อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข่าวดี! ครม.เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ให้แก่ครอบครัวยากจน ที่อยู่นอกระบบประกันสังคม จากเดิมที่กำหนดให้จ่ายเงินตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนอายุครบ 1 ปี ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2558 ถึงวันที่ 30 ก.ย.59 หัวละ 400 บาทต่อเดือน ขยายเป็นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี พร้อมทั้งเพิ่มวงเงินเป็น 600 บาทต่อเดือน
เด็กที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดนี้จะต้องเป็นเด็กสัญชาติไทย บิดาและ/หรือมารดามีสัญชาติไทย เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 และอยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน โดยรัฐอุดหนุนรายละ 400 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี
โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 22มี.ค.59 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พณ.) ให้ขยายระยะเวลาการจ่ายเงินอุดหนุนในโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จากเดิมที่กำหนดให้จ่ายเงินตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนอายุครบ 1 ปี ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2558 ถึงวันที่ 30 ก.ย.59 หัวละ 400 บาทต่อเดือน ขยายเป็นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี พร้อมทั้งเพิ่มวงเงินเป็น 600 บาทต่อเดือนเนื่องจากค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตต่อการพัฒนาสมอง หัวเฉลี่ยอยู่ที่ 500 – 800 บาท จึงหาเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ 600 บาทต่อเดือน
รัฐบาลเล็งเห็นว่า ในปัจจุบันมีเด็กเล็กในช่วงอายุ 0 – 6 ปี เพียง 1.2 ล้านคนเท่านั้น ที่ได้รับการคุ้มครองด้วยเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม ขณะที่อีกกว่า 4 ล้านคน ไม่ได้เงินสนับสนุนจากรัฐ ถือเป็นช่องว่างทางสังคมอย่างหนึ่งที่ควรได้รับการแก้ไข จึงได้ทุ่มเงินงบประมาณถึง 600 กว่าล้านบาท ให้กับโครงการนี้ โดยจะเมื่อจบโครงการคาดว่า ร้อยละ 95 ของเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดจะได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
ทั้งนี้การลงทุนสำหรับเด็กในช่วงวัย 0 – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญที่สุด ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสร้างรากฐานที่สำคัญ ให้เด็กสามารถเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคมและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
ในส่วนของประโยชน์ต่อคุณพ่อคุณแม่ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดนี้จะช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็ก ทำให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ เข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ซึ่งจะสามารถส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงวัยอื่นๆ ต่อไป
ทั้งนี้ ได้กำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ที่กำหนดคลอดวันที่ 1 ต.ค.2558-30 ก.ย.2559 ที่ฐานะยากจนและเสี่ยงต่อความยากจนลงทะเบียนรับสิทธิ์ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.2558-31 มี.ค.2559 ที่องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ และที่สำนักงานเขตใน กทม.กรณีที่ลงทะเบียนไม่ทันตามกำหนดให้ยื่นเรื่องที่กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) หรือที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทุกจังหวัดจนถึงวันที่ 30 ก.ย.2559
เด็กที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดนี้จะต้องเป็นเด็กสัญชาติไทย บิดาและ/หรือมารดามีสัญชาติไทย เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 และอยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน โดยรัฐอุดหนุนรายละ 400 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี
โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 22มี.ค.59 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พณ.) ให้ขยายระยะเวลาการจ่ายเงินอุดหนุนในโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จากเดิมที่กำหนดให้จ่ายเงินตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนอายุครบ 1 ปี ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2558 ถึงวันที่ 30 ก.ย.59 หัวละ 400 บาทต่อเดือน ขยายเป็นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี พร้อมทั้งเพิ่มวงเงินเป็น 600 บาทต่อเดือนเนื่องจากค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตต่อการพัฒนาสมอง หัวเฉลี่ยอยู่ที่ 500 – 800 บาท จึงหาเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ 600 บาทต่อเดือน
รัฐบาลเล็งเห็นว่า ในปัจจุบันมีเด็กเล็กในช่วงอายุ 0 – 6 ปี เพียง 1.2 ล้านคนเท่านั้น ที่ได้รับการคุ้มครองด้วยเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม ขณะที่อีกกว่า 4 ล้านคน ไม่ได้เงินสนับสนุนจากรัฐ ถือเป็นช่องว่างทางสังคมอย่างหนึ่งที่ควรได้รับการแก้ไข จึงได้ทุ่มเงินงบประมาณถึง 600 กว่าล้านบาท ให้กับโครงการนี้ โดยจะเมื่อจบโครงการคาดว่า ร้อยละ 95 ของเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดจะได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
ทั้งนี้การลงทุนสำหรับเด็กในช่วงวัย 0 – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญที่สุด ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสร้างรากฐานที่สำคัญ ให้เด็กสามารถเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคมและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
ในส่วนของประโยชน์ต่อคุณพ่อคุณแม่ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดนี้จะช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็ก ทำให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ เข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ซึ่งจะสามารถส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงวัยอื่นๆ ต่อไป
ทั้งนี้ ได้กำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ที่กำหนดคลอดวันที่ 1 ต.ค.2558-30 ก.ย.2559 ที่ฐานะยากจนและเสี่ยงต่อความยากจนลงทะเบียนรับสิทธิ์ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.2558-31 มี.ค.2559 ที่องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ และที่สำนักงานเขตใน กทม.กรณีที่ลงทะเบียนไม่ทันตามกำหนดให้ยื่นเรื่องที่กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) หรือที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทุกจังหวัดจนถึงวันที่ 30 ก.ย.2559
หลักเกณฑ์ในการลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
- เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559
- พ่อแม่ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
- มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน
- ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง หรือสภาพที่อยู่อาศัยทรุดโทรม หรือไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล หรือเป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่
- ไม่ได้รับสวัสดิการอื่นๆ จากรัฐ รัฐวิสาหกิจ กองทุนประกันสังคม
- เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559
- พ่อแม่ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
- มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน
- ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง หรือสภาพที่อยู่อาศัยทรุดโทรม หรือไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล หรือเป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่
- ไม่ได้รับสวัสดิการอื่นๆ จากรัฐ รัฐวิสาหกิจ กองทุนประกันสังคม
เอกสารในการลงทะเบียน
- แบบลงทะเบียน (ดร.01) (รับที่สถานที่ลงทะเบียน)
- แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) ที่ได้รับการรับรองแล้ว
- สำเนาบัตรประชาชนของคุณแม่
- สำเนาเอกสารการฝากครรภ์ หรือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
- สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด (นำมายื่นหลังคลอด)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีต้องการรับเงินผ่านบัญชี)
เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถรับเงินด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) หรือ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) หรือรับผ่านบัญชีธนาคาร
- แบบลงทะเบียน (ดร.01) (รับที่สถานที่ลงทะเบียน)
- แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) ที่ได้รับการรับรองแล้ว
- สำเนาบัตรประชาชนของคุณแม่
- สำเนาเอกสารการฝากครรภ์ หรือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
- สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด (นำมายื่นหลังคลอด)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีต้องการรับเงินผ่านบัญชี)
เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถรับเงินด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) หรือ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) หรือรับผ่านบัญชีธนาคาร
หมายเหตุ
- ลงทะเบียนหลังวันที่ 31 มีนาคม 2559 ได้ที่ พมจ. หรือ ดย.
- กรณีแม่เป็นบุคคลต่างด้าว ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ หรือเสียชีวิต อนุโลมให้พ่อสัญชาติไทยตามสูติบัตร ลงทะเบียนแทนได้
- ลงทะเบียนหลังวันที่ 31 มีนาคม 2559 ได้ที่ พมจ. หรือ ดย.
- กรณีแม่เป็นบุคคลต่างด้าว ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ หรือเสียชีวิต อนุโลมให้พ่อสัญชาติไทยตามสูติบัตร ลงทะเบียนแทนได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
- กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) โทร. 0-2651-6532
- ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC) โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
- กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) โทร. 0-2651-6532
- ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC) โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น