เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 15 กรกฎาคม 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 2559 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน เนื่องด้วยสัปดาห์หน้า เป็นห้วงของเทศกาลอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนทุกคน จะได้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งเป็นวันที่พระภิกษุอธิฐานอยู่จำพรรษา เป็นเวลา 3 เดือนนะครับ
ในโอกาสอันดีนี้ ผมขอเชิญชวนคนไทยทุกคน ร่วมกันทำความดี รักษาศีล “ทำดีเพื่อพ่อหลวง – แม่หลวง” ถวายเป็นพระราชกุศล ในปีมหามงคล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ โดยขอให้ทุกวัดและพุทธศาสนิกชนไทย ทั้งในประเทศและทั่วโลกพร้อมใจกันถวายพระพร แด่ทั้ง 2 พระองค์ ด้วยการสวด “บทฉันท์เฉลิมพระเกียรติฯ”หลังทำวัตรเย็นหรือหลังสวดมนต์ที่บ้านประจำวัน สำหรับช่วงเทศกาลงานบุญนี้ ผมมีเรื่องจะฝากให้ชาวไทยได้คิด พิจารณาด้วยเหตุ ด้วยผล แล้วนำมาสู่การปฏิบัติที่ดี ที่งาม คือ
(1) การเลิกเหล้า เข้าพรรษา เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาศีล 5 เป็นความคิดที่ดี ที่จะสามารถทำได้ในห้วง 3 เดือน ของแต่ละปี หรือตลอดไป ก็คงจะดีที่สุด กับตัวเองด้วยนะครับ กับครอบครัว รวมถึง “ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่” ด้วยก็ดี หากสามารถทำได้ตลอดไปก็จะยิ่งดีกับตัวท่านเอง ครอบครัว รวมทั้งคนรอบข้าง
(2) กิจกรรมบันเทิง งานวัด ในการแห่เทียนเข้าพรรษาในปัจจุบันจารีตประเพณีอันงดงามของไทย ก็ยังคงมีอยู่ แต่ก็มีบางส่วนที่มีการบิดเบี้ยว ผิดเพี้ยน มีทั้งการโชว์วาบหวิว แต่งตัวโป๊เปลือย และเล่นการพนัน เหล่านี้ผมขอความร่วมมือนะครับ ช่วยกันรณรงค์ ทำในสิ่งที่ดี ที่เหมาะสม ก่อนที่ลูกหลานจะเข้าใจผิด ว่าเป็นสิ่งที่ถูกหรือทำได้ จนกลายเป็นเรื่องปกติไป วันหน้าก็เป็นปัญหาอีก
(3) พิธีสังฆกรรมที่เรียกว่า “มหาปวารณา” ซึ่งมีมาแล้วกว่า 2 พันปี ที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุ ว่ากล่าว ตักเตือน หรือถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน ด้วยความเคารพ ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน กระทำในหมู่สงฆ์ ในวัน “ออกพรรษา” แต่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีอะไรที่ดีนำมาพูดยิ่งพูดเร็ว คุยกันมากขึ้น เร็วขึ้น ก็น่าจะเกิดประโยชน์
ผมเห็นว่าวันนี้จะต้องเป็นพื้นฐานของ “สังคมประชาธิปไตย” ประชาธิปไตยที่ถูกต้อง เราคนไทย สามารถนำมาใช้ได้ เพื่อให้มีโอกาสในการเปิดฟังความเห็นที่แตกต่างแต่ต้องเป็นช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยนะครับ มีการอธิบายกันด้วยเหตุผล อย่าเอาเหตุผลอันใดอันหนึ่งมาเพื่อเอาชนะคะคานกัน เราจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับคณะนักร้องประสานเสียงเยาวชนหญิง อายุ 12 – 21 ปี จำนวน 21 คน ในความสำเร็จ ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ “เหรียญทอง” ทั้ง 2 รายการที่เราส่งเข้าแข่งขัน การขับร้องประสานเสียงชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 9 ณ เมืองโซชิ ประเทศรัสเซีย ก็ทราบว่าได้เชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ค่ำแล้ว” มาเป็นเพลงที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย นับเป็นสิริมงคลกับทุกคน ที่ได้นำพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปเผยแพร่สู่สายตาชาวโลก
ผมและคนไทยทุกคนขอเป็นกำลังใจสำหรับทุก ๆ คนด้วย ที่กำลังทำหน้าที่“เพื่อชาติ” เพื่อแผ่นดินในนามของทีมชาติด้วย ทุกคน ทุกทีม ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ 18 ณ สิงคโปร์ซึ่งปัจจุบันกำลังแข่งขันอยู่นะครับ สิ่งที่ผมเห็นในวันนี้ก็ คือ (1) “ความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” หากขาดซึ่งสิ่งนี้แล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกีฬา หรือการร้องเพลงประสานเสียง กาแข่งขันชนิดอื่น ๆ ก็ตาม ไม่สามารถจะประสบความสำเร็จไปได้ (2) เราจะต้องมี “ความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ” ซึ่งจะช่วยให้เป็นพลัง เป็นกำลังใจ ที่เรามองไม่เห็น ซึ่งจะผลักดันให้ทุกคนก้าวผ่านทุกอุปสรรคไปได้ และ (3) “การทำงานเป็นทีม” หมายถึง การทำงานที่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด แล้วก็ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ปัจจัยภายในต้องไม่ใช่ปัญหา ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาจากปัจจัยภายนอกให้ได้โดยเร็ว แล้วก็เริ่มจากภายในออกไปด้วย จะเป็นทักษะในการทำงานร่วมกันใน “ศตวรรษที่ 21” ทั้ง 3 ประการนี้ เป็น
สิ่งที่ประเทศของเราต้องการมาก ในขณะนี้ ในการเดินหน้าประเทศสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” นั้น เป็นการ “พลิกโฉม” การพัฒนาประเทศ จากการแก้ปัญหารายวัน เหมือนกับการ ปะ ผุ เลี้ยงไข้ ทำนองนี้ที่ผ่านมา วันนี้เราจะต้องทำเพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจะต้องมีกรอบนโยบายที่ชัดเจนสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของโลก และขององค์การสหประชาชาติ เพราะเรา เพื่อนบ้าน CLMVT นั้น เป็นส่วนประกอบของภูมิภาคอาเซียนและของโลกด้วย เราจะต้อง “เข้มแข็งไปด้วยกัน หรือที่เรียกว่า Stronger Together” โดยประเทศไทย ต้องอาศัยความได้เปรียบเชิงพื้นที่ และความพร้อมของเรา ในการแสดงบทบาทนำร่วม ผมใช้คำว่า นำร่วมแล้วกัน และการเป็นศูนย์กลางในหลาย ๆ ด้าน อาทิเช่น
(1) ศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งรัฐบาลนี้ กำลังผลักดันอยู่ ได้แก่ รถไฟทางคู่ ขนาด 1 เมตร เฟสแรก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 905 กิโลเมตรนะครับ ให้แล้วเสร็จทั้งหมด ภายในปี 2563 ซึ่งเราคงต้องหาวิธีการดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว และมีการดำเนินการอย่างโปร่งใส ไม่ทุจริต ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ ส่วนเฟสที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,600 กว่ากิโลเมตร และเฟสที่ 3 จำนวน 4 เส้นทาง ระยะทาง 800 กว่ากิโลเมตร ทั้งหมดนั้นจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ แล้วก็ทยอยเปิดให้บริการ ภายในปี 2565 โดยรัฐบาลนี้ ก็จะเริ่มต้น วางพื้นฐานระยะแรกไว้ให้ ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงแต่ละภูมิภาคของประเทศ เหนือ – ใต้ – ออก – ตก เข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อน อาทิเช่น ในประเทศลาว ในเรื่องของการสร้างรถไฟความเร็วสูง ผมได้คุยกับท่านนายกรัฐมนตรีลาวแล้ว กำลังสร้างอยู่นะครับ แล้วท่านก็บอกว่าถ้าไทยไม่สร้างก็กลายเป็นรถไฟ ไม่รู้จะไปต่อใครเหมือนกัน เราก็ต้องไปต่อกับเขา ที่เราเตรียมการไว้นี่ เราต้องคุยกันหลายประเทศด้วยกันนะครับ ถึงจะเกิดขึ้นมาได้ ทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งหวังเชื่อมโยงกับไทย บริเวณเมือง “คู่แฝด” หนองคาย – เวียงจันทร์ เป็นต้น สำหรับรถไฟทางคู่ ขนาด 1.435 เมตรอีก 4 เส้นทางก็กำลังเดินหน้าเจรจา เพื่อเลือกรูปแบบความร่วมมือ การลงทุน การรักษาผลประโยชน์ของชาติ ให้ได้มากที่สุด นอกจากนั้น เรายังได้เตรียมการถึงการขนส่งทางน้ำ เช่น ในการยกระดับท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ สำหรับใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่อเรือ และการพัฒนาท่าเรือ Ferry เป็นต้น และการขนส่งทางอากาศ รวมความไปถึงการข้ามฝาก จากทางด้านนี้ไปหัวหินด้วย ในเรื่องของการขนส่งทางอากาศนั้นเราก็เตรียมการในเรื่องของการขยายศักยภาพสนามบินอู่ตะเภา ให้สามารถรองรับผู้โดยสาร 5 ล้านคนต่อปี /ปีหน้าต้นปี ก็จะได้ 3 ล้านก่อน แล้วก็การพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยาน เป็นต้น ทั้งนี้ หลายประเทศให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศ CLMVT ในฐานะ Supply Chainของอาเซียน ดังนั้น กลุ่มประเทศ CLMVT ควรทำยุทธศาสตร์ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในอนุภูมิภาคนี้ จะต้องเน้นสร้างความเชื่อมโยงทั้งทางถนน สะพานรถไฟ ทางทะเล และทางอากาศ ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสู่ประเทศอื่น ๆ ทั้งในอาเซียน และนอกอาเซียน อาทิ จีน และอินเดีย ยูเรเซีย ด้วย
(2) คือเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว รัฐบาลนี้สนับสนุน ทั้งการท่องเที่ยวในชุมชน ท้องถิ่น โดยให้บรรจุไว้ใน “แผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด 4.0” ด้วย และการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามแนวคิด “Stronger Together” ซึ่งจะเป็นผลดีให้อาเซียนเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพิ่มมูลค่าทั้ง 2 ฝ่าย มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามแดนแบบ Thailand + 1 ในลักษณะ Joint Tourism Package และ 2 Countries 1 Destination ซึ่งสามารถใช้รูปแบบการพัฒนานี้เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายแดนอื่นไปพร้อม ๆ กันได้ด้วย เราก็กำลังนำพาอาเซียนไปด้วยกัน ทั้งนี้ เรื่องผลงานวิจัยที่น่าสนใจ ก็คือ ปีหน้า 2560 อาจมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เดินทางมาไทย ประมาณ 34 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2 ล้านคน ในปี 2559 จะเป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศ ราว 2.84 ล้านล้านบาทเราต้องทำให้ประเทศชาติเรามั่นคงมีเสถียรภาพ ปลอดภัย และแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเรื่องการทุจริตผิดกฎหมาย การดูแลนักท่องเที่ยวอะไรเหล่านี้นะครับ มาตรการการเยียวยาทั้งหมด และข้อสำคัญทำให้บ้านเมืองเราปลอดภัย ลดการขัดแย้งลง ไม่มีการประท้วงอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นแน่นอน เพราะไปหลาย Sector สิ่งที่น่าสนใจอีกประการ คือ แนวโน้มนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งมาเที่ยวเมืองไทย จำนวน 8 ล้านคน ในปี 2558 ยังไงก็เป็นเพื่อนบ้านกัน เราก็ต้องดูแลเขา รับรองเขา แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 25 ล้านคน ใน 10 ปีข้างหน้า ดังนั้นเราต้องเตรียมความพร้อม มีมาตรการรองรับที่เหมาะสม ไม่ว่าจะไกด์ มัคคุเทศก์ ระบบการขนส่ง ทางบก ทางเรือที่ปลอดภัย ไกด์ที่สามารถพูดภาษาจีนได้มากขึ้น จะให้คำแนะนำได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความขัดแย้งกันไปอีก เราเป็นเพื่อนบ้านกัน ขัดแย้งกันไม่ได้ คนไทย คนจีน ก็รู้จักกันมายาวนาน โดยทางประวัติศาสตร์ แล้วก็ทางเชื้อสายชาติพันธุ์ด้วยอยู่แล้ว เราต้องพยายามรักษาความสมดุลเหล่านี้ให้ได้ ทั้งในเรื่องของการอนุรักษ์ การฟื้นฟูธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว จะมุ่งเน้นหารายได้เพียงอย่างเดียวไม่ได้นะครับ ต้องดูแลในหลาย Sector โดยเฉพาะดูแลท้องถิ่นด้วย ประชาชนในพื้นที่ด้วย ที่จะเกิดผลกระทบจากการท่องเที่ยวจำนวนมากเหล่านี้ อาทิเช่นตัวอย่างที่เราทำไปแล้วคืออุทยานแห่งชาติหาดนพรัตธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ที่ประสบความสำเร็จ ก็สำเร็จแล้ว อย่ากลับไปที่เดิมอีกแล้วกัน ด้วยการนำแนวทาง “ประชารัฐ” เข้ามาบริหารจัดการ เอาจริงเอาจัง เน้นการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน จนสามารถสร้างรายได้ จาก 20 ล้านบาท ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 เป็น 300 ล้านบาท
ในช่วงเดียวกันของปี 2559 จะเห็นว่าเพิ่มเป็นจำนวนมากหลายเท่า ถ้าเราจัดการดีๆ ก็เป็นแบบนี้ทุกที่ นอกจากนี้ยังมีศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ ศูนย์กลางการแปรรูปผลผลิตการเกษตร รัฐบาลก็มีหลายมาตรการในการส่งเสริม เช่น การจัดตั้ง “เมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ Food Innopolis” เพื่อการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมใหม่ ๆ ป้อนอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งเพื่อยกระดับความ สามารถของ Startup และ SMEs / ท่านเชื่อหรือไม่ว่าธุรกิจเครื่องสำอางค์นั้น จากตัวเลขทางสถิติ ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจประเภทนี้ ไม่ได้ผันผวนไปตามเศรษฐกิจนะครับ ทุกคนยังใช้ ต้องใช้อยู่โดยเฉพาะสุภาพสตรี สุภาพบุรุษตอนนี้ก็ใช้แล้ว เครื่องสำอางบางอัน แต่ก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในเรืองของกิจการ Startup และ SMEs ด้านเครื่องสำอางค์หลายราย เป็นของไทย แต่จะถูกตั้งชื่อเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เราคิดค้นออกมา แล้วการ Matching แล้วบริษัทก็เอาไปผลิต อันนั้นเป็นความจำเป็นเพราะเราผลิตเองไม่ได้ หลาย ๆ เรื่อง ตอนนี้ต้องไปสู่การผลิตเองบ้าง เช่น ผลผลิตเครื่องสำอางค์จากมะเขือเทศญี่ปุ่น + หอยทาก ที่ยกตัวอย่างมานั้น ก็เพื่อให้เห็นความสำคัญ ถึงในเรื่องของการวิจัยและพัฒนา สถาบันการวิจัยและพัฒนาที่เราเร่งรัดอยู่ รวมทั้งการส่งเสริมของภาครัฐจะต้องดูมาตรการทางการตลาดด้วย วิจัยพัฒนา Matching หาการตลาดในประเทศ - ต่างประเทศ ไปสู่มาตรฐานให้ได้ ผ่านมาตรฐาน สมอ. ผ่าน อย. เหล่านี้ รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการอยู่ทั้งหมด แล้วก็ฝากทุกคนด้วย ช่วยศึกษาหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เห็นอะไรขายดีก็ทำมาขายแข่งกัน ระยะแรกก็ดีทั้งหมด ต่อไปวันหน้าก็ขาดทุนกันหมด เพราะว่าเหมือนกันยังไงเพราะฉะนั้นต้องดูให้ดี จะลงทุนอะไรก็ตาม ต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่าทำจนล้นตลาด เกินความต้องการ ราคาก็ตกอยู่ดี ก็ดูตัวอย่างจากสินค้าทางการเกษตรก็แล้วกัน เราควรมองธุรกิจต่อเนื่องให้ได้นะครับให้ทะลุตลอดไป เพื่อจะเชื่อมโยง ยกระดับต้องมีการพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน จากต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง มี Road map ของตัวเอง ว่าจะเอาทุนมาจากที่ไหน แล้วถ้าดีขึ้นเป็นที่ต้องการของตลาดเราจะพัฒนาอย่างไรซึ่งรัฐบาลก็สนับสนุนกองทุนในสิ่งที่มีศักยภาพอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นวันนี้ ปัจจุบัน รัฐบาลยกระดับสินค้า OTOP ผมเรียกว่า OTOP ประชารัฐแล้วกัน อะไรที่ดีผมก็ทำต่ออยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งผมใช้คำว่า OTOP “ประชารัฐ” ไปสู่อนาคต เราจะทำ OTOP Classic 4-5 ดาว OTOP Premium และ OTOP Go Interนะครับ คือในแนวทางของประชารัฐ จะนำไปขายบนเครื่องบิน ในสนามบิน ในร้านค้าประชารัฐสุขใจในปั๊ม ปตท. 148 แห่ง รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายการตลาดผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น ปัจจุบันมีผู้ผลิตสินค้า OTOP ประชารัฐ จำนวนถึง 4 หมื่นกว่าราย ทั้งที่เป็นSMEs มีเงินลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท ประมาณ 600 ราย รวมสินค้าเกือบ 8 หมื่นรายการ คิดเป็นรายได้ประมาณ 1 แสนล้านบาทต่อปี ล่าสุดนั้นคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาช่วย เหลือสินค้าชุมชนด้วย มาตรการ "ช็อปช่วยชุมชน" โดยซื้อสินค้า OTOP ประชารัฐ แล้วสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ตามจำนวนที่ซื้อจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท เริ่มวันที่ 1 ถึง 31 สิงหาคม นี้ ก็ต้องขอบิลด้วยที่ซื้อของเขามา รัฐบาลอาจจะต้องยอมสูญเสียภาษีบางส่วนไปบ้าง เพราะทั้งนี้ต้องการให้ธุรกิจเหล่านี้เจริญเติบโตขึ้น แล้วรัฐบาลก็ไปได้ภาษีจากตรงอื่นมา กิจกรรมที่ต่อเนื่องเชื่อมโยง ถ้าเราไม่สร้างกลไกเหล่านี้ ไม่สร้างห่วงโซ่มูลค่านี้ มุ่งหวังแต่เล็ก แต่น้อย เก็บภาษีตรงโน้น ตรงนี้ ยุบๆ ยับๆ ไปหมด เติบโตไม่ได้ ภาษีก็เก็บได้เท่านั้นแหละ เราเชื่อว่าถ้าเราทำแบบนี้ในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิประโยชน์ การสร้างแรงจูงใจ มาตรการทางภาษี เหล่านี้ผมคิดว่าคุ้มค่าในอนาคต เมื่อเทียบเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่พี่น้องประชาชนจะได้รับ รวมทั้งเป็นการกระจายรายได้ลงสู่ระบบเศรษฐกิจในชุมชน ราว 1 หมื่นล้านบาท ในช่วง 1 เดือน ก็ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน ร่วมช็อปช่วยชุมชนได้ ตามช่องทางที่กล่าวไปแล้ว
และในงาน “ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ประชารัฐ ก้าวไกล ด้วยพระบารมี ในห้วงวันที่ 12 ถึง 20 สิงหาคม 2559 ที่จะจัด ณ เมืองทองธานี ด้วย สำหรับการที่เราจะเป็น Hub หรือ เป็นศูนย์กลางอะไรก็แล้วแต่นะครับ มีหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น ศูนย์กลางเพื่อการส่งออกของภูมิภาค โดยเราจะต้องสร้างแรงดึงดูดให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ได้พิจารณาประเทศไทย ในการจัดตั้ง “สำนักงานใหญ่” ในภูมิภาค หรือเป็นฐานการผลิต โดยเฉพาะใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล เช่น ค่ายรถยนต์รายใหญ่ ก็มีความสนใจในการลงทุนสายการผลิตเดิมอยู่แล้วนะครับ รถยนต์ Hybrid อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ แล้วก็มีในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน ซึ่งจะต้องมีการลงทุนงบประมาณกว่า 2 หมื่นล้าน เป็นเม็ดเงินขนาดใหญ่ ทั้งนี้ต้องมีการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งเราจะต้องดำเนินการ่วมกันกับต่างประเทศ มอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ เหล่านี้ต้องมีการเจรจาเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ในการลงทุน การตั้งโรงงาน ทุกอย่างอยู่ที่ความมั่นใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ อัตราภาษี และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ บางครั้งก็ต้องเป็นสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี เพราะทุกประเทศเขาทำแบบนี้หมด การค้า การลงทุน แต่จะทำยังไงสิ่งแวดล้อมจะไม่เสียหาย ทำยังไงประชาชนจะได้ประโยชน์ ท้องถิ่นจะได้ประโยชน์ เราต้องร่วมกันคิดนะครับ จะไปขัดแย้งกันทุกเรื่อง ทำอะไรไม่ได้สักเรื่อง แล้วเราจะได้เงินทองมาจากไหนล่ะ ทั้งประเทศทั้งประชาชน ทั้งธุรกิจก็ไม่มีทางหาเงินมาได้ทั้งสิ้น
วันนี้สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือความมีเสถียรภาพทางการเมือง ความสงบเรียบร้อย และนโยบายของประเทศ ซึ่งเรามีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับนะครับ ด้านความมั่นคง รัฐบาลนี้จำเป็นต้องผลักดันให้มีการทำ “ยุทธศาสตร์ชาติ” 20 ปี และ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ให้สอดคล้องกัน รวมความไปถึงข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปด้วยนะครับ แผนปฏิรูปต้องสอดคล้องกันทั้ง 3 อย่างนะ เหล่านี้ต้องบรรจุลงไปด้วย เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ระยะยาว นักลงทุนต้องการความมั่นใจ รัฐบาลก็ต้องสร้างความเชื่อมั่น ปัจจุบันก็เป็นที่น่ายินดี ได้รับรายงานว่า นักลงทุนญี่ปุ่นยังคงมีความเชื่อมั่นต่อไทย เขาเป็นเพื่อนเรามายาวนานแล้ว แล้วก็แสดงความสนใจที่จะขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ไม่เฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ที่นักลงทุนญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว หรือมีฐานการผลิตที่เข้มแข็งในไทยอยู่แล้ว อาทิเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ก็จะก้าวไปสู่การผลิตที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น มีการต่อยอดเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมเพื่ออนาคต สร้างห่วงโซ่มูลค่านะครับ รวมทั้งมุ่งไปสู่ภาคบริการเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น (1) การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนกิจการเดิม (2) การจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (3) การจัดตั้งบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ของ BOI ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา มีโครงการของนักลงทุนญี่ปุ่นที่ได้รับอนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุน จำนวน 121 โครงการ มูลค่า 2 หมื่นกว่าล้านบาท มีอีกหลายประเทศให้ความสนใจทำนองนี้ด้วย
การที่ประเทศไทยจะสามารถก้าวไปอยู่ในตำแหน่งบทบาทนำร่วมกับสมาชิกประเทศอาเซียนอื่น ๆ นั้น รวมความถึงเป็นศูนย์กลางด้านต่าง ๆ ในภูมิภาค เราจะต้องยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ รวมทั้งเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า แล้วก็ต้องเร่งสร้าง “เครือข่าย” บนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ ที่เรียกว่าการสร้างระบบโลจิสติกส์ แล้วก็พื้นฐานในเรื่องของ ICT โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลได้เร่งลงทุนในเฟสแรกไปแล้ว ในปี 2559 นี้ เป็น “โครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทุกหมู่บ้าน ใช้งบประมาณ 15,000 ล้านบาท เฟสสองในปี 2560 จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ ใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีความสำคัญในการนำ “องค์ความรู้” ไปสู่ชุมชน ท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และก็นำ “สินค้า การบริการ ธุรกรรมทางการค้าต่าง ๆ” จากแหล่งผลิตในชุมชน ไปสู่ผู้ซื้อในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ก็จะเกิดเป็น “ธุรกิจออนไลน์” ที่ครบวงจร มีระบบโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ที่กล่าวมาแล้วนะครับ สำหรับขนส่งคน ขนส่งสินค้า เพื่อนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว ต่างๆเหล่านี้จะต้องเชื่อมโยงให้ได้ทั้งหมด ต้องสอดคล้องกัน เกื้อกูลซึ่งกันและกัน รวมความไปถึงการเชื่อมโยง “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” เมืองท่า เมืองอุตสาหกรรม คลัสเตอร์อุตสาหกรรมนะครับ รวมทั้งการยกระดับ “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง โดยประชาชนเรียนรู้เอง เกษตรกรมาใช้เอง เพื่อจะส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการรายใหญ่ ในการทำการค้าออนไลน์ เพื่อจะรองรับการเติบโตทางการค้าโลกในอนาคต ซึ่งมูลค่าการค้าและธุรกรรมทางการเงิน ส่วนใหญ่เกิดจากแอปพลิเคชั่นผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) สูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีออนไลน์ หรือเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ต และ Cloud Technology ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs ต้องปรับตัว ก้าวให้ทันโลก หันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการค้าออนไลน์
ผมอยากฝากดูแลในเรื่องของผู้พิการด้วย ให้เข้าถึงเหล่านี้ได้ด้วยนะครับ วันนั้นผมได้สั่งการไปแล้วใน ครม. สั่งการไปกระทรวง ICT แล้ว ให้ดูแลคนพิการให้มากขึ้นโดยใช้ระบบดิจิทัล เข้าไปเสริมนะครับ ทั้งนี้ เป้าหมายการจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนนั้น ก็คือการบ่มเพาะผู้ประกอบการ Tech Startup, SME และ Micro SMEsนะครับ ได้ประมาณ 1,500 ราย ภายใน 1 ปี 6 เดือน พัฒนาสินค้าต้นแบบพร้อมผลิต ราว300 รายการ ร้านค้าออนไลน์ชุมชนอย่างน้อย 1 หมื่นราย ชุมชน นำร่องโดย การต่อยอดจาก “โครงการคนกล้าคืนถิ่น” บ่มเพาะให้เป็นเกษตรกรดิจิทัล หรือ Smart Farmer จำนวน 1,600 คน เน้นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เช่น ข้าวผัก ผลไม้ เพื่อเป็นการบ่มเพาะผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการค้าขายออนไลน์ครบวงจรให้ได้ 15,000 ราย และการสร้างมาตรฐานสินค้าออนไลน์ 1 แสนราย เป็นต้น เหล่านี้ก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ต้องเร่งรัดให้เร็วขึ้น สำหรับ “ตลาดนัดชุมชน” วันนี้ก็เกิดขึ้นอยู่แล้ว หลายแห่งด้วยกันในสมัยรัฐบาลนี้ต่อไปก็ต้องขยายให้ใหญ่มากยิ่งขึ้น ยั่งยืนนโยบายรัฐบาลนั้นให้การส่งเสริมในเรื่องของตลาด เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ประชาชนสามารถเป็นทางเลือกจากพ่อค้าคนกลาง หรือจากไปขายที่ไกลๆ ถ้าเราสามารถจัดตั้งในพื้นที่ขึ้นมาได้ จะเป็นการดี แล้วก็สามารถกำหนดราคาพัฒนาคุณภาพ แล้วอย่าให้สกปรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาไปสู่ตลาดอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ เหล่านี้ จะทำให้คนไปแย่งกันซื้อ เป็นทางเลือกให้กับประชาชนด้วย ในรูปแบบของตลาดสด ตลาดกลาง ตลาด 4 มุมเมือง ต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
วันนี้พี่น้องเกษตรกรก็ลำบากไม่รู้จะไปขายใครเพราะไกล ก็ต้องขายคนกลางไป ราคาก็ตก วันนี้เราจะต้องใช้พื้นที่แลกเปลี่ยนสินค้าชุมชน OTOP ประชารัฐ ลดปัญหาพ่อค้าคนกลาง กำหนดราคาให้ได้ตามข้อเท็จจริง ด้วยหลักการและเหตุผล เราจำเป็นต้องส่งเสริมทั้งความรู้ทั้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางบัญชี การใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในเรื่องของใช้ระบบ ICT ให้มีรูปแบบการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานมีเส้นทางการจราจร พื้นที่จอดรถ ถูกสุขลักษณะ มีการกำจัดขยะ มีการจัดเขตสุขาภิบาลที่เหมาะสม คืออย่ารอรัฐบาลทำอย่างเดียว ท่านต้องทำของท่านไปด้วย อย่ามุ่งหวังว่าราชการต้องมาช่วยมาเสริมตลอดเวลา เขาก็ให้หลักๆ ให้ ที่เหลือท่านก็ต้องช่วยกันทำบ้างผลประโยชน์อยู่กับท่านทั้งสิ้น เราก็ต้องเอาแง่คิดทางธุรกิจเข้ามาเสริมด้วย รัฐบาล ข้าราชการก็ต้องคิดแบบนักธุรกิจบ้างนะครับแต่เพื่อประชาชน ใช้ความร่วมมือ ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ให้มีการบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการของชุมชน ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืน จากนั้น อาจต่อยอดด้วยกิจกรรมเสริม เช่น มีการจับคู่ทางธุรกิจต่อไป การจัดนิทรรศการ การสาธิตและแสดงสินค้า ตลอดจนกิจกรรมสันทนาการ อาทิเช่น การแสดงพื้นบ้าน สิ่งใดก็ตามที่เป็นอัตลักษณ์ วันนี้ รัฐบาลได้เริ่ม “ต้นแบบ” ไปแล้วในตลาดคลองผดุงกรุงเกษม มา 2 ปีแล้ว ข้างทำเนียบรัฐบาล ตอนนี้กำลังพัฒนาต่อ ให้เป็นตลาดน้ำในโอกาสที่ เมื่อไรก็ตามที่น้ำเพียงพอแล้วก็เป็นเส้นทางสัญจรทางเรือไปได้ด้วย คราวนี้กระทรวงมหาดไทย ก็ได้ดำเนินการไปแล้วในส่วนของคลองผดุงกรุงเกษมร่วมกับ กทม. ส่วนของต่างจังหวัดเราก็ได้มีการเปิดตลาดนัดชุมชนมาแล้ว 2,039 แห่ง ในรัฐบาลนี้ มีเกษตรกร ผู้ประกอบการ OTOP ประชารัฐ กลุ่มอาชีพ ข้าราชการ ภาคเอกชน และสินค้าธงฟ้าเข้าร่วมกัน ตอนนี้มียอดการจำหน่ายรวมกว่า 5,600 ล้านบาท ท้ายที่สุดจะต้องเดินไปสู่ “ตลาดประจำตำบล ตลาดประจำอำเภอ” เพราะต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น ตอนนี้เริ่มไปก่อน เพื่อจะเสริมการท่องเที่ยว แล้วก็เชื่อมโยงกับชุมชนได้ด้วย ทำอะไรก็ตามถ้ามาก ๆ ใช้งบประมาณสูงๆ ต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่จะเกิดได้เร็วก็คือ ประชาชนร่วมมือกัน รวมกลุ่มกันเหล่านี้จะเร็วขึ้น
เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเรื่อง “แรงงาน” หรือทรัพยากรมนุษย์นั้น รัฐบาลนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก ในการขับเคลื่อนประเทศ ปัจจุบันเรามีแรงงานประเภท 1.0 ที่ใช้แรงงานอย่างเดียว 2.0 ใช้เครื่องจักรเครื่องมือขนาดเล็ก และ 3.0 เล็ก-กลาง-ใหญ่ ผสมกัน มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถจะแก้ทีเดียวเป็น 4.0 ได้ทั้งหมด เราต้องมีการปรับตัว ทุกคนต้องปรับตัว แรงงานต้องปรับตัว โรงานต้องปรับตัว ยกระดับตนเอง พัฒนาเทคโนโลยี ด้วย “ความรู้” ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งทุนเดี๋ยวไปคุยกัน เนื่องจากแนวโน้มของโลกในอนาคตนั้นจะมีการนำเครื่องยนต์กลไก เครื่องจักร อุปกรณ์อัจฉริยะ มาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผมได้สั่งการให้กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการสำรวจความต้องการแรงงานในอนาคตด้วย เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแรงงานประเภทต่างๆ ต่อไป
สำหรับการกำหนดมาตรการส่งเสริมทักษะ ความรู้ และรองรับการพัฒนาในอนาคต มีตัวเลขทางสถิติ ที่น่าสนใจก็คือ ประมาณการความต้องการแรงงาน ในอีก 10 ปีข้างหน้า ห้วงปี 2559 ถึง 2568 จะเพิ่มขึ้น ราว 2 ล้านคน เป็น 39.34 ล้านคน ในปี 2568 โดยแบ่งเป็น (1) แรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ มีความต้องการแรงงานเพิ่มเติม เกือบ 2 แสนคน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า เป็นผู้ปฏิบัติงาน ราว 1 แสน 5 หมื่นคน เป็นช่างเทคนิค ราว 8 พันคน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อโครงการลงทุนระบบขนส่งทางรางแล้วเสร็จ ประเทศไทยมีความต้องการกำลังคน สำหรับการเดินรถและการซ่อมบำรุง ช่วงปี 2560 – 2564 ประมาณ 25,000 คน เป็นวิศวกร ราว 4,500 คน ช่างเทคนิค ราว 9,000 คน และเจ้าหน้าที่สาขาอื่นๆ เช่น พนักงานเดินรถ ในขบวนรถ ช่างฝีมือ เป็นต้น อีกกว่า 1 หมื่นคน (2) แรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีความต้องการแรงงานเพิ่มเติม ประมาณ 7 หมื่นคน ใน 5 ปีข้างหน้า และ (3) แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ มีความต้องการแรงงานเพิ่มเติม ประมาณ 6 แสนคน ใน 5 ปีข้างหน้าเป็นต้น
สำหรับข้อมูลดังกล่าว ผมได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้แต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้อยู่บนพื้นฐานของตัวเลขเดียวกัน เพื่อใช้ในการวางแผน กำหนดนโยบาย และการวางยุทธศาสตร์ของแต่ละกระทรวงและนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล ทันต่อความต้องการในอนาคตด้วย ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการ ในการบริหารจัดการแรงงานของประเทศในหลายๆ มิติ เช่น (1) การสร้างงาน สร้างรายได้เพื่อคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม มีงานทำ ด้วย “Smart Job Center” ได้แก่ การบรรจุงานในประเทศ 4 แสน 4 หมื่นคน สร้างรายได้กว่า 62,000 ล้านบาท
(2) การจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ มากกว่า 8 หมื่นคน สร้างรายได้ส่งกลับประเทศ ราว 66,000 ล้านบาท
(3) ส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่แรงงานนอกระบบ โดยสนับสนุนให้กู้เงินกองทุน เพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน กว่า 280 กลุ่ม
(4) การกำหนดอัตราค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือแรงงานเพิ่มอีก 20 สาขาอาชีพ ค่าจ้างสูงสุด ถึง 550 บาทต่อวัน แต่ต้องมีฝีมือ
(5) การจ้างงานคนพิการ มากกว่า 7,000 คน ซึ่งจะต้องเพิ่มขึ้นในอนาคตอีก
(6) พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไทย มากกว่า 2 ล้าน 7 แสนคน
(7) การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ลดต้นทุนการผลิตได้ มากกว่า 400 ล้านบาท
(8) การนำค่าใช้จ่ายจากการฝึกอบรม มาลดหย่อนภาษี เฉลี่ยปีละ ไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท
และ (9) การพัฒนาแรงงานรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ กว่า 3 หมื่นคน เป็นต้น
สำหรับการปรับระบบบริหารจัดการ แรงงานต่างด้าว ให้รองรับการเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMVTโดยจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน ในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การส่งแรงงาน ไปจนถึงการส่งกลับ การดูแลแรงงานเพื่อรักษาความเป็นธรรมตามกฎหมาย ปัจจุบันสามารถดำเนินการ ได้ดังนี้ (1) นำเข้าแรงงานตาม MOU ได้แล้ว กว่า 3 แสนคน (2) สามารถจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ในกิจการประมงทะเล และแปรรูปสัตว์น้ำ ราว 1 แสน 6 หมื่นคน (3) จดทะเบียนใหม่ ให้แรงงานเดิมที่ใบอนุญาตหมดอายุ กว่า 7 แสนคน (4) ตรวจการทำงานของแรงงานต่างด้าว มากกว่า 8 หมื่นคน และ (5) ดำเนินคดีกับนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่กระทำผิดกฎหมาย กว่า 3 พันคน เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ
นอกจากนั้นในกรอบประชาคมโลก โดยเฉพาะในเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ส่งเสริมสวัสดิการและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน รัฐบาลนี้ ได้ยื่นสัตยาบันสารอนุสัญญา ILO ซึ่งถูกละเลยมากว่า 10 ปี ที่ผ่านมา ได้แก่ (1) สัตยาบันอนุสัญญา ว่าด้วยแรงงานทางทะเล เพื่อให้ลูกเรือ แรงงาน และเจ้าของเรือเดินทะเลของไทย ได้รับการคุ้มครอง ตามมาตรฐานสากล และ (2) สัตยาบันอนุสัญญา ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเพื่อยืนยันว่าประเทศไทย ได้ดำเนินการอยู่ในระดับมาตรฐานสากล
รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายสำคัญด้านแรงงาน ที่สำคัญ อาทิเช่น (1) การออกกฎกระทรวงกำหนดสถานที่ที่ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าทำงาน เพื่อป้องกันนำไปสู่การค้ามนุษย์นะครับ (2) การจัดทำฐานข้อมูลการทำงานของเด็กเป็นครั้งแรก เพื่อใช้วางแผนจัดการปัญหาการใช้แรงงานเด็กตามมาตรฐานโลก นอกจากนี้ ยังได้ การปฏิรูปประกันสังคม เพิ่มและขยายสิทธิผู้ประกันตนเช่น ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินทดแทนการขาดรายได้ตลอดชีวิตและกรณีทุพพลภาพ รวมทั้งจะขยายให้คุ้มครองเกษตรและประมงด้วย ทั้งหมดจะต้องทำเป็นระบบ ได้มาตรฐานสากล ให้รองรับกับการพัฒนาประเทศไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ในอนาคต ทุกอย่างต้องใช้งบประมาณรายได้จะมาจากไหน จะต้องตอบคำถามได้ว่าเราต้องนำพาไปสู่การค้า การลงทุนที่มีมูลค่าสูงขึ้นกว่าเดิม ถ้ารายได้ของประเทศยังเท่าเดิม กิจการเดิมๆ อยู่ ไปไม่ได้ทั้งหมด ขณะที่ทุกคนต้องการ
สิ่งสำคัญในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ก็คือ อย่าลืมนะครับ เรื่อง “การเรียนรู้” ที่ผมเคยพูดหลายครั้งแล้ว (1) คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต” การพัฒนาทักษะเด็กเล็ก ก่อนเข้าวัยเรียน เป็นอนาคตของชาติ 20 ปี ข้างหน้า ทักษะเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเด็กเล็ก (2) คือการศึกษาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพราะความแตกต่างในระดับประชาชน ยังมีอยู่มาก 4 เป็นการสร้างรายได้ประเทศให้สูงขึ้น และ 2 การศึกษาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพราะเรายังมีความแตกต่างในระดับประชาชน อาชีพ รายได้เหล่านี้มีอยู่มาก เพราะฉะนั้นการที่เราเดินหน้าไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 นั้นจะเป็นการสร้างรายได้ประเทศให้สูงขึ้น แต่เราก็เป็นห่วง สำหรับ 1.0 ใช้แรงงานอย่างเดียว 2.0 ใช้ขนาดเล็ก 3.0 ใช้เล็กกับใหญ่ เหล่านี้ยังจำเป็นต้องมีอยู่ เพียงแต่พัฒนาให้ใช้เทคโนโลยีให้สูงขึ้น แต่พยายามอย่าลดคนงาน ไม่อย่างนั้นแรงงานเราก็ไม่มีงานทำ เรายังคงมีความจำเป็นอยู่ ไม่เช่นนั้นพอว่างงานมาก ๆ แล้วจะทำยังไงกัน นี่ก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนผ่านไปหลายบริษัทแล้ว เราจำเป็นต้องพัฒนาทักษะฝีมือ ยกระดับฝีมือตัวเองไปด้วย ไปสู่ที่ผมกล่าวไว้แล้วเมื่อสักครู่ ที่เขาต้องการ รัฐบาลให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ รวมทั้งพี่น้องเกษตรกรทุกประเภทก็ต้องช่วยเหลือส่งเสริมซึ่งกันและกันแบบ “พี่จูงน้อง – เพื่อนจูงเพื่อน” ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราต้องเข้มแข็งไปด้วยกัน ต้องเตรียมแก้ปัญหาการว่างงานของแรงงานต่าง ๆ ตามโรงงาน ซึ่งเขากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่นี่
วันนั้นสั่งงานไปแล้วหารือไปแล้วว่า หามาตรการ อาจจะต้องนำเขามาสู่ในช่วงพัฒนาทักษะ เขาต้องไปเรียนด้วย และพัฒนาฝีมือด้วย แต่เขาต้องมีรายได้ที่จะกิจ จะใช้อยู่จะทำยังไง อาจจะต้องมาทำในเรื่องของการเกษตร โดยรัฐบาลต้องเข้าไปดูแล ผู้ที่ว่างงานเหล่านี้ ก็จะผลิตสินค้าอะไรต่างๆ เป็นสินค้าที่มีราคา ไม่เช่นนั้นเขาก็ไปเรียนแล้วจะเอาเงินที่ไหนกินอยู่ ครอบครัวจะอยู่กันยังไง ไม่รู้เหมือนกัน ผมให้ความสำคัญเรื่องนี้ อย่ามองว่ารัฐบาลจะไปเอื้อประโยชน์ขนาดใหญ่ กลุ่มทุน ไม่ใช่ ผมดูกลุ่มเล็กเป็นหลัก กลุ่มใหญ่ก็ทำเพื่อรายได้ประเทศ
สุดท้ายนี้ห้วงระหว่างวันที่ 14 ถึง16 กรกฎาคม 2559 นี้ ผมอยู่ระหว่างเดินทางไปเข้าร่วม การประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM ครั้งที่ 11 ณ กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย ซึ่งจะมีการหารือของผู้นำประเทศสมาชิก ASEM ทั้ง 51 ประเทศ ในเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่องของการเตรียมการรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมความเชื่อมโยง การรักษาความมั่นคงทางทะเล รวมทั้งจะได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ในทศวรรษที่ 3 ร่วมกัน
ในสัปดาห์หน้าผมจะกลับมาเล่าให้พี่น้องประชาชนฟังอีกครั้งหนึ่ง ในช่วง“วันหยุดยาว” ในสัปดาห์หน้านี้ ขอให้ทุกคนใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กับครอบครัว มีความปลอดภัยในการเดินทางทุกคน มีความสุข อย่าดื่มสุรา ขับรถใช้ความเร็วเกินกำหนด ประมาทจนเกิดอุบัติเหตุ ไม่มีกฎหมายใดจะช่วยได้ จากการบาดเจ็บ สูญเสียเว้นแต่ตัวท่านเอง ต้องช่วยตัวเองด้วย ทั้งนี้เพื่อบุคคลอันเป็นที่รัก คือ ครอบครัวของท่านเอง ผมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร พลเรือน และอาสาสมัครต่าง ๆ ในการที่เสียสละช่วยดูแล ช่วงวันหยุดราชการ ในทุกพื้นที่ และขอให้กำลังใจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เพราะมีทั้งดูแลประชาชน ป้องกันตัวเอง และก็สร้างความสงบเรียบร้อยขึ้นในพื้นที่ให้ได้โดยเร็ว ขอบคุณครับ สวัสดีครับ ขอให้มีความสุขครับ
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 15 กรกฎาคม 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 2559 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน เนื่องด้วยสัปดาห์หน้า เป็นห้วงของเทศกาลอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนทุกคน จะได้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งเป็นวันที่พระภิกษุอธิฐานอยู่จำพรรษา เป็นเวลา 3 เดือนนะครับ
ในโอกาสอันดีนี้ ผมขอเชิญชวนคนไทยทุกคน ร่วมกันทำความดี รักษาศีล “ทำดีเพื่อพ่อหลวง – แม่หลวง” ถวายเป็นพระราชกุศล ในปีมหามงคล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ โดยขอให้ทุกวัดและพุทธศาสนิกชนไทย ทั้งในประเทศและทั่วโลกพร้อมใจกันถวายพระพร แด่ทั้ง 2 พระองค์ ด้วยการสวด “บทฉันท์เฉลิมพระเกียรติฯ”หลังทำวัตรเย็นหรือหลังสวดมนต์ที่บ้านประจำวัน สำหรับช่วงเทศกาลงานบุญนี้ ผมมีเรื่องจะฝากให้ชาวไทยได้คิด พิจารณาด้วยเหตุ ด้วยผล แล้วนำมาสู่การปฏิบัติที่ดี ที่งาม คือ
(1) การเลิกเหล้า เข้าพรรษา เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาศีล 5 เป็นความคิดที่ดี ที่จะสามารถทำได้ในห้วง 3 เดือน ของแต่ละปี หรือตลอดไป ก็คงจะดีที่สุด กับตัวเองด้วยนะครับ กับครอบครัว รวมถึง “ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่” ด้วยก็ดี หากสามารถทำได้ตลอดไปก็จะยิ่งดีกับตัวท่านเอง ครอบครัว รวมทั้งคนรอบข้าง
(2) กิจกรรมบันเทิง งานวัด ในการแห่เทียนเข้าพรรษาในปัจจุบันจารีตประเพณีอันงดงามของไทย ก็ยังคงมีอยู่ แต่ก็มีบางส่วนที่มีการบิดเบี้ยว ผิดเพี้ยน มีทั้งการโชว์วาบหวิว แต่งตัวโป๊เปลือย และเล่นการพนัน เหล่านี้ผมขอความร่วมมือนะครับ ช่วยกันรณรงค์ ทำในสิ่งที่ดี ที่เหมาะสม ก่อนที่ลูกหลานจะเข้าใจผิด ว่าเป็นสิ่งที่ถูกหรือทำได้ จนกลายเป็นเรื่องปกติไป วันหน้าก็เป็นปัญหาอีก
(3) พิธีสังฆกรรมที่เรียกว่า “มหาปวารณา” ซึ่งมีมาแล้วกว่า 2 พันปี ที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุ ว่ากล่าว ตักเตือน หรือถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน ด้วยความเคารพ ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน กระทำในหมู่สงฆ์ ในวัน “ออกพรรษา” แต่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีอะไรที่ดีนำมาพูดยิ่งพูดเร็ว คุยกันมากขึ้น เร็วขึ้น ก็น่าจะเกิดประโยชน์
ผมเห็นว่าวันนี้จะต้องเป็นพื้นฐานของ “สังคมประชาธิปไตย” ประชาธิปไตยที่ถูกต้อง เราคนไทย สามารถนำมาใช้ได้ เพื่อให้มีโอกาสในการเปิดฟังความเห็นที่แตกต่างแต่ต้องเป็นช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยนะครับ มีการอธิบายกันด้วยเหตุผล อย่าเอาเหตุผลอันใดอันหนึ่งมาเพื่อเอาชนะคะคานกัน เราจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับคณะนักร้องประสานเสียงเยาวชนหญิง อายุ 12 – 21 ปี จำนวน 21 คน ในความสำเร็จ ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ “เหรียญทอง” ทั้ง 2 รายการที่เราส่งเข้าแข่งขัน การขับร้องประสานเสียงชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 9 ณ เมืองโซชิ ประเทศรัสเซีย ก็ทราบว่าได้เชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ค่ำแล้ว” มาเป็นเพลงที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย นับเป็นสิริมงคลกับทุกคน ที่ได้นำพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปเผยแพร่สู่สายตาชาวโลก
ผมและคนไทยทุกคนขอเป็นกำลังใจสำหรับทุก ๆ คนด้วย ที่กำลังทำหน้าที่“เพื่อชาติ” เพื่อแผ่นดินในนามของทีมชาติด้วย ทุกคน ทุกทีม ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ 18 ณ สิงคโปร์ซึ่งปัจจุบันกำลังแข่งขันอยู่นะครับ สิ่งที่ผมเห็นในวันนี้ก็ คือ (1) “ความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” หากขาดซึ่งสิ่งนี้แล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกีฬา หรือการร้องเพลงประสานเสียง กาแข่งขันชนิดอื่น ๆ ก็ตาม ไม่สามารถจะประสบความสำเร็จไปได้ (2) เราจะต้องมี “ความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ” ซึ่งจะช่วยให้เป็นพลัง เป็นกำลังใจ ที่เรามองไม่เห็น ซึ่งจะผลักดันให้ทุกคนก้าวผ่านทุกอุปสรรคไปได้ และ (3) “การทำงานเป็นทีม” หมายถึง การทำงานที่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด แล้วก็ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ปัจจัยภายในต้องไม่ใช่ปัญหา ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาจากปัจจัยภายนอกให้ได้โดยเร็ว แล้วก็เริ่มจากภายในออกไปด้วย จะเป็นทักษะในการทำงานร่วมกันใน “ศตวรรษที่ 21” ทั้ง 3 ประการนี้ เป็น
สิ่งที่ประเทศของเราต้องการมาก ในขณะนี้ ในการเดินหน้าประเทศสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” นั้น เป็นการ “พลิกโฉม” การพัฒนาประเทศ จากการแก้ปัญหารายวัน เหมือนกับการ ปะ ผุ เลี้ยงไข้ ทำนองนี้ที่ผ่านมา วันนี้เราจะต้องทำเพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจะต้องมีกรอบนโยบายที่ชัดเจนสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของโลก และขององค์การสหประชาชาติ เพราะเรา เพื่อนบ้าน CLMVT นั้น เป็นส่วนประกอบของภูมิภาคอาเซียนและของโลกด้วย เราจะต้อง “เข้มแข็งไปด้วยกัน หรือที่เรียกว่า Stronger Together” โดยประเทศไทย ต้องอาศัยความได้เปรียบเชิงพื้นที่ และความพร้อมของเรา ในการแสดงบทบาทนำร่วม ผมใช้คำว่า นำร่วมแล้วกัน และการเป็นศูนย์กลางในหลาย ๆ ด้าน อาทิเช่น
(1) ศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งรัฐบาลนี้ กำลังผลักดันอยู่ ได้แก่ รถไฟทางคู่ ขนาด 1 เมตร เฟสแรก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 905 กิโลเมตรนะครับ ให้แล้วเสร็จทั้งหมด ภายในปี 2563 ซึ่งเราคงต้องหาวิธีการดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว และมีการดำเนินการอย่างโปร่งใส ไม่ทุจริต ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ ส่วนเฟสที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,600 กว่ากิโลเมตร และเฟสที่ 3 จำนวน 4 เส้นทาง ระยะทาง 800 กว่ากิโลเมตร ทั้งหมดนั้นจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ แล้วก็ทยอยเปิดให้บริการ ภายในปี 2565 โดยรัฐบาลนี้ ก็จะเริ่มต้น วางพื้นฐานระยะแรกไว้ให้ ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงแต่ละภูมิภาคของประเทศ เหนือ – ใต้ – ออก – ตก เข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อน อาทิเช่น ในประเทศลาว ในเรื่องของการสร้างรถไฟความเร็วสูง ผมได้คุยกับท่านนายกรัฐมนตรีลาวแล้ว กำลังสร้างอยู่นะครับ แล้วท่านก็บอกว่าถ้าไทยไม่สร้างก็กลายเป็นรถไฟ ไม่รู้จะไปต่อใครเหมือนกัน เราก็ต้องไปต่อกับเขา ที่เราเตรียมการไว้นี่ เราต้องคุยกันหลายประเทศด้วยกันนะครับ ถึงจะเกิดขึ้นมาได้ ทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งหวังเชื่อมโยงกับไทย บริเวณเมือง “คู่แฝด” หนองคาย – เวียงจันทร์ เป็นต้น สำหรับรถไฟทางคู่ ขนาด 1.435 เมตรอีก 4 เส้นทางก็กำลังเดินหน้าเจรจา เพื่อเลือกรูปแบบความร่วมมือ การลงทุน การรักษาผลประโยชน์ของชาติ ให้ได้มากที่สุด นอกจากนั้น เรายังได้เตรียมการถึงการขนส่งทางน้ำ เช่น ในการยกระดับท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ สำหรับใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่อเรือ และการพัฒนาท่าเรือ Ferry เป็นต้น และการขนส่งทางอากาศ รวมความไปถึงการข้ามฝาก จากทางด้านนี้ไปหัวหินด้วย ในเรื่องของการขนส่งทางอากาศนั้นเราก็เตรียมการในเรื่องของการขยายศักยภาพสนามบินอู่ตะเภา ให้สามารถรองรับผู้โดยสาร 5 ล้านคนต่อปี /ปีหน้าต้นปี ก็จะได้ 3 ล้านก่อน แล้วก็การพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยาน เป็นต้น ทั้งนี้ หลายประเทศให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศ CLMVT ในฐานะ Supply Chainของอาเซียน ดังนั้น กลุ่มประเทศ CLMVT ควรทำยุทธศาสตร์ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในอนุภูมิภาคนี้ จะต้องเน้นสร้างความเชื่อมโยงทั้งทางถนน สะพานรถไฟ ทางทะเล และทางอากาศ ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสู่ประเทศอื่น ๆ ทั้งในอาเซียน และนอกอาเซียน อาทิ จีน และอินเดีย ยูเรเซีย ด้วย
(2) คือเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว รัฐบาลนี้สนับสนุน ทั้งการท่องเที่ยวในชุมชน ท้องถิ่น โดยให้บรรจุไว้ใน “แผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด 4.0” ด้วย และการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามแนวคิด “Stronger Together” ซึ่งจะเป็นผลดีให้อาเซียนเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพิ่มมูลค่าทั้ง 2 ฝ่าย มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามแดนแบบ Thailand + 1 ในลักษณะ Joint Tourism Package และ 2 Countries 1 Destination ซึ่งสามารถใช้รูปแบบการพัฒนานี้เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายแดนอื่นไปพร้อม ๆ กันได้ด้วย เราก็กำลังนำพาอาเซียนไปด้วยกัน ทั้งนี้ เรื่องผลงานวิจัยที่น่าสนใจ ก็คือ ปีหน้า 2560 อาจมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เดินทางมาไทย ประมาณ 34 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2 ล้านคน ในปี 2559 จะเป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศ ราว 2.84 ล้านล้านบาทเราต้องทำให้ประเทศชาติเรามั่นคงมีเสถียรภาพ ปลอดภัย และแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเรื่องการทุจริตผิดกฎหมาย การดูแลนักท่องเที่ยวอะไรเหล่านี้นะครับ มาตรการการเยียวยาทั้งหมด และข้อสำคัญทำให้บ้านเมืองเราปลอดภัย ลดการขัดแย้งลง ไม่มีการประท้วงอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นแน่นอน เพราะไปหลาย Sector สิ่งที่น่าสนใจอีกประการ คือ แนวโน้มนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งมาเที่ยวเมืองไทย จำนวน 8 ล้านคน ในปี 2558 ยังไงก็เป็นเพื่อนบ้านกัน เราก็ต้องดูแลเขา รับรองเขา แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 25 ล้านคน ใน 10 ปีข้างหน้า ดังนั้นเราต้องเตรียมความพร้อม มีมาตรการรองรับที่เหมาะสม ไม่ว่าจะไกด์ มัคคุเทศก์ ระบบการขนส่ง ทางบก ทางเรือที่ปลอดภัย ไกด์ที่สามารถพูดภาษาจีนได้มากขึ้น จะให้คำแนะนำได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความขัดแย้งกันไปอีก เราเป็นเพื่อนบ้านกัน ขัดแย้งกันไม่ได้ คนไทย คนจีน ก็รู้จักกันมายาวนาน โดยทางประวัติศาสตร์ แล้วก็ทางเชื้อสายชาติพันธุ์ด้วยอยู่แล้ว เราต้องพยายามรักษาความสมดุลเหล่านี้ให้ได้ ทั้งในเรื่องของการอนุรักษ์ การฟื้นฟูธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว จะมุ่งเน้นหารายได้เพียงอย่างเดียวไม่ได้นะครับ ต้องดูแลในหลาย Sector โดยเฉพาะดูแลท้องถิ่นด้วย ประชาชนในพื้นที่ด้วย ที่จะเกิดผลกระทบจากการท่องเที่ยวจำนวนมากเหล่านี้ อาทิเช่นตัวอย่างที่เราทำไปแล้วคืออุทยานแห่งชาติหาดนพรัตธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ที่ประสบความสำเร็จ ก็สำเร็จแล้ว อย่ากลับไปที่เดิมอีกแล้วกัน ด้วยการนำแนวทาง “ประชารัฐ” เข้ามาบริหารจัดการ เอาจริงเอาจัง เน้นการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน จนสามารถสร้างรายได้ จาก 20 ล้านบาท ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 เป็น 300 ล้านบาท
ในช่วงเดียวกันของปี 2559 จะเห็นว่าเพิ่มเป็นจำนวนมากหลายเท่า ถ้าเราจัดการดีๆ ก็เป็นแบบนี้ทุกที่ นอกจากนี้ยังมีศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ ศูนย์กลางการแปรรูปผลผลิตการเกษตร รัฐบาลก็มีหลายมาตรการในการส่งเสริม เช่น การจัดตั้ง “เมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ Food Innopolis” เพื่อการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมใหม่ ๆ ป้อนอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งเพื่อยกระดับความ สามารถของ Startup และ SMEs / ท่านเชื่อหรือไม่ว่าธุรกิจเครื่องสำอางค์นั้น จากตัวเลขทางสถิติ ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจประเภทนี้ ไม่ได้ผันผวนไปตามเศรษฐกิจนะครับ ทุกคนยังใช้ ต้องใช้อยู่โดยเฉพาะสุภาพสตรี สุภาพบุรุษตอนนี้ก็ใช้แล้ว เครื่องสำอางบางอัน แต่ก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในเรืองของกิจการ Startup และ SMEs ด้านเครื่องสำอางค์หลายราย เป็นของไทย แต่จะถูกตั้งชื่อเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เราคิดค้นออกมา แล้วการ Matching แล้วบริษัทก็เอาไปผลิต อันนั้นเป็นความจำเป็นเพราะเราผลิตเองไม่ได้ หลาย ๆ เรื่อง ตอนนี้ต้องไปสู่การผลิตเองบ้าง เช่น ผลผลิตเครื่องสำอางค์จากมะเขือเทศญี่ปุ่น + หอยทาก ที่ยกตัวอย่างมานั้น ก็เพื่อให้เห็นความสำคัญ ถึงในเรื่องของการวิจัยและพัฒนา สถาบันการวิจัยและพัฒนาที่เราเร่งรัดอยู่ รวมทั้งการส่งเสริมของภาครัฐจะต้องดูมาตรการทางการตลาดด้วย วิจัยพัฒนา Matching หาการตลาดในประเทศ - ต่างประเทศ ไปสู่มาตรฐานให้ได้ ผ่านมาตรฐาน สมอ. ผ่าน อย. เหล่านี้ รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการอยู่ทั้งหมด แล้วก็ฝากทุกคนด้วย ช่วยศึกษาหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เห็นอะไรขายดีก็ทำมาขายแข่งกัน ระยะแรกก็ดีทั้งหมด ต่อไปวันหน้าก็ขาดทุนกันหมด เพราะว่าเหมือนกันยังไงเพราะฉะนั้นต้องดูให้ดี จะลงทุนอะไรก็ตาม ต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่าทำจนล้นตลาด เกินความต้องการ ราคาก็ตกอยู่ดี ก็ดูตัวอย่างจากสินค้าทางการเกษตรก็แล้วกัน เราควรมองธุรกิจต่อเนื่องให้ได้นะครับให้ทะลุตลอดไป เพื่อจะเชื่อมโยง ยกระดับต้องมีการพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน จากต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง มี Road map ของตัวเอง ว่าจะเอาทุนมาจากที่ไหน แล้วถ้าดีขึ้นเป็นที่ต้องการของตลาดเราจะพัฒนาอย่างไรซึ่งรัฐบาลก็สนับสนุนกองทุนในสิ่งที่มีศักยภาพอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นวันนี้ ปัจจุบัน รัฐบาลยกระดับสินค้า OTOP ผมเรียกว่า OTOP ประชารัฐแล้วกัน อะไรที่ดีผมก็ทำต่ออยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งผมใช้คำว่า OTOP “ประชารัฐ” ไปสู่อนาคต เราจะทำ OTOP Classic 4-5 ดาว OTOP Premium และ OTOP Go Interนะครับ คือในแนวทางของประชารัฐ จะนำไปขายบนเครื่องบิน ในสนามบิน ในร้านค้าประชารัฐสุขใจในปั๊ม ปตท. 148 แห่ง รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายการตลาดผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น ปัจจุบันมีผู้ผลิตสินค้า OTOP ประชารัฐ จำนวนถึง 4 หมื่นกว่าราย ทั้งที่เป็นSMEs มีเงินลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท ประมาณ 600 ราย รวมสินค้าเกือบ 8 หมื่นรายการ คิดเป็นรายได้ประมาณ 1 แสนล้านบาทต่อปี ล่าสุดนั้นคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาช่วย เหลือสินค้าชุมชนด้วย มาตรการ "ช็อปช่วยชุมชน" โดยซื้อสินค้า OTOP ประชารัฐ แล้วสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ตามจำนวนที่ซื้อจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท เริ่มวันที่ 1 ถึง 31 สิงหาคม นี้ ก็ต้องขอบิลด้วยที่ซื้อของเขามา รัฐบาลอาจจะต้องยอมสูญเสียภาษีบางส่วนไปบ้าง เพราะทั้งนี้ต้องการให้ธุรกิจเหล่านี้เจริญเติบโตขึ้น แล้วรัฐบาลก็ไปได้ภาษีจากตรงอื่นมา กิจกรรมที่ต่อเนื่องเชื่อมโยง ถ้าเราไม่สร้างกลไกเหล่านี้ ไม่สร้างห่วงโซ่มูลค่านี้ มุ่งหวังแต่เล็ก แต่น้อย เก็บภาษีตรงโน้น ตรงนี้ ยุบๆ ยับๆ ไปหมด เติบโตไม่ได้ ภาษีก็เก็บได้เท่านั้นแหละ เราเชื่อว่าถ้าเราทำแบบนี้ในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิประโยชน์ การสร้างแรงจูงใจ มาตรการทางภาษี เหล่านี้ผมคิดว่าคุ้มค่าในอนาคต เมื่อเทียบเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่พี่น้องประชาชนจะได้รับ รวมทั้งเป็นการกระจายรายได้ลงสู่ระบบเศรษฐกิจในชุมชน ราว 1 หมื่นล้านบาท ในช่วง 1 เดือน ก็ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน ร่วมช็อปช่วยชุมชนได้ ตามช่องทางที่กล่าวไปแล้ว
และในงาน “ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ประชารัฐ ก้าวไกล ด้วยพระบารมี ในห้วงวันที่ 12 ถึง 20 สิงหาคม 2559 ที่จะจัด ณ เมืองทองธานี ด้วย สำหรับการที่เราจะเป็น Hub หรือ เป็นศูนย์กลางอะไรก็แล้วแต่นะครับ มีหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น ศูนย์กลางเพื่อการส่งออกของภูมิภาค โดยเราจะต้องสร้างแรงดึงดูดให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ได้พิจารณาประเทศไทย ในการจัดตั้ง “สำนักงานใหญ่” ในภูมิภาค หรือเป็นฐานการผลิต โดยเฉพาะใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล เช่น ค่ายรถยนต์รายใหญ่ ก็มีความสนใจในการลงทุนสายการผลิตเดิมอยู่แล้วนะครับ รถยนต์ Hybrid อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ แล้วก็มีในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน ซึ่งจะต้องมีการลงทุนงบประมาณกว่า 2 หมื่นล้าน เป็นเม็ดเงินขนาดใหญ่ ทั้งนี้ต้องมีการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งเราจะต้องดำเนินการ่วมกันกับต่างประเทศ มอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ เหล่านี้ต้องมีการเจรจาเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ในการลงทุน การตั้งโรงงาน ทุกอย่างอยู่ที่ความมั่นใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ อัตราภาษี และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ บางครั้งก็ต้องเป็นสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี เพราะทุกประเทศเขาทำแบบนี้หมด การค้า การลงทุน แต่จะทำยังไงสิ่งแวดล้อมจะไม่เสียหาย ทำยังไงประชาชนจะได้ประโยชน์ ท้องถิ่นจะได้ประโยชน์ เราต้องร่วมกันคิดนะครับ จะไปขัดแย้งกันทุกเรื่อง ทำอะไรไม่ได้สักเรื่อง แล้วเราจะได้เงินทองมาจากไหนล่ะ ทั้งประเทศทั้งประชาชน ทั้งธุรกิจก็ไม่มีทางหาเงินมาได้ทั้งสิ้น
วันนี้สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือความมีเสถียรภาพทางการเมือง ความสงบเรียบร้อย และนโยบายของประเทศ ซึ่งเรามีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับนะครับ ด้านความมั่นคง รัฐบาลนี้จำเป็นต้องผลักดันให้มีการทำ “ยุทธศาสตร์ชาติ” 20 ปี และ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ให้สอดคล้องกัน รวมความไปถึงข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปด้วยนะครับ แผนปฏิรูปต้องสอดคล้องกันทั้ง 3 อย่างนะ เหล่านี้ต้องบรรจุลงไปด้วย เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ระยะยาว นักลงทุนต้องการความมั่นใจ รัฐบาลก็ต้องสร้างความเชื่อมั่น ปัจจุบันก็เป็นที่น่ายินดี ได้รับรายงานว่า นักลงทุนญี่ปุ่นยังคงมีความเชื่อมั่นต่อไทย เขาเป็นเพื่อนเรามายาวนานแล้ว แล้วก็แสดงความสนใจที่จะขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ไม่เฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ที่นักลงทุนญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว หรือมีฐานการผลิตที่เข้มแข็งในไทยอยู่แล้ว อาทิเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ก็จะก้าวไปสู่การผลิตที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น มีการต่อยอดเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมเพื่ออนาคต สร้างห่วงโซ่มูลค่านะครับ รวมทั้งมุ่งไปสู่ภาคบริการเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น (1) การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนกิจการเดิม (2) การจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (3) การจัดตั้งบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ของ BOI ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา มีโครงการของนักลงทุนญี่ปุ่นที่ได้รับอนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุน จำนวน 121 โครงการ มูลค่า 2 หมื่นกว่าล้านบาท มีอีกหลายประเทศให้ความสนใจทำนองนี้ด้วย
การที่ประเทศไทยจะสามารถก้าวไปอยู่ในตำแหน่งบทบาทนำร่วมกับสมาชิกประเทศอาเซียนอื่น ๆ นั้น รวมความถึงเป็นศูนย์กลางด้านต่าง ๆ ในภูมิภาค เราจะต้องยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ รวมทั้งเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า แล้วก็ต้องเร่งสร้าง “เครือข่าย” บนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ ที่เรียกว่าการสร้างระบบโลจิสติกส์ แล้วก็พื้นฐานในเรื่องของ ICT โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลได้เร่งลงทุนในเฟสแรกไปแล้ว ในปี 2559 นี้ เป็น “โครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทุกหมู่บ้าน ใช้งบประมาณ 15,000 ล้านบาท เฟสสองในปี 2560 จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ ใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีความสำคัญในการนำ “องค์ความรู้” ไปสู่ชุมชน ท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และก็นำ “สินค้า การบริการ ธุรกรรมทางการค้าต่าง ๆ” จากแหล่งผลิตในชุมชน ไปสู่ผู้ซื้อในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ก็จะเกิดเป็น “ธุรกิจออนไลน์” ที่ครบวงจร มีระบบโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ที่กล่าวมาแล้วนะครับ สำหรับขนส่งคน ขนส่งสินค้า เพื่อนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว ต่างๆเหล่านี้จะต้องเชื่อมโยงให้ได้ทั้งหมด ต้องสอดคล้องกัน เกื้อกูลซึ่งกันและกัน รวมความไปถึงการเชื่อมโยง “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” เมืองท่า เมืองอุตสาหกรรม คลัสเตอร์อุตสาหกรรมนะครับ รวมทั้งการยกระดับ “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง โดยประชาชนเรียนรู้เอง เกษตรกรมาใช้เอง เพื่อจะส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการรายใหญ่ ในการทำการค้าออนไลน์ เพื่อจะรองรับการเติบโตทางการค้าโลกในอนาคต ซึ่งมูลค่าการค้าและธุรกรรมทางการเงิน ส่วนใหญ่เกิดจากแอปพลิเคชั่นผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) สูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีออนไลน์ หรือเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ต และ Cloud Technology ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs ต้องปรับตัว ก้าวให้ทันโลก หันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการค้าออนไลน์
ผมอยากฝากดูแลในเรื่องของผู้พิการด้วย ให้เข้าถึงเหล่านี้ได้ด้วยนะครับ วันนั้นผมได้สั่งการไปแล้วใน ครม. สั่งการไปกระทรวง ICT แล้ว ให้ดูแลคนพิการให้มากขึ้นโดยใช้ระบบดิจิทัล เข้าไปเสริมนะครับ ทั้งนี้ เป้าหมายการจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนนั้น ก็คือการบ่มเพาะผู้ประกอบการ Tech Startup, SME และ Micro SMEsนะครับ ได้ประมาณ 1,500 ราย ภายใน 1 ปี 6 เดือน พัฒนาสินค้าต้นแบบพร้อมผลิต ราว300 รายการ ร้านค้าออนไลน์ชุมชนอย่างน้อย 1 หมื่นราย ชุมชน นำร่องโดย การต่อยอดจาก “โครงการคนกล้าคืนถิ่น” บ่มเพาะให้เป็นเกษตรกรดิจิทัล หรือ Smart Farmer จำนวน 1,600 คน เน้นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เช่น ข้าวผัก ผลไม้ เพื่อเป็นการบ่มเพาะผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการค้าขายออนไลน์ครบวงจรให้ได้ 15,000 ราย และการสร้างมาตรฐานสินค้าออนไลน์ 1 แสนราย เป็นต้น เหล่านี้ก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ต้องเร่งรัดให้เร็วขึ้น สำหรับ “ตลาดนัดชุมชน” วันนี้ก็เกิดขึ้นอยู่แล้ว หลายแห่งด้วยกันในสมัยรัฐบาลนี้ต่อไปก็ต้องขยายให้ใหญ่มากยิ่งขึ้น ยั่งยืนนโยบายรัฐบาลนั้นให้การส่งเสริมในเรื่องของตลาด เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ประชาชนสามารถเป็นทางเลือกจากพ่อค้าคนกลาง หรือจากไปขายที่ไกลๆ ถ้าเราสามารถจัดตั้งในพื้นที่ขึ้นมาได้ จะเป็นการดี แล้วก็สามารถกำหนดราคาพัฒนาคุณภาพ แล้วอย่าให้สกปรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาไปสู่ตลาดอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ เหล่านี้ จะทำให้คนไปแย่งกันซื้อ เป็นทางเลือกให้กับประชาชนด้วย ในรูปแบบของตลาดสด ตลาดกลาง ตลาด 4 มุมเมือง ต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
วันนี้พี่น้องเกษตรกรก็ลำบากไม่รู้จะไปขายใครเพราะไกล ก็ต้องขายคนกลางไป ราคาก็ตก วันนี้เราจะต้องใช้พื้นที่แลกเปลี่ยนสินค้าชุมชน OTOP ประชารัฐ ลดปัญหาพ่อค้าคนกลาง กำหนดราคาให้ได้ตามข้อเท็จจริง ด้วยหลักการและเหตุผล เราจำเป็นต้องส่งเสริมทั้งความรู้ทั้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางบัญชี การใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในเรื่องของใช้ระบบ ICT ให้มีรูปแบบการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานมีเส้นทางการจราจร พื้นที่จอดรถ ถูกสุขลักษณะ มีการกำจัดขยะ มีการจัดเขตสุขาภิบาลที่เหมาะสม คืออย่ารอรัฐบาลทำอย่างเดียว ท่านต้องทำของท่านไปด้วย อย่ามุ่งหวังว่าราชการต้องมาช่วยมาเสริมตลอดเวลา เขาก็ให้หลักๆ ให้ ที่เหลือท่านก็ต้องช่วยกันทำบ้างผลประโยชน์อยู่กับท่านทั้งสิ้น เราก็ต้องเอาแง่คิดทางธุรกิจเข้ามาเสริมด้วย รัฐบาล ข้าราชการก็ต้องคิดแบบนักธุรกิจบ้างนะครับแต่เพื่อประชาชน ใช้ความร่วมมือ ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ให้มีการบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการของชุมชน ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืน จากนั้น อาจต่อยอดด้วยกิจกรรมเสริม เช่น มีการจับคู่ทางธุรกิจต่อไป การจัดนิทรรศการ การสาธิตและแสดงสินค้า ตลอดจนกิจกรรมสันทนาการ อาทิเช่น การแสดงพื้นบ้าน สิ่งใดก็ตามที่เป็นอัตลักษณ์ วันนี้ รัฐบาลได้เริ่ม “ต้นแบบ” ไปแล้วในตลาดคลองผดุงกรุงเกษม มา 2 ปีแล้ว ข้างทำเนียบรัฐบาล ตอนนี้กำลังพัฒนาต่อ ให้เป็นตลาดน้ำในโอกาสที่ เมื่อไรก็ตามที่น้ำเพียงพอแล้วก็เป็นเส้นทางสัญจรทางเรือไปได้ด้วย คราวนี้กระทรวงมหาดไทย ก็ได้ดำเนินการไปแล้วในส่วนของคลองผดุงกรุงเกษมร่วมกับ กทม. ส่วนของต่างจังหวัดเราก็ได้มีการเปิดตลาดนัดชุมชนมาแล้ว 2,039 แห่ง ในรัฐบาลนี้ มีเกษตรกร ผู้ประกอบการ OTOP ประชารัฐ กลุ่มอาชีพ ข้าราชการ ภาคเอกชน และสินค้าธงฟ้าเข้าร่วมกัน ตอนนี้มียอดการจำหน่ายรวมกว่า 5,600 ล้านบาท ท้ายที่สุดจะต้องเดินไปสู่ “ตลาดประจำตำบล ตลาดประจำอำเภอ” เพราะต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น ตอนนี้เริ่มไปก่อน เพื่อจะเสริมการท่องเที่ยว แล้วก็เชื่อมโยงกับชุมชนได้ด้วย ทำอะไรก็ตามถ้ามาก ๆ ใช้งบประมาณสูงๆ ต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่จะเกิดได้เร็วก็คือ ประชาชนร่วมมือกัน รวมกลุ่มกันเหล่านี้จะเร็วขึ้น
เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเรื่อง “แรงงาน” หรือทรัพยากรมนุษย์นั้น รัฐบาลนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก ในการขับเคลื่อนประเทศ ปัจจุบันเรามีแรงงานประเภท 1.0 ที่ใช้แรงงานอย่างเดียว 2.0 ใช้เครื่องจักรเครื่องมือขนาดเล็ก และ 3.0 เล็ก-กลาง-ใหญ่ ผสมกัน มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถจะแก้ทีเดียวเป็น 4.0 ได้ทั้งหมด เราต้องมีการปรับตัว ทุกคนต้องปรับตัว แรงงานต้องปรับตัว โรงานต้องปรับตัว ยกระดับตนเอง พัฒนาเทคโนโลยี ด้วย “ความรู้” ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งทุนเดี๋ยวไปคุยกัน เนื่องจากแนวโน้มของโลกในอนาคตนั้นจะมีการนำเครื่องยนต์กลไก เครื่องจักร อุปกรณ์อัจฉริยะ มาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผมได้สั่งการให้กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการสำรวจความต้องการแรงงานในอนาคตด้วย เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแรงงานประเภทต่างๆ ต่อไป
สำหรับการกำหนดมาตรการส่งเสริมทักษะ ความรู้ และรองรับการพัฒนาในอนาคต มีตัวเลขทางสถิติ ที่น่าสนใจก็คือ ประมาณการความต้องการแรงงาน ในอีก 10 ปีข้างหน้า ห้วงปี 2559 ถึง 2568 จะเพิ่มขึ้น ราว 2 ล้านคน เป็น 39.34 ล้านคน ในปี 2568 โดยแบ่งเป็น (1) แรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ มีความต้องการแรงงานเพิ่มเติม เกือบ 2 แสนคน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า เป็นผู้ปฏิบัติงาน ราว 1 แสน 5 หมื่นคน เป็นช่างเทคนิค ราว 8 พันคน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อโครงการลงทุนระบบขนส่งทางรางแล้วเสร็จ ประเทศไทยมีความต้องการกำลังคน สำหรับการเดินรถและการซ่อมบำรุง ช่วงปี 2560 – 2564 ประมาณ 25,000 คน เป็นวิศวกร ราว 4,500 คน ช่างเทคนิค ราว 9,000 คน และเจ้าหน้าที่สาขาอื่นๆ เช่น พนักงานเดินรถ ในขบวนรถ ช่างฝีมือ เป็นต้น อีกกว่า 1 หมื่นคน (2) แรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีความต้องการแรงงานเพิ่มเติม ประมาณ 7 หมื่นคน ใน 5 ปีข้างหน้า และ (3) แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ มีความต้องการแรงงานเพิ่มเติม ประมาณ 6 แสนคน ใน 5 ปีข้างหน้าเป็นต้น
สำหรับข้อมูลดังกล่าว ผมได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้แต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้อยู่บนพื้นฐานของตัวเลขเดียวกัน เพื่อใช้ในการวางแผน กำหนดนโยบาย และการวางยุทธศาสตร์ของแต่ละกระทรวงและนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล ทันต่อความต้องการในอนาคตด้วย ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการ ในการบริหารจัดการแรงงานของประเทศในหลายๆ มิติ เช่น (1) การสร้างงาน สร้างรายได้เพื่อคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม มีงานทำ ด้วย “Smart Job Center” ได้แก่ การบรรจุงานในประเทศ 4 แสน 4 หมื่นคน สร้างรายได้กว่า 62,000 ล้านบาท
(2) การจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ มากกว่า 8 หมื่นคน สร้างรายได้ส่งกลับประเทศ ราว 66,000 ล้านบาท
(3) ส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่แรงงานนอกระบบ โดยสนับสนุนให้กู้เงินกองทุน เพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน กว่า 280 กลุ่ม
(4) การกำหนดอัตราค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือแรงงานเพิ่มอีก 20 สาขาอาชีพ ค่าจ้างสูงสุด ถึง 550 บาทต่อวัน แต่ต้องมีฝีมือ
(5) การจ้างงานคนพิการ มากกว่า 7,000 คน ซึ่งจะต้องเพิ่มขึ้นในอนาคตอีก
(6) พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไทย มากกว่า 2 ล้าน 7 แสนคน
(7) การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ลดต้นทุนการผลิตได้ มากกว่า 400 ล้านบาท
(8) การนำค่าใช้จ่ายจากการฝึกอบรม มาลดหย่อนภาษี เฉลี่ยปีละ ไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท
และ (9) การพัฒนาแรงงานรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ กว่า 3 หมื่นคน เป็นต้น
สำหรับการปรับระบบบริหารจัดการ แรงงานต่างด้าว ให้รองรับการเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMVTโดยจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน ในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การส่งแรงงาน ไปจนถึงการส่งกลับ การดูแลแรงงานเพื่อรักษาความเป็นธรรมตามกฎหมาย ปัจจุบันสามารถดำเนินการ ได้ดังนี้ (1) นำเข้าแรงงานตาม MOU ได้แล้ว กว่า 3 แสนคน (2) สามารถจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ในกิจการประมงทะเล และแปรรูปสัตว์น้ำ ราว 1 แสน 6 หมื่นคน (3) จดทะเบียนใหม่ ให้แรงงานเดิมที่ใบอนุญาตหมดอายุ กว่า 7 แสนคน (4) ตรวจการทำงานของแรงงานต่างด้าว มากกว่า 8 หมื่นคน และ (5) ดำเนินคดีกับนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่กระทำผิดกฎหมาย กว่า 3 พันคน เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ
นอกจากนั้นในกรอบประชาคมโลก โดยเฉพาะในเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ส่งเสริมสวัสดิการและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน รัฐบาลนี้ ได้ยื่นสัตยาบันสารอนุสัญญา ILO ซึ่งถูกละเลยมากว่า 10 ปี ที่ผ่านมา ได้แก่ (1) สัตยาบันอนุสัญญา ว่าด้วยแรงงานทางทะเล เพื่อให้ลูกเรือ แรงงาน และเจ้าของเรือเดินทะเลของไทย ได้รับการคุ้มครอง ตามมาตรฐานสากล และ (2) สัตยาบันอนุสัญญา ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเพื่อยืนยันว่าประเทศไทย ได้ดำเนินการอยู่ในระดับมาตรฐานสากล
รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายสำคัญด้านแรงงาน ที่สำคัญ อาทิเช่น (1) การออกกฎกระทรวงกำหนดสถานที่ที่ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าทำงาน เพื่อป้องกันนำไปสู่การค้ามนุษย์นะครับ (2) การจัดทำฐานข้อมูลการทำงานของเด็กเป็นครั้งแรก เพื่อใช้วางแผนจัดการปัญหาการใช้แรงงานเด็กตามมาตรฐานโลก นอกจากนี้ ยังได้ การปฏิรูปประกันสังคม เพิ่มและขยายสิทธิผู้ประกันตนเช่น ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินทดแทนการขาดรายได้ตลอดชีวิตและกรณีทุพพลภาพ รวมทั้งจะขยายให้คุ้มครองเกษตรและประมงด้วย ทั้งหมดจะต้องทำเป็นระบบ ได้มาตรฐานสากล ให้รองรับกับการพัฒนาประเทศไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ในอนาคต ทุกอย่างต้องใช้งบประมาณรายได้จะมาจากไหน จะต้องตอบคำถามได้ว่าเราต้องนำพาไปสู่การค้า การลงทุนที่มีมูลค่าสูงขึ้นกว่าเดิม ถ้ารายได้ของประเทศยังเท่าเดิม กิจการเดิมๆ อยู่ ไปไม่ได้ทั้งหมด ขณะที่ทุกคนต้องการ
สิ่งสำคัญในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ก็คือ อย่าลืมนะครับ เรื่อง “การเรียนรู้” ที่ผมเคยพูดหลายครั้งแล้ว (1) คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต” การพัฒนาทักษะเด็กเล็ก ก่อนเข้าวัยเรียน เป็นอนาคตของชาติ 20 ปี ข้างหน้า ทักษะเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเด็กเล็ก (2) คือการศึกษาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพราะความแตกต่างในระดับประชาชน ยังมีอยู่มาก 4 เป็นการสร้างรายได้ประเทศให้สูงขึ้น และ 2 การศึกษาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพราะเรายังมีความแตกต่างในระดับประชาชน อาชีพ รายได้เหล่านี้มีอยู่มาก เพราะฉะนั้นการที่เราเดินหน้าไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 นั้นจะเป็นการสร้างรายได้ประเทศให้สูงขึ้น แต่เราก็เป็นห่วง สำหรับ 1.0 ใช้แรงงานอย่างเดียว 2.0 ใช้ขนาดเล็ก 3.0 ใช้เล็กกับใหญ่ เหล่านี้ยังจำเป็นต้องมีอยู่ เพียงแต่พัฒนาให้ใช้เทคโนโลยีให้สูงขึ้น แต่พยายามอย่าลดคนงาน ไม่อย่างนั้นแรงงานเราก็ไม่มีงานทำ เรายังคงมีความจำเป็นอยู่ ไม่เช่นนั้นพอว่างงานมาก ๆ แล้วจะทำยังไงกัน นี่ก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนผ่านไปหลายบริษัทแล้ว เราจำเป็นต้องพัฒนาทักษะฝีมือ ยกระดับฝีมือตัวเองไปด้วย ไปสู่ที่ผมกล่าวไว้แล้วเมื่อสักครู่ ที่เขาต้องการ รัฐบาลให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ รวมทั้งพี่น้องเกษตรกรทุกประเภทก็ต้องช่วยเหลือส่งเสริมซึ่งกันและกันแบบ “พี่จูงน้อง – เพื่อนจูงเพื่อน” ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราต้องเข้มแข็งไปด้วยกัน ต้องเตรียมแก้ปัญหาการว่างงานของแรงงานต่าง ๆ ตามโรงงาน ซึ่งเขากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่นี่
วันนั้นสั่งงานไปแล้วหารือไปแล้วว่า หามาตรการ อาจจะต้องนำเขามาสู่ในช่วงพัฒนาทักษะ เขาต้องไปเรียนด้วย และพัฒนาฝีมือด้วย แต่เขาต้องมีรายได้ที่จะกิจ จะใช้อยู่จะทำยังไง อาจจะต้องมาทำในเรื่องของการเกษตร โดยรัฐบาลต้องเข้าไปดูแล ผู้ที่ว่างงานเหล่านี้ ก็จะผลิตสินค้าอะไรต่างๆ เป็นสินค้าที่มีราคา ไม่เช่นนั้นเขาก็ไปเรียนแล้วจะเอาเงินที่ไหนกินอยู่ ครอบครัวจะอยู่กันยังไง ไม่รู้เหมือนกัน ผมให้ความสำคัญเรื่องนี้ อย่ามองว่ารัฐบาลจะไปเอื้อประโยชน์ขนาดใหญ่ กลุ่มทุน ไม่ใช่ ผมดูกลุ่มเล็กเป็นหลัก กลุ่มใหญ่ก็ทำเพื่อรายได้ประเทศ
สุดท้ายนี้ห้วงระหว่างวันที่ 14 ถึง16 กรกฎาคม 2559 นี้ ผมอยู่ระหว่างเดินทางไปเข้าร่วม การประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM ครั้งที่ 11 ณ กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย ซึ่งจะมีการหารือของผู้นำประเทศสมาชิก ASEM ทั้ง 51 ประเทศ ในเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่องของการเตรียมการรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมความเชื่อมโยง การรักษาความมั่นคงทางทะเล รวมทั้งจะได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ในทศวรรษที่ 3 ร่วมกัน
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น