อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
.
-
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 343/2559เปิดงาน
มัธยมศึกษาสงขลา-สตูล Festival 2016
และมอบ นโยบายการพัฒนาการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สตูล
จังหวัดสตูล - พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ลงพื้นที่จังหวัดสตูล เมื่อวันจันทร์ที่ 22สิงหาคม 2559 เพื่อเป็นประธาน เปิดงานประชุมสัมมนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน "มัธยมศึกษาสงขลา-สตูล Festival 2016" และมอบนโยบายในการประชุม เพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนใต้ไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน
เปิดงาน "มัธยมศึกษาสงขลา – สตูล Festival 2016"
ณ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
เมื่อเวลา 8.30 น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ และคณะ เดินทางถึง หอประชุมโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล เพื่อเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน "มัธยมศึกษาสงขลา-สตูล Festival 2016" จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 16
นายศลใจ วิบูลกิจ ผอ.สพม.เขต 16 (สงขลา-สตูล) กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานและผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาใน สพม.16 และเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่ได้ดำเนินการตามโครงการจุดเน้น รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการจัดการศึกษาและผลงานที่เป็นเลิศประจำปีสู่สาธารณชน
โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การจัดนิทรรศการความก้าวหน้าตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, ค่านิยมหลัก 12 ประการ, โรงเรียนประชารัฐ, โครงการกำจัดขยะ, โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาชายแดนใต้ การจัดห้องเรียนคุณภาพสะเต็มศึกษา การดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นต้น นอกจากนี้ มีการเสวนาเรื่องต่างๆ เช่น สะเต็มศึกษา ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ รวมทั้งการมอบรางวัลต่างๆ จากผลการดำเนินงานดีเด่น ตามจุดเน้นการพัฒนา ผลการทดสอบ O-NET ผลการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ เป็นต้น
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รู้สึก เป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ รวมทั้งได้มอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้แทนที่ได้รับรางวัล "เพชรน้ำหนึ่ง" อันเป็นรางวัลสำหรับสถานศึกษาที่ได้ดำเนินการตามจุดเน้นด้านต่างๆ ของ สพม. 16 (สงขลา-สตูล) จำนวน 26 รางวัล เช่น จุดเน้นโรงเรียนของชุมชน จุดเน้นโรงเรียนน่าอยู่ ฯลฯ ซึ่งการจัดงานดังกล่าวในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 และผลการดำเนินงานปีที่ผ่านๆ มาก็ได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าของการจัดงานดังกล่าวมาโดยลำดับ
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงช่วงวันที่ 20-22 และ 25 สิงหาคม 2559 ได้กำหนดให้มี การประชุมเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้น ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา สตูล และนราธิวาส ตามลำดับ (ซึ่งจุดประชุมที่ปัตตานีและยะลา มีสงขลาเฉพาะ 4 อำเภอที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมด้วย) ทั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันในการจัดการศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพมากขึ้น
สิ่งที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง คือ การที่ตนได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบดูแลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากว่า 2 ปี เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างมาก จึงได้วางน้ำหนักไปที่จุดนั้นให้มากขึ้น โดยที่ผ่านมา พยายามจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภทให้มีคุณภาพสูงขึ้น มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าศึกษาในสายอาชีพมากขึ้น จนเป็นที่น่าพอใจ เพราะส่งผลให้ผู้เรียนจบแล้วมีงานทำ ที่สำคัญคือผลสอบ O-Net ในภาพรวมของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมา 2 ปี ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญ
ส่วนความก้าวหน้าการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 จะเน้นการบูรณาการจัดการศึกษาทุกองค์กรหลักและทุกภาคส่วน รวมทั้งการศึกษาเอกชนด้วย เพราะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสถานศึกษาเอกชนซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่ในพื้นที่เข้าเรียนจำนวนมาก คือ โรงเรียนสามัญและโรงเรียนนอกระบบ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่วิชาสามัญ สถาบันศึกษาปอเนาะ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ซึ่งอยู่ในการกำกับของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
ในส่วนของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เรามีครูอาสากระจายในตำบลต่างๆ เต็มพื้นที่ ซึ่งมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนประจำตำบล ซึ่งต่อไปจะเพิ่มอัตราครูอาสาให้มากขึ้น ส่วนการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นได้ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง เพื่อดูแลโรงเรียน สพฐ. ให้มีคุณภาพในการเรียนการสอนสูงขึ้น
ขอเรียนว่า ความพยายามในการบูรณาการศึกษาของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ต้องเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงและเข้มแข็งไปด้วยกัน เหมือนกับที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้เสมอว่า "Stronger Together" กล่าวคือ เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นเด็กตกหล่นหรือเด็กออกกลางคัน ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนต้องช่วยเหลือกัน ไปด้วยกัน ในการจัดทำแผนบูรณาการและกำกับงานการศึกษาให้เข้มมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า" ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดยะลา จะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการในการจัดการศึกษาในพื้นที่ และเร็วๆ นี้จะมี "รัฐบาลส่วนหน้า" ลงมาดูแลพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นกันด้วย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำถึงการทำงานของรัฐบาล คสช. ด้วยว่า จะได้มีการเร่งรัดขับเคลื่อนการศึกษาทุกพื้นที่มากขึ้น และการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ได้รับการจัดอันดับความเร่งด่วนในการดูแลไว้ด้วย ดังนั้นช่วงเวลา 1 ปีเศษๆ ก่อนการเลือกตั้ง ก็จะส่งผลให้งานต่างๆ มีความก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะงานตามจุดเน้น ซึ่งกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ 1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการและรองรับการพัฒนาประเทศ 2. หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 3. ระบบงบประมาณและทรัพยากรเพื่อการศึกษา 4. ระบบตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา 5. ระบบสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6. พัฒนาระบบการผลิต การสรรหา และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 7. ระบบการบริหารจัดการ 8. สร้างโอกาสทางการศึกษา 9. พัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10. การวิจัยเพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความชื่นชมต่อผู้ได้รับรางวัลต่างๆ ในครั้งนี้ ขอให้รักษามาตรฐานคุณความดี เพราะสิ่งที่ทำความดีจะเป็นการปฏิบัติบูชาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะหากเราทำงานด้วยใจ สุดความสามารถ ตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงการเปลี่ยนผ่านการปฏิรูปประเทศ ก็จะเป็นเสมือนพระโอสถถวายพระองค์ได้เป็นอย่างดี และขอฝากรณรงค์เชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันทำความดีทั่วทั้งแผ่นดิน เพื่อถวายในหลวงของเราด้วย
ให้นโยบายในการประชุมเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนใต้ไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน
ณ วิทยาลัยเทคนิคสตูล
ต่อมาเมื่อเวลา 10.15 น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ และคณะ เดินทางถึง หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคสตูล เพื่อ ให้นโยบายในการประชุมเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนใต้ไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน จัดโดยสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล โดยมีผู้บริหารการศึกษา ผู้รับใบอนุญาต โต๊ะครู ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจน ข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคใ นจังหวัดสตูล เข้าร่วมประชุมประมาณ 500 คน
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิรูปการศึกษา โดยกำหนดจุดเน้นยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา 7 ด้าน คือ 1) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 2) การผลิตและพัฒนาครู 3) การทดสอบ/การประเมิน/การประกันคุณภาพ/การพัฒนามาตรฐานการศึกษา 4) การผลิตพัฒนากำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ 5) ICT เพื่อการศึกษา 6) การบริหารจัดการ 7) การพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการจัดการศึกษาในจังหวัดภาคใต้ ได้มีการพิจารณาการประกาศใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา ฟัรฎูอีน ประจำมัสยิด ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบติดาอียะฮฺ) พุทธศักราช 2559/ฮิจเราะฮฺศักราช 1437 ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างการรอนำเข้าสู่คณะกรรมการการศึกษาเอกชน ที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน คาดว่ากลางเดือนกันยายน 2559 จะผ่านความเห็นชอบ และมีการประกาศใช้ต่อไป
ในส่วนของการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ โดยมุ่งเน้นดำเนินการใน 6 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) การส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาสู่ระบบการศึกษา 3) การส่งเสริมความปลอดภัย สวัสดิการครู และบุคลากรทางการศึกษา 4) การเสริมสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา5) การจัดการศึกษาเพื่อการมีอาชีพ 6) การเสริมสร้างการศึกษาเพื่อความมั่นคง โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 8 ด้าน คือ สุขภาพดี, เป็นคนเก่ง, เป็นคนดี, มีจิตอาสา, ได้รับการพัฒนาไปสู่อาชีพในอนาคต, ได้รับการเสริมสร้างความเข้าใจในพหุวัฒนธรรม, การเสริมสร้างความสามารถที่จะอยู่ร่วมในสังคมนานาชาติได้ และมีความปลอดภัย ซึ่งการดำเนินการจัดการศึกษาของครูและโรงเรียนเอกชนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแบ่งเบาภาระของสถานศึกษาภาครัฐ
ผลการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรากฏว่าสถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในระดับชาติสูงขึ้นอย่างเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งนักเรียนมีพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี และสถิติการสูญเสียครูและบุคลากรทางการศึกษาลดน้อยลง โดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างแน่นแฟ้น ส่งผลให้ในช่วงปีงบประมาณ 2558 มีข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา เสียชีวิตจากเหตุการณ์เพียง 1 คน บาดเจ็บ 1 คน จากเดิมปี 2557 เสียชีวิต 9 คน บาดเจ็บ 7 คน และในปี 2559 ยังไม่พบการสูญเสียแต่อย่างใด ตลอดจนมีจำนวนผู้สมัครเรียนอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ลดอัตราการว่างงานในอนาคตได้ เน้นผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมระดมความคิดเห็นด้านการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อรับทราบปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาเสริมหรือเพิ่มเติมในทุกระดับ อาทิ เด็กก่อนวัยเรียน เด็กปฐมวัย มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา พร้อมทั้งเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างหน่วยงานในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเติบโตไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Stronger Together)
โดยคำนึงถึงแผนการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และการดูแลเด็กตกหล่นหรือเด็กที่ออกนอกระบบการศึกษา ด้วยการใช้ "สตูลโมเดล" เพื่อนำเด็กเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา จึงมอบหมายให้ สช. รวบรวมข้อมูลจากการประชุมระดมความเห็นในครั้งนี้ เพื่อนำมาจัดทำแผนการศึกษาระยะสั้นและระยะยาวแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายให้ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความสุขต่อการจัดการศึกษาของภาครัฐ
-
-
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
.
- ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 343/2559เปิดงาน
มัธยมศึกษาสงขลา-สตูล Festival 2016
และมอบนโยบายการพัฒนาการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สตูล
จังหวัดสตูล - พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ลงพื้นที่จังหวัดสตูล เมื่อวันจันทร์ที่ 22สิงหาคม 2559 เพื่อเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน "มัธยมศึกษาสงขลา-สตูล Festival 2016" และมอบนโยบายในการประชุม เพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนใต้ไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน เปิดงาน "มัธยมศึกษาสงขลา – สตูล Festival 2016"
ณโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล เมื่อเวลา 8.30 น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ และคณะ เดินทางถึง หอประชุมโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล เพื่อเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน "มัธยมศึกษาสงขลา-สตูล Festival 2016" จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 16 นายศลใจ วิบูลกิจ ผอ.สพม.เขต 16 (สงขลา-สตูล) กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานและผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาใน สพม.16 และเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่ได้ดำเนินการตามโครงการจุดเน้น รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการจัดการศึกษาและผลงานที่เป็นเลิศประจำปีสู่สาธารณชน โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การจัดนิทรรศการความก้าวหน้าตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, ค่านิยมหลัก 12 ประการ, โรงเรียนประชารัฐ, โครงการกำจัดขยะ, โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาชายแดนใต้ การจัดห้องเรียนคุณภาพสะเต็มศึกษา การดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นต้น นอกจากนี้ มีการเสวนาเรื่องต่างๆ เช่น สะเต็มศึกษา ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ รวมทั้งการมอบรางวัลต่างๆจากผลการดำเนินงานดีเด่น ตามจุดเน้นการพัฒนา ผลการทดสอบ O-NET ผลการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ เป็นต้น พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รู้สึก เป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ รวมทั้งได้มอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้แทนที่ได้รับรางวัล "เพชรน้ำหนึ่ง" อันเป็นรางวัลสำหรับสถานศึกษาที่ได้ดำเนินการตามจุดเน้นด้านต่างๆ ของ สพม. 16 (สงขลา-สตูล) จำนวน 26 รางวัล เช่น จุดเน้นโรงเรียนของชุมชน จุดเน้นโรงเรียนน่าอยู่ ฯลฯ ซึ่งการจัดงานดังกล่าวในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 และผลการดำเนินงานปีที่ผ่านๆ มาก็ได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าของการจัดงานดังกล่าวมาโดยลำดับ โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงช่วงวันที่ 20-22 และ 25 สิงหาคม 2559 ได้กำหนดให้มี การประชุมเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้น ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา สตูล และนราธิวาส ตามลำดับ (ซึ่งจุดประชุมที่ปัตตานีและยะลา มีสงขลาเฉพาะ 4 อำเภอที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมด้วย) ทั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันในการจัดการศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพมากขึ้น สิ่งที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง คือ การที่ตนได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบดูแลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากว่า 2 ปี เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างมาก จึงได้วางน้ำหนักไปที่จุดนั้นให้มากขึ้น โดยที่ผ่านมา พยายามจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภทให้มีคุณภาพสูงขึ้น มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าศึกษาในสายอาชีพมากขึ้น จนเป็นที่น่าพอใจ เพราะส่งผลให้ผู้เรียนจบแล้วมีงานทำ ที่สำคัญคือผลสอบ O-Net ในภาพรวมของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมา 2 ปี ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญ ส่วนความก้าวหน้าการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 จะเน้นการบูรณาการจัดการศึกษาทุกองค์กรหลักและทุกภาคส่วน รวมทั้งการศึกษาเอกชนด้วย เพราะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสถานศึกษาเอกชนซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่ในพื้นที่เข้าเรียนจำนวนมาก คือ โรงเรียนสามัญและโรงเรียนนอกระบบ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่วิชาสามัญ สถาบันศึกษาปอเนาะ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ซึ่งอยู่ในการกำกับของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในส่วนของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เรามีครูอาสากระจายในตำบลต่างๆ เต็มพื้นที่ ซึ่งมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนประจำตำบล ซึ่งต่อไปจะเพิ่มอัตราครูอาสาให้มากขึ้น ส่วนการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นได้ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง เพื่อดูแลโรงเรียน สพฐ. ให้มีคุณภาพในการเรียนการสอนสูงขึ้น ขอเรียนว่า ความพยายามในการบูรณาการศึกษาของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ต้องเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงและเข้มแข็งไปด้วยกัน เหมือนกับที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้เสมอว่า "Stronger Together" กล่าวคือ เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นเด็กตกหล่นหรือเด็กออกกลางคัน ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนต้องช่วยเหลือกัน ไปด้วยกัน ในการจัดทำแผนบูรณาการและกำกับงานการศึกษาให้เข้มมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า" ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดยะลา จะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการในการจัดการศึกษาในพื้นที่ และเร็วๆ นี้จะมี "รัฐบาลส่วนหน้า" ลงมาดูแลพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นกันด้วย รมช.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำถึงการทำงานของรัฐบาล คสช. ด้วยว่า จะได้มีการเร่งรัดขับเคลื่อนการศึกษาทุกพื้นที่มากขึ้น และการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ได้รับการจัดอันดับความเร่งด่วนในการดูแลไว้ด้วย ดังนั้นช่วงเวลา 1 ปีเศษๆ ก่อนการเลือกตั้ง ก็จะส่งผลให้งานต่างๆ มีความก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะงานตามจุดเน้น ซึ่งกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ 1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการและรองรับการพัฒนาประเทศ 2. หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 3. ระบบงบประมาณและทรัพยากรเพื่อการศึกษา 4. ระบบตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา 5. ระบบสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6. พัฒนาระบบการผลิต การสรรหา และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 7. ระบบการบริหารจัดการ 8. สร้างโอกาสทางการศึกษา 9. พัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10. การวิจัยเพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความชื่นชมต่อผู้ได้รับรางวัลต่างๆ ในครั้งนี้ ขอให้รักษามาตรฐานคุณความดี เพราะสิ่งที่ทำความดีจะเป็นการปฏิบัติบูชาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะหากเราทำงานด้วยใจ สุดความสามารถ ตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงการเปลี่ยนผ่านการปฏิรูปประเทศ ก็จะเป็นเสมือนพระโอสถถวายพระองค์ได้เป็นอย่างดี และขอฝากรณรงค์เชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันทำความดีทั่วทั้งแผ่นดิน เพื่อถวายในหลวงของเราด้วย
ให้นโยบายในการประชุมเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนใต้ไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน
ณ วิทยาลัยเทคนิคสตูลต่อมาเมื่อเวลา 10.15 น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ และคณะ เดินทางถึง หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคสตูล เพื่อ ให้นโยบายในการประชุมเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนใต้ไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน จัดโดยสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล โดยมีผู้บริหารการศึกษา ผู้รับใบอนุญาต โต๊ะครู ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจน ข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคใ นจังหวัดสตูล เข้าร่วมประชุมประมาณ 500 คน รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิรูปการศึกษา โดยกำหนดจุดเน้นยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา 7 ด้าน คือ 1) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 2) การผลิตและพัฒนาครู 3) การทดสอบ/การประเมิน/การประกันคุณภาพ/การพัฒนามาตรฐานการศึกษา 4) การผลิตพัฒนากำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ 5) ICT เพื่อการศึกษา 6) การบริหารจัดการ 7) การพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้สำหรับการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการจัดการศึกษาในจังหวัดภาคใต้ ได้มีการพิจารณาการประกาศใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา ฟัรฎูอีน ประจำมัสยิด ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบติดาอียะฮฺ) พุทธศักราช 2559/ฮิจเราะฮฺศักราช 1437 ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างการรอนำเข้าสู่คณะกรรมการการศึกษาเอกชน ที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน คาดว่ากลางเดือนกันยายน 2559 จะผ่านความเห็นชอบ และมีการประกาศใช้ต่อไปในส่วนของการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ โดยมุ่งเน้นดำเนินการใน 6 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) การส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาสู่ระบบการศึกษา 3) การส่งเสริมความปลอดภัย สวัสดิการครู และบุคลากรทางการศึกษา 4) การเสริมสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา5) การจัดการศึกษาเพื่อการมีอาชีพ 6) การเสริมสร้างการศึกษาเพื่อความมั่นคง โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 8 ด้าน คือ สุขภาพดี, เป็นคนเก่ง, เป็นคนดี, มีจิตอาสา, ได้รับการพัฒนาไปสู่อาชีพในอนาคต, ได้รับการเสริมสร้างความเข้าใจในพหุวัฒนธรรม, การเสริมสร้างความสามารถที่จะอยู่ร่วมในสังคมนานาชาติได้ และมีความปลอดภัย ซึ่งการดำเนินการจัดการศึกษาของครูและโรงเรียนเอกชนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแบ่งเบาภาระของสถานศึกษาภาครัฐผลการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรากฏว่าสถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในระดับชาติสูงขึ้นอย่างเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งนักเรียนมีพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี และสถิติการสูญเสียครูและบุคลากรทางการศึกษาลดน้อยลง โดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างแน่นแฟ้น ส่งผลให้ในช่วงปีงบประมาณ 2558 มีข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา เสียชีวิตจากเหตุการณ์เพียง 1 คน บาดเจ็บ 1 คน จากเดิมปี 2557 เสียชีวิต 9 คน บาดเจ็บ 7 คน และในปี 2559 ยังไม่พบการสูญเสียแต่อย่างใด ตลอดจนมีจำนวนผู้สมัครเรียนอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ลดอัตราการว่างงานในอนาคตได้ เน้นผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศรมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมระดมความคิดเห็นด้านการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อรับทราบปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาเสริมหรือเพิ่มเติมในทุกระดับ อาทิ เด็กก่อนวัยเรียน เด็กปฐมวัย มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา พร้อมทั้งเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างหน่วยงานในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเติบโตไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Stronger Together)โดยคำนึงถึงแผนการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และการดูแลเด็กตกหล่นหรือเด็กที่ออกนอกระบบการศึกษา ด้วยการใช้ "สตูลโมเดล" เพื่อนำเด็กเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา จึงมอบหมายให้ สช. รวบรวมข้อมูลจากการประชุมระดมความเห็นในครั้งนี้ เพื่อนำมาจัดทำแผนการศึกษาระยะสั้นและระยะยาวแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายให้ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความสุขต่อการจัดการศึกษาของภาครัฐ - ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น