เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 278/2559 รมว.ศธ.นำคณะนักเรียนโอลิมปิกวิชาการเข้ารับโอวาทจากนายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล - พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และรองศาสตราจารย์ ธัชชัย สุมิตร ประธานกรรมการ สสวท. นำคณะผู้แทนประเทศไทยที่จะเดินทางไปแข่งขันคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ.2559 จำนวนประมาณ 50 คน เข้าเยี่ยมคารวะและรับโอวาทจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจก่อนเดินทางไปแข่งขัน เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องสีม่วง ตึกสันติไมตรี
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการโอลิมปิกวิชาการฯ ว่า เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) โดยมูลนิธิ สอวน.เป็นผู้ดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการฯ ส่วน สสวท.ดำเนินการจัดอบรมนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือก แล้วสอบคัดเลือกให้ได้ผู้แทนประเทศไทย และจัดส่งไปแข่งขัน ณ ประเทศเจ้าภาพที่จัดการแข่งขัน
สำหรับคณะผู้แทนประเทศไทยที่จะเดินทางไปแข่งขันคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ประจำปีพุทธศักราช 2559 มีรายละเอียดดังนี้
-
วิชาคณิตศาสตร์ คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 6 คนไปแข่งขัน ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 6 - 16 กรกฎาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 คน โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
วิชาคอมพิวเตอร์ คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 4 คนไปแข่งขัน ณ เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย ตั้งแต่วันที่ 12 - 19 สิงหาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 2 คน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมคอมพิวเตอร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-
วิชาเคมี คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 4 คนไปแข่งขัน ณ กรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมเคมีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
วิชาชีววิทยา คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 4 คน ไปแข่งขัน ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 17 - 24 กรกฎาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 2 คน โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมชีววิทยาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
วิชาฟิสิกส์ คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 5 คนไปแข่งขัน ณ เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 17 - 11 กรกฎาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 คน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยมหิดล
นายกรัฐมนตรี ได้มอบโอวาทให้แก่คณะผู้แทนประเทศไทยตอนหนึ่งว่า วันนี้ถือเป็นวันแห่งความสุข ที่ได้พบกับอนาคตของประเทศไทย นักเรียนเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในอนาคตของการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 20 ปีข้างหน้า คาดหวังว่าบุคคลเหล่านี้ จะเป็นทูตทางวิชาการในการเผยแพร่ภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศ และแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของความภาคภูมิใจในความไทยที่ไม่น้อยหน้าไปกว่าประเทศอื่น
สิ่งสำคัญที่จะต้องทำในวันนี้คือ จะต้องปฏิรูปการศึกษาที่ไม่เน้นความรู้เฉพาะในห้องเรียน สร้างกระบวนการเรียนรู้โดยให้ครูนักเรียนร่วมกันเรียนรู้ไปพร้อมกัน ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้นอกห้องเรียน และนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างกระบวนการความคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งปัจจุบันนักเรียนนักศึกษาที่มีความรู้ในทางวิชาการ มีสถิติจบมาแล้วไม่มีงานทำสูง ปัญหาเหล่านี้ จะต้องแก้ไขโดยทำให้คนเหล่านี้ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และมีความมุ่งมั่น คิดว่าให้ได้ว่าในอนาคตต้องการประกอบอาชีพอะไร ควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาประเทศ ที่ให้นึกถึงสาขาวิชาชีพของอุตสาหกรรมใหม่ที่จะมีความต้องการสูงในอนาคตด้วย ทั้งนี้ นักเรียนนักศึกษาก็จะต้องดูแลสุขภาพให้ดีด้วย พร้อมหมั่นฝึกสมอง สติปัญญา สร้างความมุ่งมั่นตั้งใจให้กับตัวเอง เพื่อพัฒนาประเทศให้มีสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ต่อไป
ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมที่จะผลักดัน เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในขณะนี้ รัฐบาลได้มีการดำเนินการแก้กฎหมายการศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศ และจะต้องส่งเสริมบุคคลเหล่านี้ ให้เป็นบุคคลมีศักยภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวอวยพรพร้อมให้กำลังใจตัวแทนนักเรียนแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศว่า ขอให้ทุกคนมีแต่ความสุขความเจริญ ได้รับชื่อเสียงเกียรติยศกลับมาสู่ประเทศ ให้คนไทยได้ภาคภูมิใจ และขอให้ลดความกดดัน ไปเรียนรู้ประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด แล้วนำประสบการณ์เหล่านั้นกลับมาพัฒนาเพื่อใช้ในชีวิต และประเทศไทยต่อไป
รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานกรรมการ สสวท. กล่าวว่า การแข่งขันคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ เป็นการแข่งขันด้านวิชาการของเยาวชนที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี จากประเทศต่างๆทั่วโลก โดยจัดให้มีการแข่งขันคณิตศาสตร์เป็นวิชาแรกเมื่อปี พ.ศ.2502 และจัดให้มีการแข่งขันวิชาฟิสิกส์ เคมี คอมพิวเตอร์ ชีววิทยา เป็นลำดับต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สำหรับปี 2559 มีนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศสมัครเข้าสอบคัดเลือก ณ ศูนย์ สอวน. ทั้ง 20 แห่ง รวม 71,664 คน เข้าค่าย สอวน.รอบที่ 1 จำนวน 2,886 คน จากนั้นสอบคัดเลือกเข้าค่าย สอวน. รอบที่ 2 จำนวน 1,790 คน แล้วมูลนิธิ สอวน.คัดเลือกนักเรียน จำนวน 209 คน ส่งให้ สสวท. เพื่อจัดอบรม 2 ครั้ง แล้วสอบคัดเลือกนักเรียน 23 คนเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขัน ณ ประเทศเจ้าภาพที่จัดการแข่งขัน
ในส่วนของประเทศไทยได้เข้าร่วมแข่งขันคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2532 และส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันเพิ่มอีก 4 วิชาคือ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน จากการที่ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันเป็นเวลา 26 ปี โดยส่งผู้แทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันจำนวน 594 คน ผู้แทนประเทศไทยได้รับรางวัลทั้งหมด 496 รางวัล เป็นรางวัลเหรียญทอง 120 เหรียญ โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 1 ของโลกถึง 3 ครั้ง ในวิชาชีววิทยา รางวัลเหรียญเงิน 190 เหรียญรางวัลเหรียญทองแดง 143 เหรียญรางวัลเกียรติคุณประกาศ 41 รางวัล รางวัล The Best Solution 1 รางวัลจากวิชาคณิตศาสตร์ รางวัล The Best Experiment 1 รางวัล จากวิชาฟิสิกส์ และรางวัล The Best Theoretical Exam จากวิชาเคมี ผู้แทนประเทศไทยเหล่านี้ ส่วนหนึ่งสำเร็จการศึกษาและปฏิบัติงานในหน่วยงานสำคัญต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศ
การดำเนินโครงการนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสมาคมวิชาการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้แทนประเทศไทยทุกคนมีสิทธิ์ขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อ ณ ต่างประเทศตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอก และหลังปริญญาเอก โดยเป็นทุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตชื่อทุนการศึกษาที่รัฐบาลได้จัดสรรให้นี้ว่า "ทุนโอลิมปิกวิชาการ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงเมตตาพระราชทานการสนับสนุนโครงการตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 จนสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.2551
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้ และเป็นศิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจ สำหรับผู้แทนประเทศไทยที่ได้รับทุนทุกคน
ที่มา ; เว็บไซต์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 278/2559 รมว.ศธ.นำคณะนักเรียนโอลิมปิกวิชาการเข้ารับโอวาทจากนายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล - พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และรองศาสตราจารย์ ธัชชัย สุมิตร ประธานกรรมการ สสวท. นำคณะผู้แทนประเทศไทยที่จะเดินทางไปแข่งขันคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ.2559 จำนวนประมาณ 50 คน เข้าเยี่ยมคารวะและรับโอวาทจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจก่อนเดินทางไปแข่งขัน เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องสีม่วง ตึกสันติไมตรี
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการโอลิมปิกวิชาการฯ ว่า เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) โดยมูลนิธิ สอวน.เป็นผู้ดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการฯ ส่วน สสวท.ดำเนินการจัดอบรมนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือก แล้วสอบคัดเลือกให้ได้ผู้แทนประเทศไทย และจัดส่งไปแข่งขัน ณ ประเทศเจ้าภาพที่จัดการแข่งขัน
สำหรับคณะผู้แทนประเทศไทยที่จะเดินทางไปแข่งขันคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ประจำปีพุทธศักราช 2559 มีรายละเอียดดังนี้
- วิชาคณิตศาสตร์ คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 6 คนไปแข่งขัน ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 6 - 16 กรกฎาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 คน โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วิชาคอมพิวเตอร์ คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 4 คนไปแข่งขัน ณ เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย ตั้งแต่วันที่ 12 - 19 สิงหาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 2 คน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมคอมพิวเตอร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- วิชาเคมี คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 4 คนไปแข่งขัน ณ กรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมเคมีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วิชาชีววิทยา คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 4 คน ไปแข่งขัน ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 17 - 24 กรกฎาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 2 คน โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมชีววิทยาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วิชาฟิสิกส์ คัดเลือกผู้แทนประเทศไทย 5 คนไปแข่งขัน ณ เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 17 - 11 กรกฎาคม 2559 ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 คน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 คน คณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีมฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยมหิดล
นายกรัฐมนตรี ได้มอบโอวาทให้แก่คณะผู้แทนประเทศไทยตอนหนึ่งว่า วันนี้ถือเป็นวันแห่งความสุข ที่ได้พบกับอนาคตของประเทศไทย นักเรียนเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในอนาคตของการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 20 ปีข้างหน้า คาดหวังว่าบุคคลเหล่านี้ จะเป็นทูตทางวิชาการในการเผยแพร่ภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศ และแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของความภาคภูมิใจในความไทยที่ไม่น้อยหน้าไปกว่าประเทศอื่น
สิ่งสำคัญที่จะต้องทำในวันนี้คือ จะต้องปฏิรูปการศึกษาที่ไม่เน้นความรู้เฉพาะในห้องเรียน สร้างกระบวนการเรียนรู้โดยให้ครูนักเรียนร่วมกันเรียนรู้ไปพร้อมกัน ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้นอกห้องเรียน และนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างกระบวนการความคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งปัจจุบันนักเรียนนักศึกษาที่มีความรู้ในทางวิชาการ มีสถิติจบมาแล้วไม่มีงานทำสูง ปัญหาเหล่านี้ จะต้องแก้ไขโดยทำให้คนเหล่านี้ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และมีความมุ่งมั่น คิดว่าให้ได้ว่าในอนาคตต้องการประกอบอาชีพอะไร ควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาประเทศ ที่ให้นึกถึงสาขาวิชาชีพของอุตสาหกรรมใหม่ที่จะมีความต้องการสูงในอนาคตด้วย ทั้งนี้ นักเรียนนักศึกษาก็จะต้องดูแลสุขภาพให้ดีด้วย พร้อมหมั่นฝึกสมอง สติปัญญา สร้างความมุ่งมั่นตั้งใจให้กับตัวเอง เพื่อพัฒนาประเทศให้มีสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ต่อไป
ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมที่จะผลักดัน เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในขณะนี้ รัฐบาลได้มีการดำเนินการแก้กฎหมายการศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศ และจะต้องส่งเสริมบุคคลเหล่านี้ ให้เป็นบุคคลมีศักยภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวอวยพรพร้อมให้กำลังใจตัวแทนนักเรียนแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศว่า ขอให้ทุกคนมีแต่ความสุขความเจริญ ได้รับชื่อเสียงเกียรติยศกลับมาสู่ประเทศ ให้คนไทยได้ภาคภูมิใจ และขอให้ลดความกดดัน ไปเรียนรู้ประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด แล้วนำประสบการณ์เหล่านั้นกลับมาพัฒนาเพื่อใช้ในชีวิต และประเทศไทยต่อไป
รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานกรรมการ สสวท. กล่าวว่า การแข่งขันคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ เป็นการแข่งขันด้านวิชาการของเยาวชนที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี จากประเทศต่างๆทั่วโลก โดยจัดให้มีการแข่งขันคณิตศาสตร์เป็นวิชาแรกเมื่อปี พ.ศ.2502 และจัดให้มีการแข่งขันวิชาฟิสิกส์ เคมี คอมพิวเตอร์ ชีววิทยา เป็นลำดับต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สำหรับปี 2559 มีนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศสมัครเข้าสอบคัดเลือก ณ ศูนย์ สอวน. ทั้ง 20 แห่ง รวม 71,664 คน เข้าค่าย สอวน.รอบที่ 1 จำนวน 2,886 คน จากนั้นสอบคัดเลือกเข้าค่าย สอวน. รอบที่ 2 จำนวน 1,790 คน แล้วมูลนิธิ สอวน.คัดเลือกนักเรียน จำนวน 209 คน ส่งให้ สสวท. เพื่อจัดอบรม 2 ครั้ง แล้วสอบคัดเลือกนักเรียน 23 คนเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขัน ณ ประเทศเจ้าภาพที่จัดการแข่งขัน
ในส่วนของประเทศไทยได้เข้าร่วมแข่งขันคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2532 และส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันเพิ่มอีก 4 วิชาคือ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน จากการที่ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันเป็นเวลา 26 ปี โดยส่งผู้แทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันจำนวน 594 คน ผู้แทนประเทศไทยได้รับรางวัลทั้งหมด 496 รางวัล เป็นรางวัลเหรียญทอง 120 เหรียญ โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 1 ของโลกถึง 3 ครั้ง ในวิชาชีววิทยา รางวัลเหรียญเงิน 190 เหรียญรางวัลเหรียญทองแดง 143 เหรียญรางวัลเกียรติคุณประกาศ 41 รางวัล รางวัล The Best Solution 1 รางวัลจากวิชาคณิตศาสตร์ รางวัล The Best Experiment 1 รางวัล จากวิชาฟิสิกส์ และรางวัล The Best Theoretical Exam จากวิชาเคมี ผู้แทนประเทศไทยเหล่านี้ ส่วนหนึ่งสำเร็จการศึกษาและปฏิบัติงานในหน่วยงานสำคัญต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศ
การดำเนินโครงการนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสมาคมวิชาการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้แทนประเทศไทยทุกคนมีสิทธิ์ขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อ ณ ต่างประเทศตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอก และหลังปริญญาเอก โดยเป็นทุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตชื่อทุนการศึกษาที่รัฐบาลได้จัดสรรให้นี้ว่า "ทุนโอลิมปิกวิชาการ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงเมตตาพระราชทานการสนับสนุนโครงการตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 จนสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.2551
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้ และเป็นศิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจ สำหรับผู้แทนประเทศไทยที่ได้รับทุนทุกคน
ที่มา ; เว็บไซต์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น