หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระโกศพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
พระโกศพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
การสิ้นพระชนม์
พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
วันสวรรคต13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สถานที่สวรรคตอาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 16 โรงพยาบาลศิริราช
ประดิษฐานพระบรมศพพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
พระโกศพระโกศทองใหญ่
ฉัตรนพปฎลมหาเศวตฉัตร
พระเมรุพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช การสวรรคตของพระองค์สร้างความโศกเศร้าและเสียใจมากต่อประชาชนชาวไทยเป็นจำนวนมากรัฐบาลประกาศไว้ทุกข์ ถวายความอาลัยเป็นเวลา 1 ปี สำนักพระราชวังมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง

เนื้อหา

  [ซ่อน

พระอาการประชวร[แก้]

นับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯประทับรถตู้พระที่นั่ง จากที่ประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เข้าสู่โรงพยาบาลศิริราช โดยถึงประตู 8 โรงพยาบาลศิริราช เวลา 23.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้นพระองค์ทรงมีไข้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาดูแลใกล้ชิด[1] โดยสำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวร ฉบับที่ 1 ความว่า
วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รายงานพระอาการว่า เมื่อเย็นวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ทรงมีพระปรอท (ไข้) สูง 38.2 องศาเซลเซียส ผลการตรวจพระโลหิตแสดงว่ามีภาวะติดเชื้อ มีการเปลี่ยนแปลงในความดันพระโลหิตและอัตราการเต้นของพระหทัยเร็วขึ้น จึงได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อถวายการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ ถวายการตรวจพระโลหิตด้วยวิธีพิเศษเพิ่มเติม และถวายการรักษาต่อไป
เมื่อเช้าวันนี้ คณะแพทย์ฯ ได้รายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากถวายการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะทางหลอดพระโลหิต ความดันพระโลหิตคงที่ พระปรอท (ไข้) ลดลง สภาวะทางโภชนาการดีขึ้นเป็นลำดับ คณะแพทย์ฯ จะได้ถวายการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อและถวายการรักษาต่อไป จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
— สำนักพระราชวัง
วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 4 ว่าพระอาการทั่วไปดีขึ้น อุณหภูมิพระวรกายลดลงจนเกือบเป็นปรกติ การเต้นของพระหทัยเป็นปรกติ พระอาการเจ็บแผลผ่าตัดบรรเทาลง เริ่มเสวยพระกายาหารได้ คณะแพทย์ฯ ได้ลดพระโอสถระงับการเจ็บลง และงดถวายน้ำเกลือทางหลอดพระโลหิต แต่ยังคงถวายสารอาหารและพระโอสถปฏิชีวนะทางหลอดพระโลหิต กับเฝ้าดูและพระอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป[2] ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557 สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 5 ว่าพระอาการทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ พระชีพจรและความดันพระโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปรกติ อุณหภูมิพระวรกายลดลงอีกจนเกือบเป็นปรกติ พระอาการเจ็บแผลผ่าตัดลดลงมาก เคลื่อนไหวพระวรกายได้ดีขึ้น หายพระหทัยปรกติ เสวยพระกระยาหารได้บ้าง[3]
วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.00 น. เพื่อเปลี่ยนพระราชอิริยาบถ และเพื่อฟื้นฟูพระวรกายในพื้นที่อากาศบริสุทธิ์[4]
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ ชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตามคำกราบบังคมทูลเชิญเพื่อมาตรวจพระวรกายของคณะแพทย์ ผลการตรวจพบว่าพระโลหิต อุณหภูมิพระวรกาย ความดันพระโลหิตพระหทัย และระบบการหายพระทัยเป็นปกติ[5]
ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ประชวร ว่ามีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย[6]

พระอาการประชวรในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559[แก้]

ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีความดันพระโลหิตลดต่ำลง คณะแพทย์จึงทำการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำเพื่อฟอกพระโลหิตระยะยาว แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย และมีการฟอกไต พระอาการไม่คงที่ ตามที่สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 37 ว่า[7]
วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รายงานว่า ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 คณะแพทย์ฯ ได้ขอพระราชทานถวายใส่สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำ เพื่อเตรียมการสำหรับการฟอกพระโลหิต (Hemodialysis) ระยะยาว และเปลี่ยนสายระบายน้ำไขสันหลังในโพรงพระสมองบริเวณบั้นพระองค์ (เอว) ตั้งแต่เวลา 14 นาฬิกา ถึง 16 นาฬิกา 40 นาที ปรากฏภายหลังว่า มีความดันพระโลหิตลดต่ำลงเป็นครั้งคราว คณะแพทย์ฯ จึงได้ถวายพระโอสถ และได้ใช้เครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) เพื่อทำให้ความดันพระโลหิตกลับสู่ระดับปรกติ จนกระทั่งเวลา 3 นาฬิกา วันนี้ มีพระชีพจรเร็วขึ้น ความดันพระโลหิตลดลง ผลการตรวจพระโลหิต พบว่าพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ผลการตรวจพระหทัยด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiography) พบว่าปริมาณพระโลหิตที่เข้าสู่พระหทัยด้านซ้ายช่องล่างลดลงมาก อันเป็นผลจากการที่มีความดันพระโลหิตในพระปัปผาสะ (ปอด) สูง
คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถขยายหลอดพระโลหิตในพระปัปผาสะ (ปอด) เมื่อเวลา 15 นาฬิกา ทำให้พระชีพจรเริ่มลดลง และความดันพระโลหิตดีขึ้น คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่ และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้งดพระราชกิจ จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
— สำนักพระราชวัง
หลังจากนั้น พระอาการเริ่มทรุดลงเรื่อยๆ ทรงมีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) และมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง รายงานพระอาการประชวรฉบับสุดท้าย คือ ฉบับที่ 38 ความว่า [8]
วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความดันพระโลหิตลดต่ำลงอีก พระชีพจรเร็วขึ้น ร่วมกับภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นอีก ผลของการถวายตรวจพระโลหิตบ่งชี้ว่า มีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปรกติ คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะและแก้ไขภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรด ตลอดจนถวายพระโอสถควบคุมความดันพระโลหิตเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งถวายเครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) และถวายการรักษาด้วยวิธีทดแทนไต (CRRT) พระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่ ต้องควบคุมด้วยพระโอสถ คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด
— สำนักพระราชวัง
วันที่ 12 ตุลาคม พระราชโอรส-ธิดาทั้งสี่พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธออีกสองพระองค์เข้าเยี่ยมพระอาการประชวร [9]

สวรรคต[แก้]

สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความว่า [10] [11] [12]
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2557 ตามที่ สำนักพระราชวัง ได้แถลงให้ทราบ เป็นระยะแล้วนั้น
แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราชด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี
— สำนักพระราชวัง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เคลื่อนพระบรมศพสู่พระบรมมหาราชวัง[แก้]

ขบวนเคลื่อนพระบรมศพฯ จากโรงพยาบาลศิริราช ไปยังพระบรมมหาราชวัง
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยัง โรงพยาบาลศิริราชเพื่อเคลื่อนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชไปยัง พระบรมมหาราชวัง เพื่อประกอบพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา โดยขบวนจะเคลื่อนออกจากโรงพยาบาลศิริราชทางถนนอรุณอมรินทร์ผ่านไปยังแยกอรุณอมรินทร์ขึ้น สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าเคลื่อนต่อไปยังถนนราชดำเนินในเข้าสู่พระบรมมหาราชวังทางถนนหน้าพระลาน ที่ ประตูพิมานไชยศรี และ ประตูเทวาภิรมย์ ตลอดเส้นทางมีประชาชนมาเฝ้าส่งเสด็จเป็นจำนวนมาก [13]

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี[แก้]

ธงครึ่งเสาที่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สำนักนายกรัฐมนตรี ออกประกาศเรื่องการเสด็จสวรรคต มีใจความสำคัญว่า รัฐบาลรับทราบการสวรรคตด้วยความโทมนัสอย่างยิ่ง ตลอดจนเห็นว่า มีพระมหากรุณาธิคุณใหญ่หลวงต่อพสกนิกรชาวไทยตลอดมา จึงให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา มีกำหนด 30 วัน และให้ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 1 ปี เริ่มนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม เป็นต้นไป[14]

ประชาชนถวายน้ำสรงพระบรมศพ[แก้]

ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 14.00 น. สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายน้ำสรงพระบรมศพ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง มีพสกนิกรเดินทางมาร่วมถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้ายเป็นจำนวนมาก [15]

ประชาชนถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์[แก้]

สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ [16] และได้จัดสมุดลงนามถวายความอาลัย ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

ประชาชนถวายสักการะพระบรมศพ[แก้]

สำนักพระราชวังได้รับพระราชานุญาต ให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เวลา 05.00 น.- 21.00 น. และร่วมบริจาคเงินสมทบทุนได้ทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป [17] ซึ่งก็มีพสกนิกรเดินทางมาร่วมถวายสักการะพระศพและร่วมสมทบเงินทุนเป็นจำนวนมาก

การแสดงความอาลัย[แก้]

ภายในประเทศ[แก้]

พระบรมฉายาลักษณ์ประดับไว้เพื่อการแสดงความอาลัย ณ ท้องสนามหลวง
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แสดงความเสียใจต่อการสวรรคต ขอให้ประชาชนร่วมถวายความอาลัยและดำเนินชีวิตต่อไป[18]
รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่งลดธงครึ่งเสา มีกำหนด 30 วัน และให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 1 ปี เริ่มนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม เป็นต้นไป[19]รวมทั้งยังมีประกาศขอความร่วมมือให้งดจัดงานรื่นเริงต่าง ๆ เป็นเวลา 30 วัน ส่งผลให้การแสดงรื่นรมย์ต่าง ๆ เช่น คอนเสิร์ต งานมหกรรม กิจกรรมกีฬา การแสดงต่าง ๆ ต่างยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด รวมทั้งสถานบันเทิงต่าง ๆ หลายแห่งปิดการให้บริการชั่วคราว[20] และยังมีการประกาศให้วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย[21]
ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ได้ออกคำสั่งในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยทุกกองทัพภาคทั่วประเทศ เพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด เพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และเพื่อสร้างความเชื่อมั่น อบอุ่นใจให้ประชาชนว่า ทางกองทัพและคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ดูแลความสงบเรียบร้อยในช่วงเวลาสำคัญของคนไทยทั้งประเทศ โดยจะคงมาตรการรักษาความปลอดภัยนี้ไว้แค่ช่วงเวลาระยะหนึ่ง จนกว่าจะเห็นว่าสถานการณ์จะบรรเทาความโศกเศร้าลง[22]
ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 รัฐบาลจัดตั้งศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ โดยให้พลเอก วิลาศ อรุณศรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ และให้สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็นเลขานุการศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์

การแสดงความอาลัยในสื่อสังคม[แก้]

เว็บไซต์ในประเทศไทยเปลี่ยนสีเป็นขาว-ดำหรือสเกลสีเทา เพื่อแสดงความอาลัย
ในสื่อสังคมต่าง ๆ มีการแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก เช่นในเฟซบุ๊ก มีผู้ใช้งานจำนวนมากเปลี่ยนภาพผู้ใช้เพื่อแสดงความอาลัย เพจดังต่าง ๆ ลงภาพแสดงความอาลัยและงดลงเนื้อหาบันเทิงเป็นการชั่วคราว[23] รวมทั้งทางเฟซบุ๊กยังได้ประกาศงดโฆษณาในเว็บไซต์ภาคภาษาไทยอย่างไม่มีกำหนดเพื่อแสดงความอาลัย,[24] กูเกิลประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนดูเดิลเป็นสีดำเพื่อแสดงความอาลัย,[25] ยูทูบได้งดโฆษณาเป็นเวลา 7 วันเช่นกัน, ดาราและนักแสดงต่างร่วมกันแสดงความอาลัยผ่านทางอินสตาแกรมและทวิตเตอร์[26] นอกจากนี้เว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วประเทศได้เปลี่ยนสีเว็บเป็นขาวดำเพื่อแสดงความอาลัยด้วย[27]

การดำเนินการของสถานีโทรทัศน์ภายหลังการสวรรคต[แก้]

หลังจากสำนักพระราชวังประกาศการสวรรคต สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทุกช่องได้ออกอากาศรายการพิเศษจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นการฉายสารคดีพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตลอดรัชสมัย สลับกับการแถลงการณ์ต่าง ๆ ที่เกียวข้องกับการสวรรคต วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการถ่ายทอดสดการเชิญพระบรมศพจากโรงพยาบาลศิริราชไปยังพระที่นั่งพิมานรัตยาในพระบรมมหาราชวัง และพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ กระทั่งเวลา 00.00 น. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จึงเริ่มการออกอากาศรายการต่าง ๆ ตามปกติ (อย่างไรก็ตามพลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด แถลงว่า รัฐบาลได้ขอความร่วมให้งดรายการตามปกติและรับสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 30 วัน ก่อนจะถูกยกเลิกไป)[28] สำนักงาน กสทช. ได้ขอความร่วมมือให้งดรายการรื่นเริงต่าง ๆ เป็นเวลา 30 วัน [29]
ต่อมาในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สำนักงาน กสทช. ได้ออกแนวปฏิบัติในการนำเสนอรายการทางโทรทัศน์ โดยในช่วง 15-30 วัน หลังการสวรรคต ให้สถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ระมัดระวังและตรวจสอบการนำเสนอเนื้อหา การวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งแสดงถึงหรือกล่าวถึงความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ความแตกแยกในสังคม และขอความร่วมมือในการปรับสีรายการต่าง ๆ ไม่ให้ฉูดฉาดจนเกินไป ในช่วง 31-37 วันถัดมา สามารถนำรายการเด็ก รายการทั่วไป และรายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ออกอากาศได้ โดยมีการควบคุมเนื้อหา และตั้งแต่วันที่ 38-100 หลังการสวรรคต สามารถนำรายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกอากาศได้ แต่ไม่ควรมีเรื่องของความรุนแรง เรื่องทางเพศ และถ้อยคำหยาบคาย[30]

ระดับนานาชาติ[แก้]

องค์กรเหนือรัฐ[แก้]

  •  สหภาพยุโรป : นายดอนัลต์ ตุสก์ ประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และนายฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นตัวแทนของสหภาพยุโรปออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมยกย่องว่าระหว่างการครองราชย์ตลอดระยะเวลา 70 ปี โครงการพัฒนาชนบทของพระองค์ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยหลายล้านคน พระองค์จะทรงเป็นที่จดจำต่อไปสำหรับคนรุ่นต่อไป โดยเฉพาะในยุโรปพระองค์ทรงเป็นที่จดจำในฐานะผู้ที่ทรงงานหนักเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน[31]
  •  สหประชาชาติ : นายพัน กี-มุน กับตัวแทนประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ 193 ประเทศ ได้ร่วมยืนไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างการประชุมใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยนายพัน กี-มุน กล่าวว่า "พระองค์ทรงเป็นที่เคารพอย่างสูงของพสกนิกรชาวไทยและได้รับความนับถืออย่างสูงจากนานาประเทศ ทรงได้รับการถวายรางวัลจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเมื่อปี 2549 เพื่อเชิดชูผลงานของพระองค์" [32][33] นอกจากนี้ สมัชชาสหประชาชาติยังได้จัดประชุมครั้งพิเศษเพื่อสดุดีพระเกียรติยศของพระองค์ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559[34]
  • กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจกับการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวไทย โดยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นที่รักของประชาชนและได้ทรงอุทิศพระวรกายและพระราชหฤทัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยย่อท้อ นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด"[35]
  • สหพันธ์แบดมินตันโลก : สหพันธ์แบดมินตันโลกออกแถลงการณ์ผ่านสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยแสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่วงการแบดมินตันมาอย่างยาวนาน พระองค์ทรงได้รับการถวายอิสริยาภรณ์สูงสุด "เพรสซิเดนต์เมดัล" ซึ่งเป็นเพียง 1 เดียวในโลกที่ได้รับรางวัลนี้ นายพออุล-เอริก เฮเยอร์ ลาร์เซิน ประธานสหพันธ์แบดมินตันโลก ได้กล่าวยกย่องว่า "พระองค์เป็นแบบอย่างที่ยิ่งใหญ่ของวงการแบดมินตันโลก"[36] [37]

ยุโรป[แก้]

  •  นครรัฐวาติกัน : สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงส่งพระราชสาส์นจากกรุงวาติกันถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อแสดงความอาลัยแด่การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ความว่า “ข้าพเจ้ารู้สึกโศกเศร้าเสียใจอย่างยิ่งที่ได้รับทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สวรรคตแล้ว และในช่วงเวลาแห่งความโทมนัสนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจกับพระบรมวงศานุวงศ์และพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ” “ข้าพเจ้าสวดมนต์ภาวนาแด่พระองค์ กษัตริย์ผู้เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์และทรงพระปรีชา ผู้นำพาความสงบสุขมาสู่แผ่นดินของพระองค์ ขอทุกวิญญาณของพระองค์ทรงสถิตสู่สวรรคาลัย”[40]
  •  สวีเดน : สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ซึ่งตรัสว่า “หม่อมฉันและและพระราชินีทราบข่าวด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ หม่อมฉันและพระราชินีขอแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ”[41]
  •  เดนมาร์ก : สมเด็จพระบรมราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงมีพระราชสาส์นว่า “หม่อมฉันรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ความสัมพันธ์ระหว่างสองราชวงศ์ของเราใกล้ชิดมาโดยตลอด เจ้าชายเฮนริค (พระสวามี) และหม่อมฉันขอแสดงความเสียใจมายังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนคนไทย”[42]
  •  เนเธอร์แลนด์ : สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ แห่งเนเธอร์แลนด์ ได้มีพระราชดำรัสเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในฐานะที่ทรงให้ความสำคัญต่อคุณค่าแห่งความสามัคคีและความร่วมมืออย่างสันติของประชาชนในชาติ ส่วนพระราชสาส์นของสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ ระบุว่า “หม่อมฉันรู้สึกเสียใจอย่างยิ่งที่ได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในนามของหม่อมฉันและประชาชนชาวนอร์เวย์ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ตลอดจนประชาชนคนไทยด้วย”[43] เบิร์ต โคเอนเดอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมการประชุมอาเซียน-อียู ในกรุงเทพ ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ทรงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียวของปวงชนชาวไทย นอกจากนี้กระทรวงต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ปรับข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวดัตช์ในไทย เพื่อให้เข้ากับสภาวะของการไว้ทุกข์ โดยแนะนำให้นักท่องเที่ยวเคารพกฎระเบียบและสังคมไทย[44]
  •  ฝรั่งเศส : ประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้กล่าวแสดงความอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเทิดทูนพระองค์สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน จนทำให้พระองค์เป็นที่รักของชาวไทย [45]
  •  รัสเซีย : ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้ส่งสาส์นแสดงความอาลัยใจความว่า “ตลอดหลายสิบปีที่ทรงครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นที่รักและเทิดทูนอย่างจริงใจของพสกนิกรชาวไทย และทรงเป็นที่เคารพนับถืออย่างยิ่งในต่างประเทศ”[46]
  •  เยอรมนี : นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ได้แสดงความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน โดยระบุว่า"พระองค์ได้สร้างความทันสมัยและสร้างความแข็งแกร่งต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงการครองราชย์นาน 70 ปี ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อความผาสุกของปวงชนชาวไทย" [47]

อเมริกา[แก้]

  •  แคนาดา : นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ทวีตข้อความแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย ความว่า "ข้าพเจ้าขอร่วมแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าและประชาชนชาวไทยทุกคน"
  •  เม็กซิโก : ประธานาธิบดีเอนรีเก เปญา เนียโต ทวีตข้อความแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย ความว่า "ข้าพเจ้ามีความโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง หลังได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" "ขอแสดงความเสียใจต่อประชาชนชาวไทยและรัฐบาลไทยต่อการสูญเสียในครั้งนี้"
  •  สหรัฐอเมริกา : ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แถลงการณ์แสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย โอบามากล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทรงงานอย่างทรงไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการพัฒนาบ้านเมือง ทรงอุทิศพระองค์ด้วยความแน่วแน่เพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของราษฎร ด้วยพระปรีชาสามารถด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดจนทรงใฝ่พระทัยในนวัตกรรม พระองค์ได้ทรงคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเป็นที่ยกย่องไปทั่วโลก น้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวไทยโดยเสมอมาจะเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่ชนรุ่นหลังจักเทิดทูนสืบต่อไป"
    และยังกล่าวว่า "ทรงเป็นมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐอเมริกาและทรงเป็นพันธมิตรที่ทรงค่ายิ่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลายคน ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าเมื่อคราวเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2555 ข้าพระพุทธเจ้ายังรำลึกได้ถึงพระราชจริยวัตรอันงดงามและนํ้าพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย
    [33]
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา แอชตัน คาร์เตอร์ กล่าวว่า "พวกเราขอร่วมกับประธานาธิบดี บารัก โอบามา แสดงความเสียใจมายังพระราชวงศ์ไทยและประชาชนชาวไทยทุกคนต่อการสูญเสียในครั้งนี้"[33]
  • อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน และภรรยา ตัวแทนพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2559 ฮิลลารี คลินตัน ได้ร่วมแสดงความเสียใจต่อการสวรรคต กล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้นำที่ประเสริฐและเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระองค์ทรงเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและไทย ในฐานะชาติพันธมิตรแรกของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังทรงเป็นผู้นำที่อุทิศตนเพื่อประชาราษฎร์อย่างแท้จริง" และยังกล่าวอีกว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เดินทางเยือนขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพื่อเข้าร่วมในงานเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี ทั้งยังได้มีโอกาสเฉลิมฉลองและแบ่งปันความรักในดนตรีแจ๊สร่วมกับพระองค์, และฮิลลารีก็รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์เมื่อครั้งเดินทางเยือนประเทศไทยร่วมกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา ในปี พ.ศ. 2555"[33]

เอเชีย[แก้]

  •  อาเซอร์ไบจาน : ประธานาธิบดีอิลฮัม อะลีเยฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากต่อข่าวการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เราทั้งหลายขอร่วมแสดงความอาลัยในวาระแห่งความสูญเสียอันยิ่งใหญ่"[48]
  •  บาห์เรน : สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อัลเคาะลีฟะฮ์ และมกุฎราชกุมารแห่งบาห์เรน ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรีและประชาชนชาวไทย[49] นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีบาห์เรนยังแสดงความเสียใจยังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนชาวไทยความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงถูกจดจำโดยคนรุ่นต่อไปในความพยายามของพระองค์ เพื่อสันติภาพและความมั่นคงของประชาคมโลก รวมทั้งพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย"[50]
  •  บังกลาเทศ : ประธานาธิบดีอับดุล ฮามิด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจโดยกล่าวว่า "รู้สึกตกใจอย่างที่สุดต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขอให้ดวงพระวิญญาณของพระองค์เสด็จสู่สุคติ"[51] ในขณะที่นายกรัฐมนตรีเชก ฮาซินา ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย โดยกล่าวยกย่องว่า "พระองค์ทรงเป็นที่เคารพบูชาของชาวบังกลาเทศ ทรงเป็นสัญลักษณ์ของคุณความดี การอุทิศตน และงานด้านมนุษยธรรม" และ "พระองค์จะทรงเป็นที่เคารพนับถือในใจของเราตลอดไป ในฐานะพระมหากษัตริย์ในอุดมคติ ผู้ทรงประสบความสำเร็จในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง"[52]
  •  ภูฏาน : สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ในคืนแรกแห่งการสวรรคต พระองค์ทรงนำสมาชิกพระราชวงศ์ร่วมจุดเทียนและสวดมนต์เพื่อแสดงความระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสสั่งให้วันที่ 14 ตุลาคมเป็นวันหยุดราชการ และทรงจัดให้มีการสวดมนต์แสดงความอาลัยเป็นกรณีพิเศษทั่วประเทศ[53] และในการเสด็จฯ ถวายสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระองค์ทรงพระอักษรแสดงความอาลัยความว่า "แด่พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย ผู้ซึ่งหาที่เปรียบมิได้ ทรงเปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์และเปรียบดั่งอัญมณีล้ำค่า ที่ได้ทรงเข้าสู่ปรินิพพานแล้วนั้น ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างถึงที่สุด พร้อมด้วยผู้คนที่สวดภาวนาอย่างสุดหัวใจ ขอให้พระองค์ท่านเสด็จพระราชสมภพในฐานะธรรมราชาตลอดกาล เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ทุกสรรพชีวิต"[54]
  •  จีน : ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนชาวไทยความว่า "รัฐบาลจีนของแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้พัฒนาประเทศ พระองค์ทรงเป็นผู้ขับเคลื่อนให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองแผ่นดิน คือไทย-จีนที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกไปจากกันได้ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนจะไม่มีวันแน่นแฟ้นหากปราศจากพระองค์ การที่ประเทศไทยสูญเสียพระองค์ คือการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของของประชาชนทั้งสองแผ่นดินเช่นกัน และโดยส่วนตัว ท่านประธานาธิบดีเองเชื่อว่าพระองค์จะยังคงอยู่ในใจของประชาชนทั้งสองแผ่นดินนี้ตลอดไป"[55]เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ที่ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงห่วงใยพสกนิกรเป็นอย่างยิ่ง ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อความผาสุกของพสกนิกร ทรงเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของคนไทยทั้งชาติ การสูญเสียในครั้งนี้จึงนับเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงของประชาชนชาวไทย พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายในการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างไทยกับจีน และทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากิจการด้านความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอย่างที่ยากจะหาใครเสมอเหมือนได้"[56]
  •  อินเดีย : ประธานาธิบดีประณับ มุกเคอร์จี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประเทศไทยและประชาคมโลก ได้สูญเสียผู้นำผู้ทรงไหวพริบและทุ่มเทอุทิศพระวรกาย ประเทศอินเดียได้สูญเสียเพื่อนอันเป็นที่รัก และจะสรรเสริญพระราชกรณียกิจของพระองค์ในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศตลอดไป"[57] นายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที ทวิตข้อความแสดงความเสียใจว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นที่เคารพอย่างที่สุดของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีอย่างที่สุดมายังพระบรมวงศานุวงศ์ และชาวไทย ประชาชนชาวอินเดียและข้าพเจ้าขอร่วมไว้อาลัยต่อการสูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้นำสูงสุดในช่วงเวลาของเรา" และยังได้กล่าวต่อว่า "ขอร่วมส่งใจไปยังพระราชวงศ์จักรีของไทยที่อยู่ในความทุกข์ในขณะนี้"[58]
  •  อิหร่าน : ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ความว่า "ในนามของข้าพเจ้า รัฐบาล และประชาชนแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ขอแสดงความเสียใจต่อพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาล และปวงชนชาวไทย ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" และกล่าวว่าพระองค์ "ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และมีความปราดเปรื่อง"[59][60]
  •  อิสราเอล : ประธานาธิบดีอิสราเอลส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์[61]
  •  ญี่ปุ่น : สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะทรงไว้ทุกข์ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นเวลา 3 วัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชเลขาธิการเป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญพระราชสาส์น และลงนามแสดงความอาลัย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว[62] นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความว่า "ในนามรัฐบาลญี่ปุ่นและประชาชน ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ผมจะจดจำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะที่เป็นผู้มีพระปรีชาสามารถสูงส่งและทรงมีพระราชจริยวัตรงดงาม” และกล่าวยกย่องว่า "พระองค์เป็นผู้ที่มีความปรีชาสามารถในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมจิตใจปวงชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดชทรงช่วยนำการพัฒนาและการยกระดับความเป็นอยู่ของชีวิตประชาชนไทยให้ดีขึ้น"[58] นอกจากนี้ในวันที่ 20 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติปีที่ 82 ของสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ยังได้ทรงตอบจดหมายคำถามแก่สมาคมผู้สื่อข่าวประจำสำนักพระราชวังญี่ปุ่นใจความตอนหนึ่งว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแห่งประเทศไทยเปรียบเสมือนพี่ชายผู้แสนดี" ด้วยเช่นกัน[63]
  •  คาซัคสถาน : ประธานาธิบดีนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงสถิตย์อยู่ในความทรงจำของชาวคาซัคสถานตลอดไป ในฐานะผู้นำผู้ทรงมีวิสัยทัศน์และมีพระราชจริยวัตรอันโดดเด่น ที่ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้น"[65]
  •  เกาหลีใต้ : ประธานาธิบดีพัก กึน-ฮเย ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทยโดยกล่าว "แสดงความเสียใจอย่างที่สุดต่อพระราชวงศ์ และประชาชนชาวไทยต่อการจากไปของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นบิดาและผู้นำทางจิตใจของไทย ทรงทำให้ประชาชนชาวไทยมีความเป็นหนึ่งเดียว และสร้างความทันสมัยให้กับไทย ความเป็นผู้นำของพระองค์ท่านจะสถิตและเป็นที่รักและเคารพยิ่งของประชาชนชาวไทย"[66]
  •  คูเวต : สมเด็จพระราชาธิบดีเศาะบาห์ อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาห์ ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เช่นเดียวกับมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งคู่เวต รวมทั้งประธานสภาแห่งชาติ[67]
  •  คีร์กีซสถาน : ประธานาธิบดีอัลมัซเบค อาตัมบาเยฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยกล่าวยกย่องพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และขอร่วมแสดงความอาลัยอย่างจริงใจในช่วงเวลาอันยากลำบากของประเทศไทย[68]
  •  มัลดีฟส์ : ประธานาธิบดีอับดุลลาห์ ยามีน ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากเมื่อทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในปัจจุบัน การอุทิศพระองค์เพื่อความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ยากไร้ในชนบทจะถูกจดจำตลอดไป"[69] และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นผู้แทนพิเศษเดินทางมาถวายความเคารพพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[70]
  •  มองโกเลีย : ประธานาธิบดีซาคีอากีอิน เอลเบกดอร์ช ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงประทับอยู่ในความทรงจำและในจิตใจของเรา ในฐานะที่ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของคนในชาติ ผู้ทรงอุทิศชีวิตและจิตวิญญาณของพระองค์เพื่อการพัฒนาประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน"[71]
  •  เนปาล : ประธานาธิบดีพิทยา ภัณทารี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยกล่าวแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสวรรคตของพระมหากษัตริย์ไทยอันเป็นที่เคารพรักยิ่ง ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเนปาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนปาลได้ทรงสาส์นแสดงความเสียใจมายังประเทศไทยเช่นกัน[72]
  •  ปากีสถาน : นายกรัฐมนตรีนาวาซ ชาริฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความว่า "ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ต่อการสูญเสียผู้นำอันเป็นที่รักและเคารพมากที่สุด การเสด็จฯ เยือนปากีสถานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ. 2505 ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำในฐานะก้าวย่างสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-ปากีสถาน ประชาชนและรัฐบาลปากีสถานยังคงรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระราชทานความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอาซาดจัมมูและแคชเมียร์ในปี พ.ศ. 2548 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงนำสิ่งของบรรเทาทุกข์มายังปากีสถานด้วยพระองค์เอง"[74][66]
  •  กาตาร์ : สมเด็จพระราชาธิบดีตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ รองเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ และนายกรัฐมนตรีกาตาร์ ส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[75]
  •  ซาอุดีอาระเบีย : สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดัลอะซิซ อาล สะอูด ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารความว่า "ข้าพเจ้ารับทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ข้าพเจ้าในนามของรัฐบาลซาอุดีอาระบียและประชาชน ขอแสดงความเสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้งต่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร พระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาลไทย ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่อการสูญเสียอันใหญ่หลวงในครั้งนี้" เช่นเดียวกับมกุฎราชกุมาร และรองมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย[76]
  •  ศรีลังกา : ประธานาธิบดีไมตรีพาลา สิริเสนา และนายกรัฐมนตรีศรีลังกา เดินทางไปลงนามแสดงความอาลัย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำศรีลังกา โดยประธานาธิบดีได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ได้ทรงกระชับความสัมพันธ์ระหว่างศรีลังกากับไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในขณะที่นายกรัฐมนตรีศรีลังกาลงนามตอนหนึ่งว่า "ไม่อาจลืมพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ได้ทรงทำให้ประเทศไทย และประชาชนชาวไทยพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว"[77]
  •  ไต้หวัน : ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ได้เดินทางไปลงนามแสดงความอาลัย ณ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ในกรุงไทเป โดยกล่าวว่า "ในนามของประชาชนสาธารณรัฐจีน ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนคนไทยทุกคนสำหรับการสูญเสียกษัตริย์ที่ดีที่สุด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"[78]
  •  ฮ่องกง : ผู้ช่วยหัวหน้าผู้บริหารเกาะฮ่องกง แคร์รี่ แลม กล่าวแสดงความเสียใจต่อกรณีเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวฮ่องกง ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง โดยประชาชนชาวฮ่องกงจะร่วมไว้อาลัยต่อการสูญเสียครั้งนี้เช่นกัน[79]
  •  ติมอร์-เลสเต : รัฐบาลติมอร์-เลสเตส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประเทศไทย[80]
  •  เติร์กเมนิสถาน : ประธานาธิบดีกูร์บันกูลืย เบียร์ดีมูฮาเมดอฟ ส่งสาสน์แสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ในนามของประชาชนชาวเติร์กเมนิสถาน และในนามส่วนตัว โดยกล่าวแสดงความเสียใจอยากสุดซึ้ง และเป็นกำลังใจให้พระญาติและพระสหายของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดจนประชาชนชาวไทย[81]
  •  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ : ประธานาธิบดีเคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน นายกรัฐมนตรีมุฮัมมัด บิน รอชิด อัลมักตูม และมกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยความว่า "ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรียูเออี รวมทั้งมกุฏราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี ขอแสดงความอาลัยต่อข่าวการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอแสดงความเสียใจและความเห็นใจอย่างจริงใจต่อรัฐบาลและประชาชนชาวไทยในนามของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่อการสูญเสีย และขอแสดงความเสียใจเป็นการส่วนพระองค์ต่อพระราชวงศ์ และขอให้ประเทศไทยประสบความเจริญรุ่งเรืองและมีเสถียรภาพสืบไป"[66]
  •  อุซเบกิสถาน : รักษาการประธานาธิบดีชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยกล่าวแสดงความอาลัยต่อการสูญเสียรัฐบุรุษผู้ทรงคุณอันโดดเด่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[82]
อาเซียน[แก้]
  •  บรูไน : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีความตอนหนึ่งว่า "การเสียสละและความรักอย่างไร้ขีดจำกัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชต่อปวงประชาไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ตราตรึงในจิตใจของประชาชนชาวไทย แต่ยังได้รับการเคารพยกย่องไปทั่วโลก ตลอดช่วง 70 ปีในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว พระบิดาของชาวไทยจะไม่เพียงแต่อยู่ในหัวใจของผู้ที่ใกล้ชิดกับพระองค์เท่านั้น แต่จะทรงอยู่ในใจของผู้คนที่พระองค์ทรงได้เปลี่ยนแปลง" และทรงมีพระราชสาส์นมายังนายกรัฐมนตรี ความตอนหนึ่งว่า "การอุทิศตนเพื่อปวงประชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกรจะเป็นที่จดจำตลอดไป"[83][84]
  •  กัมพูชา : สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรี โดยกล่าวว่า "การสวรรคตนี้ถือเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทย พสกนิกรไทย มิตรของไทยทั่วโลก รัฐบาลและประชาชนกัมพูชาขอน้อมถวายและขอส่งความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังสมเด็จพระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนไทย"[66][85]
  •  อินโดนีเซีย : ประธานาธิบดีโจโก วีโดโด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจ โดยกล่าวว่า "โลกได้สูญเสียผู้นำที่ใกล้ชิดกับประชาชน เป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาเซียนและของโลก"[86][87]
  •  ลาว : บุนยัง วอละจิด ประธานประเทศลาว ส่งสาส์นแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีความตอนหนึ่งว่า "พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมและเสียสละอย่างใหญ่หลวง ทรงมีบทบาทอย่างสำคัญในการปรับปรุงและกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับราชอาณาจักรไทย การสวรรคตจึงเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงของชาวไทยและเป็นการสูญเสียมิตรของชาวลาว" ในขณะที่นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย[88]
  •  มาเลเซีย : สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย[89] เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ที่ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมีความตอนหนึ่งว่า "พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่สูงส่ง การอุทิศพระองค์เพื่อประเทศไทยและภูมิภาคนั้นมากเกินกว่าคำบรรยายใด"[90]
  •  พม่า : ประธานาธิบดีทีนจอ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีไทย[91] ในขณะที่ ออง ซาน ซูจี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกล่าวแสดงความเสียใจระหว่างการประชุมบิมสเทกที่ประเทศอินเดีย[92]
  •  ฟิลิปปินส์ : ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความตอนหนึ่งว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชยาวนานที่สุดในโลก แต่ยังเป็นผู้นำทางประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย"[93]
  •  สิงคโปร์ : นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง กล่าวแสดงความเสียใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก อีกทั้งยังทรงเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทยทุกคน เพราะพระองค์ทรงอุทิศตนเพื่อประชาชนของพระองค์ และเพื่อประเทศชาติ เพราะพระองค์ต้องการให้ประชาชนในประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดี พระองค์ทรงใช้ความสามารถที่มีและพระราชอำนาจเพื่อปกครองประเทศให้เป็นปึกแผ่น"[94]
  •  เวียดนาม : ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ส่งสาส์นแสดงความเสียใจถึงพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย โดยมีใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ 70 ปี โดยพระองค์ทรงเสียสละเพื่อให้ประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งการเสด็จสวรรคตของพระองค์เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนอาเซียนและปวงชนชาวไทย เวียดนามตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องจากทรงมีส่วนร่วมกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยในหลายปีที่ผ่านมาและหวังว่า ประเทศไทยจะฟันฝ่าความสูญเสียครั้งนี้ไปได้และพัฒนาก้าวรุดหน้าต่อไปตามความปรารถนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"[95]

แอฟริกา[แก้]

  •  ไลบีเรีย : ประธานาธิบดีเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังรัฐบาลแห่งประชาชนชาวไทย ความว่า "พวกเราต่างทราบว่านี่คือเหตุการณ์ที่สะเทือนใจและความโศกเศร้าอันใหญ่หลวงจากการสูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย[96]
  •  ไนจีเรีย : [97]
  •  แอฟริกาใต้ : [98]

ออสเตรเลีย[แก้]

  •  ออสเตรเลีย : นายกรัฐมนตรีแมลคัม เทิร์นบุลล์ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย ความว่า "ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวออสเตรเลีย ข้าพเจ้าขอถวายความอาลัยแด่พระราชวงศ์ของไทยและร่วมแสดงความเสียใจกับประชาชนชาวไทยในช่วงเวลาที่โศกเศร้านี้ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของทวีปเอเชีย ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้เติบโตจากประชากร 20 ล้านคน เป็นกว่า 67 ล้านคนในปัจจุบัน และมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยอดเยี่ยม ประชาชนชาวไทยในออสเตรเลียซึ่งมีจำนวนประมาณ 50,000 คน จะร่วมถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วยเช่นเดียวกัน"[33]
  •  นิวซีแลนด์ : นายกรัฐมนตรีจอห์น คีย์ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประชาชนไทยโดยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัตินานที่สุดในโลก และได้ทรงพัฒนาประเทศจนเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศสำคัญของภูมิภาคนี้ และเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจสำคัญชาติหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่พระองค์ครองราชย์ นิวซีแลนด์และไทยได้พัฒนาความสัมพันธ์จนกลายเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด ซึ่งต่างปรารถนาให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคนี้" และยังขอร่วมแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวไทยในครั้งนี้ด้วย [33]

ผลกระทบ[แก้]

มีกลุ่มประชาชนบางส่วนออกมาโจมตีต่อผู้ที่ไม่สวมเสื้อดำ แสดงการไว้ทุกข์ เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าการล่าแม่มด บางส่วนมีพฤติกรรมรุนแรง ถึงขั้นประจานทางสื่อออนไลน์[99] จากเหตุการณ์ดังกล่าว พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้ประชาชนที่ไม่สามารถจัดหาเสื้อผ้าสีดำหรือสีขาวมาร่วมแสดงความอาลัยได้ สามารถติดริบบิ้นหรือโบสีดำบนหน้าอกเสื้อหรือที่แขนเสื้อบริเวณต้นแขนเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ความอาลัยได้เช่นกัน[100][101]
นอกจากนี้ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ออกมาปิดล้อมบ้านของลูกชายเจ้าของร้านน้ำเต้าหู้ที่โพสต์ข้อความค่อนข้างหมิ่นต่อสถาบัน [102] เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่าโพสต์นั้นมิได้มีเนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันแต่อย่างใด แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้าควบคุมตัวชายคนนั้นในข้อหาหมิ่นสถาบัน ได้เกิดเหตุการณ์คล้ายคลึงกันในจังหวัดพังงา[103]

รายนามผู้นำและบุคคลสำคัญของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ[แก้]

ผู้นำและบุคคลสำคัญของแต่ละประเทศ ตลอดจนผู้แทนพระองค์หรือผู้แทนพิเศษของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จ และเดินทางมาร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และลงพระนามและลงนามแสดงความอาลัย ณ ศาลาว่าการพระราชวัง และอาคารสำนักราชเลขาธิการ มีรายพระนามและรายนามดังต่อไปนี้
ประเทศตำแหน่งชื่อวัน
 ภูฏานสมเด็จพระราชาธิบดีสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก16 ตุลาคม[104]
สมเด็จพระราชินีสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก
 บาห์เรนนายกรัฐมนตรีเคาะลีฟะฮ์ บิน ซัลมาน อัลเคาะลีฟะฮ์18 ตุลาคม[105]
 สิงคโปร์นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง และภริยา21 ตุลาคม[106]
 มัลดีฟส์ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด ซาอิด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจ)21 ตุลาคม[107]
 เกาหลีใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารผ่านศึกเกาหลีใต้ปาร์ค ซุง ชอน21 ตุลาคม[108]
 มาเลเซียนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ และภริยา22 ตุลาคม[109]
 กัมพูชานายกรัฐมนตรีสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน22 ตุลาคม[110]
รองนายกรัฐมนตรีเตีย บัญ
 จีนผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีหลี่ หยวนเฉา (รองประธานาธิบดี)22 ตุลาคม[111]
 ลาวนายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิด24 ตุลาคม[112]
 สิงคโปร์ประธานาธิบดีโทนี ตัน เค็ง ยัม24 ตุลาคม[113]
 ASEANรักษาการผู้แทนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อัลคอง เมย์ยอง24 ตุลาคม[114]
 ออสเตรเลียประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเครือรัฐออสเตรเลียจิลเลียน ทริกส์25 ตุลาคม[115]
 สหรัฐอเมริกาผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาแดเนียล รัสเซล25 ตุลาคม[116]
 อินโดนีเซียประธานาธิบดีโจโก วีโดโด และภริยา25 ตุลาคม[117]
 แกมเบียผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีบาลา การ์บา จาฮุมปา
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โยธาธิการ และการสื่อสาร)
25 ตุลาคม[118]
 เวียดนามนายกรัฐมนตรีเหงียน ซวน ฟุก28 ตุลาคม[119]
 ศรีลังกาประธานาธิบดีไมตรีพาลา สิริเสนา30 ตุลาคม[120]
 เลโซโทสมเด็จพระราชาธิบดีสมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท2 พฤศจิกายน[121]
 พม่าประธานาธิบดีถิ่น จอ9 พฤศจิกายน[122]
 ฟิลิปปินส์ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต9 พฤศจิกายน[123]
 เบลเยียมผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดีนิโคลัส นิอง (อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตเบลเยียมประจำประเทศไทย)9 พฤศจิกายน[124]
 อินเดียนายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที10 พฤศจิกายน[125]
 ศรีลังกาประธานสงฆ์อมรปุระนิกายพระสังฆราชวัสกตุเว มหินทวังสะ11 พฤศจิกายน[126]
 อิสราเอลนักวิทยาศาสตร์ รางวัลโนเบล สาขาเคมี พ.ศ. 2547ศาสตราจารย์อารอน ชิแชนโนเวอร์14 พฤศจิกายน[127]
 บังกลาเทศผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีเบกุม ตารานา ฮาลิม (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ)15 พฤศจิกายน[128]
 ตองกามกุฎราชกุมารเจ้าชายตูโปอูโตอา อูลูกาลาลา15 พฤศจิกายน[129]
 สหรัฐอเมริการองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดับเบิ้ลยู แพทริค เมอร์ฟี18 พฤศจิกายน[130]
 สหประชาชาติผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติยูริ เฟดโอทอฟ18 พฤศจิกายน[131]
 ติมอร์-เลสเตผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีแอร์นานี ฟีโลเมนา โกเอลยา ดา ซิลวา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต)22 พฤศจิกายน[132]
ผู้แทนจากองค์กรโซคาสากลองค์กรโซคาสากล22 พฤศจิกายน[133]
 ASEANคณะกรมข่าวภาคีอาเซียนกรมข่าวภาคีอาเซียน22 พฤศจิกายน[134]
 รัสเซียที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงมอสโก และหัวหน้าฝ่ายการต่างประเทศของรัฐบาลกรุงมอสโกเซอร์เก้ อี.เชอร์มิน28 พฤศจิกายน[135]
 ญี่ปุ่นอดีตนายกรัฐมนตรียุคิโอะ ฮะโตะยะมะ28 พฤศจิกายน[136]
 รัสเซียผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีอันเดรย์ คลีซัส (ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งรัฐสภาสหพันธรัฐรัสเซีย)30 พฤศจิกายน[137]

พระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ[แก้]

พระราชพิธีถวายน้ำสรงบรมพระศพ
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 นาฬิกาโดยประมาณ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งยังพระที่นั่งพิมานรัตยา ในพระบรมมหาราชวังในการถวายสรงน้ำพระบรมศพ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จเข้าสู่ภายในพระฉาก ซึ่งพระบรมศพบรรทมอยู่บนพระแท่น
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระบรมศพบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยราชสักการะพระบรมศพ ทรงรับขวดน้ำพระสุคนธ์ โถน้ำอบไทยและโถน้ำขมิ้น ถวายสรงที่พระบรมศพ ต่อจากนั้น ทรงหวีเส้นพระเจ้าพระบรมศพขึ้นครั้งหนึ่ง หวีลงอีกครั้งหนึ่ง แล้วหวีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงหักพระสางนั้นวางไว้ในพานซึ่งเจ้าพนักงานเชิญอยู่ จากนั้นเสด็จฯ ไป​ทรง​ถวายซองพระศรีบรรจุดอกบัวและธูปเทียน แผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์ พระชฎาห้ายอดวางข้างพระเศียรพระบรมศพ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระบรมศพลงสู่หีบ ตำรวจหลวงเชิญหีบพระบรมศพไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินและเสด็จตาม ตำรวจหลวงเชิญหีบพระบรมศพขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าเบื้องหลังพระฉากและพระแท่นสุวรรณเบญจดล ประกอบพระลองทองใหญ่ ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร แวดล้อมด้วยเครื่องสูงหักทองขวาง บังแทรก ชุมสาย ต้นไม้ทองเงิน ณ มุขตะวันตก พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
เสร็จแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงวางพวงมาลาที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยและเครื่องราชสักการะพระบรมศพ ทรงกราบ แล้วทรงจุดเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่หน้าพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์เที่ยวละ 10 รูป ทรงทอดผ้าไตรเที่ยวละ 10 ไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์ เมื่อครบ 100 รูป ทรงหลั่งทักษิโณทก ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงกราบ และเสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ จากนั้นทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชากระบะมุกที่หน้าพระแท่นเตียงพระสวดพระอภิธรรม ณ มุขหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จากนั้น เสด็จลงบันไดมุขกระสันด้านทิศเหนือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ

การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ[แก้]

หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ[แก้]

สำนักพระราชวัง กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร (7 วัน) ในวันที่ 19 – 20 ตุลาคม 2559
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวาร (15 วัน) ในวันที่ 27 - 28 ตุลาคม 2559
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน) ในวันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2559
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน) ในวันที่ 20 - 21 มกราคม 2560[138]

พิธีถวายเลี้ยงภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระพิธีธรรม[แก้]

นับตั้งแต่ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการถวายภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ระหว่างการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ครบทั้ง 100 วัน ถึง วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เวลา 7 นาฬิกา และเวลา 11 นาฬิกา

พระพิธีธรรมพิธีสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ[แก้]

นับตั้งแต่คืนของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ตลอด 100 วัน ถึง วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในเวลา 15 นาฬิกา เวลา 19 นาฬิกา และเวลา 21 นาฬิกา

การให้หน่วยงานหรือบุคคลต่างๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม[แก้]

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตให้ราชสกุล องคมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน) ถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2559
ผู้มีความประสงค์ขอเป็นเจ้าภาพร่วมบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สามารถแสดงความจำนงขอเป็นเจ้าภาพได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

หีบพระบรมศพ[แก้]

นายพรเทพ สุริยา เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวว่า สำนักพระราชวังได้ติดต่อให้จัดสร้างหีบพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสร้างหีบพระบรมศพทรงหลุยส์ผสมทองคำแท้ 100 % จากแผ่นไม้สักทองอายุมากกว่า 100 ปีขนาดใหญ่เพียงแผ่นเดียวไม่มีรอยต่อ ขนาดความกว้าง 29 นิ้ว ความยาว 2.15 เมตร วัดรอบหีบทั้งใบ 229 นิ้ว ทั้งนี้ใช้เวลาประกอบทันทีหลังการเสด็จสวรรคต
เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวเพิ่มเติมว่า หีบพระบรมศพดังกล่าวแกะสลักลายกุหลาบไทยผสมผสานลายหลุยส์ รอบหีบปิดด้วยทองคำแท้ ภายในหีบพระบรมศพ ใช้ผ้าไหมสีงาช้าง มีที่รองที่บรรทม และซีลภายในเพื่อความแข็งแรง ส่วนผ้าคลุมเป็นผ้าไหมปักดิ้นทอง ซึ่งทางสุริยาเป็นผู้ออกแบบเองทั้งหมด[139]

การประโคมย่ำยาม[แก้]

การบรรเลงดนตรีไทยในงานพระราชพิธี ถือว่าเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นส่วนหนึ่งในของงานพระราชพิธีที่บรรเลงตามขั้นตอนของงานพระราชพิธี คู่กับวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง แต่เดิมการประโคมดนตรีที่เป็นลักษณะประโคมย่ำยาม มีเฉพาะของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง เท่านั้น ประกอบด้วยวงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ มีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง คือ
  • ยาม 1 เวลา 06.00 น.
  • ยาม 2 เวลา 09.00 น.
  • ยาม 3 เวลา 12.00 น.
  • ยาม 4 เวลา 15.00 น.
  • ยาม 5 เวลา 18.00 น.
  • ยาม 6 เวลา 21.00 น.
ในการประโคมงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการประโคมย่ำยามด้วย ดังนั้น จึงมี 2 หน่วยงานเข้าร่วมประโคม คือ
  • วงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง (วงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ)
  • วงปี่พาทย์นางหงส์ ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
การประโคมย่ำยาม มีขั้นตอนเรียงลำดับ ดังนี้
  • วงประโคมลำดับที่ 1 คือ วงแตรสังข์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ประโคม “เพลงสำหรับบท” จบแล้ว วงประโคมวงที่ 2 จึงเริ่มขึ้น
  • วงประโคมลำดับที่ 2 คือ วงปี่ไฉนกลองชนะ (หรือเรียกว่า วงเปิงพรวด) ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ปี่ไฉน กลองชนะ เปิงมาง “ประโคมเพลงพญาโศกลอยลม” จบแล้ว วงประโคมวงที่ 3 จึงเริ่มขึ้น
  • วงประโคมลำดับที่ 3 คือ วงปี่พาทย์นางหงส์ ประกอบด้วย ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง “ประโคมเพลงชุดนางหงส์”
เมื่อประโคม ครบทั้ง 3 วงแล้ว ก็ถือว่าเสร็จการประโคมย่ำยาม 1 ครั้ง การที่กรมศิลปากร นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาประโคมย่ำยามนั้น
แต่โบราณดั้งเดิม ไม่ได้มี “วงปี่พาทย์” ร่วมประโคมย่ำยาม จะมีแต่เฉพาะ “วงแตรสังข์ และ วงปี่ไฉนกลองชนะ” ของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวังและวงกลองสี่ปี่หนึ่ง (ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว) ประโคมในงานพระบรมศพ พระศพ เท่านั้น

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ[แก้]

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กำหนดจะมีขึ้นประมาณช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560[140] หลังจากการจัดสร้างพระเมรุมาศแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน 2560 ตามแผนที่กำหนดไว้[141] โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์วินิจฉัยในการจัดสร้างพระเมรุมาศ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอำนวยการพระราชพิธีในครั้งนี้ [142]

การเตรียมจัดงานพระราชพิธี[แก้]

การจัดสร้างพระเมรุมาศ[แก้]

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างเป็นครั้งแรก โดยมีพลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นประธาน โดยได้มีการเปิดเผยร่างแบบพระเมรุมาศ พร้อมด้วยพระโกศจันทร์ ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศฯ โดยยึดหลักแนวคิดในการออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศตามหลักโบราณราชประเพณีการสร้างพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สำหรับผู้ออกแบบพระเมรุมาศ ประกอบด้วย นายสัตวัน ฮ่มซ้าย ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมชำนาญการ นายธีรชาติ วีรยุทธานนท์ สถาปนิกชำนาญการ[143]
สำหรับการจัดเตรียมพื้นที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานครได้จัดกิจกรรม Big Cleaning Day พื้นที่โดยรอบสนามหลวงและพระบรมมหาราชวังในวันที่ 1 และ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น จะส่งมอบพื้นที่ให้กรมศิลปากร จัดสร้างพระเมรุมาศ ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560 โดยการจัดสร้างในทุก ๆ ด้าน คาดว่าจะให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ตามแผนที่กำหนดไว้ และจะมีการจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องเป็นเวลา 2 เดือน ก่อนจะมีการรื้อถอน[144]
องค์ประกอบพระเมรุมาศ[แก้]
พระเมรุมาศ ออกแบบโดยยึดถือคติตามโบราณราชประเพณี รูปแบบเฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์ เป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก สูง 50.49 เมตร มีชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผังพื้นที่ใช้งานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 60 เมตร มีบันไดทั้งสี่ด้าน ฐานยกพื้นที่สูง มี 3 ชั้น ชั้นบน ที่มุมทั้งสี่ ประกอบด้วย ซ่างทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอนห้าชั้น สำหรับพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ฐานชั้นที่ 2 ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมสิ่งก่อสร้างมีเครื่องยอดนับรวมได้ 9 ยอด โดยยอดกลางจะเปรียบเหมือนเป็นเขาพระสุเมรุ และอีก 8 ยอดเป็นเหมือนยอดเขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งเปรียบเป็นระบบจักรวาล โดยเปรียบพระมหากษัตริย์เป็นเหมือนสมมติเทพ
ทั้งนี้ มีเสาโครงเป็นครุฑและสัตว์หิมพานต์ ซึ่งครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ มีความเชื่อตามสมมติเทพว่า พระมหากษัตริย์เป็นพระนารายณ์อวตารลงมา
อาคารประกอบพระราชพิธี[แก้]
  • พระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวยกฐานสูง ขนาดกว้าง 44.50 เมตร ยาว 155 เมตร ซึ่งเป็นที่ประทับและบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธี รวมทั้งมีที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน สมาชิกรัฐสภา ตลอดจนคณะทูตานุทูต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ภายในพระที่นั่งทรงธรรม และเป็นที่ตั้งอาสนะพระสงฆ์ และธรรมมาสน์ เป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล รองรับได้ประมาณ 2,800 ที่นั่ง
  • ซ่าง เป็นทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอนห้าชั้น ที่นั่งสำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ
  • ศาลาลูกขุน แบบที่ 1 ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ สำนักพระราชวัง และสำนักราชเลขาธิการ
  • ศาลาลูกขุน แบบที่ 2 ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการและผู้ที่เข้ามาร่วมในพระราชพิธี
  • ศาลาลูกขุน แบบที่ 3 ใช้เป็นที่เฝ้าของสมาชิกราชสกุล ราชินิกูลทุกมหาสาขา ตลอดจนข้าทูลละอองธุลีพระบาท และผู้ที่เข้ามาร่วมในพระราชพิธี
  • ทับเกษตร ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการ และผู้ที่เข้ามาร่วมในพระราชพิธี พักและฟังสวดพระอภิธรรม
  • ทิม สำหรับเจ้าพนักงาน พระสงฆ์ แพทย์หลวงพัก ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการ และผู้ที่เข้ามาร่วมในพระราชพิธี และใช้เป็นที่ตั้งเครื่องประโคมและทำเป็นห้องสุขา
  • พลับพลายกท้องสนามหลวง อยู่ด้านนอกเขตรั้วราชวัติด้านทิศเหนือ ใช้สำหรับที่ประทับ สำหรับเสด็จรับพระบรมศพลงจากราชรถ สู่พระยานมาศสามลำคาน
  • พลับพลายกหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ใช้สำหรับที่ประทับ สำหรับเสด็จรับพระบรมศพจากพระยานมาศสามลำคาน สู่ราชรถ
  • พลับพลายกพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท อยู่ด้านหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท หน้าพระบรมมหาราชวัง สำหรับเจ้านายฝ่ายในประทับ ทอดพระเนตรกระบวน และถวายบังคมพระบรมศพ
  • เกยลา ตั้งอยู่ด้านหน้าประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง สำหรับอัญเชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนพระยานมาศสามลำคาน
การออกแบบภูมิทัศน์และงานศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศ[แก้]
การออกแบบภูมิทัศน์ จะเป็นการจำลองพระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีการสร้างสระน้ำบริเวณ 4 มุม และได้จำลองกังหันชัยพัฒนา เครื่องดันน้ำ ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริ ในการออกแบบงานศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศ ประกอบด้วย งานศิลปกรรมประกอบอาคาร ฉัตร เทวดา สัตว์หิมพาน ประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ งานเขียนฉากบังเพลิงและจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[145]

การจัดสร้างพระโกศจันทน์[แก้]

การจัดสร้างพระโกศจันทน์ กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ โดยนายช่างศิลปกรรมอาวุโสเป็นผู้ออกแบบ[146] ซึ่งไม้จันทน์ที่จะนำมาใช้ในครั้งนี้ มาจากอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้มีพิธีบวงสรวงและเริ่มพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอมตามโบราณราชประเพณี ณ บริเวณชายป่าใกล้อ่างเก็บน้ำย่านซื่อ เมื่อดำเนินการตัดไม้จันทน์หอมแล้วเสร็จ จะมีการแปรรูปและส่งมอบไม้ให้กรมศิลปกรประมาณปลายเดือนธันวาคม พ.ศ.2559 และจะเริ่มสร้างพระโกศไม้จันทน์ช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ.2560

ของที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีพระบรมศพ[แก้]

หนังสือที่ระลึกงานพระบรมศพ[แก้]

หนังสือพระราชทาน[แก้]

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักราชเลขาธิการจัดพิมพ์หนังสือพระราชทาน สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชวงศ์ องคมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้ที่เข้าร่วมในการพระราชพิธีเป็นที่ระลึกอนุสรณ์วิทยาทาน เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 7 วัน 15 วัน 50 วัน และ 100 วัน ดังต่อไปนี้
  • หนังสือพระอภิธรรมภาษาบาลีและคำแปลเป็นภาษาไทย จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 7 วัน[147]
  • หนังสือพระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทย ทรงครองราชย์ครบหมื่นวัน จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 15 วัน[148]
  • หนังสือการประดิษฐานพระบรมโกศ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 15 วัน[149]

หนังสือที่จัดทำโดยรัฐบาล[แก้]

หนังสือที่จัดทำโดยหน่วยงานและองค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์[แก้]

หนังสือที่จัดทำโดยหน่วยงานและองค์กรทางศาสนา[แก้]


ที่มา ; เว็บ วิกิพีเดีย

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

-คลากรการศึกษา  ที่ 

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม