ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 430/2556ชุมแพโมเดล : แนะแนวการเรียนรู้สู่อาชีพ
อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน “ชุมแพโมเดล : แนะแนวการเรียนรู้สู่อาชีพ” พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการของชุมแพโมเดล เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556 ที่วิทยาลัยการอาชีพชุมแพ โดยมี ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหาร ศธ. ผู้บริหารโรงเรียน ครูแนะแนว ครูประจำชั้น นักเรียนที่กำลังจะจบชั้น ม.3 จากโรงเรียนทุกสังกัดใน 7 อำเภอ พร้อมทั้งผู้ปกครอง และเครือข่ายสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สถานประกอบการ บริษัท โรงงาน เข้าร่วมกว่า 10,000 คน
- ความจำเป็นต่อการพัฒนากำลังคนของประเทศ
รมว.ศธ.กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังแข่งขันกับประเทศต่างๆ ไปพร้อมกับการจะต้องมีความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งแต่ละประเทศกำลังปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง เพื่อใช้เป็นจุดเน้น ส่งเสริมและสร้างศักยภาพในด้านต่างๆ เท่ากับเป็นการยกระดับพัฒนากำลังคนของประเทศ โดยเฉพาะการที่จะต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตและพัฒนา ทำให้ประเทศไทยต้องพัฒนากำลังคนให้มีฝีมือและทักษะที่สอดคล้องกับกระบวนการผลิต
นอกจากนี้ มีข้อค้นพบขององค์กรระหว่างประเทศ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการพัฒนากำลังคน กล่าวคือ หากพัฒนากำลังคนดีจะส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจดีไปด้วย ยิ่งพัฒนากำลังคนได้ดีมากเท่าใด ก็จะช่วยผลักให้เศรษฐกิจดีขึ้นเท่านั้น และเมื่อเศรษฐกิจดีก็จะมีงบประมาณมาพัฒนากำลังคนต่อไป ทำให้ประเทศประสบความสำเร็จจากการศึกษาและการพัฒนากำลังคนที่ดี
- สภาวะแรงงานไทย ที่สวนทางกับความต้องการของฝ่ายผลิต
เมื่อ 20-30 ปีก่อน ประเทศไทยถูกมองว่า อาจจะไม่สามารถพัฒนาประเทศได้ทันประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เนื่องจากกำลังคนภาคการผลิตมีการศึกษาต่ำมาก ซึ่งก็เกิดขึ้นจริงๆ ในเวลาต่อมา เพราะแม้ว่าเศรษฐกิจของไทยจะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกัน ประเทศเหล่านั้นก้าวหน้าไปไกลมาก เนื่องจากมีการพัฒนากำลังคนให้มีการศึกษาโดยเฉลี่ยสูงกว่าประเทศไทย
และข้อมูลในปี 2008 ยังพบว่าแรงงานของไทยมีระดับการศึกษาที่ต่ำมากในขั้นน่าเป็นห่วง จึงเป็นหน้าที่ของ ศธ.ที่จะต้องศึกษาเพื่อหาคำตอบว่า เราจัดให้มีการศึกษาภาคบังคับ มีการเรียนฟรี 12 ปี แต่เหตุใดกำลังแรงงานไทยจึงมีการศึกษาต่ำ แล้วแรงงานเหล่านั้นเข้าสู่ระบบแรงงานเมื่อใด มีสัดส่วนเท่าใด จะต้องหาตัวเลขที่ชัดเจนต่อไป
นอกจากนี้ แรงงานที่จบแค่ชั้น ม.3 กว่าแสนคนที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งก็ไม่ได้เรียนต่อสายอาชีวะเพิ่มเติม จึงเป็นเรื่องที่สวนทางกับความต้องการของฝ่ายผลิตและภาคเอกชน ที่กำลังต้องการกำลังคนที่มีศักยภาพในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจที่กำลังเจริญเติบโต มีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งหากการจัดการศึกษายังเป็นอยู่เช่นนี้ โอกาสที่จะไปแข่งขันกับประเทศใดก็เป็นเรื่องยาก
- เน้นเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะ เป็นไปตามความสมัครใจ และอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
ฉะนั้น ในการจัดการศึกษา จำเป็นต้องพัฒนาและผลิตคนให้ตรงกับความต้องการ ซึ่ง ศธ.ได้ตั้งเป้าหมายเพื่อปรับสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะต่อสายสามัญจากปัจจุบัน 34 : 66 ให้เป็น 51 : 49 ในปี 2558 แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ความสำคัญกับสายสามัญ เพราะหากสัดส่วน 49 ของสายสามัญมีคุณภาพ สามารถศึกษาต่อในระดับต่างๆ และมีงานทำ ก็เป็นจำนวนที่ไม่น้อยเกินไป แต่สิ่งสำคัญคือขณะนี้สัดส่วน 66 ของสายสามัญที่เรียนอยู่ มีจำนวนมากที่เรียนเพื่อให้ได้ปริญญาโดยไม่มีงานทำ และเป็นปริญญาที่ไม่มีคุณภาพจำนวนมาก หากเราสามารถก้าวไปสู่สัดส่วน 51 : 49 อย่างมีคุณภาพ ก็จะทำให้การศึกษาทั้งสองส่วนดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม จะไม่ใช้ตัวเลขบังคับหรือกะเกณฑ์ให้เด็กไปเรียนสายอาชีพ แต่จะดำเนินการบนพื้นฐานของเหตุผลและความสมัครใจ สิ่งสำคัญคือฝ่ายอาชีวะจะต้องมีการพัฒนาอย่างจริงจัง ซึ่งการยกระดับอาชีวศึกษาก็เป็นนโยบายสำคัญของ ศธ. และรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดคุณภาพขึ้นจริง
นอกจากนี้ ได้มีการร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เชิญเอกชนและภาคอุตสาหกรรมทั้ง 12 ประเภท มาร่วมเป็นอนุกรรมการ กำหนดหลักสูตรตามความต้องการกำลังคน การอบรม ทดสอบ ประเมินผล ทั้งระบบตลอดกระบวนการ เพื่อเริ่มนำไปใช้ในหลายส่วนตั้งแต่ในปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป รวมทั้งร่วมมือกับประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการอาชีวศึกษา โดยจะนำโมเดลมาปรับใช้ในการกำหนดหลักสูตร ฝึกอบรม เพื่อทำให้มาตรฐานการอาชีวศึกษาสูงขึ้น และตรงกับความต้องการของภาคเอกชนต่อไป
- "ชุมแพโมเดล" : รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพ
รมว.ศธ.กล่าวว่า ในส่วนของ "ชุมแพโมเดล" ถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 5 และวิทยาลัยการอาชีพชุมแพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนต่อระดับชั้น ม.4 สายอาชีวะกับสายสามัญเป็น 51 : 49 ตามนโยบายของ ศธ. ภายใต้หลักการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory) เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการให้มีสมรรถนะสูงขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมในการกระบวนการบริหารจัดการ โดยมีแนวคิดหลัก 5 ด้าน ดังนี้
1) การปรับกระบวนทัศน์ สพป.ต้องปรับวิธีคิดและวิถีปฏิบัติ ปรับบทบาทจากผู้อำนวยความสะดวกเป็นผู้บริหารจัดการ โดยเน้นผลลัพธ์ (Outcome) มากว่าเน้นผลผลิต (Output)
2) การแนะแนวเชิงรุก ให้นักเรียนได้รับการแนะแนวจากสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาโดยตรง
3) การแนะแนวผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจต่อของนักเรียน คือ ผู้ปกครอง ครู และครูประจำชั้น
4) มองงานเห็นรายได้ ให้นักเรียนเห็นสภาพจริง มองเห็นอนาคต ทั้งอาชีพ ตำแหน่งงาน รายได้ และความมั่นคงในชีวิต
5) ดูแลเมล็ดพันธุ์อาชีวะ สถานศึกษาที่เปิดสอนอาชีวศึกษาที่นักเรียนตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ต้องมีปฏิสัมพันธ์ สื่อสารให้ข้อมูลกับเด็กและผู้ปกครอง ครูที่ปรึกษาของนักเรียนเป็นระยะๆ จนกระทั่งนักเรียนรายงานตัวและลงทะเบียนเรียน
ทั้งนี้ การแนะแนวถือเป็นภารกิจร่วมกันของทั้งสององค์กร การที่เขตพื้นที่การศึกษารับเป็นเจ้าภาพ เป็นการทำงานครั้งเดียวร่วมกันหลายๆ โรงเรียน โดยมีอาชีวะเป็นผู้ให้ข้อมูล และเอกชนเข้ามาย้ำให้นักเรียนเห็นว่าความต้องการมีอยู่จริง การพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างไร เรียนจบจะมีงานทำ มีรายได้อย่างไร ความร่วมมือนี้ก็จะเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย เอกชนก็จะได้บุคลากร กำลังคนที่มีฝีมือ มีทักษะที่สูงขึ้น และตรงกับความต้องการ ทำให้สามารถผลิตและแข่งขันกับต่างประเทศได้ดีขึ้น เพราะในเวลานี้เราต้องคุยกันเรื่องแนะแนวอาชีพ เพราะเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศ ในขณะเดียวกันความสนใจในการศึกษาสายสามัญก็ยังมีอยู่อย่างแพร่หลาย ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องละเลย
- ชื่นชมการดำเนินงานของ สพป.ขอนแก่น เขต 5
โอกาสนี้ รมว.ศธ.กล่าวแสดงความชื่นชม สพป.ขอนแก่น เขต 5 ที่ได้นำนโยบายของ ศธ.ไปปรับสู่การปฏิบัติในหลายเรื่องเป็นตัวอย่างที่ดี รวมทั้งการแสดงผลสัมฤทธิ์ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ในบางอำเภอไม่เป็นที่น่าพอใจ และนำมาวิเคราะห์จนพบว่า เกิดจากการขาดแคลนครูในวิชาต่างๆ ซึ่งก็ได้ดำเนินการเกลี่ยครู ทำให้มีครูที่จบสอนตรงกับวิชาเอกที่เรียนมาสอนในวิชาหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการให้โบนัสหรือความดีความชอบ โดยเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและผลงาน ซึ่งตรงกับความต้องการของ ศธ.ที่ต้องการให้เขตพื้นที่การศึกษามีความรับผิดชอบ (Accountability) ร่วมกันทั้งประเทศ
- ฝากให้จัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง-เขตพื้นที่การศึกษา-สถานศึกษา และบทบาทที่เน้นอิสระในการทำงาน
รมว.ศธ.ได้กล่าวฝากให้เขตพื้นที่การศึกษาคิดในเรื่องต่างๆ อาทิ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียน ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในแต่ละเขตเป็นอย่างไร มีจุดแข็งหรือประสบความสำเร็จเพราะอะไร มีจุดอ่อนหรือไม่ประสบความสำเร็จเพราะอะไรและจะแก้ไขได้อย่างไร ซึ่งจะต้องดำเนินการในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ เป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่าง ศธ.กับเขตพื้นที่การศึกษา และ สพฐ.กับเขตพื้นที่การศึกษา หากจัดความสัมพันธ์ได้ดี อะไรที่ควรเป็นหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา อะไรที่เขตพื้นที่การศึกษาจะต้องเป็นรับผิดชอบต่อ สพฐ. ต่อ ศธ. ขณะเดียวกันก็ต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ก็จะทำให้เขตพื้นที่การศึกษารู้หน้าที่ของตัวเอง รู้ว่าจะถูกประเมินอย่างไร
ขณะเดียวกัน สิ่งที่เป็นบทบาทหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษานั้น สพฐ.ก็ไม่ควรสั่งการหรือกำกับในรายละเอียดมากเกินไป ต้องเปิดโอกาสให้เขตพื้นที่การศึกษามีอิสระในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นบทบาทระหว่างเขตพื้นที่การศึกษากับโรงเรียนก็ต้องใช้หลักการนี้เช่นกันด้วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.
กพฐ.เปิดรับสมัครสอบครูผู้ช่วย 9-15 ธ.ค.นี้ จัดสรรงบประมาณ 4,700 อัตรา ด้าน ผอ-รอง ผอ.แบ่งสอบ 2 กลุ่ม คาดเปิดสอบ 60 ตำแหน่ง ระบุหากเคยเป็นหัวหน้าการประถมศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี พิจารณาเป็นพิเศษ | ||||
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สพฐ.ยังเตรียมการที่จะสอบคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สพฐ.ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยจะแบ่งการสอบคัดเลือกออกเป็น กลุ่มทั่วไป และกลุ่มประสบการณ์ ซึ่ง สพฐ.ได้ขอแก้ไขหลักเกณฑ์ไปยัง ก.ค.ศ.เพื่อให้ปรับข้อสอบใหม่ให้มีเนื้อหาที่ชัดเจน มีความทันสมัยจะได้ไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบกัน อีกทั้งจะต้องมีการประกาศให้ทราบเรื่องนี้ล่วงหน้านานๆ ส่วนการขึ้นบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้จะให้มีการขึ้นบัญชีเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้ก่อนจะสอบคัดเลือกดังกล่าว สพฐ.จะเรียกผู้ที่สอบขึ้นบัญชีรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษาในปี 2555 มาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่ยังว่างก่อน จากนั้นจึงจะนำอัตราว่างสุทธิไปสอบคัดเลือกครั้งใหม่ต่อไป สำหรับการสอบคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ผอ.สพม.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ผอ.สพป.) กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการของ สพฐ.โดยมีอัตราว่างที่จะเปิดสอบรวมประมาณ 60 ตำแหน่ง เมื่อถามว่ากรณีที่ สพฐ.จะมีการแก้มาตรฐานตำแหน่งเพื่อให้กลุ่มรอง ผอ.สพป.และรอง ผอ.สพม.สามารถสอบคัดเลือกเป็น ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาข้ามสายได้ นายอภิชาติ กล่าวว่า ตนได้ทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้รอง ผอ.สพป.ที่คิดว่าตนเองมีประสบการณ์ตามมาตรฐานตำแหน่งของ ก.ค.ศ.ส่งหลักฐานมาให้ สพฐ.ตรวจสอบ เช่น เคยเป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอแล้วมีโรงเรียนที่เปิดขยายโอกาสมัธยมศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จะมีการพิจารณาเป็นรายกรณีไปว่าจะมีประสบการณ์ตามที่กำหนดไว้ 5 ปี ตามมาตรฐานตำแหน่งของ ก.ค.ศ.หรือไม่ โดยเรื่องนี้สามารถเทียบเคียงประสบการณ์ได้และไม่จำเป็นต้องแก้เกณฑ์มาตรฐานตำแหน่งที่จะต้องใช้เวลา ส่วนกรณีของรอง ผอ.สพม.ที่ต้องการจะมาสมัครเป็น ผอ.สพป.ก็จะใช้เกณฑ์เดียวกันคือให้ส่งหลักฐานมาให้ สพฐ.ตรวจสอบเช่นกัน |
ที่มา http://women.mthai.com
เปิดทาง อ.ก.ค.ศ.พื้นที่ จัดสอบครูผู้ช่วย 20 ธ.ค.
นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญ เกี่ยวกับนโยบายและระบบบริหารงานบุคคล เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ข้อสรุปในเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอพิจารณาเรื่องการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2556 แล้ว ซึ่งการสอบครั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่แตกต่างจากการสอบครั้งที่ผ่านมา ได้แก่ การสอบจะให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้ดำเนินการทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับสมัคร การสอบคัดเลือก การออกข้อสอบ และการประกาศผลรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา โดยจะแยกการสอบในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งหลักเกณฑ์เดิมทาง สพฐ.จะเป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบ ส่วนหลักสูตรการสอบคัดเลือกจะสอบข้อเขียน ภาค ก. และ ภาค ข. ก่อน โดยจะต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ถึงจะมีสิทธิ์ในการสอบภาค ค. หรือการสอบสัมภาษณ์ต่อไป โดยหลักเกณฑ์เดิมจะสอบภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. แล้วรวมคะแนนประกาศผล
ส่วนปฏิทินการรับสมัครสอบคัดเลือกจะต้องรอ สพฐ.กำหนดวันมาอีกครั้ง คาดว่าจะรับสมัครช่วงต้นเดือนมกราคม สอบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ แต่ทั้งหมดนี้จะต้องเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาเห็นชอบในวันที่ 20 ธันวาคมนี้ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดสอบครั้งนี้มี 75 เขตพื้นที่ฯ แบ่งเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 51 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 24 เขต มีตำแหน่งว่างที่จะเปิดสอบจำนวน 1,068 ตำแหน่ง และมี 34 กลุ่มวิชาที่จะเปิดสอบ อย่างไรก็ตาม สำหรับความคืบหน้าที่ สพฐ.ขอปรับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ หรือ ว12 โดยขอให้ปรับคะแนนภาค ก. เป็น 100 คะแนน ภาค ข. เป็น 100 คะแนน และภาค ค. ปรับเป็น 150 คะแนน นั้นยังไม่ได้ข้อสรุปและอยู่ระหว่างการพิจารณา และจะต้องเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาต่อไป
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเสนอปรับเกณฑ์การสรรหาผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้แนวทางที่จะเสนอให้ ก.ค.ศ.พิจารณาเพิ่มเติมจากแนวทางของคุรุสภาที่จะเป็นผู้เสนอรายชื่อผู้แทนคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 คนให้ ก.ค.ศ.เห็นชอบ โดยจะเพิ่มแนวทางเลือกอื่นคือ ให้คุรุสภาและเขตพื้นที่การศึกษาเสนอรายชื่อมา 2 รายชื่อ รวมเป็น 4 รายชื่อ จากนั้นให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองคัดให้เหลือ 1 คน เพื่อนำเสนอให้ ก.ค.ศ.เลือก หรือให้คุรุสภาและเขตพื้นที่การศึกษาเสนอรายชื่อมาจำนวนหนึ่ง และสุดท้ายคัดให้เหลือฝ่ายละ 1 คน รวมเป็น 2 คน ที่จะเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 1 คน เพื่อเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น