เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 194/2559หารือความร่วมมือด้านอาชีวศึกษากับญี่ปุ่น
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ Mr. Shiro Terashima เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ในโอกาสหารือความร่วมมือด้านอาชีวศึกษา โดยมีนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ผู้แทนจาก National Institute of Technology (NIT) และผู้แทนจาก Institute of National College of Japan หรือ Kosen เข้าร่วมหารือ เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องรับรองจันทรเกษม
Mr. Shiro Terashima กล่าวว่า Institute of National College of Japan หรือ Kosen มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนและช่วยเหลือการพัฒนาอาชีวศึกษาของไทย เพื่อร่วมกันผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ โดยสาเหตุที่ Kosen ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในญี่ปุ่น เนื่องจากมีระบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริงตั้งแต่เริ่มเข้ามาศึกษา กล่าวคือ จะเน้นสร้างพื้นฐานทั้งทางวิชาการและทางปฏิบัติเช่น เมื่อเด็กอายุ 18 ปี จะเรียนเนื้อหารายวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นเนื้อหาในระดับมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมีการบรรจุเนื้อหาที่จะต้องใช้เวลาเรียน 7 ปี ให้สามารถเรียนได้ภายใน 5 ปี อีกทั้งครูกว่าร้อยละ 80 ซึ่งสอนที่ Kosen จะจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก นอกจากนี้ Kosen ได้จัดการเรียนการสอนโดยลดจำนวนชั่วโมงเรียนและเพิ่มชั่วโมงเรียนให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริง เพราะอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องสอนให้เพิ่มทักษะและเรียนรู้ด้วยตนเอง
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว บริษัทต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการให้ Kosen ผลิตนักเรียนนักศึกษาสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาคเอกชนต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดหาตำแหน่งว่างให้ผู้เรียนที่จบอาชีวศึกษาด้วย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในปัจจุบันมีบริษัทและภาคเอกชนต่าง ๆ ของญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยจำนวนมาก กระทรวงศึกษาธิการจึงมีแนวทางในการผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและภาคเอกชนต่าง ๆ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทั้งธุรกิจไทยและญี่ปุ่นไปพร้อม ๆ กัน
สำหรับหัวใจสำคัญ 3 ประการของการพัฒนาอาชีวศึกษาที่มีแนวทางมาจาก Kosen คือ การพัฒนาหลักสูตร, การพัฒนาครูอาจารย์, การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน กระทรวงศึกษาธิการจะนำไปปรับใช้ในการพัฒนาอาชีวศึกษาของไทย โดยต้องการให้มีการคัดเลือกวิทยาลัยในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อนำมาพัฒนาให้มีหลักสูตรตามแบบอย่างของ Kosen เพื่อจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเทคนิคไทย-ญี่ปุ่นต่ อไป
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการจะนำคำแนะนำของ Kosen ไปพิจารณาเกี่ยวกับการทำวิจัยว่าควรปรับปรุงด้านอาชีวศึกษาของไทยด้านใดบ้าง โดยจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการด้วย
แนวทางการยกระดับวิทยาลัยในสังกัด สอศ. ขึ้นเป็นวิทยาลัยเทคนิคไทย-ญี่ปุ่น
1. ศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานศึกษา โดยสร้างความเข้าใจกับผู้บริหาร ครู บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ขอรับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นประจำวิทยาลัยเทคนิคไทย-ญี่ปุ่น เพื่อให้คำปรึกษา วางแผน พัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาการเรียนการสอน
3. จัดทำฐานข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์รูปแบบของสถานศึกษา วางแผนกลยุทธ์ และกำหนดกิจกรรม
4. เทียบเคียงหลักสูตรโดยการทบทวน (Review) หลักสูตรอาชีวศึกษาของไทย และนำหลักสูตรอาชีวศึกษาของญี่ปุ่นมาเปรียบเทียบและปรับปรุงหลักสูตรอาชีวศึกษาของไทย ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้รับประกาศนียบัตรร่วมระหว่างอาชีวศึกษาญี่ปุ่นและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (Co-Certificate)
5. สนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ในการจัดการอาชีวศึกษา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งมีระบบประเมินที่เป็นธรรมและสามารถเติบโตได้ในสายอาชีพ
6. สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางภาคเอกชนและภาครัฐทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำงานเชิงรุกเพื่อตอบสนองต่อเทคโนโลยีที่รวดเร็ว
7. ประสานการขอรับทุนการศึกษาจากรัฐบาลญี่ปุ่นสำหรับครูและนักศึกษา
8. จัดหาครุภัณฑ์และสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการทำงานพัฒนาการจัดการเรียนการสอน สื่อนวัตกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
9. สร้างงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล สนับสนุนการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ สร้างเครือข่ายพี่เลี้ยงและกลุ่มวิจัยคุณภาพสูง
10. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงาน โดยส่งนักศึกษาฝึกงานไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น และรับนักศึกษาญี่ปุ่นฝึกงานในประเทศไทย เพื่อสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษา
11. ดำเนินการนำร่องพัฒนาหลักสูตรสำหรับโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่น Mini Japanese Program และ Japanese Program
12. ยกระดับสถานศึกษาเป็นวิทยาลัยเทคนิคไทย-ญี่ปุ่น
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 194/2559หารือความร่วมมือด้านอาชีวศึกษากับญี่ปุ่น
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ Mr. Shiro Terashima เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ในโอกาสหารือความร่วมมือด้านอาชีวศึกษา โดยมีนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ผู้แทนจาก National Institute of Technology (NIT) และผู้แทนจาก Institute of National College of Japan หรือ Kosen เข้าร่วมหารือ เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องรับรองจันทรเกษม
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการจะนำคำแนะนำของ Kosen ไปพิจารณาเกี่ยวกับการทำวิจัยว่าควรปรับปรุงด้านอาชีวศึกษาของไทยด้านใดบ้าง โดยจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการด้วย
2. ขอรับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นประจำวิทยาลัยเทคนิคไทย-ญี่ปุ่น เพื่อให้คำปรึกษา วางแผน พัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาการเรียนการสอน
3. จัดทำฐานข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์รูปแบบของสถานศึกษา วางแผนกลยุทธ์ และกำหนดกิจกรรม
4. เทียบเคียงหลักสูตรโดยการทบทวน (Review) หลักสูตรอาชีวศึกษาของไทย และนำหลักสูตรอาชีวศึกษาของญี่ปุ่นมาเปรียบเทียบและปรับปรุงหลักสูตรอาชีวศึกษาของไทย ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้รับประกาศนียบัตรร่วมระหว่างอาชีวศึกษาญี่ปุ่นและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (Co-Certificate)
5. สนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ในการจัดการอาชีวศึกษา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งมีระบบประเมินที่เป็นธรรมและสามารถเติบโตได้ในสายอาชีพ
6. สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางภาคเอกชนและภาครัฐทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำงานเชิงรุกเพื่อตอบสนองต่อเทคโนโลยีที่รวดเร็ว
7. ประสานการขอรับทุนการศึกษาจากรัฐบาลญี่ปุ่นสำหรับครูและนักศึกษา
8. จัดหาครุภัณฑ์และสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการทำงานพัฒนาการจัดการเรียนการสอน สื่อนวัตกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
9. สร้างงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล สนับสนุนการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ สร้างเครือข่ายพี่เลี้ยงและกลุ่มวิจัยคุณภาพสูง
10. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงาน โดยส่งนักศึกษาฝึกงานไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น และรับนักศึกษาญี่ปุ่นฝึกงานในประเทศไทย เพื่อสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษา
11. ดำเนินการนำร่องพัฒนาหลักสูตรสำหรับโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่น Mini Japanese Program และ Japanese Program
12. ยกระดับสถานศึกษาเป็นวิทยาลัยเทคนิคไทย-ญี่ปุ่น
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น