อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 96/2561 องคมนตรี ประชุมกับรัฐมนตรี-ผู้บริหาร ศธ.-นายกสภา มรภ. ในการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 ถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สรุปผลการประชุมร่วมระหว่างองคมนตรีด้านการศึกษา กับผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ และนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ในการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ่ายทอดสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏ เมื่อวันอังคารที่ 3 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถนนศรีอยุธยา
=============
ข้อเสนอแนะขององคมนตรี
ต่อบทบาทและแนวทางดำเนินงานของ มรภ.
=============
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี กล่าวเปิดประชุมว่า ในวันนี้เป็นโอกาสดีที่ได้มาพบปะ เพื่อหารือถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งในเรื่องของการศึกษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10) ทรงให้ความสนพระทัยและห่วงใยเป็นอย่างมาก กล่าวคือ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราโชบายด้านการศึกษาในหลายประการที่สำคัญ และทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์ ตั้งเป็น "โครงการกองทุนการศึกษา" เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือโรงเรียน ทั้งด้านความพร้อมทางกายภาพ การเรียนการสอน ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ อาทิ การซ่อมแซมบ้านพักครูในโรงเรียนต่างจังหวัดและท้องถิ่นห่างไกล เพื่อให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น, การรับเด็กมาเรียนครู อาจเปิดโอกาสให้เด็กในพื้นที่มาเรียนครูเพิ่มมากขึ้น เพื่ออยู่ในโรงเรียนได้นานและปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นได้ง่าย เป็นต้น พร้อมมีพระราชดำรัสแก่คณะองคมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 ความว่า "ต้องการให้องคมนตรีลงไปช่วยดูแลเรื่องการศึกษา" ใน 2 ประเด็นหลัก คือ
1) การลดความแตกต่างและสร้างมาตรฐานการศึกษาให้เท่าเทียมกัน ระหว่างโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลหรือชายขอบ กับโรงเรียนในชุมชนเมือง ให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น
2) การสร้างคนให้เป็นคนดี ต้องการให้องคมนตรีสอนคนเป็นคนดี มีคุณธรรม ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าทรงเน้นคุณธรรมเรื่อง "ความซื่อสัตย์" มาเป็นระยะเวลานาน เพราะการสร้างคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นเรื่องสำคัญ และมีความเกี่ยวโยงไปถึงครูกับศิษย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏในฐานะผลิตครูโดยตรง เมื่อครูรักลูกศิษย์ ลูกศิษย์ก็จะรักครู เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการถ่ายทอดความรู้ จึงขอให้ครูเป็นต้นแบบในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม กระทำให้เด็กเห็นและทำตาม
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปณิธานตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะในเรื่องของปัญหาหนี้สินครู ทรงมีความห่วงใยเป็นอย่างมาก จึงมีรับสั่งให้องคมนตรีช่วยหาทางแก้ไข เพื่อไม่ให้ครูมีห่วงหรือกังวลกับการหมุนเวียนเงินเพื่อชำระหนี้ อันจะส่งผลต่อการถ่ายทอดความรู้อย่างไม่เต็มที่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องคิดทั้งระบบ มิใช่เพียงผ่อนชำระหนี้เท่านั้น แต่จะต้องปลูกฝังแนวคิดให้กับครู ไม่ยึดติดกับระบบกู้ยืมเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ ที่จะต้องเป็นหนี้เพราะรักษาสิทธิ์ตัวเองจากการค้ำประกันให้ผู้อื่น รวมทั้งการนำเงินในอนาคตมาใช้ด้วย
ในขณะนี้โครงการกองทุนการศึกษา ก็พยายามหาทางช่วยเหลือครูที่มีภาระหนี้สินจากการเรียนเพิ่มวุฒิการศึกษา รวมทั้งค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยได้ทดลองเปิดสอนหลักสูตรภาคพิเศษในช่วงปิดภาคเรียนแก่ครู มรภ.ภาคกลางตอนล่าง ได้แก่ มรภ.นครปฐม, มรภ.กาญจนบุรี, มรภ.หมู่บ้านจอมบึง และ มรภ.เพชรบุรี โดยจัดหาที่พักภายในมหาวิทยาลัยหรือบริเวณโดยรอบที่มีราคาไม่สูงนัก ทำให้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเรียน
อย่างไรก็ตาม ระบบการแก้ปัญหาหนี้สินทั้งหมด ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการด้วยว่ามองภาพครูในยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นอย่างไร อาจจะเป็นครูที่พร้อมออกไปต่อสู้กับโลกยุคใหม่ ครูที่จะต้องสร้างคนดีให้กับสังคม หรือครูที่แข่งขันได้กับนานาประเทศ ซึ่งภาพเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ส่วนหนึ่งอยู่ที่วิธีแก้ปัญหาหนี้สินครูซึ่งเป็นตัวถ่วงที่สำคัญต่อครูส่วนใหญ่ในขณะนี้ และการจะสร้างครูตามภาพที่ มรภ.คาดหวังได้หรือไม่นั้น ต้องให้ความสำคัญตั้งแต่ผู้เรียนที่จะเข้าสู่การผลิตเป็นครู โดยเฉพาะการรับเด็กในพื้นที่มาเรียนครู ถือเป็นตัวป้อนที่ดี เพราะนอกจากเด็กจะปรับตัวให้เข้ากับท้องถิ่นได้ง่ายแล้ว ยังสามารถอยู่ในพื้นที่ได้นานกว่าด้วย ส่วนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่อาจต้องเริ่มปลูกฝังและบ่มเพาะแนวคิด ไม่นำเงินในอนาคตมาใช้ ตั้งแต่เรียนครูชั้นปีที่ 1 มิเช่นนั้นจะทำได้ยาก
ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวถึงพระราชดํารัส ตอบรับการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ว่า “ข้าพเจ้าขอตอบรับเพื่อสนองพระราชปณิธานและเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง” โดยขอให้รัฐบาลทำหน้าที่เพื่อให้ประชาชนมีความสุขให้มากที่สุด พร้อมสานต่อแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงทำมาตลอด 70 ปีที่ผ่านมา ไม่ให้น้อยลงไปกว่าเดิม
นอกจากนี้ ทรงมีพระราชหัตถเลขาแก่คณะองคมนตรีที่เข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2560 เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในท้องถิ่นและภูมิภาค ตามที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานพระบรมราโชบายว่า “ช่วยเขาเพื่อให้เขาช่วยตัวเอง ช่วยกันพัฒนาการเกษตรและชลประทาน” ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งได้แบ่งงานกันทำในทุกภูมิภาคทั่วประเทศแล้ว
ทั้งนี้ ขอฝากให้ช่วยคิดว่า จะดึงลักษณะโดดเด่นเฉพาะของ มรภ. เพื่อนำมาสร้างความเป็นเลิศสูงสุดได้อย่างไร โดยความเป็นเลิศไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ อาจจะเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ช่วยเหลือโรงเรียนระดับอนุบาลหรือประถมศึกษาก็สามารถทำให้เป็นเลิศได้ ทุกสิ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยคุณภาพงานตามเป้าหมาย แต่เบื้องต้นเราต้องหาความเป็นเลิศและจัดระบบของตนเอง จนมีความเป็น “Unique System” เสียก่อน จากนั้นจึงจะเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นเข้ามาศึกษาดูงานได้
ทั้งนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้ทรงแนะนำการทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏหลายประการ อาทิ
- ทำงานให้เข้าเป้า ตามบทบาทหน้าที่แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่กำหนดให้มีหน้าที่ยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ของตนเป็นสำคัญ อาทิ การน้อมนำพระราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการพัฒนาคุณภาพครูประจำการ ว่า “ครูเมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องเรียนใหม่ เพราะความรู้ใหม่นั้นเกิดขึ้นมากมาย เพื่อให้ความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ” ซึ่งการยกระดับการศึกษาถือเป็นโจทย์ใหญ่ มรภ.จึงต้องดำเนินการในภาพรวม ตั้งแต่นักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน หลักสูตร การสอบ และการวัดและประเมินผล มรภ.ต้องยึดมั่นในหน้าที่ของตนเองตามกฎหมายและดำเนินการให้ดีที่สุด ก็จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และเกิดคุณประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
- มุ่งเน้นสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้แก่ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง, มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง-มีคุณธรรม, มีงานทำ-มีอาชีพ และเป็นพลเมืองที่ดี นอกจากนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความหมายของการเป็นพลเมืองดีไว้ด้วยว่า “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ” ทำด้วยความมีน้ำใจและความเอื้ออาทร อาทิ งานจิตอาสา งานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศลต่าง ๆ เป็นต้น จึงขอฝากให้ทุกคนพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเพื่อบ้านเมืองและประชาชน และช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ต้องให้ช่วยกันปลูกฝังคือ เรื่องของคุณธรรมจริยธรรม ด้านความมีวินัยและการเป็นแบบอย่างที่ดี โดยอบรมให้ความรู้แก่ครูอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เพื่อไปสร้างเสริมแก่เด็กและเยาวชนไทยต่อไป รวมถึงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
จากการเดินทางไปตรวจเยี่ยมครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ก็พบว่าครูยังขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิตและมีปัญหาหนี้สิน ทั้งจากการเช่าที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าซื้อรถยนต์, ค่าน้ำมัน
หาก มรภ. จะช่วยให้แนวคิดเรื่องความพอเพียงแก่นักเรียนนักศึกษาและครู ก็จะเป็นหลักพื้นฐานการดำรงชีวิตตั้งอยู่บนความพอเพียง และช่วยลดปัญหาเรื่องหนี้สินได้อย่างดีที่สุด
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี กล่าวว่า ขอให้ มรภ.น้อมนำพระราโชบายในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงของชาติ ด้วยการยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ ตลอดจนพัฒนาครูและโรงเรียนให้มีคุณภาพ เนื่องจาก “การศึกษาคือความมั่นคงของประเทศ” โดยทรงเน้นย้ำด้านการพัฒนาท้องถิ่น เป็นพิเศษ ให้ทำงานเข้าถึงประชาชน พร้อมรับทราบปัญหาความต้องการ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาทางช่วยเหลือแก้ไข และปรับตัวให้เหมาะสมตามสภาพและประเพณีของท้องถิ่นด้วย
โดยขอให้ยึดถือยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) สำหรับจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สนองพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น แบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ
1) Bottom up การทำงานคลุกคลีกับประชาชน เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของชุมชนโดยตรง จากนั้นนำมาพัฒนางานวิจัยเพื่อช่วยเหลือต่อไป
2) Top Down คิดค้นโครงการ/กิจกรรมใหม่พร้อมลงมือทำจนประสบความสำเร็จ หากเกิดผลดีจึงเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมโครงการ
3) Relationship มีการสร้างเครือข่ายกับนักพัฒนาที่เป็นที่ยอมรับของชุมชน เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้และพัฒนาระบบงานวิจัยในแต่ละท้องถิ่นต่อไป
4) Sources of Funding ดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งเป็นแหล่งทุนสนับสนุน โดยเน้นงานในลักษณะ Area-Based สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด พร้อมร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและดำเนินโครงการพัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพของ มรภ.อย่างเต็มที่
จากการเดินทางไปตรวจเยี่ยม มรภ.หลายแห่ง พบว่า ขาดการทำงานร่วมระดับจังหวัด ควรให้ความสำคัญและร่วมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดมากขึ้น, โครงการพัฒนาท้องถิ่นยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ, โครงการส่วนใหญ่ยังให้น้ำหนักกับการต่อยอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของท้องถิ่นเพียงด้านเดียว จึงต้องเพิ่มโครงการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น, ขาดแผนการติดตามและประเมินผลที่เหมาะสม ควรมีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการที่แท้จริง ก่อนที่จะกำหนดเป้าหมายร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัด พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนร่วมด้วย เป็นต้น
จึงขอให้ยึดถือยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในฐานะ “คนของพระราชา” ที่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างมีเป้าหมาย ทั่วถึง และยั่งยืน ซึ่งการจะเข้าไปช่วยเหลือได้ตรงจุด มรภ.ต้องศึกษาและเรียนรู้ข้อมูลในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยอาจเข้าร่วมจัดทำ Big Data กับกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้รู้ข้อมูลความต้องการตลอดจนศักยภาพของพื้นที่มากขึ้น สิ่งสำคัญคือขอให้น้อมนำพระมหากรุณาธิคุณด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ความห่วงใยต่อพสกนิกร ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สื่อสารและสร้างการรับรู้ในทุกชุมชน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชน อันจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และทำให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครู ควรจัดให้มีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตครู ให้มีคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นมีความรู้ทางวิชาการ มีประสบการณ์การเรียนรู้ เข้ารับการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน เพื่อเปิดโลกทัศน์ในสิ่งใหม่, การปลูกฝังความเป็นพลเมือง, เทคนิคการสอนดี ถ่ายทอดเข้าใจง่าย, การให้ความสำคัญกับระดับการเรียนรู้ผู้เรียน, การสร้างแรงบันดาลใจ ตลอดจนบุคลิกภาพที่ดี ในส่วนของจิตวิญญาณความเป็นครูขอให้ดำรงไว้ในคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 19
จากการติดตามและประเมินผลคุณภาพบัณฑิตครู พบว่า การประเมินผลอยู่ในระดับผลผลิต (Output) เชิงปริมาณเท่านั้น ยังไม่มีการประเมินผลลัพธ์ (Outcome) จึงควรจัดให้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบัณฑิตด้วย เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และปรับปรุงหลักสูตรการผลิตครูให้ตรงกับความต้องการ, หลักสูตรผลิตครูยังขาดเนื้อหาการสร้างทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็นรูปธรรม และขาดการปรับปรุงรายละเอียดหลักสูตรที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพและสร้างความโดดเด่นแก่บัณฑิตตามบริบทของ มรภ.แต่ละแห่ง, ครูใหม่บางคนยังไม่มีประสบการณ์การสอนในชั้นเรียน จึงแนะนำให้มีการกำหนดชั่วโมงการสอนในชั้นเรียน และให้นำไปประกอบการพิจารณาบรรจุหรือแต่งตั้ง ส่วนครูเดิมอาจจัดเวลาให้เข้าสอนหรือทำหน้าที่สังเกตการณ์ในห้องเรียน เพื่อใช้ประกอบการประเมินด้านคุณภาพด้วย, การจัดหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาครู ต้องให้ครูทบทวนจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง พร้อมสอบถามความต้องการของครูก่อน จึงจะสามารถจัดหลักสูตรฝึกอบรมได้ตรงตามเป้าหมายและตามความต้องการจำเป็น ต่อไป
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับคุณภาพการศึกษา จากการตรวจเยี่ยมพบว่า หลายแห่งยังขาดการวิเคราะห์สภาพและศักยภาพตามบริบทขององค์กร (SWOT Analysis) รวมถึงปัจจัยด้านคุณภาพการศึกษา, แนวทางการพัฒนาท้องถิ่น, สมรรถนะของบัณฑิตในแต่ละสาขาวิชา และความต้องการของตลาดแรงงานทั้งระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ, ยังไม่ให้ความสำคัญกับบทบาทการเป็นมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง ขาดแผนงานภาพรวมและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะดึงศักยภาพที่มีอยู่ไปช่วยพัฒนาสถานศึกษาในท้องถิ่น เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการบริหารจัดการ มรภ.หลายแห่งยังไม่มีแผนการ Re-Profile ตามบริบทของตนเอง และตอบโจทย์พื้นที่อย่างชัดเจน จึงได้ให้หลักการไว้ว่า “ทุกพื้นที่มีผู้รับผิดชอบหลัก ทำงานข้ามพื้นที่ได้ แต่ให้มีการบูรณาการกับเจ้าของพื้นที่ด้วย” โดยยังคงพัฒนาท้องถิ่นทั้งในเชิง Area-Based และ Functional-Based นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการจัดทำฐานข้อมูลยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงไม่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ จากการประชุมหารือเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามยุทธศาสตร์ใหม่ ระหว่างผู้แทนที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานเลขาธิการคุรสภา และสำนักงบประมาณ ทำให้ทราบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดประเภทสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อใช้ในการปรับสัดส่วนตัวชี้วัดระดับคณะหรือสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) Research or Global University 2) Innovative & Entrepreneurial University 3) Social and Community University 4) Professional University ในส่วนของ มรภ. ยังคงจุดเน้นการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทหน้าที่หลัก ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานที่สำนักงบประมาณกำหนดไว้ในโครงสร้างแผนงานรองรับยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ปีงบประมาณ 2562
จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี หาก มรภ.กำหนดตัวชี้วัดการประเมินได้อย่างชัดเจน ก็จะสามารถเสนอของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้นด้วย ส่วนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา มีความพร้อมที่จะปรับมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อออกใบประกอบวิชาชีพครูให้ตรงกับคุณภาพของครูที่จะผลิตออกมาด้วย.
=============
แนวทางนโยบายของรัฐมนตรี
เลขาธิการ กกอ. ประธาน ปทอ.มรภ.
และตัวแทนนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ
ในการขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมของ มรภ.
สนองพระราโชบายด้านการศึกษา
ของในหลวงรัชกาลที่ 10
=============
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในนามกระทรวงศึกษาธิการว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่องคมนตรีด้านการศึกษาทั้ง 4 ท่าน ได้มาพบปะและน้อมนำพระราโชบายในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10) โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ถ่ายทอดสู่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ และนายกสภา มรภ. ในครั้งนี้ พร้อมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ภายหลังที่ได้มีการประชุมหารือร่วมระหว่างองคมนตรีและอธิการบดี มรภ. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ณ สำนักงานองคมนตรี ซึ่งได้ขยายผลสร้างการรับรู้ต่อนายกสภา มรภ. และมหาวิทยาลัยทุกแห่ง เพื่อนำสู่การปฏิบัติมีความก้าวหน้าในหลายเรื่องแล้ว
สำหรับความก้าวหน้าของกระทรวงศึกษาธิการ ในการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ และขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาภายใต้การบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า ได้ดำเนินงานสนองพระราโชบายด้านการศึกษา ซึ่งมีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรมในหลายประการ อาทิ
- การปรับหลักเกณฑ์การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จาก 2 ปี เป็น 4 ปี เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนครูและครูย้ายออกนอกพื้นที่
- การซ่อมบ้านพักครู ซึ่งการดำเนินงานมีความก้าวหน้า และเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี โดยในปีนี้จะดำเนินการในส่วนที่ตกหล่นทั้งหมด
- โรงเรียนคุณธรรม มีการพัฒนาอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง พร้อมขยายการดำเนินงานไปยังทุกเครือข่ายของสถานศึกษา
- หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะและการพัฒนาข้าราชการครูแนวใหม่ "จากพระราชกระแสฯ ... สู่การพัฒนาครูทั้งระบบ" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีความห่วงใยต่อคุณภาพการศึกษาของชาติ โดยทรงมีพระราชหัตถเลขา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ความว่า “ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหาร เพื่อให้ได้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดี ซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมี reward” กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักและดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมปรับหลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่จนประสบความสำเร็จ และเชื่อว่าการประเมินวิทยฐานะแนวทางใหม่นี้ จะช่วยแก้ปัญหาการประเมินที่เป็นธรรม โดยเฉพาะครูที่อยู่แต่ในห้องเรียน ครูที่ตั้งใจสอน จะได้รับการตอบแทนที่มีความเหมาะสมมากขึ้น ตลอดจนลดการทำเอกสารเพื่อการประเมินด้วย
- หนี้สินครู เห็นด้วยกับองคมนตรีที่ต้องแก้ปัญหาหนี้สินครู ตั้งแต่ระบบความคิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อไป อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการกำลังหารือร่วมกับธนาคารออมสินเพื่อช่วยเหลือครูที่เป็นหนี้ในโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) จำนวนกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้รับเงินคืน (Keep Back) จากธนาคารออมสินในอัตราร้อยละ 0.5-1 แต่ในเร็ว ๆ นี้ จะลงนามความร่วมมือกับธนาคารออมสินเพื่อยกเลิกการส่งเงินคืนให้กับ สกสค. แต่จะนำเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้ครูที่มีสถานะชำระหนี้ระดับดี ซึ่งจะมีมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท นอกจากนี้ จะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับครูที่มีหนี้ในสภาวะวิกฤตกว่า 1 หมื่นคนจากครูทั้งหมดกว่า 4 แสนคน ซึ่งครูส่วนใหญ่มี NPL (Non-Performing Loan) หรือหนี้เสีย เพียงประมาณร้อยละ 10 แต่เมื่อปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เชื่อว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลต่อไปของปัญหาหนี้สินครูคือ การกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ซึ่งจะลงไปดูในรายละเอียดเร็ว ๆ นี้ต่อไป
ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในระดับนโยบาย ระดับผู้บริหาร และระดับผู้ปฏิบัติ มีความตั้งใจในการดำเนินนโยบายพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านได้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาสู่การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเข้มแข็ง คือ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้ขับเคลื่อนและบูรณาการการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบ อาทิ การดำเนินนโยบายสู่การปฏิบัติตามแผนงาน การจัดสรรงบประมาณ การบริหารงานบุคคล โครงการ เป็นต้น ส่วน ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตกำลังคนในสาขาขาดแคลน ตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศ รวมทั้งให้แนวทางนโยบายเรื่องดังกล่าวในการลงพื้นที่ต่าง ๆ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ รวมทั้งในโอกาสเฝ้าฯ รับเสด็จฯ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตลอดจนงานเฉพาะกิจต่าง ๆ อีกด้วย
โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฝากให้ มรภ.ช่วยขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาใน 2 ส่วนสำคัญ คือ
1) การดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับบริติช เคานซิล (British Council) ประเทศไทย ในการจัดค่ายอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้มข้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยอบรมกับเจ้าของภาษา เพื่อสร้างครูแกนนำสอนภาษาอังกฤษของ สพฐ.ขยายผลไปทั่วประเทศ ในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งขณะนี้โครงการมีความก้าวหน้าไปมาก สพฐ.สามารถอบรมครูเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในเวลากว่า 2 ปี โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาครูภาษาอังกฤษของไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการน้อมนำพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อให้ทันโลกว่า “ให้พึงนึกในใจไว้ว่า เราไม่ได้เรียนเพื่อเป็นฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะเป็นคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง” ซึ่งการเรียนภาษาอังกฤษจะช่วยให้ครูของเราสื่อสารภาษาสากล และเท่าทันกับความรู้วิทยาการสมัยใหม่ด้วย
จึงขอเสนอให้ มรภ.สานต่อโครงการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต่อไป เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาครู นักเรียนนักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศูนย์พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) ระดับภูมิภาค (Regional English Training Centre) ใน มรภ.ทั้ง 15 แห่ง ทั้งครูอาจารย์ของ มรภ.เอง ครูอาจารย์ที่ผ่านการอบรมมานานแล้ว นักศึกษาที่จะเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ หรือนักศึกษาที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น ตลอดจนขยายผลสู่การพัฒนาครูในสังกัดการศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ขอให้ มรภ.ทำสัญญาร่วมโครงการให้ทันก่อนหมดสัญญาในช่วงเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
2) โครงการพัฒนาครูด้วยระบบคูปองครู เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีความก้าวหน้าและได้รับการตอบรับอย่างดี ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาครูที่อยู่พื้นที่ห่างไกล และอบรมครูได้ตรงตามความต้องการพัฒนาตนเองมากขึ้น โดยการดำเนินงานในปีนี้ จะนำประเด็นปัญหามาปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นใน 2 ประเด็น คือ มีข้อเรียกร้องของครูให้ มรภ.ในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นผู้จัดหลักสูตรอบรม และในเรื่องของคุณภาพหลักสูตร ขณะนี้ ศธ.ได้จัดระบบคัดเลือกหลักสูตร เพื่อคงมาตรฐานและระดับความเข้มข้นในการอบรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยในปีนี้แม้จะมีหลักสูตรเสนอเข้ามาถึง 5,000 หลักสูตร แต่มีหลักสูตรผ่านการพิจารณาเพียงไม่กี่ร้อยหลักสูตร จึงเสนอให้ มรภ.จัดหลักสูตรอบรมในนามสถาบันอุดมศึกษามากขึ้น หากหลักสูตรใดยังไม่ผ่านการพิจารณา ก็ขอให้ปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพราะถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง มรภ. ตอบโจทย์พัฒนาท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง รวมทั้งได้ขยายผลการจัดการอบรมให้กับครูประจำการในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนต่อไปด้วย
นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวถึงการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษามาขับเคลื่อนการดำเนินงานว่า ปัจจุบัน มรภ.ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับเครือข่ายพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน ในการกำหนดปัญหาเพื่อนำสู่การพัฒนาโครงการ ตลอดจนจัดหาแหล่งทุน และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยดำเนินการตามแผนการพัฒนาภาคตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลความต้องการ (Big Data) จัดการบริการวิชาการและจัดหลักสูตรอบรม ตลอดจนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้าน และจัดระบบติดตามและประเมินผล พร้อมรับฟังความคิดเห็นเพื่อการพัฒนา ทั้งหมดนี้ดำเนินการในรูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคเอกชน และประชาชนที่สนใจ
นอกจากนี้ มรภ. ยังได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับการผลิตครูตามยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู เพื่อสร้างครูที่มีคุณลักษณะที่ดีและมีคุณภาพร่วมกับทุกภาคส่วน อาทิ การพัฒนาหลักสูตรผลิตครูร่วมกับประเทศฟินแลนด์, การจัดการอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Boot Camp), การเปิดศูนย์ฝึกอบรม 9 มาตรฐาน, โครงการ U-School Mentor, ร่วมจัดหลักสูตรตามนโยบายคูปองพัฒนาครู, ส่งเสริมโรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น
ผศ.ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) กล่าวถึงเจตนารมณ์ของ มรภ.ทั้ง 38 แห่งว่า มีความตั้งใจในการน้อมนำพระราโชบายเรื่องการให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและยกระดับการศึกษาของคนในพื้นที่ โดยในช่วงแรกเป็นช่วงของการปรับตัวและมีการดำเนินโครงการตามความถนัดของแต่ละพื้นที่ ซึ่งยอมรับว่าอาจจะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด จากนั้นจึงมีการมุ่งเน้นดำเนินการและขยายผลโครงการของ มรภ.ที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การผลิตครู, การผลิตสื่อการศึกษาผ่านสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม, การมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาความขาดแคลน ยากจน และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในระดับจังหวัด, โครงการตามนโยบายไทยนิยม ยั่งยืน เป็นต้น
ทั้งนี้ จะสรุปรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวม เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาลรับทราบ และเผยแพร่ความก้าวหน้าผลงานและความสำเร็จที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
นายกร ทัพพะรังสี นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เสนอความเป็นไปได้ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงใส่พระทัยด้านการศึกษาของ มรภ.มาโดยตลอด โดยคาดหวังให้มหาวิทยาลัยดังกล่าว เป็นต้นแบบการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและพัฒนาคุณภาพครูต่อไป
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กล่าวว่า การเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ทำให้ทุกฝ่ายได้รับทราบพระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ทรงสนพระทัยและห่วงใยการจัดการศึกษาของ มรภ.เป็นอย่างมาก และทรงมอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามกรอบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้
ดังนั้น จึงเชื่อว่าหาก มรภ. ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวอย่างเต็มที่ ก็จะสามารถพัฒนา มรภ.ให้มีความโดดเด่นตามบทบาทภารกิจและหน้าที่ได้อย่างไม่ต้องพึ่งพาใคร พร้อมทั้งขอเสนอให้มีการหารือร่วมกันระหว่างนายกสภา มรภ. และอธิการบดี มรภ. เพื่อพิจารณากรอบแผนงานผลิตครูดี ครูพันธุ์ใหม่ หรือครูพันธุ์พิเศษ และนำสู่การปฏิบัติโดยเร็ว เพื่อผลิตบัณฑิต มรภ.ให้ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ต่อไป
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวสรุปถึงการประชุมครั้งนี้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากที่ทุกฝ่ายได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อให้นายกสภา มรภ. ได้นำไปถ่ายทอดสู่ฝ่ายบริหารของสภา มรภ. ที่จะทำให้งานเดินหน้าไปด้วย จึงขอขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารทุกองค์กรหลัก และในฐานะนายกสภามหาลัยราชภัฏเพชรบุรีก็จะได้น้อมนำแนวคิดและนำผลจากการประชุมหารือในครั้งนี้ไปปฏิบัติให้บังเกิดผลต่อไปเช่นเดียวกันด้วย.
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 96/2561 องคมนตรี ประชุมกับรัฐมนตรี-ผู้บริหาร ศธ.-นายกสภา มรภ. ในการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 ถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สรุปผลการประชุมร่วมระหว่างองคมนตรีด้านการศึกษา กับผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ และนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ในการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ่ายทอดสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏ เมื่อวันอังคารที่ 3 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถนนศรีอยุธยา
ข้อเสนอแนะขององคมนตรี
ต่อบทบาทและแนวทางดำเนินงานของ มรภ.
ต่อบทบาทและแนวทางดำเนินงานของ มรภ.
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี กล่าวเปิดประชุมว่า ในวันนี้เป็นโอกาสดีที่ได้มาพบปะ เพื่อหารือถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งในเรื่องของการศึกษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10) ทรงให้ความสนพระทัยและห่วงใยเป็นอย่างมาก กล่าวคือ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราโชบายด้านการศึกษาในหลายประการที่สำคัญ และทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์ ตั้งเป็น "โครงการกองทุนการศึกษา" เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือโรงเรียน ทั้งด้านความพร้อมทางกายภาพ การเรียนการสอน ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ อาทิ การซ่อมแซมบ้านพักครูในโรงเรียนต่างจังหวัดและท้องถิ่นห่างไกล เพื่อให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น, การรับเด็กมาเรียนครู อาจเปิดโอกาสให้เด็กในพื้นที่มาเรียนครูเพิ่มมากขึ้น เพื่ออยู่ในโรงเรียนได้นานและปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นได้ง่าย เป็นต้น พร้อมมีพระราชดำรัสแก่คณะองคมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 ความว่า "ต้องการให้องคมนตรีลงไปช่วยดูแลเรื่องการศึกษา" ใน 2 ประเด็นหลัก คือ
1) การลดความแตกต่างและสร้างมาตรฐานการศึกษาให้เท่าเทียมกัน ระหว่างโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลหรือชายขอบ กับโรงเรียนในชุมชนเมือง ให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น
2) การสร้างคนให้เป็นคนดี ต้องการให้องคมนตรีสอนคนเป็นคนดี มีคุณธรรม ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าทรงเน้นคุณธรรมเรื่อง "ความซื่อสัตย์" มาเป็นระยะเวลานาน เพราะการสร้างคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นเรื่องสำคัญ และมีความเกี่ยวโยงไปถึงครูกับศิษย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏในฐานะผลิตครูโดยตรง เมื่อครูรักลูกศิษย์ ลูกศิษย์ก็จะรักครู เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการถ่ายทอดความรู้ จึงขอให้ครูเป็นต้นแบบในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม กระทำให้เด็กเห็นและทำตาม
2) การสร้างคนให้เป็นคนดี ต้องการให้องคมนตรีสอนคนเป็นคนดี มีคุณธรรม ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าทรงเน้นคุณธรรมเรื่อง "ความซื่อสัตย์" มาเป็นระยะเวลานาน เพราะการสร้างคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นเรื่องสำคัญ และมีความเกี่ยวโยงไปถึงครูกับศิษย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏในฐานะผลิตครูโดยตรง เมื่อครูรักลูกศิษย์ ลูกศิษย์ก็จะรักครู เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการถ่ายทอดความรู้ จึงขอให้ครูเป็นต้นแบบในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม กระทำให้เด็กเห็นและทำตาม
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปณิธานตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะในเรื่องของปัญหาหนี้สินครู ทรงมีความห่วงใยเป็นอย่างมาก จึงมีรับสั่งให้องคมนตรีช่วยหาทางแก้ไข เพื่อไม่ให้ครูมีห่วงหรือกังวลกับการหมุนเวียนเงินเพื่อชำระหนี้ อันจะส่งผลต่อการถ่ายทอดความรู้อย่างไม่เต็มที่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องคิดทั้งระบบ มิใช่เพียงผ่อนชำระหนี้เท่านั้น แต่จะต้องปลูกฝังแนวคิดให้กับครู ไม่ยึดติดกับระบบกู้ยืมเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ ที่จะต้องเป็นหนี้เพราะรักษาสิทธิ์ตัวเองจากการค้ำประกันให้ผู้อื่น รวมทั้งการนำเงินในอนาคตมาใช้ด้วย
ในขณะนี้โครงการกองทุนการศึกษา ก็พยายามหาทางช่วยเหลือครูที่มีภาระหนี้สินจากการเรียนเพิ่มวุฒิการศึกษา รวมทั้งค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยได้ทดลองเปิดสอนหลักสูตรภาคพิเศษในช่วงปิดภาคเรียนแก่ครู มรภ.ภาคกลางตอนล่าง ได้แก่ มรภ.นครปฐม, มรภ.กาญจนบุรี, มรภ.หมู่บ้านจอมบึง และ มรภ.เพชรบุรี โดยจัดหาที่พักภายในมหาวิทยาลัยหรือบริเวณโดยรอบที่มีราคาไม่สูงนัก ทำให้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเรียน
อย่างไรก็ตาม ระบบการแก้ปัญหาหนี้สินทั้งหมด ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการด้วยว่ามองภาพครูในยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นอย่างไร อาจจะเป็นครูที่พร้อมออกไปต่อสู้กับโลกยุคใหม่ ครูที่จะต้องสร้างคนดีให้กับสังคม หรือครูที่แข่งขันได้กับนานาประเทศ ซึ่งภาพเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ส่วนหนึ่งอยู่ที่วิธีแก้ปัญหาหนี้สินครูซึ่งเป็นตัวถ่วงที่สำคัญต่อครูส่วนใหญ่ในขณะนี้ และการจะสร้างครูตามภาพที่ มรภ.คาดหวังได้หรือไม่นั้น ต้องให้ความสำคัญตั้งแต่ผู้เรียนที่จะเข้าสู่การผลิตเป็นครู โดยเฉพาะการรับเด็กในพื้นที่มาเรียนครู ถือเป็นตัวป้อนที่ดี เพราะนอกจากเด็กจะปรับตัวให้เข้ากับท้องถิ่นได้ง่ายแล้ว ยังสามารถอยู่ในพื้นที่ได้นานกว่าด้วย ส่วนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่อาจต้องเริ่มปลูกฝังและบ่มเพาะแนวคิด ไม่นำเงินในอนาคตมาใช้ ตั้งแต่เรียนครูชั้นปีที่ 1 มิเช่นนั้นจะทำได้ยาก
ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวถึงพระราชดํารัส ตอบรับการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ว่า “ข้าพเจ้าขอตอบรับเพื่อสนองพระราชปณิธานและเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง” โดยขอให้รัฐบาลทำหน้าที่เพื่อให้ประชาชนมีความสุขให้มากที่สุด พร้อมสานต่อแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงทำมาตลอด 70 ปีที่ผ่านมา ไม่ให้น้อยลงไปกว่าเดิม
ทั้งนี้ ขอฝากให้ช่วยคิดว่า จะดึงลักษณะโดดเด่นเฉพาะของ มรภ. เพื่อนำมาสร้างความเป็นเลิศสูงสุดได้อย่างไร โดยความเป็นเลิศไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ อาจจะเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ช่วยเหลือโรงเรียนระดับอนุบาลหรือประถมศึกษาก็สามารถทำให้เป็นเลิศได้ ทุกสิ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยคุณภาพงานตามเป้าหมาย แต่เบื้องต้นเราต้องหาความเป็นเลิศและจัดระบบของตนเอง จนมีความเป็น “Unique System” เสียก่อน จากนั้นจึงจะเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นเข้ามาศึกษาดูงานได้
ทั้งนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้ทรงแนะนำการทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏหลายประการ อาทิ
- ทำงานให้เข้าเป้า ตามบทบาทหน้าที่แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่กำหนดให้มีหน้าที่ยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ของตนเป็นสำคัญ อาทิ การน้อมนำพระราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการพัฒนาคุณภาพครูประจำการ ว่า “ครูเมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องเรียนใหม่ เพราะความรู้ใหม่นั้นเกิดขึ้นมากมาย เพื่อให้ความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ” ซึ่งการยกระดับการศึกษาถือเป็นโจทย์ใหญ่ มรภ.จึงต้องดำเนินการในภาพรวม ตั้งแต่นักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน หลักสูตร การสอบ และการวัดและประเมินผล มรภ.ต้องยึดมั่นในหน้าที่ของตนเองตามกฎหมายและดำเนินการให้ดีที่สุด ก็จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และเกิดคุณประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
- มุ่งเน้นสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้แก่ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง, มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง-มีคุณธรรม, มีงานทำ-มีอาชีพ และเป็นพลเมืองที่ดี นอกจากนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความหมายของการเป็นพลเมืองดีไว้ด้วยว่า “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ” ทำด้วยความมีน้ำใจและความเอื้ออาทร อาทิ งานจิตอาสา งานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศลต่าง ๆ เป็นต้น จึงขอฝากให้ทุกคนพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเพื่อบ้านเมืองและประชาชน และช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ต้องให้ช่วยกันปลูกฝังคือ เรื่องของคุณธรรมจริยธรรม ด้านความมีวินัยและการเป็นแบบอย่างที่ดี โดยอบรมให้ความรู้แก่ครูอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เพื่อไปสร้างเสริมแก่เด็กและเยาวชนไทยต่อไป รวมถึงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
จากการเดินทางไปตรวจเยี่ยมครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ก็พบว่าครูยังขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิตและมีปัญหาหนี้สิน ทั้งจากการเช่าที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าซื้อรถยนต์, ค่าน้ำมัน
หาก มรภ. จะช่วยให้แนวคิดเรื่องความพอเพียงแก่นักเรียนนักศึกษาและครู ก็จะเป็นหลักพื้นฐานการดำรงชีวิตตั้งอยู่บนความพอเพียง และช่วยลดปัญหาเรื่องหนี้สินได้อย่างดีที่สุด
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี กล่าวว่า ขอให้ มรภ.น้อมนำพระราโชบายในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงของชาติ ด้วยการยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ ตลอดจนพัฒนาครูและโรงเรียนให้มีคุณภาพ เนื่องจาก “การศึกษาคือความมั่นคงของประเทศ” โดยทรงเน้นย้ำด้านการพัฒนาท้องถิ่น เป็นพิเศษ ให้ทำงานเข้าถึงประชาชน พร้อมรับทราบปัญหาความต้องการ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาทางช่วยเหลือแก้ไข และปรับตัวให้เหมาะสมตามสภาพและประเพณีของท้องถิ่นด้วย
โดยขอให้ยึดถือยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) สำหรับจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สนองพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น แบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ
1) Bottom up การทำงานคลุกคลีกับประชาชน เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของชุมชนโดยตรง จากนั้นนำมาพัฒนางานวิจัยเพื่อช่วยเหลือต่อไป
2) Top Down คิดค้นโครงการ/กิจกรรมใหม่พร้อมลงมือทำจนประสบความสำเร็จ หากเกิดผลดีจึงเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมโครงการ
3) Relationship มีการสร้างเครือข่ายกับนักพัฒนาที่เป็นที่ยอมรับของชุมชน เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้และพัฒนาระบบงานวิจัยในแต่ละท้องถิ่นต่อไป
4) Sources of Funding ดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งเป็นแหล่งทุนสนับสนุน โดยเน้นงานในลักษณะ Area-Based สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด พร้อมร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและดำเนินโครงการพัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพของ มรภ.อย่างเต็มที่
2) Top Down คิดค้นโครงการ/กิจกรรมใหม่พร้อมลงมือทำจนประสบความสำเร็จ หากเกิดผลดีจึงเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมโครงการ
3) Relationship มีการสร้างเครือข่ายกับนักพัฒนาที่เป็นที่ยอมรับของชุมชน เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้และพัฒนาระบบงานวิจัยในแต่ละท้องถิ่นต่อไป
4) Sources of Funding ดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งเป็นแหล่งทุนสนับสนุน โดยเน้นงานในลักษณะ Area-Based สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด พร้อมร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและดำเนินโครงการพัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพของ มรภ.อย่างเต็มที่
จึงขอให้ยึดถือยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในฐานะ “คนของพระราชา” ที่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างมีเป้าหมาย ทั่วถึง และยั่งยืน ซึ่งการจะเข้าไปช่วยเหลือได้ตรงจุด มรภ.ต้องศึกษาและเรียนรู้ข้อมูลในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยอาจเข้าร่วมจัดทำ Big Data กับกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้รู้ข้อมูลความต้องการตลอดจนศักยภาพของพื้นที่มากขึ้น สิ่งสำคัญคือขอให้น้อมนำพระมหากรุณาธิคุณด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ความห่วงใยต่อพสกนิกร ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สื่อสารและสร้างการรับรู้ในทุกชุมชน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชน อันจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และทำให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครู ควรจัดให้มีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตครู ให้มีคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นมีความรู้ทางวิชาการ มีประสบการณ์การเรียนรู้ เข้ารับการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน เพื่อเปิดโลกทัศน์ในสิ่งใหม่, การปลูกฝังความเป็นพลเมือง, เทคนิคการสอนดี ถ่ายทอดเข้าใจง่าย, การให้ความสำคัญกับระดับการเรียนรู้ผู้เรียน, การสร้างแรงบันดาลใจ ตลอดจนบุคลิกภาพที่ดี ในส่วนของจิตวิญญาณความเป็นครูขอให้ดำรงไว้ในคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 19
จากการติดตามและประเมินผลคุณภาพบัณฑิตครู พบว่า การประเมินผลอยู่ในระดับผลผลิต (Output) เชิงปริมาณเท่านั้น ยังไม่มีการประเมินผลลัพธ์ (Outcome) จึงควรจัดให้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบัณฑิตด้วย เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และปรับปรุงหลักสูตรการผลิตครูให้ตรงกับความต้องการ, หลักสูตรผลิตครูยังขาดเนื้อหาการสร้างทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็นรูปธรรม และขาดการปรับปรุงรายละเอียดหลักสูตรที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพและสร้างความโดดเด่นแก่บัณฑิตตามบริบทของ มรภ.แต่ละแห่ง, ครูใหม่บางคนยังไม่มีประสบการณ์การสอนในชั้นเรียน จึงแนะนำให้มีการกำหนดชั่วโมงการสอนในชั้นเรียน และให้นำไปประกอบการพิจารณาบรรจุหรือแต่งตั้ง ส่วนครูเดิมอาจจัดเวลาให้เข้าสอนหรือทำหน้าที่สังเกตการณ์ในห้องเรียน เพื่อใช้ประกอบการประเมินด้านคุณภาพด้วย, การจัดหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาครู ต้องให้ครูทบทวนจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง พร้อมสอบถามความต้องการของครูก่อน จึงจะสามารถจัดหลักสูตรฝึกอบรมได้ตรงตามเป้าหมายและตามความต้องการจำเป็น ต่อไป
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับคุณภาพการศึกษา จากการตรวจเยี่ยมพบว่า หลายแห่งยังขาดการวิเคราะห์สภาพและศักยภาพตามบริบทขององค์กร (SWOT Analysis) รวมถึงปัจจัยด้านคุณภาพการศึกษา, แนวทางการพัฒนาท้องถิ่น, สมรรถนะของบัณฑิตในแต่ละสาขาวิชา และความต้องการของตลาดแรงงานทั้งระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ, ยังไม่ให้ความสำคัญกับบทบาทการเป็นมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง ขาดแผนงานภาพรวมและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะดึงศักยภาพที่มีอยู่ไปช่วยพัฒนาสถานศึกษาในท้องถิ่น เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการบริหารจัดการ มรภ.หลายแห่งยังไม่มีแผนการ Re-Profile ตามบริบทของตนเอง และตอบโจทย์พื้นที่อย่างชัดเจน จึงได้ให้หลักการไว้ว่า “ทุกพื้นที่มีผู้รับผิดชอบหลัก ทำงานข้ามพื้นที่ได้ แต่ให้มีการบูรณาการกับเจ้าของพื้นที่ด้วย” โดยยังคงพัฒนาท้องถิ่นทั้งในเชิง Area-Based และ Functional-Based นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการจัดทำฐานข้อมูลยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงไม่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ จากการประชุมหารือเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามยุทธศาสตร์ใหม่ ระหว่างผู้แทนที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานเลขาธิการคุรสภา และสำนักงบประมาณ ทำให้ทราบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดประเภทสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อใช้ในการปรับสัดส่วนตัวชี้วัดระดับคณะหรือสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) Research or Global University 2) Innovative & Entrepreneurial University 3) Social and Community University 4) Professional University ในส่วนของ มรภ. ยังคงจุดเน้นการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทหน้าที่หลัก ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานที่สำนักงบประมาณกำหนดไว้ในโครงสร้างแผนงานรองรับยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ปีงบประมาณ 2562
จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี หาก มรภ.กำหนดตัวชี้วัดการประเมินได้อย่างชัดเจน ก็จะสามารถเสนอของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้นด้วย ส่วนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา มีความพร้อมที่จะปรับมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อออกใบประกอบวิชาชีพครูให้ตรงกับคุณภาพของครูที่จะผลิตออกมาด้วย.
แนวทางนโยบายของรัฐมนตรี
เลขาธิการ กกอ. ประธาน ปทอ.มรภ.
และตัวแทนนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ
ในการขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมของ มรภ.
สนองพระราโชบายด้านการศึกษา
ของในหลวงรัชกาลที่ 10
เลขาธิการ กกอ. ประธาน ปทอ.มรภ.
และตัวแทนนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ
ในการขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมของ มรภ.
สนองพระราโชบายด้านการศึกษา
ของในหลวงรัชกาลที่ 10
=============
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในนามกระทรวงศึกษาธิการว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่องคมนตรีด้านการศึกษาทั้ง 4 ท่าน ได้มาพบปะและน้อมนำพระราโชบายในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10) โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ถ่ายทอดสู่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ และนายกสภา มรภ. ในครั้งนี้ พร้อมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ภายหลังที่ได้มีการประชุมหารือร่วมระหว่างองคมนตรีและอธิการบดี มรภ. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ณ สำนักงานองคมนตรี ซึ่งได้ขยายผลสร้างการรับรู้ต่อนายกสภา มรภ. และมหาวิทยาลัยทุกแห่ง เพื่อนำสู่การปฏิบัติมีความก้าวหน้าในหลายเรื่องแล้ว
สำหรับความก้าวหน้าของกระทรวงศึกษาธิการ ในการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ และขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาภายใต้การบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า ได้ดำเนินงานสนองพระราโชบายด้านการศึกษา ซึ่งมีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรมในหลายประการ อาทิ
- การปรับหลักเกณฑ์การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จาก 2 ปี เป็น 4 ปี เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนครูและครูย้ายออกนอกพื้นที่
- การซ่อมบ้านพักครู ซึ่งการดำเนินงานมีความก้าวหน้า และเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี โดยในปีนี้จะดำเนินการในส่วนที่ตกหล่นทั้งหมด
- โรงเรียนคุณธรรม มีการพัฒนาอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง พร้อมขยายการดำเนินงานไปยังทุกเครือข่ายของสถานศึกษา
- หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะและการพัฒนาข้าราชการครูแนวใหม่ "จากพระราชกระแสฯ ... สู่การพัฒนาครูทั้งระบบ" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีความห่วงใยต่อคุณภาพการศึกษาของชาติ โดยทรงมีพระราชหัตถเลขา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ความว่า “ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหาร เพื่อให้ได้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดี ซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมี reward” กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักและดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมปรับหลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่จนประสบความสำเร็จ และเชื่อว่าการประเมินวิทยฐานะแนวทางใหม่นี้ จะช่วยแก้ปัญหาการประเมินที่เป็นธรรม โดยเฉพาะครูที่อยู่แต่ในห้องเรียน ครูที่ตั้งใจสอน จะได้รับการตอบแทนที่มีความเหมาะสมมากขึ้น ตลอดจนลดการทำเอกสารเพื่อการประเมินด้วย
- การซ่อมบ้านพักครู ซึ่งการดำเนินงานมีความก้าวหน้า และเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี โดยในปีนี้จะดำเนินการในส่วนที่ตกหล่นทั้งหมด
- โรงเรียนคุณธรรม มีการพัฒนาอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง พร้อมขยายการดำเนินงานไปยังทุกเครือข่ายของสถานศึกษา
- หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะและการพัฒนาข้าราชการครูแนวใหม่ "จากพระราชกระแสฯ ... สู่การพัฒนาครูทั้งระบบ" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีความห่วงใยต่อคุณภาพการศึกษาของชาติ โดยทรงมีพระราชหัตถเลขา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ความว่า “ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหาร เพื่อให้ได้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดี ซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมี reward” กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักและดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมปรับหลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่จนประสบความสำเร็จ และเชื่อว่าการประเมินวิทยฐานะแนวทางใหม่นี้ จะช่วยแก้ปัญหาการประเมินที่เป็นธรรม โดยเฉพาะครูที่อยู่แต่ในห้องเรียน ครูที่ตั้งใจสอน จะได้รับการตอบแทนที่มีความเหมาะสมมากขึ้น ตลอดจนลดการทำเอกสารเพื่อการประเมินด้วย
- หนี้สินครู เห็นด้วยกับองคมนตรีที่ต้องแก้ปัญหาหนี้สินครู ตั้งแต่ระบบความคิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อไป อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการกำลังหารือร่วมกับธนาคารออมสินเพื่อช่วยเหลือครูที่เป็นหนี้ในโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) จำนวนกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้รับเงินคืน (Keep Back) จากธนาคารออมสินในอัตราร้อยละ 0.5-1 แต่ในเร็ว ๆ นี้ จะลงนามความร่วมมือกับธนาคารออมสินเพื่อยกเลิกการส่งเงินคืนให้กับ สกสค. แต่จะนำเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้ครูที่มีสถานะชำระหนี้ระดับดี ซึ่งจะมีมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท นอกจากนี้ จะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับครูที่มีหนี้ในสภาวะวิกฤตกว่า 1 หมื่นคนจากครูทั้งหมดกว่า 4 แสนคน ซึ่งครูส่วนใหญ่มี NPL (Non-Performing Loan) หรือหนี้เสีย เพียงประมาณร้อยละ 10 แต่เมื่อปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เชื่อว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลต่อไปของปัญหาหนี้สินครูคือ การกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ซึ่งจะลงไปดูในรายละเอียดเร็ว ๆ นี้ต่อไป
ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในระดับนโยบาย ระดับผู้บริหาร และระดับผู้ปฏิบัติ มีความตั้งใจในการดำเนินนโยบายพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านได้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาสู่การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเข้มแข็ง คือ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้ขับเคลื่อนและบูรณาการการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบ อาทิ การดำเนินนโยบายสู่การปฏิบัติตามแผนงาน การจัดสรรงบประมาณ การบริหารงานบุคคล โครงการ เป็นต้น ส่วน ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตกำลังคนในสาขาขาดแคลน ตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศ รวมทั้งให้แนวทางนโยบายเรื่องดังกล่าวในการลงพื้นที่ต่าง ๆ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ รวมทั้งในโอกาสเฝ้าฯ รับเสด็จฯ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตลอดจนงานเฉพาะกิจต่าง ๆ อีกด้วย
โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฝากให้ มรภ.ช่วยขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาใน 2 ส่วนสำคัญ คือ
1) การดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับบริติช เคานซิล (British Council) ประเทศไทย ในการจัดค่ายอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้มข้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยอบรมกับเจ้าของภาษา เพื่อสร้างครูแกนนำสอนภาษาอังกฤษของ สพฐ.ขยายผลไปทั่วประเทศ ในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งขณะนี้โครงการมีความก้าวหน้าไปมาก สพฐ.สามารถอบรมครูเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในเวลากว่า 2 ปี โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาครูภาษาอังกฤษของไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการน้อมนำพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อให้ทันโลกว่า “ให้พึงนึกในใจไว้ว่า เราไม่ได้เรียนเพื่อเป็นฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะเป็นคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง” ซึ่งการเรียนภาษาอังกฤษจะช่วยให้ครูของเราสื่อสารภาษาสากล และเท่าทันกับความรู้วิทยาการสมัยใหม่ด้วย
1) การดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับบริติช เคานซิล (British Council) ประเทศไทย ในการจัดค่ายอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้มข้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยอบรมกับเจ้าของภาษา เพื่อสร้างครูแกนนำสอนภาษาอังกฤษของ สพฐ.ขยายผลไปทั่วประเทศ ในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งขณะนี้โครงการมีความก้าวหน้าไปมาก สพฐ.สามารถอบรมครูเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในเวลากว่า 2 ปี โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาครูภาษาอังกฤษของไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการน้อมนำพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อให้ทันโลกว่า “ให้พึงนึกในใจไว้ว่า เราไม่ได้เรียนเพื่อเป็นฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะเป็นคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง” ซึ่งการเรียนภาษาอังกฤษจะช่วยให้ครูของเราสื่อสารภาษาสากล และเท่าทันกับความรู้วิทยาการสมัยใหม่ด้วย
จึงขอเสนอให้ มรภ.สานต่อโครงการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต่อไป เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาครู นักเรียนนักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศูนย์พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) ระดับภูมิภาค (Regional English Training Centre) ใน มรภ.ทั้ง 15 แห่ง ทั้งครูอาจารย์ของ มรภ.เอง ครูอาจารย์ที่ผ่านการอบรมมานานแล้ว นักศึกษาที่จะเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ หรือนักศึกษาที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น ตลอดจนขยายผลสู่การพัฒนาครูในสังกัดการศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ขอให้ มรภ.ทำสัญญาร่วมโครงการให้ทันก่อนหมดสัญญาในช่วงเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
2) โครงการพัฒนาครูด้วยระบบคูปองครู เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีความก้าวหน้าและได้รับการตอบรับอย่างดี ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาครูที่อยู่พื้นที่ห่างไกล และอบรมครูได้ตรงตามความต้องการพัฒนาตนเองมากขึ้น โดยการดำเนินงานในปีนี้ จะนำประเด็นปัญหามาปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นใน 2 ประเด็น คือ มีข้อเรียกร้องของครูให้ มรภ.ในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นผู้จัดหลักสูตรอบรม และในเรื่องของคุณภาพหลักสูตร ขณะนี้ ศธ.ได้จัดระบบคัดเลือกหลักสูตร เพื่อคงมาตรฐานและระดับความเข้มข้นในการอบรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยในปีนี้แม้จะมีหลักสูตรเสนอเข้ามาถึง 5,000 หลักสูตร แต่มีหลักสูตรผ่านการพิจารณาเพียงไม่กี่ร้อยหลักสูตร จึงเสนอให้ มรภ.จัดหลักสูตรอบรมในนามสถาบันอุดมศึกษามากขึ้น หากหลักสูตรใดยังไม่ผ่านการพิจารณา ก็ขอให้ปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพราะถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง มรภ. ตอบโจทย์พัฒนาท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง รวมทั้งได้ขยายผลการจัดการอบรมให้กับครูประจำการในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนต่อไปด้วย
นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวถึงการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษามาขับเคลื่อนการดำเนินงานว่า ปัจจุบัน มรภ.ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับเครือข่ายพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน ในการกำหนดปัญหาเพื่อนำสู่การพัฒนาโครงการ ตลอดจนจัดหาแหล่งทุน และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยดำเนินการตามแผนการพัฒนาภาคตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด มีการจัดทำฐานข้อมูลความต้องการ (Big Data) จัดการบริการวิชาการและจัดหลักสูตรอบรม ตลอดจนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้าน และจัดระบบติดตามและประเมินผล พร้อมรับฟังความคิดเห็นเพื่อการพัฒนา ทั้งหมดนี้ดำเนินการในรูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคเอกชน และประชาชนที่สนใจ
นอกจากนี้ มรภ. ยังได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับการผลิตครูตามยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู เพื่อสร้างครูที่มีคุณลักษณะที่ดีและมีคุณภาพร่วมกับทุกภาคส่วน อาทิ การพัฒนาหลักสูตรผลิตครูร่วมกับประเทศฟินแลนด์, การจัดการอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Boot Camp), การเปิดศูนย์ฝึกอบรม 9 มาตรฐาน, โครงการ U-School Mentor, ร่วมจัดหลักสูตรตามนโยบายคูปองพัฒนาครู, ส่งเสริมโรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น
ผศ.ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) กล่าวถึงเจตนารมณ์ของ มรภ.ทั้ง 38 แห่งว่า มีความตั้งใจในการน้อมนำพระราโชบายเรื่องการให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและยกระดับการศึกษาของคนในพื้นที่ โดยในช่วงแรกเป็นช่วงของการปรับตัวและมีการดำเนินโครงการตามความถนัดของแต่ละพื้นที่ ซึ่งยอมรับว่าอาจจะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด จากนั้นจึงมีการมุ่งเน้นดำเนินการและขยายผลโครงการของ มรภ.ที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การผลิตครู, การผลิตสื่อการศึกษาผ่านสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม, การมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาความขาดแคลน ยากจน และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในระดับจังหวัด, โครงการตามนโยบายไทยนิยม ยั่งยืน เป็นต้น
ทั้งนี้ จะสรุปรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวม เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาลรับทราบ และเผยแพร่ความก้าวหน้าผลงานและความสำเร็จที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
นายกร ทัพพะรังสี นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เสนอความเป็นไปได้ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงใส่พระทัยด้านการศึกษาของ มรภ.มาโดยตลอด โดยคาดหวังให้มหาวิทยาลัยดังกล่าว เป็นต้นแบบการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและพัฒนาคุณภาพครูต่อไป
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กล่าวว่า การเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ทำให้ทุกฝ่ายได้รับทราบพระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ทรงสนพระทัยและห่วงใยการจัดการศึกษาของ มรภ.เป็นอย่างมาก และทรงมอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามกรอบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้
ดังนั้น จึงเชื่อว่าหาก มรภ. ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวอย่างเต็มที่ ก็จะสามารถพัฒนา มรภ.ให้มีความโดดเด่นตามบทบาทภารกิจและหน้าที่ได้อย่างไม่ต้องพึ่งพาใคร พร้อมทั้งขอเสนอให้มีการหารือร่วมกันระหว่างนายกสภา มรภ. และอธิการบดี มรภ. เพื่อพิจารณากรอบแผนงานผลิตครูดี ครูพันธุ์ใหม่ หรือครูพันธุ์พิเศษ และนำสู่การปฏิบัติโดยเร็ว เพื่อผลิตบัณฑิต มรภ.ให้ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ต่อไป
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวสรุปถึงการประชุมครั้งนี้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากที่ทุกฝ่ายได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อให้นายกสภา มรภ. ได้นำไปถ่ายทอดสู่ฝ่ายบริหารของสภา มรภ. ที่จะทำให้งานเดินหน้าไปด้วย จึงขอขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารทุกองค์กรหลัก และในฐานะนายกสภามหาลัยราชภัฏเพชรบุรีก็จะได้น้อมนำแนวคิดและนำผลจากการประชุมหารือในครั้งนี้ไปปฏิบัติให้บังเกิดผลต่อไปเช่นเดียวกันด้วย.
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น