงเรียนมากว่า 32 ปี และเป็นผู้ให้โอกาสแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงด้วยใจรัก จนลูกศิษย์ประสบความสำเร็จทั้งในเวทีระดับชาติและนานาชาติ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น