อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
สรุปผลรางวัลโนเบลทั้ง 6 สาขาประจำปี 2017
คณะกรรมการพิจารณามอบรางวัลโนเบลประกาศผลการตัดสินรางวัลโนเบลประจำปีนี้ครบทั้ง 6 สาขาแล้วในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยมีนักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และนักเขียน ผู้มีผลงานอันที่เป็นประจักษ์ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 11 คนใน 5 สาขา และมีอีก 1 องค์กรที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ดังนี้
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปีนี้ ตกเป็นของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน 3 คน ได้แก่ นายไรเนอร์ ไวส์ นายแบร์รี บาริช และนายคิป ธอร์น ซึ่งต่างก็เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งและดำเนินงานหอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงไลโก (LIGO) ในสหรัฐฯ เป็นผู้บุกเบิกสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational wave) ได้สำเร็จ
นับเป็นการพิสูจน์ว่าคลื่นดังกล่าวมีอยู่จริงตามการทำนายด้วยหลักทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นายไวส์เป็นผู้คิดค้นเทคนิคพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง ส่วนนายธอร์นนั้นมีผลงานทางทฤษฎีที่ช่วยส่งเสริมความสำเร็จในการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง และนายบาริชซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนที่ 2 ของหอสังเกตการณ์ไลโก มีผลงานในการเลือกใช้และพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์ตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง
รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์
นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน 3 คน ได้แก่ นายเจฟฟรี ฮอลล์ นายไมเคิล ยัง และนายไมเคิล รอสแบช ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา หรือการแพทย์ ประจำปีนี้ร่วมกัน จากผลงานการค้นพบกลไกของนาฬิการ่างกายในระดับโมเลกุล
นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 คน ศึกษากระบวนการทำงานของนาฬิการ่างกายที่มีอยู่ทั่วไปในสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์ โดยใช้การวิเคราะห์ระดับพันธุกรรมในแมลงวันผลไม้ ทำให้สามารถระบุตัวยีนและสารเคมีในเซลล์ที่ร่วมกันควบคุมกลไกของนาฬิการ่างกายได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นปริศนามานานว่าร่างกายของมนุษย์และสัตว์รับรู้เวลากลางวันกลางคืน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงการทำงานตอบสนองต่อเวลาในแต่ละช่วงได้อย่างไร
รางวัลโนเบลสาขาเคมี
นายฌาก ยูโบเชต์ นายโจอาคิม แฟรงก์ และนายริชาร์ด เฮนเดอร์สัน คว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมีไปครองในปีหน้า จากผลงานที่พวกเขาได้ร่วมกันพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบแช่แข็ง (cryo-electron microscopy)ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถจับภาพในขณะที่โมเลกุลของสิ่งมีชีวิตกำลังเกาะกลุ่มกัน และสร้างภาพกระบวนการทางเคมีอันซับซ้อนขึ้นมาได้
ศ.โจอาคิม แฟรงก์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ถือเป็นผู้วางรากฐานของเทคนิคนี้มาตั้งแต่ช่วงปี 1975-1986 โดยเขาเป็นผู้พัฒนาเทคนิคในการประมวลผลภาพ 2 มิติที่ได้จากการถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ที่ไม่มีความคมชัด ให้เป็นภาพ 3 มิติที่คมชัดได้
ขณะที่ ศ.ฌาก ยูโบเชต์ นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิส เป็นผู้พัฒนาเทคนิคการแช่แข็งโดยการลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำที่อยู่รอบ ๆ ตัวอย่างทางชีวภาพเย็นลงอย่างรวดเร็วจนแข็งตัว ทำให้โมเลกุลยังคงสภาพธรรมชาติของมันไว้ได้
ส่วน ศ.ริชาร์ด เฮนเดอร์สัน นักวิทยาศาสตร์ชาวสกอต เป็นผู้นำเสนอโครงสร้างโมเลกุลของแบคทีเรียที่มีความละเอียดในระดับอะตอม
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์นำเทคนิคนี้ไปใช้ในการสร้างภาพสามมิติของโครงสร้างชีวโมเลกุล ตั้งแต่การสร้างภาพโปรตีนของแบคทีเรียที่ทำให้ดื้อยาปฏิชีวนะ ไปจนถึงการสร้างภาพเชื้อไวรัสซิกา โดยภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือนก็สามารถพัฒนาภาพสามมิติของเชื้อไวรัสนี้โดยมีความละเอียดในระดับอะตอมออกมาได้ ทำให้เริ่มค้นคว้าหายาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ได้
รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
นายคาซึโอะ อิชิงุโระ นักเขียนสัญชาติอังกฤษ เชื้อสายญี่ปุ่น คว้ารางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมประจำปีนี้ เจ้าของนิยายที่โด่งดังเรื่อง "The Remains of the Day" (ตรงกับงานแปลไทยในชื่อ "เถ้าถ่านแห่งวารวัน") และ "Never Let Me Go" (ตรงกับงานแปลไทยในชื่อ "แผลลึก หัวใจสลาย")
เขาเกิดในเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1954 และย้ายมาอยู่ประเทศอังกฤษพร้อมกับครอบครัว ในช่วงที่พ่อของเขาได้งานเป็นนักสมุทรศาสตร์ในเมืองเซอร์รีย์ จบการศึกษาภาษาอังกฤษและปรัชญาที่มหาวิทยาลัยเคนท์ และจบการศึกษาในระดับปริญญาโทด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์จากมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย
A Pale View of Hills วิทยานิพนธ์ของเขา กลายเป็นนิยายเล่มแรกซึ่งตีพิมพ์ในปี 1982 และถูกกล่าวถึงอย่างมาก นอกจานี้ยังเคยคว้ารางวัลบุ๊กเกอร์ในปี 1989 จากนิยายเรื่อง The Remains of the Day
นายอิชิงุโระ เขียนหนังสือมาแล้ว 8 เล่ม ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 40 ภาษา
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปีนี้ตกเป็นของกลุ่มรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อทำลายอาวุธนิวเคลียร์ หรือ ไอแคน (International Campaign to Abolish Nuclear Weapons--Ican)
นางเบริต รีส-แอนเดอร์เซน ประธานคณะกรรมการมอบรางวัลโนเบล กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินใจมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพให้แก่กลุ่มไอแคน เพราะความพยายามของกลุ่มที่ผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์
ศ.ริชาร์ด เทเลอร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโกของสหรัฐฯ คว้ารางวัลโนเบลจาก "ทฤษฎีผลักดัน" (Nudge Theory)อันโด่งดัง ซึ่งแนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Economics)
ศ. เทเลอร์เสนอว่า วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คนเราตัดสินใจได้อย่างมีเหตุมีผลมากขึ้น แทนที่จะตัดสินใจแบบแย่ ๆ ตามอารมณ์โดยไม่คิดไตร่ตรอง ก็คือการออกแบบสถานการณ์หรือทางเลือกที่จะผลักดันให้คนเราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเองโดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้ รางวัลโนเบลก่อตั้งขึ้นโดยนายอัลเฟรด โนเบล ผู้เป็นทั้งนักเคมี นักประดิษฐ์ วิศวกร นักเขียน และผู้ใฝ่สันติ เริ่มมีการมอบรางวัลครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 1901 พิธีมอบรางวัลโนเบลจะจัดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของนายอัลเฟรด โนเบล
พิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์, ฟิสิกส์, เคมี, วรรณกรรม และเศรษฐศาสตร์ จะจัดขึ้นที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ส่วนพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจะจัดขึ้นที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ผู้ชนะในแต่ละสาขาจะได้รับเงินรางวัล 9 ล้านโครนสวีเดน หรือประมาณ 37 ล้านบาท
ที่มา ; เว็บ http://www.bbc.com/thai/international-41621386
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น