หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จิปาถะ...นานา...น่ารู้

1. การบันทึกสมุดหมายเหตุรายวัน ให้บันทึกวัน เดือน ปี
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบวัน ด้วยปากกาสีดำหรือน้ำเงิน
หากไม่มีเหตุอะไรให้ลงว่าอย่างไร
ก. ปกติ
ข. เหตุการณ์ปกติ
ค. เหตุการณ์เรียบร้อยดี
ง. ไม่ต้องบันทึก
ตอบ ก
2. เหตุผลที่การรถไฟแห่งประเทศไทยหยุดบริการประชาชน
คือข้อใด
ก. เพื่อต่อรองขอเพิ่มค่าครองชีพ
ข. เพื่อต่อรองขอเพิ่มจำนวนบุคลากร
ค. เพื่อซ่อมแซมหัวรถจักร เพื่อความปลอดภัย
ง. ซ่อมแซมรางรถไฟ
ตอบ ค

3. ปฏิบัติการโครงการ " ไทยสามัคคี ไทยเข้มเข็ง" สิ้นสุด
เมื่อไร ที่ไหน
ก. 1 ธันวาคม 2552, กระบี่
ข. 2 ธันวาคม 2552, อำนาจเจริญ
ค. 3 ธันวาคม 2552, อุบลราชธานี
ง. 4 ธันวาคม 2552, กรุงเทพมหานคร
ตอบ ง

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 59
ระหว่างวันที่ 7 - 9 ธันวาคม 2552 ณ ม.ราชภัฏอุบลราชธานี
ตามภูมิภาค ต่าง ๆ จัดที่ใดบ้างระหว่างวันที่เท่าไรบ้างครับ
โรงเรียนใดไม่ใช่โรงเรียนในโครงการ.Education Hubโรงเรียนที่ผู้ปกครองย้ายมาปฏิบัติงานในประเทศไทย
1 โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพมหานคร
2 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
3 โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จังหวัดชลบุรี
4 โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
5.โรงเรียนสรรพวิทยา จังหวัดตาก

โรงงานอุตสาหกรรมใช้ ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG)

บทความเรื่องก๊าซปิโตรเลียมเหลว LPG โดยกรมธุรกกิจพลังงาน

ด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 จะดำเนินการทดสอบแชมป์เงา (Shadow of the champ) LAS, NT, O-NET ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, 3, 5, 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 2, 3, 6 ตามรายละเอียดที่แนบมาพร้อมนี้ นักเรียนที่สนใจสมัครสอบ จะต้องลงทะเบียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 25 บาท โดยส่งรายชื่อนักเรียนที่จะสอบพร้อมเงิน ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ที่กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา (นางสาวสุภาภรณ์ พันธ์สำโรง)

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ในที่สุดก็ถึงวันสุดท้ายของ“พบกันทุกวันอังคาร” เพราะดิฉันได้ขออนุมัติกระทรวงเดินทางไปต่างประเทศในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ เพื่อไปรับรางวัลที่องค์การ World Education จะมอบให้และคงไม่ได้กลับมาจนปลายเดือนเมื่อพ้นเวลาที่ขออนุมัติลาออกไป แล้ว อังคารนี้จึงเป็นอังคารสุดท้ายที่จะอยู่ปฏิบัติงานในกระทรวง
องค์การ World Education เป็นหน่วยงานที่จ้างดิฉันเมื่อปี ๒๕๑๔ หลังจากกลับจากศึกษาต่างประเทศ ยังไม่ได้เข้าทำงานที่ใด ดร.ยุพา อุดมศักดิ์ จึงได้ชวนให้มาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานระหว่างองค์การดังกล่าวกับกอง การศึกษาผู้ใหญ่ โครงการสำคัญที่ได้เรียนรู้จากการทำงานกับ World Education เมื่อปี ๒๕๑๔ คือโครงการแก้ไขการไม่รู้หนังสือแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งได้ริเริ่มพัฒนาหลักสูตรและแบบเรียนจากปัญหาที่ผู้เรียนเผชิญอยู่ ประสบการณ์จากโครงการนี้เชื่อว่าได้มีอิทธิพลต่อการปฏิรูปหลักสูตรและการศึกษาเพื่อชีวิตในช่วงปี ๒๕๑๗-๒๕๑๘ อยู่ไม่น้อย
นับเนื่องจากนั้น ได้มีโอกาสร่วมงานกับองค์การ World Education ในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องนาข้าวแบบผสมผสาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบของการเรียนรู้แบบบูรณาการรุ่นแรกๆ ล่าสุดได้ร่วมงานกับ World Education ในการทำงานกับเด็กไร้สัญชาติในพื้นที่จังหวัดตาก จึงนับเป็นองค์กรที่ได้ให้แนวคิด และนวัตกรรมในการทำงานของดิฉันตลอดมา
เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๒ Mr.Thomas B. Keehn ผู้ว่าจ้างดิฉันคนแรก และในเวลานั้นมีอายุ ๙๓ ปี ได้มีหนังสือเชิญดิฉันไปรับรางวัลในฐานะผู้ที่ได้สนับสนุนงานการศึกษาสำหรับ เด็กด้อยโอกาสตลอดมา โดยได้จูงใจว่าจะออกค่าใช้จ่ายให้ จากนั้นไม่นาน ดิฉันได้ทราบข่าวว่า Mr.Keehn ได้เสียชีวิตไป ดิฉันจึงตัดสินใจเดินทางไปรับรางวัลเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ Mr.Keehn ผู้มีเพื่อนสนิทเป็นนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่หลายคน เช่น ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ จึงขอนำเรียนเพื่อพวกเราจะได้เข้าใจด้วยว่าทำไมออกก่อนเกษียณแล้วยังไม่ได้อยู่จนถึงวันที่ ๒๖ ตุลาคม
ย้อนกลับมาที่ข้อเขียน “พบกันทุกวันอังคาร” ดิฉันได้เริ่มเขียนครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ เมื่อดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการรอบแรก และกระทรวงกำลังเข้าสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ จึงได้ใช้ข้อเขียน “พบกันทุกวันอังคาร” ในยุคนั้น สื่อสารให้เพื่อนครูได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น
นับ เนื่องจากนั้นเกือบ ๗ ปี ได้เขียนต่อเนื่องตลอดมา ด้วยพลังใจและความสนับสนุนที่ได้รับจากผู้อ่านซึ่งต้องขอขอบคุณอย่างจริงใจ มา ณโอกาสนี้ด้วย ได้ทราบว่าผู้อ่านได้ขยายวงกว้างขวางจากเพื่อนข้าราชการในสังกัดไปสู่ผู้ ปกครอง กรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้คนในหลายวงการ ที่เขียนมาเล่าว่านอกจากอ่านเองแล้ว ยังสำเนาให้คนอื่นอ่านด้วย คงไม่ใช่เพราะข้อเขียนของดิฉันสนุกสนาน บันเทิงใจ (เพราะบ่อยครั้งยืดยาวจนน่าเบื่อ แม้แต่สำหรับผู้เขียนเอง!) แต่ เป็นเพราะประสงค์จะทราบว่าพวกเราที่กระทรวง ที่สพฐ. กำลังคิดอะไร กำลังทำอะไร เป็นโอกาสให้ได้ทราบถึงผลงานดีๆ ที่เป็นแบบอย่างที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ และที่สำคัญ เป็นช่องทางที่จะสื่อสารกลับมาให้ทราบว่าผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องกำลัง คิดอะไร กำลังหนักใจ หรือสงสัยเรื่องอะไร บ่อยครั้งผู้ถามจะกำหนดมาอย่างชัดเจนว่าขอให้ตอบใน“พบกันทุกวันอังคาร”
ที่ น่าชื่นใจเป็นพิเศษ คือการที่ผู้บริหารหลายท่านได้ริเริ่มที่จะเขียนพบกันวันอังคารบ้าง วันศุกร์บ้างไปถึงเพื่อนร่วมงาน ผู้ปกครองและประชาคมในพื้นที่ที่รับผิดชอบดูแล หลายฉบับที่ส่งมาให้อ่านน่าสนใจ และเป็นประโยชน์ยิ่ง เช่นท่านธเนศ ขำเกิด อดีตหัวกน้ากลุ่มนิเทศของนนทบุรีที่ทำเป็น blog ที่ทันสมัย ท่านรองภิรมย์ นันทวงศ์ รอง ผอ.สพท.พระนครศรีอยุธยา เขต ๒ ที่เล่าถึงผลงานดีๆ ของเพื่อนครู หรือเร็วๆ นี้ ท่านรองฯ ตอฮีรน หะยีเลาะแม รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลูโบ๊ะกาเยาะ อ.ระแงะ สพท.นราธิวาส เขต ๓ก็มีตัวอย่างข้อเขียน “พบกันวันศุกร์” ส่งมาให้อ่าน หากพวกเราช่วยกันสื่อสารไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ย่อมทำให้ความเข้าใจในองค์กรของเรามีความชัดเจนและสามารถร่วมแรงร่วมใจขับ เคลื่อนงานได้อย่างพร้อมเพรียงมากยิ่งขึ้น ดิฉันเองต้องขอขอบคุณน้องๆ ที่รับช่วงช่วยงาน "พบกันทุกวันอังคาร" จากร่างที่ขยุกขยุยให้น่าอ่านมากยิ่งขึ้น จึงขอประกาศเกียรติคุณทีมงานไว้ท้ายข้อเขียน

สำหรับการสื่อสารถึงดิฉันหลังเกษียณตามที่มีผู้สอบถามมานั้น สามารถสื่อสารผ่าน e-mail : kasamvar@gmail.com ทั้งได้ขอให้สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนลองริเริ่มเปิด social network ในรูปแบบของ facebook หรือ twitter เพื่อให้ผู้เกษียณอายุไปแล้วได้เข้ามาพบปะพูดคุยกันเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับน้องๆที่ยังปฏิบัติงานอยู่
ดิฉันได้เริ่มเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณไปบ้างแล้ว ด้วยการนิมนต์พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมาบรรยายธรรมะ ในห้วข้อ “สู่ช่วงชีวิตใหม่ เติมพลังใจด้วยธรรมะ” เป็นคำบรรยายที่สร้างพลังให้แก่พวกเราที่เกษียณเป็นอย่างมาก และชี้แนะให้เห็นว่า เราจะสามารถใช้เวลาว่างที่จะมีมากขึ้นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร ดิฉันได้นำคำบรรยายในบางตอนมานำเสนอท้ายข้อเขียนนี้ ส่วนฉบับสมบูรณ์จะได้เผยแพร่ต่อไป (คลิกที่นี่)
ใน รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานแสดงมุทิตาจิตแก่ดิฉันหลายกลุ่ม รวมทั้งการมอบของขวัญ และการจัดตั้งกองทุนให้ ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง และขอเรียนว่า เพื่อไม่ให้พวกเราต้องสิ้นเปลืองและเสียเวลาเดินทาง ยังไม่จำเป็นต้องจัดงานมุทิตาจิตให้เป็นพิเศษในช่วงนี้ หากอยากพบปะกัน หรือรับปัจฉิมโอวาท (ซึ่งคงไม่ได้อยากได้จริงเท่าไหร่ เพราะเวลาอยู่ก็มอบหมายงานให้ท่านหนักใจอยู่มากแล้ว) ขอให้เชิญมาในช่วงที่ ท่านมีการพบปะกันตามปกติ ตามวาระงาน หากมีเวลาที่ตรงกันและไม่เกี่ยวกับงานจะพยายามไปร่วมสังสรรค์เพราะช่วงนั้น คงมีเวลาว่างมาก และอาจเริ่มเหงา
สำหรับ ของขวัญนั้น ขอความกรุณาไม่ต้องลำบากจัดหามาเพราะไม่มีปัญญานำกลับไปเก็บที่ใดได้ ส่วนใหญ่จึงมอบให้กับ สพฐ. ของที่ระลึกที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับดิฉันคือข้อเขียน บทกวี รูปภาพจากคุณครูและนักเรียนที่เขียนมาให้กำลังใจ ส่งรูปและเล่าเรื่องราวที่เคยพบปะกันในอดีตมาให้ (ส่งมาได้ทาง e-mail ไม่ต้องขยาย หรือใส่กรอบส่งมาให้สิ้นเปลือง) เช่น บทกวีของ ชวิน พงศ์ผจญ จากโรงเรียนบดินทรเดชา ซึ่งมั่นใจว่าจะเติบโตเป็นศิลปินแห่งชาติในอนาคตอย่างแน่นอน หรือข้อเขียนของ เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี โรงเรียนกัลยาณวัตร จ.ขอนแก่น ที่เล่าให้ฟังว่าได้พบกับดิฉันเมื่ออยู่อนุบาลจวบจนเป็นนักพูดชั้นเยี่ยมในช่วงชั้น ม.ปลาย อ่านแล้วทำให้เกิดความปิติในใจยิ่งนัก
ในเรื่องกองทุน หากอยากทำบุญร่วมกัน ดิฉันไม่ได้ตั้งมูลนิธิใดๆ ท่านจึงอาจบริจาคให้กองทุนในนามดิฉันที่สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.)ได้ตั้งขึ้น คือ กองทุนคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยาKong Toon Khunying Kasama Varavarn บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงศึกษาธิการ หมายเลขบัญชี 059-0-13905-3 ซึ่งดิฉันได้ขอให้ทางสมาคมตั้งกรรมการบริหารเพื่อช่วยบริหารจัดการ หรือที่กองทุนเงินสวัสดิการของ สพฐ. ที่เรานำไปช่วยเด็กๆที่ยากจนในทุกพื้นที่ของประเทศ คือ เงินสวัสดิการ สพฐ. บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงศึกษาธิการ หมายเลขบัญชี 059-1-39384-1
สุดท้าย ดิฉันขอขอบคุณทุกท่านสำหรับ น้ำใจ ความเข้าใจ และความสนับสนุนที่ได้รับตลอดระยะเวลา ๓๘ ปีในกระทรวงศึกษาธิการในหนังสือที่ระลึก ๖๐ ปีที่น้องๆได้จัดทำขึ้น ดิฉันได้ฝากความรู้สึกจากใจ ตอนหนึ่งว่า
“...ใน ช่วงเวลาเกษียณอายุมักเป็นโอกาสที่เราจะได้ประมวลภาพแห่งความสุขความสำเร็จ สำหรับดิฉันแล้ว ภาพเหล่านั้นได้สะท้อนให้เห็นว่าการที่ใครสักคนจะมีโอกาสเข้าสู่ตำแหน่ง หน้าที่ที่สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้นั้น มิใช่เกิดจากโชคชะตา ความสามารถ หรือความบังเอิญ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือความเกื้อหนุน และการให้โอกาสจากบุคคลที่อยู่รอบข้าง ทั้งใกล้และไกล
ความ ตระหนักในข้อนี้อยู่ในจิตสำนึกของดิฉันเสมอมา บนพื้นฐานของความเชื่อว่ายังมีผู้หญิง มีเพื่อนข้าราชการที่เก่ง ที่ดีกว่าดิฉันอีกมากมายที่ไม่สามารถไปถึงดวงดาวได้เพราะขาดพลังสนับสนุน ดังเช่นที่ดิฉันได้รับตลอดมา
เริ่ม จากโชควาสนาที่ได้เกิดเป็นคนไทยใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่ได้คุ้มเกล้าฯ แผ่นดินไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา ตั้งแต่เล็กจนโตได้ติดตามเรียนรู้จากพระ ราชกรณียกิจและพระจริยวัตรจนเกิดเป็นแรงบันดาลใจและความรู้สำนึกที่จะต้องมีส่วนร่วมสืบสานพระราชปณิธานด้วยการทำความดีและดูแลช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติด้วยกัน
เมื่อเข้าทำงานได้มีโอกาสร่วมสนองงานโครงการพระราชดำริซึ่งเปรียบเสมือน ประทีปส่องทางการศึกษาให้พัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์สนับสนุนงานการ ศึกษาในทุกด้าน ในทุกพื้นที่ ทำให้มีโอกาสเรียนรู้แนวทางพระราชดำริ และแนวทางทรงงานของแต่ละพระองค์ที่ได้น้อมนำเป็นหลักชัยในการทำงานตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปีที่ผ่านมา
และ แม้นว่าจะเป็นเพียงข้าราชการผู้หนึ่งที่เพียรพยายามปฏิบัติงานตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ แต่มีโอกาสได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุล จอมเกล้าพร้อมกับเพื่อนข้าราชการสตรีที่ได้ทำงานรับใช้สังคม นับเป็นหยาดน้ำทิพย์ที่ได้หล่อเลี้ยงชะโลมใจให้มุ่งมั่นสนองคุณแผ่นดินไป ชั่วชีวิต
ในขณะเดียวกันนับเป็นโชคดีที่ได้เกิดในครอบครัวที่ เป็นแบบอย่างของความสนใจใฝ่รู้ การทำงานเพื่อสังคมและความมุ่งมั่นที่จะให้ ลูกสาวคนเดียวได้เรียนรู้ทุกรูปแบบที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สามารถ พึ่งตนเอง และพอจะเป็นที่พึ่งพาของผู้อื่นได้
คู่ชีวิต ลูก ที่รัก สนับสนุนให้ทำงานด้วยความเข้าใจ ให้อภัยเมื่อต้องขาดตกบกพร่องในหน้าที่ ร่วมภาคภูมิใจในความก้าวหน้า (แม้นจะจำตำแหน่งไม่ค่อยได้) และพร้อมยืนเคียงข้างเพื่อสมานบาดแผลที่ย่อมเกิดขึ้นระหว่างทาง
เพื่อนทั้งที่เติบโตด้วยกันมาและได้พานพบบนเส้นทางชีวิตเป็นเครือข่ายในทุกวงการพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมทำบุญ และยังร่วมกระทำการ “บวมๆ” ในหลายกรณีเพื่อเติมความสดใสและสีสันให้แก่ชีวิต
คุณครูผู้ดัดนิสัย “โยเย งอแง” ให้เติบโตเป็นผู้มีน้ำอดน้ำทน (พอสมควร) มีระเบียบวินัย (พอสมควรเช่นกัน) สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และมีพื้นฐานในการเรียนรู้ ในการทำงาน และทำประโยชน์ให้สังคม
ผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงการทำงานทั้งที่สนับสนุน ให้โอกาส ให้โจทย์ที่ท้าทาย และเตือนสติให้เห็นถึงผลพวงของความไม่เที่ยงธรรม ความไม่ถูกต้อง
เพื่อนร่วมงานที่ ต้องสยองขวัญกับจดหมายน้อย (แต่ยาว) และเผชิญ “ความเป็นจอมโปรเจ็คท์” ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่สามารถยืนหยัดทำงานด้วยความโปร่งใส สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ ด้วยความเข้าใจว่าเบื้องหลังความโหดร้ายทั้งหลายทั้งปวง มีความปรารถนาดีเพื่อเด็กไทยซ่อนเร้นอยู่
เพื่อนครู และนักเรียนทั่วประเทศที่ สอนให้เกิดความตระหนักในศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ เชื่อมั่นในความสามารถ ของครูไทย เด็กไทย ที่จะเปลี่ยนแปลง หากได้รับการสนับสนุนที่เหมาะควร และได้ช่วยเติมพลังให้ทำงานด้วยความอิ่มเอมใจตลอดระยะเวลา ๓๗ ปีที่ผ่านมา
สื่อมวลชนทั้งน้องๆ ที่ทำงานในกระทรวง ณ ศูนย์บัญชาการที่ได้เป็นกระจกเงาสะท้อนผลงานอย่างตรงไปตรงมา พร้อมเสมอที่จะช่วยรายงานสู่สาธารณชนและไม่รีรอที่จะท้วงติง เพื่อให้เกิดการพัฒนางาน
ด้วยความสำนึกในความเมตตาของทุกท่าน ดิฉันจึงระลึกเสมอว่าแม้นจะไม่สามารถ ผลักดันการศึกษาให้ไปสู่เป้าหมายที่สังคมเรียกร้องได้ในทุกเรื่อง แต่อย่างน้อยที่สุด จะต้องพยายามสนับสนุนและให้โอกาสคนรุ่นหลังได้มีความพร้อมที่จะสืบสานปณิธาน การศึกษาเพื่อคุณภาพของสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตลอดไป
หากทำได้เช่นนี้ ก็จะเกิดความภาคภูมิใจว่า ๖๐ ปีที่ผ่านมา ได้มีส่วนเสริมเติมความหวังให้แก่สังคมไทย...”
พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ได้กล่าวในการบรรยายธรรมะไว้ตอนหนึ่งว่า
“ปีนี้เป็นวาระที่ปีฉลูคือวัวงานได้ปลดแอกแล้ว จะไปห่วงแอกอยู่ทำไม ไปทำอย่างอื่นที่มีความสุขดีกว่า คือการพัฒนาจิตใจให้มีศรัทธา มีความหวังที่ถูกต้องดีงามต่อไป เพราะ
ชีวิต คือโรงละคร ปวงนิกรเราท่านเกิดมา ต่างร่ายรำทำทีท่า ตามลีลาของบทละคร บางครั้งก็เศร้า บางคราวก็สุข บางครั้งก็ทุกข์หัวอกสะท้อน มีร้างมีรัก มีจากมีจร พอจบละครชีวิตก็ลา”
ขออนุญาตให้คนปีฉลูปลดระวางตนเองไปรับบทบาทอื่นด้วยนะคะ
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
e-mail : kasamvar@emisc.moe.go.th
: kasamar@obecmail.obec.go.th

แหล่งข้อมูล/รวบรวม เรียบเรียง : คณะเลขานุการ ปรับปรุงข้อมูล : 13 ตุลาคม 2552
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2288 5534-36

เป้าหมายการดำเนินงานของคณะกรรมการการบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้

รมว.ศธ.กล่าวว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นชอบให้มีคณะกรรมการบริหารการศึกษาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีนายนิวัตร นาคะเวช รองปลัดกระทรวง ศธ. เป็นประธานกรรมการ และนายกมล รอดคล้าย ผู้ตรวจราชการ ศธ. เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปฏิบัติงานประจำในพื้นที่ โดยมีภารกิจในการบูรณาการแผนงานองค์กรหลักทุกองค์กร เพื่อผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามแผนการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ครม.ได้มีมติอนุมัติแล้วนั้น

จาก การประชุมผู้บริหารองค์กรหลักครั้งนี้ ได้พิจารณากำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน รายละเอียดตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ดังนี้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒ ในทุกกลุ่มสาระวิชา

พัฒนาครูที่สอนไม่ตรงวุฒิ ซึ่งจบเฉพาะในปี ๒๕๕๒ จำนวนไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ คน

นัก เรียนที่เรียนในช่วงชั้นที่ ๑ คือ ป.๑-ป.๓ ที่อ่านเขียนภาษาไทยไม่คล่อง จำนวน ๙,๕๐๖ คน ต้องสามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้คล่องเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓๐ ของจำนวน ๙,๕๐๖ คน

ดำเนินการให้เด็ก ที่ตกหล่นไม่จบการศึกษาภาคบังคับจำนวน ๙,๘๐๕ คน ได้เรียนจบภาคบังคับภายใน ๓ ปี และต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ของจำนวน ๙,๘๐๕ คน

ส่งเสริมให้มีการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ ๒๗๔ โรงเรียน โดยภายในปี ๒๕๕๓ จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น ๓๕๐ โรงเรียน

จัดให้มีการสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิสลามศึกษา I-Net ในภาพรวมโดย สทศ. ซึ่งจะใช้ข้อสอบเดียวกันทั้งทุกจังหวัดในเขตชายแดนภาคใต้

ดำเนิน การให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนรัฐบาล สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๙๐ เป็นร้อยละ ๙๕

จัด ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ได้ดื่มนมฟรีทุกโรงเรียน ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน รวมทั้งจัดให้มีอาหารกลางวันฟรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ในโรงเรียนเอกชนการกุศล

ภาย ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ จัดให้มีการพัฒนาอาชีพให้กับนักเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาปอเนาะ โดย กศน. สามารถจัดฝึกอาชีพได้จำนวน ๘,๒๒๐ คน และ สอศ. จำนวน ๗,๕๖๐ คน รวมทั้งจะมีการฝึกอาชีพให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย กศน. สอศ. และวิทยาลัยชุมชน ซึ่งคาดว่าจะสามารถฝึกอาชีพให้ได้จำนวนกว่า ๓ หมื่นคน

จัดตั้งศูนย์ กศน.ตำบลในทุกๆ ตำบล ซึ่งขณะนี้มีอยู่จำนวน ๔๑๓ ตำบล

จัด ให้มีระบบการเทียบโอนการศึกษาอิสลามศึกษา ทั้ง ๓ ระดับ คือ ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น เทียบเท่าชั้น ป.๖ ระดับอิสลามศึกษาตอนกลาง เทียบเท่าชั้น ม.๓ และระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย เทียบเท่าชั้น ม.๖ เพื่อให้สามารถเข้าเรียนกับ กศน.ได้ ซึ่งแต่เดิมจะไม่สามารถนำระดับการศึกษาอิสลามศึกษามาเทียบโอนหน่วยกิตหรือ วิชาเรียนของสายสามัญได้ ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถนำวุฒิระดับอิสลามศึกษามาเทียบโอนกับวุฒิสายสามัญได้ ทำให้นักเรียนไม่ต้องเสียเวลาเรียนวิชาสามัญใหม่ทั้งหมด เป็นการเปิดกว้างทางการศึกษาและเปิดโอกาสให้กับนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาค ใต้ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง ส่งผลให้นักเรียนเข้าเรียนต่อในระดับ ม.ปลาย ปวช. และมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น.
ประเทศใดเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค 2016
ก. โปแลนด์
ข. บราซิล
ค. อังกฤษ
ง. แอฟริกาใต้
ตอบ ข

1. พระราชบัญญัติลูกเสือ 2551 เป็นฉบับที่เท่าไหร่
ก. ฉบับที่ 2 ข. ฉบับที่ 3
ค. ฉบับที่ 4 ง. ฉบับที่ 5
ตอบ ง
2. ข้อใดที่มิได้เกี่ยวข้องกับ นโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ
ก. รัฐธรรมนูญ 2550 ข. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 42 ปรุง 45
ค. พรก.ว่าด้วยการบิหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 2546
ง. คำแถลงนโยบายรัฐบาล
ตอบ ค
นายอิชิโร โคอิซูมิ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฉายา ผมทรงสิงโต นักพากษ์ภาพยนต์เรื่องใด
ก. โดเรมอน
ข. ซินจังจอมแก่น
ค. เลย์เบลด
ง. อุลตร้าแมน
ตอบ ง

เทคนิคการจำคณะกรรมการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน/คณะกรรมการการอุดมศึกษ/คณะกรรมการอาชีวศึกษา/คณะกรรมการสภาการศึกษา
พื้น/ดม/อา/ภา 27/28/32/59

1. นักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันวิจัยขั้วโลก ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมสำรวจขั้วโลกใต้คือใคร
ก. สุชนา ชวนิชย์
ข. ระพีพันธ์ บุตรทอง
ค. อานนท์ ฮุนตระกูล
ง. ศุภลักษณ์ รัตนรังสิมันต์
ตอบ ก
2. ภารกิจ " LCROSS" ที่องค์การนาซ่า สหรัฐอเมริกา ส่งจรวดและยานอวกาศพุ่งชนดวงจันทร์ ภารกิจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
ก. ตรวจสอบผงฝ่นละออง
ข. สำรวจหินแร่
ค. สำรวจน้ำและน้ำแข็ง
ง. พิสูจน์ความหนาแน่นพื้นผิงดวงจันทร์
ตอบ ก

1. นักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันวิจัยขั้วโลก ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมสำรวจขั้วโลกใต้คือใคร
ก. สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ภารกิจ " LCROSS" ที่องค์การนาซ่า สหรัฐอเมริกา ส่งจรวดและยานอวกาศพุ่งชนดวงจันทร์ ภารกิจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
ค. สำรวจน้ำและน้ำแข็ง โดยการยิงจรวดชนดวงจันทร์เพื่อดูว่าใต้เปลือกดวงจันทร์เป็นน้ำแข็งหรือไม่ อ่านว่า L-Cross

PMQA = Public Sector Management Quality Award
= การพัฒนาระบบราชการไทยด้วยการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

จะทำอะไร ควรไตร่ตรองให้รอบครอบ ไม่อย่านั้นจะกลายเป็นการทรยศชาติ" เป็นคำกล่าวเปิดใจของท่านประธานองคมตรีถึงใคร
ก. แกนนำคนเสื้อแดง
ข. พันตำรวจโททักษิณ ชิณวัตร
ค. นายอภิสิทะ เวชชาชีวะ
ง. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ตอบ ง

น้องวิวพงศ์ชนก กันกลับ นางสาวไทย 2009 เลือกอะไรระหว่าง นางสาวไทยกับเทคอนโด
ตอบ เลือกนางสาวไทย ไม่ได้แข่งรำเทคอนโด แต่จะไปเป็นกำลังให้เพื่อน

พายุไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่จะเข้าถล่มฟิลิปปินส์ชื่อว่าอะไร
ตอบ ลูปิค

21 ตุลาคม 2552 ครบรอบวันพระราชสมภพสมเด็จย่าได้กี่ปี
ตอบ 109 ปี

23 ตุลาคม 2552 ครบรอบวันเกิดอายุสมเด็จ ร.5 ได้กี่ปี
ตอบ 99 ปี

การประชุมสุดยอดอาเซี่ยนครั้งที่ 15 ลงนามกันกี่ฉบับ
ตอบ 16 ฉบับ

ประเทศใดบ้างที่เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนของตนเองแล้ว
ตอบ 3 คือ จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส(แบบสมัครใจ)

อเสนอ(พ.ศ. 2552-2561) โดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
----------------------------------------------------------------
(ถ้านำตามปี พ.ศ. เราจะนับได้ 10 ปี แต่จริงๆ สภาการศึกษาจะนับการปฏิรูปฯเป็นระยะ "9 ปี" นะครับ การปฏิรูปรอบแรก คือ 2542-2551 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ประกาศใช้ ส่วนรอบสองนี่ น่าจะเริ่มนับวันที่มีข้อเสนอฯรอบสองนี้กระมัง แต่ยังไงก็รอดูระเบียบสำนักฯ ก่อนดีกว่าครับ)
----------------------------------------------------------------
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2552
-----------------------------------------------------------------
คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มี 20 คน ศาสตราจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธาน รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางสุเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
---------------------------------------------------------------
วิสัยทัศน์ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
----------------------------------------------------------------
ประเด็นหลัก 3 ประการปฏิรูปฯ
1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย
2. เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
------------------------------------------------
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา (จะมองที่ “คุณภาพ”)
1. พัฒนาคุณภาพ “คนไทย” ยุคใหม่
2. พัฒนาคุณภาพ “ครู” ยุคใหม่
3. พัฒนาคุณภาพ “สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้” ยุคใหม่
4. พัฒนาคุณภาพ “การบริหารจัดการ” ใหม่
-------------------------------------------------
ข้อเสนอกลไกสนับสนุนที่ต้องพัฒนา/ปรับปรุง
1. การพัฒนาระบบการเงิน การคลัง
2. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
3. การปรับปรุงแก้ไข บังคับใช้กฎหมายการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง
---------------------------------------------
ข้อเสนอเร่งด่วนภายใน 1-3 เดือน
1. มีคณะกรรมการต่อไปนี้ ทำงานใน 5 ปี และยุบเลิกเมื่อครบ 5 ปี คือ
1.1 คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา: นายกฯเป็นประธาน เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
1.2 คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา: รมต.กระทรวงศึกษาฯ ประธาน เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
2. จัดตั้ง
2.1 สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ
2.2 กองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2.3 สถาบันคุรุสภาแห่งชาติ
2.4 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ
3. เร่งทบทวนระบบบริหารโดยองค์คณะบุคคล 3 เรื่อง คือ วิธีการได้มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่
----------------------------------------------
ประเด็นน่ารู้ในข้อเสนอฯ
+ การบริหารจัดการการเงินและงบประมาณโดยเน้นอุปสงค์หรือผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียกว่า Demand Side
+ การฝึกอบรมผู้ฝึกอบรม เรียกว่า Training the Trainers
+ ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เรียกว่า Performance-Based Budgeting หรือ PBB
+ เรื่องที่ สพฐ.รับผิดชอบในกลไกเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ คือ“ประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียน” โดยประเมินผลผู้เรียนในชั้นเรียนสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น เป็นการวัดผลระดับชาติ
+ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เรียกว่า “Nation Qualification Framework”
+ คุณวุฒิวิชาชีพ เรียกว่า “Vocational Qualification”
+ สพท. ปรับและพัฒนา “ยุทธศาสตร์เชิงวิชาการ” คือ ลดภาระงานเชิงธุรการและการสั่งการ แต่เน้นการให้คำปรึกษา ส่งเสริมสถานศึกษาในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งขึ้น สร้างกลไกป้องกันการเข้าสู่ตำแหน่งโดยไม่ชอบธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม