อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 117/2561
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงฯ ใช้ หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 ได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 โดยกำหนดให้มี 8 สาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมี สมรรถนะที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1 ) ความสามารถในการอ่าน เขียน ท่องจำ 2 ) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตและพัฒนาปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม 4) ความสามารถในการสื่อสาร 5) ทักษะในการอยู่ร่วมกัน เ ริ่มใช้ปีการศึกษา 2561
นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องจากศาสนาอิสลามเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่ครอบคลุมกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ที่นำไปสู่ความผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้า โดยมีอัลกุรอานและอัลหะดีษเป็นธรรมนูญ ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องศึกษาหาความรู้เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง ตลอดจนการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข
โดยมีสถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นสถาบันการเรียนการสอนศาสนาอิสลามตามอัธยาศัยตลอดชีวิต และการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการศึกษาหาความรู้ด้านศาสนา วิชาชีพ และพัฒนา คุณภาพชีวิตของชุมชน
ดังนั้น เพื่อเป็นการ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพพร้อมกับให้ผู้เรียนได้รับวุฒิบัตรเมื่อสำเร็จการศึกษาและสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนเพื่อสนองความต้องการของโต๊ะครู ผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของสถาบันศึกษาปอเนาะที่เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบัน
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศดังกล่าว เพื่อใช้เป็นหลักสูตรแกนกลางในการเรียนการสอน โดย เ ริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ
พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439
เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ พร้อมกับให้ผู้เรียนได้รับวุฒิบัตรเมื่อสำเร็จการศึกษาและสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนเพื่อสนองความต้องการของโต๊ะครู ผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของสถาบันศึกษาปอเนาะที่เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบันนี้
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 13 (6) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และข้อ 3 (1) แห่งประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง การกำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบ ประกอบกับมติคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในการประชุม ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ดังปรากฏแนบท้ายประกาศนี้ โดยดำเนินการตามกำหนดเวลา ดังนี้
ปีการศึกษา 2561 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ในชั้นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ปีที่ 1
ปีการศึกษา 2562 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ในชั้นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ปีที่ 2
ปีการศึกษา 2563 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ในชั้นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ปีที่ 3
ปีการศึกษา 2564 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ในชั้นระดับต้น ปีที่ 4 และทุกชั้นเรียน
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจในการยกเลิก เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง มาตรฐานการเรียนรู้ระดับชั้นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการจัดการศึกษา
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หลักการที่สำคัญของหลักสูตร 4 ด้าน
1. สอนศาสนาและอบรมจริยธรรมอิสลามแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยไม่จำกัดอายุโอกาสและเงื่อนไข
2. พัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบ
3. พัฒนาบุคลากรในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
4. พัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะให้เป็นแบบอย่างและแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม
จุดหมายของหลักสูตร 4 ข้อ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีทักษะความรู้ที่เสริมสร้างสติปัญญาและการปฏิบัติตามคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ที่ก่อให้เกิดความสันติสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
1. เด็ก เยาวชนตลอดจนประชาชนทั่วไป นำหลักการศาสนาอิสลามไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
2. สถาบันศึกษาปอเนาะมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพที่เป็นระบบ สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนและชุมชน
3. ส่งเสริมให้บุคลากรสถาบันศึกษาปอเนาะมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
4. สถาบันศึกษาปอเนาะเป็นแหล่งเรียนรู้คู่คุณธรรม และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
สมรรถนะสำคัญที่ผู้เรียนควรจะมี 5 ประการ หลังจากสำเร็จการศึกษา ดังนี้
1. ความสามารถในการอ่าน เขียน ท่องจำ ความสามารถของผู้เรียน ในการอ่าน เขียน ท่องจำ ตัวบท หลักการ หลักฐานอ้างอิงซึ่งเป็นที่มาของหลักคำสอนของอิสลามจากอัลกุรอานและอัลหะดีษ มติของนักวิชาการ และการเทียบเคียง อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้อิสลาม เพื่อการพัฒนาตนเอง ด้านการยึดมั่นศรัทธา การปฏิบัติศาสนกิจ การปฏิสัมพันธ์ คุณธรรมจริยธรรม และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสมและสันติสุข
2. ความสามารถในการคิด ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดอย่างมีระบบบนพื้นฐานของหลักการอิสลาม เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ประกอบการวินิจฉัย ตัดสินปัญหาตามหลักการทางศาสนาในระดับที่เหมาะสมทั้งเกี่ยวกับตนเองและสังคม
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตและพัฒนาปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ความสามารถในการนำหลักคำสอนต่างๆ จากบทบัญญัติหรือหลักคำสอนของอิสลามไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน รู้จักแสวงหาความรู้ การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับตนเองและสังคมตามหลักศาสนบัญญัติ การรู้จักพิจารณาเลือกอาชีพที่เหมาะสม การตัดสินใจที่ถูกต้องสอดคล้องกับบริบทของสังคมบนพื้นฐานหลักคำสอนของศาสนา หลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจจะเกิดต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถของผู้เรียนในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองสู่สาธารณชน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง การอ้างอิงหลักการทางศาสนาเพื่อการประนีประนอม การเลือกที่จะรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร แหล่งที่มาของข้อมูล หลักการ เหตุผล ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน และความถูกต้องของการตีความ การเลือกใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การทำงาน เพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม โดยคำนึงถึงหลักคำสอนทางศาสนา ผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ทักษะในการอยู่ร่วมกัน ความสามารถของผู้เรียนในการวางตนเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมเหมาะสมกับบริบทและสภาพของชุมชน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีจุดยืนที่มั่นคง การปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางความเชื่อในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องและถูกต้องตามหลักคำสอนศาสนา การรู้จักให้เกียรติ รู้จักสิทธิของตนเองและผู้อื่น ทั้งที่เป็นมุสลิมและต่างศาสนิก การมีจิตสาธารณะ สร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่ม ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เป็นข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรมจริยธรรม เพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐาน 8 สาระการเรียนรู้ ดังนี้
1. อัลกุรฺอานและอัตตัฟซีร (อก)
2. อัลหะดีษ (อห)
3. อัตเตาฮีด (ออ)
4. อัลฟิกฮฺ (อฟ)
5. อัตตารีค (อต)
6. อัลอัคลาก (อค)
7. ภาษาอาหรับ (อร)
8. บาฮาซามลายู (มย)
อ้างจาก: ราชกิจจานุเบกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 117/2561ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงฯ ใช้ หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 โดยกำหนดให้มี 8 สาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมี สมรรถนะที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1 ) ความสามารถในการอ่าน เขียน ท่องจำ 2 ) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตและพัฒนาปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม 4) ความสามารถในการสื่อสาร 5) ทักษะในการอยู่ร่วมกัน เ ริ่มใช้ปีการศึกษา 2561 นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เนื่องจากศาสนาอิสลามเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่ครอบคลุมกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ที่นำไปสู่ความผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้า โดยมีอัลกุรอานและอัลหะดีษเป็นธรรมนูญ ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องศึกษาหาความรู้เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง ตลอดจนการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข โดยมีสถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นสถาบันการเรียนการสอนศาสนาอิสลามตามอัธยาศัยตลอดชีวิต และการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการศึกษาหาความรู้ด้านศาสนา วิชาชีพ และพัฒนา คุณภาพชีวิตของชุมชน ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพพร้อมกับให้ผู้เรียนได้รับวุฒิบัตรเมื่อสำเร็จการศึกษาและสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนเพื่อสนองความต้องการของโต๊ะครู ผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของสถาบันศึกษาปอเนาะที่เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศดังกล่าว เพื่อใช้เป็นหลักสูตรแกนกลางในการเรียนการสอน โดย เ ริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439
เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ พร้อมกับให้ผู้เรียนได้รับวุฒิบัตรเมื่อสำเร็จการศึกษาและสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนเพื่อสนองความต้องการของโต๊ะครู ผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของสถาบันศึกษาปอเนาะที่เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบันนี้
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 13 (6) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และข้อ 3 (1) แห่งประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง การกำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบ ประกอบกับมติคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในการประชุม ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ดังปรากฏแนบท้ายประกาศนี้ โดยดำเนินการตามกำหนดเวลา ดังนี้
ปีการศึกษา 2561 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ในชั้นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ปีที่ 1
ปีการศึกษา 2562 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ในชั้นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ปีที่ 2
ปีการศึกษา 2563 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ในชั้นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ปีที่ 3
ปีการศึกษา 2564 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ในชั้นระดับต้น ปีที่ 4 และทุกชั้นเรียน
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจในการยกเลิก เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง มาตรฐานการเรียนรู้ระดับชั้นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการจัดการศึกษา
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ |
หลักการที่สำคัญของหลักสูตร 4 ด้าน1. สอนศาสนาและอบรมจริยธรรมอิสลามแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยไม่จำกัดอายุโอกาสและเงื่อนไข2. พัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบ3. พัฒนาบุคลากรในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ4. พัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะให้เป็นแบบอย่างและแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมจุดหมายของหลักสูตร 4 ข้อมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีทักษะความรู้ที่เสริมสร้างสติปัญญาและการปฏิบัติตามคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ที่ก่อให้เกิดความสันติสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า1. เด็ก เยาวชนตลอดจนประชาชนทั่วไป นำหลักการศาสนาอิสลามไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง2. สถาบันศึกษาปอเนาะมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพที่เป็นระบบ สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนและชุมชน3. ส่งเสริมให้บุคลากรสถาบันศึกษาปอเนาะมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ4. สถาบันศึกษาปอเนาะเป็นแหล่งเรียนรู้คู่คุณธรรม และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนสมรรถนะสำคัญที่ผู้เรียนควรจะมี 5 ประการ หลังจากสำเร็จการศึกษา ดังนี้1. ความสามารถในการอ่าน เขียน ท่องจำ ความสามารถของผู้เรียน ในการอ่าน เขียน ท่องจำ ตัวบท หลักการ หลักฐานอ้างอิงซึ่งเป็นที่มาของหลักคำสอนของอิสลามจากอัลกุรอานและอัลหะดีษ มติของนักวิชาการ และการเทียบเคียง อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้อิสลาม เพื่อการพัฒนาตนเอง ด้านการยึดมั่นศรัทธา การปฏิบัติศาสนกิจ การปฏิสัมพันธ์ คุณธรรมจริยธรรม และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสมและสันติสุข2. ความสามารถในการคิด ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดอย่างมีระบบบนพื้นฐานของหลักการอิสลาม เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ประกอบการวินิจฉัย ตัดสินปัญหาตามหลักการทางศาสนาในระดับที่เหมาะสมทั้งเกี่ยวกับตนเองและสังคม3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตและพัฒนาปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ความสามารถในการนำหลักคำสอนต่างๆ จากบทบัญญัติหรือหลักคำสอนของอิสลามไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน รู้จักแสวงหาความรู้ การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับตนเองและสังคมตามหลักศาสนบัญญัติ การรู้จักพิจารณาเลือกอาชีพที่เหมาะสม การตัดสินใจที่ถูกต้องสอดคล้องกับบริบทของสังคมบนพื้นฐานหลักคำสอนของศาสนา หลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจจะเกิดต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ4. ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถของผู้เรียนในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองสู่สาธารณชน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง การอ้างอิงหลักการทางศาสนาเพื่อการประนีประนอม การเลือกที่จะรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร แหล่งที่มาของข้อมูล หลักการ เหตุผล ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน และความถูกต้องของการตีความ การเลือกใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การทำงาน เพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม โดยคำนึงถึงหลักคำสอนทางศาสนา ผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ5. ทักษะในการอยู่ร่วมกัน ความสามารถของผู้เรียนในการวางตนเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมเหมาะสมกับบริบทและสภาพของชุมชน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีจุดยืนที่มั่นคง การปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางความเชื่อในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องและถูกต้องตามหลักคำสอนศาสนา การรู้จักให้เกียรติ รู้จักสิทธิของตนเองและผู้อื่น ทั้งที่เป็นมุสลิมและต่างศาสนิก การมีจิตสาธารณะ สร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่ม ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เป็นข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรมจริยธรรม เพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐาน 8 สาระการเรียนรู้ ดังนี้1. อัลกุรฺอานและอัตตัฟซีร (อก)2. อัลหะดีษ (อห)3. อัตเตาฮีด (ออ)4. อัลฟิกฮฺ (อฟ)5. อัตตารีค (อต)6. อัลอัคลาก (อค)7. ภาษาอาหรับ (อร)8. บาฮาซามลายู (มย)อ้างจาก: ราชกิจจานุเบกษา
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น