ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ลิงค์ข้อสอบ ที่เกี่ยวข้องกับ "นโยบายรัฐบาล" โดย ติวสอบดอทคอม
http://tuewsob.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
http://www.tuewsob.com/rr164.html
http://www.tuewsob.com/rr%20157%20pu%201.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/132556.html
http://tuewsob.blogspot.com/2013/10/blog-post_31.html
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 426/2556
Video Conference กับเขตพื้นที่การศึกษา
Video Conference กับเขตพื้นที่การศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประชุมทางไกลกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)/มัธยมศึกษา (สพม.) 225 เขตทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 ที่ สพป.ปทุมธานี เขต 2 ถนนวิภาวดีรังสิต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
รมว.ศธ.กล่าวในการประชุมทางไกลในครั้งนี้ว่า ยินดีที่ได้มาร่วมพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งการประชุมโดยใช้เทคโนโลยีเช่นนี้เป็นประโยชน์มากในการระดมความคิดเห็น แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยพูดพร้อมกันทั่วประเทศเช่นนี้มาก่อน ขณะนี้แม้ว่าจะเป็นช่วงของการยุบสภา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่และยังคงอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีใหม่เข้ารับหน้าที่ แต่ก็จะไม่สามารถดำเนินการในหลายๆ เรื่องได้ อาทิ การแต่งตั้ง การอนุมัติงบประมาณหรือโครงการที่มีผลต่อคณะรัฐมนตรีใหม่ รวมทั้งไม่ให้จัดอบรมสัมมนาบุคลากร เป็นต้น
ส่วนการประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมเรื่องนโยบายที่ได้ประกาศไว้แล้ว ทั้งที่มีข้อสรุป และอยู่ระหว่างการระดมความคิดเห็นเพื่อให้ได้ข้อสรุป เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งหากไม่ดำเนินการ เมื่อถึงเวลาเปิดภาคเรียนในปี 2557 ก็จะไม่มีข้อสรุปที่สำคัญสำหรับใช้ดำเนินการตามกฎหมายงบประมาณ จึงถือเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการตามปกติต่อไป
รมว.ศธ.ได้กล่าวถึงผลความก้าวหน้าบางส่วนของนโยบายด้านการศึกษา ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ดังนี้● การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกันรมว.ศธ.กล่าวว่า หลักสูตรใหม่มีความก้าวหน้าถึง 80% แต่อาจจะเสร็จไม่ทันในปีการศึกษาหน้า ซึ่งการปฏิรูปหลักสูตรเกิดจากการศึกษาแนวคิดและผลการวิจัยต่างๆ และกระแสการผลิตคนของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่ให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคน ศธ.จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการ ระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ นักคิด และผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย จากนั้นได้เพิ่มบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการส่งเสริมให้หน่วยงานในสังกัดรับรู้ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่ เมื่อหลักสูตรแล้วเสร็จก็จะต้องส่งต่อให้กับ สพฐ.นำไปสู่การปฏิบัติในหลายๆ ด้าน เช่น - การจัดการเรียนการสอน ทำอย่างไรให้การสอนในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เด็กคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ไขปัญหา เรียนรู้จากโครงการ เรียนรู้ตลอดชีวิต และที่สำคัญที่สุด คือการเรียนการสอนที่เข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ความรู้หาได้ไม่จำกัด ซึ่งจะต้องสอนให้เด็กรู้ว่าควรหาข้อมูลอะไร หรือจะเรียนด้วยวิธีใด โดยเฉพาะครูเองต้องเปลี่ยนบทบาท จากการพูดสอนเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เด็กจดจำข้อมูลความรู้ เช่น จังหวัดปทุมธานีมีพื้นที่เท่าใด แต่ครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ ให้คิดเป็น ค้นคว้าเพิ่มเติม และวิพากษ์วิจารณ์ หรือโต้แย้งได้ รวมทั้งการจัดทำคลังความรู้ที่รวบรวมมาจาก Best Practice ทั้งในและต่างประเทศ จากระบบ Online เช่น Crown,YouTube, Internet เพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ ได้ศึกษาต่อยอดความรู้ และผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ เพิ่มขึ้น- การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ แต่ที่ผ่านมาเด็กไทยใช้เวลาเรียนถึง 12 ปี ก็ยังไม่สามารถสื่อสารได้ แม้แต่โรงเรียนที่มีครูต่างชาติมาสอนก็ไม่สามารถสื่อสารได้ เพราะไม่มีวิชาการสนทนา หรือบางโรงเรียนที่มีวิชาสนทนา แต่การจัดห้องเรียน/จำนวนนักเรียนก็ไม่เหมาะกับเรียนสนทนา คือ ไม่เกิน 20 คนต่อห้องเรียน นอกจากนี้ มีบางโรงเรียนได้เพิ่มชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษให้มากขึ้น ซึ่งก็เป็นผลดี เพราะการเรียนภาษาควรเรียนแบบเข้มข้น ตำราเรียน แบบเรียน ต้องมีคุณภาพ ที่ครูจะสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับนักเรียนได้ รวมทั้งการออกเสียง หากสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน ช่วยฝึกทักษะการฟังจากเสียงคำศัพท์ ก็จะทำให้ทั้งครูและเด็กออกเสียงได้อย่างถูกต้องเหมือนเจ้าของภาษา อย่างไรก็ตาม การสอนภาษาอังกฤษจะสอนเหมือนกันทุกโรงเรียนไม่ได้ แต่ละโรงเรียนจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนไปตามสภาพความพร้อมของครู ทรัพยากร อุปกรณ์ ฯลฯ- การเรียนการสอนภาษาจีน ปัจจุบันมีรายงานจำนวนผู้เรียนภาษาจีนในประเทศไทยถึง 7 แสนคน มีครูไทยและครูอาสาสมัครจากจีนเข้ามาสอนภาษาจีนในโรงเรียนต่างๆ จำนวนมาก แต่เมื่อถามถึงจำนวนผู้ที่สื่อสารภาษาจีนได้ หรือสามารถประกอบอาชีพล่าม/มัคคุเทศก์ ก็ไม่มีคำตอบ ซึ่งถือเป็นความสูญเปล่าของการเรียนภาษาอย่างมาก เพราะเด็กเรียน 3-6 ปี สามารถพูดได้ 2 คำเท่านั้น การสอนไม่เข้มข้น สอนเพียง 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บางโรงเรียนสอนวิชาภาษาจีนทั้งโรงเรียนและสอน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เท่ากับเป็นการบังคับเรียน เป็นวิชาบังคับ เพราะต้องเรียนทั้งชั้นเรียน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนไม่ได้ผล เพราะการสอนภาษาต่างประเทศใดก็ตาม จะให้ได้ผลดีต้องเรียนตามความสมัครใจ จึงขอให้ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อธิบายให้โรงเรียนเข้าใจว่า การเรียนภาษาควรถือเป็นวิชาเลือกมากกว่าวิชาบังคับ เพื่อให้เด็กที่มีความสนใจจริงๆ ได้เรียน โดยใช้ครูที่มีอยู่แล้วเป็นผู้สอน นอกจากนี้ ต้องเน้นให้มีวิชาการสนทนา มีตำราเรียนที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และมีเป้าหมายในการสอน เช่น สอนให้ฟังและพูดได้ก่อน จึงจะสอนอ่านและเขียน การสอนด้วย PinYin เป็นตัวช่วยให้ออกเสียงภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง การสอนเพื่อไปเป็นล่าม เป็นมัคคุเทศก์ เพื่อไปศึกษาต่อ สิ่งเหล่านี้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้ โดยไม่ต้องไปหาครูเพิ่ม เพราะหากไม่บังคับให้เรียน ผู้เรียนก็จะน้อยลงและการสอนก็จะมีความเข้มข้น ส่งผลให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย- การทดสอบและประเมินผล ศธ.กำลังจัดให้มีการทดสอบกลางระดับชาติ และนำมาใช้ในการทดสอบผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมากขึ้นโดยจะปรับสัดส่วนระหว่างข้อสอบกลางกับข้อสอบของโรงเรียน จากเดิม 20 : 80 เป็น 30 : 70 ในปี 2557 และ 50 : 50 ในปี 2558 ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีข้อสอบกลาง ใช้ระบบให้เกรดและหน่วยกิต และครู/โรงเรียนเป็นผู้วัดผลเอง โดยเฉพาะการให้เกรดก็ไม่สามารถให้เด็กตกได้ เพราะฉะนั้นจะให้ 0 ไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนเป็น 1 ต่อมาเมื่อมีการทดสอบ O-Net และ NT ก็ยังพบว่าสอบในบางชั้นเรียนเท่านั้น ไม่ครบทุกชั้น ซึ่งหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จ มักจะมีการทดสอบกลางและมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาการศึกษา เมื่อไม่มีระบบทดสอบกลาง ก็ทำให้จัดการศึกษาโดยไม่รู้ว่านักเรียนเรียนเป็นอย่างไร ต้องแก้ไขส่วนใดบ้าง ประกอบกับระบบเกรดที่ให้ 0 ไม่ได้ ก็ส่งผลให้นักเรียนจำนวนหนึ่งได้เลื่อนชั้นไปเรื่อยๆ จนถึง ม.1 แม้ว่าจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และมีนักเรียน ป.3 และ ป.6 อีกจำนวนกว่า 2 แสนคน ที่อ่านหนังสือไม่ออกอยู่ในขั้นที่ต้องปรับปรุง เมื่อเป็นเช่นนี้ นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกจะเรียนวิชาอื่นๆ ได้ดีอย่างไร ทั้งหมดเชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อกันไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย จากเรื่องเล่าของอาจารย์คนหนึ่งว่า แม้แต่นักศึกษาในคณะที่สอบเข้าเรียนยากมากๆ ก็ไม่สามารถทำข้อสอบแบบบรรยาย/แสดงความคิดเห็นได้ ทั้งห้องเรียนมีผู้สอบผ่านวิชานั้นเพียง 20% อีก 80% สอบไม่ผ่านเพราะไม่สามารถเขียนบรรยายได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้รับการติวเข้มเพื่อให้แก้โจทย์และสูตรต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ทำให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ไม่เป็น เขียนบรรยายไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ฝากให้ช่วยคิดวิธีการฝึกให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านรู้เรื่องได้ใจความ และนำบทเรียนมาปรับปรุงในการเรียนการสอนปีต่อไป● การผลิตและพัฒนาครูทั้งระบบขณะนี้มีความก้าวหน้าไปมากแล้ว แต่จะต้องประชุมเสวนากับผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เช่น สาขาที่จะผลิต ปัจจัยการพัฒนาครูให้สอนอย่างมีประสิทธิภาพ การอบรมครู หัวข้อ/วิธีการอบรม การอบรมครูเพื่อให้สอนตามหลักสูตรใหม่ ซึ่งเมื่อมีข้อสรุปแล้วจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามแผนงานต่อไป● การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาศธ.จะเร่งวางมาตรฐานและระบบการคัดกรองสื่อด้านการศึกษา และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อหา (Content) ที่จะบรรจุลงในแท็บเล็ต ซึ่งมีการผลิตและพัฒนาจากหลายแหล่ง แต่พบว่ายังมีเนื้อหาไม่ครบทุกชั้นเรียน ไม่ครบทุกวิชา สำหรับเรื่องคุณภาพ ทุกคนก็จะบอกว่าสิ่งที่ใช้อยู่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ในประเทศไทยเองก็มีการผลิตเนื้อหาต่างๆ มากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถบอกว่าดีหรือไม่ เพราะไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือมาตรฐาน โดยเฉพาะการรับมอบจากองค์กรหรือบริษัทต่างๆ ยังพบว่า บางสื่อมีความล้าสมัย ไม่มีคุณภาพ จึงต้องการที่จะวางระบบมาตรฐานให้แล้วเสร็จเพื่อคัดกรองสื่อดีๆ ให้นักเรียนได้เรียนรู้และได้เรียนครบถ้วนในทุกๆ วิชา อย่างไรก็ตาม มีภาคเอกชนหลายแห่งสนใจที่จะร่วมพัฒนาทั้งเนื้อหาและ Application สำหรับบรรจุลงในแท็บเล็ต แต่ก็ต้องส่งเสริมการเรียนรู้และสอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ด้วย
โอกาสนี้ รมว.ศธ.ได้ฝากให้เขตพื้นที่การศึกษาร่วมผลักดันการดำเนินงาน 2 เรื่องหลัก คือ
|
สำนักงานรัฐมนตรี ศธ. กพฐ.เปิดรับสมัครสอบครูผู้ช่วย 9-15 ธ.ค.นี้ จัดสรรงบประมาณ 4,700 อัตรา ด้าน ผอ-รอง ผอ.แบ่งสอบ 2 กลุ่ม คาดเปิดสอบ 60 ตำแหน่ง ระบุหากเคยเป็นหัวหน้าการประถมศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี พิจารณาเป็นพิเศษ | ||||
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สพฐ.ยังเตรียมการที่จะสอบคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สพฐ.ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยจะแบ่งการสอบคัดเลือกออกเป็น กลุ่มทั่วไป และกลุ่มประสบการณ์ ซึ่ง สพฐ.ได้ขอแก้ไขหลักเกณฑ์ไปยัง ก.ค.ศ.เพื่อให้ปรับข้อสอบใหม่ให้มีเนื้อหาที่ชัดเจน มีความทันสมัยจะได้ไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบกัน อีกทั้งจะต้องมีการประกาศให้ทราบเรื่องนี้ล่วงหน้านานๆ ส่วนการขึ้นบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้จะให้มีการขึ้นบัญชีเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้ก่อนจะสอบคัดเลือกดังกล่าว สพฐ.จะเรียกผู้ที่สอบขึ้นบัญชีรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษาในปี 2555 มาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่ยังว่างก่อน จากนั้นจึงจะนำอัตราว่างสุทธิไปสอบคัดเลือกครั้งใหม่ต่อไป สำหรับการสอบคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ผอ.สพม.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ผอ.สพป.) กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการของ สพฐ.โดยมีอัตราว่างที่จะเปิดสอบรวมประมาณ 60 ตำแหน่ง เมื่อถามว่ากรณีที่ สพฐ.จะมีการแก้มาตรฐานตำแหน่งเพื่อให้กลุ่มรอง ผอ.สพป.และรอง ผอ.สพม.สามารถสอบคัดเลือกเป็น ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาข้ามสายได้ นายอภิชาติ กล่าวว่า ตนได้ทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้รอง ผอ.สพป.ที่คิดว่าตนเองมีประสบการณ์ตามมาตรฐานตำแหน่งของ ก.ค.ศ.ส่งหลักฐานมาให้ สพฐ.ตรวจสอบ เช่น เคยเป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอแล้วมีโรงเรียนที่เปิดขยายโอกาสมัธยมศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จะมีการพิจารณาเป็นรายกรณีไปว่าจะมีประสบการณ์ตามที่กำหนดไว้ 5 ปี ตามมาตรฐานตำแหน่งของ ก.ค.ศ.หรือไม่ โดยเรื่องนี้สามารถเทียบเคียงประสบการณ์ได้และไม่จำเป็นต้องแก้เกณฑ์มาตรฐานตำแหน่งที่จะต้องใช้เวลา ส่วนกรณีของรอง ผอ.สพม.ที่ต้องการจะมาสมัครเป็น ผอ.สพป.ก็จะใช้เกณฑ์เดียวกันคือให้ส่งหลักฐานมาให้ สพฐ.ตรวจสอบเช่นกัน |
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น