หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบถามขตอบกฎหมายพลวัต ข้อที่ 1300-1600

ข้อสอบถามขตอบกฎหมายพลวัต ข้อที่ 1300-1600

1301. บุตรตาม พระราชกฤษีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2548 เป็นบุตรตามกฎหมาย มีอายุกี่ปี________(3-25 ปี) (ไม่รวมบุตรบุญธรรม หรือบุตรที่บิดา มารดายกให้เป็นบุตรบุญธรรมผู้อื่น)
1302. บุตรที่ศึกษาระดับใดในสถานศึกษาของรัฐที่ได้รับเงินสวัสดิการค่าเล่าเรียนเต็มตามจำนวนที่จ่ายจริง____(ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า)
1303. บุตรที่เรียนระดับปริญญาตรีในสถานศึกษาของรัฐได้รับเงินสวัสดิการค่าเล่าเรียนเท่าไร___(เต็มตามจำนวนที่จ่ายจริง)
1304. บุตรที่เรียนในสถานศึกษาเอกชนระดับใดที่ได้รับเงินสวัสดิการค่าเล่าเรียนเต็มตามที่จ่ายจริง____(ระดับไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย)
1305. บุตรที่เรียนในสถานศึกษาเอกชนระดับมัธยมปลายถึงอนุปริญญาหรือเทียบเท่ามีสิทธิรับเงินสวัสดิการค่าเล่าเรียนอย่างไร____(ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริง)
1306. บุตรที่เรียนในสถานศึกษาเอกชนระดับปริญญาตรีมีสิทธิรับเงินสวัสดิการค่าเล่าเรียนอย่างไร____(ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริง)
1307. การเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรตามตามพระราชกฤษฎีการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2548 เริ่มใช้ในปีการศึกษาใด____(ปีการศึกษา 2548)

กฎ กคศ ว่าด้วยความผิดชัดแจ้ง พ.ศ. 2549

1308. กฎ กคศ ว่าด้วยความผิดชัดแจ้ง พ.ศ. 2549 ประกาศในราชกิจานุเบกษาวันใด__(30 พย. 49)
1309. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงกรณีใด เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยโดยไม่สอบสวนหรืองดสอบสวนก็ได้______
1) กระทำความผิดอาญาจนต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นกระทำผิด
2) กระทำวินัยไม่ร้ายแรง และผู้กระทำผิดได้สารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
1310. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยโดยไม่สอบสวนหรืองดสอบสวนก็ได้1___
1) กระทำความผิดจนได้รับทาจำคุก หรือโทษหนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
2) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
3) กระทำผิดวินัยร้ายแรงและได้สารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
1311. อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในกฎหมายฉบับใด_____(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545)
1312. การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดกี่ส่วน_______( 3 ส่วน คือ)
1) ส่วนกลาง
2) เขตพื้นที่การศึกษา
3) สถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
1313. ใครเป็นประธานกรรมการสภาการศึกษา______(รัฐมนตรีว่าการประทรวงศึกษาธิการ)
1314. บทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ__________(นิเทศให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนา ตรวจราชการ ศึกษาวิเคราะห์วิจัย)
1315. บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา_____(ศึกษาวิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมินผลการบริหารและการดำเนินงาน)
1316. บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น____(ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาของอปท. เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา)
1317. กรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา ให้หน่วยงานใดเป็นผู้จัด____(สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
1318. ใครมีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา____(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา)
1319. การจัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษา_____(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น)
1320. การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการอย่างไร___(ตามประกาศกระทรวง)
1321. อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษากำหนดไว้ในมาตราใด ในพรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ______(มาตรา 39)
1322. องค์กรการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาคืออะไร______(กม. )
1323. การปฏิบัติราชการแทนให้ดำเนินการโดยวิธีใด______(การกระจายอำนาจและการมอบอำนาจ)
1324. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ให้ดำเนินการอย่างไร____(ให้มีการรักษาราชการแทน)
1325. การมอบอำนาจให้บุคคลใด บุคคลนั้นสามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นต่อไปได้___(ผู้ว่า)
1326. ผู้ว่าจะมอบอำนาจให้ใครต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจนั้นก่อน___(บุคคลอื่น ที่ไม่อยู่ในสายบังคับบัญชา แทนที่จะเป็นรองผู้ว่า ผู้ช่วยผู้ว่า เป็นต้น)
1327. กรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ใครมีอำนาจมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน______(คณะรัฐมนตรี)
1328. ในกรณีที่มีรอง ผอ. เขตหลายคน ใครเป็นผู้แต่งตั้งให้รองคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน_____(ผอ. เขต)
1329. กรณีไม่มีรอง ผอ. รร ใครมีอำนาจแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียน (ผอ.รร.) ________(ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)
1330. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดจากการรวมกันของหน่วยงานใด _____(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ+กรมสามัญศึกษาและกรมวิชาการ+ สำนักงาศึกษาธิการจังหวัด อำเภอ)
1331. หลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสมชายไปเยือนประเทศใดเป็นประเทศแรก_______(ลาว)
1332. ปัจจุบันนี้ (พย. 51) อยู่ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด_(ฉบับที่ 10)
1333. ช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 _____(1 ตุลาคม 2549-30 กันยายน 2554) (แผนระยะยาว 5 ปี)
1334. เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม คำกล่าวนี้เป็นคำกล่าวประเภทใดของพระมหากษัตริย์______(พระราชโองการ)
1335. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดเป็นแผนประเภทใด_____(แผนกลยุทธ์)
1336. เศรษฐกิจพอเพียงจัดอยู่ในแนวคิดแบบใด______(ปรัชญา)
1337. หลักการทรงงานที่แสดงถึงการพัฒนาต้องวางแผนให้สอดคล้องกับค่านิยม ความเชื่อ วิถีชีวิตและสภาพแวดล้อม คือหลักทรงงานใด______(ภูมิสังคม)
1338. หลักการทรงงานที่ใช้คนเป็นตัวตั้งในการพัฒนาคือหลักใด____(หลักการมีส่วนร่วม)
1339. หลักการทรงงานที่ให้ความสำคัญต่อมนุษย์สัมพันธ์_____(หลักการปลูกป่าในใจคน)
1340. ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีจำนวนกี่แห่ง___(6 แห่ง)
1341. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีลักษณะอย่างไร____(เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตที่ศึกษาและพัฒนาค้นคว้าวิจัยเรื่องป่าไม้เสื่อมโทรมและการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธารเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรม)
1342. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นศูนย์ศึกษาพัฒนาเรื่องใดเป็นหลัก_______(การพัฒนาดินเสื่อมสภาพให้กลับคืนสภาพปกติ และใช้ทำมาหากินได้)
1343. แนวพระราชดำริที่ใช้ป้องกันไฟป่าและทำให้ป่าชุ่มชื้น_______(ฝายแม้ว)
1344. รูปแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม_____(แก้มลิง)
1345. แนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นตอนที่ 2 คือกิจกรรมใด____(การรวมกลุ่มหรือสหกรณ์) (ขั้นตอนที่ 1 คือ การผลิตเพื่อเลี้ยงดูตนเอง)
1346. แนวคิดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง___________(การดำรงชีวิตและดำรงตนบนทางสายกลาง)
1347. การรู้เขารู้เรา คือหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงใด_____(หลักการมีเหตุผล)
1348. ทุนทางสังคมที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา______(มนุษย์)
1349. ภาวะโลกร้อนเป็นบริบทของการเปลี่ยนแปลงอันมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศด้านใด___(ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
1350. “ศตวรรษใหม่แห่งเอเชีย” หมายถึงประเทศใด______(จีน อินเดีย)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10

1351. วิสัยทัศน์ของประเทศไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10_____(สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน:Green and Happiness Society)
วิสัยทัศน์: มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society)
คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

1352. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสังกัดใด___(สำนักนายกรัฐมนตรี)
1353. พันธกิจของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ว่าอย่างไร______________
(๑) พัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรม นำความรอบรู้อย่างเท่าทัน มีสุขภาวะที่ดี อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้ดุลยภาพของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๒) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม มุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ มีภูมิคุ้มกันความเสี่ยงจากความผันผวนของสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัตน์ บนพื้นฐานการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ มีระดับการออมที่พอเพียง มีการปรับโครงสร้างการผลิตและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม ใช้จุดแข็งของความหลากหลายทางชีวภาพและเอกลักษณ์ความเป็นไทย ควบคู่กับการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ และการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และโลจิสติกส์ พลังงาน กฎกติกา และกลไกสนับสนุนการแข่งขันและกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม
(๓) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นธรรม และมีการสร้างสรรค์คุณค่า สนับสนุนให้ชุมชนมีองค์ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อคุ้มครอง
ฐานทรัพยากร คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมบทบาทของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากร ปรับ
แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาผลประโยชน์ของชาติจากข้อตกลงตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
(๔) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มุ่งสร้างกลไกและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ทุกภาคี ควบคู่กับการเสริมสร้างความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม รับผิดชอบต่อสาธารณะ มีการกระจายอำนาจและกระบวนการที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สู่ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ทรัพยากร

1354. วัตถุประสงค์ ของแผนพัฒน์ ฉ. 10 ว่าอย่างไร____________
(๑) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่องที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมโยงบทบาทครอบครัว สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา เสริมสร้างบริการสุขภาพอย่างสมดุลระหว่างการส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(๒) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นำไปสู่การพึ่งตนเองและลดปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ
(๓) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสาขาการผลิตเพื่อทำให้มูลค่าการผลิตสูงขึ้น
(๔) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน (Safety Net) และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลัง พลังงาน ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดแรงงาน และการลงทุน
(๕) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งสร้างกลไกในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม
(๖) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ และการดำรงชีวิตของคนไทยทั้งในรุ่นปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสร้างกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างเป็นธรรมและอย่างยั่งยืน
(๗) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน และขยายบทบาทขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการเสริมสร้างกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

1355. เป้าหมายหลักของแผนพัฒน์ ฉ. 10 ว่าอย่างไร____________
(๑) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ และมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับตนเองที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย โดยเพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น ๑๐ ปี พัฒนากำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ ๖๐ ของกำลังแรงงานทั้งหมด และเพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น ๑๐ คนต่อประชากร ๑๐,๐๐๐ คน พร้อมทั้งลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ ๑๐ และกำหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น ๘๐ ปี ควบคู่กับลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ใน ๕ อันดับแรก คือ หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง นำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และลดรายจ่ายด้านสุขภาพของบุคคลลงในระยะยาว
(๒) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาให้ทุกชุมชนมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณ ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และลดสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลงเหลือร้อยละ ๔ ภายในปี ๒๕๕๔
(๓) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความสมดุลและยั่งยืนโดยให้สัดส่วนภาคเศรษฐกิจในประเทศต่อภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๗๕ ภายในปี ๒๕๕๔ สัดส่วนภาคการผลิตเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๕ ภายในปี ๒๕๕๔ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ ๓.๐-๓.๕ ต่อปี สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ความยืดหยุ่นการใช้พลังงานเฉลี่ยไม่เกิน ๑ : ๑ ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ ๘ รวมทั้งลดสัดส่วนการใช้พลังงานต่อผลิตภัณฑ์
มวลรวมในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลดการใช้นำมันในภาคการขนส่งให้เหลือร้อยละ ๓๐ ของการใช้พลังงานทั้งหมด รายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ ๒๐ แรกมีสัดส่วนไม่เกิน ๑๐ เท่าของรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ ๒๐ ภายในปี ๒๕๕๔ และสัดส่วนผลผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๔๐ ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐
(๔) เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รักษาความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพโดยให้มีพื้นที่ป่าไม้ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๓ และต้องเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๘ ของพื้นที่ประเทศ รักษาพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทานไว้ไม่น้อยกว่า ๓๑,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงคุณภาพชีวิตที่ดีและไม่เป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ โดยรักษาคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ และแหล่งน้ำธรรมชาติให้อยู่ในเกณฑ์พอใช้และดี รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM๑๐) ต้องมีค่าเฉลี่ย ๒๔ ชั่วโมงไม่เกิน ๑๒๐ มก./ลบ.ม. อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อประชากรลดลงร้อยละ ๕ จากปี ๒๕๔๖ คือไม่เกิน ๓.๕ ตัน/คน/ปี ควบคุมอัตราการผลิตขยะในเขตเมืองไม่ให้เกิน ๑ กก./คน/วัน และของเสียอันตรายจากชุมชนและอุตสาหกรรมได้รับการจัดการอย่างถูกต้องร้อยละ ๘๐ ของปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมด รวมทั้งให้มีระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ระดับประเทศ ๑ ระบบ
(๕) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล มุ่งให้ธรรมาภิบาลของประเทศดีขึ้น มีคะแนนภาพลักษณ์ของความโปร่งใสอยู่ที่ ๕.๐ ภายในปี ๒๕๕๔ ระบบราชการมีขนาดที่เหมาะสม และมีการดำเนินงานที่คุ้มค่าเพิ่มขึ้น ลดกำลังคนภาคราชการให้ได้ร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๔ ธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้และมีอิสระในการพึ่งตนเองมากขึ้น และภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง รู้สิทธิ หน้าที่ และมีส่วนร่วมมากขึ้นในการตัดสินใจและรับผิดชอบในการบริหารจัดการประเทศ รวมทั้งให้มีการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในบริบทไทยเพิ่มขึ้นในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐

1356. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒน์ฯ ฉบับที่ 10 มีกลยุทธ์อะไรบ้าง___________
1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
o การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน
o การเสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่
o การเสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข
2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
o การบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
o การสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน
o การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติและเกื้อกูล
3) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน
o การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพและคุณค่าของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และความเป็นไทย
o การสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจ
o การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรม
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
o การรักษาฐานทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศ
o การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน
o การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
o การเสริมสร้าง และพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมไทย
o เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้สามารถเข้าร่วมในการบริหารจัดการประเทศ
o สร้างภาคราชการที่มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล เน้นการบริการแทนการกำกับควบคุม และทำงานร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนา
o การกระจายอำนาจการบริหารจัดการประเทศสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
o ส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเข้มแข็ง สุจริต และมีธรรมาภิบาล
o การปฏิรูปกฎหมาย กฎระเบียบ และขั้นตอน กระบวนการเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสร้างความสมดุลในการจัดสรรประโยชน์จากการพัฒนา
o การรักษาและเสริมสร้างความมั่นคงเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการประเทศสู่ดุลยภาพและความยั่งยืน
1357. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล ในแผน 10 มีอะไรบ้าง___________
1) เสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนา จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ ที่บูรณาการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) กำหนดแนวทางการลงทุนที่สำคัญตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐
3) เร่งปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้
บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
4) ศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ
5) พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลและสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาในทุกระดับ
6) สนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในทุกระดับและการเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานกลางระดับนโยบาย ตลอดจนระดับพื้นที่และท้องถิ่น
1358. เป้าหมายปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเมื่อสิ้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 _______คือกี่ปี_____________(10 ปี)
1359. เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ในแผน 10 รายละเอียดว่าอย่างไร_____(ในระยะแผน 10 : ภายในปี 54)
1) เพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น ๑๐ ปี
2) พัฒนากำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ ๖๐ ของกำลังแรงงานทั้งหมด
3) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น ๑๐ คนต่อประชากร ๑๐,๐๐๐ คน
4) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ ๑๐
5) กำหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น ๘๐ ปี ควบคู่กับลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ใน ๕ อันดับแรก คือ หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง นำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และลดรายจ่ายด้านสุขภาพของบุคคลลงในระยะยาว
1360. เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน ในแผน 10 รายละเอียดว่าอย่างไร_______(ในระยะแผน 10 : ภายในปี 54)
1) ลดสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลงเหลือร้อยละ ๔ ภายในปี ๒๕๕๔
2) พัฒนาให้ทุกชุมชนมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณ
3) ลดปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด
1361. เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ ในแผน 10 ว่าอย่างไร_____________(ในระยะแผน 10 : ภายในปี 54)
1) ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความสมดุลและยั่งยืนโดยให้สัดส่วนภาคเศรษฐกิจในประเทศต่อภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๗๕ ภายในปี ๒๕๕๔
2) สัดส่วนภาคการผลิตเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๕ ภายในปี ๒๕๕๔
3) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ ๓.๐-๓.๕ ต่อปี
4) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกินร้อยละ ๕๐
5) ความยืดหยุ่นการใช้พลังงานเฉลี่ยไม่เกิน ๑ : ๑
6) เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ ๘
7) ลดการใช้นำมันในภาคการขนส่งให้เหลือร้อยละ ๓๐ ของการใช้พลังงานทั้งหมด
8) รายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ ๒๐ แรกมีสัดส่วนไม่เกิน ๑๐ เท่าของรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ ๒๐ ภายในปี ๒๕๕๔
9) สัดส่วนผลผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๔๐
1362. เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในแผน 10 ว่าอย่างไร_____(ในระยะแผน 10 : ภายในปี 54)
1) ให้มีพื้นที่ป่าไม้ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๓ และต้องเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๘ ของพื้นที่ประเทศ
2) รักษาพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทานไว้ไม่น้อยกว่า ๓๑,๐๐๐,๐๐๐ ไร่
3) คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM๑๐) ต้องมีค่าเฉลี่ย ๒๔ ชั่วโมงไม่เกิน ๑๒๐ มก./ลบ.ม.
4) อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อประชากรลดลงร้อยละ ๕ จากปี ๒๕๔๖ คือไม่เกิน ๓.๕ ตัน/คน/ปี
5) ควบคุมอัตราการผลิตขยะในเขตเมืองไม่ให้เกิน ๑ กก./คน/วัน
6) ของเสียอันตรายจากชุมชนและอุตสาหกรรมได้รับการจัดการอย่างถูกต้องร้อยละ ๘๐ ของปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมด
1363. เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล ตามแผน 10 ว่าอย่างไร________(ในระยะแผน 10 : ภายในปี 54)
1) มุ่งให้ธรรมาภิบาลของประเทศดีขึ้น มีคะแนนภาพลักษณ์ของความโปร่งใสอยู่ที่ ๕.๐ ภายในปี ๒๕๕๔
2) ระบบราชการมีขนาดที่เหมาะสม และมีการดำเนินงานที่คุ้มค่าเพิ่มขึ้น
3) ลดกำลังคนภาคราชการให้ได้ร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๔
4) ธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น
5) ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้และมีอิสระในการพึ่งตนเองมากขึ้น
6) ภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง รู้สิทธิ หน้าที่ และมีส่วนร่วมมากขึ้นในการตัดสินใจและรับผิดชอบในการบริหารจัดการประเทศ
7) ให้มีการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในบริบทไทยเพิ่มขึ้น
1364. เป้าหมายการลดจำนวนข้าราชการตามแผน 10 คือเท่าไร_______(ลดให้ได้ 10 %)
1365. เป้าหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติต้องให้มีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ร้อยละเท่าใด____(18 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด)
1366. เป้าหมายด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในแผน 10 ว่าอย่างไร____(ไม่ต่ำกว่าปีละ 20 เรื่อง)
1367. ต้นทุนทางสังคมเช่นอะไร________(วัด สถาบันศาสนา)
1368. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีกี่ด้าน______(5 ด้าน)
1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
3) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
1369. การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและชุมชนเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศในแผน 10 ด้านใด______(การเสริมสร้างธรรมภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ : ข้อ 5)
1370. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่เป็นบทบาทหน้าที่โดยตรงของหน่วยงานทางการศึกษา_______(ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้)
1371. โลจิสติกส์เกี่ยวกับเรื่องใด__________(การขนส่งและการบริการ)
1372. เครื่องมือในการบริหารประเทศของรัฐบาล______(แผนบริหารราชการแผ่นดิน)
1373. รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินแสดงแนวทางบริหารราชการแผ่นดินในแต่ละปี โดยต้องสอดคล้องกับเรื่องใด____(แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)
1374. ระยะเวลาของแผนบริหารราชการแผ่นดินกำหนดไว้กี่ปี_____(4 ปี : ตามวาระรัฐบาล)
1375. แผนบริหารราชการแผ่นดินต้องทำให้เสร็จและเสนอนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบภายในกี่วันหลังจากคณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา______(ภายใน 60 วัน)
1376. แผนบริหารราชการแผ่นดินจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด______(คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ)
1377. ใครเป็นผู้ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ_____(รัฐมนตรีเจ้าสังกัด)
1378. กฎหมายที่มีรายละเอียดในการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน คือ _____(ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน)
1379. กรอบสำคัญที่สุดในการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน_____(แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)
1380. Flagship Project คืออะไร_______(โครงการสำคัญตามนโยบายรัฐบาล)

แผนบริหารราชการแผ่นดินฉบับปัจจุบัน (2551-2554)

1381. แผนบริหารราชการแผ่นดินฉบับปัจจุบัน (2551-2554) กำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินไว้กี่ด้าน__________(8 ด้าน)
1) นโยบายที่ 1 ฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ
2) นโยบายที่ 2 สังคมและคุณภาพชีวิต (เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา)
3) นโยบายที่ 3 เศรษฐกิจ
4) นโยบายที่ 4 ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) นโยบายที่ 5 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
6) นโยบายที่ 6 การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
7) นโยบายที่ 7 ความมั่นคงของรัฐ
8) นโยบายที่ 8 การบริหารจัดการที่ดี
1382. การจัดการศึกษาถูกกำหนดไว้ในนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรื่องใด____(นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต)
1383. ใครเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบนโยบายบริหารราชการแผ่นดินด้านสังคมและคุณภาพชีวิต____(รองนายกที่ดูแลด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต) (รมต. ศึกษา)



แผนการศึกษาแห่งชาติ

1384. แผนการศึกษาแห่งชาติ ปัจจุบันอยู่ในระยะใด____(พ.ศ. 2545-2559)
1385. แผนการศึกษาแห่งชาติถือเป็น__________( เป็นแผนยุทธศาสตร์การศึกษาของประเทศ)
1386. แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นแผนยุทธศาสตร์การศึกษาของประเทศที่กำหนดช่วงระยะเวลาของแผนกี่ปี__________________(15 ปี)
1387. ปรัชญาพื้นฐานของแผนการศึกษาแห่งชาติ_________(ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
1388. แผนการศึกษาแห่งชาติกำหนดวัตถุประสงค์กี่ข้อ_____(3 ข้อ) คือ
1) พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุล
2) สร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
3) พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม
1389. แผนการศึกษาแห่งชาติมีแนวนโยบายกี่ประการ_____(11 ประการ)
1390. แผนการศึกษาแห่งชาติเกิดจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมาตราใด____(มาตรา 10 (2) และมาตรา 74)
1391. วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติข้อที่ 1 มีนโยบายที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง_____(วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุล ประกอบด้วยนโยบาย 4 ด้านคือ)
1) พัฒนาทุกคนให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้
2) ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อผู้เรียน
3) ปลูกฝังและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
4) พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเอง และเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขัน
1392. วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติข้อที่ 2 มีนโยบายที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง_____(วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อผู้เรียน) มีนโยบาย 3 ข้อ ดังนี้
1) พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของคน
2) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
3) สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ และเผยแพร่ความรู้และการเรียนรู้
1393. วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติข้อที่ 3 มีนโยบายที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง_____(วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ปลูกฝังและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์) มีนโยบายดังนี้
1) ส่งเสริมและสร้างสรรค์ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม
2) กำจัด ลด ขจัดปัญหาทางโครงสร้างเพื่อความเป็นธรรมในสังคม
3) พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
4) จัดระบบทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
1394. “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนมีดุลยภาพ” คำว่า ดุลยภาพ หมายถึงอะไร_______(เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม)
1395. เจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ______(พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ ความรู้ และคุณธรรม พัฒนาสังคมไทยให้มีความเข้มแข็ง สร้างสังคมไทยให้มีความสมดุล)
1396. NAFTA คืออะไร_______(กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิก)
1397. ลักษณะของ KBE (Knowledge -Based Economy: สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้)______(การใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการผลิตและพัฒนา การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาความรู้และการเรียนรู้ขององค์กรตลอดเวลา)
1398. สิ้นปี 2554 คนไทยควรได้รับการศึกษาโดยเฉลี่ยกี่ปี __________(10 ปี)
1399. เป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักสูงขึ้นเท่าใดในระยะเวลา 5 ปี_____(ร้อยละ 10)
1400. ยุทธศาสตร์ด้านการผลิตและพัฒนาครูตามแผนพัฒนาการศึกษาคืออะไร_____(การยกระดับวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา)
1401. ยุทธศาสตร์เพื่อเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษา______(พัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนการสอน)
1402. นโยบายการศึกษาของ สพฐ. ที่ยังไม่บรรลุผล ต้องเร่งรัดคือนโยบายใด_______(นโยบายคุณภาพการศึกษา)
1403. สพฐ. มุ่งกระจายอำนาจสู่หน่วยงานใด______(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา)
1404. เป้าหมายผลผลิตทางการศึกษาที่ สพฐ. รับผิดชอบมากที่สุด_____(เด็กภาคบังคับ)
1405. โรงเรียนประเภทใดที่ใช้รูปแบบการประเมินของ Balanced Scorecard: BSC______(Lab School Project : โรงเรียนในฝัน)
1406. ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน หากต้องการเสริมสร้างพลังจูงใจ ควรศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด____(Empowering)
1407. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาษาอังกฤษคือ_______(Transformational Leadership)
1408. การประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่างๆ โดน สพฐ. โดยกำหนดระดับคุณภาพเป็นแมทริก A1 A2 A3 A4 การแบ่งระดับคุณภาพดังกล่าวเรียกว่า_____(Tracking System)
1409. ปัญหาคุณภาพการศึกษาที่ต้องเร่งแก้ไขโดยด่วนคือ_______(คุณภาพผู้เรียนตกต่ำ)
1410. วาระแห่งชาติด้านการศึกษาจัดอยู่ในกลุ่มของกฎหมายใด _____(มติคณะรัฐมนตรี)
1411. รัฐบาลประกาศให้ปีใดเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย____(2551-2552)
1412. รัฐบาลประกาศให้ปีใดเป็นปีแห่งการลงทุน_________(2551-2552)
1413. พระวาโย คืออวัยวะใด______(หลอดลม)
1414. พรบ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้วันใด_____(12 มกราคม 2551)
1415. แผนบริหารราชการแผ่นดินระยะ 4 ปี กำหนดตั้งแต่ปีใดถึงปีใด_____(2551-2554)
1416. ผลรางวัลภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยมประจำปี 2550 ของชมรมวิจารณ์บันเทิงคือภาพยนตร์เรื่องใด____(รักแห่งสยาม)
1417. รางวัลดีเด่นผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชนประจำปี 2551 จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคือ ใคร_________________(นางปริยนัดดา พันธุ์แสนกอ)
1418. รางวัลนายแพทย์ดีเด่นในชนบท ปี 50 คือใคร ____(นายแพทย์แสงชัย พงษ์พิชญ์พิทักษ์)
1419. กองทุนเพื่อเกษียณอายุคือ________(อาร์ เอ็ม เอฟ : RMF)
1420. วันนักข่าวแห่งประเทศไทย_______(5 มีนาคม)
1421. การโทรเลขของประเทศไทยมีอายุกี่ปี_________(133 ปี)
1422. วันแรงงานตรงกับวันใด______(1 พฤษภาคม)
1423. วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ตรงกับวันใด_____(22 เมษายน)
1424. คบเพลิงโอลิมปิกจากประเทศไทยส่งต่อไปประเทศใด_____(มาเลเซีย)
1425. การแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศจีนเป็นครั้งที่เท่าไร_____(ครั้งที่ 29)
1426. ประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 รองจากไทยคือ______(อินเดีย)
1427. ประเทศเจ้าภาพประกวด Miss Universe ปี 2008 คือ________(เวียตนาม)
1428. พรบ. จราจรทางบกฉบับที่ 8 พ.ศ. 2551 ห้ามโทรขณะขับ มีผลบังคับใช้วันใด___(8 พค 51)
1429. หากโทรแล้วขับ จับปรับเท่าไร______(400-1000 บาท)
1430. เวปไซด์ E-Learning ที่เอกชนร่วมกับ สพฐ. จัดทำขึ้นเพื่อครูและนักเรียนใช้สำหรับการเรียนการสอน_______________(www.schoolthai.net)
1431. วันนักเขียนของประเทศไทยตรงกับข้อใด_____(5 พฤษภาคม)
1432. พระราชบัญญัติระเบียบข้อราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้วันใด_______(21 กุมภาพันธ์ 2551)
1433. กฎ กคศ. ว่าด้วยโรค มีกี่โรค______( 5 โรค)
1434. ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สู่บรรยากาศมากที่สุดคือประเทศใด____(จีน)
1435. วันข้าราชการพลเรือน____( 1 เมษายน)
1436. ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกข้าวคือ___________(เวียตนาม)
1437. School Mapping เป็นกลยุทธ์ข้อใดของ สพฐ.______(ขยายโอกาสทางการศึกษา)
1438. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนระดับประถม คือกี่บาท______(1900 บาท) (มติคณะรัฐมนตรี)
1439. การทำ Poll เป็นการวิจัยเชิงใด___________(สำรวจ)
1440. TK Park คือข้อใด_______(อุทยานการเรียนรู้)
1441. ผลไม้สันติภาพจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้______(ลองกอง)
1442. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาคาดการณ์ว่าปี 2569 คนไทยจะมีการศึกษาเฉลี่ยกี่ปี__(13 ปี)
1443. รัฐบาลกำหนดนโยบายการเกษียณก่อนกำหนดสำหรับข้าราชการที่มีอายุราชการกี่ปีขึ้นไป__________(25 ปีขึ้นไป)
1444. การประเมินรอบที่ 3 ของ สมศ. เริ่มในปีใด____________(2554-2559)
1445. นโยบายเร่งอัตราเรียนต่อ ม. ปลาย เมื่อสิ้นปี 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการไว้ที่___(95%)
1446. กลุ่มประเทศ EU มีกี่ประเทศ___________________(27 ประเทศ)
1447. กระทรวงวัฒนธรรมยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเป็นแบบอย่างในเรื่องใด______(การอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกไทย)
1448. ข้าราชการครูที่จะต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องชำระค่าธรรมเนียมกี่บาท___(300 บาท)
1449. เขตพื้นที่การศึกษาประกาศล่าสุดมีกี่เขต_____________(185 เขต)
1450. มาตรการ 3ม 2ข 1ร เกี่ยวข้องกับเรื่องใด______(ความปลอดภัย)
1451. สมาชิกวุฒิสภาสรรหามีวาระดำรงตำแหน่งกี่ปี______________________(3 ปี)
1452. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนปัจจุบันคือใคร______(พล ต. อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)
1453. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันคือเท่าใด_______(ร้อยละ 5)
1454. ประเทศในเอเชียที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงที่สุดคือ___________(จีน)
1455. สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดใดมีมากที่สุด_______(เท่ากันทุกจังหวัด)
1456. มีบทบาทหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย_______________(วุฒิสภา)
1457. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดเป็นองคืกรมหาชน_______(รร. มหิดลวิทยานุสรณ์)
1458. ปัจจุบันเยาวชนไทยมีจำนวนเป็นเท่าไรของประชากรไทยทั้งหมด_____(11%)
1459. Youth Counselor เป็นระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบใด_______(เพื่อนช่วยเพื่อน)
1460. โรงเรียนปลอดภัย (Self School) มีเป้าหมายอย่างไร____(ความปลอดภัยจากความรุนแรง จากอุบัติภัย และความปลอดภัยจากการล่วงละเมิด)
1461. สิ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพทางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ_____(พัฒนาปรับปรุงวิธีสอนของครู)
1462. โรงเรียนในฝันมีชื่อใหม่ว่าอย่างไร___________(โรงเรียนดีที่ใกล้บ้าน)
1463. สพฐ. มีเป้าหมายสร้างโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ “โรงเรียนสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวนกี่แห่ง________________(4 แห่ง)
1464. ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการตั้งมาแล้วกี่ปี________(116 ปี)
1465. วันครอบครัวตรงกับวันใด____________(14 เมษายน)
1466. วิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2550) คืออะไร_____
พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศสามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและประโยชน์สุขของประชาชน
1467. เป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทย
1 พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น ( Better Service Quality)
2 ปรับบทบาท ภารกิจและขนาดให้มีความเหมาะสม ( Rightsizing)
3 ยกระดับขีดความสามารถของข้าราชการและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล (High performance)
4 ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democratic governance)

1468. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย 4 ยุทธศาสตร์ อะไรบ้าง____________
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับรื้อระบบการเงินและการงบประมาณ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างระบบบริหารบุคคลและค่าตอบแทนใหม่
1469. เงื่อนไขของความสำเร็จในการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ มีอะไรบ้าง
1 ภาวะผู้นำและความเป็นเจ้าของในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
2 การแก้ไขกำหมายอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบราชการ
3 การเชื่อมโยงและบูรณาการสรรพกำลังของทุกภาคส่วนในการพัฒนาระบบราชการ
4 การจัดงบประมาณเพื่อการพัฒนาระบบราชการให้แก่ส่วนราชการต่างๆ
1470. จากผลการวิจัย พบว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีข้อดีด้านใดบ้าง
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ มีจุดดีหลายประการ เช่น
ช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษาทำให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และมีแนวคิดและหลักการในการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมอย่างชัดเจน
1471. ปัญหาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีอะไรบ้าง
1. ปัญหาความสับสนของผู้ปฏิบัติในระดับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้มาก ทำให้เกิดปัญหาหลักสูตรแน่น
2. การวัดและประเมินผลไม่สะท้อนมาตรฐาน ส่งผลต่อปัญหาการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียน รวมทั้งปัญหาคุณภาพของผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
1472. ข้อเด่นของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 คือข้อใด________________
1. มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ
2. กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น
3. ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติ
1473. วิสัยทัศน์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ว่าอย่างไร__________
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
1474. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ อย่างไร
๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
๒. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
๓. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
๔. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้
๕. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๖. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
1472. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมีจุดหมายอย่างไร
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
๑. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
1473. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มีสมรรถนะด้านใดบ้าง_________________________________________(มีสมรรถนะ 5 ด้าน ได้แก่)
1) ความสามารถในการสื่อสาร
2) ความสามารถในการคิด
3) ความสามารถในการแก้ปัญหา
4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
1474. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มีอะไรบ้าง______(มีทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่)
1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2) ซื่อสัตย์สุจริต
3) มีวินัย
4) ใฝ่เรียนรู้
5) อยู่อย่างพอเพียง
6) มุ่งมั่นในการทำงาน
7) รักความเป็นไทย
8) มีจิตสาธารณะ
สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง
1475. ตัวชี้วัดชั้นปี คืออะไร____________(เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓)
1476. ตัวชี้วัดช่วงชั้น คืออะไร____________(เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ ๔- ๖)
1477. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีลักษณะอย่างไร________(การนำความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา การดำเนินชีวิต และศึกษาต่อ การมีเหตุมีผลมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์)
1478. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร________(ความรู้ ทักษะและวัฒนธรรมการใช้ภาษา เพื่อ การสื่อสาร ความชื่นชม การเห็นคุณค่าภูมิปัญญา ไทย และภูมิใจในภาษาประจำชาติ)

1479. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีลักษณะอย่างไร______________(การนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์)
1480. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีลักษณะอย่างไร_____(การอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข การเป็นพลเมืองดี ศรัทธาในหลักธรรมของศาสนา การเห็นคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความรักชาติ และภูมิใจในความเป็นไทย)
1481. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษามีลักษณะอย่างไร_______(ความรู้ ทักษะและเจตคติในการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยของตนเองและผู้อื่น การป้องกันและปฏิบัติต่อสิ่งต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพอย่างถูกวิธีและทักษะในการดำเนินชีวิต)
1482. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมีลักษณะอย่างไร_________(ความรู้และทักษะในการคิดริเริ่ม จินตนาการ สร้างสรรค์งานศิลปะ สุนทรียภาพและการเห็นคุณค่าทางศิลปะ)
1483. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมีลักษณะอย่างไร______(ความรู้ ทักษะ และเจตคติในการทำงาน การจัดการ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการใช้เทคโนโลยี)
1484. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีลักษณะอย่างไร______(ความรู้ทักษะ เจตคติ และวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้และการประกอบอาชีพ)
1485. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มีกี่ลักษณะ___(3 ลักษณะ)
1. กิจกรรมแนะแนว
2. กิจกรรมนักเรียน
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
1486. กิจกรรมแนะแนวมีลักษณะอย่างไร__________(เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน )
1487. กิจกรรมนักเรียน มีลักษณะอย่างไร__________________( เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปันกัน เอื้ออาทร และสมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย
1) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร
2) กิจกรรมชุมนุม ชมรม
1488. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ มีลักษณะอย่างไร__________(เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม )
1489. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 แบ่งการศึกษาเป็นกี่ระดับ_____(3 ระดับ) คือ ประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) มัธยมศึกษาตอนต้น(มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6)
1490. ประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) มีจุดเน้นอย่างไร_________(การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้น จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ)
1491. มัธยมศึกษาตอนต้น(มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ) มีจุดเน้นอย่างไร_________(เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำเนินชีวิต มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ)
1492. มัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ 4-6) ) มีจุดเน้นอย่างไร_________(การศึกษาระดับนี้เน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ)
1493. การจัดเวลาเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 จัดอย่างไร__________
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมและจุดเน้น โดยสามารถปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสภาพของผู้เรียน ดังนี้
๑. ระดับชั้นประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละ ไม่เกิน ๕ ชั่วโมง
๒. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนวันละไม่เกิน ๖ ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ ๔๐ ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ ๑ หน่วยกิต (นก.)
๓. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียน วันละไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ ๔๐ ชั่วโมง ต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ ๑ หน่วยกิต (นก.)
1494. การจัดเวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจัดอย่างไร________________(
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีละ ๑๒๐ ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ จำนวน ๓๖๐ ชั่วโมงนั้น เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนวกิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
ระดับประถมศึกษา (ป.๑-๖) รวม ๖ ปี จำนวน ๖๐ ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) รวม ๓ ปี จำนวน ๔๕ ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-๖) รวม ๓ ปี จำนวน ๖๐ ชั่วโมง
1495. การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 แบ่งเป็นกี่ระดับ___________(แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่)
1) การประเมินระดับชั้นเรียน
2) การประเมินระดับสถานศึกษา
3) การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา
4) การประเมินระดับชาติ
1496. การประเมินระดับชาติทำอย่างไร_______(สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เข้ารับการประเมิน ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุน การตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ)
1497. การประเมินระดับสถานศึกษาส่วนมากประเมินด้านใดเป็นหลัก_____(เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)
1498. การตัดสินผลการเรียนระดับประถมศึกษา ตัดสินอย่างไร_________________
(๑) ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด
(๒) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา
กำหนด
(๓) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
(๔) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่
สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1499. การตัดสินผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตัดสินอย่างไร_________________
(๑) ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อย
กว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ๆ
(๒) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา
กำหนด
(๓) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
(๔) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่
สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1500. การประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์เขียนประเมินอย่างไร___________(การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้ระดับผลการประเมินเป็น ดีเยี่ยม ดี และผ่าน
1501. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประเมินอย่างไร_________จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นผ่าน และไม่ผ่าน)
1502. เอกสารหลักฐานการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กำหนดมีกี่ประเภท__________( 2 ประเภท คือประเภทที่กระทรวงกำหนด และประเภทที่สถานศึกษากำหนด)
1503. เอกสารหลักฐานการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดมีอะไรบ้าง____________________(ระเบียนแสดงผลการเรียน ประกาศนียบัตร แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา)
1504. ระเบียนแสดงผลการเรียนคืออะไร______(เป็นเอกสารแสดงผลการเรียนและรับรองผลการเรียนของผู้เรียนตามรายวิชา ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา และผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องบันทึกข้อมูลและออกเอกสารนี้ให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) จบการศึกษาภาคบังคับ(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓) จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖) หรือเมื่อลาออกจากสถานศึกษาในทุกกรณี)
1505. ประกาศนียบัตร คืออะไร_____________(เป็นเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาเพื่อรับรองศักดิ์และสิทธิ์ของผู้จบการศึกษา ที่สถานศึกษาให้ไว้แก่ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ และผู้จบการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน )
1506. แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา คืออะไร_________(เป็นเอกสารอนุมัติการจบหลักสูตรโดยบันทึกรายชื่อและข้อมูลของผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓) และผู้จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖)
เอกสารหลักฐานที่สถานศึกษากำหนดเช่นอะไรบ้าง______(เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกพัฒนาการ ผลการเรียนรู้ และข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับผู้เรียน เช่น แบบรายงานประจำตัวนักเรียน แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา ระเบียนสะสม ใบรับรองผลการเรียน และ เอกสารอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการนำเอกสารไปใช้)
1507. การเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนในกรณีใด______(การย้ายสถานศึกษา การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร การออกกลางคันและขอกลับเข้ารับการศึกษาต่อ การศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ)
1508. การเทียบโอนผลการเรียนควรดำเนินการเมื่อใด________(การเทียบโอนผลการเรียนควรดำเนินการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนแรก หรือต้นภาคเรียนแรก ที่สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเป็นผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย ๑ ภาคเรียน โดยสถานศึกษาที่รับผู้เรียนจากการเทียบโอนควรกำหนดรายวิชา/จำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม
1509. เกณฑ์การจบชั้นประถมศึกษา ว่าอย่างไร_____________(
(๑) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติมตามโครงสร้างเวลาเรียน ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
(๒) ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(๓) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
1510. เกณฑ์การจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้อนว่าอย่างไร___________________
(๑) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๖๓ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด
(๒) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๖๓ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๑๔ หน่วยกิต
(๓) ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่าน เกณฑ์
การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
1511. เกณฑ์การจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายว่าอย่างไร____________________
(๑) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๓๙ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด
(๒) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๓๙ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติม ไม่น้อยว่า ๓๘ หน่วยกิต
(๓) ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
1512. การรายงานผลการเรียนของนักเรียนรายงานอย่างไร______(สถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ ๆ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง)
1513. การให้ระดับผลการเรียนเรียนระดับมัธยม ให้อย่างไร_______(ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น ๘ ระดับ)
1514. การให้ระดับผลการเรียนชั้นประถมศึกษาให้อย่างไร_________(ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชา สถานศึกษาสามารถให้ระดับผลการเรียนหรือระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียน เป็นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ และระบบที่ใช้คำสำคัญสะท้อนมาตรฐาน)
1515. การพิจารณาเลื่อนชั้นทั้งระดับประถมและมัธยม หากมีปัญหาดำเนินการอย่างไร______(การพิจารณาเลื่อนชั้นทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย และสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้ แต่หากผู้เรียนไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น สถานศึกษาอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ)
1516. บทบาทของครูผู้สอนตามหลักสูตรใหม่ 2551 ว่าอย่างไร________
๑) ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน
การจัดการเรียนรู้ ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน
๒) กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะ
กระบวนการ ที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๓) ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย
๔) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
๕) จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
๖) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับ
ธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน
๗) วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้ง
ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของตนเอง
1517. บทบาทผู้เรียน ว่าอย่างไร______________________
๑) กำหนดเป้าหมาย วางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง
๒) เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้
ตั้งคำถาม คิดหาคำตอบหรือหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ
๒) ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในสถานการณ์ต่าง ๆ
๓) มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครู
๔) ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1518. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 เป็น_____(เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดทำขึ้นสำหรับท้องถิ่นและสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต)







1519. การประชุมสัมมนาครูอาเซียนที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ครั้งที่เท่าไร___________(ครั้งที่ 24)
1520. รายละเอียดการประชุมสัมมนาครูอาเซียนเป็นอย่างไร______(นายองค์กร อมรสิรินันท์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ประเทศไทยโดยคุรุสภาร่วมกับองค์กรสมาชิกสภาครูอาเซียนอื่นในประเทศไทย ประกอบด้วย สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย สมาคมครูสถานศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย สมาคมสหภาพครูแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภาครูอาเซียน ครั้งที่ 24 เรื่อง Sustainable Environment Education for Quality of Life โดยมุ่งเน้นการให้การศึกษาและการให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิต)
1521. เงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน (ปี 53) รายละเอียดว่าอย่างไร________(ศธ.สรุปตัวเลขเงินอุดหนุนรายหัวใหม่เบื้องต้นแล้วคือ อนุบาลคนละ 600 บาทต่อปี เพิ่มเป็น 1,700 บาทต่อปี ประถมคนละ 1,100 บาทต่อปี เพิ่มเป็น 1,900 บาทต่อปี ม.ต้นคนละ 1,800 บาทต่อปี เพิ่มเป็น 3,500 บาทต่อปี และ ม.ปลายคนละ 2,700 บาทต่อปี เพิ่มเป็น 3,800 บาทต่อปี)
1522. อัตราค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน ปีงบ 50-53 ว่าอย่างไร_________(ดังนี้)
ปีงบ 50 ปีงบ 51 ปีงบ52 ปีงบ53
ก่อนประถม 783 1,149 1,516 1,700
ประถม 1,233 1,499 1,766 1,900
ม.ต้น 2,083 2,649 3,216 3,500
ม.ปลาย 2,883 3,249 3,616 3,800
1523. รางวัลซีไรท์ 2551 ชื่อเรื่องอะไร________(เราหลงลืมอะไรบางอย่าง) วัชระ สัจจะสารสิน
1524. รางวัลซีไรท์ 2550 ชื่อว่าอะไร_________(เรื่องโลกในดวงตาข้าพเจ้าของมนตรี ศรียงค์)
1525. รางวัลซีไรท์ 2549 ชื่อว่าอะไร__________(ความสุขของกะทิ) งามพรรณ เวชชาชีวะ
1526. กำหนดการพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีกำหนดการอย่าไร____________________
ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ฝ่ายจัดการพระราชพิธีฯ รับทราบมติที่คณะกรรมการชุดใหญ่ กำหนดวันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ในระหว่างวันที่ ๑๔-๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ พร้อมทั้งพิจารณาหมายกำหนดการพระราชพิธีฯ โดยละเอียด ดังต่อไปนี้[1][2]
• วันศุกร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
o เวลา ๑๗.๓๐ น. - บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
 แต่งกายเต็มยศ มหาวชิรมงกุฎ และ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ไว้ทุกข์
• วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
o เวลา ๐๗.๓๐ น. - พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
o เวลา ๐๘.๓๐ น. - เชิญพระโกศพระศพออกพระเมรุ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ไปยังพระเมรุ ท้องสนามหลวง
o เวลา ๑๖.๓๐ น. - พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง
 แต่งกายเต็มยศ มหาจักรีบรมราชวงศ์ ไว้ทุกข์
o เวลา ๒๑.๐๐ น. - พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (พระราชพิธีจริง) ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง (เดิมกำหนดที่เวลา ๒๒.๐๐ น. การพระราชทานเพลิงพระศพในครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เตาพระราชทานเพลิงด้วยไฟฟ้าเป็นครั้งแรก)
 แต่งกายสุภาพปกติ ไว้ทุกข์
• วันอาทิตย์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
o เวลา ๐๘.๐๐ น. - พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง
o เวลา ๑๑.๐๐ น. - เชิญพระอัฐิ ออกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จากพระเมรุ ท้องสนามหลวง ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
o เวลา ๑๒.๐๐ น. - เชิญพระอัฐิ เข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐานบนแว่นฟ้าทองด้านทิศเหนือ
o เวลา ๑๒.๐๐ น. - เชิญพระผอบพระสรีรางคาร ไปยังพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (เวลาพร้อมกัน)
 แต่งกายเต็มยศ ปฐมจุลจอมเกล้า และ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ไว้ทุกข์
• วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
o เวลา ๑๖.๓๐ น. - บำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระอัฐิฯ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
 แต่งกายเต็มยศ มหาจักรีบรมราชวงศ์
• วันอังคารที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
o เวลา ๑๐.๓๐ น. - พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงพระ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
o เวลา ๑๒.๐๐ น. - เชิญพระอัฐิออกพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
o เวลา ๑๒.๐๕ น. - เชิญพระอัฐิเข้าสู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ประดิษฐานบนพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ ด้านทิศตะวันออก
 แต่งกายเต็มยศ ปฐมจุลจอมเกล้า และ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ไว้ทุกข์
• วันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
o เวลา ๑๖.๐๐ น. - เชิญพระผอบพระสรีรางคารออกอนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม จากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังอนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
o เวลา ๑๖.๓๐ น. - พระราชพิธีบรรจุพระสรีรางคาร ณ อนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
 แต่งกายเต็มยศ ปฐมจุลจอมเกล้า และ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ไว้ทุกข์
1527. พระอัฐิ กับพระสรีรังคาร ต่างกันอย่างไร_______(พระอัฐิ คือ กระดูก ส่วนพระสรีรางคาร หมายถึง เถ้ากระดูกค่ะ)
1528. บรรจุพระสรีรางคาร ที่ไหน?________(ณ อนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
1529. พระอัฐิประดิษฐานที่ไหน?____________(เชิญพระอัฐิเข้าสู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ประดิษฐานบนพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ ด้านทิศตะวันออก)
1530. GAT และ PAT คืออะไร__________________________(GAT คือการทดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) ส่วน PAT คือ การทดสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test)
เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้
องค์ประกอบในการยื่นคะแนนเข้ามาหาวิทยาลัย ปี 2553
ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %
รวม 100 %
**หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ
1531. คุณธรรม 8 ประการมีอะไรบ้าง_________________(กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม "๘ คุณธรรมพื้นฐาน" ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย
1) ขยัน
2) ประหยัด
3) ซื่อสัตย์
4) มีวินัย
5) สุภาพ
6) สะอาด
7) สามัคคี
8) มีน้ำใจ
1532. ผู้ออกแบบร่างพระเมรุคือใคร_______(นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ประธานคณะทำงานในการจัดสร้างพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์)
1533. ล่าสุด ไทยแข่งโอลิมปิกวิชาการอะไร ดได้รางวัลอะไรบ้างได้_______(กวาด 11 เหรียญ จากการแข่งขันคณิต-วิทย์ โอลิมปิกวิชาการที่อินโดนีเซีย โดยเป็นเหรียญทอง 1 เหรียญ เงิน 4 เหรียญ และทองแดง 6 เหรียญ พร้อมทำคะแนนภาคปฏิบัติสูงสุดอีกด้วย)
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งตัวแทนเด็กนักเรียนไทย ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย(ป.4-ป.6) เข้าร่วมกิจกรรม การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับช่วงชั้นที่ 2 ครั้งที่ 5 หรือ International Mathematics and Science Olympiad for Primary School 2008 (IMSO 2008) ระหว่างวันที่ 8-18 พฤศจิกายน 2551 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันหลายประเทศ เช่น ประเทศไนจีเรีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน สิงคโปร์ อินเดีย ไต้หวัน ศรีลังกา ฮ่องกง บรูไน ไทย อินโดนีเซีย ฯลฯ และสามารถคว้ารางวัลการแข่งขันได้ถึง 11 รางวัล ดังนี้
ผลการแข่งขันคณิตศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง 6 รางวัล
ผลการแข่งขันวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง 1 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน 4 รางวัล
1534. พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด และบังคับใช้วันใด_______(ประกาศ 20 กุมภาพันธ์ 2551 มีผลบังคับใช้ 21 กุมภาพันธ์ 2551)
1535. ทำไมจึงต้องมีพรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551__________(เนื่องจากเห็นสมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) (สาเหตุจริงๆ ในบทเฉพาะการ: คือ บทบัญญัติเกี่ยวกับ กคศ และ อกคศ เขตพื้นที่ รวมถึงบทบัญญัติอื่นๆ ไม่เอื้อ ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ทำให้การบริหารงานบุคคลล่าช้า เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้)
1536. พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้ยกเลิกบทบัญญัติใด ใน พรบ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 1547_______(ข้อความข้อ (3) (4) และ (5) ในมาตรา 7 ที่ว่า
ข้อ 3) กรรมการโดยตำแหน่ง 5 คน ได้แก่ เลขา สพฐ. เลขาธิการอาชีวะ เลขาธิการอุดม เลขาธิการคุรุสภา และเลขาธิการ กพ. เป็นกรรมการ กคศ โดยตำแหน่ง เป็น กรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน โดยเพิ่ม ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และเลขาธิการ กคศ. เข้ามา รวมกับกรรมการโดยตำแหน่งเดิม
ข้อ 4) ที่ว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เป็น 9 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาครู ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามา
สรุป ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน มีความเชี่ยวชาญด้านต่อไปนี้ ด้านละ 1 คน
1) ด้านการศึกษา
2) ด้านการบริหารบุคคล
3) ด้านกฎหมาย
4) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
5) ด้านการบริหารองค์กร
6) ด้านการศึกษาพิเศษ
7) ด้านการบริหารธุรกิจหรือเศรษฐศาสตร์
8) ด้านการพัฒนาครู (เพิ่มเข้ามา)
9) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านบริหารจัดการความรู้ หรือด้านการวิจัยและประเมินผล (เพิ่มเข้ามา)

ข้อ 5) กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จำนวน 9 คน (ฉบับเก่ามี 7 คน) ประกอบด้วย
1) ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา______ 1 คน
2) ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา_______ 1 คน
3) ผู้แทนข้าราชการครู ________6 คน (ครู สพฐ 4 คน + ครูอาชีวะ 1 คน+ครูจากสำนักปลัดกระทรวง อุดมศึกษา การท่องเที่ยวกีฬา และวัฒนธรรม 1 คน)
4) ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น______1 คน
มาตรา 15 พรบ. เก่า ให้เพิ่ม ข้อ 6) สาระคือ การพ้นวาระของกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ้นตำแหน่งเมื่อ ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเดิมแล้ว (เช่น เป็นตัวแทนครู แต่สอบ ผอ. ได้ ก็หมายถึงพ้นสภาพการเป็นคณะกรรมการ กคศ. ในส่วนตัวแทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นครู)
มาตรา 19 ให้เพิ่มบทบาทหน้าที่ กคศ คือ “กรณีที่ปรากฏว่าหน่วยงานราชการ หน่วยงานการศึกษา อกคศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือคณะกรรมการ ตามพรบ. นี้ไม่ปฏิบัติตามพรบ. นี้ หรือปฏิบัติการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม หรือขัดแย้งกับกฎหมายที่ออกตาม พรบ. นี้ ให้ กคศ มีอำนาจยับยั้งการปฏิบัติดังกล่าวเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีมติเห็นควรอย่างไร”
1537. ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน ใน กคศ. ใครแต่งตั้ง _______(คณะรัฐมนตรี)
1538. อกคศ เขตพื้นที่ ตาม พรบ. ระเบียบบริหาร 51 เป็นอย่างไร_______________(กำหนดสัดส่วนใหม่ ดังนี้)
1) ประธาน อกคศ. เป็นโดยกรรมการคัดเลือกกันเองจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน
2) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่เป็นกรรมการและเลขานุการ อกคศ เขตพื้นที่
3) อนุกรรมการโยตำแหน่ง 2 คน คือ ผู้แทน กคศ. และผู้แทนคุรุสภา (
4) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน จากผู้ที่มีความสามารถด้าน บริหารบุคคล การศึกษา กฎหมาย หรือด้านการเงินการคลัง (ต้องไม่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือมีตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง)
5) อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 5 คน ได้แก่
1. ครู รร. ประถม 1 คน
2. ครู รร. มัธยม 1 คน
3. ผู้บริหาร รร. ประถม 1 คน
4. ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น 1 คน
1539. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาใน พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ 51 มีตำแหน่งอะไรบ้าง
1) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
2) ผู้อำนวยการสถานศึกษา
3) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ กคศ. กำหนด
*** เดิมมีตำแหน่ง รองอธิการบดี อธิการบดี ด้วย แต่ตอนนี้ยกเลิก (ให้นำกฎหมายข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยมาใช้)

พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ 51

1540. พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ 51 การแต่งตั้ง รอง ผอ. เขต รองผอ. เขตฯ ชำนาญการพิเศษ ผอ. เขต ผอ. เขตเชี่ยวชาญ ให้ใครมีอำนาจบรรจุแต่งตั้ง_______(เลขาธิการ สพฐ. โดยอนุมัติ กคศ.)
1541. พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ 51 การแต่งตั้ง รองผอ. รร ผอ. รร ตำแหน่ง ศน. ตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ให้ใครมีอำนาจบรรจุแต่งตั้ง_____(ผอ. เขต โดยอนุมัติของ อกคศ. เขตพื้นที่การศึกษา)
1542. ตำแหน่ง อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ เหล่านี้ กคศ. เกี่ยวข้องหรือไม่______(ไมเกี่ยวข้องแล้ว ให้ใช้ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแทน)
1543. พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ 51 กำหนดไว้ว่าการแต่งตั้งครู กับครูผู้ช่วย เหมือนหรือต่างกัน_______(การบรรจุแต่งตั้งตำแหน่งครู ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ ส่วนผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วยให้เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม 2 ปี (ครูพันธ์ใหม่ 5 ปี))
1544. การย้ายผอ. เขต และรอง ผอ. เขต ใครเป็นผู้สั่งย้าย______(เลขาธิการ สพฐ. โดยอนุมัติของ กคศ.)
1545. กรณีที่ข้าราชการครูหรือบุคลากรทางการศึกษาเห็นว่ามติของ อกคศ. เขตพื้นที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรมสามารถทำอย่างไร__________________(ร้องทุกข์ต่อ กคศ.)
1546. กรรมการใน กคศ. หรือ อกคศ. เขตพื้นที่ที่เพิ่มเข้ามา ทำอย่างไรถึงจะได้ครบตามพรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ 51_______________(ดำเนินการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งภายใน 180 วัน)
1547. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ อกคศ. เขตฯ อกคศ. ที่ กคศ. ตั้ง หรือ กคศ. แล้สแต่กรณีภายในกี่วัน________________________(30 วัน) นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
1548. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษปลดออก ไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการให้มีสิทธิอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ แล้วแต่กรณี ต่อ กคศ. ภายในกี่วัน____(30 วัน)
1549. เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาร้องทุกข์ หรืออุทธรณ์ ต่อ กคศ. กรณีถูกสั่งลงโทษปลดออก ไล่ออก ให้ กคศ. พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน_________(90 วัน)

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

1550. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดกี่วัน นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ________(90 วัน)
ข้อมูลข่าวสาร หมายความว่าอย่างไร __________(ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
1551. ข้อมูลข่าวสารราชการ หมายความว่าอย่างไร__________(“ข้อมูลข่าวสารของราชการ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน)
1552. เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่าอย่างไร________ (ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ)
1553. “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่าอย่างไร______________ (ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย)
1554. ใครรักษาการใน พรบ. ข้อมูลข่าวสารราชการ_______(นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้)
1555. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการจัดตั้งในหน่วยงานใด______(สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี_____มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการและธุรการให้แก่คณะกรรมการและคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ และให้คำปรึกษาแก่เอกชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้)
1556. ขสร. คือใคร______(คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ)
1557. หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการใดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา_______________________________(ข้อมูลต่อไปนี้)
(๑) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
(๒) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
(๓) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
(๔) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(๕) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
1558. หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการใดอย่างน้อยไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้________________________(ต่อไปนี้)
(๑) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
(๒) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา ๗ (๔)
(๓) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
(๔) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
(๕) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา ๗ วรรคสอง
(๖) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
(๗) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
(๘) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
1559. ข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ถ้ามีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยให้ดำเนินการอย่างไร__________ (ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น)
1560. ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสาร หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตน หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าหรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อใคร_____________________(คณะกรรมการคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ คณะกรรมการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องเรียน ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลและรวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหกสิบวัน)
1561. ข้อมูลข่าวสารใดที่ไม่ต้องเปิดเผย____________(ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะเปิดเผยมิได้
1562. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้____________________________(ดังต่อไปนี้)
(๑) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
(๒) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
(๓) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
(๔) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
(๕) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
(๖) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น
1563. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใดจะทำอย่างไร_________ (ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำคัดค้านได้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง)
1564. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใด หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสีย ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในกี่วัน_________________(ภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้นโดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ)
1565. หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่กรณีใด_____________________(กรณีดังการเปิดเผยต่อไปนี้)
(๑) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตน เพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
(๒) เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น
(๓) ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้วยการวางแผน หรือการสถิติ หรือสำมะโนต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น
(๔) เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย โดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด
(๕) ต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา
(๖) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม
(๗) เป็นการให้ซึ่งจำเป็น เพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล
(๘) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว
1566. บุคคลมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนได้หรือไม่____________ (ได้ __บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน และเมื่อบุคคลนั้นมีคำขอเป็นหนังสือ หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้กระทำการแทนบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น)
1567. ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใดไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง ให้มีสิทธิยื่นแก้ไขได้หรือไม่________(มีสิทธิยื่น ให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนนั้นได้ ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องพิจารณาคำขอดังกล่าว และแจ้งให้บุคคลนั้นทราบโดยไม่ชักช้า)
1568. หากหน่วยงานรัฐเขาไม่แก้ให้ ทำอย่างไร___________(ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามที่มีคำขอ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสาร)
1569. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบกำหนด นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้น ดำเนินการอย่างไร___(ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่น เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า)
ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์กำหนดเวลาต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการแก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่นเมื่อครบกีปี________________________(เมื่อครบเจ็ดสิบห้าปี)
1570. ส่วนข้อมูลข่าวสารราชการที่อาจเกิดความเสียหายต่อความมั่นคง หรือกรณีอื่นๆ ครบกี่ปีจึงจะจัดส่งให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่น เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า__________________________(เมื่อครบยี่สิบปี) อาจขยายได้ กรณี หน่วยงานของรัฐเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารนั้นยังไม่ควรเปิดเผย โดยมีคำสั่งขยายเวลากำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วยแต่จะกำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้
1571. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกอบด้วยใครบ้าง_________(ประกอบด้วยรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกเก้าคนเป็นกรรมการ
ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
1572. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ มีวาระอยู่ในตำแหน่งกี่ปี_______(คราวละสามปี วาระติดต่อกันได้)
1573. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ มีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง_______________
(๑) สอดส่องดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ได้รับคำขอ
(๓) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกา และการออกกฎกระทรวง หรือระเบียบของคณะรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา ๑๓
(๕) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๗) ดำเนินการเรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
1574. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ใครเป็นคนแต่งตั้ง____(คณะรัฐมนตรี) โดยคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร คณะหนึ่งๆ ประกอบด้วยบุคคลตามความจำเป็น แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามคน
1575. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่สั่งให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณามีโทษอย่างไร_____( ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
1576. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนดตามมาตรา ๒๐ (เกี่ยวกับข้อมูลความมั่นคง หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) มีโทษอย่างไร_______(ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)


พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

1577. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เกิดขึ้นจากเหตุใด______(สมควรมีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่)
1578. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 เจ้าหน้าที่หมายความว่าอย่างไร________(เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่น)
1579. สาระสำคัญของ พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 มีอย่างไร_____
1) หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
2) ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิด
3) ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
4) ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
5) ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด
6) ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
7) ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
8) ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย
1580. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 มีประเด็นสำคัญอะไรบ้าง_______________(ดังนี)
1) เมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐแห่งใด และหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการ (ไม่เกิน 5 คน) สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดขึ้นคณะหนึ่งโดยไม่ชักช้า เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้นั้นต้องชดใช้
2) ถ้าเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐอีกแห่งหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำให้เกิดความเสียหายแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาและให้มีการรายงานตามลำดับชั้นจนถึงหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัด
3) ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้ทำให้เกิดความเสียหายเป็นรัฐมนตรี ให้แจ้งต่อนายกรัฐมนตรี
4) ในกรณีที่ความเสียหายเกิดแก่เงิน ให้ใช้เป็นเงินแต่เพียงอย่างเดียว
5) ในกรณีที่ความเสียหายมิได้เกิดแก่เงิน ให้ชดใช้เป็น ทรัพย์สินอย่างเดียวกัน ซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินที่ชำรุดเสียหายให้คงสภาพเดิม โดยทำสัญญาว่าจะจัดการให้ทรัพย์สินคงสภาพเหมือนเดิมภายในเวลาไม่เกินหกเดือน ให้มีการตรวจรับตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุของทางราชการหรือของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ
6) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดตาย ให้รีบดำเนินการตามระเบียบนี้โดยอนุโลม เพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็วและระมัดระวังอย่าให้ขาดอายุความมรดก ในกรณีที่ผู้แต่งตั้งเห็นว่าเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐ ให้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องผู้จัดการมรดกหรือทายาทต่อไป
7) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดและขอผ่อนชำระค่าสินไหมทดแทนไม่ว่าจะเกิดขึ้นในขั้นตอนใด ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายกำหนดจำนวนเงินที่ขอผ่อนชำระนั้นตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงรายได้ ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพตามฐานานุรูปของเจ้าหน้าที่ ความรับผิดชอบที่บุคคลนั้นมีอยู่ตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย ในการให้ผ่อนชำระ ต้องจัดให้มีผู้ค้ำประกัน และในกรณีที่เห็นสมควรจะให้วางหลักประกันด้วยก็ได้
8) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายพิจารณาผ่อนผันตามความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดและต้องไม่ดำเนินคดีล้มละลายแก่ผู้นั้น แต่ถ้าการที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้นั้นเกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่กระทำการใด ๆ อันเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเพื่อให้หน่วยงานของรัฐไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินคดีล้มละลาย
9) การประนีประนอมยอมความไม่ว่าจะเกิดขึ้นในขั้นตอนใดต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อน
1581. มาตราใด ใน พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 51 ที่กล่าวถึงคุณสมบัติผู้ที่จะเป็นครู___(มาตรา 30)
1582. ตาม พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ 51 ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีกี่ประเภท___________(3 ประเภท คือ)
1) ตำแหน่งผู้สอน (ครู อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์)
2) ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา (รอง ผอ. ผอ. รองผอ. เขต ผอ. เขต อื่นๆ ตามที่กคศ. กำหนด)
3) ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น
1583. หากครูไม่พอใจผลการลงโทษทางวินัย ดำเนินการอย่างไร________(อุทธรณ์)
1584. กงช. คือ องค์กรใด_____(คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ)
1585. กงช. มีกี่คน________(20 คน)
1586. พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด และบังคับใช้วันใด_______(ประกาศ 20 กุมภาพันธ์ 2551 มีผลบังคับใช้ 21 กุมภาพันธ์ 2551)
1587. องค์กการทรัพย์สินทางปัญญาโลก ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลอะไรให้ในหลวง______________(รางวัล "โกบอล ลีดเดอร์อวอร์ด” แด่ในหลวง ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตน และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมพัฒนาประเทศ นับเป็นประมุของค์แรกของประเทศที่ได้รับรางวัลนี้) ผอ.ใหญ่ของไวโป จะเข้าเฝ้าฯทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ ขณะที่สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ กำหนดให้วันที่ 2 ก.พ. ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์โลก ตรงกับวันที่พระองค์ทรงจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนาอีกด้วย
1588. เด็กหมายถึงบุคคลที่มีอายุต่ำกว่ากี่ปี_____________(18 ปี)
1589. เด็กที่มีครอบครัวยากจน หมายถึงเด็กกลุ่มใด__________(เด็กที่ตกอยู่ในสภาพลำบาก)
1590. สถานที่รับเด็กไว้อุปการะชั่วคราว คือสถานที่ใด______(สถานแรกรับ)
1591. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ มีผู้หญิงเท่าใด___(1ใน 3)
1592. ใครมีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในเขตอำเภอนั้นๆ____(นายอำเภอ)
1593. เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์มีกี่ประเภท______(8 ประเภท)
1594. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กหรือไม่____(ไม่)
1595. หากพบเห็นหรือประสบเหตุการณ์ที่เชื่อได้ว่ามีการกระทำทารุณต่อเด็กให้ดำเนินการใด________(รายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แจ้งพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือแจ้งผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก)
1596. หากขายบุหรี หรือสุราให้กับเด็ก (อายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์) มีโทษอย่างไร_____(จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท)
1597. การบริหารราชการของหน่วยงานราชการต้องการให้บรรลุเป้าหมายด้านใดมากที่สุด______(ประโยชน์สูงสุดของประชาชน)
1598. การบริหารและการปฏิบัติราชการยึดใครเป็นศูนย์กลาง____(ประชาชน)
1599. หน่วยงานที่มีหน้าที่กำหนดแนวทางการดำเนินงานทั่วไปสำหรับส่วนราชการคือ ___(กพร.)
1600. กรอบเวลาตามแผนบริหารราชการแผ่นดินกี่ปี__________(4 ปี)
"ได้มา ให้ไป ช่วยกันน่ะครับทุกท่าน "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม