หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 1 พฤศจิกายน 2559

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี  1  พฤศจิกายน  2559

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 1 พฤศจิกายน 2559
http://www.thaigov.go.th

                    วันนี้ ( 1 พฤศจิกายน  2559) เวลา 09.00 . ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
                    ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ และพันเอกหญิง ทักษดา สังขจันทร์                ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ได้ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี  ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้





กฎหมาย

                    1.        เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ
                                        ยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการชำระเงิน
                                        ทางอิเล็กทรอนิกส์)
                    2.        เรื่อง     ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล                                           สำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ....
                    3.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิต                                เชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ พ.. ….
                    4.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (.. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน                                         พ.. 2535
                    5.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปรามปราม
                                        การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพ                                        ทำลายล้างสูง รวม 2 ฉบับ
                    6.        เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์ เป็นสินค้า
                                        ที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังกลุ่มตอลิบาน                                         (Taliban) พ.ศ. ....
                    7.        เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้า
                                        ที่ต้องห้ามส่งออก และห้ามนำผ่านไปยังสาธารณรัฐแอฟริกากลาง พ.. ....





เศรษฐกิจ- สังคม

                    8.        เรื่อง     ขออนุมัติดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม – หัวหิน และช่วง                               หัวหิน –ประจวบคีรีขันธ์
                    9.        เรื่อง     ขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ
                    10.      เรื่อง     โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1
                    11.      เรื่อง     โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid)  ที่                                                  อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
                    12.      เรื่อง     การขอยกเว้นเงื่อนไขการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครู                                  และบุคลากรทางการศึกษา
                    13.      เรื่อง     ทบทวนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว
                                        ปีการผลิต 2559/60 ด้านการตลาด 
                    14.      เรื่อง     ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิต                                                  ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2559/60

                    15.      เรื่อง     การตรวจสอบคุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยและหลักเกณฑ์ในการโอนเงิน                                     ภายใต้มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย (มาตรการส่งเสริม                                                 คุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อย)





ต่างประเทศ

                    16.      เรื่อง     ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร                                           ไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดน                                    แห่งใหม่ที่บ้านหนองเอี่ยน – สตึงบท
                    17.      เรื่อง     การขยายเวลาพำนักในราชอาณาจักรไทย รวม 90 วัน สำหรับผู้ป่วยและผู้ติดตาม                                        กรณีเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาล ในกลุ่มประเทศ CLMV และสาธารณรัฐ                                 ประชาชนจีน
                    18.      เรื่อง     การรับรองร่างปฏิญญานิวเดลีและแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชีย                                  สำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชียว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ                                        ประจำปี พ.ศ. 2559 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
                    19.      เรื่อง     การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ภายใต้วาระการ                                                 พัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Adelaide 3R Declaration towards the                                            Promotion of Circular Economy in Achieving the Resource Efficient                                                  Societies in Asia and the Pacific under the 2030 Agenda for                                                     Sustainable Development)





แต่งตั้ง

                    1.        เรื่อง     รัฐบาลสาธารณรัฐเบลารุสเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม                                               แห่งสาธารณรัฐเบลารุสประจำประเทศไทย (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    2.        เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
                    3.        เรื่อง     แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา
                    4.        เรื่อง     การบรรจุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษากลับเข้ารับราชการเป็น                                                  ข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการวิจัย                                      แห่งชาติ (บริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    5.        เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    6.        เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                  (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    7.        เรื่อง     การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำ
                                        สำนักนายกรัฐมนตรี






*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396




กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่...)
พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์)                ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการ               ต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ต้องจ่ายไปตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมี             มติเห็นชอบร่างกฎหมายตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด
                    2. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ต้องจ่ายไปตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพกรประกาศกำหนด

2. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา                 แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบ
                    1. กำหนดให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือ ค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. 2534
                    2. กำหนดให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเอง คู่สมรสและบุตรซึ่งได้อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นการประจำกับผู้มีสิทธิ ขณะที่อยู่ในประเทศที่ผู้มีสิทธิประจำการ กรณีผู้มีสิทธิได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานในต่างประเทศ ซึ่งมิใช่ประเทศที่ประจำการ เกิดเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของประเทศนั้น ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ตามระเบียบนี้
                    3. กำหนดให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึง
คนที่สาม
                    4. กำหนดให้กรณีที่ผู้มีสิทธิ คู่สมรสหรือบุตรได้รับอนุมัติให้เดินทางไปเข้ารับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศซึ่งมิใช่ประเทศที่ข้าราชการประจำการ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเอง คู่สมรสและบุตร ตามระเบียบนี้
                    5. กำหนดให้อัตราเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ให้เบิกได้ตามรายการที่กำหนด
                    6. กำหนดให้กรณีผู้เข้ารับการักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือคู่สมรส หากพักห้องพิเศษเตียงเดี่ยว ให้หักร้อยละยี่สิบของค่าห้องและค่าอาหารที่จ่ายจริง ก่อนนำไปรวมเป็นค่ารักษาพยาบาล เว้นแต่ ในกรณีที่แพทย์ผู้ทำการรักษาเห็นว่ามีเหตุผลความจำเป็นต้องพักห้องพิเศษเตียงเดี่ยว ให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้า ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณที่จะพิจารณาให้นำค่าห้องและค่าอาหารไปรวมเป็น              ค่ารักษาพยาบาล โดยไม่ต้องหักร้อยละยี่สิบ
                    7. กำหนดให้ค่ายาที่จะนำมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาล ต้องเป็นยารักษาโรคโดยแท้ ไม่ใช่ยาประเภทประเทืองผิว ยาบำรุงทุกชนิด ยาสระผม ครีม ยาสีฟัน เครื่องสำอาง เครื่องอาหารกระป๋อง และกำหนดให้เครื่องใช้ในการรักษาพยาบาล เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ แม้จะต้องใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ก็ตาม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจตาเพื่อทำแว่นตาหรือเลนส์สัมผัส ค่าแว่นตาหรือค่าเลนส์สัมผัส ไม่อยู่ในข่ายที่จะนำมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาล
                    8. กำหนดให้การอนุมัติเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ และการอนุมัติเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิแต่ละคนในแต่ละครั้ง ถ้าเป็นเงินจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณอาจมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าสำนักงานก็ได้ เว้นแต่ การอนุมัติเบิกเงินช่วยเหลือ ค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้าสำนักงาน
                    9. กำหนดให้การขอเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินช่วยเหลือ             ค่ารักษาพยาบาลตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับเงินของสถานพยาบาล ณ สำนักงานที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งประจำ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับถัดจากวันที่ปรากฏในหลักฐานการรับเงิน

3.  เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ พ.. ….
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ พ.. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และ                  ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
          กษ. เสนอว่า
          1. เชื้อเห็ดเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญต่อการส่งเสริมต่อการส่งเสริมและยกระดับการผลิตเห็ดให้เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานครบวงจร หากขาดการควบคุมกระบวนการผลิตที่ดีตั้งแต่ต้นทางจะทำให้เชื้อเห็ดมีคุณภาพ             ไม่สม่ำเสมอ และมักพบปัญหาการปนเปื้อนศัตรูเห็ด ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรที่นำเชื้อเห็ดไปใช้
อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีกฎระเบียบที่จะควบคุมการผลิตเชื้อเห็ดให้มีคุณภาพได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมกระบวนการผลิตเชื้อเห็ดให้มีการปฏิบัติตามหลักวิชาการและถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพตรงตามชนิด ไม่มีศัตรูเห็ดปนเปื้อน สามารถสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของเชื้อเห็ดที่ผลิตหรือนำเข้า คุ้มครองเกษตรกร              ที่นำเชื้อเห็ดไปใช้และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านการผลิตสินค้าเกษตรของไทย
          2. คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรในการประชุมครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 ได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ด และเห็นชอบในหลักการหากมีการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.. 2551 และ                  จากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกแจ้งไม่มีข้อคัดค้านให้แก้ไข ให้จัดทำร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป และดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับเสนอต่อรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
          1. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
          2. กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร สำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ

4.  เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (.. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.. 2535
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (.. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.. 2535 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (.. 2535)               ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.. 2535 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการห้ามตั้งหรือขยายโรงงานจำพวกที่ 3 บางประเภท ชนิด หรือขนาด ในบริเวณที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำสาธารณะหรือในบริเวณที่อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งกำหนดให้อำนาจแก่รัฐมนตรีในการประกาศกำหนดให้โรงงานจำพวกที่ 3              บางประเภท ชนิด หรือขนาด ต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปรามปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวม 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการพิจารณารายชื่อและการทบทวนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม พ.ศ. ....  และ              ร่างกฎกระทรวงการพิจารณารายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดว่ากระทำการอันเกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการพิจารณากำหนดรายชื่อ พ.ศ. ... รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ เมื่อร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. .... มีผลใช้บังคับแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ มีดังนี้
                    1. ร่างกฎกระทรวงการพิจารณารายชื่อและการทบทวนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม พ.ศ. ....
                              (1) กำหนดให้กรณีที่สำนักงาน ปปง. ได้รับคำร้องขอหรือตรวจสอบพบว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย หรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือดำเนินการแทนหรือตามคำสั่งหรือภายใต้การควบคุมของบุคคลดังกล่าว ให้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจาณากำหนดรายชื่อก่อนเสนอต่อคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อพิจารณาเห็นชอบให้สำนักงาน ปปง. ส่งรายชื่อผู้นั้นให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดโดยไม่ชักช้า
                              (2) กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการพิจาณากำหนดรายชื่อ ประกอบด้วย เลขาธิการ ปปง. เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงาน ปปง. และผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการ ปปง. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเป็นกรรมการและเลขานุการจำนวนหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการ              อีกไม่เกินสองคน
                    2. ร่างกฎกระทรวงการพิจารณารายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดว่ากระทำการอันเกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการพิจารณากำหนดรายชื่อ พ.ศ. ...
                              (1) กำหนดให้กรณีที่สำนักงาน ปปง. ได้รับคำร้องขอหรือตรวจสอบพบว่ามีบุคคล                      คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรใดกระทำการอันเกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณากำหนดรายชื่อพิจารณาเห็นชอบให้สำนักงาน ปปง. ส่งเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อส่งคำร้องไปยังคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ดำเนินการกำหนดรายชื่อบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรดังกล่าวโดย             ไม่ชักช้า
                              (2) กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณากำหนดรายชื่อ ประกอบด้วย เลขาธิการ ปปง. เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงาน ปปง. และผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการ ปปง. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน                เป็นกรรมการและเลขานุการจำนวนหนึ่ง และผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน


6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์ เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังกลุ่มตอลิบาน (Taliban) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์ เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังกลุ่มตอลิบาน (Taliban) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติ
ที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. กำหนดนิยามคำว่า กลุ่มตอลิบาน (Taliban)”“อาวุธและยุทโธปกรณ์ และ คณะกรรมการ
                    2. ให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักรไปยังกลุ่มตอลิบาน (Taliban) ตามรายชื่อที่คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนด และในกรณีที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงรายชื่อดังกล่าว ให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศประกาศรายชื่อดังกล่าวให้ทราบเป็นการทั่วไป

7.  เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก และห้ามนำผ่านไปยังสาธารณรัฐแอฟริกากลาง พ.. ....
          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก และห้ามนำผ่านไปยังสาธารณรัฐแอฟริกากลาง พ.. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
          สาระสำคัญของร่างประกาศฯ เป็นการกำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามส่งออกและห้ามนำผ่านไปยังสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมติที่ 2262 (.. 2016) ว่าด้วย การต่ออายุมาตรการค่ำบาตรทางอาวุธ การห้ามเดินทาง และการอายัดทรัพย์สินต่อสาธารณรัฐแอฟริกากลาง รวมทั้งการเพิ่มเติมข้อยกเว้น ข้อ 1 (ซี) อีกหนึ่งข้อ โดยให้มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2560
                   




เศรษฐกิจ- สังคม

8.  เรื่อง  ขออนุมัติดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม – หัวหิน และช่วงหัวหิน –ประจวบคีรีขันธ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี  ใน 2 เส้นทาง  ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ  ดังนี้
                    1. ช่วงนครปฐม- หัวหิน
                    2. ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ 
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค.  (รฟท.)  เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม – หัวหิน และ                ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการขนส่งระบบราง                   รองรับจำนวนผู้โดยสารและปริมาณการขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น  และลดระยะเวลาในการเดินทางและการขนส่งสินค้า  รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านท่องเที่ยวตามสถานที่สำคัญในเขตภาคใต้และภาคใต้ตอนบน
                    ลักษณะของโครงการเป็นการก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น  1 ทาง เป็นคันทางระดับดินขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม  เพื่อเป็นการเพิ่มความรวดเร็ว ความจุของทางรถไฟ และสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารและสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ประกอบกับมีการยกเลิกจุดตัดทางรถไฟที่เสมอระดับในปัจจุบัน  และมีการก่อสร้างทางผ่านต่างระดับเพิ่มเติมตามความต้องการในการเดินทางของชุมชนบริเวณโดยรอบแนวเส้นทาง พร้อมก่อสร้างรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทางรถไฟ  เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการให้บริการ  โดยจะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่และปรับปรุงสถานีรถไฟเดิม  จำนวน 27 สถานี  สำหรับช่วงนครปฐม – หัวหิน  (ระยะทางประมาณ  165 กิโลเมตร)  และจำนวน 13 สถานี สำหรับช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์  (ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร)
9. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.)  ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ  ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ 
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. (รฟท.)  เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ  ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565  เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งระบบราง รองรับจำนวนผู้โดยสารและปริมาณการขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น และลดระยะเวลาในการเดินทางและการขนส่งสินค้า
                    ลักษณะของโครงการ เป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่มขึ้น 1 ทาง ขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม (ระยะทางประมาณ 116 กิโลเมตร)  และก่อสร้างทางรถไฟจำนวน 2 ทาง เป็นโครงสร้างทางยกระดับเลี่ยงเมืองลพบุรี (ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร) รวมระยะทางโครงการประมาณ 148 กิโลเมตร  มีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่และปรับปรุงสถานีรถไฟเดิม จำนวน 21 สถานี  โดยมีการยกเลิกจุดตัดทางรถไฟที่เสมอระดับปัจจุบัน   และมีการก่อสร้างทางผ่านต่างระดับเพิ่มเติมให้ตามความต้องการในการเดินทางของชุมชนบริเวณโดยรอบแนวเส้นทาง พร้อมก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางรถไฟ   ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความจุของทางรถไฟ ตลอดจนความเร็วและ
ความปลอดภัยในการให้บริการเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารและสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

10. เรื่อง  โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)  ดำเนินโครงการพัฒนาระบบส่ง
และจำหน่าย ระยะที่ 1 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ 
                    สาระสำคัญของโครงการมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและก่อสร้างสถานีไฟฟ้าให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพความมั่นคง และความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และลดปัญหาในการปฏิบัติการ และบำรุงรักษา  ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของระบบส่ง และระบบจำหน่ายให้สามารถจ่ายไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสอดคล้อง                            ตามมาตรฐานสากล  ลดหน่วยสูญเสียในระบบจำหน่าย  ติดตั้งและเปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น  เพื่อปรับปรุงและเชื่อมโยงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ธุรกิจอุตสหกรรม                  นิคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แหล่งชุมชนต่าง ๆ  ทั้งผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิม ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่  และพื้นที่สำคัญ ให้มีความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่สูงขึ้น  ระยะเวลาดำเนินการ  6 ปี (2559-2564) 

11. เรื่อง โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid)  ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  (กฟภ.)  ดำเนินโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก  (Micro Grid)  ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี   (พ.ศ. 2560-2562)   ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ 
          สาระสำคัญของโครงการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Power Grid System) และจัดทำโครงการนำร่องในการสาธิตด้านการวางแผนและปฏิบัติการระบบไฟฟ้าที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กประเภทต่าง ๆ  ให้สามารถใช้ศักยภาพของระบบได้สูงสุด  โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความมั่นคง ความเชื่อถือได้และคุณภาพของระบบไฟฟ้าโดยรวม  ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการและบำรุงรักษา  ลดหน่วยสูญเสีย ในระบบผลิตและจำหน่ายที่มีระยะทางไกล  รวมถึงเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ให้เป็นโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)   และการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน


12.  เรื่อง  การขอยกเว้นเงื่อนไขการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอ ดังนี้
          1. เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 [เรื่อง มาตรการบริหารและพัฒนากำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2557 – 2561 )] ในส่วนของการกำหนดเงื่อนไขในการจัดอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรการบริหารจัดการอัตรากำลังปกติ เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย โดยให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดสรรอัตราว่างจากผลเกษียณอายุของข้าราชการครูเฉพาะปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 คืนให้แก่โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 และครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559
          2. ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
          สาระสำคัญของเรื่อง
          สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วม คปร. รายงานว่า
          1. คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้เสนอ คปร. เพื่อพิจารณาการขอปรับเงื่อนไขการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในมาตรการบริหารจัดการอัตรากำลังปกติ โดยให้ ก.ค.ศ. จัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุกรณีข้าราชการครูสำหรับตำแหน่งในโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ปกติที่มีนักเรียนน้อยกว่า 250 คน ได้ตามเหตุผลความจำเป็นของแต่ละโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็ก
          2. ในการประชุม คปร. ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 และครั้งที่ 4/2559  เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการยกเว้นเงื่อนไขการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยให้ ก.ค.ศ. จัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูเฉพาะปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 คืนให้แก่โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปกติแต่ประสบปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังครู จำนวนรวมทั้งสิ้น 922 แห่ง โดยจัดสรรอัตรากำลังครูให้ไม่มากกว่าอัตรากำลังครูตามเกณฑ์ ก.ค.ศ. จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,085 อัตรา
          สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 120 คน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปกติแต่ประสบปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังครู จำนวน 290 แห่ง อัตรากำลังครู 304 อัตรา นั้น ให้ฝ่ายเลขานุการร่วม คปร. และผู้แทน ก.ค.ศ. พิจารณารายละเอียดร่วมกัน โดยให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นที่ไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายควบรวมโรงเรียนได้ให้ชัดเจนเพื่อเสนอ คปร. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

13. เรื่อง  ทบทวนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2559/60                 ด้านการตลาด 
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1.      เห็นชอบการทบทวนโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/60 โดย
ให้เป็นไปตามกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบไว้แล้ว  เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559
2.      เห็นชอบการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าว
หอมมะลิ ปีการผลิต  2559/60 
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้พิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2559/60 ด้านการตลาด (เพิ่มเติม) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม และ 1 พฤศจิกายน 2559  โดยมีมติ ดังนี้

1.     โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต  2559/60
1.1       การกำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตันข้าวเปลือกร้อยละ 90 ของราคาตลาด  ตามมติ
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 โดยพิจารณาจากราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ  36 กรัมขึ้นไป ในตลาดปัจจุบันที่ประมาณตันละ 11,000 บาท  กำหนดวงเงินสินเชื่อไม่เกิน ร้อยละ 90 ซึ่งในชั้นนี้ กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตันข้าวเปลือกหอมมะลิ 9,500 บาท
                          วงเงินสินเชื่อต่อตันข้าวเปลือกหอมมะลิ  เป็นวงเงินที่จ่ายสินเชื่อสำหรับข้าวเปลือกหอม
มะลิชนิดสีได้ต้นข้าว 36 กรัมขึ้นไป สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิชนิดสีได้ต้นข้าว 31-35 กรัม  26-30  กรัม  และ 20-25 กรัม ปรับลดส่วนต่างชั้นคุณภาพตันละ 200 บาท สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 20 กรัม ไม่รับเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้  หากราคาตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้นให้พิจารณาปรับแผนราคาตามราคาตลาด
1.2       เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน  ให้มี
ค่าใช้จ่ายในการตากข้าวเปลือกและค่าแรงงานในการเตรียมข้าวเปลือกเข้าร่วมโครงการ จึงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือกตันละ 1,500 บาท โดยจ่ายเป็นค่าเตรียมข้าวเปลือกเข้าร่วมโครงการให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการในวันเบิกรับเงินกู้ 1,000 บาท และจ่ายเพิ่มอีกตันละ 500 บาท ในวันที่ไถ่ถอนข้าวเปลือกหลังจากเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 วัน
                          ทั้งนี้  สำหรับกรอบวงเงินงบประมาณในการให้สินเชื่อและค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามกรอบ
วงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบไว้แล้วเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559
2.     การช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอม
มะลิ ปีการผลิต  2559/60
2.1       วัตถุประสงค์  เพื่อช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรังปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อย
ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ซึ่งประสบปัญหาราคาข้าวเปลือกหอมมะลิตกต่ำอย่างต่อเนื่อง
2.2       กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิจากฐานข้อมูลเกษตรกรที่ได้รับเงินสนับสนุน
ตามโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60  ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 วันที่ 12 กรกฎาคม 2559 และวันที่ 17 สิงหาคม 2559 คิดเป็นจำนวนประมาณ 2 ล้านราย  พื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิประมาณ 26 ล้านไร่ ทั้งนี้ ให้ประสานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในข้อมูลรายชื่อและทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ในปี 2559/60
2.3       วิธีดำเนินการ สนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่
เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอมมะลิตามกลุ่มเป้าหมาย 2,000 บาทต่อวัน (กำหนด ไร่ละ 800 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่)  ทั้งรายที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ปีการผลิต 2559/60 และไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ โดย ธ.ก.ส.  โอนเงินเข้าบัญชีให้กับเกษตรกร
2.4       กรอบระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์
2560

14. เรื่อง ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2559/60
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 วันที่ 12 กรกฎาคม และวันที่ 17 สิงหาคม 2559 ในส่วนของกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 จากเดิม กำหนดให้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2559 เป็น กำหนดให้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 และสำหรับการดำเนินโครงการฯ ในภาคใต้กำหนดให้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 เป็น กำหนดให้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560
                    ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรตามนโยบายรัฐบาลเป็นไปอย่างลุล่วงและเพื่อให้การดำเนินโครงการฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างแท้จริง ประกอบกับโครงการฯ ได้เริ่มดำเนินการจริงเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2559 ซึ่งล่าช้ากว่ากรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ประมาณ 2 เดือน

15. เรื่อง การตรวจสอบคุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยและหลักเกณฑ์ในการโอนเงินภายใต้มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย (มาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อย)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการตรวจสอบคุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยและหลักเกณฑ์ในการโอนเงินภายใต้มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย (มาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อย) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรมส่งเสริมการเกษตร และ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เพื่อกำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรและหลักเกณฑ์ในการโอนเงินใต้มาตรการเพิ่มรายได้ฯ ให้มีรายได้เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. คุณสมบัติของเกษตรกรตามมาตรการเพิ่มรายได้ฯ
                              เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินโอนตามมาตรการดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มาลงทะเบียนในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2559 ซึ่งต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับมาตรการเพิ่มรายได้เกษตรกรผู้ที่มีรายได้น้อย ดังนี้
                              1) คุณสมบัติพื้นฐาน ได้แก่ เป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2559 (วันสุดท้ายของการเปิดให้ลงทะเบียน) และเป็นผู้ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ในปี 2558 โดยมีการตรวจสอบสถานะบุคคลและความถูกต้องของข้อมูลในเบื้องต้นจากกรมสรรพากรและกรมการปกครองแล้ว
                              2) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับมาตรการเพิ่มรายได้ฯ ต้องเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนเกษตรกรหรือเป็นสมาชิกในครัวเรือนของผู้ที่อยู่ในทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร หรือเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์ หรือทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามข้อเสนอของ สศช. ทั้งนี้ในกรณีที่เกษตรกรที่ลงทะเบียนในโครงการนี้เป็นหัวหน้าครัวเรือนในทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร จะต้องปรากฏเป็นที่ประจักษ์ว่าครัวเรือนนี้มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินโอน
                              ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะเป็นผู้ดำเนินการเทียบข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยที่มาลงทะเบียนในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐในข้อ 1
                    2. หลักเกณฑ์การโอนเงิน
                              1) หลักเกณฑ์ในการกำหนดจำนวนเงินที่โอนให้แก่เกษตรกรตามมาตรการเพิ่มรายได้ฯ
                              หลักเกณฑ์ในการโอนเงินให้เกษตรกรจะใช้เส้นความยากจน (Poverty Line) ที่คำนวณโดย สศช. เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง โดยในปี 2557 เส้นความยากจนอยู่ที่ระดับประมาณ 30,000 บาทต่อปี ดังนั้น รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี เป็นมูลค่ามากกว่าเกษตรกร ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี เนื่องจากเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบทางรายได้มากกว่า
                              2) อัตราเงินโอน
                                        2.1) เกษตรกรที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี โอนเงินให้จำนวน 3,000 บาทต่อคน เพียงครั้งเดียวผ่าน ธ.ก.ส.
                                        2.2) เกษตรกรที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โอนเงินให้จำนวน 1,500 บาทต่อคน เพียงครั้งเดียวผ่าน ธ.ก.ส.
                              3) วิธีการโอนเงิน
                                  กำหนดให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้โอนเงินเข้าบัญชีให้แก่เกษตรกรที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 โดยตรง ทั้งนี้ ในกรณีที่เกษตรกรดังกล่าวไม่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. นั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการประสานงานกับธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทยเพื่อโอนเงินให้เกษตรกรต่อไป สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีเงินฝากใน 3 ธนาคารข้างต้น ให้ ธ.ก.ส. ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมาแจ้งเลขที่บัญชี ชื่อบัญชี และธนาคารที่ประสงค์จะให้โอนไปให้ได้ที่  ธ.ก.ส. ได้ทุกสาขา






ต่างประเทศ

16. เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดนแห่งใหม่ที่บ้านหนองเอี่ยน – สตึงบท
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดนแห่งใหม่ที่บ้านหนองเอี่ยน – สตึงบท ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างความตกลงดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้ คค. หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตามความตกลงดังกล่าว
                    3. อนุมัติให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ ผู้ลงนามในข้อ 2
                    สาระสำคัญของร่างความตกลงฯ ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดน เช่น ที่ตั้งโครงการของฝั่งไทยจะอยู่ในเขตพื้นที่บ้านหนองเอี่ยน ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ส่วนฝั่งกัมพูชาจะอยู่ในเขตพื้นที่บ้านสตึงบท เมืองปอยเปต จังหวัดบันเตียเมียนเจย สำหรับภาระหน้าที่และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงการฝ่ายไทยจะเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ออกแบบ และรับผิดชอบค่าก่อสร้างทั้งหมด ยกเว้น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ภาษี และค่าธรรมเนียมของกัมพูชา ส่วนฝ่ายกัมพูชาจะจัดหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานและบ้านพักที่ใช้ในโครงการฝั่งกัมพูชา และสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านสาธารณูปโภค เป็นต้น

17. เรื่อง  การขยายเวลาพำนักในราชอาณาจักรไทย รวม 90 วัน สำหรับผู้ป่วยและผู้ติดตามกรณีเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาล ในกลุ่มประเทศ CLMV และสาธารณรัฐประชาชนจีน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการขยายเวลาพำนักในราชอาณาจักรไทย รวม 90 วัน  สำหรับผู้ป่วยและผู้ติดตาม กรณีเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในกลุ่มประเทศ CLMV  และสาธารณรัฐประชาชนจีน   ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  เสนอ  และให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกประกาศเพื่อให้เป็นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป 
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. ปัจจุบันรูปแบบการเดินทางเข้าประเทศไทยกรณีถือหนังสือเดินทางธรรมดา (Passport) ในกลุ่มประเทศ CLMV และสาธารณรัฐประชาชนจีน มีดังนี้ จีน พำนักได้ไม่เกิน 15 วัน (Visa on arrival) กัมพูชาและเมียนมา พำนักไม่เกิน 14 วัน (ยกเว้นการตรวจลงตรา) เวียดนามและ สปป. ลาว พำนักไม่เกิน 30 วัน (ยกเว้นการตรวจลงตรา)
                    กรณีขอตรวจลงตราเพื่อเข้าประเทศไทยเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลหรือต้องการขยายเวลาพำนักต่อ ส่วนใหญ่ได้รับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว รหัส MT (Medical Treatment) ระยะเวลาพำนักครั้งละไม่เกิน 60 วัน หรือประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non Immigrant Visa) ภายใต้รหัส O ระยะเวลาพำนักครั้งละไม่เกิน 90 วัน ซึ่งจะไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ประชุมปรึกษาหารือและเสนอแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม คือการขอยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ป่วย บุคคลในครอบครัว และผู้ติดตามรวมไม่เกิน 4 คน แบบมีเงื่อนไขเฉพาะสำหรับการเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลเท่านั้น โดยมีระยะเวลาพำนักครั้งละไม่เกิน 90 วัน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง และสามารถขยายระยะเวลาต่อเนื่องได้รวมแล้วไม่เกิน 1 ปี
                    กรณีขออยู่ต่อใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ต่อในราชอาณาจักรตาม ข้อ 2 ของคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 777/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 เหตุแห่งความจำเป็น ข้อ 2.25 กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาล หรือการพักฟื้น หรือเพื่อดูแลผู้ป่วย ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน 90 วัน โดยมีหลักเกณฑ์                การพิจารณา ดังนี้
                              1.1 ได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา โดยปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับอาการป่วย ระยะเวลาในการรักษา และความเห็นของแพทย์ผู้รักษาว่าอาการป่วยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง
                              1.2 กรณีดูแลผู้ป่วยต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา หรือสถานทูต หรือสถานกงสุล
                              1.3 ผู้ดูแลผู้ป่วย นอกจากบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หริบุตรของคู่สมรสแล้วให้อนุญาตได้อีกไม่เกิน 1 คนโดยยื่นขออยู่ต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
                    2. ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาและส่งเสริมประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางด้าน Medical and Wellness Tourism ครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2559 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่วมกันให้มีการขยายเวลาพำนักในราชอาณาจักรไทย รวม 90 วัน สำหรับผู้ป่วยและผู้ติดตามกรณีเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาล ในกลุ่มประเทศ CLMV และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลสำหรับกลุ่มประเทศดังกล่าว และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ                  ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)

18.  เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญานิวเดลีและแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชียสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชียว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ประจำปี พ.ศ. 2559 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองร่างปฏิญญานิวเดลีและแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชียสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชียว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ประจำปี พ.ศ. 2559 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างปฏิญญานิวเดลีและร่างแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชีย มีดังนี้
                    1. ร่างปฏิญญานิวเดลี (New Delhi Declaration) คือ คำประกาศแสดงเจตจำนงทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก            พ.ศ. 2559 ที่จะร่วมให้การสนับสนุนการดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติหรือกรอบเซนได เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียดำเนินการ ในการจัดทำนโยบายปฏิบัติบนพื้นฐานการเข้าใจความเสี่ยงในทุกมิติ รวมทั้งความเปราะบาง ศักยภาพ ความล่อแหลม ของบุคคลและทรัพย์สิน คุณลักษณะของภัย และสภาพแวดล้อม
                    2. ร่างแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะกำหนด (1) นโยบายสำหรับผู้บริหาร (2) การวางแผนในระยะยาวภายใต้กรอบเซนได ในระยะเวลา 15 ปี (3) แผนปฏิบัติการทุก ๆ 2 ปี ตั้งแต่ปี          พ.ศ. 2559 2561 2563 2565 2567 2569 2571 และ พ.ศ. 2573 ที่มีการประเมินความสำเร็จภายใต้การวางแผนในระยะยาวโดยการกำหนดกิจกรรมที่มีเป้าหมายของความสำเร็จอย่างชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับนโยบายสำหรับผู้บริหาร ภายใต้             4 พันธกิจ ได้แก่ (1) เข้าใจความเสี่ยง (2) การบริหารจัดการความเสี่ยง (3) การลงทุนเพื่อการลดความเสี่ยง และ                 (4) การเตรียมความพร้อมและซ่อมสร้างให้ดีกว่าเดิม

19. เรื่อง การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ภายใต้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Adelaide 3R Declaration towards the Promotion of Circular Economy in Achieving the Resource Efficient Societies in Asia and the Pacific under the 2030 Agenda for Sustainable Development)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาแอดิเลด 3R ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ก้าวสู่สังคมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ภายใต้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Adelaide 3R Declaration towards the Promotion of Circular Economy in Achieving the Resource Efficient Societies in Asia and the Pacific under the 2030 Agenda for Sustainable Development) สำหรับการประชุม The Seventh Regional 3R Forum in Asia and the Pacific
                    2. อนุมัติให้รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ร่วมให้การรับรองในร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าว
                    3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาฯ ที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่จนสิ้นสุดการประชุมในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ณ เมืองแอดิเลด รัฐออสเตรเลียใต้ เครือรัฐออสเตรเลีย
                    สาระสำคัญของร่างปฏิญญาแอดิเลดฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือแบบบูรณาจากทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และความร่วมมือแบบไตรภาคีเป็นสิ่งสำคัญต่อโอกาสทางธุรกิจแบบยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ประเทศ เมือง และธุรกิจ เปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจแบบทางเดียว (Linear Economy) ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการหมุนเวียนทรัพยากรแบบครบวงจร ซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์หลากหลายรูปแบบ เช่น ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย สร้างรายได้จากการใช้ซ้ำ และการรีไซเคิลรวมทั้งการนำของเสียมาแปรรูปเป็นพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัตถุดิบ การสร้างงาน ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างโอกาสในการได้รับคาร์บอนเครดิต รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินนโยบาย 3R เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และตระหนักถึงการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมความร่วมมือในประเด็นต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และเน้นย้ำความสัมพันธ์ระหว่าง วิทยาศาสตร์ทางด้าน 3R เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน





แต่งตั้ง

1. เรื่อง รัฐบาลสาธารณรัฐเบลารุสเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐเบลารุสประจำประเทศไทย (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ กรณีรัฐบาลสาธารณรัฐเบลารุสมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายวลาดีมีร์ อา. โกชิน (Mr. Vladimir A. Goshin) ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐเบลารุสประจำประเทศไทย โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สืบแทน นายวาเลรี ซาโดโค               (Mr. Valery Sadoko) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

2.  เรื่อง  การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.)  เสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 4 คน ดังนี้
                    1. นายกฤษฎา บุญราช                       กรรมการ
                                                                      แทนนายกำพล ศรธนะรัตน์
                    2. พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ        กรรมการ
                                                                      แทนพลตำรวจเอก เจตน์ มงคลหัตถี
                    3. ศาสตราจารย์ นฤมล  สอาดโฉม         กรรมการ
                                                                      แทนร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์
                    4. นางรัตนา อนุภาสนันท์                              กรรมการ
                                                                      แทนนายชาญชัย  บุญฤทธิ์ไชยศรี
                    ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน


3. เรื่อง  แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา จำนวน 7 คน เนื่องจากคณะกรรมการชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปีแล้ว  เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2559 ดังนี้
                    1. นายชวลิต  ชูขจร                           ประธานกรรมการ 
                    2. นางจิราวรรณ แย้มประยูร                กรรมการ
                    3. นายอดิศร  พร้อมเทพ                     กรรมการ
                    4. นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์                   กรรมการ
                    5. นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท                   กรรมการ
                    6. พลเรือเอก  เริงฤทธิ์  บุญส่งประเสริฐ   กรรมการ
                    7. นายณพงศ์  ศิริขันตยกุล                  กรรมการ
                        ผู้แทนกระทรวงการคลัง 
โดยผู้ที่ได้รับการเสนอแต่งตั้งในลำดับที่ 1,2 และ 7  เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง   ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป

4. เรื่อง การบรรจุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษากลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (บริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเสนอบรรจุกลับ ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเดิมเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 10 และเจ้าหน้าที่ขององค์การมหาชน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างเนื่องจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิมเกษียณอายุราชการ

5. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 10 ราย ดังนี้
                    1. นายสุวัฒน์ จิราพันธุ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี
                    2. นายธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    3. นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
                    4. นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสารนิเทศ
                    5. นางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
                    6. นายจักรี ศรีชวนะ อธิบดีกรมพิธีการทูต ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต             ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส
                    7. นายชัยเลิศ หลิมสมบูรณ์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา                       สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮเลนิก
                    8. นายกัลยาณะ วิภัติภูมิประเทศ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงตริโปลี รัฐลิเบีย ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน 
                    9. นายพิชยพันธุ์ ชาญภูมิดล เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
                    10. นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส สาธารณรัฐอาร์เจนตินา
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

6. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ               สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                    1. นายเดชา เกื้อกูล รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ดำรงตำแหน่ง                 ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    2. นายอภิจิณ โชติกเสถียร รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

7. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอน นายกรีฑา สพโชค รองปลัดกระทรวงแรงงาน มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

-----------------------
ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

-คลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม