อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 98/2561นายกรัฐมนตรี ปาฐกถา "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนประเทศในระยะเปลี่ยนผ่าน"
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนประเทศในระยะเปลี่ยนผ่าน (CU Calibre: Shaping the Nation's Future)" เมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, คณะรัฐมนตรี, ศ.กิตติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมรับฟังการบรรยาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวตอนหนึ่งว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของไทย ซึ่งเป็นผลผลิตหนึ่งของการปฏิรูปที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยได้จัดการศึกษาและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้กับประเทศตลอดระยะเวลา 101 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งมาถึงช่วงระยะเปลี่ยนผ่านในสังคมโลกในปัจจุบัน ซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนจากสิ่งที่ดีให้เป็นสิ่งที่ดีขึ้น การเปลี่ยนจากสิ่งที่ไม่ดีเป็นสิ่งดี หรือแม้แต่การเปลี่ยนจากสิ่งที่ไม่ดีให้เป็นสิ่งที่ไม่ดียิ่งกว่าก็เป็นไปได้
ดังนั้น ทุกคนจึงต้องเตรียมความพร้อม ตั้งใจทำให้ดีที่สุด เพื่อให้ทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะเรื่องบางอย่างก็ไม่มีสอนในตำราเรียน และการนำเรื่องของอดีตหรือประวัติศาสตร์มาช่วยให้ได้เรียนรู้เหตุการณ์ในวันข้างหน้าก็เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น
จึงคาดหวังให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น "เรือธง" นำเรือในขบวนผ่านพายุคลื่นลมไปสู่วันข้างหน้า ด้วยการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม พัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ รวมทั้งนำ Big Data มาวิเคราะห์ เพื่อให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพช่วยให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ในส่วนของคุณภาพการศึกษาภาพรวมของไทย ขณะนี้ถือว่าไม่เลวร้ายนัก แม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง ก็ต้องหาทางแก้ไขต่อไป ที่สำคัญคือควรนำสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ มาพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยคำนึงถึงนักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง และประเทศชาติ เป็นเป้าหมายหลัก เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้ง 3 ส่วน ที่จะไปช่วยขับเคลื่อนประเทศได้รวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมฝากให้สถาบันการศึกษาจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่จะทำให้คนเป็นคนโดยสมบูรณ์ กล่าวคือ มีจิตใจซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและสติปัญญาในการดำเนินชีวิต มีหลักคิดแยกผิดแยกถูกได้ ไม่คิดตามเพื่อนหรือตามสังคมออนไลน์ พัฒนาประเทศชาติให้มั่นคงปลอดภัย ขจัดความขัดแย้ง พร้อมทั้งผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ สอนให้เด็กมีงานทำ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคมที่จะมีการแข่งขันมากขึ้น ตลอดจนสร้างภูมิต้านทานด้านต่าง ๆ ให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ คิดเป็น เชื่อมโยงเป็น เรียนรู้จากภายนอก
ในขณะที่ครูอาจารย์ก็ต้องพร้อมเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ในห้องเรียนไปพร้อม ๆ กับผู้เรียน รวมทั้งปรับ Mindset ให้เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย และนำตัวเอง นำความรู้ความสามารถไปช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มที่
รัฐบาลได้มุ่งเน้นนโยบาย " Thailand 4.0" ภายใต้การดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ตลอดจนแผนแม่บท และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเป็น "เรือธง" นำประเทศก้าวไปข้างหน้า ในยุคที่โลกกว้างขึ้นกว่าเดิม มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น แต่คนวัยทำงานลดลง สวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น จนจะกลายเป็นสังคมผู้สูงวัยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การทำงานของภาครัฐจึงจำเป็นต้องระดมความคิดและพลังความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และไปสู่ Thailand 4.0 ให้ได้ เช่น ประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีกำลังคนที่มีทักษะในยุค 1.0 2.0 และ 3.0 กระจายอยู่ในภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ดังนั้น การพัฒนากำลังคนให้เป็นคนไทย 4.0 ยิ่งต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง เพื่อช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และมองภาพไปถึงอนาคตข้างหน้าไกล ๆ เพื่อสร้างให้คนไทยมีความเข้มแข็ง อยู่ได้ด้วยตัวเอง มากกว่าการให้เงินสนับสนุนเพียงอย่างเดียว ดังเช่นโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่ต้องการส่งเสริมให้ผู้บริหารลงไปรับฟังความเห็นและความต้องการของจากประชาชน เพื่อช่วยการพัฒนาในระดับพื้นที่ได้อย่างตรงจุด หรือการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจสู่รูปแบบใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่จะมีความร่วมมือระดับนานาชาติมากขึ้น ซึ่งมีส่วนดีในการนำแนวคิดแบบตะวันตก คือ การคิดเร็ว มาผสานการทำงานแบบตะวันออก คือดำเนินการอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำงานว่า การดำเนินงานต่าง ๆ จะต้องวิเคราะห์ปัญหาและจัดลำดับความสำคัญสิ่งที่ต้องทำเสียก่อน จากนั้นจึงลงมือทำหรือหาวิธีการแก้ไขในแต่ละเรื่องตามขั้นตอน เพราะหากรอที่จะแก้ปัญหาพร้อมกันทั้งหมด คงเป็นไปได้ยาก อาทิ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งฝังรากลึกในสังคมไทยมาช้านาน แม้จะมีกฎหมาย กฎกระทรวง หรือออกกฎต่าง ๆ อีกหลายฉบับ ก็ยังคงมีการทุจริต นั่นเพราะยังแก้ไม่ตรงจุด เรื่องนี้ต้องแก้ไขในเรื่องของจิตสำนึก ซึ่งสอนกันยากและต้องใช้เวลา แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ยังมีความจำเป็น เพื่อให้คนทุกคนที่อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันเกิดความเท่าเทียมกัน
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมถึงการไปเยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมการดูแลและบำบัดรักษาโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนายกรัฐมนตรีว่า ได้เยี่ยมชมความก้าวหน้าหลายด้าน อาทิ ภาวะสมองเสื่อม ภาวะเสื่อมระบบกระดูกและข้อ ภาวะเสื่อมของกระจกตา ระบบ Telemedicine สำหรับผู้ป่วยศูนย์หลอดเลือดสมอง ฯลฯ
โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีและภาคภูมิใจในเกียรติยศศักดิ์ศรีของความเป็นแพทย์กับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่กำลังจะจบการศึกษาว่า ขอให้เป็นแพทย์ในศตวรรษที่ 21 ที่พร้อมจะออกไปทำงานเพื่อคนในสังคม ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง มีความเสียสละ มีจิตสาธารณะ และคำนึงถึงการตัดสินใจรักษาอย่างถูกต้อง พร้อมพัฒนาต่อยอดการศึกษา สร้างเสริมประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริมการป้องกันโรค การฟื้นฟู และปฏิรูประบบการสาธารณสุขใหม่ เพื่อให้การรักษาพยาบาลไม่เป็นภาระสำหรับผู้มีรายได้น้อยและโรงพยาบาล เมื่อนั้นสิ่งที่ดี ๆ ก็จะย้อนกลับมาที่ตัวเราทุกคน
จากนั้นได้เยี่ยมชมการจัดแสดงผลงานและนิทรรศการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (Siam Innovation District) ณ อาคารสยามสแควร์วัน ซึ่งมีพันธกิจหลักในการดำเนินงาน 4 ประการคือ การเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรม, การสร้างพื้นที่ตลาดนัดนวัตกรรม, การสร้างชุมชนนวัตกรรมแห่งอนาคต และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยแบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน คือ แนวคิดวิธีการสร้าง Entrpreneur จาก Innovator รูปแบบใหม่ผ่านสื่อวีดิทัศน์, ผลงานนวัตกรรมจากผู้ประกอบการ Start up และผลงานนวัตกรรมจากหน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวฝากให้เครือข่ายมหาวิทยาลัยขยายผลความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และยกระดับการศึกษาวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อประเทศชาติในวงกว้างได้มากขึ้น เพราะหากมีความร่วมมือกันอย่างชัดเจน รัฐบาลก็จะสามารถสนับสนุนได้อย่างตรงจุด และตอบโจทย์นโยบาย Thailand 4.0 ต่อไป.
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 98/2561นายกรัฐมนตรี ปาฐกถา "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนประเทศในระยะเปลี่ยนผ่าน"
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนประเทศในระยะเปลี่ยนผ่าน (CU Calibre: Shaping the Nation's Future)" เมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, คณะรัฐมนตรี, ศ.กิตติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมรับฟังการบรรยาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวตอนหนึ่งว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของไทย ซึ่งเป็นผลผลิตหนึ่งของการปฏิรูปที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยได้จัดการศึกษาและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้กับประเทศตลอดระยะเวลา 101 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งมาถึงช่วงระยะเปลี่ยนผ่านในสังคมโลกในปัจจุบัน ซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนจากสิ่งที่ดีให้เป็นสิ่งที่ดีขึ้น การเปลี่ยนจากสิ่งที่ไม่ดีเป็นสิ่งดี หรือแม้แต่การเปลี่ยนจากสิ่งที่ไม่ดีให้เป็นสิ่งที่ไม่ดียิ่งกว่าก็เป็นไปได้
ดังนั้น ทุกคนจึงต้องเตรียมความพร้อม ตั้งใจทำให้ดีที่สุด เพื่อให้ทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะเรื่องบางอย่างก็ไม่มีสอนในตำราเรียน และการนำเรื่องของอดีตหรือประวัติศาสตร์มาช่วยให้ได้เรียนรู้เหตุการณ์ในวันข้างหน้าก็เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น
จึงคาดหวังให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น "เรือธง" นำเรือในขบวนผ่านพายุคลื่นลมไปสู่วันข้างหน้า ด้วยการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม พัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ รวมทั้งนำ Big Data มาวิเคราะห์ เพื่อให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพช่วยให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ในส่วนของคุณภาพการศึกษาภาพรวมของไทย ขณะนี้ถือว่าไม่เลวร้ายนัก แม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง ก็ต้องหาทางแก้ไขต่อไป ที่สำคัญคือควรนำสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ มาพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยคำนึงถึงนักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง และประเทศชาติ เป็นเป้าหมายหลัก เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้ง 3 ส่วน ที่จะไปช่วยขับเคลื่อนประเทศได้รวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมฝากให้สถาบันการศึกษาจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่จะทำให้คนเป็นคนโดยสมบูรณ์ กล่าวคือ มีจิตใจซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและสติปัญญาในการดำเนินชีวิต มีหลักคิดแยกผิดแยกถูกได้ ไม่คิดตามเพื่อนหรือตามสังคมออนไลน์ พัฒนาประเทศชาติให้มั่นคงปลอดภัย ขจัดความขัดแย้ง พร้อมทั้งผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ สอนให้เด็กมีงานทำ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคมที่จะมีการแข่งขันมากขึ้น ตลอดจนสร้างภูมิต้านทานด้านต่าง ๆ ให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ คิดเป็น เชื่อมโยงเป็น เรียนรู้จากภายนอก
ในขณะที่ครูอาจารย์ก็ต้องพร้อมเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ในห้องเรียนไปพร้อม ๆ กับผู้เรียน รวมทั้งปรับ Mindset ให้เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย และนำตัวเอง นำความรู้ความสามารถไปช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มที่
รัฐบาลได้มุ่งเน้นนโยบาย " Thailand 4.0" ภายใต้การดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ตลอดจนแผนแม่บท และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเป็น "เรือธง" นำประเทศก้าวไปข้างหน้า ในยุคที่โลกกว้างขึ้นกว่าเดิม มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น แต่คนวัยทำงานลดลง สวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น จนจะกลายเป็นสังคมผู้สูงวัยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การทำงานของภาครัฐจึงจำเป็นต้องระดมความคิดและพลังความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และไปสู่ Thailand 4.0 ให้ได้ เช่น ประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีกำลังคนที่มีทักษะในยุค 1.0 2.0 และ 3.0 กระจายอยู่ในภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ดังนั้น การพัฒนากำลังคนให้เป็นคนไทย 4.0 ยิ่งต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง เพื่อช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และมองภาพไปถึงอนาคตข้างหน้าไกล ๆ เพื่อสร้างให้คนไทยมีความเข้มแข็ง อยู่ได้ด้วยตัวเอง มากกว่าการให้เงินสนับสนุนเพียงอย่างเดียว ดังเช่นโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่ต้องการส่งเสริมให้ผู้บริหารลงไปรับฟังความเห็นและความต้องการของจากประชาชน เพื่อช่วยการพัฒนาในระดับพื้นที่ได้อย่างตรงจุด หรือการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจสู่รูปแบบใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่จะมีความร่วมมือระดับนานาชาติมากขึ้น ซึ่งมีส่วนดีในการนำแนวคิดแบบตะวันตก คือ การคิดเร็ว มาผสานการทำงานแบบตะวันออก คือดำเนินการอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำงานว่า การดำเนินงานต่าง ๆ จะต้องวิเคราะห์ปัญหาและจัดลำดับความสำคัญสิ่งที่ต้องทำเสียก่อน จากนั้นจึงลงมือทำหรือหาวิธีการแก้ไขในแต่ละเรื่องตามขั้นตอน เพราะหากรอที่จะแก้ปัญหาพร้อมกันทั้งหมด คงเป็นไปได้ยาก อาทิ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งฝังรากลึกในสังคมไทยมาช้านาน แม้จะมีกฎหมาย กฎกระทรวง หรือออกกฎต่าง ๆ อีกหลายฉบับ ก็ยังคงมีการทุจริต นั่นเพราะยังแก้ไม่ตรงจุด เรื่องนี้ต้องแก้ไขในเรื่องของจิตสำนึก ซึ่งสอนกันยากและต้องใช้เวลา แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ยังมีความจำเป็น เพื่อให้คนทุกคนที่อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันเกิดความเท่าเทียมกัน
โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีและภาคภูมิใจในเกียรติยศศักดิ์ศรีของความเป็นแพทย์กับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่กำลังจะจบการศึกษาว่า ขอให้เป็นแพทย์ในศตวรรษที่ 21 ที่พร้อมจะออกไปทำงานเพื่อคนในสังคม ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง มีความเสียสละ มีจิตสาธารณะ และคำนึงถึงการตัดสินใจรักษาอย่างถูกต้อง พร้อมพัฒนาต่อยอดการศึกษา สร้างเสริมประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริมการป้องกันโรค การฟื้นฟู และปฏิรูประบบการสาธารณสุขใหม่ เพื่อให้การรักษาพยาบาลไม่เป็นภาระสำหรับผู้มีรายได้น้อยและโรงพยาบาล เมื่อนั้นสิ่งที่ดี ๆ ก็จะย้อนกลับมาที่ตัวเราทุกคน
จากนั้นได้เยี่ยมชมการจัดแสดงผลงานและนิทรรศการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (Siam Innovation District) ณ อาคารสยามสแควร์วัน ซึ่งมีพันธกิจหลักในการดำเนินงาน 4 ประการคือ การเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรม, การสร้างพื้นที่ตลาดนัดนวัตกรรม, การสร้างชุมชนนวัตกรรมแห่งอนาคต และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยแบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน คือ แนวคิดวิธีการสร้าง Entrpreneur จาก Innovator รูปแบบใหม่ผ่านสื่อวีดิทัศน์, ผลงานนวัตกรรมจากผู้ประกอบการ Start up และผลงานนวัตกรรมจากหน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น