อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
โมเดล
โมเดล
นายกรัฐมนตรีและคณะลงพื้นที่พบปะประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ด
วันนี้ (24 ส.ค.59) เวลา 11.30 น. ณ หอประชุม 60 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี อาทิ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอกวิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่พบปะประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายอนุสรณ์ แก้วกังวาล ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนมารอให้การต้อนรับ
เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางมาถึงได้เยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ บริษัทประชารัฐรักสามัคคีร้อยเอ็ด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด งานวิจัยสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ของมหาวิทยาลัยร้อยเอ็ด และข้าวหอมมะลิทุ่งกลาร้องไห้ร้อยเอ็ด
ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงานว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในโครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ชุมชน การบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์ภัยแล้ง โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท และโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งตำบล ตำบลละ 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการตามมาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง อีกทั้งยังมีการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ให้เป็น “เขตพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกับอีก 4 จังหวัด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาฯ” ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิชั้นดีที่มีคุณภาพสูงแห่งหนึ่งของประเทศไทยและได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ โดยจะให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเป็นองค์กรหลักในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าว รวมถึงการแปรรูปผลผลิตข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า ตลอดจนการจัดจำหน่ายด้วยวิธีการทางการตลาดสมัยใหม่ ที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และยังครอบคลุมไปยังจังหวัดมหาสารคาม ยโสธร ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ที่ครอบคลุมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อีกด้วย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ (จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดยโสธร) ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพร้อมขยายไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งในอดีตเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เรียกว่า “เมืองสาเกตนคร” เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ที่เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิชั้นดี ซึ่งข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนั้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนทำให้พื้นที่ทุ่งกลาร้องไห้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา โดยการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการปรับโครงสร้างการผลิตและการสร้างมูลค่าข้าวหอมมะลิ ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม และการสร้างโอกาสเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเฉพาะเกษตรกรรมของไทย ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนมากที่สุดของประเทศ ให้เราสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรให้ดีขึ้น มีชีวิตใหม่ มีความหวัง ลดหนี้สิน โดยไม่ต้องเข้ามาทำงานในเมือง ครอบครัวได้มีโอกาสอยู่กันพร้อมหน้า ลูกหลานในอนาคตจะกลับไปพัฒนาถิ่นเกิดของตน ซึ่งรัฐบาลก็ทำให้สอดคล้องทั้งหมดตามกรอบยุทธศาสตร์ที่เป็นแนวทางการพัฒนาอย่างชัดเจนเป็นระบบ ซึ่งมีกลไกการบูรณาการประชารัฐทั้งในระดับอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน อปท. ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน และในส่วนกลางมีหน้าที่คิดกำหนดนโยบาย และภาคท้องถิ่นต้องดำเนินการปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยรัฐบาลได้วางพื้นฐานตามโรดแม็ปของประชารัฐให้ตรงกับความต้องการและปัญหาของประชาชนในพื้นที่ สร้างความเชื่อมโยงทั้งห่วงโซ่เศรษฐกิจ ห่วงโซ่มูลค่าโดยให้เกิดความเข้มแข็งจากภายในชุมชนไปสู่จังหวัดและภูมิภาค
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า จังหวัดร้อยเอ็ดได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดด้วยโมเดล “ร้อยเอ็ด 4.101” ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่นำศักยภาพของจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีอยู่ มาขับเคลื่อนการพัฒนาตามโมเดล “ประเทศไทย 4.0” คือ การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาเสริมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพต่อการผลิตในสาขาต่าง ๆ อาทิ ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การค้า และบริการ การส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาตลอดจนบทบาทของมหาวิทยาลัยมาเป็นปัจจัยในการเร่งรัดการขับเคลื่อนในการผลิตสินค้าต่าง ๆ ให้มีคุณค่าและมูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนใช้บทบาทของภาคธุรกิจเอกชนที่มีความเข้มแข็ง ให้เข้ามาช่วยยกระดับการผลิตในระดับท้องถิ่นด้วยรูปแบบที่เราเรียกว่า “ประชารัฐ” เพื่อช่วยกันทำให้การผลิตในระดับท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นรากฐานในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น รวมไปถึงสามารถต่อยอดเป็นการผลิตสินค้าที่นำไปขายได้ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ อีกทั้ง ทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ดมีความเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภายในจังหวัด หรือนำของดีของจังหวัดออกมา หรือสร้าง Package การท่องเที่ยว ด้านสุขภาพ ประวัติศาสตร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และนำไปสู่ความเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจทางด้านการลงทุนของภาคเอกชนในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร ด้านโลจิสติกส์ การสร้างโครงข่ายคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางกับประเทศเพื่อนบ้าน และเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบชลประทานในลุ่มน้ำสำคัญเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งที่เกิดขึ้น ด้วยการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในพื้นที่ลุ่มน้ำอีกด้วย
นายกรัฐมนตรีและคณะลงพื้นที่พบปะประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ด
วันนี้ (24 ส.ค.59) เวลา 11.30 น. ณ หอประชุม 60 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี อาทิ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอกวิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่พบปะประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายอนุสรณ์ แก้วกังวาล ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนมารอให้การต้อนรับ
เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางมาถึงได้เยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ บริษัทประชารัฐรักสามัคคีร้อยเอ็ด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด งานวิจัยสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ของมหาวิทยาลัยร้อยเอ็ด และข้าวหอมมะลิทุ่งกลาร้องไห้ร้อยเอ็ด
ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงานว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในโครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ชุมชน การบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์ภัยแล้ง โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท และโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งตำบล ตำบลละ 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการตามมาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง อีกทั้งยังมีการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ให้เป็น “เขตพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกับอีก 4 จังหวัด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาฯ” ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิชั้นดีที่มีคุณภาพสูงแห่งหนึ่งของประเทศไทยและได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ โดยจะให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเป็นองค์กรหลักในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าว รวมถึงการแปรรูปผลผลิตข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า ตลอดจนการจัดจำหน่ายด้วยวิธีการทางการตลาดสมัยใหม่ ที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และยังครอบคลุมไปยังจังหวัดมหาสารคาม ยโสธร ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ที่ครอบคลุมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อีกด้วย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ (จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดยโสธร) ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพร้อมขยายไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งในอดีตเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เรียกว่า “เมืองสาเกตนคร” เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ที่เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิชั้นดี ซึ่งข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนั้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนทำให้พื้นที่ทุ่งกลาร้องไห้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา โดยการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการปรับโครงสร้างการผลิตและการสร้างมูลค่าข้าวหอมมะลิ ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม และการสร้างโอกาสเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเฉพาะเกษตรกรรมของไทย ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนมากที่สุดของประเทศ ให้เราสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรให้ดีขึ้น มีชีวิตใหม่ มีความหวัง ลดหนี้สิน โดยไม่ต้องเข้ามาทำงานในเมือง ครอบครัวได้มีโอกาสอยู่กันพร้อมหน้า ลูกหลานในอนาคตจะกลับไปพัฒนาถิ่นเกิดของตน ซึ่งรัฐบาลก็ทำให้สอดคล้องทั้งหมดตามกรอบยุทธศาสตร์ที่เป็นแนวทางการพัฒนาอย่างชัดเจนเป็นระบบ ซึ่งมีกลไกการบูรณาการประชารัฐทั้งในระดับอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน อปท. ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน และในส่วนกลางมีหน้าที่คิดกำหนดนโยบาย และภาคท้องถิ่นต้องดำเนินการปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยรัฐบาลได้วางพื้นฐานตามโรดแม็ปของประชารัฐให้ตรงกับความต้องการและปัญหาของประชาชนในพื้นที่ สร้างความเชื่อมโยงทั้งห่วงโซ่เศรษฐกิจ ห่วงโซ่มูลค่าโดยให้เกิดความเข้มแข็งจากภายในชุมชนไปสู่จังหวัดและภูมิภาค
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า จังหวัดร้อยเอ็ดได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดด้วยโมเดล “ร้อยเอ็ด 4.101” ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่นำศักยภาพของจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีอยู่ มาขับเคลื่อนการพัฒนาตามโมเดล “ประเทศไทย 4.0” คือ การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาเสริมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพต่อการผลิตในสาขาต่าง ๆ อาทิ ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การค้า และบริการ การส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาตลอดจนบทบาทของมหาวิทยาลัยมาเป็นปัจจัยในการเร่งรัดการขับเคลื่อนในการผลิตสินค้าต่าง ๆ ให้มีคุณค่าและมูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนใช้บทบาทของภาคธุรกิจเอกชนที่มีความเข้มแข็ง ให้เข้ามาช่วยยกระดับการผลิตในระดับท้องถิ่นด้วยรูปแบบที่เราเรียกว่า “ประชารัฐ” เพื่อช่วยกันทำให้การผลิตในระดับท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นรากฐานในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น รวมไปถึงสามารถต่อยอดเป็นการผลิตสินค้าที่นำไปขายได้ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ อีกทั้ง ทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ดมีความเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภายในจังหวัด หรือนำของดีของจังหวัดออกมา หรือสร้าง Package การท่องเที่ยว ด้านสุขภาพ ประวัติศาสตร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และนำไปสู่ความเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจทางด้านการลงทุนของภาคเอกชนในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร ด้านโลจิสติกส์ การสร้างโครงข่ายคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางกับประเทศเพื่อนบ้าน และเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบชลประทานในลุ่มน้ำสำคัญเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งที่เกิดขึ้น ด้วยการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในพื้นที่ลุ่มน้ำอีกด้วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น