อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 112/2561
รมว.ศธ.ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดบุรีรัมย์ : เมื่อวันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อติดตามการก่อสร้างอาคารเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม สภาพปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตของสถานศึกษา การประเมินและประกันคุณภาพการศึกษารอบที่ 4 รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการในประเด็นอื่น ๆ ของสถานศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2561 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ณ โรงเรียนพุทไธสง อำเภอพุทไธสง โดยมีผู้แทนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, สช., สอศ., สกอ. และ กศน. ในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ เข้าร่วมประชุม
-
ติดตามการก่อสร้างอาคารเรียนเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
นายประชัย พรสง่ากุล ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทไธสง รายงานข้อมูลว่า โรงเรียนพุทไธสงเป็นโรงเรียนประจำอำเภอพุทไธสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนจำนวน 2,863 คน ผู้บริหารจำนวน 6 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 179 คน
จากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2560 ทำให้อาคารเรียนของโรงเรียนพุทไธสงจำนวน 3 หลังได้รับความเสียหายอย่างหนัก โครงสร้างอาคารชำรุด วัสดุเสื่อมสภาพ ไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน จึงมีคำสั่งให้รื้อถอนและงดใช้อาคารเรียนทั้ง 3 หลัง ส่งผลให้นักเรียนขาดห้องเรียน 48 ห้อง ปัจจุบันโรงเรียนได้สร้างห้องเรียนชั่วคราวให้ใช้งานก่อน โดยใช้สถานที่ใต้ถุนอาคาร ลานจอดรถ ซุ้มกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น จึงต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ได้แก่
1) อาคารสำเร็จรูปชั่วคราว (Knockdown Building) เพื่อใช้เป็นห้องเรียนจำนวน 24 ห้อง ระหว่างรอการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่
2) อาคารเรียนถาวร 2 หลัง งบประมาณ 48,087,400 บาท ขณะนี้ สพฐ.จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคาร จำนวน 1 หลัง ในปีงบประมาณ 2562
3) ระบบป้องกันน้ำท่วม
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือทำให้เด็กมีสภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดี ซึ่งอาคารเรียนชั่วคราวที่ใช้อยู่ขณะนี้มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน จึงมอบหมายให้ สพฐ.จัดหาอาคารสำเร็จรูปชั่วคราว (Knockdown Building) สำหรับเป็นห้องเรียน จำนวน 48 ห้อง เพื่อให้เพียงพอกับห้องเรียนที่ขาดไป ส่วนเรื่องการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรนั้น คาดว่า สพฐ.จะมีงบประมาณเหลือจ่ายในการก่อสร้างพอสมควร เพื่อนำมาพิจารณาจัดสรรให้กับโรงเรียนที่มีความจำเป็นเร่งด่วนก่อน
ซึ่ง จากการตรวจเยี่ยมก็พบว่าโรงเรียนพุทไธสงมีความเดือดร้อนมาก จึงจะพยายามจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเรียนและระบบระบายน้ำให้ หากเป็นไปตามแผนดังกล่าว โรงเรียนพุทไธสงจะได้อาคารเรียนใหม่ทั้งสองหลังภายในปี 2562 ทั้งนี้คาดว่าจะทราบผลในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2561
-
ติดตามการใช้อินเตอร์เน็ตในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าว ถึงโครงการ MOENet ว่าเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งที่ผ่านมาใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้านบาทต่อปี โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จ่ายเงินจำนวน 2 พันล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยโรงเรียนละ 5,000 บาท, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) จ่ายเงินจำนวน 1 พันล้านบาทต่อปี, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จ่ายเงินจำนวน 130 ล้านบาทต่อไป แบ่งเป็นโรงเรียนละ 25,000 บาทต่อปี และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) แบ่งออกเป็นระดับตำบลละ 995 บาท บางแห่งก็ใช้ 5,000 บาท ซึ่งแต่ละที่มีค่าใช้อินเตอร์เน็ตไม่เท่ากัน ขณะที่ค่าบริการอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้มีราคาถูกลง ควรจะใช้งบประมาณน้อยลง ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลการใช้งบ 3 พันกว่าล้านนั้นปรากฏว่าเป็นการเช่าดาวเทียมเดือนละ 7 ล้านบาท และยังปัญหาอีกส่วนที่พบคือไม่มีการทำสัญญา หรือเอกสารการจ้าง (TOR) ใด ๆ ทั้งสิ้น
นอกจากนี้ ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนด้วยว่า MOENet ไม่ถือเป็นผู้ให้บริการ ไม่มีตัวตน แต่ MOENet ไปซื้อบริการจากเครือข่ายจากเอกชน แล้วนำมาปล่อยสัญญาณต่อให้สถานศึกษา โดยที่สถานศึกษาไม่สามารถทราบได้ว่าแต่ละเดือนได้ใช้อินเตอร์เน็ตไปเท่าไหร่ ดังนั้นจึงต้องทำให้ไม่มี MOENet และให้สิทธิ์ผู้บริหารสถานศึกษา ได้เลือกเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับสถานศึกษาของตนเอง
ขณะเดียวกันต้องขอชื่นชม นายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่เข้ามาปรึกษากับตน เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างอินเตอร์เน็ตว่าต้องมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งนายประเสริฐฯ ได้พยายามให้มีการจัดซื้อจัดจ้างแล้วแต่ไม่เป็นผล ตลอดจนโดนขู่ว่าหากไม่ต่อสัญญา MOENet โรงเรียนจะไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ทั้งที่สัญญาดังกล่าวไม่เคยมีมาตั้งแต่ต้น จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ ศธ. เปลี่ยนแปลงระบบอินเตอร์เน็ตใหม่ทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน
ในส่วนของ โรงเรียนเอกชน ขณะนี้ผู้ให้บริการ Uninet ยืนยันแล้วว่าสามารถให้บริการโรงเรียนเอกชนได้ทุกโรงเรียน ซึ่งจะมีการเสนอเรื่องเข้า ครม.โดยเร็ว และมอบหมายให้ นายพะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา ติดตามผลในเรื่องนี้
นางสาววรินทร ปัดกอง ผู้อำนวยการโรงเรียนสมเสม็ดวิทยา จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่าโรงเรียนสมเสม็ดวิทยา ประสบปัญหาขาดแคลนคอมพิวเตอร์ โดยโรงเรียนได้รับงบประมาณซื้อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปี 2551 จำนวน 10 เครื่อง ปัจจุบันเหลือคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ จำนวน 5 เครื่อง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน ขณะที่ปีงบประมาณ 2560 ทางโรงเรียนมีเงินเหลือจากการก่อสร้างโรงอาหาร ประมาณ 700,000 บาท และต้องส่งคืน สพฐ. โรงเรียนจึงอยากขอใช้เงินที่เหลือนี้มาจัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับนักเรียน ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ เห็นว่าโรงเรียนสมเสม็ดวิทยาอยู่ในกลุ่มที่มีความจำเป็นสูง ขอให้ สพฐ.เร่งพิจารณาเงินเหลือจ่ายมาช่วยเหลือด้วย
นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า กรณีงบประมาณเหลือจ่ายปีนี้มีความต้องการที่หลากหลายมาก นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงให้ดึงงบประมาณกลับไปที่ สพฐ. ก่อน แล้วจะมีคณะกรรมการฯ พิจารณาจัดสรรให้ตามความจำเป็น จึงฝากให้ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสำรวจข้อมูลโรงเรียนที่มีความจำเป็นลักษณะเดียวกันส่งให้ด้วยเพื่อพิจารณาไปในคราวเดียวกัน
-
การประเมินและประกันคุณภาพการศึกษา รอบที่ 4
รมว.ศึกษาธิการ ทำความเข้าใจกับผู้เข้าประชุมเรื่องการประเมินฯ รอบที่ 4 ว่าจะเป็นการประเมินแนวใหม่คือ ไม่สร้างภาระให้สถานศึกษาในการเตรียมข้อมูล โดยจะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการประเมินตั้งแต่ต้น สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดทำการประเมินตนเองเพียงฉบับเดียวแล้วส่งให้หน่วยงานต้นสังกัด และยังสามารถออกแบบตัวชี้วัดการประกันภายในได้เองตามความเหมาะสม
เพียงแต่ตอบคำถาม 3 ข้อให้ได้ คือ 1) โรงเรียนมีคุณภาพในระดับใด 2) คุณภาพของโรงเรียนวัดจากอะไร 3) จะพัฒนาตนเองได้อย่างไร จากนั้นต้นสังกัดจะนำรายงานของสถานศึกษาส่งให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาฯ (สมศ.) พร้อมข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ ต่อไป
-
ชี้แจงการบรรลุข้อตกลงลดดอกเบี้ย 1% เงินกู้โครงการ ช.พ.ค.
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จะลงนามบันทึกข้อตกลงกับ ธนาคารออมสิน ในการ ลดดอกเบี้ยหนี้เงินกู้ 0.5-1% ตามโครงการสวัสดิการเงินกู้การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ตั้งแต่โครงการ 2-7 โดยเฉพาะครูที่มีวินัยในการชำระหนี้ที่ดี ภายในเดือนเมษายนนี้ และเมื่อลงนามแล้วจะมีผลบังคับใช้ทันที
-
เยี่ยมชม Buriram United Academy เพื่อนำไปปรับใช้ โรงเรียนกีฬาหรือห้องเรียนกีฬา
จากนั้น รมว.ศึกษาธิการ ได้เดินทางไปที่ Buriram United Academy เพื่อเยี่ยมชมการฝึกสอนเยาวชนสู่การเป็นนักฟุตบอลระดับโลก และเยี่ยมชมบุรีรัมย์ อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต สนามแข่งรถมาตรฐานสหพันธ์รถยนต์ระหว่างประเทศ (FIA)
พร้อมทั้งกล่าวว่า การมาเยี่ยมชมครั้งนี้เพื่อนำไปเป็นแนวทางสำหรับโรงเรียนกีฬาหรือห้องเรียนกีฬาที่เรามีอยู่ การได้มาเห็นว่า Buriram United Academy เตรียมนักกีฬาตั้งแต่วัยเด็กอย่างไร ที่สำคัญคือ "ใจ" ของทีมผู้ฝึกสอน การดูแลความเป็นอยู่ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทาง Buriram United Academy ได้ทุ่มเทมาตลอด เมื่อเด็กเติบโตขึ้นบางคนอาจจะไม่ได้เล่นฟุตบอล แต่เด็กจะมีวินัย มีอนาคตที่ดี
หากเรารอให้มีวิทยาลัยกีฬาก่อนจึงคิดจะมาทำตามก็คงไม่ทัน เราไม่ได้คิดจะทำแข่งกัน แต่จะใช้องค์ความรู้ของ Buriram United Academy มาช่วยบริหารจัดการในเรื่องนี้ต่อไป
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 112/2561
รมว.ศธ.ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดบุรีรัมย์ : เมื่อวันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อติดตามการก่อสร้างอาคารเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม สภาพปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตของสถานศึกษา การประเมินและประกันคุณภาพการศึกษารอบที่ 4 รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการในประเด็นอื่น ๆ ของสถานศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2561 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ณ โรงเรียนพุทไธสง อำเภอพุทไธสง โดยมีผู้แทนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, สช., สอศ., สกอ. และ กศน. ในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ เข้าร่วมประชุม
ติดตามการก่อสร้างอาคารเรียนเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม นายประชัย พรสง่ากุล ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทไธสง รายงานข้อมูลว่า โรงเรียนพุทไธสงเป็นโรงเรียนประจำอำเภอพุทไธสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนจำนวน 2,863 คน ผู้บริหารจำนวน 6 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 179 คน จากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2560 ทำให้อาคารเรียนของโรงเรียนพุทไธสงจำนวน 3 หลังได้รับความเสียหายอย่างหนัก โครงสร้างอาคารชำรุด วัสดุเสื่อมสภาพ ไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน จึงมีคำสั่งให้รื้อถอนและงดใช้อาคารเรียนทั้ง 3 หลัง ส่งผลให้นักเรียนขาดห้องเรียน 48 ห้อง ปัจจุบันโรงเรียนได้สร้างห้องเรียนชั่วคราวให้ใช้งานก่อน โดยใช้สถานที่ใต้ถุนอาคาร ลานจอดรถ ซุ้มกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น จึงต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ได้แก่ 1) อาคารสำเร็จรูปชั่วคราว (Knockdown Building) เพื่อใช้เป็นห้องเรียนจำนวน 24 ห้อง ระหว่างรอการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ 2) อาคารเรียนถาวร 2 หลัง งบประมาณ 48,087,400 บาท ขณะนี้ สพฐ.จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคาร จำนวน 1 หลัง ในปีงบประมาณ 2562 3) ระบบป้องกันน้ำท่วม รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือทำให้เด็กมีสภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดี ซึ่งอาคารเรียนชั่วคราวที่ใช้อยู่ขณะนี้มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน จึงมอบหมายให้ สพฐ.จัดหาอาคารสำเร็จรูปชั่วคราว (Knockdown Building) สำหรับเป็นห้องเรียน จำนวน 48 ห้อง เพื่อให้เพียงพอกับห้องเรียนที่ขาดไป ส่วนเรื่องการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรนั้น คาดว่า สพฐ.จะมีงบประมาณเหลือจ่ายในการก่อสร้างพอสมควร เพื่อนำมาพิจารณาจัดสรรให้กับโรงเรียนที่มีความจำเป็นเร่งด่วนก่อน ซึ่ง จากการตรวจเยี่ยมก็พบว่าโรงเรียนพุทไธสงมีความเดือดร้อนมาก จึงจะพยายามจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเรียนและระบบระบายน้ำให้ หากเป็นไปตามแผนดังกล่าว โรงเรียนพุทไธสงจะได้อาคารเรียนใหม่ทั้งสองหลังภายในปี 2562 ทั้งนี้คาดว่าจะทราบผลในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2561
ติดตามการใช้อินเตอร์เน็ตในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน รมว.ศึกษาธิการ กล่าว ถึงโครงการ MOENet ว่าเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งที่ผ่านมาใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้านบาทต่อปี โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จ่ายเงินจำนวน 2 พันล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยโรงเรียนละ 5,000 บาท, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) จ่ายเงินจำนวน 1 พันล้านบาทต่อปี, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จ่ายเงินจำนวน 130 ล้านบาทต่อไป แบ่งเป็นโรงเรียนละ 25,000 บาทต่อปี และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) แบ่งออกเป็นระดับตำบลละ 995 บาท บางแห่งก็ใช้ 5,000 บาท ซึ่งแต่ละที่มีค่าใช้อินเตอร์เน็ตไม่เท่ากัน ขณะที่ค่าบริการอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้มีราคาถูกลง ควรจะใช้งบประมาณน้อยลง ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลการใช้งบ 3 พันกว่าล้านนั้นปรากฏว่าเป็นการเช่าดาวเทียมเดือนละ 7 ล้านบาท และยังปัญหาอีกส่วนที่พบคือไม่มีการทำสัญญา หรือเอกสารการจ้าง (TOR) ใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนด้วยว่า MOENet ไม่ถือเป็นผู้ให้บริการ ไม่มีตัวตน แต่ MOENet ไปซื้อบริการจากเครือข่ายจากเอกชน แล้วนำมาปล่อยสัญญาณต่อให้สถานศึกษา โดยที่สถานศึกษาไม่สามารถทราบได้ว่าแต่ละเดือนได้ใช้อินเตอร์เน็ตไปเท่าไหร่ ดังนั้นจึงต้องทำให้ไม่มี MOENet และให้สิทธิ์ผู้บริหารสถานศึกษา ได้เลือกเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับสถานศึกษาของตนเอง ขณะเดียวกันต้องขอชื่นชม นายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่เข้ามาปรึกษากับตน เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างอินเตอร์เน็ตว่าต้องมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งนายประเสริฐฯ ได้พยายามให้มีการจัดซื้อจัดจ้างแล้วแต่ไม่เป็นผล ตลอดจนโดนขู่ว่าหากไม่ต่อสัญญา MOENet โรงเรียนจะไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ทั้งที่สัญญาดังกล่าวไม่เคยมีมาตั้งแต่ต้น จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ ศธ. เปลี่ยนแปลงระบบอินเตอร์เน็ตใหม่ทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน ในส่วนของโรงเรียนเอกชน ขณะนี้ผู้ให้บริการ Uninet ยืนยันแล้วว่าสามารถให้บริการโรงเรียนเอกชนได้ทุกโรงเรียน ซึ่งจะมีการเสนอเรื่องเข้า ครม.โดยเร็ว และมอบหมายให้ นายพะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา ติดตามผลในเรื่องนี้ นางสาววรินทร ปัดกอง ผู้อำนวยการโรงเรียนสมเสม็ดวิทยา จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่าโรงเรียนสมเสม็ดวิทยา ประสบปัญหาขาดแคลนคอมพิวเตอร์ โดยโรงเรียนได้รับงบประมาณซื้อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปี 2551 จำนวน 10 เครื่อง ปัจจุบันเหลือคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ จำนวน 5 เครื่อง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน ขณะที่ปีงบประมาณ 2560 ทางโรงเรียนมีเงินเหลือจากการก่อสร้างโรงอาหาร ประมาณ 700,000 บาท และต้องส่งคืน สพฐ. โรงเรียนจึงอยากขอใช้เงินที่เหลือนี้มาจัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับนักเรียน ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ เห็นว่าโรงเรียนสมเสม็ดวิทยาอยู่ในกลุ่มที่มีความจำเป็นสูง ขอให้ สพฐ.เร่งพิจารณาเงินเหลือจ่ายมาช่วยเหลือด้วย นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า กรณีงบประมาณเหลือจ่ายปีนี้มีความต้องการที่หลากหลายมาก นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงให้ดึงงบประมาณกลับไปที่ สพฐ. ก่อน แล้วจะมีคณะกรรมการฯ พิจารณาจัดสรรให้ตามความจำเป็น จึงฝากให้ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสำรวจข้อมูลโรงเรียนที่มีความจำเป็นลักษณะเดียวกันส่งให้ด้วยเพื่อพิจารณาไปในคราวเดียวกัน
การประเมินและประกันคุณภาพการศึกษา รอบที่ 4 รมว.ศึกษาธิการ ทำความเข้าใจกับผู้เข้าประชุมเรื่องการประเมินฯ รอบที่ 4 ว่าจะเป็นการประเมินแนวใหม่คือ ไม่สร้างภาระให้สถานศึกษาในการเตรียมข้อมูล โดยจะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการประเมินตั้งแต่ต้น สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดทำการประเมินตนเองเพียงฉบับเดียวแล้วส่งให้หน่วยงานต้นสังกัด และยังสามารถออกแบบตัวชี้วัดการประกันภายในได้เองตามความเหมาะสม เพียงแต่ตอบคำถาม 3 ข้อให้ได้ คือ 1) โรงเรียนมีคุณภาพในระดับใด 2) คุณภาพของโรงเรียนวัดจากอะไร 3) จะพัฒนาตนเองได้อย่างไร จากนั้นต้นสังกัดจะนำรายงานของสถานศึกษาส่งให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาฯ (สมศ.) พร้อมข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ ต่อไป
ชี้แจงการบรรลุข้อตกลงลดดอกเบี้ย 1% เงินกู้โครงการ ช.พ.ค. รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จะลงนามบันทึกข้อตกลงกับ ธนาคารออมสิน ในการ ลดดอกเบี้ยหนี้เงินกู้ 0.5-1% ตามโครงการสวัสดิการเงินกู้การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ตั้งแต่โครงการ 2-7 โดยเฉพาะครูที่มีวินัยในการชำระหนี้ที่ดี ภายในเดือนเมษายนนี้ และเมื่อลงนามแล้วจะมีผลบังคับใช้ทันที
เยี่ยมชม Buriram United Academy เพื่อนำไปปรับใช้ โรงเรียนกีฬาหรือห้องเรียนกีฬา จากนั้น รมว.ศึกษาธิการ ได้เดินทางไปที่ Buriram United Academy เพื่อเยี่ยมชมการฝึกสอนเยาวชนสู่การเป็นนักฟุตบอลระดับโลก และเยี่ยมชมบุรีรัมย์ อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต สนามแข่งรถมาตรฐานสหพันธ์รถยนต์ระหว่างประเทศ (FIA) พร้อมทั้งกล่าวว่า การมาเยี่ยมชมครั้งนี้เพื่อนำไปเป็นแนวทางสำหรับโรงเรียนกีฬาหรือห้องเรียนกีฬาที่เรามีอยู่ การได้มาเห็นว่า Buriram United Academy เตรียมนักกีฬาตั้งแต่วัยเด็กอย่างไร ที่สำคัญคือ "ใจ" ของทีมผู้ฝึกสอน การดูแลความเป็นอยู่ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทาง Buriram United Academy ได้ทุ่มเทมาตลอด เมื่อเด็กเติบโตขึ้นบางคนอาจจะไม่ได้เล่นฟุตบอล แต่เด็กจะมีวินัย มีอนาคตที่ดี หากเรารอให้มีวิทยาลัยกีฬาก่อนจึงคิดจะมาทำตามก็คงไม่ทัน เราไม่ได้คิดจะทำแข่งกัน แต่จะใช้องค์ความรู้ของ Buriram United Academy มาช่วยบริหารจัดการในเรื่องนี้ต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น