อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561
พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 เวลา 20.15 น.
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23
มีนาคม 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ผมได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ ณ นครซิดนีย์
ออสเตรเลีย ที่จัดขึ้นเพื่อหารือกันระหว่างผู้นำประเทศต่าง ๆ
ในอาเซียนกับออสเตรเลีย ภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมความมั่นคงและความมั่งคั่งในภูมิภาค”
ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องมีผลลัพธ์การหารือที่นำไปสู่การปฏิบัติจริงให้ได้โดยเร็ว
ออสเตรเลีย ถือเป็นประเทศคู่เจรจาที่เก่าแก่ที่สุดของอาเซียนมากว่า 44
ปีแล้ว ทำให้มีความเข้าใจอาเซียนเป็นอย่างดี เข้าใจระหว่างกันทั้ง 2
ทาง
ปัจจุบันออสเตรเลียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อยู่ระหว่างการพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ
ในการดำเนินความสัมพันธ์กับโลกภายนอก รวมถึงการหาความสมดุลในภูมิภาค
โดยเฉพาะการพัฒนาแนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่จะเชื่อมโยงประเทศในมหาสมุทรอินเดีย
และมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าด้วยกัน
ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงเราจึงต้องเร่งพัฒนาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในหลาย
ๆ ด้านเพื่อจะรองรับความท้าทายต่าง ๆ สำหรับในด้านเศรษฐกิจ
ปัจจุบันมีความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
ซึ่งมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นเวทีในการยกระดับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นขึ้นได้อีก
ในการเดินทางครั้งนี้
ผมและผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและออสเตรเลียได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากลระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย
เพื่อย้ำเจตนารมณ์ในการร่วมมือต่อต้านการก่อการร้ายสากล
และยังได้รับรองปฏิญญาซิดนีย์ซึ่งเป็นเอกสารกำหนดวิสัยทัศน์ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียในด้านต่าง
ๆ เช่น
ด้านการต่อต้านภัยคุกคามในหลายรูปแบบต่อความมั่นคง
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่มหาสมุทรร่วมกันอย่างสันติ ความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล
และการบินเหนือน่านฟ้าในภูมิภาค ส่วนในด้านเศรษฐกิจ
ก็จะมีการสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ที่รวมถึงการเร่งรัดการจัดทำความตกลง
RCEP การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้ง การร่วมกันสนับสนุน
Micro SME และลดช่องว่างการพัฒนาอีกทั้งจะส่งเสริมการเชื่อมโยงในระดับประชาชนผ่านความเชื่อมโยงทางการศึกษา
ความร่วมมือทางสิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุขด้วย นอกจากนี้
ออสเตรเลียได้เสนอโครงการต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งเสาการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ
และสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อดำเนินการ
โดยมุ่งเน้นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายที่จะต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการต่อต้านการค้ามนุษย์ เพิ่มเติมด้วย
สำหรับในที่ประชุม ผมได้เน้นย้ำว่าแนวคิดอินโด – แปซิฟิกที่กำลังร่วมกันพัฒนานี้ ควรนำไปสู่ดุลยภาพทางยุทธศาสตร์ใหม่
โดยคำนึงถึงความเป็นแกนกลางของอาเซียน
ด้วยความยึดถือการไว้เนื้อเชื่อใจกัน การเคารพซึ่งกันและกัน
และการสร้างประโยชน์ร่วมกันโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมด้วย
ซึ่งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียก็ได้ย้ำเช่นกัน ว่าอาเซียนคือหัวใจของภูมิภาคอินโด –
แปซิฟิกนี้นอกจากนั้น
ยังได้มีการหารือประเด็นในภูมิภาคและโลกที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย ได้แก่
สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี และพัฒนาการของสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ซึ่งผมก็ได้เสนอให้มีการจัดตั้งกลไกที่จะส่งเสริมพื้นที่ปลอดภัยและการพัฒนาที่ยั่งยืนในรัฐยะไข่ให้เป็นเอกภาพ
จากบรรดาประเทศสมาชิก โดยจะต้องรับฟังความต้องการ
หรือเจตนารมณ์ของรัฐบาลเมียนมาร์ด้วย ทั้งนี้
เพื่อมิให้เกิดการแทรกแซงจากภายนอกได้
เราต้องแก้ปัญหาของเราให้ได้โดยเร็วโดยอาเซียนด้วยกันเองสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างมีเอกภาพ
ในปีหน้านี้ ไทยจะรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียน
ทำให้เราจะต้องทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านในการต้อนรับการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียนตลอดปี
รวมถึงการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2565 ด้วย ซึ่งรัฐบาลอยู่ระหว่างการเตรียมการอย่างดีที่สุดเพื่อให้เห็นความพร้อมของไทยและเป็นโอกาสในการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและบทบาทของไทยในการเป็นผู้นำในหลาย
ๆ ด้านด้วย
ผมขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีร่วมกันเพื่อแสดงให้เห็นความน่าอยู่
ความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศเราร่วมกันด้วยอันนี้ก็อยากจะฝากเป็นพิเศษ
ถึงแม้ว่าการประชุมเอเปคจะปี 2565 ก็ตาม
ใครจะเป็นรัฐบาลก็ตาม เราคงต้องเตรียมการตั้งแต่บัดนี้ วันนี้ก็ตั้งคณะกรรมการระดับชาติในการเตรียมการประชุมทั้ง 2 ประชุม ปีหน้าประชุมอาเซียน ปี 65 ประชุมเอเปค
ต้องเตรียมการทั้งหมด ก็ขอให้สานต่อกันต่อไป บ้านเมืองต้องสะอาดเรียบร้อย ปลอดภัยมีเสถียรภาพ
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือผมอยากให้ดูในวีดิทัศน์ที่ออกมา
ก็อยากให้ดูบ้านเมืองของออสเตรเลียด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในบริเวณอ่าวซิดนีย์
เขาได้จัดระเบียบกันอย่างสวยงามเรียบร้อย มีทั้งสถานที่ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว
ร้านอาหาร เป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วก็สะอาดสวยงาม การดูแลเรื่องน้ำเสีย
การขจัดน้ำเสีย บรรดาน้ำที่ไหลมาจากบ้านพักอะไรต่างๆ
นี่เขามีวิธีการที่ทำอย่างไรจะไม่ไหลลงคลองต่างๆ หรือลงทะล อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เขาให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องสิ่งแวดล้อมดูแล้วกัน
ถ้าบ้านเราสามารถทำได้ในพื้นที่ที่เป็นริมน้ำ ริมแม่น้ำ ริมคลอง
เราอาจจะทำไม่ได้เหมือนเขาทั้งหมด แต่สิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องทำก็คือ
ทำอย่างไรน้ำเสียจะไม่ไหลลงคลอง
ต้องไปหาวิธีการที่เหมาะสมถ้ารื้อทั้งหมดอาจเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นเป็นไปได้หรือไม่
ถ้าเราจะดักน้ำเสียที่จะไหลลงคลอง ทำร่องระบายน้ำต่างๆ ทั้งปิดและเปิด
อย่างน้อยก็ทำทีละคลอง
จะได้หรือไม่วันนี้ผมให้แนวทางกับส่วนกลางไปพิจารณาแล้วการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ทับซ้อน
หลายอย่าง ต้องหาวิธีการที่เหมาะสม ข้อสำคัญคือประชาชนต้องร่วมมือด้วย
ถึงจะแก้ปัญหาได้
พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่านครับ
สำหรับความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียนั้นมีมายาวนานซึ่งจะครบรอบ 70
ปี ในปี 2565 นี้ พอดีกับวาระนี้พอดีเลย
ซึ่งออสเตรเลียถือเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยมายาวนาน โดยในปี 2560 ไทยกับออสเตรเลียมีการค้าระหว่างกันสูงถึง 500,000 ล้านบาท
โดยถือเป็นคู่ค้าอันดับ 9 ในปัจจุบันไทยมีการทำความตกลงการค้าเสรีกับออสเตรเลียภายใต้
TAFTA ที่มีขอบเขตความตกลงอย่างกว้างขวาง
ซึ่งจะสามารถปรับปรุงให้เพิ่มการค้าระหว่างกันได้อีก นอกจากนี้
ออสเตรเลียยังสนับสนุนให้ไทยเตรียมพร้อมเพื่อเข้าร่วมในความตกลง TPP เดิม หรือในปัจจุบัน เรียกว่า CPTIP ด้วยโดยผมได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการไว้ตั้งแต่เนิ่น
ๆ เพื่อเป็นการขยายฐานการค้าให้กับผู้ประกอบการของไทย
และในโอกาสที่ผมได้เข้าหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียด้วย
ในประเด็นความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียนั้น ก็ได้เชิญชวนนักลงทุนออสเตรเลียให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
(EEC) เราพร้อมจะดูแลและอำนวยความสะดวก ในขณะเดียวกัน
ตัวแทนภาคธุรกิจก็ได้หารือกับผมด้วยถึงประเด็นปัญหาอุปสรรคที่ภาคเอกชนไทยประสบอยู่ในออสเตรเลีย
แล้วผมก็ได้นำให้ทางนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้ช่วยแก้ไข ดูแลด้วยแล้วก็ขอให้ช่วยดูแลชุมชนคนไทยมีจำนวนเป็นแสนคนและนักเรียนไทยเป็นหมื่นคนในออสเตรเลียให้ด้วย
ในการหารือ
ผมได้เชิญนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียให้เดินทางมาเยือนประเทศไทย
ซึ่งท่านก็ได้รับกับผมแล้วว่าจะมาเยือนบ้านเราในเร็วๆ วันนี้
หลังจากที่ว่างเว้นการหารือระดับผู้นำประเทศไปถึง 5 ปี
และไม่ได้มีการมาเยือนไทยมายาวนานกว่า 20 ปีแล้วของนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียก็ถือว่าเป็นสัญญาณการตอบรับที่ดีในชั้นต้น
ว่าประเทศต่าง ๆ นั้นเริ่มเข้าใจเรามากขึ้น
เรามีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นต่อเนื่องในสายตาต่างประเทศ
โดยเฉพาะการยอมรับในความจริงใจของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาหลายๆ
อย่างที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยอย่างเต็มที่เท่าที่เราสามารถจะทำได้
สำหรับเรื่องความไว้วางใจของนานาชาติมากขึ้นนี้
ก็มีอีกเรื่องที่น่ายินดี คือการที่คุณสุนันทา กังวาลกุลกิจ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก
(WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิก WTO 164 ประเทศ
ให้ดำรงตำแหน่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาทโดยนับเป็นคนไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่นี้
นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง WTO เมื่อปี 2538 นานมากเลยครับ โดยประธานในที่นี้
จะต้องยึดหลักความเป็นกลางและช่วยให้สมาชิกมีข้อสรุปที่ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
และผลักดันให้กระบวนการระงับข้อพิพาทเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพด้วยก็เป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงให้ต่างชาติเห็นความสามารถของคนไทยและทีมงานไทยด้วย
ในการเข้ารับตำแหน่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ในครั้งนี้
ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะตามแนวทางปฏิบัติของ WTO นั้นจะต้องก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีใหญ่
WTO ในปี 2562ซึ่งเป็นองค์กรระดับสูงสุดของ
WTO ในการกำกับดูแลภาพรวมการดำเนินงานของประเทศสมาชิก
เพื่อให้ทุกประเทศเกิดความมั่นใจและสร้างความเป็นธรรมทางการค้าระหว่างประเทศ
ผมขออวยพรให้คุณสุนันทาและทีมงาน ประสบความสำเร็จ การทำงานราบรื่น
และสร้างเกียรติยศให้กับประเทศไทยของเรา ในประเทศไทยของเรา
ก็จำเป็นต้องสร้างความมีเสถียรภาพ สร้างความเชื่อมั่นในประเทศของเราด้วย
เพื่อสนับสนุนการทำงานดังกล่าวของท่านผู้แทนของเราที่เป็นประธานในครั้งนี้
ความสำเร็จด้านการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาลนี้
ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยง่าย โดยรัฐบาลและคสช.มีหลักการสำคัญคือ
การเคารพในเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน เราคงต้องแยก 2 คำนี้ให้ออก จะได้รักษาไว้ได้ถูกต้อง
เพราะประเทศก็เหมือนคนศักดิ์ศรีมีอยู่กับตัวเราต้องรักษาให้ได้ ด้วยการคิดดี พูดดี
ทำดี ส่วนเกียรติยศนั้น คนอื่นเขาจะเป็นคนมอบให้
เมื่อเขาเห็นว่าเราเหมาะสมจะได้รับ หากเราไม่ยอมลดศักดิ์ศรีของตน
ลงไปทำในสิ่งผิด ทุจริต ไม่รักษาสัตย์ ไม่มีคุณธรรม เคารพกฎหมายบ้านเมือง
เราก็จะได้รับเกียรติในทุกสถาน ผมเคยกล่าวกับพี่น้องประชาชนเป็นคติเตือนใจ
ในรายการนี้มานานแล้ว ว่า “อย่าคิดว่าเป็นความผิดเล็กน้อยแล้วทำ
หรืออย่าคิดว่าเป็นความดีเล็กน้อยแล้วไม่ทำ” สำหรับรัฐบาลนี้ถือว่าภารกิจทุกอย่างนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
เป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กเราต้องทำทุกเรื่อง
เพราะเดิมพันคือความสุขของคนในชาติก็จะเห็นว่าถ้าทำแบบนี้ใช้เวลาและไม่ง่ายมากนัก
ไม่เหมือนกับการทำอะไรที่ง่าย ๆ จบ ๆ ไปภายในไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน เหล่านี้ไม่ยั่งยืนหรอกครับ
เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องขับเคลื่อนทั้งในประเทศ
และผลักดันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อที่จะแก้ปัญหา
ฟื้นวิกฤตศรัทธาและความล้มเหลวในอดีตมากบ้างน้อยบ้างที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว
ตามข้อเท็จจริงที่เราเห็นกันอยู่ ถ้าเราไม่สามารถรักษากติกาสากลได้ เราก็คงจะลำบาก
เราน่าจะจำกันได้ ตั้งแต่ปัญหาค้างาช้าง CITES ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย
IUU ที่พยายามทำอยู่ขณะนี้ ปัญหาการบินพลเรือน ICAO
ที่ทำสำเร็จไปแล้ว ทั้งหมดสะสม หมักหมม ยาวนานมาหลายสิบปี
แล้วก็คลี่คลายมาโดยลำดับ ภายใน 3 ปีที่ผ่านมา
แม้หลายประเทศที่เคยลดระดับความสัมพันธ์กับไทย
เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับที่มาของรัฐบาลนี้ ผมก็เข้าใจ
แต่เราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงใจจนเชื่อมั่นและไว้ใจ
จนนานาชาติต้องทบทวนและหวนกลับมารักษาความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีต่อกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจด้านความมั่นคง เช่น การส่งกำลังทหารมาร่วมฝึกคอบร้าโกลด์กับกองทัพไทย
ในจำนวนที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีการฝึกร่วมกันมา
ซึ่งจะว่าไปแล้วการทูตแบบสุภาพบุรุษที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร คบหา
พูดได้กับทุกฝ่าย มีสาระ มีความจริงใจ นับว่าเป็นการปิดทองหน้าองค์พระ
ที่ไม่อาจจะสามารถทำสำเร็จได้เลย หากปราศจากการปิดทองหลังพระของฝ่ายความมั่นคง
ของส่วนราชการ หน่วยราชการต่าง ๆ ที่จะต้องรักษาเสถียรภาพในทุกๆ ด้าน
ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเป็นธรรมตรงไปตรงมา ผมก็ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ทุกคน ทุกฝ่าย กรุณาเห็นแก่บ้านเมือง
มองเห็นแก่อนาคตของประเทศ คาดหวังให้ดีกว่าเดิม มาร่วมมือ ร่วมใจกัน
ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศที่ปรองดอง เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง
อย่างยั่งยืน ของพวกเราและลูกหลานในอนาคต
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
ผมขอยกตัวอย่างการพูดจาให้ข่าวในเรื่องการประมูล หรือการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ
อาจจะแยกออกเป็น 2 กรณี กรณีแรก
หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เป็นแต่เพียงแนวคิดแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน หรืออยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล
การศึกษาความเป็นไป ก็ไม่น่าจะนำมาวิพากษ์วิจารณ์มากจนหลายโครงการที่ดีๆ พับไป
ล้มไปก็แก้อะไรไม่ได้เหมือนเดิม ทั้งๆ ที่ยังมีความจำเป็น
หรือสำคัญต่อความมั่นคงของส่วนรวม ไม่ว่าการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ เรื่องป่า
เรื่องการลงทุนอะไรต่างๆ ก็แล้วแต่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ข้อมูลในสื่อโซเชียล ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีสติ
ระมัดระวัง เพราะใครก็ได้ต่างฝ่ายต่างให้ข้อมูล
โดยไม่มีใครสามารถจะบอกได้ว่าใครถูก ใครผิด ทั้งนี้ รัฐบาลและ คสช.
ก็เข้าใจถึงเจตนารมณ์ ถึงความปรารถนาดี
แต่ขอให้พี่น้องประชาชนนั้นที่มีเจตนาบริสุทธิ์
ได้กรุณาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หรือรอเขาชี้แจงต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ สำรวจแหล่งที่มาของข่าวสารให้ดีเสียก่อน
ไม่อย่างนั้นเวลาโพสต์กันต่อ ๆ
ไปบางทีก็ทำให้เกิดความสับสนอลหม่านวุ่นวายเลยคิดต่อไม่ได้ ทำอะไรต่อไม่ได้เลย
ตราบใดก็ตามที่ยังไม่ได้มีการจัดทำ TOR จัดทำโครงการออกมายังไม่เกิดอะไรขึ้นทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นหากเป็นข้อมูลเท็จหรือเป็นข่าวสารที่ผ่านการปรุงแต่ง
บิดเบือน และมีผู้หนึ่งผู้ใดที่นำเข้าสู่ระบบ หรือโลกออนไลน์
อาจจะเป็นการทำผิดกฎหมาย และส่งผลเสียต่อสังคม หรือกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย
กรณีต่อมาเมื่อมีการอนุมัติจัดทำโครงการขึ้นมา
แล้วเสนอแผนการดำเนินการที่ชัดเจนแล้ว
ก็ขอให้ติดตามความคืบหน้าจากการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานเจ้าของโครงการ
เพื่อให้ประชาชนรับรู้รับทราบ ช่วยกันเข้าไปดูแลเฝ้าระวังทั้งนี้ทั้งนั้น
ก็เป็นไปตามกฎหมายของรัฐธรรมนูญ
ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็น
มีช่องทางสื่อสารที่เปิดกว้างไว้ให้เสมอปรากฏว่ามีหลายโครงการ
เกิดปัญหาในขั้นตอนการประมูล หรือหลังจากการประมูลแล้ว
ที่มีผู้ชนะการประมูลและผู้ที่ไม่สมหวังในการประมูลทั้งสองฝ่ายนั้นควรที่จะเคารพกติกา
ถ้ารัฐทำ เจ้าของหน่วยงานเขาทำโครงการออกมาแล้วอย่างโปร่งใสผู้ที่เข้ามาประมูล
ก็ต้องยอมรับในกติกาเหล่านั้นไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างประมูล ได้-ไม่ได้
แล้วก็กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ประมูลไม่ได้ ต้องสำรวจ
หาข้อมูลที่แท้จริง โครงการเหล่านั้นก็จะต้องถูกตรวจสอบ
ทำให้เกิดความชักช้าเสียเวลาถ้าไม่ใช่ข้อเท็จจริง รัฐบาล คสช. และองค์กรอิสระอื่นๆ
ก็จะไม่ปล่อยไว้ จะเข้าไปตรวจสอบทุกอันตามกฎหมายหากพบว่ามีการทุจริต
ไม่ว่าจะโดยข้าราชการ เอกชนนักธุรกิจ หรือประชาชนเองก็ตาม
ที่ร่วมมือกันทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เจตนาหรือไม่เจตนา หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ก็ต้องอาศัยกฎหมาย อาศัยกระบวนการยุติธรรมปกติที่มีอยู่แล้ว
ในการตัดสินชี้ถูกชี้ผิดเราทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาทุจริต
ป้องกันดีกว่าแก้ไขวันนี้เห็นไหม มีตั้งหลายเรื่องหลายหน่วยงาน
ที่มีปัญหาในเรื่องนี้ เราต้องป้องกัน ป้องกันโดยใครครับ ป้องกันโดย 1. ต้องใช้กฎหมาย ใช้กฎระเบียบดำเนินการให้ถูกต้อง 2. ผู้บังคับบัญชาต้องกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา
หน่วยงานในพื้นที่ ต้องเข้าไปลงรายละเอียด ไม่ว่าจะการก่อสร้าง
การตรวจรับอะไรต่างๆ มีปัญหาทุกวัน
แสดงว่าสิ่งเหล่านี้เข้าไปในสังคม
ในการทำงานมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินไปแล้ว เพราะฉะนั้น รัฐบาลนี้จะไม่ปล่อยไว้
จะไม่นิ่งนอนใจ เราจะต้องช่วยกันสร้างความไม่โปร่งใสให้ได้ ต้องช่วยกัน
ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะแก้ไขได้แต่เพียงฝ่ายเดียว นายกรัฐมนตรี รัฐบาล
หรือส่วนราชการ ไม่ได้หรอกครับ
เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมมือกันในลักษณะประชารัฐด้วยกัน การแก้ไขปัญหาการทุจริต
ปัจจุบันรัฐบาลมีช่องทางรับเรื่องราวร้องเรียน
เพื่อรับฟังข้อมูลจากทุกคน ทุกฝ่าย ทั้งสายด่วน 1111 ของรัฐบาล
สายด่วน 1567 ของกระทรวงมหาดไทย หรือสายด่วน 1299 ของ คสช.
แล้วก็มีศูนย์ดำรงธรรมทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ก็ขอให้ใช้ช่องทางต่างๆ
เหล่านั้นจะดีที่สุด ก็ร้องไปถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ติดต่อ
ก็ขอให้ทำมาอีกครั้งหนึ่ง อาจจะส่งมาสำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้ในเรื่องใหญ่ๆ
สำคัญๆส่วนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ขอให้ส่งทางหน่วยงานจะดีกว่า
เพราะนายกรัฐมนตรีจะได้แก้ไขในโครงการใหญ่ๆ ที่เป็นปัญหา เพราะเรื่องเล็กๆ
นั้นเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ เรื่องของหน่วยงานระดับผู้ปฏิบัติจะต้องแก้ไขอยู่แล้ว
เร็วๆ นี้จะเปิดช่องทางใหม่ “สายด่วนไทยนิยม” ในรูปแบบแอปพลิเคชั่นบนมือถือ เว็บไซต์ และเฟสบุ๊ก
ที่ตอบสนองความสะดวกและรวดเร็วของพี่น้องประชาชนที่มีมือถือกันแทบทุกคน
ก็ขอให้ติดตามข่าวสารกัน
ขอย้ำอีกครั้งครับว่า การทุจริตที่ตรวจสอบพบจากข้อร้องเรียนของภาคประชาชน
รัฐบาลและคสช. นั้นจะดำเนินการให้ทุกเรื่องขอให้อย่าเป็นการกลั่นแกล้ง
หรือเป็นการทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดินเลย
ก็เพียงแต่ว่าขอข้อเท็จจริงขอพยานหลักฐาน พอสมควร ให้เกิดความกระจ่างชัด
จะได้ดำเนินการต่อได้ เราจะต้องทำให้เป็นธรรม ตามขั้นตอน ตามกระบวนการและข้อกฎหมาย
ซึ่งอาจจะมีหลายเรื่องในเวลานี้ ไม่ใช่ว่าจะนิ่งนอนใจ
เราจำเป็นต้องใช้กระบวนการตรวจสอบที่โปร่งใสและเป็นธรรมทั้งกับผู้ร้องและผู้ถูกกล่าวหาตามกฎหมายที่มีอยู่
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
เมื่อวาน ผมได้ไปตรวจราชการ
ที่จังหวัดหนองบัวลำภูเพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลของข้าราชการในพื้นที่
ตลอดจนรับฟังปัญหาต่างๆ ทั้งความต้องการและปัญหาของประชาชนในพื้นที่ด้วย
ได้มีโอกาสได้ร่วมเวทีประชาคมหมู่บ้าน
ตอนนี้เขามีการทำเวทีประชาคมหมู่บ้านในครั้งที่ 2 จากการทำงานของชุดทำงานลงไป
ของโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งมีผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่กว่า 300 คนเข้าร่วมและให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น
ขอบคุณมากก็เป็นโอกาสดีที่ผมได้จับเข่าคุยกันและรับทราบปัญหา
และความต้องการจากปากพี่น้องประชาชนโดยตรง ไม่ใช่งานการเมือง เป็นการทำงานลักษณะประชารัฐ
เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีรายได้น้อยที่สุด เป็นอันดับที่ 76 เช่น เรื่องน้ำกินน้ำใช้ ความต้องการประปาหมู่บ้าน แก้ไขซ่อมแซม ที่สะอาด
ถูกหลักอนามัย ให้ทุกคนมีสุขภาพดี จะได้มีแรงทำงานเพื่อครอบครัว ไม่ป่วยไข้
ไม่ต้องเสียเงินรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นการขุดลอกคูคลอง
ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรนอกฤดูกาล
กลุ่มทอผ้าได้ขอให้จัดหาสถานที่แสดงสินค้า
ซึ่งก็คงต้องนำรูปแบบตลาดประชารัฐเข้ามาบริหารจัดการช่วยด้วย
ประเด็นปัญหาและข้อเสนอเหล่านั้น
ก็จะถูกบรรจุไว้ในโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งมีกลไกระดับล่างดูแล และติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิดต่อไป
โดยมีหลักการบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืนที่สำคัญคือการบริหาร 2 ทางทั้งจากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน ปรับให้ตรงกัน
ด้วยการรับฟังปัญหาจากพื้นที่ เหมือนในวันนี้ นอกจากนี้
การพัฒนาไทยนิยมยั่งยืนจะเป็นกลจักรขับเคลื่อนประเทศโดยมีประชาชนเป็นแกนกลาง
และการระเบิดจากข้างใน เข้มแข็งด้วยตัวเอง
แทนการขับเคลื่อนประเทศด้วยนโยบายทางการเมือง แล้วก็มีตัวแทนในพื้นที่
ก็ไม่เท่าเทียม มีความเหลื่อมล้ำ ในเรื่องของการกระจายรายได้ การสร้างนวัตกรรม
อะไรก็แล้วแต่ อย่างเช่นที่ผ่านมา ดังนั้นคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน
ผมอยากให้เข้าใจว่า
รัฐบาลกำลังสร้างสถาปัตยกรรมในการแก้ปัญหาความยากจนของไทยเองที่เรียกว่า ไทยนิยม
ยั่งยืน
เราจะต้องเริ่มจากการสร้างหลักคิดที่ถูกต้อง เช่น
เห็นประโยชน์จากการปลูกพืชที่หลากหลายแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
ที่ราคานับวันจะตกต่ำ ถ้าเราปลูกมากเกินไป
การปลูกพืชอินทรีย์ให้ได้ราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาด
ก็มีขั้นตอนก่อนจะไปเป็นพืชอินทรีย์ เรามีเกษตรปลอดภัย มี GAP เหล่านี้ ท้ายสุดก็ไปสู่เกษตรอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ
คือการไม่ใช้สารเคมีเลยก็ขอให้ติดตามในเรื่องเหล่านี้ด้วยราคาจะต่างกันทั้งหมด
ทั้งในและนอกประเทศ การทำเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อจะลดต้นทุนการผลิต
เพิ่มอำนาจในการต่อรอง
ส่งเสริมการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเป็นที่มาของความสามัคคีปรองดองในหมู่คณะ
การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน หาอัตลักษณ์ หรือสร้างขึ้นมา อัตลักษณ์ประจำถิ่น
หาจุดขาย ขยายจุดเด่นสร้างเรื่องราว สตอรี่ที่เราเคยพูดกันบ่อยๆ
เสมอสร้างสตอรี่ให้ได้ที่ไม่เหมือนใคร คนที่ผ่านมาก็จะแวะพื้นที่นั้น
เพื่อจะท่องเที่ยว หรือไม่ก็ไม่ผ่านเลยไปเหมือนเดิม กลายเป็นเมืองผ่านทั้งหมด
สิ่งสำคัญๆ ในพื้นที่ก็เลยไม่ได้ปรากฏออกมา
เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ในท้องที่ต้องเริ่มเองก่อนด้วย
สร้างการท่องเที่ยวภายในชุมชนของเราเองโดยคนในประเทศของเราเอง
โดยคนในพื้นที่ของเราก่อน แล้วก็จะสร้างแพร่กระจายออกไปในการประชาสัมพันธ์ไปภายนอก
รัฐบาลก็จะไปเติมเต็มเหล่านั้น เพราะฉะนั้นทุกคน
ทุกพื้นที่ก็มีโอกาสจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเหล่านั้น ทุกคนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคมของตน
ต้องใส่ใจสิทธิของตัวเอง ต้องรู้ว่าเราได้สิทธิอะไรบ้าง
จะได้ไม่มีใครมาหาประโยชน์จากสิทธิของเราเช่นที่กำลังสอบสวนกันอยู่วันนี้
หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองจะได้สิทธิเท่าไรอย่างไรขอให้เพียงรับเงินอย่างเดียว
ไม่ถูกต้องครับ ต้องช่วยกันสองทางจะได้ไม่ทุจริต กันอีกต่อไป
รัฐบาลมีหน้าที่ทำงานเพื่อประชาชน โดยการดูแลผู้มีรายได้น้อย
สร้างความเข้มแข็งเพิ่มขีดความสามารถของประชาชน
ประเทศก็จะได้ตามไปด้วยในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ความปลอดภัยบนท้องถนน น้ำอุปโภค
บริโภค น้ำประปา น้ำบาดาล ที่ขอมาเราก็จะรีบจัดการโดยเร็ว
อาจจะต้องใช้งบประมาณอื่นเข้าไปเสริมด้วย
สำหรับโครงการไทยนิยมยั่งยืนนั้น ก็ขอให้นักศึกษา - อสม. - กำนัน -
ผู้ใหญ่บ้าน และ อปท. ช่วยกัน ให้ความร่วมมือเข้าไปร่วมด้วย
กับคณะทำงานในแต่ละพื้นที่ของตน เพราะหลายอย่างนั้นใช้งบของไทยนิยม
หลายอย่างใช้งบของฟังก์ชั่น คืองบของรายจ่ายประจำ
หลายอย่างก็ไปใช้งบของงบสะสมของท้องถิ่น เพราะฉะนั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วม
ไม่อย่างนั้นไม่ทราบว่าจะทำอะไรอย่างไร ก็ไม่เกิดการสอดประสานบูรณาการกันในพื้นที่
ก็ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นมาเหมือนเดิม ใช้เงินไป แล้วก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้น
ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกฯ ท้องถิ่น แต่ละระดับ
ก็ขอให้ร่วมมือกันให้มีการบริหารจัดการให้ได้ในการจัดทำโครงการ
แล้วก็ใช้จ่ายงบประมาณตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
เพื่อให้เกิดหลักคิดและสร้างกลไกประชารัฐในการช่วยกันทำงานพัฒนาบ้านเมือง
ประเทศชาติ ให้ตอบสนองตรงความต้องการของประชาชน ในแต่ละพื้นที่ให้ได้โดยเร็ว
เราจะมานั่งแก้ปัญหาเดิมๆ กันตลอดไป 10-20 ปีไม่ไหวแล้ว
เราต้องไปทำกิจการใหม่ๆ แก้ปัญหาเรื่องใหม่ๆ อันนี้เราแก้มาไม่รู้กี่สิบปีแล้ว
เป็นประชาธิปไตยมา 80 กว่าปีแล้ว บางอย่างยังแก้ไม่ได้
ต้องช่วยแก้วันนี้แล้วครับ วันหน้าเราจะได้ทันคนอื่นเขา หรือนำเขาบ้าง
สุดท้ายนี้
เราพูดเรื่องทุจริตมาก็บ่อยแล้ว
หลายคนจะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยกับบ้านเมืองของเราเอง บางครั้งต่างประเทศก็ไม่ไว้ใจ
เพราะฉะนั้นเราต้องแยกแยะให้ออกว่าอะไรคือเรื่องของการตรวจสอบ ไม่ใช่พูดกันเสียหาย
ก็คงจะมีดีๆ อยู่มากมายมากกว่าสิ่งที่ไม่ดี ต่างชาติเขาก็ดูอยู่ การลงทุนอะไรต่างๆ
ก็กำลังเกิดขึ้น เราอาจจะหวังดี พูดกันไปกันมา บางทีก็เสียหาย
ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปทั้งหมด อย่างเช่นภาคใต้วันนี้ก็ปลอดภัย
มีปัญหาอยู่บางพื้นที่เท่านั้นเอง แต่ก็มีความเสียหายอยู่
เพราะฉะนั้นคนใต้เองเขาก็บอกว่า ประชาสัมพันธ์
หรือออกข่าวไปมาจนกระทั่งคนไม่ค่อยเชื่อมั่นในความปลอดภัย ภาคใต้จริง
ๆเขาบอกว่ามีบางพื้นที่เท่านั้นเอง นี่คนใต้เขาพูดมา เพราะฉะนั้น
อะไรก็ตามอาจจะด้วยเจตนาดี พอพูดไปมากเกินไป บางทีก็มีผลเสียกับคนในพื้นที่ด้วยจริงๆ
แล้วทุกอันมีทั้งเรื่องราวดีๆ มากมาย เรื่องเสียก็มีอยู่บ้าง
ก็อยู่ในสื่อกระแสหลักที่ดีๆ และสื่อโซเชียล เช่น เด็กไทย 6 คนเกาะพะงัน
จ.สุราษฎร์ธานี เก็บกระเป๋าที่มีเงินสดและมือถืออยู่ข้างใน นำส่งตำรวจ
เพื่อติดตามหาเจ้าของแล้วก็ทราบว่าเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องการทำดีที่เป็นไทยนิยมสื่อนิยมทางความดี
เพื่อตัวเองและเพื่อคนอื่นแล้ว แต่เสียดายที่ระบุชื่อเยาวชนตัวอย่างเพียง 2
ใน 6 เท่านั้น มี 6 คน
มี 2 คนคือ ด.ช.ณัฐพงศ์ สนโต และ ด.ช.พิทักษ์พงษ์
มนตรีสวัสดิ์ ส่วนอีก 4 คนนั้นก็อยากประกาศให้
แต่เนื้อข่าวเขาไม่ระบุไว้ ทั้งนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม
ก็อยากให้สื่อกรุณาระบุชื่อให้ครบทุกคน ถ้าทำความดีเป็นกลุ่ม
ดีกว่าไปเสนอข่าวที่ไม่เหมาะสม บางทีไม่เกิดประโยชน์
ผมขอชื่นชม คุณพัชรมณฑ์ เสวะนา ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย มีความอุตสาหะ
หาความรู้ใส่ตัวจนได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ใบที่ 2 เป็น
มหาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ ก็ขอให้เป็นตัวอย่างให้กับหลายคน
ขณะนี้ก็สามารถออกมาประกอบอาชีพ ไม่เป็นภาระ แต่ทำประโยชน์ให้สังคมได้ในอนาคต
ก็ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยครับ
มีอีกเรื่อง ที่น้อยคนจะรับรู้ว่ามีคนไทยหนึ่งเดียว
ที่ผ่านการคัดสรรนักวิ่งแนวดิ่งเพียง 129 คนจากทั่วโลก
เข้าร่วมการแข่งขันวิ่งขึ้นหอไอเฟล เมื่อวันที่ 16 มีนาคม
ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรายการที่เก่าแก่ที่สุดในโลก 100 กว่าปีมาแล้ว
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 ได้แก่ คุณอำนาจ พรหมภินันท์ อายุ 66
ปี เกิน 60 แล้วอายุ
ชาวจังหวัดชุมพรทำงานเป็นหัวหน้าพนักงานดูแลความปลอดภัย
ในอดีตเคยดื่มเหล้าสูบบุหรี่จัดวันละซอง จนโรครุมเร้า
แต่ตัดใจเลิกได้ทุกอย่างด้วยตัวเอง เมื่อ 30 ปีที่แล้ว
หันมาออกกำลังกาย วิ่งอย่างจริงจัง จนสุขภาพร่างกายแข็งแรงมาก
เป็นแชมป์วิ่งขึ้นตึกใบหยกมาหลายรอบก็เลยอยากฝากให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมชื่นชม
เป็นตัวอย่างของบุคคลที่ดูแลสุขภาพตัวเอง อย่าไปคิดว่าวันนี้เรามีระบบประกันสุขภาพ
มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลฟรี แล้วก็เลยไม่ต้องดูแลตัวเอง ไปรอให้หมอรักษา
ไม่เหมือนกันครับ ถ้าไม่หาหมอเลยจะดีกว่า ช่วยรัฐบาลด้วย ในการใช้จ่ายงบประมาณ
จะได้ไปหาคนที่มีความเจ็บป่วยเดือดร้อนจริงๆ ได้มากขึ้น สำหรับเรื่องนี้
ผมมีความคิดต่อยอดอย่างไรนั้น อยากจะขอให้รอฟังในวันศุกร์หน้าครับ
เราต้องใช้เวลาในการอธิบายความคิดของผม จากจุดเล็กๆ นี้
เพื่อจะให้สามารถนำไปสู่นโยบายการปฏิบัติเพื่อการบริหารประเทศได้ ขอบคุณครับ
ขอให้ทุกคน ทุกครอบครัวมีความสุข ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561
พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 เวลา 20.15 น.
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23
มีนาคม 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย ที่จัดขึ้นเพื่อหารือกันระหว่างผู้นำประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนกับออสเตรเลีย ภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมความมั่นคงและความมั่งคั่งในภูมิภาค” ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องมีผลลัพธ์การหารือที่นำไปสู่การปฏิบัติจริงให้ได้โดยเร็ว
ออสเตรเลีย ถือเป็นประเทศคู่เจรจาที่เก่าแก่ที่สุดของอาเซียนมากว่า 44 ปีแล้ว ทำให้มีความเข้าใจอาเซียนเป็นอย่างดี เข้าใจระหว่างกันทั้ง 2 ทาง ปัจจุบันออสเตรเลียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อยู่ระหว่างการพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ ในการดำเนินความสัมพันธ์กับโลกภายนอก รวมถึงการหาความสมดุลในภูมิภาค โดยเฉพาะการพัฒนาแนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่จะเชื่อมโยงประเทศในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงเราจึงต้องเร่งพัฒนาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในหลาย ๆ ด้านเพื่อจะรองรับความท้าทายต่าง ๆ สำหรับในด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ซึ่งมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นเวทีในการยกระดับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นขึ้นได้อีก
ในการเดินทางครั้งนี้ ผมและผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและออสเตรเลียได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากลระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย เพื่อย้ำเจตนารมณ์ในการร่วมมือต่อต้านการก่อการร้ายสากล และยังได้รับรองปฏิญญาซิดนีย์ซึ่งเป็นเอกสารกำหนดวิสัยทัศน์ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการต่อต้านภัยคุกคามในหลายรูปแบบต่อความมั่นคง การใช้ประโยชน์จากพื้นที่มหาสมุทรร่วมกันอย่างสันติ ความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล และการบินเหนือน่านฟ้าในภูมิภาค ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ก็จะมีการสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ที่รวมถึงการเร่งรัดการจัดทำความตกลง RCEP การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้ง การร่วมกันสนับสนุน Micro SME และลดช่องว่างการพัฒนาอีกทั้งจะส่งเสริมการเชื่อมโยงในระดับประชาชนผ่านความเชื่อมโยงทางการศึกษา ความร่วมมือทางสิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุขด้วย นอกจากนี้ ออสเตรเลียได้เสนอโครงการต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งเสาการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อดำเนินการ โดยมุ่งเน้นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายที่จะต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการต่อต้านการค้ามนุษย์ เพิ่มเติมด้วย
สำหรับในที่ประชุม ผมได้เน้นย้ำว่าแนวคิดอินโด – แปซิฟิกที่กำลังร่วมกันพัฒนานี้ ควรนำไปสู่ดุลยภาพทางยุทธศาสตร์ใหม่ โดยคำนึงถึงความเป็นแกนกลางของอาเซียน ด้วยความยึดถือการไว้เนื้อเชื่อใจกัน การเคารพซึ่งกันและกัน และการสร้างประโยชน์ร่วมกันโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียก็ได้ย้ำเช่นกัน ว่าอาเซียนคือหัวใจของภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกนี้นอกจากนั้น ยังได้มีการหารือประเด็นในภูมิภาคและโลกที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย ได้แก่ สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี และพัฒนาการของสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ซึ่งผมก็ได้เสนอให้มีการจัดตั้งกลไกที่จะส่งเสริมพื้นที่ปลอดภัยและการพัฒนาที่ยั่งยืนในรัฐยะไข่ให้เป็นเอกภาพ จากบรรดาประเทศสมาชิก โดยจะต้องรับฟังความต้องการ หรือเจตนารมณ์ของรัฐบาลเมียนมาร์ด้วย ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดการแทรกแซงจากภายนอกได้ เราต้องแก้ปัญหาของเราให้ได้โดยเร็วโดยอาเซียนด้วยกันเองสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างมีเอกภาพ
ในปีหน้านี้ ไทยจะรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียน ทำให้เราจะต้องทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านในการต้อนรับการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียนตลอดปี รวมถึงการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2565 ด้วย ซึ่งรัฐบาลอยู่ระหว่างการเตรียมการอย่างดีที่สุดเพื่อให้เห็นความพร้อมของไทยและเป็นโอกาสในการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและบทบาทของไทยในการเป็นผู้นำในหลาย ๆ ด้านด้วย ผมขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีร่วมกันเพื่อแสดงให้เห็นความน่าอยู่ ความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศเราร่วมกันด้วยอันนี้ก็อยากจะฝากเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าการประชุมเอเปคจะปี 2565 ก็ตาม ใครจะเป็นรัฐบาลก็ตาม เราคงต้องเตรียมการตั้งแต่บัดนี้ วันนี้ก็ตั้งคณะกรรมการระดับชาติในการเตรียมการประชุมทั้ง 2 ประชุม ปีหน้าประชุมอาเซียน ปี 65 ประชุมเอเปค ต้องเตรียมการทั้งหมด ก็ขอให้สานต่อกันต่อไป บ้านเมืองต้องสะอาดเรียบร้อย ปลอดภัยมีเสถียรภาพ
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือผมอยากให้ดูในวีดิทัศน์ที่ออกมา ก็อยากให้ดูบ้านเมืองของออสเตรเลียด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในบริเวณอ่าวซิดนีย์ เขาได้จัดระเบียบกันอย่างสวยงามเรียบร้อย มีทั้งสถานที่ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว ร้านอาหาร เป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วก็สะอาดสวยงาม การดูแลเรื่องน้ำเสีย การขจัดน้ำเสีย บรรดาน้ำที่ไหลมาจากบ้านพักอะไรต่างๆ นี่เขามีวิธีการที่ทำอย่างไรจะไม่ไหลลงคลองต่างๆ หรือลงทะล อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เขาให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องสิ่งแวดล้อมดูแล้วกัน ถ้าบ้านเราสามารถทำได้ในพื้นที่ที่เป็นริมน้ำ ริมแม่น้ำ ริมคลอง เราอาจจะทำไม่ได้เหมือนเขาทั้งหมด แต่สิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องทำก็คือ ทำอย่างไรน้ำเสียจะไม่ไหลลงคลอง ต้องไปหาวิธีการที่เหมาะสมถ้ารื้อทั้งหมดอาจเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าเราจะดักน้ำเสียที่จะไหลลงคลอง ทำร่องระบายน้ำต่างๆ ทั้งปิดและเปิด อย่างน้อยก็ทำทีละคลอง จะได้หรือไม่วันนี้ผมให้แนวทางกับส่วนกลางไปพิจารณาแล้วการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ทับซ้อน หลายอย่าง ต้องหาวิธีการที่เหมาะสม ข้อสำคัญคือประชาชนต้องร่วมมือด้วย ถึงจะแก้ปัญหาได้
พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่านครับ
สำหรับความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียนั้นมีมายาวนานซึ่งจะครบรอบ 70 ปี ในปี 2565 นี้ พอดีกับวาระนี้พอดีเลย ซึ่งออสเตรเลียถือเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยมายาวนาน โดยในปี 2560 ไทยกับออสเตรเลียมีการค้าระหว่างกันสูงถึง 500,000 ล้านบาท โดยถือเป็นคู่ค้าอันดับ 9 ในปัจจุบันไทยมีการทำความตกลงการค้าเสรีกับออสเตรเลียภายใต้ TAFTA ที่มีขอบเขตความตกลงอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะสามารถปรับปรุงให้เพิ่มการค้าระหว่างกันได้อีก นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังสนับสนุนให้ไทยเตรียมพร้อมเพื่อเข้าร่วมในความตกลง TPP เดิม หรือในปัจจุบัน เรียกว่า CPTIP ด้วยโดยผมได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเป็นการขยายฐานการค้าให้กับผู้ประกอบการของไทย และในโอกาสที่ผมได้เข้าหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียด้วย ในประเด็นความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียนั้น ก็ได้เชิญชวนนักลงทุนออสเตรเลียให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เราพร้อมจะดูแลและอำนวยความสะดวก ในขณะเดียวกัน ตัวแทนภาคธุรกิจก็ได้หารือกับผมด้วยถึงประเด็นปัญหาอุปสรรคที่ภาคเอกชนไทยประสบอยู่ในออสเตรเลีย แล้วผมก็ได้นำให้ทางนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้ช่วยแก้ไข ดูแลด้วยแล้วก็ขอให้ช่วยดูแลชุมชนคนไทยมีจำนวนเป็นแสนคนและนักเรียนไทยเป็นหมื่นคนในออสเตรเลียให้ด้วย
ในการหารือ ผมได้เชิญนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียให้เดินทางมาเยือนประเทศไทย ซึ่งท่านก็ได้รับกับผมแล้วว่าจะมาเยือนบ้านเราในเร็วๆ วันนี้ หลังจากที่ว่างเว้นการหารือระดับผู้นำประเทศไปถึง 5 ปี และไม่ได้มีการมาเยือนไทยมายาวนานกว่า 20 ปีแล้วของนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียก็ถือว่าเป็นสัญญาณการตอบรับที่ดีในชั้นต้น ว่าประเทศต่าง ๆ นั้นเริ่มเข้าใจเรามากขึ้น เรามีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นต่อเนื่องในสายตาต่างประเทศ โดยเฉพาะการยอมรับในความจริงใจของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาหลายๆ อย่างที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยอย่างเต็มที่เท่าที่เราสามารถจะทำได้
สำหรับเรื่องความไว้วางใจของนานาชาติมากขึ้นนี้ ก็มีอีกเรื่องที่น่ายินดี คือการที่คุณสุนันทา กังวาลกุลกิจ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิก WTO 164 ประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาทโดยนับเป็นคนไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่นี้ นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง WTO เมื่อปี 2538 นานมากเลยครับ โดยประธานในที่นี้ จะต้องยึดหลักความเป็นกลางและช่วยให้สมาชิกมีข้อสรุปที่ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน และผลักดันให้กระบวนการระงับข้อพิพาทเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพด้วยก็เป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงให้ต่างชาติเห็นความสามารถของคนไทยและทีมงานไทยด้วย ในการเข้ารับตำแหน่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ในครั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะตามแนวทางปฏิบัติของ WTO นั้นจะต้องก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีใหญ่ WTO ในปี 2562ซึ่งเป็นองค์กรระดับสูงสุดของ WTO ในการกำกับดูแลภาพรวมการดำเนินงานของประเทศสมาชิก เพื่อให้ทุกประเทศเกิดความมั่นใจและสร้างความเป็นธรรมทางการค้าระหว่างประเทศ ผมขออวยพรให้คุณสุนันทาและทีมงาน ประสบความสำเร็จ การทำงานราบรื่น และสร้างเกียรติยศให้กับประเทศไทยของเรา ในประเทศไทยของเรา ก็จำเป็นต้องสร้างความมีเสถียรภาพ สร้างความเชื่อมั่นในประเทศของเราด้วย เพื่อสนับสนุนการทำงานดังกล่าวของท่านผู้แทนของเราที่เป็นประธานในครั้งนี้
ความสำเร็จด้านการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาลนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยง่าย โดยรัฐบาลและคสช.มีหลักการสำคัญคือ การเคารพในเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน เราคงต้องแยก 2 คำนี้ให้ออก จะได้รักษาไว้ได้ถูกต้อง เพราะประเทศก็เหมือนคนศักดิ์ศรีมีอยู่กับตัวเราต้องรักษาให้ได้ ด้วยการคิดดี พูดดี ทำดี ส่วนเกียรติยศนั้น คนอื่นเขาจะเป็นคนมอบให้ เมื่อเขาเห็นว่าเราเหมาะสมจะได้รับ หากเราไม่ยอมลดศักดิ์ศรีของตน ลงไปทำในสิ่งผิด ทุจริต ไม่รักษาสัตย์ ไม่มีคุณธรรม เคารพกฎหมายบ้านเมือง เราก็จะได้รับเกียรติในทุกสถาน ผมเคยกล่าวกับพี่น้องประชาชนเป็นคติเตือนใจ ในรายการนี้มานานแล้ว ว่า “อย่าคิดว่าเป็นความผิดเล็กน้อยแล้วทำ หรืออย่าคิดว่าเป็นความดีเล็กน้อยแล้วไม่ทำ” สำหรับรัฐบาลนี้ถือว่าภารกิจทุกอย่างนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กเราต้องทำทุกเรื่อง เพราะเดิมพันคือความสุขของคนในชาติก็จะเห็นว่าถ้าทำแบบนี้ใช้เวลาและไม่ง่ายมากนัก ไม่เหมือนกับการทำอะไรที่ง่าย ๆ จบ ๆ ไปภายในไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน เหล่านี้ไม่ยั่งยืนหรอกครับ เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องขับเคลื่อนทั้งในประเทศ และผลักดันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อที่จะแก้ปัญหา ฟื้นวิกฤตศรัทธาและความล้มเหลวในอดีตมากบ้างน้อยบ้างที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว ตามข้อเท็จจริงที่เราเห็นกันอยู่ ถ้าเราไม่สามารถรักษากติกาสากลได้ เราก็คงจะลำบาก เราน่าจะจำกันได้ ตั้งแต่ปัญหาค้างาช้าง CITES ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย IUU ที่พยายามทำอยู่ขณะนี้ ปัญหาการบินพลเรือน ICAO ที่ทำสำเร็จไปแล้ว ทั้งหมดสะสม หมักหมม ยาวนานมาหลายสิบปี แล้วก็คลี่คลายมาโดยลำดับ ภายใน 3 ปีที่ผ่านมา แม้หลายประเทศที่เคยลดระดับความสัมพันธ์กับไทย เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับที่มาของรัฐบาลนี้ ผมก็เข้าใจ แต่เราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงใจจนเชื่อมั่นและไว้ใจ จนนานาชาติต้องทบทวนและหวนกลับมารักษาความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจด้านความมั่นคง เช่น การส่งกำลังทหารมาร่วมฝึกคอบร้าโกลด์กับกองทัพไทย ในจำนวนที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีการฝึกร่วมกันมา ซึ่งจะว่าไปแล้วการทูตแบบสุภาพบุรุษที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร คบหา พูดได้กับทุกฝ่าย มีสาระ มีความจริงใจ นับว่าเป็นการปิดทองหน้าองค์พระ ที่ไม่อาจจะสามารถทำสำเร็จได้เลย หากปราศจากการปิดทองหลังพระของฝ่ายความมั่นคง ของส่วนราชการ หน่วยราชการต่าง ๆ ที่จะต้องรักษาเสถียรภาพในทุกๆ ด้าน ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเป็นธรรมตรงไปตรงมา ผมก็ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ทุกคน ทุกฝ่าย กรุณาเห็นแก่บ้านเมือง มองเห็นแก่อนาคตของประเทศ คาดหวังให้ดีกว่าเดิม มาร่วมมือ ร่วมใจกัน ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศที่ปรองดอง เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ของพวกเราและลูกหลานในอนาคต
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
ผมขอยกตัวอย่างการพูดจาให้ข่าวในเรื่องการประมูล หรือการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ อาจจะแยกออกเป็น 2 กรณี กรณีแรก หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เป็นแต่เพียงแนวคิดแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน หรืออยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล การศึกษาความเป็นไป ก็ไม่น่าจะนำมาวิพากษ์วิจารณ์มากจนหลายโครงการที่ดีๆ พับไป ล้มไปก็แก้อะไรไม่ได้เหมือนเดิม ทั้งๆ ที่ยังมีความจำเป็น หรือสำคัญต่อความมั่นคงของส่วนรวม ไม่ว่าการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ เรื่องป่า เรื่องการลงทุนอะไรต่างๆ ก็แล้วแต่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ข้อมูลในสื่อโซเชียล ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีสติ ระมัดระวัง เพราะใครก็ได้ต่างฝ่ายต่างให้ข้อมูล โดยไม่มีใครสามารถจะบอกได้ว่าใครถูก ใครผิด ทั้งนี้ รัฐบาลและ คสช. ก็เข้าใจถึงเจตนารมณ์ ถึงความปรารถนาดี แต่ขอให้พี่น้องประชาชนนั้นที่มีเจตนาบริสุทธิ์ ได้กรุณาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หรือรอเขาชี้แจงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ สำรวจแหล่งที่มาของข่าวสารให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้นเวลาโพสต์กันต่อ ๆ ไปบางทีก็ทำให้เกิดความสับสนอลหม่านวุ่นวายเลยคิดต่อไม่ได้ ทำอะไรต่อไม่ได้เลย ตราบใดก็ตามที่ยังไม่ได้มีการจัดทำ TOR จัดทำโครงการออกมายังไม่เกิดอะไรขึ้นทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นหากเป็นข้อมูลเท็จหรือเป็นข่าวสารที่ผ่านการปรุงแต่ง บิดเบือน และมีผู้หนึ่งผู้ใดที่นำเข้าสู่ระบบ หรือโลกออนไลน์ อาจจะเป็นการทำผิดกฎหมาย และส่งผลเสียต่อสังคม หรือกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย
กรณีต่อมาเมื่อมีการอนุมัติจัดทำโครงการขึ้นมา แล้วเสนอแผนการดำเนินการที่ชัดเจนแล้ว ก็ขอให้ติดตามความคืบหน้าจากการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานเจ้าของโครงการ เพื่อให้ประชาชนรับรู้รับทราบ ช่วยกันเข้าไปดูแลเฝ้าระวังทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เป็นไปตามกฎหมายของรัฐธรรมนูญ ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็น มีช่องทางสื่อสารที่เปิดกว้างไว้ให้เสมอปรากฏว่ามีหลายโครงการ เกิดปัญหาในขั้นตอนการประมูล หรือหลังจากการประมูลแล้ว ที่มีผู้ชนะการประมูลและผู้ที่ไม่สมหวังในการประมูลทั้งสองฝ่ายนั้นควรที่จะเคารพกติกา ถ้ารัฐทำ เจ้าของหน่วยงานเขาทำโครงการออกมาแล้วอย่างโปร่งใสผู้ที่เข้ามาประมูล ก็ต้องยอมรับในกติกาเหล่านั้นไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างประมูล ได้-ไม่ได้ แล้วก็กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ประมูลไม่ได้ ต้องสำรวจ หาข้อมูลที่แท้จริง โครงการเหล่านั้นก็จะต้องถูกตรวจสอบ ทำให้เกิดความชักช้าเสียเวลาถ้าไม่ใช่ข้อเท็จจริง รัฐบาล คสช. และองค์กรอิสระอื่นๆ ก็จะไม่ปล่อยไว้ จะเข้าไปตรวจสอบทุกอันตามกฎหมายหากพบว่ามีการทุจริต ไม่ว่าจะโดยข้าราชการ เอกชนนักธุรกิจ หรือประชาชนเองก็ตาม ที่ร่วมมือกันทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เจตนาหรือไม่เจตนา หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ต้องอาศัยกฎหมาย อาศัยกระบวนการยุติธรรมปกติที่มีอยู่แล้ว ในการตัดสินชี้ถูกชี้ผิดเราทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาทุจริต ป้องกันดีกว่าแก้ไขวันนี้เห็นไหม มีตั้งหลายเรื่องหลายหน่วยงาน ที่มีปัญหาในเรื่องนี้ เราต้องป้องกัน ป้องกันโดยใครครับ ป้องกันโดย 1. ต้องใช้กฎหมาย ใช้กฎระเบียบดำเนินการให้ถูกต้อง 2. ผู้บังคับบัญชาต้องกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา หน่วยงานในพื้นที่ ต้องเข้าไปลงรายละเอียด ไม่ว่าจะการก่อสร้าง การตรวจรับอะไรต่างๆ มีปัญหาทุกวัน
แสดงว่าสิ่งเหล่านี้เข้าไปในสังคม ในการทำงานมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินไปแล้ว เพราะฉะนั้น รัฐบาลนี้จะไม่ปล่อยไว้ จะไม่นิ่งนอนใจ เราจะต้องช่วยกันสร้างความไม่โปร่งใสให้ได้ ต้องช่วยกัน ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะแก้ไขได้แต่เพียงฝ่ายเดียว นายกรัฐมนตรี รัฐบาล หรือส่วนราชการ ไม่ได้หรอกครับ เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมมือกันในลักษณะประชารัฐด้วยกัน การแก้ไขปัญหาการทุจริต
ปัจจุบันรัฐบาลมีช่องทางรับเรื่องราวร้องเรียน เพื่อรับฟังข้อมูลจากทุกคน ทุกฝ่าย ทั้งสายด่วน 1111 ของรัฐบาล สายด่วน 1567 ของกระทรวงมหาดไทย หรือสายด่วน 1299 ของ คสช. แล้วก็มีศูนย์ดำรงธรรมทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ก็ขอให้ใช้ช่องทางต่างๆ เหล่านั้นจะดีที่สุด ก็ร้องไปถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ติดต่อ ก็ขอให้ทำมาอีกครั้งหนึ่ง อาจจะส่งมาสำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้ในเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆส่วนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ขอให้ส่งทางหน่วยงานจะดีกว่า เพราะนายกรัฐมนตรีจะได้แก้ไขในโครงการใหญ่ๆ ที่เป็นปัญหา เพราะเรื่องเล็กๆ นั้นเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ เรื่องของหน่วยงานระดับผู้ปฏิบัติจะต้องแก้ไขอยู่แล้ว เร็วๆ นี้จะเปิดช่องทางใหม่ “สายด่วนไทยนิยม” ในรูปแบบแอปพลิเคชั่นบนมือถือ เว็บไซต์ และเฟสบุ๊ก ที่ตอบสนองความสะดวกและรวดเร็วของพี่น้องประชาชนที่มีมือถือกันแทบทุกคน ก็ขอให้ติดตามข่าวสารกัน
ขอย้ำอีกครั้งครับว่า การทุจริตที่ตรวจสอบพบจากข้อร้องเรียนของภาคประชาชน รัฐบาลและคสช. นั้นจะดำเนินการให้ทุกเรื่องขอให้อย่าเป็นการกลั่นแกล้ง หรือเป็นการทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดินเลย ก็เพียงแต่ว่าขอข้อเท็จจริงขอพยานหลักฐาน พอสมควร ให้เกิดความกระจ่างชัด จะได้ดำเนินการต่อได้ เราจะต้องทำให้เป็นธรรม ตามขั้นตอน ตามกระบวนการและข้อกฎหมาย ซึ่งอาจจะมีหลายเรื่องในเวลานี้ ไม่ใช่ว่าจะนิ่งนอนใจ เราจำเป็นต้องใช้กระบวนการตรวจสอบที่โปร่งใสและเป็นธรรมทั้งกับผู้ร้องและผู้ถูกกล่าวหาตามกฎหมายที่มีอยู่
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
เมื่อวาน ผมได้ไปตรวจราชการ ที่จังหวัดหนองบัวลำภูเพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลของข้าราชการในพื้นที่ ตลอดจนรับฟังปัญหาต่างๆ ทั้งความต้องการและปัญหาของประชาชนในพื้นที่ด้วย ได้มีโอกาสได้ร่วมเวทีประชาคมหมู่บ้าน ตอนนี้เขามีการทำเวทีประชาคมหมู่บ้านในครั้งที่ 2 จากการทำงานของชุดทำงานลงไป ของโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งมีผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่กว่า 300 คนเข้าร่วมและให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ขอบคุณมากก็เป็นโอกาสดีที่ผมได้จับเข่าคุยกันและรับทราบปัญหา และความต้องการจากปากพี่น้องประชาชนโดยตรง ไม่ใช่งานการเมือง เป็นการทำงานลักษณะประชารัฐ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีรายได้น้อยที่สุด เป็นอันดับที่ 76 เช่น เรื่องน้ำกินน้ำใช้ ความต้องการประปาหมู่บ้าน แก้ไขซ่อมแซม ที่สะอาด ถูกหลักอนามัย ให้ทุกคนมีสุขภาพดี จะได้มีแรงทำงานเพื่อครอบครัว ไม่ป่วยไข้ ไม่ต้องเสียเงินรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นการขุดลอกคูคลอง ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรนอกฤดูกาล กลุ่มทอผ้าได้ขอให้จัดหาสถานที่แสดงสินค้า ซึ่งก็คงต้องนำรูปแบบตลาดประชารัฐเข้ามาบริหารจัดการช่วยด้วย
ประเด็นปัญหาและข้อเสนอเหล่านั้น ก็จะถูกบรรจุไว้ในโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งมีกลไกระดับล่างดูแล และติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยมีหลักการบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืนที่สำคัญคือการบริหาร 2 ทางทั้งจากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน ปรับให้ตรงกัน ด้วยการรับฟังปัญหาจากพื้นที่ เหมือนในวันนี้ นอกจากนี้ การพัฒนาไทยนิยมยั่งยืนจะเป็นกลจักรขับเคลื่อนประเทศโดยมีประชาชนเป็นแกนกลาง และการระเบิดจากข้างใน เข้มแข็งด้วยตัวเอง แทนการขับเคลื่อนประเทศด้วยนโยบายทางการเมือง แล้วก็มีตัวแทนในพื้นที่ ก็ไม่เท่าเทียม มีความเหลื่อมล้ำ ในเรื่องของการกระจายรายได้ การสร้างนวัตกรรม อะไรก็แล้วแต่ อย่างเช่นที่ผ่านมา ดังนั้นคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ผมอยากให้เข้าใจว่า รัฐบาลกำลังสร้างสถาปัตยกรรมในการแก้ปัญหาความยากจนของไทยเองที่เรียกว่า ไทยนิยม ยั่งยืน
เราจะต้องเริ่มจากการสร้างหลักคิดที่ถูกต้อง เช่น เห็นประโยชน์จากการปลูกพืชที่หลากหลายแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่ราคานับวันจะตกต่ำ ถ้าเราปลูกมากเกินไป การปลูกพืชอินทรีย์ให้ได้ราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาด ก็มีขั้นตอนก่อนจะไปเป็นพืชอินทรีย์ เรามีเกษตรปลอดภัย มี GAP เหล่านี้ ท้ายสุดก็ไปสู่เกษตรอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ คือการไม่ใช้สารเคมีเลยก็ขอให้ติดตามในเรื่องเหล่านี้ด้วยราคาจะต่างกันทั้งหมด ทั้งในและนอกประเทศ การทำเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อจะลดต้นทุนการผลิต เพิ่มอำนาจในการต่อรอง ส่งเสริมการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเป็นที่มาของความสามัคคีปรองดองในหมู่คณะ การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน หาอัตลักษณ์ หรือสร้างขึ้นมา อัตลักษณ์ประจำถิ่น หาจุดขาย ขยายจุดเด่นสร้างเรื่องราว สตอรี่ที่เราเคยพูดกันบ่อยๆ เสมอสร้างสตอรี่ให้ได้ที่ไม่เหมือนใคร คนที่ผ่านมาก็จะแวะพื้นที่นั้น เพื่อจะท่องเที่ยว หรือไม่ก็ไม่ผ่านเลยไปเหมือนเดิม กลายเป็นเมืองผ่านทั้งหมด สิ่งสำคัญๆ ในพื้นที่ก็เลยไม่ได้ปรากฏออกมา เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ในท้องที่ต้องเริ่มเองก่อนด้วย
สร้างการท่องเที่ยวภายในชุมชนของเราเองโดยคนในประเทศของเราเอง โดยคนในพื้นที่ของเราก่อน แล้วก็จะสร้างแพร่กระจายออกไปในการประชาสัมพันธ์ไปภายนอก รัฐบาลก็จะไปเติมเต็มเหล่านั้น เพราะฉะนั้นทุกคน ทุกพื้นที่ก็มีโอกาสจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเหล่านั้น ทุกคนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคมของตน ต้องใส่ใจสิทธิของตัวเอง ต้องรู้ว่าเราได้สิทธิอะไรบ้าง จะได้ไม่มีใครมาหาประโยชน์จากสิทธิของเราเช่นที่กำลังสอบสวนกันอยู่วันนี้ หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองจะได้สิทธิเท่าไรอย่างไรขอให้เพียงรับเงินอย่างเดียว ไม่ถูกต้องครับ ต้องช่วยกันสองทางจะได้ไม่ทุจริต กันอีกต่อไป รัฐบาลมีหน้าที่ทำงานเพื่อประชาชน โดยการดูแลผู้มีรายได้น้อย สร้างความเข้มแข็งเพิ่มขีดความสามารถของประชาชน ประเทศก็จะได้ตามไปด้วยในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ความปลอดภัยบนท้องถนน น้ำอุปโภค บริโภค น้ำประปา น้ำบาดาล ที่ขอมาเราก็จะรีบจัดการโดยเร็ว อาจจะต้องใช้งบประมาณอื่นเข้าไปเสริมด้วย
สำหรับโครงการไทยนิยมยั่งยืนนั้น ก็ขอให้นักศึกษา - อสม. - กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน และ อปท. ช่วยกัน ให้ความร่วมมือเข้าไปร่วมด้วย กับคณะทำงานในแต่ละพื้นที่ของตน เพราะหลายอย่างนั้นใช้งบของไทยนิยม หลายอย่างใช้งบของฟังก์ชั่น คืองบของรายจ่ายประจำ หลายอย่างก็ไปใช้งบของงบสะสมของท้องถิ่น เพราะฉะนั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วม ไม่อย่างนั้นไม่ทราบว่าจะทำอะไรอย่างไร ก็ไม่เกิดการสอดประสานบูรณาการกันในพื้นที่ ก็ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นมาเหมือนเดิม ใช้เงินไป แล้วก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกฯ ท้องถิ่น แต่ละระดับ ก็ขอให้ร่วมมือกันให้มีการบริหารจัดการให้ได้ในการจัดทำโครงการ แล้วก็ใช้จ่ายงบประมาณตามวัตถุประสงค์ทุกประการ เพื่อให้เกิดหลักคิดและสร้างกลไกประชารัฐในการช่วยกันทำงานพัฒนาบ้านเมือง ประเทศชาติ ให้ตอบสนองตรงความต้องการของประชาชน ในแต่ละพื้นที่ให้ได้โดยเร็ว เราจะมานั่งแก้ปัญหาเดิมๆ กันตลอดไป 10-20 ปีไม่ไหวแล้ว เราต้องไปทำกิจการใหม่ๆ แก้ปัญหาเรื่องใหม่ๆ อันนี้เราแก้มาไม่รู้กี่สิบปีแล้ว เป็นประชาธิปไตยมา 80 กว่าปีแล้ว บางอย่างยังแก้ไม่ได้ ต้องช่วยแก้วันนี้แล้วครับ วันหน้าเราจะได้ทันคนอื่นเขา หรือนำเขาบ้าง
สุดท้ายนี้
เราพูดเรื่องทุจริตมาก็บ่อยแล้ว หลายคนจะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยกับบ้านเมืองของเราเอง บางครั้งต่างประเทศก็ไม่ไว้ใจ เพราะฉะนั้นเราต้องแยกแยะให้ออกว่าอะไรคือเรื่องของการตรวจสอบ ไม่ใช่พูดกันเสียหาย ก็คงจะมีดีๆ อยู่มากมายมากกว่าสิ่งที่ไม่ดี ต่างชาติเขาก็ดูอยู่ การลงทุนอะไรต่างๆ ก็กำลังเกิดขึ้น เราอาจจะหวังดี พูดกันไปกันมา บางทีก็เสียหาย ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปทั้งหมด อย่างเช่นภาคใต้วันนี้ก็ปลอดภัย มีปัญหาอยู่บางพื้นที่เท่านั้นเอง แต่ก็มีความเสียหายอยู่ เพราะฉะนั้นคนใต้เองเขาก็บอกว่า ประชาสัมพันธ์ หรือออกข่าวไปมาจนกระทั่งคนไม่ค่อยเชื่อมั่นในความปลอดภัย ภาคใต้จริง ๆเขาบอกว่ามีบางพื้นที่เท่านั้นเอง นี่คนใต้เขาพูดมา เพราะฉะนั้น อะไรก็ตามอาจจะด้วยเจตนาดี พอพูดไปมากเกินไป บางทีก็มีผลเสียกับคนในพื้นที่ด้วยจริงๆ แล้วทุกอันมีทั้งเรื่องราวดีๆ มากมาย เรื่องเสียก็มีอยู่บ้าง ก็อยู่ในสื่อกระแสหลักที่ดีๆ และสื่อโซเชียล เช่น เด็กไทย 6 คนเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เก็บกระเป๋าที่มีเงินสดและมือถืออยู่ข้างใน นำส่งตำรวจ เพื่อติดตามหาเจ้าของแล้วก็ทราบว่าเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องการทำดีที่เป็นไทยนิยมสื่อนิยมทางความดี เพื่อตัวเองและเพื่อคนอื่นแล้ว แต่เสียดายที่ระบุชื่อเยาวชนตัวอย่างเพียง 2 ใน 6 เท่านั้น มี 6 คน มี 2 คนคือ ด.ช.ณัฐพงศ์ สนโต และ ด.ช.พิทักษ์พงษ์ มนตรีสวัสดิ์ ส่วนอีก 4 คนนั้นก็อยากประกาศให้ แต่เนื้อข่าวเขาไม่ระบุไว้ ทั้งนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ก็อยากให้สื่อกรุณาระบุชื่อให้ครบทุกคน ถ้าทำความดีเป็นกลุ่ม ดีกว่าไปเสนอข่าวที่ไม่เหมาะสม บางทีไม่เกิดประโยชน์
ผมขอชื่นชม คุณพัชรมณฑ์ เสวะนา ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย มีความอุตสาหะ หาความรู้ใส่ตัวจนได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ใบที่ 2 เป็น มหาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ ก็ขอให้เป็นตัวอย่างให้กับหลายคน ขณะนี้ก็สามารถออกมาประกอบอาชีพ ไม่เป็นภาระ แต่ทำประโยชน์ให้สังคมได้ในอนาคต ก็ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยครับ
มีอีกเรื่อง ที่น้อยคนจะรับรู้ว่ามีคนไทยหนึ่งเดียว ที่ผ่านการคัดสรรนักวิ่งแนวดิ่งเพียง 129 คนจากทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขันวิ่งขึ้นหอไอเฟล เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรายการที่เก่าแก่ที่สุดในโลก 100 กว่าปีมาแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 ได้แก่ คุณอำนาจ พรหมภินันท์ อายุ 66 ปี เกิน 60 แล้วอายุ ชาวจังหวัดชุมพรทำงานเป็นหัวหน้าพนักงานดูแลความปลอดภัย ในอดีตเคยดื่มเหล้าสูบบุหรี่จัดวันละซอง จนโรครุมเร้า แต่ตัดใจเลิกได้ทุกอย่างด้วยตัวเอง เมื่อ 30 ปีที่แล้ว หันมาออกกำลังกาย วิ่งอย่างจริงจัง จนสุขภาพร่างกายแข็งแรงมาก เป็นแชมป์วิ่งขึ้นตึกใบหยกมาหลายรอบก็เลยอยากฝากให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมชื่นชม เป็นตัวอย่างของบุคคลที่ดูแลสุขภาพตัวเอง อย่าไปคิดว่าวันนี้เรามีระบบประกันสุขภาพ มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลฟรี แล้วก็เลยไม่ต้องดูแลตัวเอง ไปรอให้หมอรักษา ไม่เหมือนกันครับ ถ้าไม่หาหมอเลยจะดีกว่า ช่วยรัฐบาลด้วย ในการใช้จ่ายงบประมาณ จะได้ไปหาคนที่มีความเจ็บป่วยเดือดร้อนจริงๆ ได้มากขึ้น สำหรับเรื่องนี้ ผมมีความคิดต่อยอดอย่างไรนั้น อยากจะขอให้รอฟังในวันศุกร์หน้าครับ เราต้องใช้เวลาในการอธิบายความคิดของผม จากจุดเล็กๆ นี้ เพื่อจะให้สามารถนำไปสู่นโยบายการปฏิบัติเพื่อการบริหารประเทศได้ ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคน ทุกครอบครัวมีความสุข ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สวัสดีครับ
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย ที่จัดขึ้นเพื่อหารือกันระหว่างผู้นำประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนกับออสเตรเลีย ภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมความมั่นคงและความมั่งคั่งในภูมิภาค” ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องมีผลลัพธ์การหารือที่นำไปสู่การปฏิบัติจริงให้ได้โดยเร็ว
ออสเตรเลีย ถือเป็นประเทศคู่เจรจาที่เก่าแก่ที่สุดของอาเซียนมากว่า 44 ปีแล้ว ทำให้มีความเข้าใจอาเซียนเป็นอย่างดี เข้าใจระหว่างกันทั้ง 2 ทาง ปัจจุบันออสเตรเลียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อยู่ระหว่างการพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ ในการดำเนินความสัมพันธ์กับโลกภายนอก รวมถึงการหาความสมดุลในภูมิภาค โดยเฉพาะการพัฒนาแนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่จะเชื่อมโยงประเทศในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงเราจึงต้องเร่งพัฒนาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในหลาย ๆ ด้านเพื่อจะรองรับความท้าทายต่าง ๆ สำหรับในด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ซึ่งมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นเวทีในการยกระดับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นขึ้นได้อีก
ในการเดินทางครั้งนี้ ผมและผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและออสเตรเลียได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากลระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย เพื่อย้ำเจตนารมณ์ในการร่วมมือต่อต้านการก่อการร้ายสากล และยังได้รับรองปฏิญญาซิดนีย์ซึ่งเป็นเอกสารกำหนดวิสัยทัศน์ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการต่อต้านภัยคุกคามในหลายรูปแบบต่อความมั่นคง การใช้ประโยชน์จากพื้นที่มหาสมุทรร่วมกันอย่างสันติ ความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล และการบินเหนือน่านฟ้าในภูมิภาค ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ก็จะมีการสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ที่รวมถึงการเร่งรัดการจัดทำความตกลง RCEP การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้ง การร่วมกันสนับสนุน Micro SME และลดช่องว่างการพัฒนาอีกทั้งจะส่งเสริมการเชื่อมโยงในระดับประชาชนผ่านความเชื่อมโยงทางการศึกษา ความร่วมมือทางสิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุขด้วย นอกจากนี้ ออสเตรเลียได้เสนอโครงการต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งเสาการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อดำเนินการ โดยมุ่งเน้นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายที่จะต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการต่อต้านการค้ามนุษย์ เพิ่มเติมด้วย
สำหรับในที่ประชุม ผมได้เน้นย้ำว่าแนวคิดอินโด – แปซิฟิกที่กำลังร่วมกันพัฒนานี้ ควรนำไปสู่ดุลยภาพทางยุทธศาสตร์ใหม่ โดยคำนึงถึงความเป็นแกนกลางของอาเซียน ด้วยความยึดถือการไว้เนื้อเชื่อใจกัน การเคารพซึ่งกันและกัน และการสร้างประโยชน์ร่วมกันโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียก็ได้ย้ำเช่นกัน ว่าอาเซียนคือหัวใจของภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกนี้นอกจากนั้น ยังได้มีการหารือประเด็นในภูมิภาคและโลกที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย ได้แก่ สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี และพัฒนาการของสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ซึ่งผมก็ได้เสนอให้มีการจัดตั้งกลไกที่จะส่งเสริมพื้นที่ปลอดภัยและการพัฒนาที่ยั่งยืนในรัฐยะไข่ให้เป็นเอกภาพ จากบรรดาประเทศสมาชิก โดยจะต้องรับฟังความต้องการ หรือเจตนารมณ์ของรัฐบาลเมียนมาร์ด้วย ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดการแทรกแซงจากภายนอกได้ เราต้องแก้ปัญหาของเราให้ได้โดยเร็วโดยอาเซียนด้วยกันเองสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างมีเอกภาพ
ในปีหน้านี้ ไทยจะรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียน ทำให้เราจะต้องทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านในการต้อนรับการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียนตลอดปี รวมถึงการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2565 ด้วย ซึ่งรัฐบาลอยู่ระหว่างการเตรียมการอย่างดีที่สุดเพื่อให้เห็นความพร้อมของไทยและเป็นโอกาสในการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและบทบาทของไทยในการเป็นผู้นำในหลาย ๆ ด้านด้วย ผมขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีร่วมกันเพื่อแสดงให้เห็นความน่าอยู่ ความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศเราร่วมกันด้วยอันนี้ก็อยากจะฝากเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าการประชุมเอเปคจะปี 2565 ก็ตาม ใครจะเป็นรัฐบาลก็ตาม เราคงต้องเตรียมการตั้งแต่บัดนี้ วันนี้ก็ตั้งคณะกรรมการระดับชาติในการเตรียมการประชุมทั้ง 2 ประชุม ปีหน้าประชุมอาเซียน ปี 65 ประชุมเอเปค ต้องเตรียมการทั้งหมด ก็ขอให้สานต่อกันต่อไป บ้านเมืองต้องสะอาดเรียบร้อย ปลอดภัยมีเสถียรภาพ
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือผมอยากให้ดูในวีดิทัศน์ที่ออกมา ก็อยากให้ดูบ้านเมืองของออสเตรเลียด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในบริเวณอ่าวซิดนีย์ เขาได้จัดระเบียบกันอย่างสวยงามเรียบร้อย มีทั้งสถานที่ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว ร้านอาหาร เป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วก็สะอาดสวยงาม การดูแลเรื่องน้ำเสีย การขจัดน้ำเสีย บรรดาน้ำที่ไหลมาจากบ้านพักอะไรต่างๆ นี่เขามีวิธีการที่ทำอย่างไรจะไม่ไหลลงคลองต่างๆ หรือลงทะล อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เขาให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องสิ่งแวดล้อมดูแล้วกัน ถ้าบ้านเราสามารถทำได้ในพื้นที่ที่เป็นริมน้ำ ริมแม่น้ำ ริมคลอง เราอาจจะทำไม่ได้เหมือนเขาทั้งหมด แต่สิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องทำก็คือ ทำอย่างไรน้ำเสียจะไม่ไหลลงคลอง ต้องไปหาวิธีการที่เหมาะสมถ้ารื้อทั้งหมดอาจเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าเราจะดักน้ำเสียที่จะไหลลงคลอง ทำร่องระบายน้ำต่างๆ ทั้งปิดและเปิด อย่างน้อยก็ทำทีละคลอง จะได้หรือไม่วันนี้ผมให้แนวทางกับส่วนกลางไปพิจารณาแล้วการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ทับซ้อน หลายอย่าง ต้องหาวิธีการที่เหมาะสม ข้อสำคัญคือประชาชนต้องร่วมมือด้วย ถึงจะแก้ปัญหาได้
พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่านครับ
สำหรับความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียนั้นมีมายาวนานซึ่งจะครบรอบ 70 ปี ในปี 2565 นี้ พอดีกับวาระนี้พอดีเลย ซึ่งออสเตรเลียถือเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยมายาวนาน โดยในปี 2560 ไทยกับออสเตรเลียมีการค้าระหว่างกันสูงถึง 500,000 ล้านบาท โดยถือเป็นคู่ค้าอันดับ 9 ในปัจจุบันไทยมีการทำความตกลงการค้าเสรีกับออสเตรเลียภายใต้ TAFTA ที่มีขอบเขตความตกลงอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะสามารถปรับปรุงให้เพิ่มการค้าระหว่างกันได้อีก นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังสนับสนุนให้ไทยเตรียมพร้อมเพื่อเข้าร่วมในความตกลง TPP เดิม หรือในปัจจุบัน เรียกว่า CPTIP ด้วยโดยผมได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเป็นการขยายฐานการค้าให้กับผู้ประกอบการของไทย และในโอกาสที่ผมได้เข้าหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียด้วย ในประเด็นความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียนั้น ก็ได้เชิญชวนนักลงทุนออสเตรเลียให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เราพร้อมจะดูแลและอำนวยความสะดวก ในขณะเดียวกัน ตัวแทนภาคธุรกิจก็ได้หารือกับผมด้วยถึงประเด็นปัญหาอุปสรรคที่ภาคเอกชนไทยประสบอยู่ในออสเตรเลีย แล้วผมก็ได้นำให้ทางนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้ช่วยแก้ไข ดูแลด้วยแล้วก็ขอให้ช่วยดูแลชุมชนคนไทยมีจำนวนเป็นแสนคนและนักเรียนไทยเป็นหมื่นคนในออสเตรเลียให้ด้วย
ในการหารือ ผมได้เชิญนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียให้เดินทางมาเยือนประเทศไทย ซึ่งท่านก็ได้รับกับผมแล้วว่าจะมาเยือนบ้านเราในเร็วๆ วันนี้ หลังจากที่ว่างเว้นการหารือระดับผู้นำประเทศไปถึง 5 ปี และไม่ได้มีการมาเยือนไทยมายาวนานกว่า 20 ปีแล้วของนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียก็ถือว่าเป็นสัญญาณการตอบรับที่ดีในชั้นต้น ว่าประเทศต่าง ๆ นั้นเริ่มเข้าใจเรามากขึ้น เรามีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นต่อเนื่องในสายตาต่างประเทศ โดยเฉพาะการยอมรับในความจริงใจของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาหลายๆ อย่างที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยอย่างเต็มที่เท่าที่เราสามารถจะทำได้
สำหรับเรื่องความไว้วางใจของนานาชาติมากขึ้นนี้ ก็มีอีกเรื่องที่น่ายินดี คือการที่คุณสุนันทา กังวาลกุลกิจ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิก WTO 164 ประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาทโดยนับเป็นคนไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่นี้ นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง WTO เมื่อปี 2538 นานมากเลยครับ โดยประธานในที่นี้ จะต้องยึดหลักความเป็นกลางและช่วยให้สมาชิกมีข้อสรุปที่ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน และผลักดันให้กระบวนการระงับข้อพิพาทเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพด้วยก็เป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงให้ต่างชาติเห็นความสามารถของคนไทยและทีมงานไทยด้วย ในการเข้ารับตำแหน่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ในครั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะตามแนวทางปฏิบัติของ WTO นั้นจะต้องก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีใหญ่ WTO ในปี 2562ซึ่งเป็นองค์กรระดับสูงสุดของ WTO ในการกำกับดูแลภาพรวมการดำเนินงานของประเทศสมาชิก เพื่อให้ทุกประเทศเกิดความมั่นใจและสร้างความเป็นธรรมทางการค้าระหว่างประเทศ ผมขออวยพรให้คุณสุนันทาและทีมงาน ประสบความสำเร็จ การทำงานราบรื่น และสร้างเกียรติยศให้กับประเทศไทยของเรา ในประเทศไทยของเรา ก็จำเป็นต้องสร้างความมีเสถียรภาพ สร้างความเชื่อมั่นในประเทศของเราด้วย เพื่อสนับสนุนการทำงานดังกล่าวของท่านผู้แทนของเราที่เป็นประธานในครั้งนี้
ความสำเร็จด้านการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาลนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยง่าย โดยรัฐบาลและคสช.มีหลักการสำคัญคือ การเคารพในเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน เราคงต้องแยก 2 คำนี้ให้ออก จะได้รักษาไว้ได้ถูกต้อง เพราะประเทศก็เหมือนคนศักดิ์ศรีมีอยู่กับตัวเราต้องรักษาให้ได้ ด้วยการคิดดี พูดดี ทำดี ส่วนเกียรติยศนั้น คนอื่นเขาจะเป็นคนมอบให้ เมื่อเขาเห็นว่าเราเหมาะสมจะได้รับ หากเราไม่ยอมลดศักดิ์ศรีของตน ลงไปทำในสิ่งผิด ทุจริต ไม่รักษาสัตย์ ไม่มีคุณธรรม เคารพกฎหมายบ้านเมือง เราก็จะได้รับเกียรติในทุกสถาน ผมเคยกล่าวกับพี่น้องประชาชนเป็นคติเตือนใจ ในรายการนี้มานานแล้ว ว่า “อย่าคิดว่าเป็นความผิดเล็กน้อยแล้วทำ หรืออย่าคิดว่าเป็นความดีเล็กน้อยแล้วไม่ทำ” สำหรับรัฐบาลนี้ถือว่าภารกิจทุกอย่างนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กเราต้องทำทุกเรื่อง เพราะเดิมพันคือความสุขของคนในชาติก็จะเห็นว่าถ้าทำแบบนี้ใช้เวลาและไม่ง่ายมากนัก ไม่เหมือนกับการทำอะไรที่ง่าย ๆ จบ ๆ ไปภายในไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน เหล่านี้ไม่ยั่งยืนหรอกครับ เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องขับเคลื่อนทั้งในประเทศ และผลักดันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อที่จะแก้ปัญหา ฟื้นวิกฤตศรัทธาและความล้มเหลวในอดีตมากบ้างน้อยบ้างที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว ตามข้อเท็จจริงที่เราเห็นกันอยู่ ถ้าเราไม่สามารถรักษากติกาสากลได้ เราก็คงจะลำบาก เราน่าจะจำกันได้ ตั้งแต่ปัญหาค้างาช้าง CITES ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย IUU ที่พยายามทำอยู่ขณะนี้ ปัญหาการบินพลเรือน ICAO ที่ทำสำเร็จไปแล้ว ทั้งหมดสะสม หมักหมม ยาวนานมาหลายสิบปี แล้วก็คลี่คลายมาโดยลำดับ ภายใน 3 ปีที่ผ่านมา แม้หลายประเทศที่เคยลดระดับความสัมพันธ์กับไทย เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับที่มาของรัฐบาลนี้ ผมก็เข้าใจ แต่เราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงใจจนเชื่อมั่นและไว้ใจ จนนานาชาติต้องทบทวนและหวนกลับมารักษาความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจด้านความมั่นคง เช่น การส่งกำลังทหารมาร่วมฝึกคอบร้าโกลด์กับกองทัพไทย ในจำนวนที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีการฝึกร่วมกันมา ซึ่งจะว่าไปแล้วการทูตแบบสุภาพบุรุษที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร คบหา พูดได้กับทุกฝ่าย มีสาระ มีความจริงใจ นับว่าเป็นการปิดทองหน้าองค์พระ ที่ไม่อาจจะสามารถทำสำเร็จได้เลย หากปราศจากการปิดทองหลังพระของฝ่ายความมั่นคง ของส่วนราชการ หน่วยราชการต่าง ๆ ที่จะต้องรักษาเสถียรภาพในทุกๆ ด้าน ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเป็นธรรมตรงไปตรงมา ผมก็ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ทุกคน ทุกฝ่าย กรุณาเห็นแก่บ้านเมือง มองเห็นแก่อนาคตของประเทศ คาดหวังให้ดีกว่าเดิม มาร่วมมือ ร่วมใจกัน ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศที่ปรองดอง เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ของพวกเราและลูกหลานในอนาคต
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
ผมขอยกตัวอย่างการพูดจาให้ข่าวในเรื่องการประมูล หรือการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ อาจจะแยกออกเป็น 2 กรณี กรณีแรก หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เป็นแต่เพียงแนวคิดแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน หรืออยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล การศึกษาความเป็นไป ก็ไม่น่าจะนำมาวิพากษ์วิจารณ์มากจนหลายโครงการที่ดีๆ พับไป ล้มไปก็แก้อะไรไม่ได้เหมือนเดิม ทั้งๆ ที่ยังมีความจำเป็น หรือสำคัญต่อความมั่นคงของส่วนรวม ไม่ว่าการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ เรื่องป่า เรื่องการลงทุนอะไรต่างๆ ก็แล้วแต่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ข้อมูลในสื่อโซเชียล ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีสติ ระมัดระวัง เพราะใครก็ได้ต่างฝ่ายต่างให้ข้อมูล โดยไม่มีใครสามารถจะบอกได้ว่าใครถูก ใครผิด ทั้งนี้ รัฐบาลและ คสช. ก็เข้าใจถึงเจตนารมณ์ ถึงความปรารถนาดี แต่ขอให้พี่น้องประชาชนนั้นที่มีเจตนาบริสุทธิ์ ได้กรุณาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หรือรอเขาชี้แจงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ สำรวจแหล่งที่มาของข่าวสารให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้นเวลาโพสต์กันต่อ ๆ ไปบางทีก็ทำให้เกิดความสับสนอลหม่านวุ่นวายเลยคิดต่อไม่ได้ ทำอะไรต่อไม่ได้เลย ตราบใดก็ตามที่ยังไม่ได้มีการจัดทำ TOR จัดทำโครงการออกมายังไม่เกิดอะไรขึ้นทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นหากเป็นข้อมูลเท็จหรือเป็นข่าวสารที่ผ่านการปรุงแต่ง บิดเบือน และมีผู้หนึ่งผู้ใดที่นำเข้าสู่ระบบ หรือโลกออนไลน์ อาจจะเป็นการทำผิดกฎหมาย และส่งผลเสียต่อสังคม หรือกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย
กรณีต่อมาเมื่อมีการอนุมัติจัดทำโครงการขึ้นมา แล้วเสนอแผนการดำเนินการที่ชัดเจนแล้ว ก็ขอให้ติดตามความคืบหน้าจากการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานเจ้าของโครงการ เพื่อให้ประชาชนรับรู้รับทราบ ช่วยกันเข้าไปดูแลเฝ้าระวังทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เป็นไปตามกฎหมายของรัฐธรรมนูญ ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็น มีช่องทางสื่อสารที่เปิดกว้างไว้ให้เสมอปรากฏว่ามีหลายโครงการ เกิดปัญหาในขั้นตอนการประมูล หรือหลังจากการประมูลแล้ว ที่มีผู้ชนะการประมูลและผู้ที่ไม่สมหวังในการประมูลทั้งสองฝ่ายนั้นควรที่จะเคารพกติกา ถ้ารัฐทำ เจ้าของหน่วยงานเขาทำโครงการออกมาแล้วอย่างโปร่งใสผู้ที่เข้ามาประมูล ก็ต้องยอมรับในกติกาเหล่านั้นไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างประมูล ได้-ไม่ได้ แล้วก็กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ประมูลไม่ได้ ต้องสำรวจ หาข้อมูลที่แท้จริง โครงการเหล่านั้นก็จะต้องถูกตรวจสอบ ทำให้เกิดความชักช้าเสียเวลาถ้าไม่ใช่ข้อเท็จจริง รัฐบาล คสช. และองค์กรอิสระอื่นๆ ก็จะไม่ปล่อยไว้ จะเข้าไปตรวจสอบทุกอันตามกฎหมายหากพบว่ามีการทุจริต ไม่ว่าจะโดยข้าราชการ เอกชนนักธุรกิจ หรือประชาชนเองก็ตาม ที่ร่วมมือกันทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เจตนาหรือไม่เจตนา หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ต้องอาศัยกฎหมาย อาศัยกระบวนการยุติธรรมปกติที่มีอยู่แล้ว ในการตัดสินชี้ถูกชี้ผิดเราทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาทุจริต ป้องกันดีกว่าแก้ไขวันนี้เห็นไหม มีตั้งหลายเรื่องหลายหน่วยงาน ที่มีปัญหาในเรื่องนี้ เราต้องป้องกัน ป้องกันโดยใครครับ ป้องกันโดย 1. ต้องใช้กฎหมาย ใช้กฎระเบียบดำเนินการให้ถูกต้อง 2. ผู้บังคับบัญชาต้องกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา หน่วยงานในพื้นที่ ต้องเข้าไปลงรายละเอียด ไม่ว่าจะการก่อสร้าง การตรวจรับอะไรต่างๆ มีปัญหาทุกวัน
แสดงว่าสิ่งเหล่านี้เข้าไปในสังคม ในการทำงานมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินไปแล้ว เพราะฉะนั้น รัฐบาลนี้จะไม่ปล่อยไว้ จะไม่นิ่งนอนใจ เราจะต้องช่วยกันสร้างความไม่โปร่งใสให้ได้ ต้องช่วยกัน ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะแก้ไขได้แต่เพียงฝ่ายเดียว นายกรัฐมนตรี รัฐบาล หรือส่วนราชการ ไม่ได้หรอกครับ เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมมือกันในลักษณะประชารัฐด้วยกัน การแก้ไขปัญหาการทุจริต
ปัจจุบันรัฐบาลมีช่องทางรับเรื่องราวร้องเรียน เพื่อรับฟังข้อมูลจากทุกคน ทุกฝ่าย ทั้งสายด่วน 1111 ของรัฐบาล สายด่วน 1567 ของกระทรวงมหาดไทย หรือสายด่วน 1299 ของ คสช. แล้วก็มีศูนย์ดำรงธรรมทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ก็ขอให้ใช้ช่องทางต่างๆ เหล่านั้นจะดีที่สุด ก็ร้องไปถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ติดต่อ ก็ขอให้ทำมาอีกครั้งหนึ่ง อาจจะส่งมาสำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้ในเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆส่วนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ขอให้ส่งทางหน่วยงานจะดีกว่า เพราะนายกรัฐมนตรีจะได้แก้ไขในโครงการใหญ่ๆ ที่เป็นปัญหา เพราะเรื่องเล็กๆ นั้นเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ เรื่องของหน่วยงานระดับผู้ปฏิบัติจะต้องแก้ไขอยู่แล้ว เร็วๆ นี้จะเปิดช่องทางใหม่ “สายด่วนไทยนิยม” ในรูปแบบแอปพลิเคชั่นบนมือถือ เว็บไซต์ และเฟสบุ๊ก ที่ตอบสนองความสะดวกและรวดเร็วของพี่น้องประชาชนที่มีมือถือกันแทบทุกคน ก็ขอให้ติดตามข่าวสารกัน
ขอย้ำอีกครั้งครับว่า การทุจริตที่ตรวจสอบพบจากข้อร้องเรียนของภาคประชาชน รัฐบาลและคสช. นั้นจะดำเนินการให้ทุกเรื่องขอให้อย่าเป็นการกลั่นแกล้ง หรือเป็นการทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดินเลย ก็เพียงแต่ว่าขอข้อเท็จจริงขอพยานหลักฐาน พอสมควร ให้เกิดความกระจ่างชัด จะได้ดำเนินการต่อได้ เราจะต้องทำให้เป็นธรรม ตามขั้นตอน ตามกระบวนการและข้อกฎหมาย ซึ่งอาจจะมีหลายเรื่องในเวลานี้ ไม่ใช่ว่าจะนิ่งนอนใจ เราจำเป็นต้องใช้กระบวนการตรวจสอบที่โปร่งใสและเป็นธรรมทั้งกับผู้ร้องและผู้ถูกกล่าวหาตามกฎหมายที่มีอยู่
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
เมื่อวาน ผมได้ไปตรวจราชการ ที่จังหวัดหนองบัวลำภูเพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลของข้าราชการในพื้นที่ ตลอดจนรับฟังปัญหาต่างๆ ทั้งความต้องการและปัญหาของประชาชนในพื้นที่ด้วย ได้มีโอกาสได้ร่วมเวทีประชาคมหมู่บ้าน ตอนนี้เขามีการทำเวทีประชาคมหมู่บ้านในครั้งที่ 2 จากการทำงานของชุดทำงานลงไป ของโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งมีผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่กว่า 300 คนเข้าร่วมและให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ขอบคุณมากก็เป็นโอกาสดีที่ผมได้จับเข่าคุยกันและรับทราบปัญหา และความต้องการจากปากพี่น้องประชาชนโดยตรง ไม่ใช่งานการเมือง เป็นการทำงานลักษณะประชารัฐ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีรายได้น้อยที่สุด เป็นอันดับที่ 76 เช่น เรื่องน้ำกินน้ำใช้ ความต้องการประปาหมู่บ้าน แก้ไขซ่อมแซม ที่สะอาด ถูกหลักอนามัย ให้ทุกคนมีสุขภาพดี จะได้มีแรงทำงานเพื่อครอบครัว ไม่ป่วยไข้ ไม่ต้องเสียเงินรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นการขุดลอกคูคลอง ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรนอกฤดูกาล กลุ่มทอผ้าได้ขอให้จัดหาสถานที่แสดงสินค้า ซึ่งก็คงต้องนำรูปแบบตลาดประชารัฐเข้ามาบริหารจัดการช่วยด้วย
ประเด็นปัญหาและข้อเสนอเหล่านั้น ก็จะถูกบรรจุไว้ในโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งมีกลไกระดับล่างดูแล และติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยมีหลักการบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืนที่สำคัญคือการบริหาร 2 ทางทั้งจากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน ปรับให้ตรงกัน ด้วยการรับฟังปัญหาจากพื้นที่ เหมือนในวันนี้ นอกจากนี้ การพัฒนาไทยนิยมยั่งยืนจะเป็นกลจักรขับเคลื่อนประเทศโดยมีประชาชนเป็นแกนกลาง และการระเบิดจากข้างใน เข้มแข็งด้วยตัวเอง แทนการขับเคลื่อนประเทศด้วยนโยบายทางการเมือง แล้วก็มีตัวแทนในพื้นที่ ก็ไม่เท่าเทียม มีความเหลื่อมล้ำ ในเรื่องของการกระจายรายได้ การสร้างนวัตกรรม อะไรก็แล้วแต่ อย่างเช่นที่ผ่านมา ดังนั้นคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ผมอยากให้เข้าใจว่า รัฐบาลกำลังสร้างสถาปัตยกรรมในการแก้ปัญหาความยากจนของไทยเองที่เรียกว่า ไทยนิยม ยั่งยืน
เราจะต้องเริ่มจากการสร้างหลักคิดที่ถูกต้อง เช่น เห็นประโยชน์จากการปลูกพืชที่หลากหลายแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่ราคานับวันจะตกต่ำ ถ้าเราปลูกมากเกินไป การปลูกพืชอินทรีย์ให้ได้ราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาด ก็มีขั้นตอนก่อนจะไปเป็นพืชอินทรีย์ เรามีเกษตรปลอดภัย มี GAP เหล่านี้ ท้ายสุดก็ไปสู่เกษตรอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ คือการไม่ใช้สารเคมีเลยก็ขอให้ติดตามในเรื่องเหล่านี้ด้วยราคาจะต่างกันทั้งหมด ทั้งในและนอกประเทศ การทำเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อจะลดต้นทุนการผลิต เพิ่มอำนาจในการต่อรอง ส่งเสริมการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเป็นที่มาของความสามัคคีปรองดองในหมู่คณะ การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน หาอัตลักษณ์ หรือสร้างขึ้นมา อัตลักษณ์ประจำถิ่น หาจุดขาย ขยายจุดเด่นสร้างเรื่องราว สตอรี่ที่เราเคยพูดกันบ่อยๆ เสมอสร้างสตอรี่ให้ได้ที่ไม่เหมือนใคร คนที่ผ่านมาก็จะแวะพื้นที่นั้น เพื่อจะท่องเที่ยว หรือไม่ก็ไม่ผ่านเลยไปเหมือนเดิม กลายเป็นเมืองผ่านทั้งหมด สิ่งสำคัญๆ ในพื้นที่ก็เลยไม่ได้ปรากฏออกมา เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ในท้องที่ต้องเริ่มเองก่อนด้วย
สร้างการท่องเที่ยวภายในชุมชนของเราเองโดยคนในประเทศของเราเอง โดยคนในพื้นที่ของเราก่อน แล้วก็จะสร้างแพร่กระจายออกไปในการประชาสัมพันธ์ไปภายนอก รัฐบาลก็จะไปเติมเต็มเหล่านั้น เพราะฉะนั้นทุกคน ทุกพื้นที่ก็มีโอกาสจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเหล่านั้น ทุกคนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคมของตน ต้องใส่ใจสิทธิของตัวเอง ต้องรู้ว่าเราได้สิทธิอะไรบ้าง จะได้ไม่มีใครมาหาประโยชน์จากสิทธิของเราเช่นที่กำลังสอบสวนกันอยู่วันนี้ หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองจะได้สิทธิเท่าไรอย่างไรขอให้เพียงรับเงินอย่างเดียว ไม่ถูกต้องครับ ต้องช่วยกันสองทางจะได้ไม่ทุจริต กันอีกต่อไป รัฐบาลมีหน้าที่ทำงานเพื่อประชาชน โดยการดูแลผู้มีรายได้น้อย สร้างความเข้มแข็งเพิ่มขีดความสามารถของประชาชน ประเทศก็จะได้ตามไปด้วยในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ความปลอดภัยบนท้องถนน น้ำอุปโภค บริโภค น้ำประปา น้ำบาดาล ที่ขอมาเราก็จะรีบจัดการโดยเร็ว อาจจะต้องใช้งบประมาณอื่นเข้าไปเสริมด้วย
สำหรับโครงการไทยนิยมยั่งยืนนั้น ก็ขอให้นักศึกษา - อสม. - กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน และ อปท. ช่วยกัน ให้ความร่วมมือเข้าไปร่วมด้วย กับคณะทำงานในแต่ละพื้นที่ของตน เพราะหลายอย่างนั้นใช้งบของไทยนิยม หลายอย่างใช้งบของฟังก์ชั่น คืองบของรายจ่ายประจำ หลายอย่างก็ไปใช้งบของงบสะสมของท้องถิ่น เพราะฉะนั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วม ไม่อย่างนั้นไม่ทราบว่าจะทำอะไรอย่างไร ก็ไม่เกิดการสอดประสานบูรณาการกันในพื้นที่ ก็ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นมาเหมือนเดิม ใช้เงินไป แล้วก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกฯ ท้องถิ่น แต่ละระดับ ก็ขอให้ร่วมมือกันให้มีการบริหารจัดการให้ได้ในการจัดทำโครงการ แล้วก็ใช้จ่ายงบประมาณตามวัตถุประสงค์ทุกประการ เพื่อให้เกิดหลักคิดและสร้างกลไกประชารัฐในการช่วยกันทำงานพัฒนาบ้านเมือง ประเทศชาติ ให้ตอบสนองตรงความต้องการของประชาชน ในแต่ละพื้นที่ให้ได้โดยเร็ว เราจะมานั่งแก้ปัญหาเดิมๆ กันตลอดไป 10-20 ปีไม่ไหวแล้ว เราต้องไปทำกิจการใหม่ๆ แก้ปัญหาเรื่องใหม่ๆ อันนี้เราแก้มาไม่รู้กี่สิบปีแล้ว เป็นประชาธิปไตยมา 80 กว่าปีแล้ว บางอย่างยังแก้ไม่ได้ ต้องช่วยแก้วันนี้แล้วครับ วันหน้าเราจะได้ทันคนอื่นเขา หรือนำเขาบ้าง
สุดท้ายนี้
เราพูดเรื่องทุจริตมาก็บ่อยแล้ว หลายคนจะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยกับบ้านเมืองของเราเอง บางครั้งต่างประเทศก็ไม่ไว้ใจ เพราะฉะนั้นเราต้องแยกแยะให้ออกว่าอะไรคือเรื่องของการตรวจสอบ ไม่ใช่พูดกันเสียหาย ก็คงจะมีดีๆ อยู่มากมายมากกว่าสิ่งที่ไม่ดี ต่างชาติเขาก็ดูอยู่ การลงทุนอะไรต่างๆ ก็กำลังเกิดขึ้น เราอาจจะหวังดี พูดกันไปกันมา บางทีก็เสียหาย ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปทั้งหมด อย่างเช่นภาคใต้วันนี้ก็ปลอดภัย มีปัญหาอยู่บางพื้นที่เท่านั้นเอง แต่ก็มีความเสียหายอยู่ เพราะฉะนั้นคนใต้เองเขาก็บอกว่า ประชาสัมพันธ์ หรือออกข่าวไปมาจนกระทั่งคนไม่ค่อยเชื่อมั่นในความปลอดภัย ภาคใต้จริง ๆเขาบอกว่ามีบางพื้นที่เท่านั้นเอง นี่คนใต้เขาพูดมา เพราะฉะนั้น อะไรก็ตามอาจจะด้วยเจตนาดี พอพูดไปมากเกินไป บางทีก็มีผลเสียกับคนในพื้นที่ด้วยจริงๆ แล้วทุกอันมีทั้งเรื่องราวดีๆ มากมาย เรื่องเสียก็มีอยู่บ้าง ก็อยู่ในสื่อกระแสหลักที่ดีๆ และสื่อโซเชียล เช่น เด็กไทย 6 คนเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เก็บกระเป๋าที่มีเงินสดและมือถืออยู่ข้างใน นำส่งตำรวจ เพื่อติดตามหาเจ้าของแล้วก็ทราบว่าเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องการทำดีที่เป็นไทยนิยมสื่อนิยมทางความดี เพื่อตัวเองและเพื่อคนอื่นแล้ว แต่เสียดายที่ระบุชื่อเยาวชนตัวอย่างเพียง 2 ใน 6 เท่านั้น มี 6 คน มี 2 คนคือ ด.ช.ณัฐพงศ์ สนโต และ ด.ช.พิทักษ์พงษ์ มนตรีสวัสดิ์ ส่วนอีก 4 คนนั้นก็อยากประกาศให้ แต่เนื้อข่าวเขาไม่ระบุไว้ ทั้งนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ก็อยากให้สื่อกรุณาระบุชื่อให้ครบทุกคน ถ้าทำความดีเป็นกลุ่ม ดีกว่าไปเสนอข่าวที่ไม่เหมาะสม บางทีไม่เกิดประโยชน์
ผมขอชื่นชม คุณพัชรมณฑ์ เสวะนา ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย มีความอุตสาหะ หาความรู้ใส่ตัวจนได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ใบที่ 2 เป็น มหาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ ก็ขอให้เป็นตัวอย่างให้กับหลายคน ขณะนี้ก็สามารถออกมาประกอบอาชีพ ไม่เป็นภาระ แต่ทำประโยชน์ให้สังคมได้ในอนาคต ก็ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยครับ
มีอีกเรื่อง ที่น้อยคนจะรับรู้ว่ามีคนไทยหนึ่งเดียว ที่ผ่านการคัดสรรนักวิ่งแนวดิ่งเพียง 129 คนจากทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขันวิ่งขึ้นหอไอเฟล เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรายการที่เก่าแก่ที่สุดในโลก 100 กว่าปีมาแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 ได้แก่ คุณอำนาจ พรหมภินันท์ อายุ 66 ปี เกิน 60 แล้วอายุ ชาวจังหวัดชุมพรทำงานเป็นหัวหน้าพนักงานดูแลความปลอดภัย ในอดีตเคยดื่มเหล้าสูบบุหรี่จัดวันละซอง จนโรครุมเร้า แต่ตัดใจเลิกได้ทุกอย่างด้วยตัวเอง เมื่อ 30 ปีที่แล้ว หันมาออกกำลังกาย วิ่งอย่างจริงจัง จนสุขภาพร่างกายแข็งแรงมาก เป็นแชมป์วิ่งขึ้นตึกใบหยกมาหลายรอบก็เลยอยากฝากให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมชื่นชม เป็นตัวอย่างของบุคคลที่ดูแลสุขภาพตัวเอง อย่าไปคิดว่าวันนี้เรามีระบบประกันสุขภาพ มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลฟรี แล้วก็เลยไม่ต้องดูแลตัวเอง ไปรอให้หมอรักษา ไม่เหมือนกันครับ ถ้าไม่หาหมอเลยจะดีกว่า ช่วยรัฐบาลด้วย ในการใช้จ่ายงบประมาณ จะได้ไปหาคนที่มีความเจ็บป่วยเดือดร้อนจริงๆ ได้มากขึ้น สำหรับเรื่องนี้ ผมมีความคิดต่อยอดอย่างไรนั้น อยากจะขอให้รอฟังในวันศุกร์หน้าครับ เราต้องใช้เวลาในการอธิบายความคิดของผม จากจุดเล็กๆ นี้ เพื่อจะให้สามารถนำไปสู่นโยบายการปฏิบัติเพื่อการบริหารประเทศได้ ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคน ทุกครอบครัวมีความสุข ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น