ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ชุดสรุปย่อความรอบรู้ทั่วไป
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดยติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr% 20157% 20PU% 201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr% 20157% 20PU% 201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 114/2557
นโยบาย รมว.ศธ.ในการประชุมผู้บริหารโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ
นโยบาย รมว.ศธ.ในการประชุมผู้บริหารโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ
โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมผู้บริหารโรงเรียนเอกชน และกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ปฏิรูปการศึกษา ภารกิจที่ท้าทาย” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายกสมาคมทางการศึกษาเอกชน คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนจากส่วนกลางและภูมิภาค จำนวน 1,000 คน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 ที่ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์
- ศธ.ย้ำให้ผู้จัดการศึกษาเอกชนมีส่วนร่วม สนับสนุน และบทบาทในการจัดการศึกษา
รมว.ศธ. กล่าวว่า การศึกษาเอกชนมีความสำคัญในระบบการศึกษาของไทยไม่น้อยไปกว่าการจัดการศึกษาของภาครัฐ ศธ.ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้มีนโยบายที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมในการจัดและสนับสนุนการศึกษาให้มากขึ้น การประชุมในวันนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ได้พบกับผู้บริหารโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญของการจัดการศึกษาเอกชนของไทย
จากที่ได้ประชุมกับสมาคมทางการศึกษาเอกชน และได้รับฟังข้อเสนอของภาคเอกชน มีการดำเนินการปรับปรุง แก้ไขและผ่อนคลายกฎระเบียบในหลายเรื่อง รวมถึงการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาที่ดำเนินการและมีความคืบหน้าไปพอสมควร ศธ.พยายามส่งเสริมให้ผู้จัดการศึกษาเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วม สนับสนุน และมีบทบาทนำเสนอสิ่งที่ดีที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาด้านอื่นต่อไป
- ความคืบหน้าเรื่องการปฏิรูปหลักสูตร
ในเรื่องนี้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแล รวบรวมนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่สนใจมาช่วยกันคิด ยกร่างเป็นหลักสูตรขึ้นมา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเพื่อเตรียมส่งต่อให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลัก พร้อมทั้งจะเปิดให้มีการรับฟังความเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ สพฐ.และผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติ มีโอกาสรับรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หากเริ่มดำเนินการจะเป็นในลักษณะของการนำร่อง
- การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันระดับอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนมานาน มีการพูดถึงปัญหาของการที่มหาวิทยาลัยเปิดรับตรง จัดสอบ และออกข้อสอบตามอัธยาศัย ออกข้อสอบไม่ตรงกับหลักสูตร ทำให้มีปัญหาสำคัญใน 2 เรื่อง คือ 1) นักเรียนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะยากจนไม่ได้รับโอกาสที่เท่าเทียม เนื่องจากไม่สามารถตระเวนสอบได้เหมือนกับนักเรียนที่ครอบครัวมีฐานะดี ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่ยุติธรรม 2) ส่งผลกระทบต่อการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระบบ ทำให้นักเรียนชั้น ม.5 และ ม.6 ไม่สนใจการเรียนในระบบ แต่สนใจเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยต้องรอให้นักเรียนเรียนให้จบแล้วจึงเริ่มดำเนินการเรื่องการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยใช้ช่วงปิดภาคการศึกษาจัดสอบหรือรับตรง ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือในการจัดสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยให้ลดลงมากที่สุด และมาใช้การสอบร่วมให้มากขึ้น
ปัญหาการออกข้อสอบนอกหลักสูตร ทำให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองของนักเรียนชั้น ม.5 และ ม.6 ไม่สนใจการเรียนในระบบ เป็นผลให้การปฏิรูปการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ จึงเห็นควรให้มีการออกข้อสอบร่วมกันในแต่ละวิชา หรือใช้ข้อสอบกลาง ขณะนี้คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าวมีความเห็นสอดคล้องไปในทางเดียวกันมาก คือ มหาวิทยาลัยสามารถเปิดรับตรงได้ แต่ต้องไม่จัดสอบตามอัธยาศัยและออกข้อสอบนอกหลักสูตร คาดว่าจะมีการประชุมอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนและเป็นทางการ
- การปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู
ประเด็นสำคัญประการหนึ่งคือ ต้องมีการตั้งโจทย์ให้ชัดเจนว่า ในการผลิตและพัฒนาครู ต้องการครูแบบไหน สอนอะไรได้ โดยคำนึงจากความต้องการผู้สำเร็จการศึกษาว่าเป็นแบบใด หากต้องการให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับศตวรรษที่ 21 ก็ต้องดำเนินการปฏิรูปการเรียนการสอน การสอนให้คิดวิเคราะห์ การสอนวิชาสำคัญให้ได้ผล การสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ยังอ่อนมาก การสอนภาษาต่างประเทศที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการขาดแคลนครูเทคโนโลยีการศึกษา ครูที่มีความรู้เรื่องการทดสอบวัดผลและประมวลผล เป็นต้น จึงต้องมีการหารือเรื่องความต้องการ วิธีการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ และการดูแลการผลิตครู
ประเทศไทยมีสถาบันที่ผลิตครูประมาณ 80 แห่ง ทั้งที่บางประเทศมีเพียงไม่กี่แห่ง แต่สถาบันเหล่านี้ไม่ได้ประสานงานกันมากนัก ในแต่ละปีมีการผลิตครูจำนวนมาก เนื่องจากมีการกล่าวถึงจำนวนครูที่จะเกษียณเฉลี่ยปีละประมาณ 2 หมื่นคน ล่าสุดมีการประเมินจำนวนครูที่จะผลิตได้ในปี 2558 ซึ่งอยู่ในจุดสูงสุด คือ 6.1 หมื่นคน หมายความว่าประเทศกำลังผลิตครูเพื่อให้ตกงานอย่างเป็นระบบเป็นจำนวนมาก
การพัฒนาครูเป็นอีกเรื่องที่ต้องช่วยกันคิดกระบวนการและวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาครูให้ได้ผลต่อทั้งระบบ หากต่างฝ่ายต่างดำเนินการ คงไม่ทำให้ระบบการศึกษาที่มีครูจำนวนมากเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แม้ว่าขณะนี้มีกระบวนการดำเนินการที่ดีและชัดเจนมากขึ้น แต่ต้องตอบโจทย์ที่สำคัญของประเทศให้ได้ด้วย
- การส่งเสริมให้ภาคเอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ในการหารือและการประชุมรับฟังความคิดเห็นกับ สช.หลายครั้ง มีความพยายามผลักดันให้เกิดการผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อต้องการส่งเสริมการศึกษาเอกชนให้มากขึ้น ล่าสุดสมาคมโรงเรียนนานาชาติเสนอเรื่องใบประกอบวิชาชีพและการอบรมครูชาวต่างชาติ ซึ่งจะมีการเชิญเลขาธิการ กช. เลขาธิการคุรุสภา และผู้เกี่ยวข้องมาหารือเพิ่มเติม และจะมีการกำหนดเป็นระเบียบใหม่ ระบบการศึกษาไทยมีการกระจายอำนาจให้แต่ละองค์กร หากมีเรื่องที่ต้องการแก้ไขก็อาจทำได้ไม่มากนัก การแก้ปัญหาจึงเป็นเรื่องยาก แต่จะพยายามเต็มที่ เข้าใจว่ามีเรื่องที่เกี่ยวกับใบประกอบวิชาชีพ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับครูและผู้บริหารที่จะต้องหารือ นอกจากนี้ มีปัญหาเรื่องการอาชีวศึกษาต้องการครูที่สอนเรื่องเทคโนโลยี สอนวิชาช่างเทคนิคได้ แต่ไม่สามารถรับผู้ที่มีความรู้ทางด้านดังกล่าว ส่วนใหญ่จึงใช้ครูอัตราจ้างที่เรียนจบครูแต่อาจจะไม่มีความรู้เรื่องช่าง เป็นต้น
- การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology : ICT) เพื่อการศึกษา
ประเทศไทยต้องการแผนแม่บท ICT เพื่อการศึกษา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ทั่วถึงและรวดเร็ว แต่เรื่องสำคัญคือ การพัฒนาเนื้อหาสาระ การสร้างมาตรฐานในการใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต มาตรฐานในเรื่องเนื้อหา การคัดเลือกเนื้อหาและแอพพลิเคชั่นที่ดี ระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันไม่มีวิธีกำหนดมาตรฐานและการคัดเลือก จึงจำเป็นต้องรีบสร้างระบบที่มีการวางมาตรฐานและส่งเสริมให้เกิดการผลิตที่หลากหลาย
- การปฏิรูปการเรียนการสอน
การปฏิรูปการเรียนการสอน หมายถึง การสอนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ ที่มีข้อมูลข่าวสารมากมายไม่จำกัด คนเข้าถึงได้มาก และบทบาทของครูจะต้องเปลี่ยนไป จะมีการนำเสนอในประเด็นเหล่านี้ แต่เรื่องที่ต้องคิดร่วมกันคือ จะทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวบรวมเป็นคลังความรู้ และเกิดเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างไร ในวันที่ 3-5 พฤษภาคม 2557 ศธ.จะจัดนิทรรศการ Education Thai 2014 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายในงานจะมีองค์กรที่เกี่ยวข้องนำเสนอเรื่องการปฏิรูปการเรียนการสอน ข้อปฏิบัติที่ดี (Best Practices) การสอนภาษาต่างประเทศ การสอนคิดวิเคราะห์ การเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่เห็นว่าสอนแล้วมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนำเสนอการจัดการเรียนการสอนด้วย Smart Classroomและความรู้เรื่องห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) เป็นต้น เชื่อว่างานนิทรรศการในวันดังกล่าว จะแสดงให้เห็นถึงความหมายของการปฏิรูปการเรียนการสอน แต่เรื่องที่ฝากให้ช่วยกันคิด คือ จะทำอย่างไรให้ต่อเนื่อง เมื่อมีเทคนิคการเรียนการสอนแบบใหม่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะนำเทคโนโลยีนั้นมาปรับใช้และช่วยรวบรวมความรู้ได้อย่างไร
- การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาไทย
กระบวนการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาไทย เริ่มดำเนินการโดยให้ สพฐ.สแกนนักเรียนชั้น ป.3 กับ ป.6 ทั่วประเทศ พบว่ามีนักเรียนอ่านไม่ออกและถึงขั้นต้องปรับปรุง จำนวนกว่า 2 แสนคน ก็ต้องปรับวิธีการสอน ซึ่งจะมีการนำเสนอภายในงาน Education Thai 2014 ด้วย อาจจะนำเอาวิธีการสอนแบบเก่าผสมผสานกับเทคนิคการสอนแบบใหม่ การให้อ่านเป็นคำก็เป็นปัญหาสะสมมาก บางโรงเรียนนำนักเรียนที่อ่านไม่ออกจากหลายระดับชั้นมาเรียนรวมกันในห้องเดียว แล้วสอนแบบเข้มข้นจนนักเรียนสามารถอ่านได้ จึงส่งกลับห้องเรียนเดิม ถือเป็นวิธีการสอนแบบใหม่ที่ช่วยให้ผู้เรียนมีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งประโยค ทำให้ผู้เรียนสามารถแต่งประโยคได้หลากหลาย
อีกประเด็นที่สำคัญ คือ การเรียนการสอนภาษาไทยที่ดีและมีมาตรฐานควรเป็นอย่างไร การจัดให้มี Proficiency Test สำหรับภาษาไทยซึ่งไม่เคยมีมาก่อนก็เป็นเรื่องจำเป็น ฉะนั้นการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาไทยมีเรื่องที่จะต้องพัฒนากันอีกมาก
- การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ
- ภาษาอังกฤษ การเรียนภาษาอังกฤษ 12 ปีในโรงเรียน และ 4 ปีในมหาวิทยาลัย ไม่มีวิชาสนทนาแม้แต่ชั่วโมงเดียว ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถสื่อสารได้ หรือหากจะพูดได้ก็เนื่องจากการใช้ ไม่ได้มาจากระบบการศึกษา แม้ว่าประเทศไทยจะมีโรงเรียนนานาชาติ มีการสอนแบบ English Program หรือ Mini English Program มีครูชาวต่างชาติสอนตามโรงเรียนขนาดใหญ่ แต่ก็มีปัญหาร่วมกัน คือ โรงเรียนส่วนใหญ่เน้นการสอนไวยากรณ์และคำศัพท์ ไม่ได้สอนการสื่อสารมากเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจำนวนนักเรียนต่อห้องที่มากเกินไป จึงมีการกำหนดให้ใช้มาตรฐาน CEFR (Common European Framework of Reference) ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อน เป็นการเรียนที่เน้นการสื่อสาร หากจะดำเนินการเรื่องดังกล่าว จะต้องเปลี่ยนแปลงอีกมาก การจะทำให้มีวิชาสนทนาต้องจัดห้องเรียนที่มีนักเรียนประมาณ 15-20 คน มีการเรียนแบบเข้มข้น และต้องใช้เวลาในการเรียนมากขึ้น
- ภาษาจีน ประเทศไทยมีผู้เรียนภาษาจีนประมาณ 8 แสนคน แต่เมื่อถามว่ามีผู้ที่สื่อสารด้วยภาษาจีนถึง 2 หมื่นคนหรือไม่ ผู้ที่อยู่ในวงการก็ไม่กล้าตอบ เพราะผู้เรียนเกินกว่าครึ่งไม่ได้สมัครใจเรียน จึงมีแนวความคิดให้มีการจัดห้องเรียนใหม่ จัดให้ภาษาจีนเป็นวิชาเลือก หากผู้เรียนไม่ต้องการเรียนภาษาจีนก็จะมีวิชาอื่นให้เลือก ต้องมีวิชาสนทนาและห้องเรียนสำหรับวิชาสนทนาจะต้องมีนักเรียนไม่มากเกินไป มีการเรียนการสอนแบบเข้มข้น ส่วนเรื่องการปรับหลักสูตร เนื้อหาวิชา สื่อการเรียนการสอน และวิธีการสอนจะมีการหารือเพิ่มเติมต่อไป
- การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ มีแนวทางดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติจะเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องอาศัยผู้ที่เกี่ยวข้องมาช่วยคิด เช่น การที่มีวิชาเลือกจะแก้ปัญหาเรื่องการตกซ้ำชั้นอย่างไร อาจจะปรับตกเป็นรายวิชา และจะมีการนำการทดสอบวัดผลกลางมาใช้มากขึ้น
สุดท้ายนี้ หวังว่าความเห็นเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อผู้เข้าประชุมซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ช่วยกันคิดในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาที่ได้กล่าวไป จึงขอฝากความหวังไว้กับท่านทั้งหลาย และหวังว่าการประชุมในวันนี้จะประสบความสำเร็จด้วยดี
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า จากการที่ ศธ.ประกาศนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยกำหนดเป้าหมายที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 สช.จึงได้ร่วมกับโรงเรียนเอกชนในการผลักดันนโยบายดังกล่าวให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. และแนวทางการดำเนินงานของ สช.ในปีการศึกษา 2557 เพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลต่อไป
ที่มา ; เว็บกระทรวงศึกษาธิการ
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 29 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น