อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 63/2561
รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่ ครม.สัญจร ภาคกลางตอนล่าง ติดตาม การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคกลางรมช.ศึกษาธิการ "พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่รับฟังความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคกลาง ณ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นภารกิจการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2561 (ภาคกลางตอนล่าง) วันที่ 6 มีนาคม 2561 ณ จังหวัดเพชรบุรี
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 63/2561
รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่ ครม.สัญจร ภาคกลางตอนล่าง ติดตาม การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคกลางรมช.ศึกษาธิการ "พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่รับฟังความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคกลาง ณ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นภารกิจการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2561 (ภาคกลางตอนล่าง) วันที่ 6 มีนาคม 2561 ณ จังหวัดเพชรบุรี
รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่ ครม.สัญจร ภาคกลางตอนล่าง ติดตาม
วันนี้ ( 5 มี.ค.61) เวลา 14.45-17.45 น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมกับผู้บริหารทุกสังกัด ทั้งส่วนกลางและพื้นที่ภาคกลาง เพื่อรับฟังความพร้อมในการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคกลาง ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม อ.เมืองสมุทรสงคราม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เกี่ยวกับการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกันครั้งนี้ ได้เน้นย้ำว่าสิ่งที่ต้องการเห็นเป็นรูปธรรมของการจัดตั้ง " ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา" ในภาคต่าง ๆ ทั้ง 6 ภาค ซึ่งขณะนี้ได้จัดตั้งไปเรียบร้อยแล้ว 2 ภาค คือ 1) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ศูนย์หลักอยู่ที่ จ.ชลบุรี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออก 2) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์หลักอยู่ที่ จ.ปัตตานี ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามลำดับ
โดยสิ่งที่ต้องการเห็นเป็นรูปธรรมก่อนที่จะเปิดศูนย์ที่เหลืออีก 4 ภาค ภายในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนเดือนพฤษภาคมนี้ คือ ต้องมีความเข้าใจนโยบายการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในพื้นที่ต่าง ๆ ร่วมกัน สร้างการรับรู้ให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนี้ ให้มากยิ่งขึ้น จึงได้ฝากให้ผู้เกี่ยวข้องที่จะจัดตั้งศูนย์ ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาอีก 4 ภาค ให้ไปพิจารณาเตรียมการเปิดศูนย์ โดยต้องมีความพร้อมที่จะเปิดได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ทำพิธีเปิดเท่านั้น
สิ่ง สำคัญที่สุดคือ ต้องมี "ข้อมูล" ความต้องการกำลังคน (Demand Side) ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะหากข้อมูลไม่แม่นยำ จะเดินต่อในเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ โดยขอให้ศึกษา Big Data System ซึ่งจัดทำระบบโดย ผศ.บรรพต วิรุณราช อดีตคณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งนำวิธีการทำงานด้านวิชาการไปเริ่มต้นโดยใช้การนำข้อมูลเข้าระบบ Big Data System ส่งผลช่วยให้นำข้อมูล Demand Side ที่โยงไปถึงกับสถานประกอบการและการทำงานประชารัฐได้ทันที
หากเรานำ Big Data ของศูนย์ 6 ภาค มาเชื่อมโยงกันได้ ก็จะนำไปสู่เป็นข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น อันจะนำไปสู่ Big Data ของรัฐบาลต่อไป
ดังนั้น ก่อนจะเปิดศูนย์ฯ จึงขอให้จัดเตรียมข้อมูล เนื้อหาสาระ โครงสร้าง สถานที่ และปัจจัยต่าง ๆ ให้มีความพร้อมมากที่สุด ต้องมองการพัฒนาระยะยาวเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคง และมีความยั่งยืน โดยนำหลักสำคัญที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการไว้แล้ว คือ แผนบูรณาการด้านการศึกษาของภาค ปีงบประมาณ 2561-2562 รวมทั้ง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้สามารถตอบสนองต่อมิติของการพัฒนาประเทศ ทั้งมิติความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และการทำงานร่วมกันท ั้ง 6 ภาคให้สอดคล้องเกี่ยวข้องกัน
จึงได้เน้นย้ำมองให้ครอบคลุม รอบด้านการศึกษาทุกระดับทุกประเภท คิดวางแผนให้ครบถ้วนด้วย
"ต้องการให้ศูนย์อีก 4 แห่ง 4 ภาคที่เหลือ เปิดได้ทันภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งการทำงานลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งมาคิดริเริ่มใหม่ หรือนโยบายฉาบฉวย แต่เป็นการทำงานและวางแผนที่ต่อเนื่องมาเป็นขั้นเป็นตอนกว่า 3 ปีแล้ว
นอกจากนี้ ขอให้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 รวมทั้งศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาช่วยวิเคราะห์เพื่อกำหนดโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนบูรณาการศึกษาในทุกภาค
ภายใต้สูตรการสร้างความสำเร็จที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำอยู่เสมอ คือ "ความสำเร็จ = ความเพียร + ความร่วมมือ + ประชารัฐ" พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
ผศ.บรรพต วิรุณราช ที่ปรึกษาหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตคณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึงการวางระบบจัดทำ "Big Data System ของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา" ว่าจะแตกต่าง จากระบบ VCOP ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่ง ระบบเดิมเป็นระบบเปิด สาธารณะ แต่ระบบใหม่จะ มีหลักการที่สำคัญ คือ
1) เป็นระบบกึ่งปิด โดยผู้ประกอบการสามารถมองเห็นความต้องการของแรงงานเฉพาะของตนเองเท่านั้น ไม่สามารถมองเห็นข้อมูลความต้องการของผู้ประกอบการอื่นได้ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลอย่างมั่นใจ อีกทั้งเป็นระบบ
2) เป็นระบบที่สามารถกรอกข้อมูลคาดการณ์ในอนาคต ในแต่ละเดือน/ปี เพื่อในการนำมาใช้ประโยชน์วางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนในอนาคต ทั้งระยะใกล้และระยะไกล สามารถเห็นว่าตำแหน่งที่ต้องการได้บรรจุหรือยัง
3) ระบบสามารถควบคุมจัดการโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ โดยมีการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อประโยชน์โดยตรงในการพัฒนาและผลิตกำลังคน โดนเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ สามารถติดตามข้อมูลเชิงลึกเป็นรายบริษัทได้ ทำให้เจ้าหน้าที่อาชีวะกับบริษัทจะใกล้ชิดกัน โดยระบบเป็นตัวบังคับ
4) เป็นระบบต้นแบบ ที่ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจของศูนย์ฯ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป เป็นขั้น 2 ขั้น 3 เข้าสู่ Big Data โดยสัมภาษณ์งานในระบบนี้ได้
อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ มีข้อเสนอและความคิดเห็นที่หลากหลายจากผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. บางส่วน ดังนี้
-
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. "จากการติดตามงาน Big Data ของ
ผศ.บรรพต วิรุณราช ครั้งแรกที่ ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี ทำให้เห็นว่าเป็นระบบ ฐานข้อมูลกลางที่ดี รู้สึกชื่นชม และจากการติดตาม รมช.ศึกษาธิการ ไปตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ หลายแห่งมีมาตรฐานที่ดี หวังที่จะเห็นความมีมาตรฐานเกิดขึ้นกับศูนย์ทุกแห่ง ทั้งศูนย์ระดับภาคและศูนย์ย่อย"
-
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กอศ. "จะเร่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ อีก 4 ภาค ให้เป็นไปตามนโยบายที่ รมช.ศธ.เน้นย้ำ คือ ข้อมูลการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนต้องถูกต้องชัดเจนแม่นยำ ฐานข้อมูลเป็นระบบเดียวกันที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยจะให้การทำงานของ 5 ฝ่ายของศูนย์ประสานงานฯ ร่วมมือกันวางแผนเตรียมความพร้อมอย่างเข้มแข็ง ทั้งฝ่ายข้อมูลกลาง ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะฯ ฝ่ายส่งเสริมระดมทรัพยากรฯ ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ และฝ่ายวิจัยและพัฒนา โดย สอศ.จะรวบรวมและรายงานความพร้อมศูนย์ฯ ภาคที่เหลือว่าศูนย์ใดจะเป็นศูนย์ระดับภาค และมีความพร้อมจะเปิดเมื่อใด"
-
นายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัด ศธ. "การผลิตสายอาชีวะไม่น่าห่วง แต่ยังห่วงการผลิตกำลังคนของมหาวิทยาลัยหลายแห่งหลายสาขาที่ยังไม่ตรงกับความต้องการกับการมีงานทำของประเทศ"
-
นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. "การจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ ระดับภาคทั้ง 6 ภาค ถือเป็นมิติใหม่ของประเทศ เป็นการเตรียมอาชีวะ เชื่อมโยงกับ สพฐ. และผู้เรียนทุกระดับ และขอให้มองการวางแผนระยะยาวที่มีการบูรณาการร่วมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน"
-
นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน. "พร้อมที่จะสนับสนุนการส่งต่อผู้เรียน กศน.ให้กับสายอาชีวะ และร่วมมือแลกเปลี่ยนผู้สอนโดยเริ่มต้น
30 หลักสูตร ใน 3 จังหวัดพื้นที่ EEC ก่อน และพร้อมจะส่งเสริมสนับสนุนระบบทวิศึกษา ร่วมกับ สอศ.ให้เกิดความต่อเนื่อง โดย กศน.สอนวิชาพื้นฐาน ส่วน สอศ.สอนวิชาชีพ"
-
นางนิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 9 "จากการไปตรวจราชการ พบว่าโรงเรียนขยายโอกาสที่อยู่พื้นที่ห่างไกล ยังต้องการให้อาชีวะเข้าไปแนะแนว สร้างทางเลือกการเข้าเรียนให้แก่ผู้เรียน เด็กจำนวนมากยังขาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะเรียนต่อ อาจจัดหาทุนการศึกษาให้ หรือมีทางออกให้เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวะของประเทศให้มากขึ้น"
-
นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการ กพฐ. "สพฐ.ต้องเป็นหน่วยงานหลักที่จะผลักดันให้เด็กนักเรียนได้เรียนสายอาชีพในระบบทวิศึกษาให้มากขึ้น จะวางระบบการแนะแนวให้โรงเรียนให้เด็กที่จบ ม.3 สามารถค้นพบตัวเองที่จะเลือกเรียนได้ตามความถนัดทั้งสายวิชาการและสายอาชีพ"
-
น.ส.วัฒนาพร สุขพรต ผอ.สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สกอ. "เห็นด้วยกับนโยบายรัฐที่มุ่งเน้นผู้เรียนไปเรียนสายอาชีพมากขึ้น รวมทั้งระบบทวิศึกษา เพราะผู้เรียนมหาวิทยาลัยหลายแห่งหลายสาขาจบออกมาแล้วไม่มีงานทำ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังการศึกษาระดับก่อนอุดมศึกษา ทั้งมัธยม-อาชีวะที่ต้องร่วมกันวางแผนการส่งต่อผู้เรียน จึงต้องมีการเชื่อมเส้นทางการเรียนของเด็กตั้งแต่มัธยม"
-
น.ส.สมรัชนีกร อ่องเอิบ ผอ.สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สกศ. "สกศ.เป็นหน่วยงานนโยบาย โดยดูแลการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาแม่พิมพ์ ก็มีคณะกรรมการฯ ที่ดูแล ซึ่งเห็นว่าวิทยาลัยอาชีวะในภาคกลางหลายแห่งมีจุดเด่นในเรื่องนี้ ทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมให้เป็นศูนย์ที่มีความเป็นเลิศในเรื่องนี้ และการเชื่อมโยงผู้เรียน สพฐ.-สอศ. ก็ต้องมี Data ที่เห็นชัด มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งคน เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อไปสู่เป้าหมายสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะของไทยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสายสามัญเป็น 50 : 50 ใน 20 ปีข้างหน้าตามเป้าหมาย"
-
นายชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการ กช. "โรงเรียนเอกชนนอกระบบหลายแห่งมีการเรียนการสอนสายอาชีพ กำลังมีโครงการถ่ายโอนให้เด็กเข้าสู่โรงเรียนในระบบด้วย โดยจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ เพื่อถ่ายโอนนอกระบบสู่ในระบบ"
ภายหลังการประชุม พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และคณะ ได้เยี่ยมชมความก้าวหน้าการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ซึ่งมีความก้าวหน้าและจุดเด่นระบบทวิภาคี สาขาวิชาที่หลากหลาย เช่น ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เชื่อมโลหะ เขียนแบบเครื่องกล แม่พิมพ์ เป็นต้น
วันนี้ (5 มี.ค.61) เวลา 14.45-17.45 น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมกับผู้บริหารทุกสังกัด ทั้งส่วนกลางและพื้นที่ภาคกลาง เพื่อรับฟังความพร้อมในการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคกลาง ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม อ.เมืองสมุทรสงคราม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เกี่ยวกับการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกันครั้งนี้ ได้เน้นย้ำว่าสิ่งที่ต้องการเห็นเป็นรูปธรรมของการจัดตั้ง " ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา" ในภาคต่าง ๆ ทั้ง 6 ภาค ซึ่งขณะนี้ได้จัดตั้งไปเรียบร้อยแล้ว 2 ภาค คือ 1) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ศูนย์หลักอยู่ที่ จ.ชลบุรี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออก 2) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์หลักอยู่ที่ จ.ปัตตานี ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามลำดับ โดยสิ่งที่ต้องการเห็นเป็นรูปธรรมก่อนที่จะเปิดศูนย์ที่เหลืออีก 4 ภาค ภายในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนเดือนพฤษภาคมนี้ คือ ต้องมีความเข้าใจนโยบายการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในพื้นที่ต่าง ๆ ร่วมกัน สร้างการรับรู้ให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้น จึงได้ฝากให้ผู้เกี่ยวข้องที่จะจัดตั้งศูนย์ ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาอีก 4 ภาค ให้ไปพิจารณาเตรียมการเปิดศูนย์ โดยต้องมีความพร้อมที่จะเปิดได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ทำพิธีเปิดเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องมี "ข้อมูล" ความต้องการกำลังคน (Demand Side) ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะหากข้อมูลไม่แม่นยำ จะเดินต่อในเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ โดยขอให้ศึกษา Big Data System ซึ่งจัดทำระบบโดย ผศ.บรรพต วิรุณราช อดีตคณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งนำวิธีการทำงานด้านวิชาการไปเริ่มต้นโดยใช้การนำข้อมูลเข้าระบบ Big Data System ส่งผลช่วยให้นำข้อมูล Demand Side ที่โยงไปถึงกับสถานประกอบการและการทำงานประชารัฐได้ทันที หากเรานำ Big Data ของศูนย์ 6 ภาค มาเชื่อมโยงกันได้ ก็จะนำไปสู่เป็นข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น อันจะนำไปสู่ Big Data ของรัฐบาลต่อไป ดังนั้น ก่อนจะเปิดศูนย์ฯ จึงขอให้จัดเตรียมข้อมูล เนื้อหาสาระ โครงสร้าง สถานที่ และปัจจัยต่าง ๆ ให้มีความพร้อมมากที่สุด ต้องมองการพัฒนาระยะยาวเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคง และมีความยั่งยืน โดยนำหลักสำคัญที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการไว้แล้ว คือ แผนบูรณาการด้านการศึกษาของภาค ปีงบประมาณ 2561-2562 รวมทั้ง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้สามารถตอบสนองต่อมิติของการพัฒนาประเทศ ทั้งมิติความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และการทำงานร่วมกันท ั้ง 6 ภาคให้สอดคล้องเกี่ยวข้องกัน จึงได้เน้นย้ำมองให้ครอบคลุม รอบด้านการศึกษาทุกระดับทุกประเภท คิดวางแผนให้ครบถ้วนด้วย
"ต้องการให้ศูนย์อีก 4 แห่ง 4 ภาคที่เหลือ เปิดได้ทันภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งการทำงานลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งมาคิดริเริ่มใหม่ หรือนโยบายฉาบฉวย แต่เป็นการทำงานและวางแผนที่ต่อเนื่องมาเป็นขั้นเป็นตอนกว่า 3 ปีแล้วนอกจากนี้ ขอให้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 รวมทั้งศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาช่วยวิเคราะห์เพื่อกำหนดโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนบูรณาการศึกษาในทุกภาคภายใต้สูตรการสร้างความสำเร็จที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำอยู่เสมอ คือ "ความสำเร็จ = ความเพียร + ความร่วมมือ + ประชารัฐ" พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
ผศ.บรรพต วิรุณราช ที่ปรึกษาหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตคณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึงการวางระบบจัดทำ "Big Data System ของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา" ว่าจะแตกต่าง จากระบบ VCOP ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่ง ระบบเดิมเป็นระบบเปิด สาธารณะ แต่ระบบใหม่จะ มีหลักการที่สำคัญ คือ 1)เป็นระบบกึ่งปิด โดยผู้ประกอบการสามารถมองเห็นความต้องการของแรงงานเฉพาะของตนเองเท่านั้น ไม่สามารถมองเห็นข้อมูลความต้องการของผู้ประกอบการอื่นได้ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลอย่างมั่นใจ อีกทั้งเป็นระบบ
2) เป็นระบบที่สามารถกรอกข้อมูลคาดการณ์ในอนาคต ในแต่ละเดือน/ปี เพื่อในการนำมาใช้ประโยชน์วางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนในอนาคต ทั้งระยะใกล้และระยะไกล สามารถเห็นว่าตำแหน่งที่ต้องการได้บรรจุหรือยัง
3) ระบบสามารถควบคุมจัดการโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ โดยมีการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อประโยชน์โดยตรงในการพัฒนาและผลิตกำลังคน โดนเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ สามารถติดตามข้อมูลเชิงลึกเป็นรายบริษัทได้ ทำให้เจ้าหน้าที่อาชีวะกับบริษัทจะใกล้ชิดกัน โดยระบบเป็นตัวบังคับ
4) เป็นระบบต้นแบบ ที่ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจของศูนย์ฯ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป เป็นขั้น 2 ขั้น 3 เข้าสู่ Big Data โดยสัมภาษณ์งานในระบบนี้ได้อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ มีข้อเสนอและความคิดเห็นที่หลากหลายจากผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. บางส่วน ดังนี้
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. "จากการติดตามงาน Big Data ของผศ.บรรพต วิรุณราช ครั้งแรกที่ ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี ทำให้เห็นว่าเป็นระบบ ฐานข้อมูลกลางที่ดี รู้สึกชื่นชม และจากการติดตาม รมช.ศึกษาธิการ ไปตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ หลายแห่งมีมาตรฐานที่ดี หวังที่จะเห็นความมีมาตรฐานเกิดขึ้นกับศูนย์ทุกแห่ง ทั้งศูนย์ระดับภาคและศูนย์ย่อย" นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กอศ. "จะเร่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ อีก 4 ภาค ให้เป็นไปตามนโยบายที่ รมช.ศธ.เน้นย้ำ คือ ข้อมูลการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนต้องถูกต้องชัดเจนแม่นยำ ฐานข้อมูลเป็นระบบเดียวกันที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยจะให้การทำงานของ 5 ฝ่ายของศูนย์ประสานงานฯ ร่วมมือกันวางแผนเตรียมความพร้อมอย่างเข้มแข็ง ทั้งฝ่ายข้อมูลกลาง ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะฯ ฝ่ายส่งเสริมระดมทรัพยากรฯ ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ และฝ่ายวิจัยและพัฒนา โดย สอศ.จะรวบรวมและรายงานความพร้อมศูนย์ฯ ภาคที่เหลือว่าศูนย์ใดจะเป็นศูนย์ระดับภาค และมีความพร้อมจะเปิดเมื่อใด" นายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัด ศธ. "การผลิตสายอาชีวะไม่น่าห่วง แต่ยังห่วงการผลิตกำลังคนของมหาวิทยาลัยหลายแห่งหลายสาขาที่ยังไม่ตรงกับความต้องการกับการมีงานทำของประเทศ" นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. "การจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ ระดับภาคทั้ง 6 ภาค ถือเป็นมิติใหม่ของประเทศ เป็นการเตรียมอาชีวะ เชื่อมโยงกับ สพฐ. และผู้เรียนทุกระดับ และขอให้มองการวางแผนระยะยาวที่มีการบูรณาการร่วมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน" นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน. "พร้อมที่จะสนับสนุนการส่งต่อผู้เรียน กศน.ให้กับสายอาชีวะ และร่วมมือแลกเปลี่ยนผู้สอนโดยเริ่มต้น30 หลักสูตร ใน 3 จังหวัดพื้นที่ EEC ก่อน และพร้อมจะส่งเสริมสนับสนุนระบบทวิศึกษา ร่วมกับ สอศ.ให้เกิดความต่อเนื่อง โดย กศน.สอนวิชาพื้นฐาน ส่วน สอศ.สอนวิชาชีพ" นางนิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 9 "จากการไปตรวจราชการ พบว่าโรงเรียนขยายโอกาสที่อยู่พื้นที่ห่างไกล ยังต้องการให้อาชีวะเข้าไปแนะแนว สร้างทางเลือกการเข้าเรียนให้แก่ผู้เรียน เด็กจำนวนมากยังขาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะเรียนต่อ อาจจัดหาทุนการศึกษาให้ หรือมีทางออกให้เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวะของประเทศให้มากขึ้น" นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการ กพฐ. "สพฐ.ต้องเป็นหน่วยงานหลักที่จะผลักดันให้เด็กนักเรียนได้เรียนสายอาชีพในระบบทวิศึกษาให้มากขึ้น จะวางระบบการแนะแนวให้โรงเรียนให้เด็กที่จบ ม.3 สามารถค้นพบตัวเองที่จะเลือกเรียนได้ตามความถนัดทั้งสายวิชาการและสายอาชีพ" น.ส.วัฒนาพร สุขพรต ผอ.สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สกอ. "เห็นด้วยกับนโยบายรัฐที่มุ่งเน้นผู้เรียนไปเรียนสายอาชีพมากขึ้น รวมทั้งระบบทวิศึกษา เพราะผู้เรียนมหาวิทยาลัยหลายแห่งหลายสาขาจบออกมาแล้วไม่มีงานทำ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังการศึกษาระดับก่อนอุดมศึกษา ทั้งมัธยม-อาชีวะที่ต้องร่วมกันวางแผนการส่งต่อผู้เรียน จึงต้องมีการเชื่อมเส้นทางการเรียนของเด็กตั้งแต่มัธยม" น.ส.สมรัชนีกร อ่องเอิบ ผอ.สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สกศ. "สกศ.เป็นหน่วยงานนโยบาย โดยดูแลการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาแม่พิมพ์ ก็มีคณะกรรมการฯ ที่ดูแล ซึ่งเห็นว่าวิทยาลัยอาชีวะในภาคกลางหลายแห่งมีจุดเด่นในเรื่องนี้ ทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมให้เป็นศูนย์ที่มีความเป็นเลิศในเรื่องนี้ และการเชื่อมโยงผู้เรียน สพฐ.-สอศ. ก็ต้องมี Data ที่เห็นชัด มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งคน เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อไปสู่เป้าหมายสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะของไทยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสายสามัญเป็น 50 : 50 ใน 20 ปีข้างหน้าตามเป้าหมาย" นายชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการ กช. "โรงเรียนเอกชนนอกระบบหลายแห่งมีการเรียนการสอนสายอาชีพ กำลังมีโครงการถ่ายโอนให้เด็กเข้าสู่โรงเรียนในระบบด้วย โดยจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ เพื่อถ่ายโอนนอกระบบสู่ในระบบ"ภายหลังการประชุม พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และคณะ ได้เยี่ยมชมความก้าวหน้าการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ซึ่งมีความก้าวหน้าและจุดเด่นระบบทวิภาคี สาขาวิชาที่หลากหลาย เช่น ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เชื่อมโลหะ เขียนแบบเครื่องกล แม่พิมพ์ เป็นต้น
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
www.tuewsob.com
www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น