อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2562
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2562 เวลา 20.15 น.
ตอน: โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (Kamnoetvidya Science Academy)
พิธีกร: ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, สินจัย เปล่งพานิช
สินจัย: รายการศาสตร์พระราชาฯ วันนี้นะคะ เราอยู่กันที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์
ทรงสิทธิ์: ซึ่งโรงเรียนกำเนิดวิทย์นะครับ เป็นนามพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งหมายความว่าโรงเรียนที่เป็นแหล่งความรู้ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มบริษัท ปตท. นะครับ รับนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีสื่อการเรียนการสอนที่ล้ำสมัย และที่สำคัญนะครับ ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนทุกระดับ ถือว่าเป็นโรงเรียนต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยที่จะผลิตนักเรียนที่จะออกมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาประเทศต่อไปครับ
สินจัย: แล้วเมื่อเช้าวันพุธที่ผ่านมานะคะ ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้เดินทางมาเยี่ยมชมโรงเรียนแห่งนี้ค่ะ
สินจัย: เมื่อสักครู่นะคะเราก็ได้ชมบรรยากาศของโรงเรียนกำเนิดวิทย์กันไปแล้วนะคะ ได้เห็นโครงงานวิทยาศาสตร์ของน้อง ๆ แล้วด้วยนะคะ แล้วตอนนี้ท่านนายกรัฐมนตรีก็พร้อมที่จะพูดคุยกับเราแล้วค่ะ ขอกล่าวสวัสดีกับท่านอีกสักครั้งนะคะ สวัสดีค่ะ
ท่านนายกฯ: สวัสดีครับ
สินจัย: ท่านคะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่องการศึกษาไทยอย่างไรบ้างคะ
ท่านนายกฯ: ก็อยากจะตอบอย่างนี้นะครับ ในหลักคิดของรัฐบาลก็คือว่าปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำนี่ส่งผลร้ายต่อการพัฒนาประเทศ ไปยาวนานในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อะไรต่าง ๆ ทั้งหมด เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการศึกษานี่ เป็นต้นตอแห่งปัญหาอันหนึ่ง ที่เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ให้ได้ ความเหลื่อมล้ำมีหลายอย่างด้วยกันนะครับ ความเหลื่อมล้ำเรื่องทุนการศึกษา ความเหลื่อมล้ำเรื่องโรงเรียน ความเหลื่อมล้ำเรื่องประสิทธิภาพของครู การบริหารจัดการอุปกรณ์การศึกษา ทั้งหมดนี่คือปัญหาในเรื่องการศึกษาทั้งสิ้น เราก็ต้องมององค์ประกอบทั้งหมดว่าเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร สำหรับในขณะนี้เราก็ได้มีการจัดตั้งกองทุนการศึกษา อันนี้ก็มีการให้ทุนไปแล้วทั้งหมด 3 แสนหกหมื่นกว่าราย ในช่วงที่ผ่านมาเราตั้งเป้าไว้ 400,000 ราย จ่ายไปแล้ว 360,000 ราย ก็ยังไม่เพียงพอหรอก คงต้องทำต่อไป งบประมาณตรงนี้ก็ใช้จำนวนหนึ่งนะครับ รอบแรกนี่ใช้ในสังกัดของ สพฐ. ในการที่จะดูแลนักเรียนยากจนพิเศษ 400,000 ราย แต่นี่จ่ายไปแล้ว 360,000 กว่าราย แล้วมีระบบ IC ในการจะติดตามผลต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งต้องมีเงื่อนไขบางประการเหมือนกันนะครับ แล้วมีคนหลายระดับด้วยกัน รวยมาก รวยปานกลาง รวยน้อย อะไรต่าง ๆ รายได้น้อย ทั้งหมดนี่เหมือนมือซ้ายกับมือขวา มือซ้ายนี่แข็งแรง นักเรียนก็แข็งแรง นักเรียนกำเนิดวิทย์ สถาบันนี้แข็งแรง นี่คือมือขวาแล้วกัน ถนัดแข็งแรงกว่า เพราะฉะนั้นเราต้องเอาตัวนี้นำ ในการที่จะนำมือซ้ายของเรานี่ไปข้างหน้า มือซ้ายคือใครครับ คือคนที่ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ในระบบการศึกษา โอกาสไม่เท่าเทียมเรา แล้วก็ในเรื่องของหลักคิดอะไรต่าง ๆ ต่างกันไปหมด เพราะฉะนั้นเรานี่จะเป็นแกนนำในการที่จะนำพาสังคมไปข้างหน้าได้ เหมือนกับมือขวาแข็งแรงอยู่แล้ว ทำให้แข็งแรงขึ้น มือซ้ายอ่อนแอ เราก็ต้องมาช่วยกันพยุงมือซ้ายขึ้นมา มือซ้ายและมือขวาทั้งสองมือจะนำพาประเทศไปข้างหน้า สังคมไปข้างหน้า ทุกอย่างก็จะแก้ปัญหานี้ได้นะครับ
สินจัย: ต้องไปด้วยกัน
ท่านนายกฯ: ต้องไปด้วยกัน คือสิ่งที่จะพัฒนาประเทศได้เร็วที่สุดคือการศึกษานี่แหละ
ทรงสิทธิ์: ปัญหาไหนเป็นปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดที่รัฐบาลต้องแก้ไข
ท่านนายกฯ: อันแรกก็คือการลดความเหลื่อมล้ำนี่แหละครับ สำคัญที่สุด เพราะว่าความเหลื่อมล้ำมีความเหลื่อมล้ำอะไรบ้างล่ะ โรงเรียนใหญ่ โรงเรียนเล็ก ใช่ไหม โรงเรียนที่มีชื่อเสียง เด่นดังต่าง ๆ โรงเรียนที่ยังพัฒนาได้น้อย อันนี้จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เพราะฉะนั้นเด็กนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ ถ้าโรงเรียนดี โรงเรียนดังนี่ก็จะไปได้ไกล โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ไปได้ช้า เพราะฉะนั้นต้องพัฒนาทั้งสถานศึกษา พัฒนาทั้งครู ระบบการศึกษา การคัดกรอง วันนี้เราคัดกรองด้วยอะไร ด้วยคะแนนสอบใช่ไหม เพราะฉะนั้นผมคิดว่าไม่เพียงพอ การคัดกรองคะแนนสอบต้องมาตรฐานเท่ากันก่อน ถึงจะคัดกรองด้วยข้อสอบเดียวกันได้ ผมคิดอย่างนั้นนะ วันนี้เราใช้ข้อสอบทั่วประเทศ บางทีก็คัดกรองเด็กที่มีพื้นฐานต่างกันนี่ ทำอย่างไรกับเขาล่ะ ตัดโอกาสเขาหรือเปล่า เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นหัวข้อปัจจัยในการพิจารณา สิ่งสำคัญที่สุดในระบบการศึกษาคือครู ครูต้องเรียนรู้ไปกับเด็ก วันนี้ครูก็ไปเรียนต่างประเทศมา ไปเรียน ไปร่วมมือ ไปสัมมนา เสวนา อะไรกันเยอะแยะไปหมด แต่ทุกคนต้องอัพเกรดตัวเองขึ้นมาให้ได้ ต้องเป็นครูให้เหมาะกับศตวรรษที่ 21 เหมือนกับนักเรียนศตวรรษที่ 21 เข้าใจไหม เรากำลังเตรียมคนเพื่ออนาคต 20 ปีข้างหน้าของพวกเราอย่างไรล่ะ
สินจัย: เด็ก ๆ มีอะไรที่อยากจะถาม
ท่านนายกฯ: มีอะไรไหม เชิญจ๊ะ
ทรงสิทธิ์: เชิญเลยครับ ยกมือแล้ว
ตะวัน แซ่วุ่น: มีคำถามครับคือในปัจจุบันมีการผลิตนักวิทยาศาสตร์ มีการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ออกมามากมายครับ ผมอยากทราบว่าในอนาคตอย่างนี้ จะมีตลาดแรงงานที่รองรับคนที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะไหมครับ
ท่านนายกฯ: คำถามนี้น่าสนใจ เขากลัวว่าเรียนจบไปแล้วไม่มีงานทำใช่ไหม ก่อนอื่นลูกไปดูสิว่า วันนี้รัฐบาลก็เร่งรัดในเรื่องของกระทรวงแรงงานให้ไปหา Demand มาสิ ว่าวันนี้ภาคเอกชน ธุรกิจต่าง ๆ เขาต้องการอะไรบ้าง ภาครัฐต้องการอะไรบ้าง เราต้องการให้ข้าราชการดี ๆ ข้าราชการที่เก่ง แล้วก็มีความรู้ความสามารถ ขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็ต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EEC 3 จังหวัดนี่ต้องการมากขึ้น เป็นหมื่นรายนะ เป็นหมื่นคน เราต้องศึกษาเรียนรู้ว่านี่คือความต้องการของประเทศของเรา ถ้าเราเปิดในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่รัฐบาลออกไปเยอะมากขณะนี้ อยากจะรู้งานของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เขาต้องการคนแบบไหน ต้องการการบริการเท่าไร ต้องการนักวิทยาศาสตร์เท่าไร ต้องการนักวิจัยเท่าไร จะได้เป็นการกำหนดว่าเราชอบตรงไหน แล้วเราก็เรียนตรงนั้นไป นี่หางานทำได้ทันที โดยเฉพาะการเรียนที่เกี่ยวกับ Data นะ ข้อมูลนี่ไม่ค่อยได้เรียนกันหรอก เราขาดคนพวกนี้เยอะมากนะ ข้อมูล ในเมื่อเราจะจัดตั้ง Big Data ขึ้นมา เราต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้นะ แต่ลุงเตรียมไว้ให้แล้วนะ สอดคล้องพอดีกับลูกนะ เพราะเราวางแผน 5 ปี ยุทธศาสตร์ช่วงแรก 61 - 64 เข้าใจไหม ช่วงที่ 2 ก็เป็น 65 - 69 ทีละ 5 ปี ๆๆ เพื่อตอบสนอง รองรับพวกเราทุกคน
ทรงสิทธิ์: มามองดูแล้วตลาดมีอะไรนะครับ แล้วก็ไปหาดูว่าเราชอบอะไรด้วย เอาล่ะครับ ต่อไปมีใครจะถามอะไรอีกไหมครับ
อภิชญา ตั้งวงศ์กิจศิริ: ค่ะ หนู อภิชญา ตั้งวงศ์กิจศิริ นะคะขอเรียนถามท่านนายกฯ ค่ะว่าท่านนายกฯ มีแนวทางในการเพิ่มความปลอดภัย แล้วก็อำนวยความสะดวกให้กับการสอบระดับประเทศอย่างไรบ้างคะ
ท่านนายกฯ: อ๋อ คงเป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ใช่ไหม
สินจัย: ล่าสุดใช่ไหมคะ
ท่านนายกฯ: สิ่งที่เรามีอยู่แล้วคืออะไร คือกฎหมาย กฎหมายทุกอันมีอยู่ทุกตัวลูก ลุงแทบไม่ต้องไปทำกฎหมายใหม่ เรื่องเหล่านี้ คดีอาญา คดีแพ่ง มีหมดแล้ว แต่ทุกคนมักจะละเมิดกฎหมาย เพราะ ขาดจิตสำนึก จิตสำนึกเหล่านี้เกิดขึ้นจากอะไร การศึกษา แล้วการศึกษาไม่ใช่เฉพาะจะไปสอบให้ได้ สอบให้ผ่าน ได้คะแนนดี ๆ อันนี้ศึกษาด้วยตัวเองได้อยู่แล้ว สร้างจิตใจให้เป็นคนที่มีคุณธรรม รู้อะไรดี อะไรไม่ดี ถ้าจะไปรบกวนคนสอบนี่ ต้องมีจิตสำนึกว่าจะดีไหม เสียงดัง เขากำลังสอบอยู่นี่ได้ไหม เข้าใจไหม อันนี้ก็จะทำของตัวเอง โน่นเขาก็จะทำของเขา หาตรงกลางไม่ได้ ต้องอยู่ที่ความยับยั้งชั่งใจ ถ้าจะบอกให้ลุงใช้กฎหมายหรือ ก็ใช้แต่กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้ดำเนินการทุกกฎหมายที่มีอยู่ เขาทำความผิดมานะ เราต้องไปดูเหมือนกันว่าบางที่ก็ทำให้ทุกคนขาดโอกาสอะไรพอสมควร แต่ทำให้สังคมเป็นแบบนี้ไม่ได้ เข้าใจไหม ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เหล่านี้แก้ด้วยอะไร ด้วยการศึกษา ถ้าไม่ได้รับการสอนในโรงเรียนนะ ไม่มีคิดออก นี่เขาถึงต้องสอนวัฒนธรรม ประเพณี อัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ ศีลธรรม เหล่านี้คือความเป็นไทยของเราทุกคน แล้วนี่คือทำให้สังคมสงบสุข
สินจัย: ต้องช่วยกันนะคะ เมื่อกี้เห็นมีน้องด้านหลังอีกคนเชิญค่ะ
ธชธน ลีละวัฒน์: ผม นายธชธน ลีละวัฒน์ นะครับ ถ้าหากว่าท่านนายกฯ พบว่าผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาท่านนายกฯ นั้นมีการทุจริต ท่านนายกฯ จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร และทำไมถึงใช้วิธีนั้นครับ
ท่านนายกฯ: การที่กำจัดการทุจริตนี่ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีการร้องเรียน ร้องทุกข์ กล่าวโทษ ถ้าพูดกันอยู่ในโซเชียล มีเดีย อย่างเดียว ทำอะไรลำบาก เพราะหลักฐานไม่มี เพราะฉะนั้นก็ไม่เป็นธรรมเหมือนกันนะ เพราะฉะนั้นกระบวนการยุติธรรมเราก็ว่ากันด้วยพยานบุคคลหรือวัตถุพยาน ใช่ไหมลูก อันนี้คนเขาก็ไม่กล้าแจ้ง ถ้าแจ้งอย่างนี้ รัฐบาลก็นโยบายของเรานี่คือปกปิดให้ ถ้ามาแจ้งแล้วเอาหลักฐานให้เรา วันนี้เราก็สอบทุกอันนะลูก ในเรื่องของที่ร้องเรียนมา บางทีเขาร้องกับหน่วยงานแล้วบางทีไม่ได้คำตอบ ร้องถึงนายกฯ เขียนจดหมาย เขียนอะไรมา แต่ลงชื่อมาให้เราด้วยนะ แล้วเราก็ปกปิดให้ แล้วก็สั่งสอบ แล้วก็ต้องแก้กันตั้งแต่เด็ก วันนี้เราก็มีการเรียนการสอนในเรื่องของการโตไปไม่โกง นี่จะช่วยเราได้มาก สังคมต้องช่วยกัน ถ้าเราปลูกฝังเหล่านี้ได้ สังคมจะไม่เกิดขึ้น การบังคับใช้กฎหมายก็จะลดลง เข้าใจไหม วันนี้ต้องการให้มีกฎหมายซึ่งเยอะ ลงโทษหนัก ๆ แล้วเราก็บังคับใช้ไม่ได้ เพราะแรงเกินไป ต้องหากฎหมายที่ทำให้ทุกคนปรองดอง แต่จะต้องรักษากฎเกณฑ์ของสังคมให้ได้ โอเคไหม
ทรงสิทธิ์: ท่านนายกฯ ครับ โรงเรียนกำเนิดวิทย์นี่ถือว่าเป็นโรงเรียนต้นแบบของเอกชน ไม่ทราบว่าโรงเรียนของรัฐนี่จะมีโรงเรียนต้นแบบ แบบนี้เหมือนกันไหมครับ
ท่านนายกฯ: มีอยู่แล้วนะ หลาย ๆ พื้นที่ โรงเรียนมหิดลฯ ก็มี โรงเรียนจุฬาภรณ์ฯ ก็มี วปว. ก็มีราชภัฏฯ วันนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ความสำคัญในเรื่องสถาบันราชภัฏ พัฒนาท้องถิ่นนะ นี่แหละคือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งไปร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตัวเอง สร้างบุคลากร สร้างคนของเราโดยการพัฒนาประเทศ ในพื้นที่ที่แต่ละมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ เรามีมหาวิทยาลัยเอกชนเยอะแยะไปหมด วันนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก็มี ใช่ไหม ที่เป็นหน่วยงานให้ภาคเอกชน นักศึกษา SMEs, Start up มาเจอกัน ทำมา 3 ปีแล้วนะ นี่คือโรงเรียน เป็นมหาวิทยาลัยข้างนอก ที่นอกจากโรงเรียนที่นี่แล้วนะ แล้วมีอะไรอีกล่ะ ที่เขาทำไปที่ภาคใต้นะ ภาคใต้ตอนบน มีที่นำร่อง คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา นำร่องที่ระยอง ศรีสะเกษ และสตูล มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการศึกษาใหม่ทั้งหมด เปลี่ยน ผอ. เป็นครูใหญ่ มาทำหน้าที่หัวหน้าครู หัวหน้าฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำการจัดการศึกษาในโรงเรียน ระหว่างที่ครูสอนจะอัดวีดิโอไว้ เอามาเปิดให้ครู ครูใหญ่ นักเรียน ผู้ปกครอง ช่วยกันดูว่าเอาแบบไหนถึงจะดี สนุก ได้ความรู้ และปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสม มีการประเมินผล ทั้ง 2 ด้าน
สินจัย: จะมีใครมีคำถามเพิ่มไหมคะ
สุพัฒน์พงษ์ จันทร์วัฒน์ : อยากทราบว่า ท่านนายกรัฐมนตรีจะมีวิธีการอย่างไรที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคคลที่มีต่อการศึกษาในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือหลาย ๆ คน มองว่าวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อและก็ไม่ได้ใช้ต่อในชีวิตประจำวัน ก็เลยอยากทราบว่าท่านจะทำให้คนพวกนี้ปรับเปลี่ยนมุมมองได้อย่างไร
ท่านนายกฯ: ที่ลุงพูดมาตรงนี้ก็คือวันนี้เราให้ความสำคัญของการศึกษา และให้การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ถูกไหมละ และนักวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างนวัตกรรม นำเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาประเทศ แต่ก่อนคนเรียนพวกนี้ไม่ค่อยสนใจใช่ไหม เพราะเราไม่ได้สร้างงานไว้ให้เขา ไม่มี EEC ไม่มีต่าง ๆ เราใช้ประโยชน์จากของเดิมมาเป็นสิบ ๆ ปี ที่เคยรุ่งโรจน์มาวันนี้คงสภาพแล้วละ เราถึงต้องสร้างกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา EEC ขึ้นมา และก็มีการสร้าง EECd EECi ใช่ไหม เรื่องของการใช้ประโยชน์จากการนักวิทยาศาสตร์พวกนี้ ถ้ารู้อย่างนี้เราก็อยากเรียน มีงานทำ มีความภูมิใจในงาน มีส่วนในการพัฒนาประเทศ อย่าไปเรียนอะไรที่ง่าย ๆ อะไรที่ง่าย ๆ วันหน้าลำบากหมด ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ๆ จำไว้
สินจัย: อาจารย์ใช่ไหมคะ ยินดีค่ะ
ดร. มิญช์ เมธีสุวกุล: ผมมิญช์ เมธีสุวกุล ครับ อยากจะถามท่านนายกฯ ว่า ท่านมีแนวทางอย่างไรที่จะยกระดับครูของไทยครับ
ท่านนายกฯ: อันนี้คงต้องตอบยาวเหมือนกันนะ ครูเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาของเราอยู่เหมือนกัน ใช่ไหม การที่จะลดความเหลื่อมล้ำ จะทำได้อย่างไร หลายองค์ประกอบด้วยกันนะ วันนี้เรามาดูกันก่อนว่าระบบโรงเรียนไทยเรามักจะสนับสนุนโรงเรียนใหญ่มากกว่าโรงเรียนขนาดเล็กใช่ไหมเพราะฉะนั้น นักเรียนอ่อนหรือยากจน ก็อาจจะไปรวมในโรงเรียนเดียวกัน มีฐานะที่ค่อนข้างจะอ่อน น่ะ เข้าใจไหม เพราะฉะนั้นส่วนนี้จะมีปัญหาแน่นอน ครูก็อ่อน เด็กก็อ่อน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ถ้าให้ทุนแต่นักเรียนยากจน นักเรียนอ่อน แล้วก็ไปเรียนในโรงเรียนที่ครูอ่อนเหมือนเดิม ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา ให้ทุนการเรียนอ่อนที่พูดไปสักครู่นี้นะ ทำอย่างไรจะยกระดับโรงเรียนอ่อนขึ้นมา ครูนี่จะต้องเป็นครูที่เก่ง จะถามว่ายกระดับอย่างไรไหม อันแรกคือเรื่องของปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการทำไปแล้ว
1. โครงการคูปองพัฒนาครู อันนี้ต้องไปดูด้วยเหมือนกันนะว่าเขานำหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรองมาคัดเลือกให้เหมาะสมกับบริบทของครู ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. ในปีงบประมาณ 61 ได้รับการพัฒนาไปแล้ว 279,280 คน แต่ยังไม่ครบหมดหรอก เพราะจำนวนเขาจำกัดตรงนี้
2. โครงการปรับปรุงบ้านพักครู ผมได้ให้งบประมาณในการซ่อมแซมบ้านพักครูทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2561 แล้วเสร็จไปแล้ว 7,311 หลัง
ต่อไปคือโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีเป้าหมายคัดเลือกบุคลากรเข้าร่วมโครงการ 10 รุ่นรวมทั้งสิ้น 48,374 คน คัดเลือกไปแล้วจำนวน 8 รุ่น ได้ 24,495 คน บรรจุเป็นครูไปแล้ว ปี 59 - 60 จำนวน 2 รุ่น รวม 6,371 คนนี่คือการพัฒนาคนให้ดี ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น
การเพิ่มกระจายโอกาสและคุณภาพการศึกษาทั่วถึงตั้ง 16 โครงการนะ อันนี้จะสอดคล้องกับการพัฒนาครูตรงนี้ไปด้วย โครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ก็จะต้องมีมาฝึก และผู้จบการศึกษาวางแผนกำลังพล ปี 2561 4 หลักสูตร
โรงเรียนประชารัฐอีกล่ะ กำลังพัฒนานะ โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูง อันนี้พัฒนาไปเรื่องอะไร DLTV โครงการทางไกลผ่านดาวเทียม จำนวน 15,191 แห่ง ครูทุกคน ต้องมีการพัฒนาหมด พัฒนาด้วยตัวเอง ด้วยหลักสูตร ด้วยคูปองเมื่อสักครู่แล้ว ก็พัฒนาด้วยการศึกษาจาก DLTV อย่างไร ทั้งหมดนี่คือครูทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นวันนี้ครูเราจะต้องให้มีการผลิตครูรุ่นใหม่ขึ้นมา ที่ต้องสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก ศตวรรษที่ 21 เป็นครูศตวรรษที่ 21 เหมือนกันนะ โอเคนะคุณครูนะ ขอบพระคุณ
ทรงสิทธิ์: เอาล่ะครับ วันนี้ก็ถือว่าครบถ้วนในเรื่องของการศึกษาของประเทศไทยนะครับ และวันนี้นะครับก็ต้องขอขอบพระคุณนะครับ ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอย่างสูงครับ
สินจัย: ขอบพระคุณค่ะ ก็ขอบคุณน้อง ๆ แล้วก็อาจารย์ทุกท่านด้วย
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2562 เวลา 20.15 น.
ตอน: โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (Kamnoetvidya Science Academy)
พิธีกร: ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, สินจัย เปล่งพานิช
สินจัย: รายการศาสตร์พระราชาฯ วันนี้นะคะ เราอยู่กันที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์
ทรงสิทธิ์: ซึ่งโรงเรียนกำเนิดวิทย์นะครับ เป็นนามพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งหมายความว่าโรงเรียนที่เป็นแหล่งความรู้ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มบริษัท ปตท. นะครับ รับนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีสื่อการเรียนการสอนที่ล้ำสมัย และที่สำคัญนะครับ ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนทุกระดับ ถือว่าเป็นโรงเรียนต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยที่จะผลิตนักเรียนที่จะออกมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาประเทศต่อไปครับ
สินจัย: แล้วเมื่อเช้าวันพุธที่ผ่านมานะคะ ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้เดินทางมาเยี่ยมชมโรงเรียนแห่งนี้ค่ะ
สินจัย: เมื่อสักครู่นะคะเราก็ได้ชมบรรยากาศของโรงเรียนกำเนิดวิทย์กันไปแล้วนะคะ ได้เห็นโครงงานวิทยาศาสตร์ของน้อง ๆ แล้วด้วยนะคะ แล้วตอนนี้ท่านนายกรัฐมนตรีก็พร้อมที่จะพูดคุยกับเราแล้วค่ะ ขอกล่าวสวัสดีกับท่านอีกสักครั้งนะคะ สวัสดีค่ะ
ท่านนายกฯ: สวัสดีครับ
สินจัย: ท่านคะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่องการศึกษาไทยอย่างไรบ้างคะ
ท่านนายกฯ: ก็อยากจะตอบอย่างนี้นะครับ ในหลักคิดของรัฐบาลก็คือว่าปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำนี่ส่งผลร้ายต่อการพัฒนาประเทศ ไปยาวนานในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อะไรต่าง ๆ ทั้งหมด เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการศึกษานี่ เป็นต้นตอแห่งปัญหาอันหนึ่ง ที่เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ให้ได้ ความเหลื่อมล้ำมีหลายอย่างด้วยกันนะครับ ความเหลื่อมล้ำเรื่องทุนการศึกษา ความเหลื่อมล้ำเรื่องโรงเรียน ความเหลื่อมล้ำเรื่องประสิทธิภาพของครู การบริหารจัดการอุปกรณ์การศึกษา ทั้งหมดนี่คือปัญหาในเรื่องการศึกษาทั้งสิ้น เราก็ต้องมององค์ประกอบทั้งหมดว่าเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร สำหรับในขณะนี้เราก็ได้มีการจัดตั้งกองทุนการศึกษา อันนี้ก็มีการให้ทุนไปแล้วทั้งหมด 3 แสนหกหมื่นกว่าราย ในช่วงที่ผ่านมาเราตั้งเป้าไว้ 400,000 ราย จ่ายไปแล้ว 360,000 ราย ก็ยังไม่เพียงพอหรอก คงต้องทำต่อไป งบประมาณตรงนี้ก็ใช้จำนวนหนึ่งนะครับ รอบแรกนี่ใช้ในสังกัดของ สพฐ. ในการที่จะดูแลนักเรียนยากจนพิเศษ 400,000 ราย แต่นี่จ่ายไปแล้ว 360,000 กว่าราย แล้วมีระบบ IC ในการจะติดตามผลต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งต้องมีเงื่อนไขบางประการเหมือนกันนะครับ แล้วมีคนหลายระดับด้วยกัน รวยมาก รวยปานกลาง รวยน้อย อะไรต่าง ๆ รายได้น้อย ทั้งหมดนี่เหมือนมือซ้ายกับมือขวา มือซ้ายนี่แข็งแรง นักเรียนก็แข็งแรง นักเรียนกำเนิดวิทย์ สถาบันนี้แข็งแรง นี่คือมือขวาแล้วกัน ถนัดแข็งแรงกว่า เพราะฉะนั้นเราต้องเอาตัวนี้นำ ในการที่จะนำมือซ้ายของเรานี่ไปข้างหน้า มือซ้ายคือใครครับ คือคนที่ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ในระบบการศึกษา โอกาสไม่เท่าเทียมเรา แล้วก็ในเรื่องของหลักคิดอะไรต่าง ๆ ต่างกันไปหมด เพราะฉะนั้นเรานี่จะเป็นแกนนำในการที่จะนำพาสังคมไปข้างหน้าได้ เหมือนกับมือขวาแข็งแรงอยู่แล้ว ทำให้แข็งแรงขึ้น มือซ้ายอ่อนแอ เราก็ต้องมาช่วยกันพยุงมือซ้ายขึ้นมา มือซ้ายและมือขวาทั้งสองมือจะนำพาประเทศไปข้างหน้า สังคมไปข้างหน้า ทุกอย่างก็จะแก้ปัญหานี้ได้นะครับ
สินจัย: ต้องไปด้วยกัน
ท่านนายกฯ: ต้องไปด้วยกัน คือสิ่งที่จะพัฒนาประเทศได้เร็วที่สุดคือการศึกษานี่แหละ
ทรงสิทธิ์: ปัญหาไหนเป็นปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดที่รัฐบาลต้องแก้ไข
ท่านนายกฯ: อันแรกก็คือการลดความเหลื่อมล้ำนี่แหละครับ สำคัญที่สุด เพราะว่าความเหลื่อมล้ำมีความเหลื่อมล้ำอะไรบ้างล่ะ โรงเรียนใหญ่ โรงเรียนเล็ก ใช่ไหม โรงเรียนที่มีชื่อเสียง เด่นดังต่าง ๆ โรงเรียนที่ยังพัฒนาได้น้อย อันนี้จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เพราะฉะนั้นเด็กนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ ถ้าโรงเรียนดี โรงเรียนดังนี่ก็จะไปได้ไกล โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ไปได้ช้า เพราะฉะนั้นต้องพัฒนาทั้งสถานศึกษา พัฒนาทั้งครู ระบบการศึกษา การคัดกรอง วันนี้เราคัดกรองด้วยอะไร ด้วยคะแนนสอบใช่ไหม เพราะฉะนั้นผมคิดว่าไม่เพียงพอ การคัดกรองคะแนนสอบต้องมาตรฐานเท่ากันก่อน ถึงจะคัดกรองด้วยข้อสอบเดียวกันได้ ผมคิดอย่างนั้นนะ วันนี้เราใช้ข้อสอบทั่วประเทศ บางทีก็คัดกรองเด็กที่มีพื้นฐานต่างกันนี่ ทำอย่างไรกับเขาล่ะ ตัดโอกาสเขาหรือเปล่า เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นหัวข้อปัจจัยในการพิจารณา สิ่งสำคัญที่สุดในระบบการศึกษาคือครู ครูต้องเรียนรู้ไปกับเด็ก วันนี้ครูก็ไปเรียนต่างประเทศมา ไปเรียน ไปร่วมมือ ไปสัมมนา เสวนา อะไรกันเยอะแยะไปหมด แต่ทุกคนต้องอัพเกรดตัวเองขึ้นมาให้ได้ ต้องเป็นครูให้เหมาะกับศตวรรษที่ 21 เหมือนกับนักเรียนศตวรรษที่ 21 เข้าใจไหม เรากำลังเตรียมคนเพื่ออนาคต 20 ปีข้างหน้าของพวกเราอย่างไรล่ะ
สินจัย: เด็ก ๆ มีอะไรที่อยากจะถาม
ท่านนายกฯ: มีอะไรไหม เชิญจ๊ะ
ทรงสิทธิ์: เชิญเลยครับ ยกมือแล้ว
ตะวัน แซ่วุ่น: มีคำถามครับคือในปัจจุบันมีการผลิตนักวิทยาศาสตร์ มีการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ออกมามากมายครับ ผมอยากทราบว่าในอนาคตอย่างนี้ จะมีตลาดแรงงานที่รองรับคนที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะไหมครับ
ท่านนายกฯ: คำถามนี้น่าสนใจ เขากลัวว่าเรียนจบไปแล้วไม่มีงานทำใช่ไหม ก่อนอื่นลูกไปดูสิว่า วันนี้รัฐบาลก็เร่งรัดในเรื่องของกระทรวงแรงงานให้ไปหา Demand มาสิ ว่าวันนี้ภาคเอกชน ธุรกิจต่าง ๆ เขาต้องการอะไรบ้าง ภาครัฐต้องการอะไรบ้าง เราต้องการให้ข้าราชการดี ๆ ข้าราชการที่เก่ง แล้วก็มีความรู้ความสามารถ ขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็ต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EEC 3 จังหวัดนี่ต้องการมากขึ้น เป็นหมื่นรายนะ เป็นหมื่นคน เราต้องศึกษาเรียนรู้ว่านี่คือความต้องการของประเทศของเรา ถ้าเราเปิดในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่รัฐบาลออกไปเยอะมากขณะนี้ อยากจะรู้งานของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เขาต้องการคนแบบไหน ต้องการการบริการเท่าไร ต้องการนักวิทยาศาสตร์เท่าไร ต้องการนักวิจัยเท่าไร จะได้เป็นการกำหนดว่าเราชอบตรงไหน แล้วเราก็เรียนตรงนั้นไป นี่หางานทำได้ทันที โดยเฉพาะการเรียนที่เกี่ยวกับ Data นะ ข้อมูลนี่ไม่ค่อยได้เรียนกันหรอก เราขาดคนพวกนี้เยอะมากนะ ข้อมูล ในเมื่อเราจะจัดตั้ง Big Data ขึ้นมา เราต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้นะ แต่ลุงเตรียมไว้ให้แล้วนะ สอดคล้องพอดีกับลูกนะ เพราะเราวางแผน 5 ปี ยุทธศาสตร์ช่วงแรก 61 - 64 เข้าใจไหม ช่วงที่ 2 ก็เป็น 65 - 69 ทีละ 5 ปี ๆๆ เพื่อตอบสนอง รองรับพวกเราทุกคน
ทรงสิทธิ์: มามองดูแล้วตลาดมีอะไรนะครับ แล้วก็ไปหาดูว่าเราชอบอะไรด้วย เอาล่ะครับ ต่อไปมีใครจะถามอะไรอีกไหมครับ
อภิชญา ตั้งวงศ์กิจศิริ: ค่ะ หนู อภิชญา ตั้งวงศ์กิจศิริ นะคะขอเรียนถามท่านนายกฯ ค่ะว่าท่านนายกฯ มีแนวทางในการเพิ่มความปลอดภัย แล้วก็อำนวยความสะดวกให้กับการสอบระดับประเทศอย่างไรบ้างคะ
ท่านนายกฯ: อ๋อ คงเป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ใช่ไหม
สินจัย: ล่าสุดใช่ไหมคะ
ท่านนายกฯ: สิ่งที่เรามีอยู่แล้วคืออะไร คือกฎหมาย กฎหมายทุกอันมีอยู่ทุกตัวลูก ลุงแทบไม่ต้องไปทำกฎหมายใหม่ เรื่องเหล่านี้ คดีอาญา คดีแพ่ง มีหมดแล้ว แต่ทุกคนมักจะละเมิดกฎหมาย เพราะ ขาดจิตสำนึก จิตสำนึกเหล่านี้เกิดขึ้นจากอะไร การศึกษา แล้วการศึกษาไม่ใช่เฉพาะจะไปสอบให้ได้ สอบให้ผ่าน ได้คะแนนดี ๆ อันนี้ศึกษาด้วยตัวเองได้อยู่แล้ว สร้างจิตใจให้เป็นคนที่มีคุณธรรม รู้อะไรดี อะไรไม่ดี ถ้าจะไปรบกวนคนสอบนี่ ต้องมีจิตสำนึกว่าจะดีไหม เสียงดัง เขากำลังสอบอยู่นี่ได้ไหม เข้าใจไหม อันนี้ก็จะทำของตัวเอง โน่นเขาก็จะทำของเขา หาตรงกลางไม่ได้ ต้องอยู่ที่ความยับยั้งชั่งใจ ถ้าจะบอกให้ลุงใช้กฎหมายหรือ ก็ใช้แต่กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้ดำเนินการทุกกฎหมายที่มีอยู่ เขาทำความผิดมานะ เราต้องไปดูเหมือนกันว่าบางที่ก็ทำให้ทุกคนขาดโอกาสอะไรพอสมควร แต่ทำให้สังคมเป็นแบบนี้ไม่ได้ เข้าใจไหม ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เหล่านี้แก้ด้วยอะไร ด้วยการศึกษา ถ้าไม่ได้รับการสอนในโรงเรียนนะ ไม่มีคิดออก นี่เขาถึงต้องสอนวัฒนธรรม ประเพณี อัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ ศีลธรรม เหล่านี้คือความเป็นไทยของเราทุกคน แล้วนี่คือทำให้สังคมสงบสุข
สินจัย: ต้องช่วยกันนะคะ เมื่อกี้เห็นมีน้องด้านหลังอีกคนเชิญค่ะ
ธชธน ลีละวัฒน์: ผม นายธชธน ลีละวัฒน์ นะครับ ถ้าหากว่าท่านนายกฯ พบว่าผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาท่านนายกฯ นั้นมีการทุจริต ท่านนายกฯ จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร และทำไมถึงใช้วิธีนั้นครับ
ท่านนายกฯ: การที่กำจัดการทุจริตนี่ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีการร้องเรียน ร้องทุกข์ กล่าวโทษ ถ้าพูดกันอยู่ในโซเชียล มีเดีย อย่างเดียว ทำอะไรลำบาก เพราะหลักฐานไม่มี เพราะฉะนั้นก็ไม่เป็นธรรมเหมือนกันนะ เพราะฉะนั้นกระบวนการยุติธรรมเราก็ว่ากันด้วยพยานบุคคลหรือวัตถุพยาน ใช่ไหมลูก อันนี้คนเขาก็ไม่กล้าแจ้ง ถ้าแจ้งอย่างนี้ รัฐบาลก็นโยบายของเรานี่คือปกปิดให้ ถ้ามาแจ้งแล้วเอาหลักฐานให้เรา วันนี้เราก็สอบทุกอันนะลูก ในเรื่องของที่ร้องเรียนมา บางทีเขาร้องกับหน่วยงานแล้วบางทีไม่ได้คำตอบ ร้องถึงนายกฯ เขียนจดหมาย เขียนอะไรมา แต่ลงชื่อมาให้เราด้วยนะ แล้วเราก็ปกปิดให้ แล้วก็สั่งสอบ แล้วก็ต้องแก้กันตั้งแต่เด็ก วันนี้เราก็มีการเรียนการสอนในเรื่องของการโตไปไม่โกง นี่จะช่วยเราได้มาก สังคมต้องช่วยกัน ถ้าเราปลูกฝังเหล่านี้ได้ สังคมจะไม่เกิดขึ้น การบังคับใช้กฎหมายก็จะลดลง เข้าใจไหม วันนี้ต้องการให้มีกฎหมายซึ่งเยอะ ลงโทษหนัก ๆ แล้วเราก็บังคับใช้ไม่ได้ เพราะแรงเกินไป ต้องหากฎหมายที่ทำให้ทุกคนปรองดอง แต่จะต้องรักษากฎเกณฑ์ของสังคมให้ได้ โอเคไหม
ทรงสิทธิ์: ท่านนายกฯ ครับ โรงเรียนกำเนิดวิทย์นี่ถือว่าเป็นโรงเรียนต้นแบบของเอกชน ไม่ทราบว่าโรงเรียนของรัฐนี่จะมีโรงเรียนต้นแบบ แบบนี้เหมือนกันไหมครับ
ท่านนายกฯ: มีอยู่แล้วนะ หลาย ๆ พื้นที่ โรงเรียนมหิดลฯ ก็มี โรงเรียนจุฬาภรณ์ฯ ก็มี วปว. ก็มีราชภัฏฯ วันนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ความสำคัญในเรื่องสถาบันราชภัฏ พัฒนาท้องถิ่นนะ นี่แหละคือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งไปร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตัวเอง สร้างบุคลากร สร้างคนของเราโดยการพัฒนาประเทศ ในพื้นที่ที่แต่ละมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ เรามีมหาวิทยาลัยเอกชนเยอะแยะไปหมด วันนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก็มี ใช่ไหม ที่เป็นหน่วยงานให้ภาคเอกชน นักศึกษา SMEs, Start up มาเจอกัน ทำมา 3 ปีแล้วนะ นี่คือโรงเรียน เป็นมหาวิทยาลัยข้างนอก ที่นอกจากโรงเรียนที่นี่แล้วนะ แล้วมีอะไรอีกล่ะ ที่เขาทำไปที่ภาคใต้นะ ภาคใต้ตอนบน มีที่นำร่อง คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา นำร่องที่ระยอง ศรีสะเกษ และสตูล มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการศึกษาใหม่ทั้งหมด เปลี่ยน ผอ. เป็นครูใหญ่ มาทำหน้าที่หัวหน้าครู หัวหน้าฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำการจัดการศึกษาในโรงเรียน ระหว่างที่ครูสอนจะอัดวีดิโอไว้ เอามาเปิดให้ครู ครูใหญ่ นักเรียน ผู้ปกครอง ช่วยกันดูว่าเอาแบบไหนถึงจะดี สนุก ได้ความรู้ และปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสม มีการประเมินผล ทั้ง 2 ด้าน
สินจัย: จะมีใครมีคำถามเพิ่มไหมคะ
สุพัฒน์พงษ์ จันทร์วัฒน์ : อยากทราบว่า ท่านนายกรัฐมนตรีจะมีวิธีการอย่างไรที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคคลที่มีต่อการศึกษาในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือหลาย ๆ คน มองว่าวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อและก็ไม่ได้ใช้ต่อในชีวิตประจำวัน ก็เลยอยากทราบว่าท่านจะทำให้คนพวกนี้ปรับเปลี่ยนมุมมองได้อย่างไร
ท่านนายกฯ: ที่ลุงพูดมาตรงนี้ก็คือวันนี้เราให้ความสำคัญของการศึกษา และให้การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ถูกไหมละ และนักวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างนวัตกรรม นำเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาประเทศ แต่ก่อนคนเรียนพวกนี้ไม่ค่อยสนใจใช่ไหม เพราะเราไม่ได้สร้างงานไว้ให้เขา ไม่มี EEC ไม่มีต่าง ๆ เราใช้ประโยชน์จากของเดิมมาเป็นสิบ ๆ ปี ที่เคยรุ่งโรจน์มาวันนี้คงสภาพแล้วละ เราถึงต้องสร้างกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา EEC ขึ้นมา และก็มีการสร้าง EECd EECi ใช่ไหม เรื่องของการใช้ประโยชน์จากการนักวิทยาศาสตร์พวกนี้ ถ้ารู้อย่างนี้เราก็อยากเรียน มีงานทำ มีความภูมิใจในงาน มีส่วนในการพัฒนาประเทศ อย่าไปเรียนอะไรที่ง่าย ๆ อะไรที่ง่าย ๆ วันหน้าลำบากหมด ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ๆ จำไว้
สินจัย: อาจารย์ใช่ไหมคะ ยินดีค่ะ
ดร. มิญช์ เมธีสุวกุล: ผมมิญช์ เมธีสุวกุล ครับ อยากจะถามท่านนายกฯ ว่า ท่านมีแนวทางอย่างไรที่จะยกระดับครูของไทยครับ
ท่านนายกฯ: อันนี้คงต้องตอบยาวเหมือนกันนะ ครูเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาของเราอยู่เหมือนกัน ใช่ไหม การที่จะลดความเหลื่อมล้ำ จะทำได้อย่างไร หลายองค์ประกอบด้วยกันนะ วันนี้เรามาดูกันก่อนว่าระบบโรงเรียนไทยเรามักจะสนับสนุนโรงเรียนใหญ่มากกว่าโรงเรียนขนาดเล็กใช่ไหมเพราะฉะนั้น นักเรียนอ่อนหรือยากจน ก็อาจจะไปรวมในโรงเรียนเดียวกัน มีฐานะที่ค่อนข้างจะอ่อน น่ะ เข้าใจไหม เพราะฉะนั้นส่วนนี้จะมีปัญหาแน่นอน ครูก็อ่อน เด็กก็อ่อน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ถ้าให้ทุนแต่นักเรียนยากจน นักเรียนอ่อน แล้วก็ไปเรียนในโรงเรียนที่ครูอ่อนเหมือนเดิม ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา ให้ทุนการเรียนอ่อนที่พูดไปสักครู่นี้นะ ทำอย่างไรจะยกระดับโรงเรียนอ่อนขึ้นมา ครูนี่จะต้องเป็นครูที่เก่ง จะถามว่ายกระดับอย่างไรไหม อันแรกคือเรื่องของปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการทำไปแล้ว
1. โครงการคูปองพัฒนาครู อันนี้ต้องไปดูด้วยเหมือนกันนะว่าเขานำหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรองมาคัดเลือกให้เหมาะสมกับบริบทของครู ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. ในปีงบประมาณ 61 ได้รับการพัฒนาไปแล้ว 279,280 คน แต่ยังไม่ครบหมดหรอก เพราะจำนวนเขาจำกัดตรงนี้
2. โครงการปรับปรุงบ้านพักครู ผมได้ให้งบประมาณในการซ่อมแซมบ้านพักครูทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2561 แล้วเสร็จไปแล้ว 7,311 หลัง
ต่อไปคือโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีเป้าหมายคัดเลือกบุคลากรเข้าร่วมโครงการ 10 รุ่นรวมทั้งสิ้น 48,374 คน คัดเลือกไปแล้วจำนวน 8 รุ่น ได้ 24,495 คน บรรจุเป็นครูไปแล้ว ปี 59 - 60 จำนวน 2 รุ่น รวม 6,371 คนนี่คือการพัฒนาคนให้ดี ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น
การเพิ่มกระจายโอกาสและคุณภาพการศึกษาทั่วถึงตั้ง 16 โครงการนะ อันนี้จะสอดคล้องกับการพัฒนาครูตรงนี้ไปด้วย โครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ก็จะต้องมีมาฝึก และผู้จบการศึกษาวางแผนกำลังพล ปี 2561 4 หลักสูตร
โรงเรียนประชารัฐอีกล่ะ กำลังพัฒนานะ โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูง อันนี้พัฒนาไปเรื่องอะไร DLTV โครงการทางไกลผ่านดาวเทียม จำนวน 15,191 แห่ง ครูทุกคน ต้องมีการพัฒนาหมด พัฒนาด้วยตัวเอง ด้วยหลักสูตร ด้วยคูปองเมื่อสักครู่แล้ว ก็พัฒนาด้วยการศึกษาจาก DLTV อย่างไร ทั้งหมดนี่คือครูทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นวันนี้ครูเราจะต้องให้มีการผลิตครูรุ่นใหม่ขึ้นมา ที่ต้องสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก ศตวรรษที่ 21 เป็นครูศตวรรษที่ 21 เหมือนกันนะ โอเคนะคุณครูนะ ขอบพระคุณ
ทรงสิทธิ์: เอาล่ะครับ วันนี้ก็ถือว่าครบถ้วนในเรื่องของการศึกษาของประเทศไทยนะครับ และวันนี้นะครับก็ต้องขอขอบพระคุณนะครับ ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอย่างสูงครับ
สินจัย: ขอบพระคุณค่ะ ก็ขอบคุณน้อง ๆ แล้วก็อาจารย์ทุกท่านด้วย
พิธีกร: ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, สินจัย เปล่งพานิช
สินจัย: รายการศาสตร์พระราชาฯ วันนี้นะคะ เราอยู่กันที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์
ทรงสิทธิ์: ซึ่งโรงเรียนกำเนิดวิทย์นะครับ เป็นนามพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งหมายความว่าโรงเรียนที่เป็นแหล่งความรู้ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มบริษัท ปตท. นะครับ รับนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีสื่อการเรียนการสอนที่ล้ำสมัย และที่สำคัญนะครับ ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนทุกระดับ ถือว่าเป็นโรงเรียนต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยที่จะผลิตนักเรียนที่จะออกมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาประเทศต่อไปครับ
สินจัย: แล้วเมื่อเช้าวันพุธที่ผ่านมานะคะ ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้เดินทางมาเยี่ยมชมโรงเรียนแห่งนี้ค่ะ
สินจัย: เมื่อสักครู่นะคะเราก็ได้ชมบรรยากาศของโรงเรียนกำเนิดวิทย์กันไปแล้วนะคะ ได้เห็นโครงงานวิทยาศาสตร์ของน้อง ๆ แล้วด้วยนะคะ แล้วตอนนี้ท่านนายกรัฐมนตรีก็พร้อมที่จะพูดคุยกับเราแล้วค่ะ ขอกล่าวสวัสดีกับท่านอีกสักครั้งนะคะ สวัสดีค่ะ
ท่านนายกฯ: สวัสดีครับ
สินจัย: ท่านคะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่องการศึกษาไทยอย่างไรบ้างคะ
ท่านนายกฯ: ก็อยากจะตอบอย่างนี้นะครับ ในหลักคิดของรัฐบาลก็คือว่าปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำนี่ส่งผลร้ายต่อการพัฒนาประเทศ ไปยาวนานในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อะไรต่าง ๆ ทั้งหมด เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการศึกษานี่ เป็นต้นตอแห่งปัญหาอันหนึ่ง ที่เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ให้ได้ ความเหลื่อมล้ำมีหลายอย่างด้วยกันนะครับ ความเหลื่อมล้ำเรื่องทุนการศึกษา ความเหลื่อมล้ำเรื่องโรงเรียน ความเหลื่อมล้ำเรื่องประสิทธิภาพของครู การบริหารจัดการอุปกรณ์การศึกษา ทั้งหมดนี่คือปัญหาในเรื่องการศึกษาทั้งสิ้น เราก็ต้องมององค์ประกอบทั้งหมดว่าเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร สำหรับในขณะนี้เราก็ได้มีการจัดตั้งกองทุนการศึกษา อันนี้ก็มีการให้ทุนไปแล้วทั้งหมด 3 แสนหกหมื่นกว่าราย ในช่วงที่ผ่านมาเราตั้งเป้าไว้ 400,000 ราย จ่ายไปแล้ว 360,000 ราย ก็ยังไม่เพียงพอหรอก คงต้องทำต่อไป งบประมาณตรงนี้ก็ใช้จำนวนหนึ่งนะครับ รอบแรกนี่ใช้ในสังกัดของ สพฐ. ในการที่จะดูแลนักเรียนยากจนพิเศษ 400,000 ราย แต่นี่จ่ายไปแล้ว 360,000 กว่าราย แล้วมีระบบ IC ในการจะติดตามผลต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งต้องมีเงื่อนไขบางประการเหมือนกันนะครับ แล้วมีคนหลายระดับด้วยกัน รวยมาก รวยปานกลาง รวยน้อย อะไรต่าง ๆ รายได้น้อย ทั้งหมดนี่เหมือนมือซ้ายกับมือขวา มือซ้ายนี่แข็งแรง นักเรียนก็แข็งแรง นักเรียนกำเนิดวิทย์ สถาบันนี้แข็งแรง นี่คือมือขวาแล้วกัน ถนัดแข็งแรงกว่า เพราะฉะนั้นเราต้องเอาตัวนี้นำ ในการที่จะนำมือซ้ายของเรานี่ไปข้างหน้า มือซ้ายคือใครครับ คือคนที่ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ในระบบการศึกษา โอกาสไม่เท่าเทียมเรา แล้วก็ในเรื่องของหลักคิดอะไรต่าง ๆ ต่างกันไปหมด เพราะฉะนั้นเรานี่จะเป็นแกนนำในการที่จะนำพาสังคมไปข้างหน้าได้ เหมือนกับมือขวาแข็งแรงอยู่แล้ว ทำให้แข็งแรงขึ้น มือซ้ายอ่อนแอ เราก็ต้องมาช่วยกันพยุงมือซ้ายขึ้นมา มือซ้ายและมือขวาทั้งสองมือจะนำพาประเทศไปข้างหน้า สังคมไปข้างหน้า ทุกอย่างก็จะแก้ปัญหานี้ได้นะครับ
สินจัย: ต้องไปด้วยกัน
ท่านนายกฯ: ต้องไปด้วยกัน คือสิ่งที่จะพัฒนาประเทศได้เร็วที่สุดคือการศึกษานี่แหละ
ทรงสิทธิ์: ปัญหาไหนเป็นปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดที่รัฐบาลต้องแก้ไข
ท่านนายกฯ: อันแรกก็คือการลดความเหลื่อมล้ำนี่แหละครับ สำคัญที่สุด เพราะว่าความเหลื่อมล้ำมีความเหลื่อมล้ำอะไรบ้างล่ะ โรงเรียนใหญ่ โรงเรียนเล็ก ใช่ไหม โรงเรียนที่มีชื่อเสียง เด่นดังต่าง ๆ โรงเรียนที่ยังพัฒนาได้น้อย อันนี้จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เพราะฉะนั้นเด็กนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ ถ้าโรงเรียนดี โรงเรียนดังนี่ก็จะไปได้ไกล โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ไปได้ช้า เพราะฉะนั้นต้องพัฒนาทั้งสถานศึกษา พัฒนาทั้งครู ระบบการศึกษา การคัดกรอง วันนี้เราคัดกรองด้วยอะไร ด้วยคะแนนสอบใช่ไหม เพราะฉะนั้นผมคิดว่าไม่เพียงพอ การคัดกรองคะแนนสอบต้องมาตรฐานเท่ากันก่อน ถึงจะคัดกรองด้วยข้อสอบเดียวกันได้ ผมคิดอย่างนั้นนะ วันนี้เราใช้ข้อสอบทั่วประเทศ บางทีก็คัดกรองเด็กที่มีพื้นฐานต่างกันนี่ ทำอย่างไรกับเขาล่ะ ตัดโอกาสเขาหรือเปล่า เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นหัวข้อปัจจัยในการพิจารณา สิ่งสำคัญที่สุดในระบบการศึกษาคือครู ครูต้องเรียนรู้ไปกับเด็ก วันนี้ครูก็ไปเรียนต่างประเทศมา ไปเรียน ไปร่วมมือ ไปสัมมนา เสวนา อะไรกันเยอะแยะไปหมด แต่ทุกคนต้องอัพเกรดตัวเองขึ้นมาให้ได้ ต้องเป็นครูให้เหมาะกับศตวรรษที่ 21 เหมือนกับนักเรียนศตวรรษที่ 21 เข้าใจไหม เรากำลังเตรียมคนเพื่ออนาคต 20 ปีข้างหน้าของพวกเราอย่างไรล่ะ
สินจัย: เด็ก ๆ มีอะไรที่อยากจะถาม
ท่านนายกฯ: มีอะไรไหม เชิญจ๊ะ
ทรงสิทธิ์: เชิญเลยครับ ยกมือแล้ว
ตะวัน แซ่วุ่น: มีคำถามครับคือในปัจจุบันมีการผลิตนักวิทยาศาสตร์ มีการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ออกมามากมายครับ ผมอยากทราบว่าในอนาคตอย่างนี้ จะมีตลาดแรงงานที่รองรับคนที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะไหมครับ
ท่านนายกฯ: คำถามนี้น่าสนใจ เขากลัวว่าเรียนจบไปแล้วไม่มีงานทำใช่ไหม ก่อนอื่นลูกไปดูสิว่า วันนี้รัฐบาลก็เร่งรัดในเรื่องของกระทรวงแรงงานให้ไปหา Demand มาสิ ว่าวันนี้ภาคเอกชน ธุรกิจต่าง ๆ เขาต้องการอะไรบ้าง ภาครัฐต้องการอะไรบ้าง เราต้องการให้ข้าราชการดี ๆ ข้าราชการที่เก่ง แล้วก็มีความรู้ความสามารถ ขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็ต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EEC 3 จังหวัดนี่ต้องการมากขึ้น เป็นหมื่นรายนะ เป็นหมื่นคน เราต้องศึกษาเรียนรู้ว่านี่คือความต้องการของประเทศของเรา ถ้าเราเปิดในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่รัฐบาลออกไปเยอะมากขณะนี้ อยากจะรู้งานของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เขาต้องการคนแบบไหน ต้องการการบริการเท่าไร ต้องการนักวิทยาศาสตร์เท่าไร ต้องการนักวิจัยเท่าไร จะได้เป็นการกำหนดว่าเราชอบตรงไหน แล้วเราก็เรียนตรงนั้นไป นี่หางานทำได้ทันที โดยเฉพาะการเรียนที่เกี่ยวกับ Data นะ ข้อมูลนี่ไม่ค่อยได้เรียนกันหรอก เราขาดคนพวกนี้เยอะมากนะ ข้อมูล ในเมื่อเราจะจัดตั้ง Big Data ขึ้นมา เราต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้นะ แต่ลุงเตรียมไว้ให้แล้วนะ สอดคล้องพอดีกับลูกนะ เพราะเราวางแผน 5 ปี ยุทธศาสตร์ช่วงแรก 61 - 64 เข้าใจไหม ช่วงที่ 2 ก็เป็น 65 - 69 ทีละ 5 ปี ๆๆ เพื่อตอบสนอง รองรับพวกเราทุกคน
ทรงสิทธิ์: มามองดูแล้วตลาดมีอะไรนะครับ แล้วก็ไปหาดูว่าเราชอบอะไรด้วย เอาล่ะครับ ต่อไปมีใครจะถามอะไรอีกไหมครับ
อภิชญา ตั้งวงศ์กิจศิริ: ค่ะ หนู อภิชญา ตั้งวงศ์กิจศิริ นะคะขอเรียนถามท่านนายกฯ ค่ะว่าท่านนายกฯ มีแนวทางในการเพิ่มความปลอดภัย แล้วก็อำนวยความสะดวกให้กับการสอบระดับประเทศอย่างไรบ้างคะ
ท่านนายกฯ: อ๋อ คงเป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ใช่ไหม
สินจัย: ล่าสุดใช่ไหมคะ
ท่านนายกฯ: สิ่งที่เรามีอยู่แล้วคืออะไร คือกฎหมาย กฎหมายทุกอันมีอยู่ทุกตัวลูก ลุงแทบไม่ต้องไปทำกฎหมายใหม่ เรื่องเหล่านี้ คดีอาญา คดีแพ่ง มีหมดแล้ว แต่ทุกคนมักจะละเมิดกฎหมาย เพราะ ขาดจิตสำนึก จิตสำนึกเหล่านี้เกิดขึ้นจากอะไร การศึกษา แล้วการศึกษาไม่ใช่เฉพาะจะไปสอบให้ได้ สอบให้ผ่าน ได้คะแนนดี ๆ อันนี้ศึกษาด้วยตัวเองได้อยู่แล้ว สร้างจิตใจให้เป็นคนที่มีคุณธรรม รู้อะไรดี อะไรไม่ดี ถ้าจะไปรบกวนคนสอบนี่ ต้องมีจิตสำนึกว่าจะดีไหม เสียงดัง เขากำลังสอบอยู่นี่ได้ไหม เข้าใจไหม อันนี้ก็จะทำของตัวเอง โน่นเขาก็จะทำของเขา หาตรงกลางไม่ได้ ต้องอยู่ที่ความยับยั้งชั่งใจ ถ้าจะบอกให้ลุงใช้กฎหมายหรือ ก็ใช้แต่กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้ดำเนินการทุกกฎหมายที่มีอยู่ เขาทำความผิดมานะ เราต้องไปดูเหมือนกันว่าบางที่ก็ทำให้ทุกคนขาดโอกาสอะไรพอสมควร แต่ทำให้สังคมเป็นแบบนี้ไม่ได้ เข้าใจไหม ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เหล่านี้แก้ด้วยอะไร ด้วยการศึกษา ถ้าไม่ได้รับการสอนในโรงเรียนนะ ไม่มีคิดออก นี่เขาถึงต้องสอนวัฒนธรรม ประเพณี อัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ ศีลธรรม เหล่านี้คือความเป็นไทยของเราทุกคน แล้วนี่คือทำให้สังคมสงบสุข
สินจัย: ต้องช่วยกันนะคะ เมื่อกี้เห็นมีน้องด้านหลังอีกคนเชิญค่ะ
ธชธน ลีละวัฒน์: ผม นายธชธน ลีละวัฒน์ นะครับ ถ้าหากว่าท่านนายกฯ พบว่าผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาท่านนายกฯ นั้นมีการทุจริต ท่านนายกฯ จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร และทำไมถึงใช้วิธีนั้นครับ
ท่านนายกฯ: การที่กำจัดการทุจริตนี่ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีการร้องเรียน ร้องทุกข์ กล่าวโทษ ถ้าพูดกันอยู่ในโซเชียล มีเดีย อย่างเดียว ทำอะไรลำบาก เพราะหลักฐานไม่มี เพราะฉะนั้นก็ไม่เป็นธรรมเหมือนกันนะ เพราะฉะนั้นกระบวนการยุติธรรมเราก็ว่ากันด้วยพยานบุคคลหรือวัตถุพยาน ใช่ไหมลูก อันนี้คนเขาก็ไม่กล้าแจ้ง ถ้าแจ้งอย่างนี้ รัฐบาลก็นโยบายของเรานี่คือปกปิดให้ ถ้ามาแจ้งแล้วเอาหลักฐานให้เรา วันนี้เราก็สอบทุกอันนะลูก ในเรื่องของที่ร้องเรียนมา บางทีเขาร้องกับหน่วยงานแล้วบางทีไม่ได้คำตอบ ร้องถึงนายกฯ เขียนจดหมาย เขียนอะไรมา แต่ลงชื่อมาให้เราด้วยนะ แล้วเราก็ปกปิดให้ แล้วก็สั่งสอบ แล้วก็ต้องแก้กันตั้งแต่เด็ก วันนี้เราก็มีการเรียนการสอนในเรื่องของการโตไปไม่โกง นี่จะช่วยเราได้มาก สังคมต้องช่วยกัน ถ้าเราปลูกฝังเหล่านี้ได้ สังคมจะไม่เกิดขึ้น การบังคับใช้กฎหมายก็จะลดลง เข้าใจไหม วันนี้ต้องการให้มีกฎหมายซึ่งเยอะ ลงโทษหนัก ๆ แล้วเราก็บังคับใช้ไม่ได้ เพราะแรงเกินไป ต้องหากฎหมายที่ทำให้ทุกคนปรองดอง แต่จะต้องรักษากฎเกณฑ์ของสังคมให้ได้ โอเคไหม
ทรงสิทธิ์: ท่านนายกฯ ครับ โรงเรียนกำเนิดวิทย์นี่ถือว่าเป็นโรงเรียนต้นแบบของเอกชน ไม่ทราบว่าโรงเรียนของรัฐนี่จะมีโรงเรียนต้นแบบ แบบนี้เหมือนกันไหมครับ
ท่านนายกฯ: มีอยู่แล้วนะ หลาย ๆ พื้นที่ โรงเรียนมหิดลฯ ก็มี โรงเรียนจุฬาภรณ์ฯ ก็มี วปว. ก็มีราชภัฏฯ วันนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ความสำคัญในเรื่องสถาบันราชภัฏ พัฒนาท้องถิ่นนะ นี่แหละคือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งไปร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตัวเอง สร้างบุคลากร สร้างคนของเราโดยการพัฒนาประเทศ ในพื้นที่ที่แต่ละมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ เรามีมหาวิทยาลัยเอกชนเยอะแยะไปหมด วันนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก็มี ใช่ไหม ที่เป็นหน่วยงานให้ภาคเอกชน นักศึกษา SMEs, Start up มาเจอกัน ทำมา 3 ปีแล้วนะ นี่คือโรงเรียน เป็นมหาวิทยาลัยข้างนอก ที่นอกจากโรงเรียนที่นี่แล้วนะ แล้วมีอะไรอีกล่ะ ที่เขาทำไปที่ภาคใต้นะ ภาคใต้ตอนบน มีที่นำร่อง คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา นำร่องที่ระยอง ศรีสะเกษ และสตูล มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการศึกษาใหม่ทั้งหมด เปลี่ยน ผอ. เป็นครูใหญ่ มาทำหน้าที่หัวหน้าครู หัวหน้าฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำการจัดการศึกษาในโรงเรียน ระหว่างที่ครูสอนจะอัดวีดิโอไว้ เอามาเปิดให้ครู ครูใหญ่ นักเรียน ผู้ปกครอง ช่วยกันดูว่าเอาแบบไหนถึงจะดี สนุก ได้ความรู้ และปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสม มีการประเมินผล ทั้ง 2 ด้าน
สินจัย: จะมีใครมีคำถามเพิ่มไหมคะ
สุพัฒน์พงษ์ จันทร์วัฒน์ : อยากทราบว่า ท่านนายกรัฐมนตรีจะมีวิธีการอย่างไรที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคคลที่มีต่อการศึกษาในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือหลาย ๆ คน มองว่าวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อและก็ไม่ได้ใช้ต่อในชีวิตประจำวัน ก็เลยอยากทราบว่าท่านจะทำให้คนพวกนี้ปรับเปลี่ยนมุมมองได้อย่างไร
ท่านนายกฯ: ที่ลุงพูดมาตรงนี้ก็คือวันนี้เราให้ความสำคัญของการศึกษา และให้การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ถูกไหมละ และนักวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างนวัตกรรม นำเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาประเทศ แต่ก่อนคนเรียนพวกนี้ไม่ค่อยสนใจใช่ไหม เพราะเราไม่ได้สร้างงานไว้ให้เขา ไม่มี EEC ไม่มีต่าง ๆ เราใช้ประโยชน์จากของเดิมมาเป็นสิบ ๆ ปี ที่เคยรุ่งโรจน์มาวันนี้คงสภาพแล้วละ เราถึงต้องสร้างกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา EEC ขึ้นมา และก็มีการสร้าง EECd EECi ใช่ไหม เรื่องของการใช้ประโยชน์จากการนักวิทยาศาสตร์พวกนี้ ถ้ารู้อย่างนี้เราก็อยากเรียน มีงานทำ มีความภูมิใจในงาน มีส่วนในการพัฒนาประเทศ อย่าไปเรียนอะไรที่ง่าย ๆ อะไรที่ง่าย ๆ วันหน้าลำบากหมด ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ๆ จำไว้
สินจัย: อาจารย์ใช่ไหมคะ ยินดีค่ะ
ดร. มิญช์ เมธีสุวกุล: ผมมิญช์ เมธีสุวกุล ครับ อยากจะถามท่านนายกฯ ว่า ท่านมีแนวทางอย่างไรที่จะยกระดับครูของไทยครับ
ท่านนายกฯ: อันนี้คงต้องตอบยาวเหมือนกันนะ ครูเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาของเราอยู่เหมือนกัน ใช่ไหม การที่จะลดความเหลื่อมล้ำ จะทำได้อย่างไร หลายองค์ประกอบด้วยกันนะ วันนี้เรามาดูกันก่อนว่าระบบโรงเรียนไทยเรามักจะสนับสนุนโรงเรียนใหญ่มากกว่าโรงเรียนขนาดเล็กใช่ไหมเพราะฉะนั้น นักเรียนอ่อนหรือยากจน ก็อาจจะไปรวมในโรงเรียนเดียวกัน มีฐานะที่ค่อนข้างจะอ่อน น่ะ เข้าใจไหม เพราะฉะนั้นส่วนนี้จะมีปัญหาแน่นอน ครูก็อ่อน เด็กก็อ่อน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ถ้าให้ทุนแต่นักเรียนยากจน นักเรียนอ่อน แล้วก็ไปเรียนในโรงเรียนที่ครูอ่อนเหมือนเดิม ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา ให้ทุนการเรียนอ่อนที่พูดไปสักครู่นี้นะ ทำอย่างไรจะยกระดับโรงเรียนอ่อนขึ้นมา ครูนี่จะต้องเป็นครูที่เก่ง จะถามว่ายกระดับอย่างไรไหม อันแรกคือเรื่องของปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการทำไปแล้ว
1. โครงการคูปองพัฒนาครู อันนี้ต้องไปดูด้วยเหมือนกันนะว่าเขานำหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรองมาคัดเลือกให้เหมาะสมกับบริบทของครู ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. ในปีงบประมาณ 61 ได้รับการพัฒนาไปแล้ว 279,280 คน แต่ยังไม่ครบหมดหรอก เพราะจำนวนเขาจำกัดตรงนี้
2. โครงการปรับปรุงบ้านพักครู ผมได้ให้งบประมาณในการซ่อมแซมบ้านพักครูทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2561 แล้วเสร็จไปแล้ว 7,311 หลัง
ต่อไปคือโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีเป้าหมายคัดเลือกบุคลากรเข้าร่วมโครงการ 10 รุ่นรวมทั้งสิ้น 48,374 คน คัดเลือกไปแล้วจำนวน 8 รุ่น ได้ 24,495 คน บรรจุเป็นครูไปแล้ว ปี 59 - 60 จำนวน 2 รุ่น รวม 6,371 คนนี่คือการพัฒนาคนให้ดี ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น
การเพิ่มกระจายโอกาสและคุณภาพการศึกษาทั่วถึงตั้ง 16 โครงการนะ อันนี้จะสอดคล้องกับการพัฒนาครูตรงนี้ไปด้วย โครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ก็จะต้องมีมาฝึก และผู้จบการศึกษาวางแผนกำลังพล ปี 2561 4 หลักสูตร
โรงเรียนประชารัฐอีกล่ะ กำลังพัฒนานะ โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูง อันนี้พัฒนาไปเรื่องอะไร DLTV โครงการทางไกลผ่านดาวเทียม จำนวน 15,191 แห่ง ครูทุกคน ต้องมีการพัฒนาหมด พัฒนาด้วยตัวเอง ด้วยหลักสูตร ด้วยคูปองเมื่อสักครู่แล้ว ก็พัฒนาด้วยการศึกษาจาก DLTV อย่างไร ทั้งหมดนี่คือครูทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นวันนี้ครูเราจะต้องให้มีการผลิตครูรุ่นใหม่ขึ้นมา ที่ต้องสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก ศตวรรษที่ 21 เป็นครูศตวรรษที่ 21 เหมือนกันนะ โอเคนะคุณครูนะ ขอบพระคุณ
ทรงสิทธิ์: เอาล่ะครับ วันนี้ก็ถือว่าครบถ้วนในเรื่องของการศึกษาของประเทศไทยนะครับ และวันนี้นะครับก็ต้องขอขอบพระคุณนะครับ ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอย่างสูงครับ
สินจัย: ขอบพระคุณค่ะ ก็ขอบคุณน้อง ๆ แล้วก็อาจารย์ทุกท่านด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น