ข้อสอบถามขตอบกฎหมายพลวัต ข้อที่ 1600-1900
1601. หลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีกี่หลัก_______(6 หลัก)
1602. การที่ผู้บังคับบัญชาลงโทษครูที่กระทำผิดวินัย เป็นการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลข้อใด_______________(หลักนิติธรรม)
1603. พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้เมื่อใด_____(วันพ้นกำหนด 90 วันนับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
1604. ข้อมูลข้อเท็จจริงที่อยู่ในครอบครองดูแลของหน่วยงานรัฐคือ _____(ข้อมูลข่าวสาร)
1605. ข้อมูลข่าวสารของราชการ หากมีบางส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผย ดำเนินการอย่างไร_____(ห้ามเปิดเผยทั้งฉบับ)
1606. ข้อมูลที่
1607. ที่ปรึกษาเศรษฐกิจ 17 คนของนายโอฬารมีใครบ้าง_______(คณะที่ปรึกษาทั้ง 17 คน ได้แก่ 1.นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา 2.นายพนัส สิมะเสียร 3.นายณรงค์ชัย อัครเศรณี4.นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ 5.ศาสตราจารย์เรวัต ฉ่ำเฉลิม 6.นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ 7.นายประมนต์ สุธีวงศ์ 8.นายสันติ วิลาสศักดานนท์ 9.นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา 10.นายศิริ การเจริญดี 11.นายอิศักดิ์ ตันติวรวงศ์12.นายสำราญ ภูอนันตานนท์ 13.นายพิษณุ เหรียญมหาสาร 14. รองศาศตราจารย์ สมพร อิศวิลานนท์ 15. นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ 16.นายคณิศ แสงสุพรรณ และ17.น.ส.เสาวณีย์ ไทยรุงโรจน์)
1608. กพช. คืออะไร_________(คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติให้ปรับราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเพิ่มอีก 6 บาทต่อกก. จากปัจจุบัน (พย. 51) ที่มีราคา 18.13 บาทต่อกก. โดยทยอยปรับขึ้นเดือนละ 2 บาทเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน)
1609. สุสานหลวง 'รังษีวัฒนา' คืออะไร___________(ที่บรรจุพระสรีรางคารของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ตลอดกาล)
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
1610. "พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539" ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด______________________(14 พฤศจิกายน 2539)
1611. "พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539" มีผลบังคับใช้วันใด_______________พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (180 วัน) นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
1612. คำสั่งทางปกครอง หมายความว่าอย่างไร________(การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่นการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ)
1613. ใครรักษาการตาม"พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539"___(นายกฯ)
1614. "คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง" มีใครบ้าง_______(ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคน เป็นกรรมการ)
1615. ผู้ทรงคุณวุฒิใน "คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง" มีจำนวนเท่าใด___(ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน)
1616. ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน "คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง" ใครเป็นคนแต่งตั้ง_______(คณะรัฐมนตรี ) โดยแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความสามารถด้านนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือการบริหารราชการแผ่นดิน
1617. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้หรือไม่_________(ไม่ได้ จะต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง)
1618. เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาจากไหน_______(ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ)
1619. คณะกรรมการ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระกี่ปี____(3 ปี)
1620. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง อยู่ที่ไหน_____(สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
1621. คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
1) สอดส่องดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
2) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่บุคคลดังกล่าวร้องขอ ทั้งนี้ ตาม
3) หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนด
4) มีหนังสือเรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณาได้เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสมแต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติราชการทางปกครองให้เป็นไปโดยมีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5) เรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
1622. เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ในกรณีใด_______(ดังต่อไปนี้)
1) เป็นคู่กรณีเอง
2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณีเอง
3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น
4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี
5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
1623. ที่ประชุมมีมติให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อกรณีกรรมการผู้นั้นถูกคัดค้านให้ปฏิบัติ จำนวนเท่าใดจึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้____________(มีมติ 2 ใน 3 ของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน) ***การลงมติให้ลงคะแนนโดยลับ***
1624. ผู้มีความสามารถกระทำการในกระบวนการพิจารณาทางปกครองได้ จะต้องเป็นอย่างไร
1) ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะ
2) ผู้ซึ่งมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3) นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา 21 โดยผู้แทนหรือตัวแทน แล้วแต่กรณี
4) ผู้ซึ่งมีประกาศของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมาย-แพ่งและพาณิชย์
1625. ในกรณีที่มีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคำขอให้มีคำสั่งทางปกครองในเรื่องเดียวกันโดยไม่มีการกำหนดให้บุคคลใดเป็นตัวแทนร่วมของตนตามวรรคหนึ่ง ทำอย่างไร______(ให้เจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นแต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีฝ่ายข้างมากเห็นชอบเป็นตัวแทนร่วมของบุคคลดังกล่าว)
1626. คำสั่งทางปกครองมีรูปแบบอย่างไร______(คำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้)
1627. ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคำสั่งนั้นร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว จะทำอย่างไร__________เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งนั้นต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ)
1628. คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสืออย่างน้อยต้องระบุอะไรบ้าง________(วัน เดือนและปีที่ทำคำสั่ง ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้น)
1629. คำสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่เมื่อใด____(ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป)
1630. คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยนั้น เจ้าหน้าที่แก้ไขได้หรือไม่________________(แก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ)
1631. ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในกี่วัน___________(สิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว)
1632. คำสั่งทางปกครองของบรรดาคณะกรรมการต่าง ๆ ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือไม่ ให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อ-กฎหมาย ภายในกี่วัน________(เก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น)
1633. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในกี่วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุ___________(เก้าสิบวันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุ)
1634. คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำอย่างไร________(ถูกเพิกถอน) (เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง)
1635. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วนให้ทำอย่างไร_________(ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน) ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน (**วิธีการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม** )
1636. ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองอย่างใด_______(ชดใช้ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบห้าต่อปี หรือ ให้มีการชำระค่าปรับทางปกครองตามจำนวนที่สมควรแก่เหตุแต่ต้องไม่เกินสองหมื่นบาทต่อวัน)
1637. ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองต่อสู้ขัดขวางการบังคับทางปกครอง ทำอย่างไร________(เจ้าหน้าที่อาจใช้กำลังเข้าดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการบังคับทางปกครองได้ แต่ต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุ ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่อาจขอความ-ช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจได้)
1638. ศาลปกครองคืออะไร_________(
ศาลปกครอง เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา ๒๗๖ และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ
ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"
• ศาลปกครองชั้นต้น
o ศาลปกครองกลาง มีอำนาจตัดสินคดีในเขตกรุงเทพมหานคร และอีก 7 จังหวัดใกล้เคียง หรือคดีที่ยื่นฟ้องที่ศาลปกครองกลาง
o ศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันมี 7 แห่ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก ระยอง และนครศรีธรรมราช
• ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจตัดสินคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง หรือคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
1639. ศาลปกครองใช้ระบบใดพิจารณาคดี_________(ระบบไต่สวน)
1640. ศาลยุติธรรมให้ระบบใดพิจารณาคดี________(ระบบกล่าวหา)
1641. ศาลปกครองมีกี่ชั้น___________(2 ชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด)
1642. ศาลปกครองกลางอยู่ในชั้นใดของศาลปกครอง______(อยู่ในศาลปกครองชั้นตัน มีอำนาจตัดสินคดีในกรุงเทพ และอีก 7 จังหวัดใกล้เคียง หรือตัดศิลคดีที่ยื่นมาที่ศาลปกครองกลาง)
1643. ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจตัดสินคดีอย่างไร________(คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง หรือคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น)
1644. ศาลปกครอง รายละเอียดอีกทีซิ_______(
ศาลปกครอง (Administrative Court) คือศาลที่มีหน้าที่พิจารณาคดีปกครองระหว่างรัฐกับราษฎร หรือระหว่างองค์กรของรัฐ ด้วยกันเอง ทั้งนี้ เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม
การจัดตั้งศาลปกครอง พิจารณาคดีระหว่างรัฐกับราษฎร มีเหตุผลสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
ประการแรก รัฐในปัจจุบันมีบทบาทและความรับผิดชอบในชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า อำนาจของรัฐมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย การกระทบกระทั่งระหว่างรัฐกับราษฎร ก็ต้องมากขึ้น ศาลยุติธรรมคงจะไม่สามารถรับพิจารณาคดีปกครองได้ทั้งหมด และอำนวยผลดี
ประการที่สอง การพิพาทระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นการพิพาทที่มีลักษณะพิเศษ แตกต่างไปจากการพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน คือเป็นการพิพาทที่คู่กรณี ไม่อยู่ในฐานะเสมอภาคกัน เพราะฉะนั้น การใช้หลักกฎหมายธรรมดาในคดีปกครองนั้น คงจะไม่ถูกต้องนัก หรือศาลไม่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่ราษฎรได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ มองในแง่ความยุติธรรมที่ราษฎรจะพึงได้รับ เนื่องจากรัฐ มีอำนาจเหนือกว่าราษฎร โดยประการที่การพิพาทระหว่างรัฐกับราษฎรมีลักษณะพิเศษดังกล่าว หลักกฎหมายที่จะนำมาใช้ปรับคดี เพื่อความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ก็ควรจะต้องเป็นหลักกฎหมายพิเศษ เช่นกัน และหลักกฎหมายดังกล่าวนี้ ศาลปกครองเท่านั้น จะสร้างขึ้นมาได้
ศาลปกครอง จะทำหน้าที่ประสานประโยชน์ระหว่างรัฐกับราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎร และพิทักษ์อำนาจรัฐ มิให้อำนาจรัฐทำลายเสรีภาพของราษฎร และเสรีภาพของราษฎรทำลายอำนาจรัฐ ศาลปกครองจะทำให้ทั้งสองอย่างเข้ากันได้ โดยรักษาประโยชน์ ของส่วนรวมไว้ได้ และขณะเดียวกัน ก็ให้ความยุติธรรมแก่ราษฎร
1645. ระบบศาลในประเทศไทย มีศาลอะไรบ้าง_______(รายละเอียดดังนี้)
1) ศาลยุติธรรม (ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา)
ศาลชั้นต้น ได้แก่ (ศาลแพ่ง • ศาลอาญา • ศาลจังหวัด • ศาลแขวง • ศาลเยาวชนและครอบครัว • ศาลแรงงาน • ศาลภาษีอากร • ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ • ศาลล้มละลาย)
2) ศาลปกครอง (ศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุด)
3) ศาลรัฐธรรมนูญ (คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
4) ศาลทหาร_________(ศาลทหารในเวลาปกติ • ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ • ศาลอาญาศึก)
1646. ใครเป็นประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ______(ประธานศาลฎีกา) ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน) คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มี 9 คน
1647. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ประกอบด้วย
• นายปัญญา ถนอมรอด ประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
• นายอักขราทร จุฬารัตน รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
• นายสมชาย พงษธา ตุลาการรัฐธรรมนูญ
• หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
• นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
• นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
• นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการรัฐธรรมนูญ
• นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการรัฐธรรมนูญ
• นายวิชัย ชื่นชมพูนุท ตุลาการรัฐธรรมนูญ
1648. H5N1 คืออะไร_________________(เชื้อไข้หวัดนก)
ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน (Spanish Flu) โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 20-40 ล้านคน
1649. วิกฤติซับไพร์ม คืออะไร_____________
วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (อังกฤษ: subprime mortgage crisis) หรือ วิกฤติซับไพรม์ เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 จุดเด่นของวิกฤตินี้คือการที่ความคล่องตัวของตลาดสินเชื่อทั่วโลกและระบบธนาคารลดลง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา การกู้ยืมและการให้กู้ยืมที่มีความเสี่ยงสูง และระดับหนี้สินของบริษัทและบุคคลที่สูงเกินไป วิกฤติครั้งนี้มีผลหลายขั้นและค่อย ๆ เผยให้เห็นความอ่อนแอในระบบการเงินและระบบการควบคุมทั่วโลก
วิกฤติครั้งนี้เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริกาแตก[1][2] และการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วง พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ผู้กู้ยืมนั้นกู้ยืมสินเชื่อที่เกินกำลังโดยคิดว่าตนจะสามารถปรับโครงสร้างเงินกู้ได้โดยง่าย เพราะในตลาดการเงินนั้นมีมาตรฐานการปล่อยกู้ที่ต่ำลง ผู้ปล่อยกู้เสนอข้อจูงใจในการกู้ยืม เช่นเงื่อนไขเบื้องต้นง่าย ๆ และแนวโน้มราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทว่าการปรับโครงสร้างเงินกู้กลับเป็นไปได้ยากขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้นและราคาบ้านเริ่มต่ำลงในปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ในหลายพื้นที่ในสหรัฐ การผิดชำระหนี้และการยึดทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหมดเงื่อนไขเบื้องต้นอย่างง่าย ราคาบ้านไม่สูงขึ้นอย่างที่คิด และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มสูงขึ้น การยึดทรัพย์สินในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2549[3] และทำให้ปัญหาทางการเงินนั้นแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551
ธนาคารและสถาบันทางการเงินที่สำคัญทั่วโลกรายงานยอดการขาดทุนที่สูงกว่า 4.35 แสนล้านดอลลาร์ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[4][5] นอกจากนี้ การหาเงินทุนโดยการออกตราสารพาณิชย์ก็ยากยิ่งขึ้น ซึ่งผลกระทบของวิกฤติซับไพรม์ในแง่มุมนี้สอดคล้องกับปัญหาสินเชื่อตึงตัว (Credit crunch) ความกังวลเรื่องความคล่องตัวทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งต้องแทรกแซงโดยการวางแผนฟื้นฟูบริษัททางการเงินเพื่อที่จะช่วยให้ผู้กู้ยืมที่น่าเชื่อถือสามารถยืมเงินได้ตามปกติ
1650. ปู่เย็น ชื่อจริงว่าอย่างไร_______________(นายเย็น แก้วมณี) อายุ 108 ปี
1651. 24 ตุลาคม วันอะไร__________(วันสหประชาชาติ)
1652. 25 พฤศจิกายน เป็นวันอะไร_______(วันประถมศึกษาแห่งชาติ วันสมเด็จมหาธีรราชเจ้า วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง)
1653. 1 ธันวาคม วันอะไร________________(วันเอดส์โลก)
1654. พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้วันใด_______(วันพ้นกำหนด 90 วันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
1655. องค์กรใดมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับหน่วยงานรัฐและปฏิบัติงานทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ______________(คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ)
1656. ข้อมูลที่หน่วยงานรัฐจะเปิดเผยแต่กระทบต่อบุคคลอื่นๆ ต้องแจ้งให้บุคคลนั้นเสนอคัดค้านมิให้เปิดเผยภายในเวลาเท่าใด__________(ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันได้รับแจ้ง)
1657. หน่วยงานของรัฐเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารนั้นยังไม่ควรเปิดเผยทำอย่างไร_____ (ไม่เปิดเผย โดยมีคำสั่งขยายเวลากำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วยแต่จะกำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้)
1658. เมื่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารได้รับข้ออุทธรณ์จากผู้ขอ ต้องส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารสาขานั้นๆ ภายในกี่วัน นับตั้งแต่คณะกรรมการได้รับคำอุทธรณ์______(ภายใน 7 วัน)
1659. คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลถือเป็นที่สุดหรือไม่ _____(ถือเป็นที่สุด)
1660. ผู้ใดที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารเรียกมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสาร แต่ไม่ทำตามคำสั่งของคณะกรรมการ มีบทลงโทษอย่างไร______(จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 5000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
1661. ผู้ใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารกษัตริย์ และความมั่นคง หรือข้อมูลข่าวสารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ มีโทษอย่างไร______(จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20000 บาท)
1662. หน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารของราชการ______(พิจารณาวินิจฉัย อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร)
1663. หากมีบุคคลมาร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ คณะกรรมการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน_____(30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำร้องเรียน)
1664. ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐพิจารณาว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารจะก่อให้เกิดอันตราย หรือต่อความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด จะดำเนินการอย่างไร_____(ไม่รับคำขอ)
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล คำว่า บุคคลครอบคลุมใครบ้าง_____(บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย)
1665. ใครเป็นประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารราชการ____(รมต. ที่นายกฯ มอบหมาย)
1666. ศาลที่มีหน้าที่พิจารณาทางแพ่ง และอาญา____(ศาลยุติธรรม)
1667. หลักของกฎหมายทางการปกครองคือ_____________(หลักความเป็นกลาง)
1668. ป้าย “ห้ามจอด” ถือเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่_______(เป็น)
1669. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของคู่กรณีต่อเจ้าหน้าที่ ภายในกี่วัน____(90 วัน)
1670. คำสั่งทางปกครองมีผลใช้ยันต่อบุคคลเมื่อใด______(วันที่ได้รับแจ้ง)
1671. คำสั่งทางปกครองจะมีผลตราบเท่าที่อะไร____(ยังไม่มีการเพิกถอนคำสั่ง ยังไม่สิ้นผลตามเงื่อนไขเวลา ยังไม่สิ้นผลโดยเหตุอื่น)
1672. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองต้องกระทำภายในกี่วันนับแต่รู้สาเหตุที่เพิกถอน___(ภายใน 30 วัน)
1673. ลักษณะการพิจารณาคดีของศาลปกครอง________(การไต่สวน)
1674. ศาลปกครองประกอบด้วย________(ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด)
1675. โทษทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มีกี่สถาน________(5 สถาน คือ)
1) ภาคทัณฑ์
2) ตัดเงินเดือน
3) ลดขั้นเงินเดือน
4) ปลดออก
5) ไล่ออก
1676. ถูกไล่ออก ได้รับบำนาญหรือไม่___________(ไม่)
1677. คำสั่งทางปกครองมีผลเมื่อใด___________(เมื่อได้รับแจ้ง)
1678. กลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีบทบาทส่งเสริมกิจการนักเรียน เช่น ลูกเสือ เนตรนารี_________________________(กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา)
1679. โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่พิเศษ คือจำนวนนักเรียนเท่าไร_____(มากกว่า 3,000)
1680. โรงเรียนขนาดเล็กตามแผนอัตรากำลังหมายถึงโรงเรียนที่มีนักเรียนเท่าไร___(120 คนลงมา)
1681. อกคศ เขตพื้นที่การศึกษา มีกี่คน________________(12 คน)
1682. ประธาน กคศ. ____________________________(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
1683. ประธาน คุรุสภา______________________(ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง)
1684. ประธาน สกสค.____________________(ปลัดกระทรวง)
1685. ประธานสภาการศึกษา__________________(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
1686. ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน_____________(ผู้ทรงคุณวุฒิ) แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี (นายพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา)
1687. ประธาน อกคศ. เขตพื้นที่_______________(ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะที่ประชุมเลือกกันเอง)
1688. บุคลากร 6 ว. หมายถึงตำแหน่งใด________(บุคลากรทางการศึกษาอื่น)
1689. ผู้มีหน้าที่ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุแต่งตั้งบุคลากรทางการศึกษาอื่นในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา____(อกคศ. เขตพื้นที่การศึกษา)
1690. ผู้มีอำนาจในการบรรจุแต่งตั้งบุคลากรทางการศึกษาอื่นในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา_______(ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยอนุมัติ อกคศ. เขตพื้นที่)
1691. เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นบุคลากร 3 ว. ต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่นานเท่าใด____( 6 เดือน)
1692. วินัย คือ______________(จ้อปฏิบัติ หรือข้อห้ามสำหรับข้าราชการครูและบุคลากร)
1693. ขาดราชการ เป็นวินัยร้ายแรงหรือไม่_____(ไม่ร้ายแรง วินัยร้ายแรง เช่น ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ซื้อขายตำแหน่ง ล่วงละเมิดทางเพศเด็กนักเรียน ลอกผลงานทางวิชาการ เป็นต้น)
1694. ผู้มีอำนาจลงโทษบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขต______(ผอ. เขต)
1695. เมื่อได้รับบรรจุแต่งตั้งเป็นบุคลากรทางการศึกษาใน สำนักงานเขตฯ จะได้รับเงินเดือนอย่างไร________(ตามบัญชีเงินเดือนข้าราชการพลเรือน)
1696. อำเภอ มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือไม่_____________(ไม่มี)
1697. เงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่ เมื่อ 1 ตุลาคม 2550 ขึ้นเท่าไร___(จากเดิม 4%)
1698. เป้าหมายสูงสุดของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี_____(เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน)
1699. หลักกฎหมาย ตรงกับหลักใดในธรรมาภิบาล_____(นิติธรรม)
1700. หากเอกชนจะฟ้องหน่วยงานราชการ ต้องยื่นต่อศาลปกครองในกี่วันนับแต่วันที่รู้เหตุแห่งการฟ้องคดี___________________(30 วัน)
1701. ในกรณีไม่พอใจต่อคำตัดสินของศาลปกครอง ต้องอุทธรณ์ภายในกี่วัน_____(30 วัน)
1702. ผลของคำสั่งทางการปกครองที่ทำให้คำสั่งนั้นสิ้นผล______(เพิกถอน)
1703. กลุ่มบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีจำนวนมากที่สุด___(ศึกษานิเทศก์)
1704. บุคลากรทางการศึกษาอื่นในสำนักงานเขตพื้นที่ที่กำหนดให้มีทุกส่วนราชการ_____(เจ้าหน้าที่ธุรการ)
1705. ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่กำหนดไว้ในสถานศึกษาที่มีนักเรียน 800 คนขึ้นไปคือตำแหน่งใด______________(เจ้าพนักงานธุรการ)
1706. งานออกจากราชการ ควรจัดไว้ในขอบข่ายงานใดของงานบริหารบุคคลในสำนักงานเขตพื้นที่ฯ_____________(งานสรรหา และบรรจุแต่งตั้ง)
1707. นักเรียนเท่าใดมีรองได้ 1 คน___________(350 )
1708. โรงเรียนมีนักเรียน 1000 คน สามารถมีรอง ผอ. ได้กี่คน_____(2 คน)
1709. ใครเป็นผู้กำหนดเกณฑ์อัตรากำลังครูในสถานศึกษาในเขตพื้นที่____(กคศ.)
1710. มีอำนาจในการตัดโอนอัตรากำลังครูจากรงเรียนเกินเกณฑ์ไปขาดเกณฑ์__-(อกคศ.)
1711. การสรรหาและบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย_______(การสอบแข่งขัน และการคัดเลือก)
1712. ผู้มีอำนาจย้ายผู้อำนวยการไปต่างเขตพื้นที่การศึกษา______(อกคศ. เขตพื้นที่)
1713. การขอไปช่วยราชการเพื่อรอการย้าย_______(คราวละ 1 ปี)
1714. การเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ คือ ________( 1 ขั้น กับ 1.5 ขั้น)
1715. ใครเป็นผู้ลงนามใน กพ. 7___________(ผอ. เขต)
1716. กรณีที่ข้าราชการครูขอหนังสือรับรองบุคคลเพื่อค้ำประกันผู้ต้องหา กรณีใดไม่สามารถออกให้ได้____________(คดีข่มขืน)
1717. สัญญาลาศึกษาต่อภาคปกติ ทำกี่ชุด_____(3 ชุด)
1718. ใครมีอำนาจอนุญาตลาศึกษาต่อของครู_________(ผู้อำนวยการสถานศึกษา)
1719. ผู้มีอำนาจอนุญาตลาศึกษาต่อต่างประเทศ________(เลขาธิการ กพฐ.)
1720. หลักในการลงโทษที่พิจารณาตามตัวบทกฎหมาย_____(หลักนิติธรรม)
1721. หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการพิจารณาความดีความชอบให้ดำเนินการอย่างไร__________(ร้องทุกข์)
1722. อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยถูกตัดเงินเดือนของครูในสถานศึกษา อุทรณ์ต่อใคร_____(อกคศ. เขตพื้นที่ ภายใน 30 วัน)
1723. การสรรหาผู้บริหารตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตฯใช้วิธีใด____(การคัดเลือก)
1724. ผอ. ผ่านการคัดเลือกได้บรรจุแต่งตั้งเป็น ผอ. เขต______(การเปลี่ยนตำแหน่ง)
1725. ครู จะเป็น ผอ. เขตได้ต้องมีวิทยฐานะอย่างไร_____(เชี่ยวชาญ)
1726. ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการคัดเลือกรอง ผอ. เขต______(สพฐ)
1727. การคัดเลือก รอง ผอ. เขต ดำเนินการโดย_______(การสอบข้อเขียนและประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง)
1728. จะเป็นผู้ผ่านการคัดเลือกรอง ผอ. เขต ต้องได้คะแนนสอบแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใด__________(ร้อยละ 60)
1729. กฎหมายที่มาของการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่_____(รัฐธรรมนูญ 40) อย่าเข้าใจผิดว่าเป็น พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พรบ. การศึกษาเป็นขั้นตอนหนึ่งในการปฏิรูป
พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2545)
1730. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2545) แก้เรื่องใดมากที่สุด____(หมาด 5 การบริหารการศึกษา)
1731. การแบ่งส่วนราชการทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายใด___________(กฎกระทรวง)
1732. ส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ตั้งขึ้นใหม่____(กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน)
1733. การสรรหาผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใน อกคศ. เขตฯ เป็นหน้าที่ของกลุ่มใด_______(กลุ่มอำนวยการ)
1734. หากจะขอดูข้อมูลที่ดิน สิ่งก่อสร้างโดยภาพรวมทั้งเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องติดต่อกลุ่มงานใดในสำนักงานเขตพื้นที่_____(กลุ่มนโยบายและแผน)
1735. กลุ่มใดมีหน้าที่ในการส่งเสริมมาตรฐานการศึกษาและประกันคุณภาพการศึกษา___(กลุ่มนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษา)
1736. ส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่ที่มีการบริหารขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา_______________(ตรวจสอบภายใน)
1737. เขตพื้นที่มีบทบาทอย่างไรต่อบุคคล ครอบครัวในการจัดการศึกษา____(ส่งเสริม สนับสนุน)
1738. ลักษณะงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในอีก 10 ปีข้างหน้า ควรเป็นหน่วยงานลักษณะใด__________(เป็นหน่วยงานเชี่ยวชาญการจัดการศึกษา)
1739. ระบบการประกันคุณภาพเกี่ยวข้องกับเรื่องใด_______(คุณภาพมาตรฐานการศึกษา)
1740. ขั้นตอนสุดท้ายของงานสารบรรณ______(การทำลาย)
1741. ประกาศ จัดไว้ในหนังสือราชการประเภทใด______(หนังสือประชาสัมพันธ์)
1742. เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา อยู่ในวาระประชุมใด_____(ระเบียบวาระที่ 4)
1743. หนังสือราชการที่ต้องการให้ปฏิบัติโดยเร็ว________(หนังสือที่ประทับตราด่วนมาก)
1744. โดยปกติหนังสือราชการจะเก็บไว้กี่ปี_____(10 ปี)
1745. การจัดทำหนังสือราชการเพื่อส่งไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยปกติแล้วจัดทำกี่ชุด___(3 ชุด)
1746. โปรแกรมการส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์____(E-office และ E-filing)
1747. ขั้นตอนแรกเมื่อรับหนังสือราชการจากภายนอก____(ตรวจสอบเอกสาร ครบถ้วนหรือไม่)
1748. ข้าราชการระดับใดขึ้นไป สามารถลงนามรับรองความถูกต้องในหนังสือราชการได้___(ระดับ 2)
1749. การทำลายหนังสือราชการควรทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนใด____(กุมภาพันธ์)
1750. การจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานทางการศึกษาใช้ระบบใด_____(SPBB)
1751. การจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัจจุบันใช้รูปแบบใด___(แผนงบประมาณ)
1752. ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ____(GFMIS)
1753. รายจ่ายของส่วนราชการจัดไว้กี่หมวด______(5 หมวด)
1) งบบุคลากร
2) งบดำเนินงาน
3) งบลงทุน
4) งบเงินอุดหนุน
5) งบรายจ่ายอื่น
1754. เงินเดือนข้าราชการครูอยู่ในหมวดใด_______(งบบุคลากร)
1755. เงินใดที่ต้องส่งคืนรัฐบาลหากใช้ไม่หมด_____(เงินงบประมาณ)
1756. กรรมการเก็บรักษาเงินสำนักงานควรมีกี่คน_____(3 คน)
1757. ปัจจุบันสำนักงานเขตฯ จ่ายเงินเดือนให้กับข้าราชการครูโดยวิธีใด____(จ่ายผ่านธนาคาร)
1758. การส่งเงินรายได้แผ่นดิน___________(ส่งเดือนละ 1 ครั้ง)
1759. pay-in คือเอกสารใด______(ใบนำฝากเงินธนาคาร)
1760. จำนวนเงินที่ก่อหนี้ผูกพันตั้งแต่กี่บาทขึ้นไปถึงต้องขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี___(50000 บาท)
1761. การบัญชีของสำนักงานปัจจุบันใช้ระบบใด_____(ระบบเกณฑ์คงค้าง)
1762. การดำเยินการด้านบัญชีอันดับแรก______(การตั้งยอดบัญชี)
1763. ฎีกา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด (ด้านการเงิน)______(หลักฐานการเบิกเงิน)
1764. ขั้นตอนบัญชีขั้นแรกเมื่อได้รับเงิน_____(จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ)
1765. การปิดบัญชีกระทำในวันใด_______(วันสิ้นปีงบประมาณ)
1766. วันเริ่มต้นปีงบประมาณ______( 1 ตค.)
1767. การจัดทำรายงานการเงินประจำเดือนสำนักงานต่อสพฐ. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงบประมาณภายในวันใดของทุกเดือน______(ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป)
1768. ขั้นตอนแรกการบริหารงานพัสดุ_______(การกำหนดความต้องการพัสดุ)
1769. การจัดหาพัสดุทำได้กี่วิธี______(7 วิธี) อะไรบ้าง
1770. วิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่กำหนดขึ้นใหม่______(วิธีอีเลคทรอนิกส์)
1771. การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท (100,000) ใช้วิธีการใด_____(ตกลงราคา)
1772. การจัดหาพัสดุที่มีมูลค่าตั้งแต่เท่าไรต้องจัดหาด้วยระบบอีเลคทรอนิกส์______(ตั้งแต่ สองล้านบาทขึ้นไป (2,000,000 บาทขึ้นไป)
1773. การตรวจรับพัสดุให้ดำเนินการภายในกี่วัน_____(3 วันทำการ)
1774. การตรวจสอบพัสดุเมื่อสิ้นปีให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน_____(30 วันทำการ)
1775. หากพัสดุสูญหาย ไม่มีซาก และหาตัวผู้รับผิดชอบไม่ได้ควรจำหน่ายโดยวิธีใด______(ให้จำหน่ายเป็นสูญ)
1776. หากโรงเรียนสร้างอาคารเอนกประสงค์เสร็จ ต้องดำเนินการลงทะเบียนอย่างไร____(ลงทะเบียนสิ่งก่อสร้าง)
1777. หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบการเงิน การบัญชี การบริหารสินทรัพย์ และการดำเนินงานของสำนักงานเขต_____(หน่วยตรวจสอบภายใน)
1778. หน่วยตรวจสอบภายใน _______(ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอบเขตการตรวจสอบมีทั้งในสำนักงานเขต และสถานศึกษา)
1779. ทำไมจึงต้องมีการตรวจสอบภายใน_____(เพื่อประสิทธิภาพ)
1780. การตรวจสอบภายในในสำนักงานเขตพื้นที่มุ่งตรวจสอบอะไร____(การเบิกจ่าย การเงิน การบัญชี การตรวจสอบการปฏิบัติงานตามโครงการ การตรวจสอบระบบสารสนเทศการสื่อสาร)
1781. ขั้นตอนแรกของการตรวจสอบภายใน_____(การกำหนดเป้าหมายการตรวจสอบ)
1782. มาตรฐานการตรวจสอบภายในมีกี่ด้าน_____( 2 ด้าน)
1783. เป้าหมายของการควบคุมภายใน______(งานมีประสิทธิภาพ ป้องกันการทุจริต)
1784. 8คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมีกี่คน________(23 คน)
1785. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กระดับจังหวัดมีกี่คน__________(22 คน)
1786. คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก มีหน้าที่อย่างไร_______(คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ส่งเสริมความประพฤติเด็ก)
1787. งบบุคลากร (รหัส 001) หมายถึงอะไร________(รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคลากรภาครัฐ ได้แก่รายจ่ายในลักษณะ เงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนพนักงานราชการ)
1) เงินเดือน
2) ค่าจ้างประจำ
3) ค่าจ้างชั่วคราว
4) ค่าตอบแทนพนักงานราชการ
1788. งบดำเนินงาน (รหัส 300) หมายถึงอะไร_______(รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงบประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอยและวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค ได้แก่
1) ค่าตอบแทน
2) ค่าใช้สอย
3) ค่าวัสดุ
4) ค่าสาธารณูปโภค
1789. งบลงทุน (รหัส 600) หมายถึงอะไร_______(รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
1) ค่าครุภัณฑ์
2) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
1790. งบเงินอุดหนุน (รหัส 800) หมายถึงอะไร____________(รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเป็นค่าบำรุง หรือเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานรัฐ ซึ่งไม่ใช่ราชการส่วนกลาง ได้แก่
1. เงินอุดหนุนทั่วไป เช่น เงินอุดหนุนแก้ปัญหายาเสพติด เงินอุดหนุนเพื่อบูรณาการท้องถิ่น
2. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เช่น เงินที่กำหนดให้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของรายการและรายละเอียดที่สำนักงานงบประมาณกำหนด
1791. งบรายจ่ายอื่นๆ (รหัส 900) หมายถึงอะไร________(รายจ่ายที่ไม่เข้ารายจ่ายที่กำหนด 4 รายการข้างต้น ได้แก่ เงินราชการลับ ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิจัยและประเมิน ค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศชั่วคราว รายจ่ายเพื่อชำระหนี้เงินกู้ เป็นต้น
1792. รายจ่ายงบกลางหมายถึงอะไร________(รายจ่ายที่จัดสรรให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ เช่น เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ เงินเลื่อนขั้นเลื่อนอันดับเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ เงินสำรองเงินสบทบและเงินชดเชยของข้าราชการ รายจ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนิน และต้อนรับประมุขประเทศ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรักษาความมั่นคงของประเทศ เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เงินราชดารลับในการรักษาความมั่นคงระหว่างประเทศ ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการครู ลุกจ้าง และพนักงานของรัฐ)
1793. โจรสลัด ที่เป็นข่าว อยู่ประเทศใด_____(โซมาเลีย)
1794. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอยู่ในงบประมาณประเภทใด_____(งบกลาง)
1795. ค่ารักษาพยาบาล ของข้าราชการอยู่ในงบประมาณประเภทใด______(งบกลาง)
1796. เงินช่วยเหลือข้าราชการ อยู่ในงบใด_______(งบกลาง)
1797. ส่วนราชการสามารถกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้กี่เดือน_____(6 เดือนปฏิทิน)
1798. การซื้อการจ้างมีกี่วิธี______(มี 6 วิธี ได้แก่)
1) วิธีตกลงราคา ไม่เกิน 100,000 บาท
2) วิธีสอบราคา เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
3) วิธีประกวดราคา เกิน 2,000,000 บาท
4) วิธีพิเศษ (เกินหนึ่งแสนบาท กรณี ขายทอดตลาด ใช้ในราชการลับ พัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หรือในสถานการณ์เร่งด่วน
5) วิธีกรณีพิเศษ
6) วิธีประมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์
1799. e-auction คืออะไร__________ (การจัดหาพัสดุโดยวิธีประมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์)
1800. e-auction (การจัดหาพัสดุโดยวิธีประมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์)ใช้สำหรับการซื้อหรือการจ้างแต่ละครั้งมีวงเงินรวมเกินกี่บาท____(สองล้านบาท) หากส่วนราชการเห็นสมควรจะใช้การประมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ที่มีวงเงินรวมไม่เกินสองล้านบาทก็ได้ e-auction ใช้สำหรับพัสดุ (วัสดุและครุภัณฑ์ทุกประเภท) e-auction ใช้สำหรับการจ้างทุกประเภทยกเว้น งานจ้างที่ปรึกษา งานจ้างออกแบบและควบคุมงาน การจ้างด้วยวิธีพิเศษ หรือกรณีพิเศษ)
1801. สถานศึกษาอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ตั้งชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่าอะไร_____(วิทยาลัย)
1802. ผู้ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ________(ถูกปลดออก ไล่ออก เพราะมีความผิด) และมีเวลาราชการไม่ครบ 1 ปี)
1803. ข้าราชการอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ต้องออกจากราชการ ยกเว้นข้าราชการใด____(ข้าราชองครักษ์ สมุหราชองครักษ์ รองสมุหราชองครักษ์ ข้าราชการการเมือง)
1804. คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง การศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศของของข้าราชการและลูกจ้างประจำสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2547 การลาศึกษาต่อภาคปกติมีกี่ประเภท_______(2 ประเภท คือ
1. การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ก (หน่วยงานราชการส่งไป)
2. การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ข (ประเภทที่ต้องไปสมัครสอบคัดเลือก หรือ คัดเลือกในสถาบันการศึกษาด้วยตนเอง)
1805. บุคคลใดสังกัด สพฐ. ที่สามารถลาศึกษาต่อได้_____(ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้างประจำ)
1806. การลาศึกษาต่อภาคปกติ หมายถึงอะไร__________(การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ หมายถึง การศึกษาต่อโดยใช้เวลาราชการเต็มเวลา)
1807. ข้าราชการครูที่มีสิทธิลาศึกษาต่อภาคปกติ________(มีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับถึง 15 มิย. ของปีที่จะเข้าศึกษา)
1808. กรณีที่เวลาปฏิบัติราชการไม่ถึง 24 เดือน ลาศึกษาต่อภาคปกติได้หรือไม่_____(ได้ แต่เวลาปฏิบัติราชการติดต่อกันต้องไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็มไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป)
1809. อายุเกิน 45 ปี สามารถลาศึกษาต่อภาคปกติได้หรือไม่______(ไม่ได้) ***จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ทั้งนี้ต้องมีเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนครบก่อนเกษียณอายุราชการ***
1810. ข้าราชการพลเรือนสังกัด สพฐ. ที่จะสามารถลาศึกษาต่อภาคปกติได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร___(พ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ)
1811. ข้าราชการที่ถูกลงโทษตัดเงินเดือนสามารถลาศึกษาต่อได้หรือไม่_____(ข้าราชการที่ถูกลงโทษตัดเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้ว หรือถ้าเป็น ผู้ถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน)
1812. สัดส่วนการมีสิทธิลาศึกษาต่อในแต่ละสถานศึกษาเป็นอย่างไร______(จำนวนผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อ ต้องไม่เกิน 5% ของจำนวนข้าราชการในสถานศึกษา หรือ หน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้ รวมทั้งข้าราชการที่กำลังศึกษาต่ออยู่ภายในประเทศและต่างประเทศด้วย เศษถึงครึ่งให้ปัดเป็น 1 คน (ไม่นับฝ่ายบริหาร) และข้าราชการที่เหลืออยู่จะต้องสอนไม่เกินคนละ 22 คาบต่อสัปดาห์ ในหมวดวิชานั้นๆ หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต)
1813. ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ครูในสถานศึกษาลาศึกษาต่อ______(ผู้อำนวยการสถานศึกษา)
1814. ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ผู้บริหาร หรือ ข้าราชการหรือบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลาศึกษาต่อ___(ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)
1815. ผู้ที่มีอำนาจอนุญาตให้ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลาศึกษาต่อ รวมถึงข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน____(เลขาธิการ สพฐ.)
1816. การรายงานผลการศึกษาต่อ______(ผู้ลาศึกษาต่อรายงานผลการศึกษาภาคปกติ ประเภท ก และประเภท ข ทุกภาคการศึกษา ต่อผู้มีอำนาจอนุญาตให้ลาศึกษา (ภายใน 30 วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษา)
1817. การขยายเวลาศึกษาต่อทำอย่างไร_______(เสนอหลักฐานการขยายระยะเวลาศึกษาต่อ ก่อนสิ้นสุดสัญญา ไม่น้อยกว่า 15 วัน ) (อนุญาตการขยายเวลาศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้ไม่เกินครั้งละ 1 ภาคการศึกษา ไม่เกิน 2 ครั้ง หรือไม่เกิน 1 ปีการศึกษา)
1818. วิทยานิพนธ์ จากการศึกษาต่อต้องส่งต้นสังกัดหรือไม่______(ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ให้ส่งผลงานวิจัยหรืองานวิชาการที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เช่น ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ เป็นต้น ให้ผู้มีอำนาจอนุญาต ทราบ และรวบรวม)
1819. การลาศึกษาต่อ ทำสัญญาค้ำประกันกี่ชุด_______(3 ชุด เก็บไว้ที่ สพท. สถานศึกษา และที่ตัวผู้ลาศึกษาต่อ คนละ 1 ชุด) (ส่วนผู้ที่ปฏิบัติงานใน สพท. ทำ 2 ชุด คือเก็บที่ สพท. 1 ชุด และตนเอง 1 ชุด)
1820. ลาศึกษาต่อ ติดอากรแสตมป์กี่บาท______(11 บาท คือ ฉบับ 10 บาท(สัญญาค้ำประกัน) และฉบับ 1 บาท สัญญาศึกษาต่อ)
1821. การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคนอกเวลา มีกี่ประเภท_____(2 ประเภท คือ)
1) การศึกษาต่อภาคนอกเวลาราชการ โดยใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษา
2) การศึกษาต่อภาคนอกเวลาราชการ โดยไม่ใช้เวลาราชการไปศึกษา
1822. คุณสมบัติผู้มีสิทธิลาศึกษาต่อ ภาคนอกเวลา โดยใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษา____(มีอายุไม่เกิน 55 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่เข้าศึกษา กรณีอายุเกินให้อยู่ในดุลยพินิจของต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม)
1823. ผู้ลาศึกษาต่อภาคนอกเวลาราชการสามารถออกจากสถานศึกษาก่อนเลิกเรียนกี่ชั่วโมงกี่นาที___(ให้ออกเดินทางจากสถานศึกษา หรือสำนักงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่ก่อนเวลาเลิกปฏิบัติราชการได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง 30 นาที) (ชั่วโมงครึ่ง)
1824. จำนวนผู้มีสิทธิลาศึกษาต่อภาคนอกเวลาราชการ มีเท่าไรในสถานศึกษา______(จำนวนข้าราชการที่จะได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ ภาคนอกเวลา รวมกันทั้งสิ้นต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนข้าราชการทั้งหมดในสถานศึกษา หรือหน่วยงานนั้นๆ กรณีข้าราชการต่ำกว่า 10 คน ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต)
1825. การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคนอกเวลา โดยไม่ใช้เวลาราชการไปศึกษา ปฏิบัติอย่างไร____________(การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคนอกเวลา โดยไม่ใช้เวลาราชการไปศึกษา ให้รายงานเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้บริหารสถานศึกษา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่ทราบก่อน จึงจะไปศึกษาต่อ ภาคนอกเวลาได้) (สรุปง่ายๆ คือ ให้รายงาน ไม่ใช่ไปโดยไม่บอก)
1826. สัดส่วนผู้มีสิทธิลาศึกษาต่อภาคฤดูร้อนเป็นอย่างไร_______(อนุญาตให้ไปศึกษาต่อได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนข้าราชการทั้งหมดในสำนักงานนั้นๆ ถ้าต่ำกว่า 10 คน ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต) การอนุญาตให้พิจารณาอนุญาตเป็นปี ๆ ไป
1827. การลาฝึกอบรมภายในประเทศรายละเอียดอย่างไร________________________
1) การฝึกอบรม หมายถึง การเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์ด้วยการเรียน การอบรมสัมมนา หรือการฝึกงาน
2) วิชาที่จะไปฝึกอบรมต้องเป็นประโยชน์ต่อ การปฏิบัติงาน
3) เป็นผู้ที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรับรองว่า หากให้ไปเข้ารับการฝึกอบรมแล้ว จะไม่เกิดความเสียหายแก่ราชการ
4) จำนวนข้าราชการที่จะได้รับอนุญาตให้ไป ฝึกอบรมให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษา หรือหัวหน้าหน่วยงาน
5) หลักสูตรฝึกอบรม ที่จัดโดยส่วนราชการหรือ หน่วยงานอื่น ที่มีระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือนหรือทางราชการจะต้องจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน การฝึกอบรมเกินกว่า 5,000 บาท ต้องจัดทำสัญญาข้าราชการไปฝึกอบรม
6) ในกรณีที่ผู้ลาไปฝึกอบรมย้ายต่างเขตพื้นที่ ให้เก็บสัญญาไว้ที่ สพท.เดิม แต่ในหนังสือส่งตัวให้แจ้งข้อมูลการลาไปฝึกอบรมของบุคคลดังกล่าวให้หน่วยงานใหม่ทราบด้วย
1828. การลาปฏิบัติงานวิจัยภายในประเทศ มีรายละเอียดอย่างไร_____________________
1) เป็นข้าราชการในสังกัด สพฐ.
2) มีอายุราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี
3) ได้รับทุนการวิจัยจากหน่วยงาน สถาบันของ ทางราชการ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันกับสพฐ.
4) หัวข้อ/โครงร่างงานวิจัยต้องเกี่ยวข้องและมีประโยชน์ต่อวงการศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารสถานศึกษา สพท. และ สพฐ.
5) ระยะเวลาการขอลาไปปฏิบัติการวิจัย ไม่เกิน 1 ปี หากมีความจำเป็นให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต
1829. การคำนวณเงิน และเรียกชดใช้ทุนกรณีผิดสัญญา ทำอย่างไร_____________
1) คำนวณการชดใช้ทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กระทรวงการคลังกำหนดและตามประกาศของ สพฐ.
2) แจ้งเรียกชำระหนี้จากผู้ผิดสัญญาและ ผู้ค้ำประกัน โดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ
3) หากผู้ผิดสัญญาหรือผู้ค้ำประกัน ยินยอมชดใช้ ให้รับชดใช้แล้วรายงาน สพฐ.
4) หากขอผ่อนชำระให้ผู้มีอำนาจ (ผู้รับมอบอำนาจ) พิจารณาโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
5) หากผู้ผิดสัญญา หรือผู้ค้ำประกันปฏิเสธ หรือเพิกเฉย ให้รวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมด รายงาน สพฐ. โดยด่วน อย่าให้ขาดอายุความ
1830. กลุ่มอำนวยการ ใน สพท. มีกลุ่มงานอะไรบ้าง______________________________
1) กลุ่มงานบริหารทั่วไป
2) กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
3) กลุ่มงานประสานงาน
4) กลุ่มงานบริหารการเงินและสินทรัพย์
1831. กลุ่มนโยบายและแผน ใน สพท. มีกลุ่มงานอะไรบ้าง________________________
1) งานธุรการ
2) กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศ
3) กลุ่มงานนโยบายและแผน
4) กลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ
5) กลุ่มงานติดตามประเมินผลและรายงาน
6) กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่
1832. กลุ่มบริหารงานบุคคลใน สพท. มีกลุ่มงานอะไรบ้าง______________________
1) งานธุรการ
2) กลุ่มงานวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
3) กลุ่มงานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
4) กลุ่มงานบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ
5) กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร
6) กลุ่มงานวินัยและนิติการ
7) งานเลขานุการ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่
1833. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ใน สพท. มีกลุ่มงานอะไรบ้าง________________
1) งานธุรการ
2) กลุ่มงานส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา
3) กลุ่มงานส่งเสริมกิจการนักเรียน
4) กลุ่มงานส่งเสริมสวัสดิภาพสวัสดิการและกองทุน
5) กลุ่มงานส่งเสริมกิจการพิเศษ
1834. กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ใน สพท. มีกลุ่มงานอะไรบ้าง____
1) งานธุรการ
2) กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้
3) กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา
4) กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
5) กลุ่มงานนิเทศติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา
6) กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
7) กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและ
นิเทศการศึกษา
1835. กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ใน สพท. มีกลุ่มงานอะไรบ้าง________________
1) กลุ่มงานส่งเสริมข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษาเอกชน
2) กลุ่มงานส่งเสริมและดำเนินการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาเอกชน
3) กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน
4) กลุ่มงานส่งเสริมการอุดหนุนกองทุนสวัสดิการ
1836. หน่วยตรวจสอบภายใน ในสพท. มีงานอะไรบ้าง________________________
1) งานธุรการ
2) งานตรวจสอบทางการเงินและบัญชี
3) งานตรวจสอบการดำเนินงาน
1837. งานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ หน่วยงานใดใน สพท. รับผิดชอบ_______(กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา)
1838. รางวัลแมกไซไซเป็นรางวัลของประเทศใด_______________(ฟิลิปปินส์)
1839. ยาเสพติดแบ่งเป็น 5 ประเภท อะไรบ้าง_______
1) ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง
2) ยาเสพติดให้โทษทั่วไป
3) ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยา
4) เป็นสารเคมีที่นำไปผลิตยาเสพติดให้โทษชนิดที่ 1 และ 2
5) ยาเสพติดที่ไม่ได้อยู่ในประเภทใดข้างต้น (ประยุกต์)
1840. ประชาธิปไตยมายความว่าอย่างไร_______(การปกครองโดยประชาชน)
1841. กฎหมายรัฐธรรมนูญ มีลักษณะอย่างไร______(เป็นกฎหมายที่มีฐานะเหนือกฎหมายทั้งปวง เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครอง และเป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศ)
1842. คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภา หมายควายว่าอย่างไร_____(คณะรัฐมนตรีอาจถูกรัฐสภาอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจได้)
1843. คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่_________________________
1) ยุบสภา
2) นายกฯ ลาออก
3) นายุถูกมติไม่ไว้วางใจ
4) พันธมิตรไล่
1844. เป็น สส ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี______________( 25 ปี)
1845. เป็น สว. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี_______________(40 ปี)
1846. เป็นรัฐมนตรีต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี____________(35 ปี)
1847. เป็นครูต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี___________(20 ปี)
1848. เป็นพนักงานราชการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี_________(18 ปี)
1849. ในปีหนึ่งจะมีการประชุมรัฐสภา 2 สมัย สมัยละกี่วัน__________(120 วัน)
1850. เมื่ออายุสภาผู้แทนสิ้นสุดลงต้องเลือกตั้งภายในกี่วัน__________(45 วัน)
1851. เมื่อยุบสภา ต้องเลือกตั้งผู้แทนภายในกี่วัน________(60 วัน)
1852. องค์กรที่มีหน้าที่สั่งยุบพรรคการเมือง_________(ศาลรัฐธรรมนูญ)
1853. พรรคการเมืองคืออะไร______________(คณะบุคคลซึ่งรวบรวมกันเพราะมีความคิดเห็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในแนวทางที่ตรงกัน และมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ)
1854. การที่คนไทยไม่ไปเลือกตั้ง เป็นความบกพร่องด้านใด______(หน้าที่)
1855. หน้าที่ของคนไทยตามรัฐธรรมนูญ” 50 มีอะไรบ้าง________________________
1) รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2) ป้องกันประเทศ
3) รักษาผลประโยชน์ของชาติ
4) ปฏิบัติตามกฎหมาย
5) ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
6) รับราชการทหาร
7) ช่วยเหลือในการป้องกัน บรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ
8) เสียภาษี
9) ช่วยเหลือราชการ
10) รับการศึกษาอบรม
11) พิทักษ์ ป้องกัน และสืบสานศิลปวัฒนธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น
12) อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
1856. ใครเป็นผู้ตัดสินและประกาศผลการเลือกตั้งทั่วไป_________(คณะกรรมการการเลือกตั้ง)
1857. เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสมาชิกว่างลง จะให้มีการเลือกตั้งซ่อมหรือไม่ก็ได้ หากสภามีอายุเหลือน้อยกว่ากี่วัน_________(180 วัน)
1858. การแต่งตั้งและการให้ผู้พิพากษาพ้นจากตำแหน่ง ต้องได้รับความเห็นชอบของบุคคลใด____________(คระกรรมการตุลาการ)
1859. คำกล่าวที่ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” หมายความว่าอย่างไร________(ผู้ใดจะดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ไม่ได้)
1860. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยอย่างไร_______(ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อม)
1861. การมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา แสดงว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจทางใด___(อำนาจบริหาร)
1862. ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงโดยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งรัชทายาท ผู้ที่ทำหน้าที่เสนอพระนามผู้สืบสันติวงศ์คือใคร_______(คณะองคมนตรี)
1863. ความหมายของ “กฎหมาย” _________(ข้อบังคับของรัฐใช้ควบคุมสังคม)
1864. สาระสำคัญขิงกฎหมาย_______(บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจ)
1865. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันกี่คนสามารถเสนอร่าง พรบ. ได้ ___(10000 คน)
1866. พระราชบัญญัติ จะตราเป็นกฎหมายได้ ต้องได้รับการยินยอมจากใคร___(รัฐสภา)
1867. การตราพระราชกำหนดจะทำได้ในกรณีใด______(กรณีเร่งด่วน เพื่อรักษาความสงบ ปลอดภัยของประเทศ)
1868. บุคคลใดเป็นผู้เสนอร่างพระราชกำหนด_______(คณะรัฐมนตรี)
1869. ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี____(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)
1870. การยุบสภา ทำเพื่อควายมุ่งหมายใด________(ให้มีการเลือกตั้งใหม่)
1871. ฝ่ายนิติบัญญัติ มีวิธีควบคุมฝ่ายบริหารอย่างไร______(เสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่อนุมัติงบประมาณรายจ่าย)
1872. ผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน คือใคร___(นายกรัฐมนตรี)
1873. ฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายใด______(พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง)
1874. ฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายประเภทประมวลกฎหมายได้หรือไม่___(ไม่ได้)
1875. ประเทศที่ชื่อว่าเป็นเมืองแม่ของประชาธิปไตยสมัยใหม่____(สหราชอาณาจักร)
1876. ประชาชนผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง______(ต้องเสียสิทธิทางการเมืองบางประการ)
1877. สมาชิกภาพสว. กำหนดคราวละกี่ปี_____ (6 ปี)
1878. เมื่อวาระ สว. เลือกตั้งสิ้นสุดลง (6 ปี) จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วัน___(30 วัน)
1879. เมื่อวาระ สว. สรรหาสิ้นสุดลง ต้องทำการสรรหาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน___(60 วัน)
1880. สส. จำนวนเท่าไร มีสิทธิยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี____(ไม่น้อยกว่า 1 ใน 6)
1881. สส. จำนวนเท่าใด มีสิทธิยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี_(ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5)
1882. ผู้มีสิทธิเสนอร่าง พรบ. มีใครบ้าง_____________________________
1) คณะรัฐมนตรี หรือ สส. ไม่น้อยกว่า 20 คน หรือ
2) ศาล หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือ
3) ผู้มิสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ก็ได้
1883. บุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกภาพสิ้นสุดลง อย่างน้อยกี่ปีจึงจะสามารถสมัคร เป็น สส. เป็นรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง_____(2 ปี)
1884. กรณีที่การเลือกตั้งทั่วไป มี สส. ไม่ครบ 480 คน รัฐธรรมนูญกำหนดจะต้องมี สส. ไม่น้อยกว่าเท่าใด จึงจะประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎรได้______(ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95)
1885. ผู้เยาว์กระทำการใดในทางกฎหมายได้ เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์____(รับรองบุตร)
1886. คำว่า The King can do no wrong มีสาระอย่างไร_________(องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันสูงสุด ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องไม่ได้ / องค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือความรับผิดชอบทางการเมืองทั้งปวง/)
1887. คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นราชการบริหารส่วนกลางหรือไม่____-(ไม่ใช่)
1888. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประกาศใช้เมื่อใด______(24 สิงหาคม 2550)
1889. รัฐธรรมนูญ 2550 ร่างโดยคณะบุคคลใด_____(สสร. สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ)
1890. รัฐธรรมนูญ 2550 เกิดจากสาเหตุใด______(มาตรา 19 แห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549
1891. รัฐธรรมนูญ 2550 ห้ามเกณฑ์แรงงาน ยกเว้นกรณีใด____(ประกาศใช้กฎอัยการศึก กรรีฉุกเฉิน ประเทศอยู่ในภาวการณ์รบหรือสงคราม)
1892. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบ่งอำนาจกี่ทาง__________________(3 ทาง)
1) อำนาจนิติบัญญัติ
2) อำนาจบริหาร
3) อำนาจตุลาการ
1893. ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจำเลย____(ไม่มีความผิด) (หากตัวเลือกมี 2 ตัวเลือกที่สบสน คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ และ ไม่มีความผิด ให้เลือก “ไม่มีความผิด)
1894. คณะองคมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2550มีกี่คน_________(ตามรัฐธรรมนูญ ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีไม่เกิน 20 คน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี)
1895. รัฐมนตรี มีได้ไม่เกินกี่คน______________(35 คน) ตามรัฐธรรมนูญ 2550
1896. นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินกี่ปี_____( 8 ปี)
1897. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีวาระดำรงตำแหน่งกี่ปี___(9 ปี)
1898. การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกี่คนจึงจะสามารถเสนอถอดถอนได้_______________(ไม่น้อยกว่า 20000 คน)
1899. การตั้งงบกลาง ตามรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติตามข้อใด_____(ต้องแสดงเหตุผล ความจำเป็น และต้องได้รับการพิจารณาจากสภา)
1900. ประธานศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อายุกี่ปีต้องพ้นจากตำแหน่ง__(70 ปี)
"อย่าลืม ตรวจสอบ ก่อนเชื่อ"
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์..เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรทางการศึกษา)
คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย
วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค
แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น