อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 91/2562 แนวทางการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการยกระดับสมรรถนะ ตามแนวทางของโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นการยกระดับสมรรถนะตามแนวทางของโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ปีการศึกษา 2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนภาคอุตสาหกรรม และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 23 แห่ง เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน
ดร.อรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่และบัณฑิตพันธุ์ใหม่ (ปี 2561-2565) และสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม (New Growth Engine) ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะรับผิดชอบการสร้างบัณฑิตในระดับอุดมศึกษา ได้ดำเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 23 แห่ง ตั้งแต่ในปี 2561 เป็นต้นมา โดยจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-degree) จำนวน 123 หลักสูตร และหลักสูตรระดับปริญญา (Degree) 99 หลักสูตร และในปี 2562 อยู่ระหว่างเตรียมการที่จะเปิดรับข้อเสนอจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมเพื่อเข้าร่วมโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้แทนภาคอุตสาหกรรม เกี่ยวกับทิศทางและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของบัณฑิตในอนาคต ตลอดจนเพื่อให้บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบหลักสูตร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดผลการเรียนรู้ นำไปสู่การออกแบบหลักสูตรที่จะช่วยยกระดับสมรรถนะ รวมทั้งกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ที่สะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนภาคอุตสาหกรรม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจากสถาบันอุดมศึกษา 23 แห่ง รวมจำนวน 200 คน โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายส่วน คือ การบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการกำหนดผลการเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติ ตลอดจนการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคอุตสาหกรรม เกี่ยวกับความคาดหวังต่อคุณลักษณะบัณฑิตในอนาคต เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปปรับใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนการปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับสมรรถนะและศักยภาพให้สูงขึ้น ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ ในขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาประเทศด้วย
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รมช.ศธ. กล่าวตอนหนึ่งว่า จากการกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ถือเป็นมิติใหม่ของการดำเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ที่เปิดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผู้ใช้กำลังคนจากโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อไปขับเคลื่อนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม (New Growth Engine) ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย เพราะที่ผ่านมาเราเพียงแต่ผลิตฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ถามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในวันนี้จึงมีความรู้สึกยินดีที่ผู้จบการศึกษาจากโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ จะมีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะขั้นสูง ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและภาคเอกชนจริง ๆ ตามที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายไว้
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ แตกต่างไปจากการเรียนการสอนทั่วไป โดยได้ปรับหลักสูตรเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เป็นเวลาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของเวลาเรียนปกติ เพื่อให้เกิดการบ่มเพาะความรู้และทักษะในสภาพแวดล้อมและบรรยายกาศการทำงานจริง ซึ่งแน่นอนว่าจะมีความแตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนหรือในมหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญคือการมีส่วนร่วมถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา ที่จะช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาได้เห็นปัญหาจากการทำงาน (Learning by Doing) จนเกิดการสั่งสมความรู้ วิธีการ และเทคนิคต่าง ๆ นำไปสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาจากการทำงานในสถานประกอบการนั้น ๆ ได้จริง
ทั้งนี้ มีความหวังว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนการเรียนรู้ระหว่างภาคอุตสาหกรรมและคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ทั้ง 23 แห่ง เพื่อออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ ที่มีความทันโลก ทันสมัย ตอบโจทย์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถยกระดับสมรรถนะผู้เรียน ที่จะออกไปเป็นกำลังคนที่มีคุณภาพ คิดค้นองค์ความรู้ บริการ และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกที่ที่ไปอยู่ ตลอดจนต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนวัตกรรม สินค้า และบริการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานความรู้ในอนาคต พาประเทศก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ต่อไป
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 91/2562 แนวทางการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการยกระดับสมรรถนะ ตามแนวทางของโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นการยกระดับสมรรถนะตามแนวทางของโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ปีการศึกษา 2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนภาคอุตสาหกรรม และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 23 แห่ง เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน
ดร.อรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่และบัณฑิตพันธุ์ใหม่ (ปี 2561-2565) และสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม (New Growth Engine) ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะรับผิดชอบการสร้างบัณฑิตในระดับอุดมศึกษา ได้ดำเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 23 แห่ง ตั้งแต่ในปี 2561 เป็นต้นมา โดยจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-degree) จำนวน 123 หลักสูตร และหลักสูตรระดับปริญญา (Degree) 99 หลักสูตร และในปี 2562 อยู่ระหว่างเตรียมการที่จะเปิดรับข้อเสนอจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมเพื่อเข้าร่วมโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้แทนภาคอุตสาหกรรม เกี่ยวกับทิศทางและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของบัณฑิตในอนาคต ตลอดจนเพื่อให้บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบหลักสูตร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดผลการเรียนรู้ นำไปสู่การออกแบบหลักสูตรที่จะช่วยยกระดับสมรรถนะ รวมทั้งกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ที่สะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนภาคอุตสาหกรรม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจากสถาบันอุดมศึกษา 23 แห่ง รวมจำนวน 200 คน โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายส่วน คือ การบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการกำหนดผลการเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติ ตลอดจนการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคอุตสาหกรรม เกี่ยวกับความคาดหวังต่อคุณลักษณะบัณฑิตในอนาคต เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปปรับใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนการปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับสมรรถนะและศักยภาพให้สูงขึ้น ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ ในขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาประเทศด้วย
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ แตกต่างไปจากการเรียนการสอนทั่วไป โดยได้ปรับหลักสูตรเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เป็นเวลาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของเวลาเรียนปกติ เพื่อให้เกิดการบ่มเพาะความรู้และทักษะในสภาพแวดล้อมและบรรยายกาศการทำงานจริง ซึ่งแน่นอนว่าจะมีความแตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนหรือในมหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญคือการมีส่วนร่วมถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา ที่จะช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาได้เห็นปัญหาจากการทำงาน (Learning by Doing) จนเกิดการสั่งสมความรู้ วิธีการ และเทคนิคต่าง ๆ นำไปสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาจากการทำงานในสถานประกอบการนั้น ๆ ได้จริง
ทั้งนี้ มีความหวังว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนการเรียนรู้ระหว่างภาคอุตสาหกรรมและคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ทั้ง 23 แห่ง เพื่อออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ ที่มีความทันโลก ทันสมัย ตอบโจทย์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถยกระดับสมรรถนะผู้เรียน ที่จะออกไปเป็นกำลังคนที่มีคุณภาพ คิดค้นองค์ความรู้ บริการ และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกที่ที่ไปอยู่ ตลอดจนต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนวัตกรรม สินค้า และบริการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานความรู้ในอนาคต พาประเทศก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น