อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 120/2561การ ประชุมทีมขับเคลื่อนโครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุมทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน-1 พฤษภาคม 2561 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น (KICE) อ.เมืองฯ จ.ขอนแก่น โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อทำหน้าที่การขับเคลื่อนงานตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายแนวทางขับเคลื่อนประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และวิทยากรระดับจังหวัดกว่า 2,800 คน เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำนโยบายดังกล่าวมาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และภารกิจ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการรับผิดชอบ โดยจัดทีมขับเคลื่อนฯ ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1-20 มี.ค.2561 ซึ่งเป็นการเยี่ยมเยียนรายครัวเรือน/รายบุคคล รวมทั้งค้นหาความต้องการของประชาชน หมู่บ้าน ชุมชน และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 มี.ค.-10 เม.ย.2561 เพื่อสร้างการรับรู้และการปฏิบัติตามสัญญาประชาคม
ครั้งนี้ถือเป็นการทำงานห้วงที่ 3 ซึ่งได้ให้ทีมขับเคลื่อนฯ ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด กลับมาทบทวนการทำงานในห้วงเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งรับทราบความรู้ความเข้าใจในการทำงานเรื่องต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อออกไปสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจกับประชาชน ตั้งแต่ระดับตำบลไปจนถึงหมู่บ้านและชุมชน
โดยกระทรวงศึกษาธิการได้จัดประชุมทีมขับเคลื่อนฯ ออกเป็น 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 ภาคใต้และภาคใต้ชายแดน เมื่อวันที่ 20-21 เม.ย.2561 ที่ จ.สงขลา, ครั้งที่ 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 27-28 เม.ย.2561 ที่ จ.นนทบุรี, ครั้งที่ 3 ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 28-29 เม.ย.2561 ที่ จ.เชียงใหม่ และครั้งที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค.2561 ที่ จ.ขอนแก่น
เรื่องสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการได้เน้นย้ำในการประชุม ทีมขับเคลื่อนฯ ทั้ง 6 ภาคดังกล่าว คือ การนำ "ชุดความรู้" ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นในรูปแบบ DVD เพื่อให้ครู กศน.ตำบล นำไปเผยแพร่ในระดับพื้นที่ เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ชุมชนทั่วประเทศมากที่สุด เนื่องจาก กศน.ตำบลทุกแห่งมีบทบาทและภารกิจ 4 ศูนย์เรียนรู้ ทั้งศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล ศูนย์ดิจิทัลชุมชน และศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน
" นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำเมื่อวานนี้ (29 เม.ย.2561) ขอให้ดูกลุ่มเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มอบให้ กศน.สำรวจข้อมูลกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ ซึ่งครู กศน.จะได้รับการถ่ายทอดวิธีการที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เช่น การผลิตหรือแนะนำสินค้าผลิตภัณฑ์ โดยขอให้มี การทำงานตามกลไกประชารัฐ คือ เกิดความ ร่วมมือกับภาคประชาชน และภาคเอกชนในพื้นที่ เช่น หอการค้า อุตสาหกรรม ประธานชมรมธนาคาร ฯลฯ อัน จะส่งผลให้ประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศได้รับประโยชน์โดยตรง คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้มากขึ้น" พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน. กล่าวถึงรายละเอียดการจัดประชุมครั้งนี้ว่า ตามที่รัฐบาลกำหนดนโยบายสำคัญหลายประการลงไปในพื้นที่ และต้องการให้มีการสร้างการรับรู้แก่ประชาชนในด้านต่างๆ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่บูรณาการงานสำคัญร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสร้างความรับรู้ สร้างความเข้าใจ ปรับกระบวนการทางความคิด เสนอแนวทางให้กับประชาชน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น โดยใช้ทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล เป็นแกนหลัก
ซึ่งมีกรอบหลักการในการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน 10 เรื่อง ดังนี้ 1) สัญญาประชาคมถูกใจไทยเป็นหนึ่ง 2) คนไทยไม่ทิ้งกัน 3) ชุมชนอยู่ดีมีสุข 4) วิถีไทยวิถีพอเพียง 5) รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย 6) รู้กลไกการบริหารราชการ 7) รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม 8) รู้เท่าทันเทคโนโลยี 9) บูรณาการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างครบวงจร และ 10) งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน
ทั้ง 10 เรื่องดังกล่าวถือเป็นสำคัญเร่งด่วน ที่จะขยายผลเพื่อต่อยอดในเรื่องอื่น ๆ ต่อไปให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยกำหนดให้มีการรายงานผลการขับเคลื่อนทุก 3 เดือน
ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยการจัดตั้งคณะกรรมการฯ เป็น 4 ระดับ ประกอบด้วย 1) ระดับชาติ 2) ระดับจังหวัด 3) ระดับอำเภอ 4) ระดับตำบล ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ภายใต้กรอบหลักในการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน 10 เรื่องโดยการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงการดำเนินงานในทุกระดับ
ดังนั้น ในการประชุมทีมขับเคลื่อน ฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความรับรู้และสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม/โครงการ ภายใต้ภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังได้ทำการสำรวจปัญหาและความต้องการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยมีการสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือประชาชนในแต่ละพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาการท่องเที่ยว กลุ่มธนาคาร และภาคประชาชน ถือเป็นการทำงานร่วมกันตามกลไกประชารัฐ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตยกระดับรายได้ ตลอดจนทำให้ประชาชนมีความสุข โดยมีตัวอย่างหลักสูตร กิจกรรม และโครงการที่น่าสนใจ อาทิ
- หนังสือล่องหน (กศน.จังหวัดมหาสารคาม) การนำความรู้ สื่อ และสื่อสังคมออนไลน์ ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีในรปูแบบ e-Book, QR Code เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการอ่านได้อย่างรวดเร็ว ช่วยทบทวนความรู้และผสมผสานเข้ากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ
- การขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำตำบล (กศน.จังหวัดกาฬสินธุ์) ด้วยแนวคิดการเสริมสร้างเครือข่ายการบูรณาการ 3 ประสาน ได้แก่ กอ.รมน. กศน. และปราชญ์เพื่อความมั่นคงในระดับจังหวัด เพื่อฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และองค์ความรู้ของปราชญ์เพื่อความมั่นคงสู่ประชาชน ให้สามารถประกอบอาชีพเพื่อตนเองและครอบครัว โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- STEM Education (ศูนยวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแก่น) โดยการจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย อาทิ ค่ายนักประดิษฐ์, ค่ายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม, ค่ายดาราศาสตร์, กิจกรรมวิทยาศาสตร์เคลื่อนที่สู่ชุมชนในเขตชนบทและท้องถิ่นห่างไกล, นิทรรศการพระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย, รายการวิทยาศาสตร์เพื่อชุมชน เป็นต้น
- ฐานการเรียนรู้ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทย บริเวณชายแดนมุกดาหาร เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ ฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน, ฐานเรียนรู้พืชสมุนไพรและพืชมงคล, ฐานเรียนรู้พอเพียงจึงเพียงพอ, ฐานเรียนรู้ปศุสัตว์และการประมง เป็นต้น
- การจักสานหมวกใบตาล (ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านหนองกาด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ) การนำพืชที่เจริญเติบโตในท้องถิ่น มาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมอาชีพระยะสั้น เพื่อสร้างรายได้และลดรายจ่ายของประชาชน
- การท่องเที่ยวขอนแก่น (กศน.จังหวัดขอนแก่น) โดยได้ร่วมกับ ททท.ขอนแก่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดด้วยแนวคิด "กินก็แซ่บนัว ช้อปก็สนุก เที่ยวก็สุด cool" ที่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การเยี่ยมชมวัด โบราณสถาน สถานที่สำคัญ ตลอดจนอนุรักษ์ภูมิปัญญาประจำถิ่นด้วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 120/2561การ ประชุมทีมขับเคลื่อนโครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เรื่องสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการได้เน้นย้ำในการประชุม ทีมขับเคลื่อนฯ ทั้ง 6 ภาคดังกล่าว คือ การนำ "ชุดความรู้" ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นในรูปแบบ DVD เพื่อให้ครู กศน.ตำบล นำไปเผยแพร่ในระดับพื้นที่ เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ชุมชนทั่วประเทศมากที่สุด เนื่องจาก กศน.ตำบลทุกแห่งมีบทบาทและภารกิจ 4 ศูนย์เรียนรู้ ทั้งศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล ศูนย์ดิจิทัลชุมชน และศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน
" นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำเมื่อวานนี้ (29 เม.ย.2561) ขอให้ดูกลุ่มเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มอบให้ กศน.สำรวจข้อมูลกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ ซึ่งครู กศน.จะได้รับการถ่ายทอดวิธีการที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เช่น การผลิตหรือแนะนำสินค้าผลิตภัณฑ์ โดยขอให้มี การทำงานตามกลไกประชารัฐ คือ เกิดความ ร่วมมือกับภาคประชาชน และภาคเอกชนในพื้นที่ เช่น หอการค้า อุตสาหกรรม ประธานชมรมธนาคาร ฯลฯ อัน จะส่งผลให้ประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศได้รับประโยชน์โดยตรง คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ให้มากขึ้น" พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน. กล่าวถึงรายละเอียดการจัดประชุมครั้งนี้ว่า ตามที่รัฐบาลกำหนดนโยบายสำคัญหลายประการลงไปในพื้นที่ และต้องการให้มีการสร้างการรับรู้แก่ประชาชนในด้านต่างๆ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่บูรณาการงานสำคัญร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสร้างความรับรู้ สร้างความเข้าใจ ปรับกระบวนการทางความคิด เสนอแนวทางให้กับประชาชน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น โดยใช้ทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล เป็นแกนหลัก
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังได้ทำการสำรวจปัญหาและความต้องการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยมีการสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือประชาชนในแต่ละพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาการท่องเที่ยว กลุ่มธนาคาร และภาคประชาชน ถือเป็นการทำงานร่วมกันตามกลไกประชารัฐ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตยกระดับรายได้ ตลอดจนทำให้ประชาชนมีความสุข โดยมีตัวอย่างหลักสูตร กิจกรรม และโครงการที่น่าสนใจ อาทิ
- หนังสือล่องหน (กศน.จังหวัดมหาสารคาม) การนำความรู้ สื่อ และสื่อสังคมออนไลน์ ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีในรปูแบบ e-Book, QR Code เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการอ่านได้อย่างรวดเร็ว ช่วยทบทวนความรู้และผสมผสานเข้ากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ
- การขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำตำบล (กศน.จังหวัดกาฬสินธุ์) ด้วยแนวคิดการเสริมสร้างเครือข่ายการบูรณาการ 3 ประสาน ได้แก่ กอ.รมน. กศน. และปราชญ์เพื่อความมั่นคงในระดับจังหวัด เพื่อฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และองค์ความรู้ของปราชญ์เพื่อความมั่นคงสู่ประชาชน ให้สามารถประกอบอาชีพเพื่อตนเองและครอบครัว โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- STEM Education (ศูนยวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแก่น) โดยการจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย อาทิ ค่ายนักประดิษฐ์, ค่ายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม, ค่ายดาราศาสตร์, กิจกรรมวิทยาศาสตร์เคลื่อนที่สู่ชุมชนในเขตชนบทและท้องถิ่นห่างไกล, นิทรรศการพระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย, รายการวิทยาศาสตร์เพื่อชุมชน เป็นต้น
- ฐานการเรียนรู้ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทย บริเวณชายแดนมุกดาหาร เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ ฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน, ฐานเรียนรู้พืชสมุนไพรและพืชมงคล, ฐานเรียนรู้พอเพียงจึงเพียงพอ, ฐานเรียนรู้ปศุสัตว์และการประมง เป็นต้น
- การจักสานหมวกใบตาล (ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านหนองกาด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ) การนำพืชที่เจริญเติบโตในท้องถิ่น มาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมอาชีพระยะสั้น เพื่อสร้างรายได้และลดรายจ่ายของประชาชน
- การท่องเที่ยวขอนแก่น (กศน.จังหวัดขอนแก่น) โดยได้ร่วมกับ ททท.ขอนแก่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดด้วยแนวคิด "กินก็แซ่บนัว ช้อปก็สนุก เที่ยวก็สุด cool" ที่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การเยี่ยมชมวัด โบราณสถาน สถานที่สำคัญ ตลอดจนอนุรักษ์ภูมิปัญญาประจำถิ่นด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น