อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 517/2559 การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออก
ด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศ
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง A Family-Friendly Society: A Contribution to the Achievement of SDGs Through Families and Gender Equality ในการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออก ด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศ (The East Asia Ministerial Forum on Families and Gender Equality) จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2559 เวลา 9.30 น. ที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ โดยการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยเลขาธิการอาเซียน, พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, คณะผู้แทนจากประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออก 17 ประเทศ, เอกอัครราชทูตและผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประเทศต่าง ๆ ตลอดจนนักวิชาการ เข้าร่วมประชุมกว่า 300 คน
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ซึ่งผู้ปกครองต้องไปทำงานในเมือง ทำให้ไม่ได้อยู่ดูแลและทิ้งให้ลูกอยู่ตามลำพังหรือให้ลูกอาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านและประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ ประเทศก็กำลังเผชิญปัญหาแบบเดียวกับประเทศไทย ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วเด็กจะไม่ถูกทิ้งไว้ตามลำพัง จึงไม่มีปัญหาครอบครัวตามมา ดังนั้น การวิเคราะห์ปัญหาให้รู้สาเหตุที่แน่ชัดจึงเป็นเรื่องสำคัญในการหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้น
ข้อมูลจาก United Nations Development Programme หรือ UNDP Gender Inequality Index ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ "ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ" โดยทำการวิเคราะห์และเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ส่วน คือ
-
Reproductive Health Care เช่น สตรีได้รับการปฏิบัติอย่างไรในสังคม
-
Empowerment กฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กและสตรีเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการ เช่น เด็กผู้หญิงและสตรีควรได้รับการศึกษา, สตรีควรมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น, มีสิทธิ์ในการออกเสียง, มีสิทธิ์ไปโรงเรียนและได้รับการศึกษา, เป็นตัวแทนในสภา เป็นต้น
-
Participation in Labor Force ข้อมูลความแตกต่างค่าจ้างแรงงานระหว่างเพศ (Gender Pay Gap)
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เห็นภาพรวมในระดับโลกว่า แต่ละประเทศมีความไม่เท่าเทียมกันทางเพศอยู่ในระดับใด เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ นำข้อมูลไปแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ ข้อมูลจาก World Bank 2014 เรื่อง Global Primary School Enrollment เกี่ยวกับอัตราการส่งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงเข้าโรงเรียน พบว่าตั้งแต่ปี ค.ศ.1970-2011 เด็กผู้หญิงมีอัตราการเข้าเรียนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ James J. Heckman ที่ว่า การลงทุนในเด็กเล็กถือเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ที่จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในวัยอื่น เนื่องจากการให้การศึกษากับเด็กถือเป็นสิ่งสำคัญ หากเราไม่เร่งแก้ไขตอนนี้อาจสายไป
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีตัวบ่งชี้อีกหลายประการที่ระบุถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม สิ่งสำคัญคือเราจะทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันได้ นี่คือความท้าทายของโลก โดยปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของทัศนคติ (Attitude) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันไม่ได้และเป็นสิ่งที่วัดกันยาก ทัศนคติที่ดีควรเริ่มจากครอบครัวเพราะวิธีการที่พ่อแม่ปฏิบัติต่อลูกจะส่งผลต่อทัศนคติของลูกด้วย
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมีการจ่ายเงินอุดหนุนจำนวน 400-600 บาท ให้กับผู้ปกครองที่มีเด็กแรกเกิด แต่เงินที่ได้รับ ก็ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และในอนาคตมีรัฐจะจัดให้มี Free Compulsion Education ซึ่งบริหารจัดการโดยการจัดตั้งกองทุน โดยถือเป็นการดำเนินการครั้งสำคัญของรัฐบาลปัจจุบันและเป็นความร่วมมือกันของกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้การพัฒนาเด็กเป็นการปฏิบัติได้จริง
สุดท้ายนี้ เราเชื่อว่า "โลกของเรามีข้อมูลเพียงพอแล้วเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน สิ่งหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการปลูกฝังทัศนคติหรือ Mindset ให้ทุกคนมีไมตรีหรือมีทัศนคติที่เป็นมิตร เพราะการมีไมตรีจะทำให้เราเห็นว่าคนอื่นเสมอภาคกับเรา และไม่ทำให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมขึ้น" และหวังว่าผลการประชุมครั้งนี้จะมีแนวทางดำเนินการที่เป็นรูปธรรมจริง ๆ ไม่ใช่มีแต่นิยาม หรือแนวคิดที่จับต้องไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ หรือไม่สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง อีกทั้งขอให้มีแนวทางปฏิบัติที่จริงจังและชัดเจนว่าแต่ละประเทศจะดำเนินการอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงสองสิ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ คือ Legal Reform และ Education Reform
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 517/2559 การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออก
ด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศ
ด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศ
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง A Family-Friendly Society: A Contribution to the Achievement of SDGs Through Families and Gender Equality ในการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออก ด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศ (The East Asia Ministerial Forum on Families and Gender Equality) จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2559 เวลา 9.30 น. ที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ โดยการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยเลขาธิการอาเซียน, พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, คณะผู้แทนจากประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออก 17 ประเทศ, เอกอัครราชทูตและผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประเทศต่าง ๆ ตลอดจนนักวิชาการ เข้าร่วมประชุมกว่า 300 คน
ข้อมูลจาก United Nations Development Programme หรือ UNDP Gender Inequality Index ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ "ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ" โดยทำการวิเคราะห์และเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ส่วน คือ
- Reproductive Health Care เช่น สตรีได้รับการปฏิบัติอย่างไรในสังคม
- Empowerment กฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กและสตรีเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการ เช่น เด็กผู้หญิงและสตรีควรได้รับการศึกษา, สตรีควรมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น, มีสิทธิ์ในการออกเสียง, มีสิทธิ์ไปโรงเรียนและได้รับการศึกษา, เป็นตัวแทนในสภา เป็นต้น
- Participation in Labor Force ข้อมูลความแตกต่างค่าจ้างแรงงานระหว่างเพศ (Gender Pay Gap)
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เห็นภาพรวมในระดับโลกว่า แต่ละประเทศมีความไม่เท่าเทียมกันทางเพศอยู่ในระดับใด เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ นำข้อมูลไปแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ ข้อมูลจาก World Bank 2014 เรื่อง Global Primary School Enrollment เกี่ยวกับอัตราการส่งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงเข้าโรงเรียน พบว่าตั้งแต่ปี ค.ศ.1970-2011 เด็กผู้หญิงมีอัตราการเข้าเรียนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ James J. Heckman ที่ว่า การลงทุนในเด็กเล็กถือเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ที่จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในวัยอื่น เนื่องจากการให้การศึกษากับเด็กถือเป็นสิ่งสำคัญ หากเราไม่เร่งแก้ไขตอนนี้อาจสายไป
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีตัวบ่งชี้อีกหลายประการที่ระบุถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม สิ่งสำคัญคือเราจะทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันได้ นี่คือความท้าทายของโลก โดยปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของทัศนคติ (Attitude) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันไม่ได้และเป็นสิ่งที่วัดกันยาก ทัศนคติที่ดีควรเริ่มจากครอบครัวเพราะวิธีการที่พ่อแม่ปฏิบัติต่อลูกจะส่งผลต่อทัศนคติของลูกด้วย
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมีการจ่ายเงินอุดหนุนจำนวน 400-600 บาท ให้กับผู้ปกครองที่มีเด็กแรกเกิด แต่เงินที่ได้รับ ก็ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และในอนาคตมีรัฐจะจัดให้มี Free Compulsion Education ซึ่งบริหารจัดการโดยการจัดตั้งกองทุน โดยถือเป็นการดำเนินการครั้งสำคัญของรัฐบาลปัจจุบันและเป็นความร่วมมือกันของกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้การพัฒนาเด็กเป็นการปฏิบัติได้จริง
สุดท้ายนี้ เราเชื่อว่า "โลกของเรามีข้อมูลเพียงพอแล้วเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน สิ่งหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการปลูกฝังทัศนคติหรือ Mindset ให้ทุกคนมีไมตรีหรือมีทัศนคติที่เป็นมิตร เพราะการมีไมตรีจะทำให้เราเห็นว่าคนอื่นเสมอภาคกับเรา และไม่ทำให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมขึ้น" และหวังว่าผลการประชุมครั้งนี้จะมีแนวทางดำเนินการที่เป็นรูปธรรมจริง ๆ ไม่ใช่มีแต่นิยาม หรือแนวคิดที่จับต้องไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ หรือไม่สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง อีกทั้งขอให้มีแนวทางปฏิบัติที่จริงจังและชัดเจนว่าแต่ละประเทศจะดำเนินการอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงสองสิ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ คือ Legal Reform และ Education Reform
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น