อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 17/2561นายกรัฐมนตรี เปิดงานวันครู ปี 2561 “เฉลิมรัชสมัย ครูไทยพัฒนา”
"วันครู ปี 2561" กระทรวงศึกษาธิการจัดพิธี ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 62 รูป จากนั้นเชิญ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน ภายใต้แนวคิด "เฉลิมรัชสมัย ครูไทยพัฒนา" โดยนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้ครูต้องรู้เรื่องราวต่าง ๆของโลก เพื่อประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ไม่ใช่วิชาการอย่างเดียว และต้อง สอนเด็กให้เกิดการเรียนรู้ชีวิต อนาคต ความพอเพียง กฎหมาย หลักคิด วิสัยทัศน์ เพื่อสร้างเด็กให้มีภูมิคุ้มกัน เรียกได้ว่าต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูตลอด 24 ชั่วโมง
วันนี้ (16 มกราคม 2561) เวลา 07.00 น. ที่สนามหญ้าหน้ากระทรวงศึกษาธิการ, นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นาย สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา และข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 62 รูป เนื่องในโอกาสวันครู
จากนั้น รมว.ศึกษาธิการ และคณะผู้บริหาร เดินทางมายังหอประชุมคุรุสภา เพื่อร่วมงานวันครู ครั้งที่ 62 พ.ศ.2561 "เฉลิมรัชสมัย ครูไทยพัฒนา" โดย รมว.ศึกษาธิการ ได้ถวายสักการะพระพฤหัสบดี พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ครูผู้วายชนม์ และพิธีบูชาบูรพาจารย์
จากนั้น เวลา 08.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางถึงหอประชุมคุรุสภา เพื่อเป็นประธานเปิดงานวันครู ครั้งที่ 62 พ.ศ.2561 ภายใต้แนวคิด "เฉลิมรัชสมัย ครูไทยพัฒนา" ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบคำขวัญวันครูประจำปีนี้ว่า "ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา" โดยนายกรัฐมนตรีได้ถวายสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สักการะปฐมบูรพาจารย์ น้อมเกล้าฯ ถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำการคารวะครูอาวุโสที่เคยสอนสมัยเป็นนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) จำนวน 2 ท่าน คือ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งสอนวิชากลศาสตร์ (Machanic) วิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4 พ.ศ.2517 และ พล.ท.สมพงษ์ ตุ้มสวัสดิ์ สอนวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 3 ปี พ.ศ.2516 จากนั้นมอบรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2561 รางวัลคุรุสภาระดับดีเด่น และรางวัลยอดครูผู้มีอุดมการณ์
โอกาสนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ได้กล่าวคำปราศรัย เนื่องในโอกาสวันครู
ครั้งที่ 62 พ.ศ.2561
● เชื่อมั่นจิตวิญญาณความเป็นครู และด้วยความศรัทธา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า แม้ครูจะเหน็ดเหนื่อยกับภาระอันหนักหน่วงรอบด้าน แต่ก็เชื่อมั่นในจิตวิญญาณความเป็นครู ซึ่งสิ่งที่ทำให้เราอยู่กันได้ทุกวันนี้คือ "ความศรัทธา" ที่เรามีให้แก่กัน ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาบ้านเมืองให้มีความสงบเรียบร้อยอย่างยั่งยืน พร้อมเผชิญหน้ากับภัยคุกคามทุกรูปแบบ
● การเรียนการสอนต้องให้ความสำคัญกับเรื่องราวของโลก และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก
การเรียนการสอนในทุกวันนี้ คงไม่ใช่เฉพาะด้านวิชาการอย่างเดียว ครูจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องราวต่าง ๆ ของประชาคมโลกด้วย นอกจากการศึกษาในระบบสายสามัญแล้ว ต้องสอนเด็กให้เรียนรู้เรื่องชีวิต เรื่องอนาคต ให้สามารถอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง พอเพียง เรียนรู้กฎหมายและหลักคิดอย่างมีวิสัยทัศน์ สร้างให้เป็นคนดีของสังคม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ตามที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า "เราต้องมีภูมิคุ้มกัน" ครูจึงต้องมีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนด้วย เรียกได้ว่าต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูตลอด 24 ชั่วโมง
● เผยที่มาคำขวัญปีนี้ " ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา"
จากคำขวัญวันครูปีนี้ "ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา" เนื่องจากเห็นว่าการทำงานจะสำเร็จทุกอย่าง ก็ด้วยความเชื่อมั่นต่อกัน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น หากครูและนักเรียนต่างเชื่อมั่นในกันและกัน ก็จะส่งผลให้เกิดความเชื่อใจ ความศรัทธาระหว่างกันขึ้นมา ซึ่งความศรัทธาจะเป็นบ่อเกิดของความสำเร็จ และอุปสรรคเป็นบทเรียนในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
● การศึกษาเกี่ยวข้องกับผู้คนในสังคมจำนวนมาก แนะจัดการศึกษาเพื่อส่งต่อเด็กไปในระดับสูงขึ้น
ทั้งนี้ การศึกษาไม่ได้มีเฉพาะครูกับนักเรียนเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร ผู้ประกอบการเอกชน หน่วยงานของรัฐ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งทุกฝ่ายเหล่านี้ล้วนต้องมีศรัทธาระหว่างกัน ร่วมแรงร่วมใจกันหาหนทางว่าจะทำอย่างไรให้การศึกษาของเราดีขึ้น สืบสานต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ก่อนวัยเรียน จนกระทั่งถึงระดับประถม มัธยม อุดมศึกษา หรืออาชีวศึกษา ตามความสามารถของเด็ก ทำให้เด็กทุกคนรู้ว่าตนเองอยากเป็นอะไรและต้องเดินไปทางไหน
ดังนั้น การผลิตลูกศิษย์ต้องผลิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มิเช่นนั้นเด็กจบออกมาจะไม่มีงานทำ ทำให้เกิดภาระกับบ้านเมืองและปัญหาสังคม เช่น การบังคับใช้กฎหมาย ความขัดแย้งต่าง ๆ ทุกอย่างเริ่มต้นที่ครู ต้องสอนเด็กให้นิยมเข้ามาศึกษา นิยมไปเลือกตั้ง นิยมเข้าใจประชาธิปไตยที่ถูกต้อง
เราต้องคิดกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อส่งต่อเด็กเหล่านี้ขึ้นไปในระดับสูงให้ได้ เหมือนต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีการคัดแยกเด็กให้เด็กรู้ว่าอยากจะไปทางไหน อยากเป็นอะไร ชอบอะไร ต้องเกลี่ยสัดส่วนผู้เรียนอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้เหมาะสม เพราะหากเลือกเรียนปริญญาที่ง่ายแต่จบออกมาก็ไม่มีงานทำ หรืออาชีวศึกษาก็ต้องมีการต่อยอดให้ได้รับปริญญาสายอาชีพ เพื่อเด็กจะได้รู้แนวทางตนเองก่อนตัดสินใจเลือกเรียนต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตผู้เรียนให้มีอาชีพ ซึ่งเป็นการบ้านสำคัญที่จะต้องช่วยกันปั้นแต่งให้เด็ก นอกจากเรียนสายสามัญแล้ว ต้องสอนให้เด็กรู้เรื่องอาชีพในอนาคต เน้นหลักคิดแบบมีวิสัยทัศน์เพื่อสอนให้เด็กเป็นคนดี
● นโยบายรัฐบาลต้องการสร้างปัญญาให้คนทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะคน 4.0
วันนี้ เราต้องการทำให้คนเป็น 4.0 ซึ่งเป็นการแปลงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 โดยใช้คำว่า "ปัญญาประดิษฐ์" คือ การสร้างปัญญาให้ทุกคนไม่ว่าคนกลุ่มไหน หากรู้จักคิด รู้จักพัฒนาตนเอง จะสามารถกลายเป็นคน 4.0 ได้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่เป็น 1.0 ถึง 3.0 ก็ตาม ทุกคนจึงล้วนมีบทบาทในการสร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างความก้าวหน้าให้กับตนเองและประเทศชาติ ซึ่งประเทศจะเดินหน้าไปทางไหนนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของประชากร โดยขณะนี้เรายังขาดกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจำนวนมาก ซึ่งเด็กไม่ค่อยอยากเรียนเพราะเรียนยาก ดังนั้นอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาต้องจับมือกัน เกลี่ยผู้เรียนเข้ามาเรียนในระดับอุดมศึกษากับอาชีวศึกษาให้ได้
● ให้เตรียมพร้อมรับการเข้าสู่ สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2564
ขณะที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ "สังคมสูงวัย" อย่างสมบูรณ์ในปี 2564 จึงต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์นี้ โดยครูต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในอนาคต ตลอดจนแรงงานต้องพัฒนาให้เป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีคุณภาพ ผ่านการรับรอง จึงต้องเตรียมประเทศไทยในวันข้างหน้า เพราะจำนวนคนสูงวัยจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ครูจึงจำเป็นต้องผลิตลูกศิษย์ให้มีอาชีพตรงกับความต้องการของสถานการณ์โลก เป็นเรื่องที่รัฐบาลเตรียมและเอาทุกปัญหามาคลี่ไว้แล้ว รวมทั้งเรื่องผู้สูงวัย เพราะสังคมไทยทิ้งผู้ใหญ่ไม่ได้
● แนะการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ต้องเริ่มต้นที่เปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน
พล.อ.ประยุทธ์ ได้เน้นว่า การปฏิรูปการศึกษาและการเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ นั้น เราจะต้องเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ต้องยอมเสียสละก่อน หากเรายังคงยืนยันในสิ่งที่ตัวเองคิด เมื่อประชุมอะไรก็จะไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้น เราจึงต้องปรับตัวเองก่อนให้ได้ เพื่อทำงานร่วมกันคนอื่นให้ได้
● ย้ำถึงสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นในการปฏิรูปครู
นอกจากนี้ ในการทำงานใดๆ อยากให้แยกประเด็น 2 ส่วน คือ เรื่องการทำงานภายในหน่วยงานของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนไม่ได้สนใจอยากรู้ เช่น เรื่องสวัสดิการของบุคลากร แต่สิ่งที่ประชาชนอยากรู้คือ เด็ก ผู้ปกครอง และสังคมจะได้อะไรจากครู เราจึงต้องคิดว่าเมื่อเราเป็นครูหรือบุคลากรทางการศึกษา ควรจะต้องทำอย่างไรให้เป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง เช่น แนวทางจัดการศึกษาอย่างไรเพื่อให้เด็กจบออกมาแล้วมีงานทำ มีคุณภาพ มีความเชื่อมั่นศรัทธา สิ่งเหล่านี้เป็นผลจากกระบวนการปฏิรูปครู ปฏิรูปการศึกษา เพื่อการเปลี่ยนแปลงต่อสังคม ที่ต้องทำออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
● หวังให้ครูและเด็กได้คิดร่วมกัน เพื่อฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น
ดังนั้น หากการทำงานทุกกระทรวงเป็นแบบนี้ พร้อมทั้ง มีการสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้ ความศรัทธาก็จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมฝากให้ครูพัฒนาตนเอง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ และ ให้ทันต่อเทคโนโลยีปัจจุบันและทันกับวิถีของเด็กอยู่เสมอ เช่น อาจนำคลิปที่น่าสนใจจาก YouTube มาขยายผลร่วมกับนักเรียนในประเด็นนั้น ๆ เพื่อครูและเด็กได้คิดร่วมกัน เป็นการเรียนรู้ว่าเด็กคิดอย่างไร ครูคิดอย่างไร เป็นการขยาย 2 บรรทัด (หัวเรื่อง) ของ YouTube ออกไป ให้เด็กคิดว่าทำไมเขาถึงเขียนแบบนี้ มีความเป็นมาอย่างไร เด็กจึงจะคิดเป็น เพราะหากเด็กคิดอะไรสั้น ๆ แม้จะหาคำตอบได้รวดเร็ว แต่กระบวนการไม่มี วิสัยทัศน์ก็ไม่เกิด
● ฝาก "ประชาธิปไตยไทยนิยม" เพื่อหวังให้คนไทยเข้าใจประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ทำในสิ่งดีงาม
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า หากไม่คิดยาว ๆ ประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร เราอาจจะไม่จำเป็นต้องเดินตามสิ่งที่พัฒนาไปแล้วทุกเรื่อง แต่ด้วยหลักการพื้นฐานก็ต้องเป็นไปตามกติกาโลก อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมพื้นฐานของประชาธิปไตย หรือ "ประชาธิปไตยไทยนิยม" คือ ทำอย่างไรให้คนไทยเข้าใจประชาธิปไตยให้ถูกต้อง ทำในสิ่งที่ดีงาม
ถ้าทุกคนมุ่งไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว นั่นก็คือสิ่งที่คนไทยนิยม คนไทยชอบทำ และเมื่อทำในสิ่งที่ดี ๆ ก็จะเกิดผลดีต่อบ้านเมืองต่อไป.
สำหรับกิจกรรมวันครูในปีนี้ มีผู้บริหารทุกองค์กรหลักเข้าร่วมทำบุญตักบาตรและร่วมพิธีงานวันครู เช่น นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัด ศธ., นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ สกศ., นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการ กพฐ., นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กอศ., นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการ กกอ., นายสมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา โดยมีนางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองปลัด ศธ. เป็นผู้อ่านโองการอัญเชิญบูรพาจารย์, นายพิษณุ ตุลสุข ครูอาวุโสนอกราชการ กล่าวนำสวดฉันท์ระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ และนางสมพร หวานเสร็จ ครูอาวุโสในประจำการ กล่าวนำคำปฏิญาณตนของครูและบุคลากรทางการศึกษา
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 17/2561นายกรัฐมนตรี เปิดงานวันครู ปี 2561 “เฉลิมรัชสมัย ครูไทยพัฒนา”
"วันครู ปี 2561" กระทรวงศึกษาธิการจัดพิธี ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 62 รูป จากนั้นเชิญ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน ภายใต้แนวคิด "เฉลิมรัชสมัย ครูไทยพัฒนา" โดยนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้ครูต้องรู้เรื่องราวต่าง ๆของโลก เพื่อประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ไม่ใช่วิชาการอย่างเดียว และต้อง สอนเด็กให้เกิดการเรียนรู้ชีวิต อนาคต ความพอเพียง กฎหมาย หลักคิด วิสัยทัศน์ เพื่อสร้างเด็กให้มีภูมิคุ้มกัน เรียกได้ว่าต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูตลอด 24 ชั่วโมง
วันนี้ (16 มกราคม 2561) เวลา 07.00 น. ที่สนามหญ้าหน้ากระทรวงศึกษาธิการ, นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นาย สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา และข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 62 รูป เนื่องในโอกาสวันครู
จากนั้น รมว.ศึกษาธิการ และคณะผู้บริหาร เดินทางมายังหอประชุมคุรุสภา เพื่อร่วมงานวันครู ครั้งที่ 62 พ.ศ.2561 "เฉลิมรัชสมัย ครูไทยพัฒนา" โดย รมว.ศึกษาธิการ ได้ถวายสักการะพระพฤหัสบดี พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ครูผู้วายชนม์ และพิธีบูชาบูรพาจารย์
จากนั้น เวลา 08.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางถึงหอประชุมคุรุสภา เพื่อเป็นประธานเปิดงานวันครู ครั้งที่ 62 พ.ศ.2561 ภายใต้แนวคิด "เฉลิมรัชสมัย ครูไทยพัฒนา" ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบคำขวัญวันครูประจำปีนี้ว่า "ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา" โดยนายกรัฐมนตรีได้ถวายสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สักการะปฐมบูรพาจารย์ น้อมเกล้าฯ ถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำการคารวะครูอาวุโสที่เคยสอนสมัยเป็นนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) จำนวน 2 ท่าน คือ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งสอนวิชากลศาสตร์ (Machanic) วิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4 พ.ศ.2517 และ พล.ท.สมพงษ์ ตุ้มสวัสดิ์ สอนวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 3 ปี พ.ศ.2516 จากนั้นมอบรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2561 รางวัลคุรุสภาระดับดีเด่น และรางวัลยอดครูผู้มีอุดมการณ์
โอกาสนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ได้กล่าวคำปราศรัย เนื่องในโอกาสวันครู
ครั้งที่ 62 พ.ศ.2561
ได้กล่าวคำปราศรัย เนื่องในโอกาสวันครู
ครั้งที่ 62 พ.ศ.2561
● เชื่อมั่นจิตวิญญาณความเป็นครู และด้วยความศรัทธา
นอกจากนี้ ในการทำงานใดๆ อยากให้แยกประเด็น 2 ส่วน คือ เรื่องการทำงานภายในหน่วยงานของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนไม่ได้สนใจอยากรู้ เช่น เรื่องสวัสดิการของบุคลากร แต่สิ่งที่ประชาชนอยากรู้คือ เด็ก ผู้ปกครอง และสังคมจะได้อะไรจากครู เราจึงต้องคิดว่าเมื่อเราเป็นครูหรือบุคลากรทางการศึกษา ควรจะต้องทำอย่างไรให้เป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง เช่น แนวทางจัดการศึกษาอย่างไรเพื่อให้เด็กจบออกมาแล้วมีงานทำ มีคุณภาพ มีความเชื่อมั่นศรัทธา สิ่งเหล่านี้เป็นผลจากกระบวนการปฏิรูปครู ปฏิรูปการศึกษา เพื่อการเปลี่ยนแปลงต่อสังคม ที่ต้องทำออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
ดังนั้น หากการทำงานทุกกระทรวงเป็นแบบนี้ พร้อมทั้ง มีการสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้ ความศรัทธาก็จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมฝากให้ครูพัฒนาตนเอง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ และ ให้ทันต่อเทคโนโลยีปัจจุบันและทันกับวิถีของเด็กอยู่เสมอ เช่น อาจนำคลิปที่น่าสนใจจาก YouTube มาขยายผลร่วมกับนักเรียนในประเด็นนั้น ๆ เพื่อครูและเด็กได้คิดร่วมกัน เป็นการเรียนรู้ว่าเด็กคิดอย่างไร ครูคิดอย่างไร เป็นการขยาย 2 บรรทัด (หัวเรื่อง) ของ YouTube ออกไป ให้เด็กคิดว่าทำไมเขาถึงเขียนแบบนี้ มีความเป็นมาอย่างไร เด็กจึงจะคิดเป็น เพราะหากเด็กคิดอะไรสั้น ๆ แม้จะหาคำตอบได้รวดเร็ว แต่กระบวนการไม่มี วิสัยทัศน์ก็ไม่เกิด
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า หากไม่คิดยาว ๆ ประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร เราอาจจะไม่จำเป็นต้องเดินตามสิ่งที่พัฒนาไปแล้วทุกเรื่อง แต่ด้วยหลักการพื้นฐานก็ต้องเป็นไปตามกติกาโลก อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมพื้นฐานของประชาธิปไตย หรือ "ประชาธิปไตยไทยนิยม" คือ ทำอย่างไรให้คนไทยเข้าใจประชาธิปไตยให้ถูกต้อง ทำในสิ่งที่ดีงาม
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น