เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 297/2559
ศธ.ร่วมเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนของเด็ก-เยาวชน
โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถา เรื่อง "แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนและหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชน" ในการสัมมนาเรื่อง "ถนน : สู่ความปลอดภัยของคนไทยรุ่นใหม่" จัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2559 ที่ห้องจูปิเตอร์ โดยมีนายนิกร จำนง ประธานกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน ผู้แทนหน่วยงานด้านความปลอดภัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนครูและนักเรียน เข้าร่วมกว่า 300 คน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งว่า ในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนของเด็กและเยาวชน เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใหญ่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลและปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยจากภัยอุบัติภัยและอุบัติเหตุต่างๆ ด้วยวิธีการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ
ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนงานในหลายเรื่องที่สำคัญ ทั้งการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน การปรับปรุงระบบบริหารจัดการศึกษา การเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษา การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค เป็นต้น แต่ยังไม่ได้ดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนเท่าที่ควรจะเป็น ประกอบกับข้อมูลสถิติอุบัติจากการรายงานของธนาคารโลกสำนักงานประเทศไทย พบว่าในประเทศไทยทุกๆ 1 ชั่วโมง อุบัติเหตุบนท้องถนนคร่า 1 ชีวิต และข้อมูลจากหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน รายงานว่าอัตราการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลงเหลือเพียง 2 ใน 3 ภายในเวลา 10 ปี โดยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้ว ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนเป็นอันดับ 3 ของโลก
จึงต้องขอขอบคุณคณะกรรมาธิการฯ ที่เชิญมาร่วมงานในครั้งนี้ ซึ่งช่วยกระตุ้นเตือนให้กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับประเด็นความปลอดภัยบนท้องถนนของเด็กและเยาวชนมากขึ้น ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้วที่จะต้องในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจราจร เพื่อให้สามารถดูแลตัวเองได้ต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ จะได้นำตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนของประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จมาปรับใช้ เช่น
-
ประเทศญี่ปุ่น - สอนให้นักเรียนอนุบาลเรียนรู้เครื่องหมายจราจร ผ่านนิทาน การระบายสี และการสวมบทบาทเป็นผู้เดินทาง
-
ประเทศออสเตรเลีย - สอนนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยสอดแทรกเรื่องการจราจรและการใช้รถใช้ถนนในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น การตัดสินใจในการข้ามถนน การวิเคราะห์ความเสี่ยงในฐานะผู้ขับขี่
-
ประเทศอังกฤษ - สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยเน้นในเรื่องของความประมาท มีการจำลองสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุให้เด็กวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนั้นๆ
ตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น เป็นตัวอย่างที่ดีที่กระทรวงศึกษาธิการ จะได้นำมาปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งจะร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1) ปรับเนื้อหาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัยและเข้มข้นมากขึ้นในระดับชั้นต่างๆ โดยจะจัดหาสื่อที่มีความสมบูรณ์และมีความพร้อมให้ครูนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้ทันที
2) เพิ่มเมนูเรื่อง “ความปลอดภัยบนท้องถนน” ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะได้ทั้ง 4H กล่าวคือ Head-การวิเคราะห์ การตัดสินใจในการใช้รถใช้ถนน, Heart-ความเคารพกฎระเบียบจราจร ความมีวินัย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การอดทนรอ ความมีน้ำใจ, Hand-ทักษะในการขับขี่ การใช้ถนน, Health-การป้องกันมลพิษจากการเดินทาง
3) การปรับสภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอกโรงเรียน โดยจะให้โรงเรียนที่มีศักยภาพปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งด้านภายภาพและการฝึกปฏิบัติ ทั้งภายในและบริเวณหน้าโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
4) การจัดอบรมครู เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบจราจร และเพื่อให้ครูปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการสัมมนา “ถนน : สู่ความปลอดภัยของคนไทยรุ่นใหม่” ระหว่างคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงคมนาคม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด, สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย, ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า, สมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย, องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย (Save the Children), ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน และมูลนิธิอาชีวเวชศาสตร์ไทย พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลงานภายในบริเวณงาน
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 297/2559
ศธ.ร่วมเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนของเด็ก-เยาวชน
โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถา เรื่อง "แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนและหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชน" ในการสัมมนาเรื่อง "ถนน : สู่ความปลอดภัยของคนไทยรุ่นใหม่" จัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2559 ที่ห้องจูปิเตอร์ โดยมีนายนิกร จำนง ประธานกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน ผู้แทนหน่วยงานด้านความปลอดภัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนครูและนักเรียน เข้าร่วมกว่า 300 คน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งว่า ในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนของเด็กและเยาวชน เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใหญ่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลและปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยจากภัยอุบัติภัยและอุบัติเหตุต่างๆ ด้วยวิธีการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ
ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนงานในหลายเรื่องที่สำคัญ ทั้งการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน การปรับปรุงระบบบริหารจัดการศึกษา การเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษา การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค เป็นต้น แต่ยังไม่ได้ดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนเท่าที่ควรจะเป็น ประกอบกับข้อมูลสถิติอุบัติจากการรายงานของธนาคารโลกสำนักงานประเทศไทย พบว่าในประเทศไทยทุกๆ 1 ชั่วโมง อุบัติเหตุบนท้องถนนคร่า 1 ชีวิต และข้อมูลจากหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน รายงานว่าอัตราการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลงเหลือเพียง 2 ใน 3 ภายในเวลา 10 ปี โดยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้ว ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนเป็นอันดับ 3 ของโลก
จึงต้องขอขอบคุณคณะกรรมาธิการฯ ที่เชิญมาร่วมงานในครั้งนี้ ซึ่งช่วยกระตุ้นเตือนให้กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับประเด็นความปลอดภัยบนท้องถนนของเด็กและเยาวชนมากขึ้น ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้วที่จะต้องในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจราจร เพื่อให้สามารถดูแลตัวเองได้ต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ จะได้นำตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนของประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จมาปรับใช้ เช่น
- ประเทศญี่ปุ่น - สอนให้นักเรียนอนุบาลเรียนรู้เครื่องหมายจราจร ผ่านนิทาน การระบายสี และการสวมบทบาทเป็นผู้เดินทาง
- ประเทศออสเตรเลีย - สอนนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยสอดแทรกเรื่องการจราจรและการใช้รถใช้ถนนในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น การตัดสินใจในการข้ามถนน การวิเคราะห์ความเสี่ยงในฐานะผู้ขับขี่
- ประเทศอังกฤษ - สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยเน้นในเรื่องของความประมาท มีการจำลองสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุให้เด็กวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนั้นๆ
ตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น เป็นตัวอย่างที่ดีที่กระทรวงศึกษาธิการ จะได้นำมาปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งจะร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1) ปรับเนื้อหาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัยและเข้มข้นมากขึ้นในระดับชั้นต่างๆ โดยจะจัดหาสื่อที่มีความสมบูรณ์และมีความพร้อมให้ครูนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้ทันที
2) เพิ่มเมนูเรื่อง “ความปลอดภัยบนท้องถนน” ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะได้ทั้ง 4H กล่าวคือ Head-การวิเคราะห์ การตัดสินใจในการใช้รถใช้ถนน, Heart-ความเคารพกฎระเบียบจราจร ความมีวินัย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การอดทนรอ ความมีน้ำใจ, Hand-ทักษะในการขับขี่ การใช้ถนน, Health-การป้องกันมลพิษจากการเดินทาง
3) การปรับสภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอกโรงเรียน โดยจะให้โรงเรียนที่มีศักยภาพปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งด้านภายภาพและการฝึกปฏิบัติ ทั้งภายในและบริเวณหน้าโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
4) การจัดอบรมครู เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบจราจร และเพื่อให้ครูปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการสัมมนา “ถนน : สู่ความปลอดภัยของคนไทยรุ่นใหม่” ระหว่างคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงคมนาคม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด, สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย, ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า, สมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย, องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย (Save the Children), ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน และมูลนิธิอาชีวเวชศาสตร์ไทย พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลงานภายในบริเวณงาน
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น