ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 432/2556ประชุมผู้ บริหารองค์กรหลัก 14/2556
- รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้
จากการที่ ศธ.ได้ประกาศมาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ตามนโยบาย “อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ต้องไม่มี” ต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยมีผลการตรวจสอบและคัดกรองนักเรียน (Scan) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ทั่วประเทศ พร้อมทั้งจำแนกผลการประเมินเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 อ่านไม่ได้ ได้แก่ นักเรียน ป.3 จำนวน 33,084 คน คิดเป็นร้อยละ 6.43 และ ป.6 จำนวน 12,845 คน คิดเป็นร้อยละ 2.51
- กลุ่มที่ 2 อ่านได้และเข้าใจเรื่องบ้าง ได้แก่ นักเรียน ป.3 จำนวน 184,598 คน คิดเป็นร้อยละ 35.89 และ ป.6 จำนวน 180,822 คน คิดเป็นร้อยละ 35.40
- กลุ่มที่ 3 อ่านได้และเข้าใจเรื่องดี ได้แก่ นักเรียน ป.3 จำนวน 271,203 คน คิดเป็นร้อยละ 52.73 และ ป.6 จำนวน 291,865 คน คิดเป็นร้อยละ 57.14
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
สพฐ.ได้วางแผนการพัฒนาผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม ตามผลประเมิน ดังนี้
- ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นการแก้ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย ระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม 2556 ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซมหานาค ซึ่งที่ประชุมได้เสนอแนะวิธีการแก้ไข คือ 1) ผู้บริหารและครูผู้สอนควรตระหนักถึงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ความร่วมมือจากบุคลากรในโรงเรียน การนิเทศติดตาม ตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และการได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง 2) วิธีการสอนให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เช่น - การใช้เพลงหรือบทร้องเล่น ได้แก่ สระพาเพลิน - นิทาน ได้แก่ นิทานสระ มีแบบฝึกหัดเสริม - แบบฝึกทักษะ ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งประโยคจากภาพและคำ แบบฝึกเสริมการคิด เขียนเป็นประโยค และแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
- การสาธิตรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ในงาน “สุดยอดการเรียนภาษาและคิดวิเคราะห์” ระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคม 2556 ที่โรงแรมเซ็นทราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ห้องบริบาล ห้องเรียนทวิภาษาเต็มรูปแบบ ห้องเรียนอ่าน คิดวิเคราะห์ และการสื่อสารแบบ BBL ห้องเรียนอ่าน คิดวิเคราะห์ แบบมอนเตสซอรี การฝึกทดสอบการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการสื่อสารแบบ PISA และการถามตอบปัญหาภาษาไทย และการเสวนาภูมิใจภาษาไทยภาษาชาติ โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ภาษาไทยในอาชีพ
- จัดทำหนังสือ “แนวการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียน” จำนวน 7 รายการ ให้กับโรงเรียนทุกโรงเรียน เพื่อสอนและซ่อมเสริมนักเรียน (ซ่อมเสริมการอ่าน...) ภายในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
- จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม 1 (ตอนต้น/ตอนกลาง/ตอนปลาย) จำนวน 600,000 เล่ม เพื่อใช้สอนการอ่านภาษาไทยที่ถูกหลัก โดยจะแจกให้แก่นักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและการเขียน และนักเรียน ป.1 ทุกคน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
- จัดทำคลังความรู้ “อ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้” ผ่านทางเว็บไซต์ http://academic.obec.go.th/web/node/318 ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลหนังสือ แบบฝึกทักษะ การจัดกิจกรรมการสอนภาษาไทยที่ได้ผล และเว็บไซต์ด้านภาษาไทย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนและผู้ที่สนใจ
- การติดตามความก้าวหน้ากลุ่มที่ 1 สพฐ.ได้ติดตามการดำเนินงานตามมาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 7 เขต และโรงเรียน 14 โรงเรียน โดยมีผลสรุปดังนี้
1) เขตพื้นที่การศึกษา พบว่า ทุกเขตพื้นที่การศึกษาให้ความสำคัญกับมาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ โดยได้ดำเนินการชี้แจงแนวนโยบายและมาตรการให้แก่ผู้บริหารโรงเรียนรับทราบ จัดทำแผนพัฒนาตามมาตรการเร่งรัดส่งให้กับโรงเรียน จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU)หรือปฏิญญาร่วมกับผู้บริหารโรงเรียน จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนโรงเรียน ได้แก่ ประชุมครูผู้สอนเกี่ยวกับเทคนิคการสอนอ่านและเขียน จัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายให้กับครูผู้สอนซ่อมเสริมนอกเวลาราชการ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวเทคนิคการสอนการอ่าน และจัดสรรสื่อเกี่ยวกับการอ่านการเขียนให้กับทุกโรงเรียน ซึ่งขณะนี้ทุกเขตพื้นที่การศึกษาได้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการแล้ว นอกจากนี้ยังมีการนิเทศติดตาม ซึ่งทุกเขตพื้นที่การศึกษามีการจัดทำปฏิทินการนิเทศติดตามที่ชัดเจน และมีบางเขตพื้นที่การศึกษาจัดตั้งเป็นคณะนิเทศติดตามด้วย
2) โรงเรียน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนได้จัดประชุมชี้แจงมาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องให้ครูผู้สอนทราบ สนับสนุนให้ครูผู้สอนพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอนภาษาไทย จัดทำแผนพัฒนาการอ่านการเขียนของนักเรียน สนับสนุนงบประมาณการสอนเสริมของครู ซื้อ/ผลิตสื่อ นิเทศและติดตามการทำงาน
3) ครูผู้สอน พบว่า ได้มีการจัดทำข้อมูลการอ่านการเขียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการสอนเพิ่มเติม จัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาสำหรับปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ ครูไม่เพียงพอ ครูภาษาไทยไม่ได้จบวิชาเอกภาษาไทย การอบรมทำให้ครูทิ้งการสอน บางโรงเรียนนักเรียนใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสาร
ได้ดำเนินการพัฒนาวิทยากรแกนนำการอ่านให้กับเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต จัดแข่งขันทักษะภาษาไทย และจัดทำคลังความรู้ “อ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้” ผ่านทางเว็บไซต์ http://academic.obec.go.th/web/node/318 ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลหนังสือ แบบฝึกทักษะ การจัดกิจกรรมการสอนภาษาไทยที่ได้ผล และเว็บไซต์ด้านภาษาไทย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนและผู้ที่สนใจ
3. การดำเนินงานพัฒนานักเรียนกลุ่มที่ 3 อ่านได้และเข้าใจเรื่องดี
ได้ดำเนินการพัฒนาวิทยากรแกนนำการอ่านให้กับเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต และจัดทำแผนยุทธศาสตร์และกำหนดมาตรการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) และดำเนินการตามแผน
การบริหารจัดการภาพรวม
สพฐ.ได้จัดทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่าง สพฐ. กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จัดสรรงบประมาณสนับสนุนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาแผนยุทธศาสตร์โครงการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ รวมทั้งจัดทำ (ร่าง) คู่มือการดำเนินงาน
นอกจากนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 183 เขต และมัธยมศึกษา 5 เขต ได้รายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการ ได้แก่ การกำหนดมาตรการเร่งรัดการอ่าน การจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาการอ่าน การประชุมชี้แจง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง/ชุมชน พัฒนาครูผู้สอน ประกวดสื่อ นวัตกรรม และการถอดประสบการณ์การเรียนการสอน การจัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผลโรงเรียน จัดทำแผนนิเทศและติดตาม การจัดทำข้อมูลการอ่านการเขียนของนักเรียนเป็นรายบุคคลทั้งรูปแบบเอกสารและออนไลน์ และการเสริมสร้างขวัญและกำลังให้กับบุคลากรทั้งในเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน
ทั้งนี้ มีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับงบประมาณในการอบรม/พัฒนาครู ระยะเวลาในการพัฒนาไม่เพียงพอ นโยบายเร่งด่วนทำให้กระทบกับการบริหารจัดการตามแผนงานของเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหาร/ครูบางส่วนไม่ให้ความสำคัญ ครูภาษาไทยไม่เพียงพอ ครูมีภาระการสอนมากเกินไป ปัญหาเชื้อชาติ สังคม และเศรษฐกิจ ปัญหาความบกพร่องของนักเรียน และเวลาเรียนภาษาไทยน้อยเกินไป
การดำเนินงานช่วงต่อไป
- จัดทำคู่มือ/แนวดำเนินงานตามมาตรการ
- สรุปผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียนตามมาตรการ
- จัดทำ/เพิ่มเติมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ทั้ง 3 กลุ่ม ผ่าน http://academic.obec.go.th/web/node/318
- ตรวจสอบและคัดกรองการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียน ป.3 และ ป.6 รอบ 2 โดยประสานกับสำนักทดสอบทางการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างข้อสอบ วางแผน และกำหนดเวลาสอบที่เหมาะสม (ก่อนสอบปลายภาค)
- สร้าง/พัฒนาความเข้มแข็งให้กับศึกษานิเทศก์และครูผู้สอนให้เป็นผู้ชี้แนะการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพให้ครบทุกเขตพื้นที่การศึกษา
- จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความหมาย โดยใช้รูปแบบพหุระดับ (ระดับโรงเรียน ห้องเรียน และนักเรียน)
- สรุปผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียนตามมาตรการ
- จัดทำ/เพิ่มเติมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ทั้ง 3 กลุ่ม ผ่าน http://academic.obec.go.th/web/node/318
- ตรวจสอบและคัดกรองการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียน ป.3 และ ป.6 รอบ 2 โดยประสานกับสำนักทดสอบทางการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างข้อสอบ วางแผน และกำหนดเวลาสอบที่เหมาะสม (ก่อนสอบปลายภาค)
- สร้าง/พัฒนาความเข้มแข็งให้กับศึกษานิเทศก์และครูผู้สอนให้เป็นผู้ชี้แนะการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพให้ครบทุกเขตพื้นที่การศึกษา
- จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความหมาย โดยใช้รูปแบบพหุระดับ (ระดับโรงเรียน ห้องเรียน และนักเรียน)
- การผลิตคนสนองความต้องการเร่งด่วนและการพัฒนาประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการการผลิตคนสนองความต้องการเร่งด่วนและการพัฒนาประเทศ ซึ่งดำเนินการตาม “ชุมแพโมเดล” ซึ่งเป็นรูปแบบความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 5 และวิทยาลัยการอาชีพชุมแพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนต่อระดับชั้น ม.4 สายอาชีวะกับสายสามัญเป็น 51 : 49 ตามนโยบายของ ศธ. ภายใต้หลักการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory) เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการให้มีสมรรถนะสูงขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมในการกระบวนการบริหารจัดการ โดยมีแนวคิดหลัก 5 ด้าน ดังนี้
1) การปรับกระบวนทัศน์ สพป.ต้องปรับวิธีคิดและวิถีปฏิบัติ ปรับบทบาทจากผู้อำนวยความสะดวกเป็นผู้บริหารจัดการ โดยเน้นผลลัพธ์ (Outcome) มากว่าเน้นผลผลิต (Output)
2) การแนะแนวเชิงรุก ให้นักเรียนได้รับการแนะแนวจากสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาโดยตรง
3) การแนะแนวผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจต่อของนักเรียน คือ ผู้ปกครอง ครู และครูประจำชั้น
4) มองงานเห็นรายได้ ให้นักเรียนเห็นสภาพจริง มองเห็นอนาคต ทั้งอาชีพ ตำแหน่งงาน รายได้ และความมั่นคงในชีวิต
5) ดูแลเมล็ดพันธุ์อาชีวะ สถานศึกษาที่เปิดสอนอาชีวศึกษาที่นักเรียนตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ต้องมีปฏิสัมพันธ์ สื่อสารให้ข้อมูลกับเด็กและผู้ปกครอง ครูที่ปรึกษาของนักเรียนเป็นระยะๆ จนกระทั่งนักเรียนรายงานตัวและลงทะเบียนเรียน
นอกจากนี้ สอศ.แจ้งในที่ประชุมว่า ได้ขอให้ สทศ.ได้พิจารณาการประเมินการสอบ V-Net ที่ต้องการให้ข้อทดสอบเน้นการปฏิบัติมากขึ้น รวมทั้งหากเรียนระบบทวิภาคีครึ่งหนึ่งของเวลาเรียนตามหลักสูตร อาจจะไม่ต้องขอสอบ V-Net เพื่อให้ปลดล็อกการเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีวะด้วย
- การจัดทำข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง (ศทก.สป.) ได้รายงานความก้าวหน้าในการจัดทำข้อมูลข้าราชการครูฯ ว่าได้จัดการประชุมผู้เกี่ยวข้องขององค์กรหลัก/หน่วยงาน ศธ. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556 ซึ่งพบว่าสถานภาพปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรของหน่วยงานใน ศธ. ได้แยกกันจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
- สพฐ. จัดเก็บข้อมูลเป็นแบบ Online แต่ไม่ Real Time จัดเก็บปีละ 1 ครั้ง ใช้ระบบ EMIS ในการจัดเก็บข้อมูลครูที่อยู่ในสถานศึกษาเท่านั้น และได้จัดส่งข้อมูลรายบุคคลครูให้ ศทก.สป. แล้ว
- สอศ. จัดทำข้อมูลรายบุคคลครู เมื่อปี 2555 แล้วหยุดดำเนินการ แต่ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดเก็บข้อมูล เป็นแบบ Real Time หากมีการย้าย โอน สถานศึกษาจะเป็นผู้กรอกข้อมูลผ่านระบบงานคลังข้อมูลบุคลากร
- สกอ. จัดเก็บข้อมูลรายบุคคลครูเสร็จเรียบร้อยแล้ว จัดเก็บข้อมูลปีละ 1 ครั้ง โดยใช้ระบบการนำส่งข้อมูลรายบุคคล Online กำลังจัดส่งให้ ศทก.สป.
- สช. จัดเก็บข้อมูลเฉพาะสถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุนเท่านั้น ส่วนสถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน จะไม่ส่งข้อมูลรายบุคคลครู แต่จะส่งข้อมูลสถิติ ซึ่งจัดเก็บผ่านระบบ PSIS โดยข้อมูลมีไม่ครบทุกรายการที่กระทรวงกำหนด ขณะนี้ข้อมูลรายบุคคลครูเสร็จเรียบร้อยแล้วจัดส่งให้ ศทก.
- กศน. จัดเก็บข้อมูลใช้ระบบ e-Citizen ของ ศทก. โดยจัดเก็บข้อมูลปีละ 1 ครั้ง ขณะนี้ข้อมูลรายบุคคลครูเสร็จเรียบร้อยแล้วกำลังจัดส่งให้ ศทก.
- คุรุสภา ใช้ระบบ TEPIS ในการจัดเก็บข้อมูลรายบุคคลครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด ยกเว้นข้อมูลระดับอุดมศึกษา โดยปรับปรุงข้อมูลทุก 5 ปี (ปี พ.ศ.2556 เป็นปีล่าสุด)
- ก.ค.ศ. ใช้ระบบ CMSS ในการจัดเก็บข้อมูลรายบุคคลของครูและบุคลากรของทุกสังกัด ซึ่งมีรายละเอียดของข้อมูลตาม ก.ค.ศ. 16 (หรือ กพ.7เดิม) และมีระบบงานบริหารงานบุคคลเพิ่มเติม ซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการทำงานของระบบหลัก โดยมีระบบเลื่อนขั้นเงินเดือน ระบบย้าย ระบบรายงาน ซึ้งสถานศึกษาจะเป็นผู้กรอกข้อมูลเอง เมื่อมีกิจกรรมใดเกิดขึ้น เพื่อช่วยในการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (Real Time)
- ศทก.ปส. เป็นหน่วยงานกลางของ ศธ. ที่จัดเก็บข้อมูลข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยจัดเก็บในรูปแบบของสถิติ และรายบุคคลได้รับข้อมูลจากหน่วยงานทั้งในและนอก ศธ. ซึ่งจัดเก็บปีละ 1 ครั้ง
จากการจัดเก็บข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2556 มีข้อมูลรายบุคคลครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด ศธ. ปีการศึกษา 2555 รวม 916,710 คน ดังนี้
- สพฐ. 527,729 คน
- สอศ. 41,717 คน
- สกอ. 227,326 คน
- สช. 98,548 คน
- กศน. 18,304 คน
- สป.(ก.ค.ศ., สป.เดิม) 1,344 คน
- อื่นๆ (สกศ., คุรุสภา, ฯลฯ) 1,742 คน
นอกจากนี้ มีข้อเสนอในการจัดทำข้อมูล คือ ควรให้ ศทก.สป.เป็นหน่วยงานกลางของกระทรวงในการรวบรวม ประมวลผลข้อมูล และให้ทุกหน่วยงานจัดเก็บรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งมีการแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของการใช้ข้อมูลและประมวลผลข้อมูล
- กำหนดการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557
ที่ประชุมได้รับทราบ คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี 2557 คือ "กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทย ให้มั่นคง" รวมทั้งกำหนดการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557 โดยมี 3 กิจกรรมหลัก คือ
- กิจกรรมที่ 1 การแถลงข่าวการจัดงาน ในวันที่ 6 มกราคม 2557 เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุมราชวัลลภ
- การนำเด็กและเยาวชนดีเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ เข้าพบนายกรัฐมนตรีและรับโล่รางวัล ในวันที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 8.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี
- พิธีเปิดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ วันที่ 11 มกราคม 2557 ตั้งแต่เวลา 8.30 น.เป็นต้นไป ณ สนามเสือป่า
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบแผนความคืบหน้าในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดงาน วันครู ประจำปี 2557 ของ ศธ. ที่จะมีการเผยแพร่ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์ สื่อกิจกรรม และสื่ออื่นๆ ที่จะมีการถ่ายทอดสดงานวันครู 16 มกราคม 2557 จากหอประชุมคุรุสภา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.
เปิดทาง อ.ก.ค.ศ.พื้นที่ จัดสอบครูผู้ช่วย 20 ธ.ค.
นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญ เกี่ยวกับนโยบายและระบบบริหารงานบุคคล เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ข้อสรุปในเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอพิจารณาเรื่องการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2556 แล้ว ซึ่งการสอบครั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่แตกต่างจากการสอบครั้งที่ผ่านมา ได้แก่ การสอบจะให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้ดำเนินการทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับสมัคร การสอบคัดเลือก การออกข้อสอบ และการประกาศผลรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา โดยจะแยกการสอบในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งหลักเกณฑ์เดิมทาง สพฐ.จะเป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบ ส่วนหลักสูตรการสอบคัดเลือกจะสอบข้อเขียน ภาค ก. และ ภาค ข. ก่อน โดยจะต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ถึงจะมีสิทธิ์ในการสอบภาค ค. หรือการสอบสัมภาษณ์ต่อไป โดยหลักเกณฑ์เดิมจะสอบภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. แล้วรวมคะแนนประกาศผล
ส่วนปฏิทินการรับสมัครสอบคัดเลือกจะต้องรอ สพฐ.กำหนดวันมาอีกครั้ง คาดว่าจะรับสมัครช่วงต้นเดือนมกราคม สอบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ แต่ทั้งหมดนี้จะต้องเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาเห็นชอบในวันที่ 20 ธันวาคมนี้ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดสอบครั้งนี้มี 75 เขตพื้นที่ฯ แบ่งเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 51 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 24 เขต มีตำแหน่งว่างที่จะเปิดสอบจำนวน 1,068 ตำแหน่ง และมี 34 กลุ่มวิชาที่จะเปิดสอบ อย่างไรก็ตาม สำหรับความคืบหน้าที่ สพฐ.ขอปรับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ หรือ ว12 โดยขอให้ปรับคะแนนภาค ก. เป็น 100 คะแนน ภาค ข. เป็น 100 คะแนน และภาค ค. ปรับเป็น 150 คะแนน นั้นยังไม่ได้ข้อสรุปและอยู่ระหว่างการพิจารณา และจะต้องเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาต่อไป
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเสนอปรับเกณฑ์การสรรหาผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้แนวทางที่จะเสนอให้ ก.ค.ศ.พิจารณาเพิ่มเติมจากแนวทางของคุรุสภาที่จะเป็นผู้เสนอรายชื่อผู้แทนคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 คนให้ ก.ค.ศ.เห็นชอบ โดยจะเพิ่มแนวทางเลือกอื่นคือ ให้คุรุสภาและเขตพื้นที่การศึกษาเสนอรายชื่อมา 2 รายชื่อ รวมเป็น 4 รายชื่อ จากนั้นให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองคัดให้เหลือ 1 คน เพื่อนำเสนอให้ ก.ค.ศ.เลือก หรือให้คุรุสภาและเขตพื้นที่การศึกษาเสนอรายชื่อมาจำนวนหนึ่ง และสุดท้ายคัดให้เหลือฝ่ายละ 1 คน รวมเป็น 2 คน ที่จะเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 1 คน เพื่อเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น