อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 110/2562 ผลประชุม กช. 1/2562
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ครั้งที่ 1/2562 ณ ห้องประชุมวิเวก ปางพุฒิพงศ์ ชั้น 2 อาคารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมศึกษาเอกชน (สช.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่าที่ประชุมได้เห็นชอบการแก้ไขระเบียบและประกาศต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาเอกชนที่มีความคล่องตัว ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนว่าด้วย รางวัลพระราชทานแก่โรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง สช. ได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ และมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญของการปรับปรุงแก้ไข อาทิ คำนิยามของโรงเรียน ครู และนักเรียน, องค์ประกอบของคณะกรรมการประเมินในระดับจังหวัด และระดับภาค ตลอดจนจำนวนรางวัลพระราชทาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบให้ปรับปรุงแก้ไขประกาศและระเบียบการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ ประกอบด้วย ร่างประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกู้ยืมเงิน จากกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ...., ร่างประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกู้ยืมเงิน จากกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... และร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการบริหารกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ พ.ศ. .... อาทิ การเพิ่มเติมผู้ประเมินราคากลางค่าก่อสร้าง การปรับปรุงการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการบริหาร เป็นต้น
ในส่วนของการอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ที่ประชุมได้รับทราบการทบทวนแนวทางการดำเนินโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน โดยได้นำความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยที่กระทรวงศึกษาธิการต้องการจะเสริมสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้เข้าถึงอาหารและโภชนาการที่มีคุณภาพ สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม พร้อมนำข้อสังเกตเกี่ยวกับความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายและภารกิจของหน่วยงาน มาปรับลดความซ้ำซ้อนและภาระงบประมาณ ดังนั้น สช.จึงได้เสนอเรื่อง “การอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ที่รับเงินอุดหนุนรายบุคคลระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา” ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป เพิ่มเติมอีกจำนวน 1,119,142 คน เป็นเงินงบประมาณ 4,476,568,000 บาทต่อปี พร้อมจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 9 คณะ ได้แก่
1) คณะอนุกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนฝ่ายกฎหมาย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นที่ปรึกษา, นายศิลปะชัย หอมทรัพย์ เป็นประธานอนุกรรมการ และมีหัวหน้ากลุ่มนิติการ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะด้านกฎหมายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พิจารณาร่างกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติ ตลอดจนวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการโรงเรียนเอกชน
2) คณะอนุกรรมการการพัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน โดยมีนายอำนาจ วิชยานุวัติ และนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางสาวพรพิมล เจริญ เป็นประธานอนุกรรมการ และหัวหน้ากลุ่มนิติการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่วิเคราะห์ระเบียบและกฎหมายที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงและกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ, พัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของระเบียบและกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
3) คณะอนุกรรมการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นที่ปรึกษา, นายพิพัตน์ เสนาพิทักษ์กุล เป็นประธานอนุกรรมการ และนางภัทราพรรณ เล็งวัฒนากิจ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการส่งเสริมสถานศึกษา การกำหนดมาตรการช่วยเหลือ และการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเอกชน ตลอดจนการประกันคุณภาพการศึกษา สื่อและนวัตกรรม และการส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา พร้อมทั้งแต่งตั้งทำงานเพื่อพิจารณา
4) คณะอนุกรรมการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนประเภทนานาชาติ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางภัทราดา ยมนาค เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสุมิตรา ทองแสง เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นในการส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนประเภทนานาชาติ, การกำหนดมาตรฐานและการพัฒนาหลักสูตร, แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์ และเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและงานด้านวิชาการ
5) คณะอนุกรรมการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนนอกระบบ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางวัชรี ปรัชญานุสรณ์ เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสาววราภรณ์ สุวรรณศิริ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมสถานศึกษา การจัดตั้งและจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ตลอดจนพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา และด้านวิชาการ รวมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
6) คณะอนุกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาเอกชน โดยมีนายพีระ รัตนวิจิตร และนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางสันธยา ดารารัตน์ เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสาวปริยาพร ญาณะชัย เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางและแผนการพัฒนา ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการ, ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรการศึกษาเอกชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้า สวัสดิการ สวัสดิภาพ และแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
7) คณะอนุกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ โดยมีเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นที่ปรึกษา, นายพะโยม ชิณวงศ์ เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสาวนภลภัส รัตนกิจ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อผู้มีความสามารถพิเศษ ผู้พิการ ผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ตลอดจนการกำหนดมาตรการ ช่วยเหลือและสนับสนุน และแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์และเสนอความเห็น
8) คณะอนุกรรมการการพัฒนานโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางเพชรชุดา เกษประยูร เป็นประธานอนุกรรมการ และนางอาภรณ์ วงศ์อนันต์กิจ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน รองรับการเปลี่ยนแปลงและทิศทางการพัฒนาประเทศ แนวทางการจัดสรรทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา การพัฒนาคุณภาพ โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาของผู้เรียน ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
9) คณะอนุกรรมการพัฒนาการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นายปราโมทย์ แก้วสุข เป็นประธานอนุกรรมการ และนายเกรียงไกร ศิลารังษี เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา และอุปสรรค การจัดการศึกษาเอกชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้, จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาและการแก้ไขปัญหา และพิจารณากลั่นกรอง เสนอความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะในการบริหารการศึกษา ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 110/2562 ผลประชุม กช. 1/2562
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ครั้งที่ 1/2562 ณ ห้องประชุมวิเวก ปางพุฒิพงศ์ ชั้น 2 อาคารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมศึกษาเอกชน (สช.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่าที่ประชุมได้เห็นชอบการแก้ไขระเบียบและประกาศต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาเอกชนที่มีความคล่องตัว ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนว่าด้วย รางวัลพระราชทานแก่โรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง สช. ได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ และมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญของการปรับปรุงแก้ไข อาทิ คำนิยามของโรงเรียน ครู และนักเรียน, องค์ประกอบของคณะกรรมการประเมินในระดับจังหวัด และระดับภาค ตลอดจนจำนวนรางวัลพระราชทาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบให้ปรับปรุงแก้ไขประกาศและระเบียบการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ ประกอบด้วย ร่างประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกู้ยืมเงิน จากกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ...., ร่างประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกู้ยืมเงิน จากกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... และร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการบริหารกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ พ.ศ. .... อาทิ การเพิ่มเติมผู้ประเมินราคากลางค่าก่อสร้าง การปรับปรุงการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการบริหาร เป็นต้น
ในส่วนของการอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ที่ประชุมได้รับทราบการทบทวนแนวทางการดำเนินโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน โดยได้นำความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยที่กระทรวงศึกษาธิการต้องการจะเสริมสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้เข้าถึงอาหารและโภชนาการที่มีคุณภาพ สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม พร้อมนำข้อสังเกตเกี่ยวกับความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายและภารกิจของหน่วยงาน มาปรับลดความซ้ำซ้อนและภาระงบประมาณ ดังนั้น สช.จึงได้เสนอเรื่อง “การอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ที่รับเงินอุดหนุนรายบุคคลระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา” ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป เพิ่มเติมอีกจำนวน 1,119,142 คน เป็นเงินงบประมาณ 4,476,568,000 บาทต่อปี พร้อมจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 9 คณะ ได้แก่
1) คณะอนุกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนฝ่ายกฎหมาย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นที่ปรึกษา, นายศิลปะชัย หอมทรัพย์ เป็นประธานอนุกรรมการ และมีหัวหน้ากลุ่มนิติการ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะด้านกฎหมายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พิจารณาร่างกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติ ตลอดจนวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการโรงเรียนเอกชน
2) คณะอนุกรรมการการพัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน โดยมีนายอำนาจ วิชยานุวัติ และนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางสาวพรพิมล เจริญ เป็นประธานอนุกรรมการ และหัวหน้ากลุ่มนิติการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่วิเคราะห์ระเบียบและกฎหมายที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงและกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ, พัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของระเบียบและกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
3) คณะอนุกรรมการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นที่ปรึกษา, นายพิพัตน์ เสนาพิทักษ์กุล เป็นประธานอนุกรรมการ และนางภัทราพรรณ เล็งวัฒนากิจ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการส่งเสริมสถานศึกษา การกำหนดมาตรการช่วยเหลือ และการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเอกชน ตลอดจนการประกันคุณภาพการศึกษา สื่อและนวัตกรรม และการส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา พร้อมทั้งแต่งตั้งทำงานเพื่อพิจารณา
4) คณะอนุกรรมการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนประเภทนานาชาติ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางภัทราดา ยมนาค เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสุมิตรา ทองแสง เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นในการส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนประเภทนานาชาติ, การกำหนดมาตรฐานและการพัฒนาหลักสูตร, แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์ และเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและงานด้านวิชาการ
5) คณะอนุกรรมการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนนอกระบบ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางวัชรี ปรัชญานุสรณ์ เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสาววราภรณ์ สุวรรณศิริ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมสถานศึกษา การจัดตั้งและจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ตลอดจนพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา และด้านวิชาการ รวมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
6) คณะอนุกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาเอกชน โดยมีนายพีระ รัตนวิจิตร และนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางสันธยา ดารารัตน์ เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสาวปริยาพร ญาณะชัย เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางและแผนการพัฒนา ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการ, ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรการศึกษาเอกชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้า สวัสดิการ สวัสดิภาพ และแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
7) คณะอนุกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ โดยมีเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นที่ปรึกษา, นายพะโยม ชิณวงศ์ เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสาวนภลภัส รัตนกิจ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อผู้มีความสามารถพิเศษ ผู้พิการ ผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ตลอดจนการกำหนดมาตรการ ช่วยเหลือและสนับสนุน และแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์และเสนอความเห็น
8) คณะอนุกรรมการการพัฒนานโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางเพชรชุดา เกษประยูร เป็นประธานอนุกรรมการ และนางอาภรณ์ วงศ์อนันต์กิจ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน รองรับการเปลี่ยนแปลงและทิศทางการพัฒนาประเทศ แนวทางการจัดสรรทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา การพัฒนาคุณภาพ โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาของผู้เรียน ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
9) คณะอนุกรรมการพัฒนาการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นายปราโมทย์ แก้วสุข เป็นประธานอนุกรรมการ และนายเกรียงไกร ศิลารังษี เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา และอุปสรรค การจัดการศึกษาเอกชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้, จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาและการแก้ไขปัญหา และพิจารณากลั่นกรอง เสนอความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะในการบริหารการศึกษา ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
2) คณะอนุกรรมการการพัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน โดยมีนายอำนาจ วิชยานุวัติ และนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางสาวพรพิมล เจริญ เป็นประธานอนุกรรมการ และหัวหน้ากลุ่มนิติการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่วิเคราะห์ระเบียบและกฎหมายที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงและกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ, พัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของระเบียบและกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
3) คณะอนุกรรมการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นที่ปรึกษา, นายพิพัตน์ เสนาพิทักษ์กุล เป็นประธานอนุกรรมการ และนางภัทราพรรณ เล็งวัฒนากิจ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการส่งเสริมสถานศึกษา การกำหนดมาตรการช่วยเหลือ และการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเอกชน ตลอดจนการประกันคุณภาพการศึกษา สื่อและนวัตกรรม และการส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา พร้อมทั้งแต่งตั้งทำงานเพื่อพิจารณา
4) คณะอนุกรรมการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนประเภทนานาชาติ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางภัทราดา ยมนาค เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสุมิตรา ทองแสง เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นในการส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนประเภทนานาชาติ, การกำหนดมาตรฐานและการพัฒนาหลักสูตร, แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์ และเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและงานด้านวิชาการ
5) คณะอนุกรรมการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนนอกระบบ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางวัชรี ปรัชญานุสรณ์ เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสาววราภรณ์ สุวรรณศิริ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมสถานศึกษา การจัดตั้งและจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ตลอดจนพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา และด้านวิชาการ รวมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
6) คณะอนุกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาเอกชน โดยมีนายพีระ รัตนวิจิตร และนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางสันธยา ดารารัตน์ เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสาวปริยาพร ญาณะชัย เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางและแผนการพัฒนา ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการ, ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรการศึกษาเอกชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้า สวัสดิการ สวัสดิภาพ และแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
7) คณะอนุกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ โดยมีเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นที่ปรึกษา, นายพะโยม ชิณวงศ์ เป็นประธานอนุกรรมการ และนางสาวนภลภัส รัตนกิจ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อผู้มีความสามารถพิเศษ ผู้พิการ ผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ตลอดจนการกำหนดมาตรการ ช่วยเหลือและสนับสนุน และแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์และเสนอความเห็น
8) คณะอนุกรรมการการพัฒนานโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นางเพชรชุดา เกษประยูร เป็นประธานอนุกรรมการ และนางอาภรณ์ วงศ์อนันต์กิจ เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน รองรับการเปลี่ยนแปลงและทิศทางการพัฒนาประเทศ แนวทางการจัดสรรทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา การพัฒนาคุณภาพ โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาของผู้เรียน ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
9) คณะอนุกรรมการพัฒนาการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม เป็นที่ปรึกษา, นายปราโมทย์ แก้วสุข เป็นประธานอนุกรรมการ และนายเกรียงไกร ศิลารังษี เป็นเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา และอุปสรรค การจัดการศึกษาเอกชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้, จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาและการแก้ไขปัญหา และพิจารณากลั่นกรอง เสนอความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะในการบริหารการศึกษา ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น