อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 77/2561 โรงเรียนร่วมพัฒนา ( Partnership School)
กระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนชื่อ Public School เป็น "โรงเรียนร่วมพัฒนา หรือ Partnership School" เตรียมพลิกโฉม 70 โรงเรียนในท้องถิ่น พร้อมปลดล็อคกฎระเบียบการจ้างครู และ การเลื่อนวิทยฐานะที่สามารถนำแนวคิดพัฒนางานใหม่ ๆ มานับเป็นภาระงานได้ ส่วน ผอ. โรงเรียนต้องอยู่ 4 ปี ผลงานดี มีค่าตอบแทนเพิ่มให้ หวังยกระดับคุณภาพมาตรฐานโรงเรียนให้เข้มแข็ง ทุกด้าน ภายใต้การบริหารงานของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในท้องถิ่น พร้อมผูกกับแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและ ยั่งยืน
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบ Public School ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันพุธที่ 11 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ประชุมได้เห็นพ้องร่วมกันที่จะเปลี่ยนชื่อโครงการจาก Public School เป็นโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา หรือ Partnership School" มีสถานะเป็นโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งยังคงได้รับการสนับสนุนงบประมาณ การช่วยดูแลแก้ไขปัญหากฎระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งการส่งเสริมในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน แต่การบริหารงานจะอยู่ภายใต้การดูแลของผู้มีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยภาคเอกชน ผู้นำระดับท้องถิ่น ชุมชน ผู้ปกครอง และมหาวิทยาลัยในพื้นที่นั้น ๆ
"โรงเรียนร่วมพัฒนา" จะมีความแตกต่างจาก "โรงเรียนประชารัฐ" กว่า 3,000 แห่ง เพราะภาคเอกชนไม่แต่เพียงสนับสนุนการจัดการศึกษาเท่านั้น แต่จะร่วมกับภาคประชาสังคมในท้องถิ่นร่วม บริหารจัดการด้วย อีกทั้งจะมีการออกแบบและยกระดับพัฒนาโรงเรียนอย่างเข้มข้น ทั้งในเรื่องของหลักสูตร การพัฒนาครู การสนับสนุนอุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะในเรื่องของหลักสูตร ถือว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานยังมีความยืดหยุ่นถึง 30% ทำให้โรงเรียนสามารถออกแบบหลักสูตรได้ตามความต้องการอย่างเต็มที่ อาทิ เน้นการทำฟาร์มเกษตร, การฝึกปฏิบัติพยาบาลที่สถานพยาบาลชุมชน เป็นต้น
ในส่วนของการบริหารงานบุคคล จากการหารือร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พบว่าขณะนี้มีกฎระเบียบรองรับอยู่แล้ว ทำให้สามารถปลดล็อคได้ในหลาย ๆ เรื่อง อาทิ การกำหนดการจ้างครูใหม่, การกำหนดคุณสมบัติผู้อำนวยการโรงเรียน ที่ต้องอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา 4 ปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับเงินเดือนในอัตราเดิม แต่หากมีผลงานตามเป้าหมายทั้งในเรื่องคุณภาพของผู้เรียน การสร้างระบบที่ดี สามารถเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ได้ ก็จะมีค่าตอบแทน Top up ให้เป็นพิเศษ แต่ย้ำว่ายังคงเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนและนักเรียนเป็นหลัก ไม่ได้นำเรื่องเงินมาเป็นตัวตั้งแต่อย่างใด
สำหรับการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ก็จะมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับหลักสูตร การเรียนการสอน และภาระงานที่เข้มข้นขึ้นเช่นกัน โดยการจัดกิจกรรมของครู ทั้งกิจกรรมนอกห้องเรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิด หรือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน สามารถนับเป็นภาระงานได้ทั้งสิ้น รวมทั้งการเลื่อนวิทยฐานะ แม้จะใช้รูปแบบการประเมินตามระเบียบเดิม แต่ก็สามารถนำแนวคิดในการพัฒนางานใหม่ ๆ มานับเป็นภาระงานได้ ส่วนการนำเงินสนับสนุนของภาคเอกชนมาใช้พัฒนาโรงเรียน ที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการงบประมาณ ขณะนี้เตรียมที่จะหารือร่วมกับกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อไป
ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางการทำงานของคณะกรรมการ โรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) พร้อมทั้งให้จัดตั้งหน่วยงานประสานงานกลาง โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธาน และมีเจ้าหน้าที่ทำงานประจำเต็มเวลา เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางดูแล โรงเรียนร่วมพัฒนา (Partners hip School)โดยไม่ต้องผ่านศึกษาธิการจังหวัดหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่จะทำให้การทำงานและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวดเร็วยิ่งขึ้น
นพ.อุดม กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีภาคเอกชนและบริษัทต่าง ๆ กว่า 10 แห่ง ได้เสนอรายชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 70 แห่ง อาทิ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เสนอชื่อโรงเรียนบ้านหนองไผ่ดุสิตประชา จ.ขอนแก่น, โรงเรียนบ้านภูดิน (มิตรผลอุปถัมภ์) จ.ชัยภูมิ, วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น วิทยาเขตหนองเรือ จ.ขอนแก่น และโรงเรียนสมสะอาดพิทยาสรรพ์ จ.กาฬสินธุ์, โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลอีสานและบริษัทรามาฟู้ด จำกัด เสนอชื่อโรงเรียนวัดปลักไม้ลาย จ.นครปฐม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบริษัทที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานติดต่อกับโรงเรียนที่จะให้การสนับสนุน
ส่วนข้อกังวลใจของภาคเอกชน เกี่ยวกับความไม่ต่อเนื่องของโครงการเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลนั้น ได้ยืนยันไปแล้วว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ กระทรวงศึกษาธิการจึงจะระบุโครงการไว้ในยุทธศาสตร์และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และเป็นเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา
ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีน้อยลงหรือทำให้แย่ลงคงเป็นเรื่องยาก และจะต้องถูกจับตามองจากประชาชน สังคม ตลอดจนสื่อมวลชนด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 77/2561โรงเรียนร่วมพัฒนา ( Partnership School)
กระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนชื่อPublic School เป็น "โรงเรียนร่วมพัฒนา หรือ Partnership School" เตรียมพลิกโฉม 70 โรงเรียนในท้องถิ่น พร้อมปลดล็อคกฎระเบียบการจ้างครู และ การเลื่อนวิทยฐานะที่สามารถนำแนวคิดพัฒนางานใหม่ ๆ มานับเป็นภาระงานได้ ส่วน ผอ. โรงเรียนต้องอยู่ 4 ปี ผลงานดี มีค่าตอบแทนเพิ่มให้ หวังยกระดับคุณภาพมาตรฐานโรงเรียนให้เข้มแข็ง ทุกด้าน ภายใต้การบริหารงานของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในท้องถิ่น พร้อมผูกกับแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและ ยั่งยืน ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบ Public School ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันพุธที่ 11 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ประชุมได้เห็นพ้องร่วมกันที่จะเปลี่ยนชื่อโครงการจาก Public School เป็นโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา หรือPartnership School" มีสถานะเป็นโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งยังคงได้รับการสนับสนุนงบประมาณ การช่วยดูแลแก้ไขปัญหากฎระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งการส่งเสริมในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน แต่การบริหารงานจะอยู่ภายใต้การดูแลของผู้มีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยภาคเอกชน ผู้นำระดับท้องถิ่น ชุมชน ผู้ปกครอง และมหาวิทยาลัยในพื้นที่นั้น ๆ "โรงเรียนร่วมพัฒนา" จะมีความแตกต่างจาก "โรงเรียนประชารัฐ" กว่า 3,000 แห่ง เพราะภาคเอกชนไม่แต่เพียงสนับสนุนการจัดการศึกษาเท่านั้น แต่จะร่วมกับภาคประชาสังคมในท้องถิ่นร่วมบริหารจัดการด้วย อีกทั้งจะมีการออกแบบและยกระดับพัฒนาโรงเรียนอย่างเข้มข้น ทั้งในเรื่องของหลักสูตร การพัฒนาครู การสนับสนุนอุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะในเรื่องของหลักสูตร ถือว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานยังมีความยืดหยุ่นถึง 30% ทำให้โรงเรียนสามารถออกแบบหลักสูตรได้ตามความต้องการอย่างเต็มที่ อาทิ เน้นการทำฟาร์มเกษตร, การฝึกปฏิบัติพยาบาลที่สถานพยาบาลชุมชน เป็นต้น ในส่วนของการบริหารงานบุคคล จากการหารือร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พบว่าขณะนี้มีกฎระเบียบรองรับอยู่แล้ว ทำให้สามารถปลดล็อคได้ในหลาย ๆ เรื่อง อาทิ การกำหนดการจ้างครูใหม่, การกำหนดคุณสมบัติผู้อำนวยการโรงเรียน ที่ต้องอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา 4 ปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับเงินเดือนในอัตราเดิม แต่หากมีผลงานตามเป้าหมายทั้งในเรื่องคุณภาพของผู้เรียน การสร้างระบบที่ดี สามารถเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ได้ ก็จะมีค่าตอบแทน Top up ให้เป็นพิเศษ แต่ย้ำว่ายังคงเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนและนักเรียนเป็นหลัก ไม่ได้นำเรื่องเงินมาเป็นตัวตั้งแต่อย่างใดสำหรับการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ก็จะมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับหลักสูตร การเรียนการสอน และภาระงานที่เข้มข้นขึ้นเช่นกัน โดยการจัดกิจกรรมของครู ทั้งกิจกรรมนอกห้องเรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิด หรือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน สามารถนับเป็นภาระงานได้ทั้งสิ้น รวมทั้งการเลื่อนวิทยฐานะ แม้จะใช้รูปแบบการประเมินตามระเบียบเดิม แต่ก็สามารถนำแนวคิดในการพัฒนางานใหม่ ๆ มานับเป็นภาระงานได้ ส่วนการนำเงินสนับสนุนของภาคเอกชนมาใช้พัฒนาโรงเรียน ที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการงบประมาณ ขณะนี้เตรียมที่จะหารือร่วมกับกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อไปที่ประชุมยังได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางการทำงานของคณะกรรมการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) พร้อมทั้งให้จัดตั้งหน่วยงานประสานงานกลาง โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธาน และมีเจ้าหน้าที่ทำงานประจำเต็มเวลา เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางดูแล โรงเรียนร่วมพัฒนา (Partners hip School)โดยไม่ต้องผ่านศึกษาธิการจังหวัดหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่จะทำให้การทำงานและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวดเร็วยิ่งขึ้น นพ.อุดม กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีภาคเอกชนและบริษัทต่าง ๆ กว่า 10 แห่ง ได้เสนอรายชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 70 แห่ง อาทิ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เสนอชื่อโรงเรียนบ้านหนองไผ่ดุสิตประชา จ.ขอนแก่น, โรงเรียนบ้านภูดิน (มิตรผลอุปถัมภ์) จ.ชัยภูมิ, วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น วิทยาเขตหนองเรือ จ.ขอนแก่น และโรงเรียนสมสะอาดพิทยาสรรพ์ จ.กาฬสินธุ์, โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลอีสานและบริษัทรามาฟู้ด จำกัด เสนอชื่อโรงเรียนวัดปลักไม้ลาย จ.นครปฐม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบริษัทที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานติดต่อกับโรงเรียนที่จะให้การสนับสนุน ส่วนข้อกังวลใจของภาคเอกชน เกี่ยวกับความไม่ต่อเนื่องของโครงการเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลนั้น ได้ยืนยันไปแล้วว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ กระทรวงศึกษาธิการจึงจะระบุโครงการไว้ในยุทธศาสตร์และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และเป็นเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีน้อยลงหรือทำให้แย่ลงคงเป็นเรื่องยาก และจะต้องถูกจับตามองจากประชาชน สังคม ตลอดจนสื่อมวลชนด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น