สรุป พรบ.ลูกเสือ พ.ศ.2551
สรุปสาระ พระราชบัญญัติลูกเสือฉบับใหม่ (พ.ศ.2551 )
ร่างพระราชบัญญัติลูกเสือพ.ศ.ได้ ผ่านการพิจารณาวาระ2และ3 จากที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2550 เวลา 20.00น โดยมีการขอแก้ไขเล็กน้อยในมาตรามาตรา17(12)และมาตรา38(8)โดยแก้ข้อความทั้ง 2มาตราจากเดิม “
กำกับดูแลกิจการลูกเสือชาวบ้าน “ มา เป็น “ กำกับดูแลสนับสนุนและส่งเสริมกิจการลูกเสือชาวบ้าน”
พระราชบัญญัติลูกเสือฉบับใหม่นี้จะได้นำเสนอให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้ต่อไป คาดว่าคง มีผลบังคับใช้ได้ต้นปี2551
เหตุผลที่ต้องออกกฎหมาย
1. กฎหมายลูกเสือได้เริ่มพัฒนาจากการออกเป็นข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือ ไทยฉบับแรกเมื่อ1 ก.ค. 2454 หรือ 96ปีมา แล้ว ต่อมาได้ออกเป็นพระราชบัญญัติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และได้ปรับปรุงอีก 3ครั้ง หลังจากการปฎิรูประบบราชการในปี2546 ทำให้กฎหมายลูกเสือไม่สอดคล้อง กับสถานการณ์ที่ได้เปลี่ยนไปหลายประการ
2. กฎหมายฉบับใหม่ ต้องการปรับการบริหารงานของลูกเสือ ให้สอดคล้องกับโครงสร้างใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการที่ใช้มาเมื่อ7กรกฎาคม2546 ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเดิมเป็นอธิบดีกรม พลศึกษา ต้องเปลี่ยนมาเป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากได้โอนงานกองลูกเสือเดิม และงานสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติที่เคยอยู่ที่กรมพลศึกษา มาอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
3. ต้องปรับการบริหารของคณะกรรมการลูกเสืออำเภอ ให้เป็นคณะกรรมการ เขตพื้นที่การศึกษาแทน เพื่อให้เป็นไปตามระบบกระจายอำนาจใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ
4 เพิ่ม สาระที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติให้สอดคล้องกับสภาพจริง
ประโยชน์ของการออก พ.ร.บ. นี้
ช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของ กระบวนการลูกเสือที่ต้องการสร้างพลเมืองดี ให้เป็นไปตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 และ
ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระประมุขของคณะลูกเสือไทย รวมทั้งได้ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ด้วย
สาระของพ.ร.บ.ลูกเสือฉบับใหม่
ประกอบด้วย 6 หมวด 74 มาตรา ได้แก่หลักการและนิยาม มาตรา 1 - 5 หมวด 1บททั่วไป มาตรา 6 – 10 หมวด 2 การปกครอง ส่วนที่ 1 สภาลูกเสือไทย มาตรา 11 – 14 ส่วนที่ 2 คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติและสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ มาตรา 15 – 27 ส่วนที่ 3 ลูกเสือจังหวัดมาตรา 28 – 34 ส่วนที่ 4 ลูกเสือเขตพื้นที่มาตรา35 – 39 ส่วนที่5 ทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ มาตรา 40 – 42 หมวด 3 การจัดกลุ่ม ประเภท และตำแหน่งของลูกเสือมาตรา 43 – 49 หมวด 4 ธง เครื่องแบบ และการแต่งกายมาตรา 50 – 52หมวด 5 เหรียญลูกเสือและการยกย่องเชิดชูเกียรติมาตรา 53 – 68 หมวด 6 บทกำหนดโทษมาตรา 69 – 70 และบทเฉพาะกาล มาตรา 71 – 74 สรุปสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่
1) เพิ่มคำนิยามลูกเสือ และบุคลากรทางการลูกเสือให้ชัดเจนขึ้น และได้รวมกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ด้วย
2) ปรับชื่อสภาลูกเสือแห่งชาติ เป็นสภาลูกเสือไทย เพื่อให้เป็นชื่อสากลที่ประเทศสมาชิกทั่วโลกจะระบุชื่อ ของประเทศไว้ด้วย และได้ปรับ องค์ประกอบของสภาลูกเสือไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการไปตาม การปฏิรูประบบราชการเมื่อปี2546 เช่น ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จากอธิบดีกรมพลศึกษามาเป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปรับชื่อตำแหน่งของ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เ ลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ได้เปลี่ยนชื่อและภารกิจใหม่แล้ว และปรับให้มีหน่วยงานใหม่เพิ่มเข้ามาได้แก่ได้แก่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม ความมั่นคง และอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น
3. ปรับองค์ประกอบคณะกรรมการลูกเสือระดับจังหวัด เป็น ซึ่งต้องใช้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต1 เข้าไปแทนศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งปัจจุบันไม่มีตำแหน่งนี้
4. ต้องปรับการบริหารลูกเสืออำเภอที่มีอยู่เดิมโดยใช้เขตพื้นที่การศึกษาแทน ทำ ให้ต้อง ปรับองค์ประกอบคณะกรรมการและภารกิจของการบริหารลูกเสืออำเภอ มาเป็นการบริหารลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
5. เดิมคณะลูกเสือแห่งชาติเป็นนิติบุคคล ทำให้สถานะของสำนักงานไม่ชัดเจน เนื่องจากในกฎหมายเดิมระบุว่าคณะลูกเสือแห่งชาติประกอบด้วยลูกเสือทั้งปวง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ และกรรมการเจ้าหน้าที่ลูกเสือ และระบุให้มีให้มีสำนักคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยบริหาร จึงได้ปรับให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติซึ่งมีหน่วยงานนี้อยู่แล้ว เป็นนิติบุคคล ซึ่งยังคงอยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่ตั้งหน่วยงานใหม่ ไม่เพิ่มงบประมาณ
6. เพิ่มระบบการตรวจสอบและการจัดทำบัญชี เพื่อเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
7. กำหนดให้รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนหนึ่งมาเป็นตำแหน่งเลขาธิการลูกเสือ โดยไม่มีเงินเดือน
8. การบริหารค่ายเป็นไปตามหลักการบริหารแนวใหม่ มอบให้ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัด) กำกับดูแล และ
9. ให้โอนทรัพย์สิน จากคณะลูกเสือแห่งชาติ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
ตัวอย่างข้อสอบ
1. วันประกาศและวันบังคับใช้
ตอบ ประกาศ 4 มีนาคม 2551 บังคับใช้ 5 มีนาคม 2551
2. บุคลากรทางการลูกเสือ หมายถึงใคร
ตอบ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ อาสาสมัครลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลุกเสือ
3. ประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติคือ
ตอบ พระมหากษัตริย์
4. สภาลูกเสือไทย ใครดำรงตำแหน่งสภานายกและอุปนายก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 80 คน
ตอบ นายรัฐมนตรี และ รองนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ
5. คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ใครเป็นประธานกรรมการ
ตอบ รมต.ศธ. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 15 คน
6. ใครดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
ตอบ รองปลัดกระทรวง
7. ประธานคณะกรรมการลูกเสือจังหวัดคือใคร
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด
8. สำนักงานลูกเสือจังหวัดตั้งอยู่ที่ใด ใครเป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯ และกรรมการและเลขานุการฯ
ตอบ สพท.เขต 1 มี ผอ.เขตเป็นผู้อำนวยการสำนักฯ มีรองผอ.เขต เป็นกรรมการและเลขานุการ
9. ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือสูงสุดและท้ายสุดคือ
ตอบ ผู้อำนวยการใหญ่ และ รองนายหมู่ลูกเสือ
10. ตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือสูงสุดและท้ายสุด คือ
ตอบ ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ และรองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
11. ผู้ที่จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ ต้อง ลักษระเด่นของเหรียญ
ตอบ ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี , เป็นดวงตรา ด้านหน้าเป็นรูปไข่ พื้นลงยาสีน้ำเงิน ขนาดกว้าง 2.5 ซม. ยาว 3.3 ซม. เบื้องบนมีพระมหามงกุฎรัศมีโปร่งและเลข "9" สีทอง ด้านหลังกลางดวงตราเป็นดุม พื้นลงยาสีม่วง มีอักษรด้านล่างสีน้ำเงินว่า เราจะบำรุงกิจการลูกเสือสืบไป
12. เหรียญลูกเสือสรรเสริญ มีลักษณะ
ตอบ เป็นเหรียญเงินมีลักษณะกลมรี ขนาดกว้าง 2.5 ซม. ยาว 3.2 ซม.ริมขอบบนมีอักษรว่า "ลูกเสือ" ริมขอบล่างมีอักษรว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์" มี 3 ชั้น ชั้นหนึ่งมีเฟลอร์เดอลีส์ 2 ดอก ชั้นสองมีเฟลอร์เดอลีส์ 1 ดอก ชั้นสามมีเฟลอร์เดอลีส์ ประดับที่แถบแพร
- ชั้น 1 ชั้น 2 ต้องทำความดีทุกอย่างรวมกันไม่น้อยกว่า 100 ครั้ง แต่ละอย่างไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง
- ชั้น 3 ช่วยชีวิตผู้อื่นที่ตกอยู่ในอันตรายแม้เพียงครั้งเดียวก็ได้
13. เหรียญลูกเสือสดุดี มีกี่ชั้น
ตอบ 3 ชั้น ชั้น 1 มีเข็มวชิระ ชั้น 2 มีเข็มหน้าเสือ ชั้น 3 ไม่มีเข็มวชิระและเข็มหน้าเสือ
14. เหรียญลูกเสือยั่งยืนต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องกี่ปี
ตอบ ไม่น้อยกว่า 15 ปี
15. เข็มลูกเสือสมนาคุณมีกี่ชั้น
ตอบ 4 ชั้น พิเศษ , ที่หนึ่ง , ที่สอง , ที่สาม
16. โทษของการแต่งเครื่องแบบลูกเสือโดยไม่มีสิทธิ
ตอบ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
17. ผู้ปลอมเข็มลูกเสือสมนาคุณหรือเข็มลูกเสือสมณาคุณ มีความผิด
ตอบ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
18. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือใคร
ตอบ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
แถมท้ายพลวัต วันที่ 22 ตุลาคม 2552
น้องวิวพงศ์ชนก กันกลับ นางสาวไทย 2009 เลือกอะไรระหว่าง นางสาวไทยกับเทคอนโด
ตอบ เลือกนางสาวไทย ไม่ได้แข่งรำเทคอนโด แต่จะไปเป็นกำลังให้เพื่อน
พายุไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่จะเข้าถล่มฟิลิปปินส์ชื่อว่าอะไร
ตอบ ลูปิค
21 ตุลาคม 2552 ครบรอบวันพระราชสมภพสมเด็จย่าได้กี่ปี
ตอบ 109 ปี
23 ตุลาคม 2552 ครบรอบวันเกิดอายุสมเด็จ ร.5 ได้กี่ปี
ตอบ 99 ปี
การประชุมสุดยอดอาเซี่ยนครั้งที่ 15 ลงนามกันกี่ฉบับ
ตอบ 16 ฉบับ
ประเทศใดบ้างที่เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนของตนเองแล้ว
ตอบ 3 คือ จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส(แบบสมัครใจ)
อเสนอ(พ.ศ. 2552-2561) โดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
----------------------------------------------------------------
(ถ้านำตามปี พ.ศ. เราจะนับได้ 10 ปี แต่จริงๆ สภาการศึกษาจะนับการปฏิรูปฯเป็นระยะ "9 ปี" นะครับ การปฏิรูปรอบแรก คือ 2542-2551 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ประกาศใช้ ส่วนรอบสองนี่ น่าจะเริ่มนับวันที่มีข้อเสนอฯรอบสองนี้กระมัง แต่ยังไงก็รอดูระเบียบสำนักฯ ก่อนดีกว่าครับ)
----------------------------------------------------------------
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2552
-----------------------------------------------------------------
คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มี 20 คน ศาสตราจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธาน รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางสุเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
---------------------------------------------------------------
วิสัยทัศน์ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
----------------------------------------------------------------
ประเด็นหลัก 3 ประการปฏิรูปฯ
1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย
2. เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
------------------------------------------------
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา (จะมองที่ “คุณภาพ”)
1. พัฒนาคุณภาพ “คนไทย” ยุคใหม่
2. พัฒนาคุณภาพ “ครู” ยุคใหม่
3. พัฒนาคุณภาพ “สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้” ยุคใหม่
4. พัฒนาคุณภาพ “การบริหารจัดการ” ใหม่
-------------------------------------------------
ข้อเสนอกลไกสนับสนุนที่ต้องพัฒนา/ปรับปรุง
1. การพัฒนาระบบการเงิน การคลัง
2. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
3. การปรับปรุงแก้ไข บังคับใช้กฎหมายการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง
---------------------------------------------
ข้อเสนอเร่งด่วนภายใน 1-3 เดือน
1. มีคณะกรรมการต่อไปนี้ ทำงานใน 5 ปี และยุบเลิกเมื่อครบ 5 ปี คือ
1.1 คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา: นายกฯเป็นประธาน เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
1.2 คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา: รมต.กระทรวงศึกษาฯ ประธาน เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
2. จัดตั้ง
2.1 สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ
2.2 กองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2.3 สถาบันคุรุสภาแห่งชาติ
2.4 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ
3. เร่งทบทวนระบบบริหารโดยองค์คณะบุคคล 3 เรื่อง คือ วิธีการได้มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่
----------------------------------------------
ประเด็นน่ารู้ในข้อเสนอฯ
+ การบริหารจัดการการเงินและงบประมาณโดยเน้นอุปสงค์หรือผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียกว่า Demand Side
+ การฝึกอบรมผู้ฝึกอบรม เรียกว่า Training the Trainers
+ ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เรียกว่า Performance-Based Budgeting หรือ PBB
+ เรื่องที่ สพฐ.รับผิดชอบในกลไกเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ คือ“ประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียน” โดยประเมินผลผู้เรียนในชั้นเรียนสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น เป็นการวัดผลระดับชาติ
+ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เรียกว่า “Nation Qualification Framework”
+ คุณวุฒิวิชาชีพ เรียกว่า “Vocational Qualification”
+ สพท. ปรับและพัฒนา “ยุทธศาสตร์เชิงวิชาการ” คือ ลดภาระงานเชิงธุรการและการสั่งการ แต่เน้นการให้คำปรึกษา ส่งเสริมสถานศึกษาในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งขึ้น สร้างกลไกป้องกันการเข้าสู่ตำแหน่งโดยไม่ชอบธรรม
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์..เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรทางการศึกษา)
คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย
วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค
แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น