อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 634/2560
การจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ จ.ปัตตานี
จังหวัดปัตตานี - กระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) ของกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 เพื่อเป็น แนวทางการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษาของภาค ปีงบประมาณ 2561-2562 โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการประชุม พร้อมประกาศให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม มีผลการประเมินแผนคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ ดีขึ้น ไม่ใช่อันดับสุดท้ายอย่างแน่นอน
วันนี้ ( 7 ธันวาคม 2560) ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี - พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) ของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมมอบนโยบาย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการส่วนกลาง กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี จำนวน 220 คน จัดโดย โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
● สิ่งสำคัญ ของการวางแผน ต้องเน้นการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา และด้านอื่น ๆ อันส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ดังนั้น การจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคใต้ชายแดน จึงจำเป็นต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ครบถ้วน เพื่อให้การบูรณาการด้านการศึกษากับทุกภาคส่วนเกิดผลสำเร็จ รองรับสู่การพัฒนาของแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการทำงานของรัฐบาล ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12(พ.ศ.2560-2564) และประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้สามารถตอบสนองต่อมิติของการพัฒนาประเทศ ทั้งมิติความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
แ ต่สิ่งสำคัญของการวางแผนคือ ต้องมีการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการสร้างความรับรู้ สร้างความเข้าใจ เพื่อนำสู่ความร่วมมือต่อไป
● ประกาศให้ปี 2561 เป็นปี แห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม
จากความก้าวหน้าของงานด้านการศึกษาที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง กระทรวงศึกษาธิการมั่นใจว่าในช่วงเดือนมีนาคม 2561 พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีผลการประเมินแผนคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ ที่ดีขึ้น จะไม่ใช่อันดับสุดท้ายอย่างแน่นอน เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทุกคนต่างร่วมมือร่วมใจ มีการบูรณาการการทำงานด้วยกลไกประชารัฐตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้เกิดความร่วมมือที่มีพลัง เพื่อสร้างการศึกษาให้เป็นทรัพย์สินที่สำคัญของประชาชนที่จะต้องรักษา ปกป้อง ให้ยั่งยืนตลอดไป โดยจะประกาศร่วมกันว่าในปี พ.ศ.2561 ต้องทำให้การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม
● เตรียมตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรของ ศธ. และศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ในพื้นที่ จชต.
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อมี แผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาคเกิดขึ้น แล้วทั้ง 6 ภาค ถือว่าเป็นนโยบายที่จะต้องจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้เกิดขึ้นทุกภาคเช่นกัน โดยนำต้นแบบจากพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก (EEC) มาใช้ โดยศูนย์ดังกล่าวของภาคใต้ ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี เพื่อให้เป็นศูนย์อำนวยการและประสานงานเพื่อตรวจสอบความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ และผลิตอัตรากำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับบริบท ศักยภาพ แผนงาน และวิสัยทัศน์ของพื้นที่
โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลได้มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้มีการดำเนินโครงการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ อ.หนองจิก, การพัฒนาด้านการค้าและการท่องเที่ยวที่ อ.สุไหงโก-ลก และการพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนที่ อ.เบตง เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ ณ ศูนย์ กศน.ภาคใต้ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสงขลา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน คาดว่าภายในเดือนมีนาคม 2561 จะสามารถเปิดให้บริการได้ จากนั้นจะเปิดศูนย์พัฒนาบุคลากรให้ครบทุกภาคต่อไป
● เ ผยผลสำรวจประชาชน จชต. ล่าสุด มีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่เพิ่มขึ้น
ส ำหรับการทำงานเพื่อพัฒนาให้เกิดคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยสิ่งที่สำคัญที่ยึดมั่นไว้ในจิตใจตลอดเวลา คือ "ความรับผิดชอบ" กล่าวคือต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ซึ่งจากความรับผิดชอบร่วมกันได้ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน จนส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจ ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้สำรวจความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2560 มีผู้ให้ความเห็น 1,359 คน จากหลากหลายสาขาอาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ กระจายทั่วทุกจังหวัด พบว่าในภาพรวมประชาชนมีความเห็นว่าการพัฒนาการจัดการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบความสำเร็จในระดับปานกลางถึงมากร้อยละ 90.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม (เดือนกรกฎาคม) ร้อยละ 85.06
● เสนอ แนวทางการทำงานของนายกฯ เน้นสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ สร้างภาวะผู้นำ เพื่อส่งผลต่อความไว้วางใจต่อประชาชน
อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ แนวทางในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมาโดยตลอดว่า หลักการทำงานแบบบูรณาการนั้น จะต้องมีการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) เพื่อให้แต่ละหน่วยงานสามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีหลักการจนเกิดผลสำเร็จต่อไป
พร้อมทั้งให้รณรงค์ในการสร้างความไว้วางใจ เพื่อให้ประชาชนเชื่อใจในการทำงานของรัฐบาล โดยนำตัวอย่างแนวทางการสร้างความไว้วางใจ จากหนังสือ The Speed of Trust ของ สตีเฟ่น เอ็ม.อาร์.โควีย์ (Stephen M.R.Covey) ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้แง่คิดในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตกับครอบครัว การทำงาน การบริหารธุรกิจ หรือการบริหารประเทศ รวมไปถึงการใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่น
● ของขวัญปีใหม่ ศธ.สำหรับประชาชนในพื้นที่ จชต.
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า ในการประชุม ครม.นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ที่จังหวัดสงขลา ได้ให้ความเห็นขอบในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
-
ได้อนุมัติกรอบอัตรากำลังพนักงานมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม ของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 374 อัตรา
-
เห็นชอบโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อดำเนินการภายใน 5 ปีการศึกษา จะมีนักเรียนในโครงการ จำนวน 2,519 คน รุ่นแรก จำนวน 91 คน กำลังจะจบการศึกษา และส่วนใหญ่ต้องการที่จะกลับเข้ามาทำงานในพื้นที่ เพื่อพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง
-
นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) จัดทำโครงการที่เป็นลักษณะโรงเรียนประจำ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีที่พักมีอาหารฟรี เพื่อเปิดโอกาสให้ครอบครัวผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ตั้งเป้า 1 อำเภอให้มีโรงเรียนประระดับประถมศึกษา 1 โรงเรียน และระดับมัธยมศึกษา 1 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 37 อำเภอ ในส่วนของอาชีวศึกษาเบื้องต้นจะจัดโครงการในระดับ ปวช. โดยจะเริ่มดำเนินโครงการภายในปีการศึกษา 2561 ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ภายหลังเปิดการประชุม พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกจังหวัดปัตตานี เพื่อรับฟังผลดำเนินงานและความก้าวหน้าในการจัดตั้งศูนย์ จากนั้นได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปรับปรุงสถานที่ของศูนย์ กศน. ภาคใต้ จังหวัดสงขลา ที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการของภาคใต้ ต่อไป
ส่วนในวันที่สองของการประชุม ( 8 ธันวาคม 2560) เป็นการรับฟังการนำเสนอผลการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) โดย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังการนำเสนอผลการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) พร้อมทั้งเป็นประธานในพิธีปิดการประชุม
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล กล่าวว่า การจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค ต้องวางแผนให้ครบถ้วนทั้งระบบ ให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง การคิดโครงการต่าง ๆ ต้องคิดให้ครอบคลุมยุทธศาสตร์ต่าง ๆ มีความชัดเจนตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้เกิดความสำเร็จครบถ้วนและยั่งยืน
สำหรับทิศทางการพัฒนาภาคใต้ชายแดน มีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร แปรรูปที่สำคัญของประเทศ และเป็นเมืองชายแดนเชื่อมโยงการค้าและการท่องเที่ยวกับพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซียและสิงคโปร์
อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลกำลังดำเนินโครงการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ที่ อ.หนองจิก สุไหงโก-ลก และเบตง เพื่อสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1) พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรความมั่นคงให้กับการผลิตภาคเกษตร 2) พัฒนาเมืองสุไหงโก-ลก และเมืองเบตงให้เป็นเมืองการค้าและเมืองท่องเที่ยวชายแดน 3) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น