อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบ รอบรู้ ชุด 316 โรงเรียนประชารัฐ แผนการศึกษาชาติใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 12 by ProProfs » Quiz Created With ProProfs
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 489/2559 การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรองประธานกรรมการ และคณะกรรมการ เข้าร่วมประชุม
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ แถลงผลการประชุมในครั้งนี้ว่า ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนและดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริตตามนโยบายรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกระบวนการ ขั้นตอน และมอบหมายผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยได้มอบให้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องนี้
จากการรับฟังรายงานผลการดำเนินงาน พบว่ามีความก้าวหน้าไปกว่า 70% และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยลำดับ แต่ก็ยังต้องการเร่งรัดเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ที่เหลืออีกกว่า 20% ให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ที่จะต้องปรับปรุงดำเนินการให้เป็นในทิศทางเดียวกันทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่ออุดช่องว่างในการทำงานหลายประเด็น ดังนี้
● เตรียมปรับปรุงกระบวนการสอบสวนให้เร็วยิ่งขึ้น ผู้ดึงเกมสอบสวนให้ล่าช้าต้องรับผิดชอบ
จากการรายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริต พบว่าในบางคดีมีการดำเนินงานล่าช้ามาก เช่น คดีทุจริตการทำธุรกิจสลากกินแบ่งรัฐบาลในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือคดีทุจริตการจัดสร้างสนามฟุตซอล ซึ่งใช้เวลาถึง 5 ปีก็ยังไม่เสร็จสิ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระบวนการส่งเอกสารหลักฐานล่าช้า รวมทั้งบางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือ ประกอบกับการสอบสวนในปัจจุบัน แยกกันสอบสวนในแต่ละองค์กรหลัก ก็ยิ่งทำให้ล่าช้ามากขึ้น
ดังนั้น นาทีนี้จึงต้องการที่จะแก้ไข "การดึงเกมการสอบสวนจนเกษียณ" ซึ่งเป็นสาเหตุหลักทำให้กระบวนการสอบสวนล่าช้า ซึ่งพบปัญหาว่า สาเหตุหลักเกิดจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน มักจะทำสำนวนช่วยเหลือกัน โดยทำสำนวนผลการสอบสวนทางวินัยให้อ่อน หรือถ่วงเวลา หรือซื้อเวลาจนผู้ถูกกล่าวหาเกษียณอายุราชการ และที่ผ่านมาการดึงคดีให้เกิดความล่าช้าจนผลเสียต่อราชการ ก็ไม่ได้ส่งผลให้เจ้าหน้าที่สอบสวนรายนั้น ๆ ได้รับการลงโทษแต่อย่างใด ยังคงได้ขึ้นเงินเดือนตามวงรอบอยู่เช่นเดิม ซึ่งปัญหานี้พบมากในระบบราชการ ดังนั้น จากนี้ไปกระบวนการสอบสวนคดีทุจริตต่าง ๆ "คนที่อยู่ตรงกลาง" หรือเจ้าหน้าที่ที่สอบสวนต้องมีส่วนรับผิดชอบผลการสอบสวน และความเสียหายหรือความล่าช้าที่เกิดขึ้นต่อราชการด้วย
ทั้งนี้ ได้มอบให้คณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมี นายพิษณุ ตุลสุข รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เป็นประธานกรรมการ พิจารณาทบทวนขั้นตอนกระบวนการทำงานส่วนนี้ พร้อมหามาตรการมาบังคับใช้กับผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตรวจสอบและแก้ไขการทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ และชี้แจงให้รับทราบโดยทั่วกันอย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ระดับภูมิภาคจนถึงส่วนกลาง
● เตรียมจัดอบรมฟื้นฟูความรู้ด้านกฎหมายแก่นิติกรทั่วประเทศ
ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีข้าราชการตำแหน่งนิติกร จำนวน 225 คน กระจายอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ และในสำนักงานส่วนกลางอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องดำเนินการสอบสวนคดีต่าง ๆ ของ สพฐ.ที่มีบุคลากรในสังกัดกว่า 4 แสนคน แต่ทราบว่าจำนวนมากไม่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ด้านกฎหมายมาเป็นเวลานานแล้ว
จึงเสนอแนวคิดให้จัดอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่นิติกรทุกสังกัด โดยนำคดีหรือกรณีที่เกิดขึ้นจริงมาวิเคราะห์เป็นตัวอย่าง เพื่อให้มีแนวทาง วิธีการสอบสวน ตลอดจนการหาข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานที่ชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งมีความสอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลที่จะส่งต่อให้กับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) พิจารณาในขั้นตอนต่อไป โดยมอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นผู้รับผิดชอบจัดอบรมในครั้งนี้
● ปรับ (ร่าง) แผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริตปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ให้เข้มข้นครอบคลุม
ที่ประชุมได้รับทราบ (ร่าง) แผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่นายกรัฐมนตรีแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ รวมทั้งนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ด้านการปราบปรามการทุจริต ตลอดจนแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)
โดยแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริตปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้กำหนด 6 ยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่ครอบคลุมกระบวนการด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ดังนี้
-
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
-
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
-
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
-
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
-
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปกลไกและกระบวนการการปราบปรามการทุจริต
-
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้ทางการทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ของประเทศไทย
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อปรับรายละเอียดของแผนให้มีความครอบคลุมมากขึ้น พร้อมปรับแนวปฏิบัติให้มีความใกล้เคียงกับแผนปฏิบัติการ เพื่อที่จะสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ง่ายขึ้น และเมื่อปรับแก้เสร็จสมบูรณ์แล้วจะได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อไป
● ปรับชื่อโรงเรียนที่ส่งเสริมคุณธรรมให้เหลือเพียง "โรงเรียนคุณธรรม"
ที่ประชุมได้มีการหารือถึงโรงเรียนสุจริต ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. กับโรงเรียนของ สพฐ. จึงได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมาโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ต้องเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีหลักการคล้ายคลึงกันคือ ต้องการทำให้เด็กเป็นคนดี ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสุจริต โรงเรียนสีขาว โรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น จึงได้เสนอแนวคิดที่จะปรับชื่อโรงเรียนตามโครงการต่าง ๆ ให้เหลือเพียง “โรงเรียนคุณธรรม” อย่างเดียว เพื่อลดความสับสนของครูและผู้อำนวยการโรงเรียน
ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้คำว่า “โรงเรียนคุณธรรม” เพราะมีความหมายครอบคลุมกว้างไปถึงผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคลากรทุกคนต้องเป็นคนดีด้วย ประกอบกับการดำเนินงานจะใช้หลักคิด “การระเบิดจากข้างใน” ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวคือโครงการหรือการดำเนินงานจะเกิดมาจากแนวคิดของเด็กและครู ซึ่งแต่ละโรงเรียนอาจมีวิธีการและระดับความเข้มข้นแตกต่างกันไป แต่อย่างน้อยทุกโรงเรียนได้ร่วมกันคิดแนวทางและมีข้อตกลงในการทำงานร่วมกันได้เอง
● เร่งจัดทำแผนที่แสดงสถานะคดีทุจริต-รวบรวมสัดส่วนผู้กระทำผิด
ที่ประชุมมอบให้คณะกรรมการดำเนินงานฯ จัดทำแผนที่ประเทศไทย เพื่อแสดงสถานะคดีทุจริตในเชิงสถิติ โดยแบ่งออกเป็น 3 สถานะ คือ 1) สีแดง-มีจำนวนคดีมากที่สุด 2) สีเหลือง-มีจำนวนคดีน้อย 3) สีเขียว-ไม่มีคดีทุจริต เพื่อจะได้เห็นภาพรวมการดำเนินงานทั้งประเทศ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ตระหนักรู้และหันมาดูตัวเอง เพื่อจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป ซึ่งไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอะไร เพราะขณะนี้มีข้อมูลอยู่แล้ว เพียงแต่นำออกมาแสดงในรูปแบบแผนที่ที่จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้น
นอกจากนี้ ยังมอบให้มีการรวบรวมข้อมูล และสัดส่วนเปรียบเทียบระหว่างผู้กระทำผิดกับจำนวนบุคลากรในแต่ละสังกัดทั้งหมด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาช่องว่างและดำเนินการแก้ไขต่อไป
● การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับและติดตามเรื่องร้องเรียนฯ
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับติดตามเรื่องร้องเรียนและการดำเนินการทางวินัย กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อใช้เป็นกลไกในการกำกับติดตามเรื่องร้องเรียนและการดำเนินการทางวินัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และโปร่งใส และเพื่อนำข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนเสนอต่อผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ที่ต้องการอุดช่องว่างของกระบวนการสอบสวนในปัจจุบัน ที่มีการแยกกันสอบสวนในแต่ละองค์กรหลัก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักอีกประการที่ทำให้กระบวนการสอบสวนล่าช้า
● การแต่งตั้งคณะกรรมการด้านการแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ
ที่ประชุมรับทราบ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการด้านการแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 ชุด ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการได้ลงนามแต่งตั้งเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ดังนี้
1) คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ, รมช.ศึกษาธิการ (2 ท่าน) เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, สำนักงาน ป.ป.ช., สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ, สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ, เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา, เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, เลขาธิการสภาการศึกษา, เลขาธิการ ก.ค.ศ., เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, เลขาธิการคุรุสภา, เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.), ผู้อำนวยการองค์การค้าของ สกสค. โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
อำนาจหน้าที่: กำหนดนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงานในสังกัดและองค์กรในกำกับ, กำกับ ติดตามการดำเนินงาน ตลอดจนจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการ และนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องที่เกี่ยวข้อง
2) คณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการโดยมี พลเอกสุทัศน์ กาญจนานนท์กุล และพันเอกดำรงค์ สิมะขจรบุญ เป็นที่ปรึกษา, มีนายพิษณุ ตุลสุข เป็นประธานกรรมการ, นายอรรถพล ตรึกตรอง เป็นรองประธานกรรมการ และมีกรรมการประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, ผู้อำนวยการสำนักจรรยาบรรณวิชาชีพและนิติการ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคุ้มครองสิทธิครู สกสค., หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและวินัย องค์การค้าของ สกสค., ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, หัวหน้ากลุ่มนิติการ สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ผู้อำนวยการภารกิจกฎหมาย อุทธรณ์ และร้องทุกข์ สำนักงาน ก.ค.ศ., หัวหน้ากลุ่มงานวินัยและนิติการ กลุ่มการเจ้าหน้าที่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, หัวหน้าฝ่ายนิติการ กลุ่มงานเลขานุการกรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยมีนายกำพล วันทา เป็นกรรมการและเลขานุการ
อำนาจหน้าที่: จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาการทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการ, ขับเคลื่อนและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ, กำหนดรูปแบบการติดตาม ประเมินผล และการรายงาน, จัดทำระบบบัญชีเรื่องและคดีความ ประสานงาน/หารือกับส่วนราชการต่าง ๆ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการทุจริต และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประธานคณะกรรมการอำนวยการฯ ทุก 15 วัน
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบ รอบรู้ ชุด 316 โรงเรียนประชารัฐ แผนการศึกษาชาติใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 12 by ProProfs » Quiz Created With ProProfs
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 489/2559 การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรองประธานกรรมการ และคณะกรรมการ เข้าร่วมประชุม
จากการรับฟังรายงานผลการดำเนินงาน พบว่ามีความก้าวหน้าไปกว่า 70% และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยลำดับ แต่ก็ยังต้องการเร่งรัดเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ที่เหลืออีกกว่า 20% ให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ที่จะต้องปรับปรุงดำเนินการให้เป็นในทิศทางเดียวกันทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่ออุดช่องว่างในการทำงานหลายประเด็น ดังนี้
● เตรียมปรับปรุงกระบวนการสอบสวนให้เร็วยิ่งขึ้น ผู้ดึงเกมสอบสวนให้ล่าช้าต้องรับผิดชอบ
จากการรายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริต พบว่าในบางคดีมีการดำเนินงานล่าช้ามาก เช่น คดีทุจริตการทำธุรกิจสลากกินแบ่งรัฐบาลในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือคดีทุจริตการจัดสร้างสนามฟุตซอล ซึ่งใช้เวลาถึง 5 ปีก็ยังไม่เสร็จสิ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระบวนการส่งเอกสารหลักฐานล่าช้า รวมทั้งบางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือ ประกอบกับการสอบสวนในปัจจุบัน แยกกันสอบสวนในแต่ละองค์กรหลัก ก็ยิ่งทำให้ล่าช้ามากขึ้น
ดังนั้น นาทีนี้จึงต้องการที่จะแก้ไข "การดึงเกมการสอบสวนจนเกษียณ" ซึ่งเป็นสาเหตุหลักทำให้กระบวนการสอบสวนล่าช้า ซึ่งพบปัญหาว่า สาเหตุหลักเกิดจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน มักจะทำสำนวนช่วยเหลือกัน โดยทำสำนวนผลการสอบสวนทางวินัยให้อ่อน หรือถ่วงเวลา หรือซื้อเวลาจนผู้ถูกกล่าวหาเกษียณอายุราชการ และที่ผ่านมาการดึงคดีให้เกิดความล่าช้าจนผลเสียต่อราชการ ก็ไม่ได้ส่งผลให้เจ้าหน้าที่สอบสวนรายนั้น ๆ ได้รับการลงโทษแต่อย่างใด ยังคงได้ขึ้นเงินเดือนตามวงรอบอยู่เช่นเดิม ซึ่งปัญหานี้พบมากในระบบราชการ ดังนั้น จากนี้ไปกระบวนการสอบสวนคดีทุจริตต่าง ๆ "คนที่อยู่ตรงกลาง" หรือเจ้าหน้าที่ที่สอบสวนต้องมีส่วนรับผิดชอบผลการสอบสวน และความเสียหายหรือความล่าช้าที่เกิดขึ้นต่อราชการด้วย
ทั้งนี้ ได้มอบให้คณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมี นายพิษณุ ตุลสุข รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เป็นประธานกรรมการ พิจารณาทบทวนขั้นตอนกระบวนการทำงานส่วนนี้ พร้อมหามาตรการมาบังคับใช้กับผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตรวจสอบและแก้ไขการทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ และชี้แจงให้รับทราบโดยทั่วกันอย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ระดับภูมิภาคจนถึงส่วนกลาง
● เตรียมจัดอบรมฟื้นฟูความรู้ด้านกฎหมายแก่นิติกรทั่วประเทศ
ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีข้าราชการตำแหน่งนิติกร จำนวน 225 คน กระจายอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ และในสำนักงานส่วนกลางอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องดำเนินการสอบสวนคดีต่าง ๆ ของ สพฐ.ที่มีบุคลากรในสังกัดกว่า 4 แสนคน แต่ทราบว่าจำนวนมากไม่ได้เข้ารับการอบรมความรู้ด้านกฎหมายมาเป็นเวลานานแล้ว
จึงเสนอแนวคิดให้จัดอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่นิติกรทุกสังกัด โดยนำคดีหรือกรณีที่เกิดขึ้นจริงมาวิเคราะห์เป็นตัวอย่าง เพื่อให้มีแนวทาง วิธีการสอบสวน ตลอดจนการหาข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานที่ชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งมีความสอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลที่จะส่งต่อให้กับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) พิจารณาในขั้นตอนต่อไป โดยมอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นผู้รับผิดชอบจัดอบรมในครั้งนี้
● ปรับ (ร่าง) แผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริตปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ให้เข้มข้นครอบคลุม
ที่ประชุมได้รับทราบ (ร่าง) แผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่นายกรัฐมนตรีแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ รวมทั้งนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ด้านการปราบปรามการทุจริต ตลอดจนแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)
โดยแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริตปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้กำหนด 6 ยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่ครอบคลุมกระบวนการด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปกลไกและกระบวนการการปราบปรามการทุจริต
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้ทางการทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ของประเทศไทย
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อปรับรายละเอียดของแผนให้มีความครอบคลุมมากขึ้น พร้อมปรับแนวปฏิบัติให้มีความใกล้เคียงกับแผนปฏิบัติการ เพื่อที่จะสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ง่ายขึ้น และเมื่อปรับแก้เสร็จสมบูรณ์แล้วจะได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อไป
● ปรับชื่อโรงเรียนที่ส่งเสริมคุณธรรมให้เหลือเพียง "โรงเรียนคุณธรรม"
ที่ประชุมได้มีการหารือถึงโรงเรียนสุจริต ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. กับโรงเรียนของ สพฐ. จึงได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมาโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ต้องเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีหลักการคล้ายคลึงกันคือ ต้องการทำให้เด็กเป็นคนดี ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสุจริต โรงเรียนสีขาว โรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น จึงได้เสนอแนวคิดที่จะปรับชื่อโรงเรียนตามโครงการต่าง ๆ ให้เหลือเพียง “โรงเรียนคุณธรรม” อย่างเดียว เพื่อลดความสับสนของครูและผู้อำนวยการโรงเรียน
ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้คำว่า “โรงเรียนคุณธรรม” เพราะมีความหมายครอบคลุมกว้างไปถึงผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคลากรทุกคนต้องเป็นคนดีด้วย ประกอบกับการดำเนินงานจะใช้หลักคิด “การระเบิดจากข้างใน” ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวคือโครงการหรือการดำเนินงานจะเกิดมาจากแนวคิดของเด็กและครู ซึ่งแต่ละโรงเรียนอาจมีวิธีการและระดับความเข้มข้นแตกต่างกันไป แต่อย่างน้อยทุกโรงเรียนได้ร่วมกันคิดแนวทางและมีข้อตกลงในการทำงานร่วมกันได้เอง
● เร่งจัดทำแผนที่แสดงสถานะคดีทุจริต-รวบรวมสัดส่วนผู้กระทำผิด
ที่ประชุมมอบให้คณะกรรมการดำเนินงานฯ จัดทำแผนที่ประเทศไทย เพื่อแสดงสถานะคดีทุจริตในเชิงสถิติ โดยแบ่งออกเป็น 3 สถานะ คือ 1) สีแดง-มีจำนวนคดีมากที่สุด 2) สีเหลือง-มีจำนวนคดีน้อย 3) สีเขียว-ไม่มีคดีทุจริต เพื่อจะได้เห็นภาพรวมการดำเนินงานทั้งประเทศ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ตระหนักรู้และหันมาดูตัวเอง เพื่อจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป ซึ่งไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอะไร เพราะขณะนี้มีข้อมูลอยู่แล้ว เพียงแต่นำออกมาแสดงในรูปแบบแผนที่ที่จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้น
นอกจากนี้ ยังมอบให้มีการรวบรวมข้อมูล และสัดส่วนเปรียบเทียบระหว่างผู้กระทำผิดกับจำนวนบุคลากรในแต่ละสังกัดทั้งหมด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาช่องว่างและดำเนินการแก้ไขต่อไป
● การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับและติดตามเรื่องร้องเรียนฯ
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับติดตามเรื่องร้องเรียนและการดำเนินการทางวินัย กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อใช้เป็นกลไกในการกำกับติดตามเรื่องร้องเรียนและการดำเนินการทางวินัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และโปร่งใส และเพื่อนำข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนเสนอต่อผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ที่ต้องการอุดช่องว่างของกระบวนการสอบสวนในปัจจุบัน ที่มีการแยกกันสอบสวนในแต่ละองค์กรหลัก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักอีกประการที่ทำให้กระบวนการสอบสวนล่าช้า
● การแต่งตั้งคณะกรรมการด้านการแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ
ที่ประชุมรับทราบ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการด้านการแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 ชุด ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการได้ลงนามแต่งตั้งเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ดังนี้
1) คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ, รมช.ศึกษาธิการ (2 ท่าน) เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, สำนักงาน ป.ป.ช., สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ, สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ, เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา, เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, เลขาธิการสภาการศึกษา, เลขาธิการ ก.ค.ศ., เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, เลขาธิการคุรุสภา, เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.), ผู้อำนวยการองค์การค้าของ สกสค. โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
อำนาจหน้าที่: กำหนดนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงานในสังกัดและองค์กรในกำกับ, กำกับ ติดตามการดำเนินงาน ตลอดจนจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการ และนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องที่เกี่ยวข้อง
2) คณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการโดยมี พลเอกสุทัศน์ กาญจนานนท์กุล และพันเอกดำรงค์ สิมะขจรบุญ เป็นที่ปรึกษา, มีนายพิษณุ ตุลสุข เป็นประธานกรรมการ, นายอรรถพล ตรึกตรอง เป็นรองประธานกรรมการ และมีกรรมการประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, ผู้อำนวยการสำนักจรรยาบรรณวิชาชีพและนิติการ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคุ้มครองสิทธิครู สกสค., หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและวินัย องค์การค้าของ สกสค., ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, หัวหน้ากลุ่มนิติการ สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ผู้อำนวยการภารกิจกฎหมาย อุทธรณ์ และร้องทุกข์ สำนักงาน ก.ค.ศ., หัวหน้ากลุ่มงานวินัยและนิติการ กลุ่มการเจ้าหน้าที่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, หัวหน้าฝ่ายนิติการ กลุ่มงานเลขานุการกรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยมีนายกำพล วันทา เป็นกรรมการและเลขานุการ
อำนาจหน้าที่: จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาการทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการ, ขับเคลื่อนและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ, กำหนดรูปแบบการติดตาม ประเมินผล และการรายงาน, จัดทำระบบบัญชีเรื่องและคดีความ ประสานงาน/หารือกับส่วนราชการต่าง ๆ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการทุจริต และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประธานคณะกรรมการอำนวยการฯ ทุก 15 วัน
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น