หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบถามขตอบกฎหมายพลวัต ข้อที่ 601-800

ข้อสอบถามขตอบกฎหมายพลวัต ข้อที่ 601-800

601. ประธานธนาคารโลก.............(นายโรเบิร์ต เซลลิค) ชาวแยงกี้
602. นายกอังกฤษคือใคร.............(นายกอดอน บราวส์) นักการเมือชาวสกอตต
603. เด็กคือใคร...........(ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์)

พรบ.คุ้มครองเด็ก

604. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมีกี่คน .............(23 คน รัฐมนตรกระทรวงพัฒนาสังคมเป็นประธาน)
605. ใครเป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กระดับจังหวัด .....(ผู้ว่า)
606. เด็กพึงได้รับการสงเคราะห์มีกี่ประเภท............(8 ประเภท)
1) เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน
2) เด็กที่ถูกทอดทิ้ง พลัดหลง
3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ (ผู้ปกครองถูกจำคุก พิการ ป่วย โรคจิต)
4) เด็กที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพไม่เหมาะสม
5) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
6) เด็กพิการ
7) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
8) เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ตามกฎกระทรวง
607. เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมีกี่ประเภท.............(3 ประเภท)
1) เด็กที่ถูกทารุณกรรม
2) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
3) เด็กที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎกระทรวง
608. หลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีกี่หลัก.....(6 หลัก)
- หลักนิติธรรม
- หลักคุณธรรม
- หลักความโปร่งใส
- หลักความมีส่วนร่วม
- หลักความรับผิดชอบ
- หลักความคุ้มค่า
เก่าแล้วไม่ควรจำ
609. นโยบายการศึกษารัฐบาลสมชาย 1............มีอะไรบ้าง
1) ลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ ครอบคลุมการพัฒนาครู หลักสูตร สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพและความรู้ของนักเรียนตามแผนการเรียนการสอนอย่างสัมพันธ์กับทรัพยากรและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ
2) จัดให้คนไทยทุกคนมีโอกาสรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก รวมทั้งบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้นและผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อ
3) ปรับระบบการผลิตครูและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม พัฒนาหลักสูตรสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ควบคู่กับการส่งเสริมการเรียนภาษาไทยและประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย พร้อมทั้งขยายบทบาทของระบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านองค์กรต่างๆ
4) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้อย่างจริงจัง ส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนรู้ทางไกล ตลอดจนพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
5) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาให้มีความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิจัยและนวัตกรรม การให้บริการวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง และการผลิตและพัฒนากำลังคน ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ พร้อมทั้งเร่งผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพและมีเส้นทางอาชีพที่ชัดเจน
6) ส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง ด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรม ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7) ส่งเสริมกลไกการบริหารจัดการศึกษาทั้งระบบ โดยครอบคลุมระบบการวางแผน การบริหารจัดการ การกำกับดูแล และการติดตามประเมินผล เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการปรับกลยุทธ์ของการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
610. เลขาธิการคุรุสภาคนใหม่ชื่อว่าอะไร..........(นายองค์กร นามสกุลไม่ทราบ)
611. ประเทศที่มีอำนาจในการแข่งขันสูงที่สุด 10 ประเทศมีประเทศใดบ้าง.......
- อเมริกา
- สวิตเซอร์แลนด์
- เดนมาร์ก
- สวีเดน
- เยอรมัน
- ฟินแลนด์
- สิงค์โปร์
- ญี่ปุ่น
- อังกฤษ
- เนเธอร์แลนด์
612. พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนใหม่ เกิดขึ้นได้จากสาเหตุใด..........(เพื่อ “ให้ผู้บริหารของส่วนราชการ มีความคล่องตัวในการบริหารคน” “ให้ข้าราชการมีหลักประกันความเป็นธรรม” “ให้ข้าราชการมีส่วนร่วมในการบริหารราชการมากขึ้น”

พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนใหม่
613. พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนใหม่.....มีการเปลี่ยนระบบ C จาก 11 ซี อย่างไร””
....................(เปลี่ยนจาก 11 ซี แบ่งออกเป็น 4 แท่ง คือ บริหาร อำนวยการ วิชาการ และทั่วไป)
เทคนิคการจำ ทั่ว / การ / อำนวย /หาร
614. การพิจารณาขึ้นเงินเดือนในพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนใหม่ ขึ้นอย่างไร...(ขึ้นเป็นตัวเลข เปอร์เซ็น แทนการขึ้นเป็นขั้นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้)
615. กพค. ตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนใหม่หมายถึงองค์กรใด.........(คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม) พิจารณาคำร้องทุกข์ คำร้องเรียน เพื่อส่งเสริมรักษาระบบคุณธรรมให้ข้าราชการ
616. พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนใหม่ มีประเด็นสำคัญอะไรบ้าง
- มีการปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่ง จาก ระบบ C เป็น “กลุ่ม” 4 แท่ง
- มีการตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
- ขึ้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็น
- การต่ออายุราชการ โดยข้าราชการบางส่วนสามารถทำงานต่อไปได้สูงสุด 10 ปี (ผู้ที่อยู่ในสายขาดแคลน ผู้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และมีสุขภาพเหมาะสม
- การต่ออายุราชการต้องเป็นสายแท่งวิชาการ ทั้งระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ และแท่งทั่วไป ระดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ สายบริหารหรืออำนวยการไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการต่ออายุ
- ส่งเสริมการรวมตัวเป็นสหภาพ ชมรม หรือสมาคม เพื่อดำเนินการตามความสนใจ และประโยชน์ของกลุ่มที่ไม่ขัดกับวิชาชีพ
617. โทรไม่ขับ เป็นข้อบังคับจากกฎหมายใด.....(พระราชบัญญัติจราจรทางบก)
618. พรบ คุ้มครองเงินฝาก มีเนื้อหาสาระอย่างไร.......(พรบ คุ้มครองเงินฝาก ถือเป็นกฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนมาก เพราะคนส่วนใหญ่ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ โดยเนื้อหากฎหมายคือ คุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนในปีแรก ส่วนปีที่ 2 คุ้มครองเงินฝาก 100 ล้านบาท ปีที่ 3 คุ้มครอง 50 ล้านบาท ปีที่ 4 คุ้มครอง 20 ล้านบาท ปีที่ 5 คุ้มครอง 1 ล้านบาท)
619. พรบ ระเบียบข้าราชการครู ฉบับ 50 สาระเหตุผลว่าอย่างไร.....(แก้ไขให้กรรมการโดยตำแหน่งในส่วนผู้แทนคุรุสภา และผู้ทรงคุณวุฒิ ใน อกคศ เขตพื้นที่ จะต้องไม่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะครูอาศัยช่องผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาในบอร์ด เกิดสัดส่วนไม่สมดุล ไม่คานอำนาจกัน ส่งผลให้มีการแสวงหาผลประโยชน์แก่พวกพ้อง เพราะเป็นกลุ่มเสียงข้างมาก)
620. สาระสำคัญที่มุ่งแก้ปัญหาจาก รัฐธรรมนูญ 40 ของรัฐธรรมนูญ 50 มีอะไรบ้าง....
1) การคุ้มครองส่งเสริมและขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
2) การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และขจัดการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรม
3) การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมจริยธรรม
4) การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง
621. BOJ คืออะไร...........(ธนาคารกลางญี่ปุ่น) BANK OF JAPAN
622. บุคคลแห่งปี 2007 ของนิตยสาร ไทม์ (TIME) คือใคร.......(ประธานาธิบดีวราดิเมียร์ ปูติน) พารัสเซียผงาดเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจและการเมืองโลกที่น่าเกรงขามอีกครั้ง
623. ใครผ่านความเห็นชอบ พรบ ระเบียบข้าราชการพลเรือน .....(สนช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
624. โรคคริชมาเนีย มีสัตว์ใดเป็นพาหะ..........(แมลง) อยู่แถบตะวันออกกลาง
625. รธน 40 มีข้อบกพร่องจนต้องมี รธน 50 เพราะสาเหตุใด..................
- ก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจรัฐและใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
- การดำเนินการทางการเมืองที่ไม่โปร่งใส ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม
- ระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐล้มเหลว
- การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่
626. รธน 50 ให้ผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนได้หรือไม่...(ไม่ได้)
627. ประชาชนเท่าไรสามารถลงชื่อเพื่อเสนอขอแก้รัฐธรรมนูญได้............100,000 คน
628. ประชาชนเท่าไรสามารถลงชื่อเสนอร่างกฎหมาย และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง....(20000 คน )จากเดิม 50000 คน ซึ่งมากเกินไป ทำได้ยาก
629. ประเด็นเด่น รัฐธรรมนูญ 2550 ...........
- ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงกรณีมีการละเมิดสิทธิที่กำหนดไว้ใน รธน
- ผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนไม่ได้
- ประชาชน100,000 คน สามารถลงชื่อเพื่อเสนอขอแก้รัฐธรรมนูญได้............
- ประชาชน20000 คน สามารถลงชื่อเสนอร่างกฎหมาย และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- สื่อมวลชนได้รับการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพอย่างไม่เคยมีมาก่อน (ห้ามการเมืองแทรกแซง หรือใช้สื่อเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ทางการเมือง)
- ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม
- ประชาชนเป็นผู้เล่น ไม่ใช่ผู้ดูทางการเมืองอีกต่อไป.....(เน้นการมีบทบาทและการมีส่วนร่วมการเมืองภาคประชาชน (ส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของรัฐ การทำสนธิสัญญา การทำประชามติ
- ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนแทรกแซงข้าราชการประจำ
- กำหนดมาตรการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง
- การแสดงทรัพย์สิน หนี้สิน มีความเข้มข้นขึ้น และต้องเปิดเผยต่อสาธารณชน (ทั้งนายก รัฐมนตรี ผู้แทน สมาชิกวุฒิสภา)
630. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ด้วยจำนวยเสียงเท่าไร.....1/4
631. ประธานศาลปกครองสูงสุดคือใคร......................(นายอัขราทร จุฬารัตน์)
632. หนงสือที่เขียนถึงสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอล่าสุดคือ ..........(แสงหนึ่งคือรุ้งงาม)

รัฐธรรมนูญ 2550

633. รัฐธรรมนูญ 50 ทรงลงพระปรมาภิไธยวันที่เท่าไร.......(24 สิงหาคม 2550)
634. รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว (2549) (ฉบับ คมช) บัญญัติให้องค์กรใดมีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ 50……………..(สภาร่างรัฐธรรมนูญ และ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ)
635. การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักใด.................(หลักนิติธรรม)
636. ผู้ใดมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อกษัตริย์ในพระราชกรณียกิจ ที่ทรงปรึกษา....(องคมนตรี)
637. ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโอการแต่งตั้งประธานองคมนตรี.....(ประธานรัฐภา) นั่นคือ ประธานสภาผู้แทนราษฎรนั่นเอง
638. ผู้เสนอชื่อผู้สำเร็จราชการแทนกษัตริย์ต่อรัฐภา คือใคร.....(คณะองคมนตรี)
639. ในช่วงที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทน ผู้ใดเป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราวไปพลางๆ ก่อน.......(ประธานองคมนตรี)
640. การสืบราชสมบัติเป็นไปตามกฎเกณฑ์ใด.......(มณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467)
641. ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ยากไร้มีสอทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการของรัฐอย่างไร.....................(ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
642. บุคคลอายุเท่าใดไม่เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ......(อายุเกิน 60 ปี)
643. กรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง ให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบกี่ปี..........(5 ปี)
644. คณะรัฐมนตรีที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด และจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหา อุปสรรค เสนอต่อรัฐสภาปีละกี่ครั้ง ......(1 ครั้ง)
645. แผนใดที่คณะรัฐมนตรีต้องจัดทำ เพื่อแสดงมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน ..................(แผนการบริหารราชการแผ่นดิน)
646. รัฐสภาประกอบด้วยกี่สภา อะไรบ้าง.......( 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และสภาวุฒิสภา)
647. ผู้ใดเป็นประธานรัฐสภา...........(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)
648. ประธานรัฐสภาคนปัจจุบัน (รัฐบาลสมชาย 1)..........(นายชัย ชิดชอบ)
649. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะบัญญัติขึ้นได้ต้องได้รับคำแนะนำและยินยอมจากองค์กรใด.........(รัฐสภา)
650. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวิฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าใดของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง.........(หนึ่งในสาม.........1/3)
651. สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกทั้งหมดกี่คน..........(480 คน) (400+80) (แบ่งเขต+สัดส่วน)
652. แต่ละเขตเลือกตั้ง (กลุ่มจังหวัด) มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้กี่คน ........(10 คน)
653. ทั้งประเทศมีเขตเลือกตั้ง (สส สัดส่วน : ในแต่ละกลุ่มจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน) กี่เขต....(8 เขต) มี ส.ส. รวมทั้งหมด 80 คน
654. การเลือก สส แบ่งเขต มีหลักการอย่างไร.....(จังหวัดใด มี สส 3 คน ให้จังหวัดนั้นเป็น 1 เขต แต่จังหวัดใดมี สส ได้เกิน 3 คน ให้แบ่งเป็นเขต (1 จังหวัดอาจมีหลายเขต บางจังหวัดอาจมีเขตเดียว)
655. เกณฑ์การคำนวณจำนวนราษฎรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน คำนวณอย่างไร.....(นำคนทั้งประเทศ(ตามหลักฐานทะเบียนราษฎร์) หาร 400 (จำนวน สส)
656. ผู้แปลงสัญชาติมีสิทธิเลือกตั้งได้หรือไม่....(ได้ ถ้าได้รับสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี)
657. การนับอายุ 18 ปีบริบูรณ์ นับอย่างไร....(นับในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง) (กล่าวคือ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง)
658. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่ถึง 90 วัน สามารถเลือกตั้ง สส ในเขตนั้นได้หรือไม่........(ไม่ได้ แต่ถ้า 90 วันขึ้นไป เลือกได้)
659. ภิกษุ สามเณร สามารถเลือกตั้ง สส สว ได้หรือไม่........(ไม่ได้)
660. ถูกจำคุก สามารถเลือกตั้งได้หรือไม่......(ไม่ได้) (หากต้องหมายศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่สามารถเลือกตั้งได้)
661. อายุ 25 ปีสามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง สส ได้หรือไม่ ....(ได้ ถ้าอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง)
662. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่ากี่วัน จึงจะมีสิทธิ์ลงเลือกตั้ง สส....(ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง)
663. ผู้ลงสมัครเลือกตั้ง สส แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร.....(จะต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดในข้อต่อไปนี้
- มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตที่จะลงสมัครไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัคร) หรือ......
- เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดนั้น หรือ
- เคยเรียนในสถานศึกษาในจังหวัดนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา หรือ
- เคยรับราชการในจังหวัดนั้นไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
664. ผู้สมัคร สส แบบสัดส่วน มีคุณสมบัติอย่างไร....(ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้)
- เหมือน ข้อ 660 แต่ให้นับเป็นกลุ่มจังหวัดแทนจังหวัดหรือเขตเลือกตั้ง
665. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการเนื่องจากทุจริตในหน้าที่ สามารถลงสมัคร สส ได้หรือไม่.........(ไม่ได้)
666. เคยเป็น สว แต่สมาชิกภาพสิ้นสุดแล้วยังไม่ถึง 2 ปี นับถึงวันสมัคร สามารถลงสมัคร สส ได้หรือไม่ ....(ไม่ได้)
667. วาระ สส กี่ปี..........( 4 ปี )
668. เมื่ออายุของสภาผู้แทนสิ้นสุดลง จะต้องเลือกตั้งทั่วไปใหม่ภายในกี่วัน...(45 วัน) โดยกษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ “เป็นการเลือกตั้งทั่วไป)
669. การประกาศยุบสภาให้ทำโดยกฎหมายใด....(พระราชกฤษฎีกา)
670. หลังยุบสภา จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในกี่วัน...(ไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร)
671. หลังประกาศคณะรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว) พรรคที่ไม่มีตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคที่ไม่มีตำแหน่งรัฐมนตรี พระเจ้าอยู่หัวจะแต่งตั้งให้หัวหน้าพรรคนั้น ดำรงตำแหน่งใด.....(ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร)
672. วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน ........(150 คน) (76+74) (สว เลือกตั้ง+สว ลากตั้ง)
673. ในการเลือกตั้ง สว ผู้ลงสมัครสามารถหาเสียงได้หรือไม่...(ได้)
674. คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา มีใครบ้าง......(ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธาน กกต. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธาน ปปช. ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย 1 คน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย 1 คน
675. คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา (แบบลากตั้ง: สว สรรหา) มีกี่คน.....(7 คน)
676. ส ว ต้องมีอายุไม่น้อยกว่ากี่ปี.............(ไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ ในวันรับสมัคร หรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ)
677. ผู้จะเป็น สว จะต้องมีวุฒิการศึกษาอะไร..........(ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า)
678. สมาชิกวุฒิสภา (สว) มีวาระกี่ปี.....(6 ปี)
679. สว เลือกตั้งมีคุณสมบัติอย่างไร......(เหมือน สส ยกเว้นเรื่องอายุ)
680. รัฐธรรมนูยไทยเริ่มมีในพ.ศ. ใด..........(2475)
681. รัฐธรรมนูญปัจจุบันมีกี่ฉบับแล้ว (ไม่นัก ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม)........(17 ฉบับ)
682. เมื่อบรรลุธรรมแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ มีพระนามว่าอย่างไร........(พุทธะ)
683. ประชาธิปไตย แปลว่าอย่างไร.................(รัฐบาลโดยประชาชน)
684. รัฐสภาอเมริกามีชื่อว่าอย่างไร................(สภาคองเกรส: Congress) ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา
685. เขื่อนยันฮี คือ เขื่อนใด..........(เขื่อนภูมิพล อ. สามเงา จังหวัดตาก)
686. อัฏฐะบริขารมีกี่อย่าง...............(8 อย่าง) (สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน ด้าย เข็ม ประคตเอว กระบอกกรองน้ำ)
687. พระพุทธรูปทองคำที่วัดไตรมิตร สันนิฐานว่าเป็นสมัยใด.....(สุโขทัย) (พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
688. พระปรางค์ที่สูงที่สุดของไทยอยู่วัดใด.......(วัดอรุณราชวราราม)
689. ทองเหลืองเกิดจากโลหะใด.............(ทองแดง+สังกะสี)
690. ทองบอร์น เกิดจาก...............(ทองแดง+ดีบุก)
691. เด็กอายุไม่เกินกี่ปีทำผิดแล้วไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา......(7 ปี)
692. ถนนพหลโยธินจากกรุงเทพไปสิ้นสุดที่ใด........(เชียงราย)
693. พระราชบัญญัติ กับพระราชกำหนดต่างกันอย่างไร......(พระราชบัญญัติสภาเป็นผู้ออก พระราชกำหนดรัฐบาลเป็นผู้ออก แต่ต้องเสนอสภา)
694. ทักษิณาวรรษ คืออะไร..............(เวียนขวา)
695. เบญจรงค์ มีสีใดบ้าง................(เหลือง ขาว เขียว แดง และดำ)
696. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันใด...........(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8)
697. การที่เงินมีจำนวนอยู่ในตลาดมากเกินความต้องการของตลาด ทำให้ค่าของเงินลดลง หรือเสื่อมลงเรียกว่าอะไร...............(เงินเฟ้อ)
698. นกที่ใช้เป็นเครื่องหมายสันติภาพคือ............(นกพิราบ)
699. ดาวเทียม ธีออส สำคัญอย่างไร........(ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธนนมชาติดวงแรกของไทย) โครงการระหว่างไทยและฝรั่งเศส
700. popular vote คืออะไร..........การเลือกคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี
701. electoral vote คืออะไร.........คณะผู้เลือกตั้งที่ได้จาก popular vote ลงคะแนนเลือกผู้ที่จะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ มีจำนวน 538 คน
702. องค์กรที่มีมติยุบพรรคการเมืองคือ............(ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
703. การเลือกตั้งแบบ ไพรมารี และแบบ คอคคัส คืออะไร......(การเลือกตั้งตัวแทนพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา)

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

704. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545..ประกาศในราชกิจานุเบกษาเมื่อใด...(31 ธันวาคม 2545)
705. การศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 หมายความว่าอย่างไร...(การศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ)
706. ผู้ที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำ ที่ไม่ใช่บิดา มารดา ถือเป็นผู้ปกครองหรือไม่.....(เป็น)
707. เด็ก ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 หมายความว่าอย่างไร........(เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว)
708. ใครเป็นผู้แต่งตั้ง “พนักงานเจ้าหน้าที่” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545.................(รัฐมนตรี)
709. หน่วยงานใดมีหน้าที่ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา......(คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา)
710. มีวิธีการประกาศอย่างไร............(ปิดประกาศ ณ สำนักงานเขตพื้นที่ฯ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา รวมทั้งต้องแจ้งหนังสือให้ผู้ปกครองทราบก่อนเด็กเข้าเรียนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี)
711. คณะกรรมการเขตต้องแจ้งรายละเอียดการส่งเด็กเข้าเรียนแก่ผู้ปกครองก่อนเด็กเข้าเรียนเป็นเวลาเท่าไร.............(ก่อนเด็กเข้าเรียนไม่น้อยกว่า 1 ปี)
712. เมื่อผู้ปกครองรองขอ สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันเด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังเกณฑ์ได้หรือไม่....(ได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด)
713. ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ปกครอง ซึ่งเด็กไม่ได้เข้าเรียนมาอยู่ด้วย (หมายถึงอายุถึงเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ แต่เด็กยังไม่ได้เข้าเรียนหนังสอเลย) ผู้นั้นต้องทำอย่างไร......(แจ้งให้ทราบ)
714. แจ้งให้ใคร หรือหน่วยงานใดมิทราบ............(สำนักงานเขตพื้นที่สิ หรือไม่ก็องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี)
715. แล้วแจ้งเวลาไหนล่ะ............(ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่เด็กมาอยู่ด้วย)
716. ถ้าเด็กมีพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองอาศัยอยู่................(ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของพ่อแม่สิ)
717. “พนักงานเจ้าหน้าที่” สามารถเข้าไปตรวจสอบการเข้าเรียนของเด็กในสถานที่ใดๆ ได้หรือไม่......(ได้ โดยเข้าไปช่วงระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น และอาทิตย์ตกในเวลาทำการของสถานที่นั้นๆ)
718. หากพบว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียน ดำเนินการอย่างไร.....(ดำเนินการให้เด็กนั้นได้เข้าเรียน แล้วรายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี)
719. พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พรบ การศึกษาภาคบังคับ เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายใด......(ตามประมวลกฎหมายอาญา)
720. ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนมีโทษหรือไม่ อย่างไร....(ปรับไม่เกิน 1000 บาท)
721. ผู้ที่ไม่ให้ความสะดวก หรือไม่อำนวย หรือต่อต้านการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้ามีโทษหรือไม่ อย่างไร...........(มีโทษ ปรับไม่เกิน 1000 บาท)
722. ผู้ให้ข้อมูลเป็นเท็จเกี่ยวกับการเข้าเรียนเด็ก.....(เช่นโกหกว่าไม่มีเด็กที่อยู่ในเกณฑ์) มีโทษอย่างไร............(ปรับไม่เกิน 10000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท)
723. ผู้ที่ปราศจากเหตุอันควร หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นเหตุไม่ให้เด็กเข้าเรียน มีโทษอย่างไร....(ปรับไม่เกิน 10000 บาท (ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท)
724. ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง “พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พรบ. การศึกษาภาคบังคับ 2545 คือใคร......(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
725. หลักธรรมาภิบาล มีกี่หลัก .................(มี 6 หลัก ประกอบด้วย)
1) หลักนิติธรรม
2) หลักคุณธรรม
3) หลักความโปร่งใส
4) หลักความมีส่วนร่วม
5) หลักความรับผิดชอบ
6) หลักความคุ้มค่า
726. SPBB คืออะไร............(ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงยุทธศาสตร์) (Strategy Performance Base Budgeting)
727. การจัดการศึกษาโดยสถาบันพระพุทธศาสนา แบ่งเป็นระดับอย่างไร.....
1) การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (มัธยมต้นและมัธยมปลาย)
2) การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม (มัธยมศึกษาตอนต้น)
3) การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี (ชั้นเปรียญธรรม 3 ประโยค เป็นมัธยมปลาย)
728. การจัดการศึกษาโดยสถาบันพระพุทธศาสนา มีคณะกรรมการสถานศึกษาหรือไม่...(มี) (เพราะเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
729. สถาบันพระพุทธศาสนาสามารถจัดการศึกษาตามกฎหมายใด....(พรบ การศึกษาแห่งชาติ และกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสถาบันพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2548)
730. เด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนร่วม มีกี่ประเภท...........(10 ประเภท) ได้แก่
1) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
2) เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
3) เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
4) เด็กที่มีความบกพร่องทางกายและการเคลื่อนไหว
5) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
6) เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม
7) เด็กออทิสติก
8) เด็กสมาธิสั้น
9) เด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อน
10) เด็กปัญญาเลิศ
731. เด็กที่อายุไม่ถึง 18 แต่แต่งงาน ถือเป็นเด็กหรือไม่...........(ไม่)

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

732. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด....(2 ตุลาคม 46)
733. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เริ่มบังคับใช้เมื่อใด....(พ้นกำหนด 180 วัน นับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
734. เด็ก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 คือ......(ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์)
735. ประเภทเด็กใน พรบ คุ้มครองเด็ก มีประเภทใดบ้าง.....(เด็กพิการ เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาวะลำบาก และเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด..........(5 ประเภท ที่จะต้องได้รับการคุ้มครอง)
736. เด็กพิการ หมายความว่าอย่างไร.......(เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดภายหลังก็ตาม)
737. เด็กเร่ร่อน หมายความว่าอย่างไร..........(เด็กที่ไม่มีบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ไม่เลี้ยงดู หรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปที่ต่างๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อน จนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน)
738. เด็กกำพร้า หมายความว่าอย่างไร.....(เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้)
739. เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายความว่าอย่างไร.........(เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน หรือบิดา มารดาอย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับหน้าที่ในครอบครัวเกินวัย หรือเกินกำลัง ความสามารถ สติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้)
740. เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายความว่าอย่างไร..........(เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพ หรือคบค้าสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปสู่การกระทำผิดกฎหมาย หรือขัดศีลธรรม เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อม หรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสื่อมเสีย
741. การเลี้ยงดูโดยมิชอบ หมายความว่าอย่างไร.....(การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน หรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของเด็ก)
742. การทำให้เด็กเสียเสรีภาพ ถือเป็นการทารุณกรรมหรือไม่..........(ถือเป็นการทารุณกรรมอย่างหนึ่ง)
743. การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก เป็นการทารุณกรรมหรือไม่..........(เป็น)
744. สถานรับเลี้ยงเด็กรับเด็กอายุเท่าได...........(ไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์)
745. สถานรับเลี้ยงเด็กต้องมีเด็กกี่คนขึ้นไป..........(ตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป)
746. สถานสงเคราะห์มีเด็กกี่คนขึ้นไป..........(ตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป) (เป็นที่อุปการะ เลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์
747. สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หมายความว่าอย่างไร...............(สถานที่ให้การศึกษา อบบรม ฝึกอาชีพ เพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกาย และจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ)
748. สถานพินิจ หมายความว่าอย่างไร............(สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
749. สถานพัฒนาและฟื้นฟู หมายความว่าอย่างไร......(สถานที่ โรงเรียน สถาบัน หรือศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การบำบัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการศึกษา แนะแนว การฝึกอบรมอาชีพแก่เด็กที่ที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นพิเศษ
750. ผู้รักษาการณ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีใครบ้าง
1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
751. ใครเป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ..........(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
752. ใครเป็นรองประธานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ…….(ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
753. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองเด็กเห็งชาติ...(รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
754. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติต้องมีผู้หญิงสัดส่วนเท่าใด...............................(ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3)
755. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมีวาระกี่ปี.....(คราวละ 3 ปี)
756. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติคือสำนักงานใด.......(สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
757. ใครเป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร.....(ผู้ว่า กทม.) ปลัด กทม. เป็นรอง
758. ใครเป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด......(ผู้ว่า( รองผู้ว่าเป็นรองประธาน)
759. การปฏิบัติต่อเด็กปฏิบัติอย่างไร..........(คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ)
760. วันขึ้นปีใหม่วันใด...........(1 มกราคม)
761. คำขวัญวันเด็ก ปี 51 ว่าอย่างไร........(สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม) พลเอกสุรยุทธ
762. วันครู วันที่เท่าไร..........(16 มกราคม)
763. วันสงกรานต์ วันที่เท่าไร........(12-14 เมษายน๗
764. วันมาฆบูชา ตรงกับวันใด...............(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
765. วันมาฆะบูชา พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ 3 ประการคือข้อใด....(ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์)
766. วันมาฆะสำคัญอย่างไร......(พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ 3 ประการ ภิกษุที่พระพุทธเจ้าบวชให้ รวมกัน 1250 รูปโดยมิได้นัดหมายจึงเรียก วันจาตุรงคสันนิบาต
767. วันจักรี วันที่เท่าไร......(6 เมษายน)
768. วันแรงงาน วันที่เท่าไร..........(1 พฤษภาคม)
769. วันฉัตรมงคล วันที่เท่าไร...........(5 พฤษภาคม)
770. วันพืชมงคลวันใด..........(11 พฤษภาคม)
771. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันใด.............(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) ตรงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน
772. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันใด...........(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) วันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาครั้งแรก มีพระภิกษุองค์แรก และถือเป็นวันครบพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
773. วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ตรงกับวันใด..........(1 กรกฎาคม)
774. วันออกพรรษา ตรงกับวันใด..........(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11)
775. บุตรสาวสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอชื่อว่า.............(ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม)
776. ใครแต่งเรื่อง “แสงหนึ่งคือรุ้งงาม”.................. (ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม)
777. หน่วยงานใดประกาศการสิ้นพระชนม์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ.....(สำนักนายกรัฐมนตรี)
778. นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกคนที่เท่าไร...........(25) (โปรดเกล้า 29 มค. 51)
779. ตาม รัฐธรรมนูญ นายกเป็นคนนอกได้หรือไม่........(ไม่ได้ นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)
780. นับตั้งแต่มีการประชุมรัฐสภาครั้งแรก สภาผู้แทนฯ ต้องพิจารณาบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีภายในกี่วัน.....(30 วัน)
781. การกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษากำหนดอย่างไร..........(ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ)

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ

782. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา กำหนดและปรับปรุงขึ้นพ.ศ. ใด...........................(พ.ศ. 2547)
783. ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา กำหนดเวลาทำงานเวลาเท่าไร.................(08.30 น. – 16.30 น.)
784. ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา กำหนดเวลาพัก (หยุดกลางวัน) กี่โมง.................(12.00 น. – 13.00 น.)
785. สถานศึกษาต้องมีเวลาทำงานอย่างน้อยกี่ชั่วโมง..................(ไม่น้อยกว่า 35 ชั่วโมง)
786. วันปิดภาคเรียนให้ถือว่า.................................(เป็นวันพักผ่อนของนักเรียน) (ไม่ใช่ของครู ครูถือเป็นผลพลอยได้)
787. สถานศึกษาอนุญาตให้ครูหยุดพักผ่อนในวันเสาร์ อาทิตย์ได้หรือไม่.....(ได้ แต่หากมีราชการจำเป็นให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการตามปกติ)
788. การลงโทษนักเรียนและนักศึกษากำหนดโดยใช้ระเบียบ กฎหมายใด......(ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ)

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา

789. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ใด.....(2548)
790. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 เกิดจากกฎหมายใด..................(พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546) (มาตรา 6 และ 65)
- มาตรา 6 กำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงที่รักษาการตาม พรบ คุ้มครองเด็ก ออกระเบียบกระทรวงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทกระทรวงของตน
- มาตรา 65 (มาตรา 64 นักเรียนต้องปฏิบัติตามระเบียบของสถานศึกษา) หากฝ่าฝืน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจนำตัวไปมอบแก่ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ และให้ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือน
791. ระเบียบกระทรวงศึกษาฯ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนฯ ก่อนหน้านี้เป็นฉบับใด....(ฉบับปี 43)
792. การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 มีความมุ่งหมายอย่างไร......(เพื่อการอบรมสั่งสอน)
793. ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 โทษของนักเรียนที่กระทำความผิดมีกี่สถาน................(4 สถาน คือ)
1) ว่ากล่าวตักเตือน
2) ทำทัณฑ์บน
3) ตัดคะแนนความประพฤติ
4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
794. การลงโทษนักเรียน ผู้ลงโทษต้องคำนึงถึงข้อใด........(อายุของนักเรียน และความร้ายแรงของพฤติกรรมประกอบการลงโทษ) ไม่ใช่เพื่อความสะใจ หรือเพื่อกลั่นแกล้ง
795. เจตนาของการลงโทษนักเรียนคือข้อใด..........(แก้นิสัย และความประพฤติที่ไม่ดี ให้รู้สำนึกผิด และกลับมาประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป)
796. การว่ากล่าวตักเตือนใช้ในกรณีใด...................(กระทำความผิดไม่ร้ายแรง)
797. การทำทัณฑ์บน ใช้ในกรณีใด.......(นักเรียนประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักเรียน ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงโรงเรียน ฝ่าฝืนระเบียบโรงเรียน หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้วแต่ยังไม่เข็ดหลาบ)
798. การทำทัณฑ์บนมีวิธีทำอย่างไร..............(ทำเป็นหนังสือ เชิญผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย)
799. การตัดคะแนนความประพฤติ ตัดอย่างไร......(ตัดตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนของแต่ละสถานศึกษา) และบันทึกเป็นหลักฐาน
800. การทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ในกรณีใด.........(นักเรียนกระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)
"อย่าลืม ตรวจสอบข้อมูลก่อนน่ำครับ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม