เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
อุตสาหกรรม 4.0
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ว่า เบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินการเพื่อรองรับผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่ 4 ขึ้น โดยมีแนวทางดำเนินงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมด้วยการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ใช้การส่งเสริมเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน 2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก (Eco System) เช่น ห้องปฏิบัติการทดสอบ ศูนย์ออกแบบ (Design Center) 3.สร้างความเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจโลก เน้นใช้ระบบ ITการพัฒนาสู่ระบบอัตโนมัติที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน 4.การพัฒนาทุนมนุษย์ เช่น พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็น ได้แก่ การสร้างนวัตกรรม การทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ การพัฒนา SMEs เป็นสมาร์ทเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ ที่มีศักยภาพสูงโดยใช้ IT มาช่วยในธุรกิจ และ5.การพัฒนาองค์กรภาครัฐ เช่น การให้บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร การให้บริการผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้งการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยในลักษณะประชารัฐ
“อุตสาหกรรม 4.0 ตามนิยามของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมที่นำนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในกระบวนการผลิต การให้บริการตลอดห่วงโซ่อุปทาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้หลากหลายตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภค ซึ่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 สาขา ตามนโยบายรัฐบาลสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภาพสูงขึ้น สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วได้ดีขึ้น” นายสมชาย กล่าว
ในส่วนของการพัฒนาสู่ SMEs 4.0 กระทรวงอุตสาหกรรมมีช่องทางในการส่งเสริมให้เข้าถึงมาตรการและการส่งเสริม 4 ช่องทาง ได้แก่ ช่องทางการเงิน คือการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน ช่องทางการลงทุน โดยดำเนินงานตามนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบ Cluster ซึ่งจะทำให้ SMEs ได้รับสิทธิประโยชน์ที่จะให้การส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หากมีการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ช่องทางการตลาด โดยการส่งเสริมและผลักดันด้านการตลาดผ่านสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อให้เข้าถึงตลาดภูมิภาค (Regional) และตลาดโลก (Global) รวมถึงการจัดงาน Thailand Industry Expo เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการขยายตลาด ช่องทางการพัฒนาศักยภาพ SMEs โดยการปรับเปลี่ยน ส่งเสริม และพัฒนา SMEs ที่มีอยู่ให้เป็น SME 4.0 ด้วยการสร้าง SMEs ที่ทันสมัย มีศักยภาพสูงและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้เร็ว
นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มีการพัฒนาศูนย์ธุรกิจอุตสาหกรรมครบวงจร (Business Service Center : BSC) เพื่อให้บริการธุรกิจ SMEs ได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านระบบออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย ปัจจุบันมี 14 ศูนย์ทั่วประเทศ และในอนาคตจะมีครบทุกจังหวัด
กระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้จัดทำโครงการ “หมู่บ้านอุตสาหกรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” เพื่อช่วยพัฒนาอาชีพและกระจายรายได้สู่หมู่บ้านอุตสาหกรรมในชนบท 20 หมู่บ้าน รวม 19 จังหวัด โดยในปี 2559 จะนำร่องรวมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย
หมู่บ้านบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นทางวัฒนธรรมมรดกโลก
หมู่บ้านนาตีน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นทางการท่องเที่ยวและวิถีชีวิตชุมชนมุสลิม
หมู่บ้านนาตาโพ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นในการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ
หมู่บ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นในการผลิตภัณฑ์ผ้าไหม คงไว้ซึ่งความเป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมู่บ้านหนองผือน้อย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นในผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองและวัฒนธรรมริมฝั่งโขง
นอกจากนี้ ภายใน 1-2 ปีนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะปรับลดบทบาทการดำเนินงานของหน่วยงานอนุญาตต่างๆ ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จากการกำกับดูแลลงมาเป็นผู้ส่งเสริมพัฒนา ดังนี้
การเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของหน่วยงานให้มีความเชี่ยวชาญในด้านการส่งเสริมและพัฒนาด้วย
เสริมสร้างศักยภาพในเชิงส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมให้กับทุกหน่วยงานในสังกัดมีโครงการกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประกอบการมากขึ้น
พัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญพิเศษให้บุคลากรมีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง
เสริมสร้างระบบฐานข้อมูลด้านอุตสาหกรรม ด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ถูกต้อง ครบถ้วน มีข้อมูลเดียวใช้ได้ทุกหน่วยงาน
สนับสนุนการมีส่วนร่วมให้ภาคเอกชนเข้ามาพัฒนา ส่งเสริม และกำกับดูแลงานด้านโรงงานอุตสาหกรรม งานด้านการรับรองมาตรฐาน
ถ่ายโอนภารกิจด้านการกำกับดูแลโรงงานที่สามารถถ่ายโอนได้ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกำกับดูแลแทน
การพัฒนาบริการอำนวยความสะดวกของกระทรวงอุตสาหกรรม จะมีเรื่องของการพัฒนาระบบอนุญาตวัตถุอันตราย ณ จุดเดียว มีการลดเอกสารเกี่ยวกับการมอบอำนาจได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลวัตถุอันตราย และบริการชำระเงินทางอีเล็กทรอนิกส์ในการขอใบอนุญาต โดยไม่ต้องเดินทางมาชำระด้วยเงินสดเหมือนในอดีต มีการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเครื่องจักร เช่น 1) กำหนดให้เอกชนเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์แทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ โดยมีมาตรการควบคุม 2) ยกเลิกการแจ้งย้ายเครื่องจักร ภายในบริเวณสถานที่ประกอบกิจการ เป็นต้น และโครงการศูนย์ช่วยเหลือและติดตามการต่ออายุโรงงานที่ขาดการจัดการกากอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายให้โรงงานเข้าระบบจำนวนทั้งสิ้น 9,000 ราย
ทั้งนี้ ต้องทำงานโดยร่วมแก้ไขปัญหากับผู้ประกอบการ ตัวอย่างเช่น การปรับมาตรฐานเหล็กใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังแก้ไขปัญหาการนำเข้าเหล็กราคาถูกที่กระทบผู้ประกอบการเหล็กในประเทศได้ การปรับแก้ไขกฎหมายผังเมืองเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และมีการทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คาดการณ์ด้วยว่า ช่วงที่เหลือของปี 2559 ภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวดีขึ้น จากการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวจากรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตร ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะปรับดีขึ้นจากหมวดก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการภาครัฐ ซึ่งภาครัฐเองก็มีการเร่งขยายตัวของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยปัจจัยที่จะต้องติดตามในช่วงครึ่งหลังของปี ได้แก่ สัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกที่ยังคงไม่ชัดเจนท่ามกลางความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
โดยในปี 2559 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI : Manufacturing Production Index) จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2-3 และผลิตภัณฑ์มวลรวมอุตสาหกรรม หรือ GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.5-2.5 จากปี 2558 ที่ MPI และ GDP อุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.3 และ 0.9 ตามลำดับ
สำหรับในปี 2560 ภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2559 ตามเศรษฐกิจโลกที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนการฟื้นตัวและการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยมีส่วนผลักดันให้มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยข้อมูลล่าสุดในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2559 มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายจำนวน 280 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 56 ของจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้นและมีมูลค่าทั้งสิ้น 91,875 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40 ของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน และหากพิจารณาในแง่ของจำนวนโครงการพบว่าส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล ส่วนในด้านมูลค่าของเงินลงทุนพบว่าในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีเงินลงทุนสูงที่สุด
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
อุตสาหกรรม 4.0
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ว่า เบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินการเพื่อรองรับผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่ 4 ขึ้น โดยมีแนวทางดำเนินงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมด้วยการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ใช้การส่งเสริมเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน 2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก (Eco System) เช่น ห้องปฏิบัติการทดสอบ ศูนย์ออกแบบ (Design Center) 3.สร้างความเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจโลก เน้นใช้ระบบ ITการพัฒนาสู่ระบบอัตโนมัติที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน 4.การพัฒนาทุนมนุษย์ เช่น พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็น ได้แก่ การสร้างนวัตกรรม การทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ การพัฒนา SMEs เป็นสมาร์ทเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ ที่มีศักยภาพสูงโดยใช้ IT มาช่วยในธุรกิจ และ5.การพัฒนาองค์กรภาครัฐ เช่น การให้บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร การให้บริการผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้งการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยในลักษณะประชารัฐ
“อุตสาหกรรม 4.0 ตามนิยามของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมที่นำนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในกระบวนการผลิต การให้บริการตลอดห่วงโซ่อุปทาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้หลากหลายตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภค ซึ่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 สาขา ตามนโยบายรัฐบาลสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภาพสูงขึ้น สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วได้ดีขึ้น” นายสมชาย กล่าว
ในส่วนของการพัฒนาสู่ SMEs 4.0 กระทรวงอุตสาหกรรมมีช่องทางในการส่งเสริมให้เข้าถึงมาตรการและการส่งเสริม 4 ช่องทาง ได้แก่ ช่องทางการเงิน คือการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน ช่องทางการลงทุน โดยดำเนินงานตามนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบ Cluster ซึ่งจะทำให้ SMEs ได้รับสิทธิประโยชน์ที่จะให้การส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หากมีการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ช่องทางการตลาด โดยการส่งเสริมและผลักดันด้านการตลาดผ่านสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อให้เข้าถึงตลาดภูมิภาค (Regional) และตลาดโลก (Global) รวมถึงการจัดงาน Thailand Industry Expo เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการขยายตลาด ช่องทางการพัฒนาศักยภาพ SMEs โดยการปรับเปลี่ยน ส่งเสริม และพัฒนา SMEs ที่มีอยู่ให้เป็น SME 4.0 ด้วยการสร้าง SMEs ที่ทันสมัย มีศักยภาพสูงและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้เร็ว
นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มีการพัฒนาศูนย์ธุรกิจอุตสาหกรรมครบวงจร (Business Service Center : BSC) เพื่อให้บริการธุรกิจ SMEs ได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านระบบออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย ปัจจุบันมี 14 ศูนย์ทั่วประเทศ และในอนาคตจะมีครบทุกจังหวัด
กระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้จัดทำโครงการ “หมู่บ้านอุตสาหกรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” เพื่อช่วยพัฒนาอาชีพและกระจายรายได้สู่หมู่บ้านอุตสาหกรรมในชนบท 20 หมู่บ้าน รวม 19 จังหวัด โดยในปี 2559 จะนำร่องรวมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย
หมู่บ้านบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นทางวัฒนธรรมมรดกโลก
หมู่บ้านนาตีน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นทางการท่องเที่ยวและวิถีชีวิตชุมชนมุสลิม
หมู่บ้านนาตาโพ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นในการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ
หมู่บ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นในการผลิตภัณฑ์ผ้าไหม คงไว้ซึ่งความเป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมู่บ้านหนองผือน้อย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ที่โดดเด่นในผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองและวัฒนธรรมริมฝั่งโขง
นอกจากนี้ ภายใน 1-2 ปีนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะปรับลดบทบาทการดำเนินงานของหน่วยงานอนุญาตต่างๆ ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จากการกำกับดูแลลงมาเป็นผู้ส่งเสริมพัฒนา ดังนี้
การเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของหน่วยงานให้มีความเชี่ยวชาญในด้านการส่งเสริมและพัฒนาด้วย
เสริมสร้างศักยภาพในเชิงส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมให้กับทุกหน่วยงานในสังกัดมีโครงการกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประกอบการมากขึ้น
พัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญพิเศษให้บุคลากรมีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง
เสริมสร้างระบบฐานข้อมูลด้านอุตสาหกรรม ด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ถูกต้อง ครบถ้วน มีข้อมูลเดียวใช้ได้ทุกหน่วยงาน
สนับสนุนการมีส่วนร่วมให้ภาคเอกชนเข้ามาพัฒนา ส่งเสริม และกำกับดูแลงานด้านโรงงานอุตสาหกรรม งานด้านการรับรองมาตรฐาน
ถ่ายโอนภารกิจด้านการกำกับดูแลโรงงานที่สามารถถ่ายโอนได้ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกำกับดูแลแทน
การพัฒนาบริการอำนวยความสะดวกของกระทรวงอุตสาหกรรม จะมีเรื่องของการพัฒนาระบบอนุญาตวัตถุอันตราย ณ จุดเดียว มีการลดเอกสารเกี่ยวกับการมอบอำนาจได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลวัตถุอันตราย และบริการชำระเงินทางอีเล็กทรอนิกส์ในการขอใบอนุญาต โดยไม่ต้องเดินทางมาชำระด้วยเงินสดเหมือนในอดีต มีการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเครื่องจักร เช่น 1) กำหนดให้เอกชนเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์แทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ โดยมีมาตรการควบคุม 2) ยกเลิกการแจ้งย้ายเครื่องจักร ภายในบริเวณสถานที่ประกอบกิจการ เป็นต้น และโครงการศูนย์ช่วยเหลือและติดตามการต่ออายุโรงงานที่ขาดการจัดการกากอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายให้โรงงานเข้าระบบจำนวนทั้งสิ้น 9,000 ราย
ทั้งนี้ ต้องทำงานโดยร่วมแก้ไขปัญหากับผู้ประกอบการ ตัวอย่างเช่น การปรับมาตรฐานเหล็กใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังแก้ไขปัญหาการนำเข้าเหล็กราคาถูกที่กระทบผู้ประกอบการเหล็กในประเทศได้ การปรับแก้ไขกฎหมายผังเมืองเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และมีการทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คาดการณ์ด้วยว่า ช่วงที่เหลือของปี 2559 ภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวดีขึ้น จากการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวจากรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตร ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะปรับดีขึ้นจากหมวดก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการภาครัฐ ซึ่งภาครัฐเองก็มีการเร่งขยายตัวของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยปัจจัยที่จะต้องติดตามในช่วงครึ่งหลังของปี ได้แก่ สัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกที่ยังคงไม่ชัดเจนท่ามกลางความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
โดยในปี 2559 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI : Manufacturing Production Index) จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2-3 และผลิตภัณฑ์มวลรวมอุตสาหกรรม หรือ GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.5-2.5 จากปี 2558 ที่ MPI และ GDP อุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.3 และ 0.9 ตามลำดับ
สำหรับในปี 2560 ภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2559 ตามเศรษฐกิจโลกที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนการฟื้นตัวและการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยมีส่วนผลักดันให้มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยข้อมูลล่าสุดในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2559 มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายจำนวน 280 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 56 ของจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้นและมีมูลค่าทั้งสิ้น 91,875 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40 ของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน และหากพิจารณาในแง่ของจำนวนโครงการพบว่าส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล ส่วนในด้านมูลค่าของเงินลงทุนพบว่าในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีเงินลงทุนสูงที่สุด
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น