อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวที่ 18/2561รมว.ศธ.-เลขาธิการ กพฐ. ลงพื้นที่พิษณุโลก เพื่อติดตามโครงการ English for Allและการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของโรงเรียน สพฐ.
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อติดตามโครงการ English for All และการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
■ การติดตามการใช้ภาษาอังกฤษโครงการ English for All ของโรงเรียนสะพานที่ 3
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการเรียนการสอนของ รร.สะพานที่ 3 อ.เมืองฯ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นตัวอย่างของโรงเรียนที่มีความร่วมมือประชารัฐ โดยเฉพาะเรื่องภาษาอังกฤษ ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ถือเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลต่อ
จากการที่ได้พูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียนและผู้จัดทำโครงการนำร่องเพื่อเด็กไทยพูดอังกฤษได้ หรือ English for All ของโรงเรียนสะพานที่ 3 เห็นตรงกันว่าสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษคือ "ต้องมีครู" เพราะการเรียนกับเทคโนโลยีอย่างเดียวจะทำให้เด็กเบื่อ นอกจากนี้โรงเรียนแห่งนี้ใช้ครูผู้สอนชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นแนวความคิดที่สำคัญของโรงเรียน คือ จะทำอย่างไรให้เด็กได้เจอกับการสอนภาษาอังกฤษจากคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นธรรมชาติ มีกิจกรรมดี ๆ ในการเรียนการสอนที่ฝึกให้เด็กในโรงเรียนแห่งนี้สามารถโต้ตอบภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ สามารถฟังออกได้อย่างทันที
นอกจากนี้ จากการตรวจเยี่ยมได้เห็นผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนของโรงเรียน คือ นักเรียนสามารถเรียนวิชาอื่นๆ ได้ดีขึ้นด้วย เนื่องจากเด็กมี "ความกล้าที่จะแสดง และรักที่จะเรียน" ซึ่งจากงานวิจัยทั่วโลกพบว่าจะมีผลต่อการส่งเสริมในทัศนคติแบบเดียวกับที่อยากเรียนภาษาอังกฤษ ก็จะเผื่อแผ่ไปสู่ทุกวิชาด้วย และการทำโครงการดังกล่าวยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ เพราะโดยปกติแล้วผู้ปกครองจะต้องมีเงินพอสมควรในการส่งเด็กไปเรียนในโรงเรียนที่มีครูต่างชาติ ดังนั้นโครงการนี้ยิ่งจะทำให้เด็กได้รับการเรียนที่ดีมีคุณภาพ
ดังนั้น จึงจะนำแนวคิดจากโรงเรียนแห่งนี้ไปใช้กับโรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนหรือยากจนอื่น ๆ ทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป ทั้งยังจะนำครูผู้สอนภาษาอังกฤษฟิลิปปินส์และผู้บริหารโครงการ English for All ไปช่วยโครงการการอบรมครูภาษาอังกฤษระดับภูมิภาค (Boot Camp) : Regional English Training Center ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ย้ายศูนย์อบรมมาจัดตั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 15 แห่ง ต่อไปด้วย
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวถึงสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการใช้ภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จ คือ ต้องการให้เรื่องการยกระดับด้านภาษาอังกฤษเป็น KPI ของสำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เช่น การนำเสนอข้อมูลหน่วยงาน บุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ ควรจะต้องสามารถสื่อสารในระดับพื้นฐานได้ เป็นต้น
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ผู้บริหารโครงการ English for All กล่าวว่าในการใช้ภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จกับเด็ก ๆ คือ "เรื่องสำเนียงเอาไว้ก่อน ให้เด็กกล้าพูดก่อน จากนั้นเด็กเริ่มรักที่จะใช้ภาษา และก็จะสื่อสารได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ เอง" ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช ผู้อำนวยการโครงการ กล่าวว่า "ที่บ้านก็ฝึกลูกให้ใช้ภาษาอังกฤษ โดยตนเองพูดภาษาอังกฤษกับลูก ส่วนคุณแม่พูดภาษาไทย ทำให้การพูดภาษาอังกฤษของลูกเป็นเรื่องปกติ"
■ การติดตามอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ในการนี้ นพ.ธีระเกียรติ ได้มอบนโยบายในการประชุมชี้แจงการจัดทำระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของโรงเรียนในภาคเหนือ ณ หอประชุม โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่าน Web Conference ไปทั่วประเทศอีกด้วย โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมาทำไมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่กระทรวงบางรายมักมีปัญหาล่าช้า เช่น สัญญาณขาดหายกะปริดกะปรอย เพราะกระรอกกัดสายไฟเบอร์บ้าง รถไฟทับสายบ้าง ฯลฯ และที่ผ่านมาภายในกระทรวงศึกษาธิการใช้บริการผ่านผู้ให้บริการรายหนึ่งสูงถึงเดือนละ 4 แสนบาท หรือปีละกว่า 5 ล้านบาท ถือว่าแพงมาก เมื่อเทียบกับสัญญาณที่ได้รับมีความล่าช้ามาก แต่ตอนนี้ภายในกระทรวงก็ได้เปลี่ยนมาใช้ของฟรีคือ UniNet ซึ่งพบว่ามีความเร็วมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
ดังนั้น นโยบายต่อจากนี้คือ จะเน้นให้โรงเรียนได้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เร็วและดีที่สุด เลือกผู้ให้บริการเองได้โดยกระทรวงและผู้เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญต่อ After Sale Sevice สำหรับสถานศึกษาด้วย เช่น บางทีความเร็ว 800 Mbps แต่แค่เปลี่ยนเราท์เตอร์ใหม่ ก็ได้ความเร็วเพิ่มเป็น 1Gbps เพราะยิ่งอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงมากเท่าไร ก็จะช่วยให้การใช้ Digital Learning เพื่อการศึกษา ซึ่งถือเป็นนโยบายใหม่ของรัฐบาล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
"ทั้งสองเรื่อง คือ ภาษาอังกฤษและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในสถานศึกษา ถือเป็นหัวใจที่สำคัญของความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา" นพ.ธีระเกียรติ กล่าว
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร กล่าวว่า จากการติดตามการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกทั้ง 3 เขต และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 (เฉพาะพิษณุโลก) ในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 453 โรงเรียน พบว่าใช้บริการจาก UniNet จำนวน 151 แห่ง และมีการเช่าสัญญาณเอกชน 424 แห่ง โดยได้จ่ายค่าเช่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากเอกชนเป็นจำนวน 1 ล้าน 4 หมื่นกว่าบาท หรือเฉลี่ยโรงเรียนละ 2,470 บาทต่อเดือน และมีจำนวนโรงเรียนที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าถึงแล้วกว่าร้อยละ 97.13 เหลือเพียง 13 โรงเรียน หรือร้อยละ 2.87 ที่อยู่ระหว่างจัดหาสัญญาณอินเทอร์เน็ต
ดังนั้น เมื่อโรงเรียนต่าง ๆ รู้ว่าจะเลือกผู้ให้บริการรายใดและราคาที่ต้องจ่ายต่อเดือนแล้ว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะรวบรวมจำนวนเพื่อวางแผนช่วยดูแลค่าใช้จ่ายให้ทุกโรงเรียน 100% ยกเว้นโรงเรียนขนาดใหญ่อาจจะให้การสนับสนุนลดลง เช่น 70% แทน เพื่อให้เพียงพอต่องบประมาณ
นอกจากนี้ จากการลงพื้นที่หลายจังหวัดที่ผ่านมา พบว่าหลายโรงเรียนตื่นตัวต่อการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาก เช่น จ.ตราด บางจุดรับสัญญาณอ่อนมาก แต่เพิ่ม Repeater เข้าไปก็ได้ผล ดังนั้น ขอให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งต้องให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการ โดยจะกำหนดเป็น KPI ในการประเมินด้วยว่าโรงเรียนทุกแห่งจะต้องมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้ภายใน 31 มีนาคมนี้
"เดือนเมษายนนี้ สพฐ.จะประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม และจะรายงานผลความสำเร็จของการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของทุกโรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อเป็นของขวัญแก่รัฐมนตรีและรัฐบาลต่อไป" นายบุญรักษ์ กล่าว
ข่าวที่ 18/2561รมว.ศธ.-เลขาธิการ กพฐ. ลงพื้นที่พิษณุโลก เพื่อติดตามโครงการ English for Allและการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของโรงเรียน สพฐ.
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อติดตามโครงการ English for All และการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
■ การติดตามการใช้ภาษาอังกฤษโครงการ English for All ของโรงเรียนสะพานที่ 3
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการเรียนการสอนของ รร.สะพานที่ 3 อ.เมืองฯ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นตัวอย่างของโรงเรียนที่มีความร่วมมือประชารัฐ โดยเฉพาะเรื่องภาษาอังกฤษ ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ถือเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลต่อ
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการเรียนการสอนของ รร.สะพานที่ 3 อ.เมืองฯ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นตัวอย่างของโรงเรียนที่มีความร่วมมือประชารัฐ โดยเฉพาะเรื่องภาษาอังกฤษ ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ถือเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลต่อ
จากการที่ได้พูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียนและผู้จัดทำโครงการนำร่องเพื่อเด็กไทยพูดอังกฤษได้ หรือ English for All ของโรงเรียนสะพานที่ 3 เห็นตรงกันว่าสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษคือ "ต้องมีครู" เพราะการเรียนกับเทคโนโลยีอย่างเดียวจะทำให้เด็กเบื่อ นอกจากนี้โรงเรียนแห่งนี้ใช้ครูผู้สอนชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นแนวความคิดที่สำคัญของโรงเรียน คือ จะทำอย่างไรให้เด็กได้เจอกับการสอนภาษาอังกฤษจากคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นธรรมชาติ มีกิจกรรมดี ๆ ในการเรียนการสอนที่ฝึกให้เด็กในโรงเรียนแห่งนี้สามารถโต้ตอบภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ สามารถฟังออกได้อย่างทันที
นอกจากนี้ จากการตรวจเยี่ยมได้เห็นผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนของโรงเรียน คือ นักเรียนสามารถเรียนวิชาอื่นๆ ได้ดีขึ้นด้วย เนื่องจากเด็กมี "ความกล้าที่จะแสดง และรักที่จะเรียน" ซึ่งจากงานวิจัยทั่วโลกพบว่าจะมีผลต่อการส่งเสริมในทัศนคติแบบเดียวกับที่อยากเรียนภาษาอังกฤษ ก็จะเผื่อแผ่ไปสู่ทุกวิชาด้วย และการทำโครงการดังกล่าวยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ เพราะโดยปกติแล้วผู้ปกครองจะต้องมีเงินพอสมควรในการส่งเด็กไปเรียนในโรงเรียนที่มีครูต่างชาติ ดังนั้นโครงการนี้ยิ่งจะทำให้เด็กได้รับการเรียนที่ดีมีคุณภาพ
ดังนั้น จึงจะนำแนวคิดจากโรงเรียนแห่งนี้ไปใช้กับโรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนหรือยากจนอื่น ๆ ทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป ทั้งยังจะนำครูผู้สอนภาษาอังกฤษฟิลิปปินส์และผู้บริหารโครงการ English for All ไปช่วยโครงการการอบรมครูภาษาอังกฤษระดับภูมิภาค (Boot Camp) : Regional English Training Center ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ย้ายศูนย์อบรมมาจัดตั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 15 แห่ง ต่อไปด้วย
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ผู้บริหารโครงการ English for All กล่าวว่าในการใช้ภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จกับเด็ก ๆ คือ "เรื่องสำเนียงเอาไว้ก่อน ให้เด็กกล้าพูดก่อน จากนั้นเด็กเริ่มรักที่จะใช้ภาษา และก็จะสื่อสารได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ เอง" ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช ผู้อำนวยการโครงการ กล่าวว่า "ที่บ้านก็ฝึกลูกให้ใช้ภาษาอังกฤษ โดยตนเองพูดภาษาอังกฤษกับลูก ส่วนคุณแม่พูดภาษาไทย ทำให้การพูดภาษาอังกฤษของลูกเป็นเรื่องปกติ"
■ การติดตามอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ในการนี้ นพ.ธีระเกียรติ ได้มอบนโยบายในการประชุมชี้แจงการจัดทำระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของโรงเรียนในภาคเหนือ ณ หอประชุม โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่าน Web Conference ไปทั่วประเทศอีกด้วย โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมาทำไมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่กระทรวงบางรายมักมีปัญหาล่าช้า เช่น สัญญาณขาดหายกะปริดกะปรอย เพราะกระรอกกัดสายไฟเบอร์บ้าง รถไฟทับสายบ้าง ฯลฯ และที่ผ่านมาภายในกระทรวงศึกษาธิการใช้บริการผ่านผู้ให้บริการรายหนึ่งสูงถึงเดือนละ 4 แสนบาท หรือปีละกว่า 5 ล้านบาท ถือว่าแพงมาก เมื่อเทียบกับสัญญาณที่ได้รับมีความล่าช้ามาก แต่ตอนนี้ภายในกระทรวงก็ได้เปลี่ยนมาใช้ของฟรีคือ UniNet ซึ่งพบว่ามีความเร็วมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
ดังนั้น นโยบายต่อจากนี้คือ จะเน้นให้โรงเรียนได้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เร็วและดีที่สุด เลือกผู้ให้บริการเองได้โดยกระทรวงและผู้เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญต่อ After Sale Sevice สำหรับสถานศึกษาด้วย เช่น บางทีความเร็ว 800 Mbps แต่แค่เปลี่ยนเราท์เตอร์ใหม่ ก็ได้ความเร็วเพิ่มเป็น 1Gbps เพราะยิ่งอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงมากเท่าไร ก็จะช่วยให้การใช้ Digital Learning เพื่อการศึกษา ซึ่งถือเป็นนโยบายใหม่ของรัฐบาล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร กล่าวว่า จากการติดตามการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกทั้ง 3 เขต และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 (เฉพาะพิษณุโลก) ในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 453 โรงเรียน พบว่าใช้บริการจาก UniNet จำนวน 151 แห่ง และมีการเช่าสัญญาณเอกชน 424 แห่ง โดยได้จ่ายค่าเช่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากเอกชนเป็นจำนวน 1 ล้าน 4 หมื่นกว่าบาท หรือเฉลี่ยโรงเรียนละ 2,470 บาทต่อเดือน และมีจำนวนโรงเรียนที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าถึงแล้วกว่าร้อยละ 97.13 เหลือเพียง 13 โรงเรียน หรือร้อยละ 2.87 ที่อยู่ระหว่างจัดหาสัญญาณอินเทอร์เน็ต
ดังนั้น เมื่อโรงเรียนต่าง ๆ รู้ว่าจะเลือกผู้ให้บริการรายใดและราคาที่ต้องจ่ายต่อเดือนแล้ว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะรวบรวมจำนวนเพื่อวางแผนช่วยดูแลค่าใช้จ่ายให้ทุกโรงเรียน 100% ยกเว้นโรงเรียนขนาดใหญ่อาจจะให้การสนับสนุนลดลง เช่น 70% แทน เพื่อให้เพียงพอต่องบประมาณ
นอกจากนี้ จากการลงพื้นที่หลายจังหวัดที่ผ่านมา พบว่าหลายโรงเรียนตื่นตัวต่อการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาก เช่น จ.ตราด บางจุดรับสัญญาณอ่อนมาก แต่เพิ่ม Repeater เข้าไปก็ได้ผล ดังนั้น ขอให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งต้องให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการ โดยจะกำหนดเป็น KPI ในการประเมินด้วยว่าโรงเรียนทุกแห่งจะต้องมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้ภายใน 31 มีนาคมนี้
"เดือนเมษายนนี้ สพฐ.จะประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม และจะรายงานผลความสำเร็จของการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของทุกโรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อเป็นของขวัญแก่รัฐมนตรีและรัฐบาลต่อไป" นายบุญรักษ์ กล่าว
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น