เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 271/2559การประชุม กองทุนสงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ ครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2559 ที่ห้องประชุมจันทรเกษม ว่าที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการบริหารจัดการสภาวะทางการเงินของกองทุนสงเคราะห์ให้มีสภาพคล่อง
รมว.ศธ. กล่าวว่า กองทุน สงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ (Private Teacher Aid Fund) เป็นกองทุนสงเคราะห์มีฐานะเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2518 ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2518 ในขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในลักษณะเงินทุนเลี้ยงชีพ สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ส่งเสริมการออม ตลอดจนเงินสวัสดิการสงเคราะห์ และเงินทดแทน โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกองทุน
ทั้งนี้ เงินกองทุนดังกล่าวได้มาจากแหล่งต่างๆ คือ 1) กองทุนสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 2) เงินที่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาส่งเข้ากองทุนร้อยละสาม 3) เงินที่โรงเรียนในระบบส่งเข้ากองทุน ร้อยละสาม 4) เงินสมทบที่กระทรวงศึกษาธิการส่งสมทบร้อยละหก 5) ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค 6) เงินเพิ่มและรายได้อื่นๆ 7) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินของกองทุน
ที่ประชุมครั้งนี้ ได้หารือถึงสภาวะทางการเงินของกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการของครูเอกชนกว่า 100,000 คน ในสองส่วนคือ ค่ารักษาพยาบาลและเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ซึ่งแต่เดิมกองทุนมีความคล่องตัว เพราะอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 10 แต่ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยลดลง จึงมีปัญหาค่าใช้จ่ายของกองทุนเกินงบประมาณมาโดยตลอด ที่ประชุมจึงได้หารือและมีข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหา 3 แนวทาง ดังนี้
1) ขอรับงบประมาณสมทบจากรัฐ โดยเสนอให้มีการเสนอขอรับงบประมาณสมบทจากรัฐบาลที่ต้องจ่ายให้กองทุนร้อยละ 6 ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุน โดยมอบให้กองทุนรวบรวมหลักฐานและสรุปรายละเอียดงบประมาณที่จะขอรับสมทบย้อนหลัง เพื่อใช้ประกอบการเสนอของบประมาณต่อไป
2) การลงทุนทางการเงิน ขณะนี้กองทุนมีเงินกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้นำเงินบางส่วนไปฝากบัญชีฝากประจำ ลงทุนตราสารหนี้และหุ้น เพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนหลัก และขอให้ไปศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขของบริษัทประกันสุขภาพต่างๆ โดยพิจารณาถึงความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน ความครอบคลุมและคุ้มค่าของสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
3) ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการใช้สิทธิรักษาพยาบาล ซึ่งกองทุนได้คิดวางแผนการเงินให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้เพื่อดูแลครูอยู่แล้ว กล่าวคือมีสัดส่วนในการจ่ายเงินให้กองทุน คือ ครูร้อยละ 3 : โรงเรียนร้อยละ 3 : รัฐบาลร้อยละ 6 ซึ่งมากเป็นสองเท่าของระบบประกันสุขภาพในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคที่รัฐบาลสมทบเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น แต่เนื่องจากในอดีตครูสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ไม่จำกัดจำนวน ต่อมาภายหลังจากอัตราดอกเบี้ยลดลง ทางกองทุนได้กำหนดให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี จึงทำให้ครูบางส่วนต้องการย้ายไปอยู่ระบบประกันสุขภาพในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ โดยจะต้องศึกษารายละเอียดและข้อกฎหมายว่าสามารถย้ายครูไปในระบบดังกล่าวได้หรือไม่ และหากทำได้ อาจจะต้องลดเงินสมทบของรัฐบาลจากร้อยละ 6 ลงหรือไม่ และลดจำนวนเท่าใด แม้จะยังไม่แน่ชัด แต่จะส่งผลต่อวงเงินหลังเกษียณอายุที่ครูเคยได้ร้อยละ 12 อย่างแน่นอน เพราะครูไปใช้สิทธิ์ในระบบดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งให้กองทุนคำนึงถึงครูที่มีสุขภาพดี-ไม่เจ็บป่วย ที่ต้องการได้รับเงินหลังเกษียณอายุร้อยละ 12 เช่นเดิมด้วย
ที่มา ; เว็บไซต์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 271/2559การประชุม กองทุนสงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ ครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2559 ที่ห้องประชุมจันทรเกษม ว่าที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการบริหารจัดการสภาวะทางการเงินของกองทุนสงเคราะห์ให้มีสภาพคล่อง
รมว.ศธ. กล่าวว่า กองทุน สงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ (Private Teacher Aid Fund) เป็นกองทุนสงเคราะห์มีฐานะเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2518 ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2518 ในขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในลักษณะเงินทุนเลี้ยงชีพ สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ส่งเสริมการออม ตลอดจนเงินสวัสดิการสงเคราะห์ และเงินทดแทน โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกองทุน
ทั้งนี้ เงินกองทุนดังกล่าวได้มาจากแหล่งต่างๆ คือ 1) กองทุนสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 2) เงินที่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาส่งเข้ากองทุนร้อยละสาม 3) เงินที่โรงเรียนในระบบส่งเข้ากองทุน ร้อยละสาม 4) เงินสมทบที่กระทรวงศึกษาธิการส่งสมทบร้อยละหก 5) ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค 6) เงินเพิ่มและรายได้อื่นๆ 7) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินของกองทุน
ที่ประชุมครั้งนี้ ได้หารือถึงสภาวะทางการเงินของกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการของครูเอกชนกว่า 100,000 คน ในสองส่วนคือ ค่ารักษาพยาบาลและเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ซึ่งแต่เดิมกองทุนมีความคล่องตัว เพราะอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 10 แต่ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยลดลง จึงมีปัญหาค่าใช้จ่ายของกองทุนเกินงบประมาณมาโดยตลอด ที่ประชุมจึงได้หารือและมีข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหา 3 แนวทาง ดังนี้
1) ขอรับงบประมาณสมทบจากรัฐ โดยเสนอให้มีการเสนอขอรับงบประมาณสมบทจากรัฐบาลที่ต้องจ่ายให้กองทุนร้อยละ 6 ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุน โดยมอบให้กองทุนรวบรวมหลักฐานและสรุปรายละเอียดงบประมาณที่จะขอรับสมทบย้อนหลัง เพื่อใช้ประกอบการเสนอของบประมาณต่อไป
2) การลงทุนทางการเงิน ขณะนี้กองทุนมีเงินกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้นำเงินบางส่วนไปฝากบัญชีฝากประจำ ลงทุนตราสารหนี้และหุ้น เพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนหลัก และขอให้ไปศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขของบริษัทประกันสุขภาพต่างๆ โดยพิจารณาถึงความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน ความครอบคลุมและคุ้มค่าของสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
3) ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการใช้สิทธิรักษาพยาบาล ซึ่งกองทุนได้คิดวางแผนการเงินให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้เพื่อดูแลครูอยู่แล้ว กล่าวคือมีสัดส่วนในการจ่ายเงินให้กองทุน คือ ครูร้อยละ 3 : โรงเรียนร้อยละ 3 : รัฐบาลร้อยละ 6 ซึ่งมากเป็นสองเท่าของระบบประกันสุขภาพในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคที่รัฐบาลสมทบเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น แต่เนื่องจากในอดีตครูสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ไม่จำกัดจำนวน ต่อมาภายหลังจากอัตราดอกเบี้ยลดลง ทางกองทุนได้กำหนดให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี จึงทำให้ครูบางส่วนต้องการย้ายไปอยู่ระบบประกันสุขภาพในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ โดยจะต้องศึกษารายละเอียดและข้อกฎหมายว่าสามารถย้ายครูไปในระบบดังกล่าวได้หรือไม่ และหากทำได้ อาจจะต้องลดเงินสมทบของรัฐบาลจากร้อยละ 6 ลงหรือไม่ และลดจำนวนเท่าใด แม้จะยังไม่แน่ชัด แต่จะส่งผลต่อวงเงินหลังเกษียณอายุที่ครูเคยได้ร้อยละ 12 อย่างแน่นอน เพราะครูไปใช้สิทธิ์ในระบบดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งให้กองทุนคำนึงถึงครูที่มีสุขภาพดี-ไม่เจ็บป่วย ที่ต้องการได้รับเงินหลังเกษียณอายุร้อยละ 12 เช่นเดิมด้วย
ที่มา ; เว็บไซต์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น