อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 122/2562มติ ครม.ด้านการศึกษา 19 มี.ค.62
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 2 เรื่อง คือ เห็นชอบ มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ.2562-2565) โดยกำหนด ให้ ก.ค.ศ. สามารถจัดสรรอัตราว่างจากเกษียณคืนในสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไปได้ และ แต่งตั้งคณะกรรมการPISA แห่งชาติ โดย นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เป็นประธานกรรมการ
เห็นชอบมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ.2562-2565)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ข้อเสนอมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2562 – 2565) และรับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการบริหารและพัฒนากำลังภาครัฐ (พ.ศ. 2557 – 2561) ตามที่สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอ
ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการบริหารกำลังคนภาครัฐ จากมาตรการฯ ฉบับเดิม ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของส่วนราชการ ตลอดจนเพื่อให้ส่วนราชการสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนการปฏิรูปประเทศ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์ชาติ โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐที่แตกต่างจากมาตราการฯ ฉบับเดิมใน 6 ประเด็น
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากฝ่ายเลขานุการ คปร. พบว่า จากกรณีที่มาตรการฯ ฉบับเดิม กำหนดให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สามารถจัดสรรอัตราว่างฯ คืนตำแหน่งสถานศึกษาได้ ในกรณีที่มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่า 250 คน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 – 2561 ก.ค.ศ. จึงไม่สามารถจัดสรรอัตราเกษียณคืนให้กับสถานศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 250 คน รวม 11,839 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 10.50
ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษาและปัญหาการขาดแคลนครู มาตรการฯ ฉบับนี้ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ โดยกำหนดให้ ก.ค.ศ. สามารถจัดสรรอัตราว่างฯ คืนตำแหน่งในสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไปได้
อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ [โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment : PISA)] โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ
1. นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองประธานกรรมการ
3. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองประธานกรรมการ
4. รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5. นายธงชัย ชิวปรีชา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นายศรัณย์ โปษยะจินดา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
7. นางเนตรชนก วิภาตะศิลปิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
8. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรรมการ
9. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรรมการ
10. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรรมการ
11. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรรมการ
12. ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กรรมการ
13. ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการและเลขานุการ
14. ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ช่วยเลขานุการ
15. ผู้อำนวยการสำนักวิชาการวัดและประเมินผล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาของประเทศ โดยเรียนรู้ผลการทดสอบ PISAเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA ของประเทศ
2. สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศในทุกภาคส่วนให้ประสานความร่วมมือกันอย่างจริงจัง และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของประเทศ อันนำไปสู่การยกระดับผลการทดสอบ PISA ของประเทศ
3. เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมกับองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ(OECD) ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA)
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และ/หรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางที่กำหนดไว้ในข้อ 1.
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 122/2562มติ ครม.ด้านการศึกษา 19 มี.ค.62
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 2 เรื่อง คือ เห็นชอบ มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ.2562-2565) โดยกำหนด ให้ ก.ค.ศ. สามารถจัดสรรอัตราว่างจากเกษียณคืนในสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไปได้ และ แต่งตั้งคณะกรรมการPISA แห่งชาติ โดย นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เป็นประธานกรรมการ
เห็นชอบมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ.2562-2565)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ข้อเสนอมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2562 – 2565) และรับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการบริหารและพัฒนากำลังภาครัฐ (พ.ศ. 2557 – 2561) ตามที่สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอ
ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการบริหารกำลังคนภาครัฐ จากมาตรการฯ ฉบับเดิม ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของส่วนราชการ ตลอดจนเพื่อให้ส่วนราชการสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนการปฏิรูปประเทศ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์ชาติ โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐที่แตกต่างจากมาตราการฯ ฉบับเดิมใน 6 ประเด็น
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากฝ่ายเลขานุการ คปร. พบว่า จากกรณีที่มาตรการฯ ฉบับเดิม กำหนดให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สามารถจัดสรรอัตราว่างฯ คืนตำแหน่งสถานศึกษาได้ ในกรณีที่มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่า 250 คน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 – 2561 ก.ค.ศ. จึงไม่สามารถจัดสรรอัตราเกษียณคืนให้กับสถานศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 250 คน รวม 11,839 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 10.50
ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษาและปัญหาการขาดแคลนครู มาตรการฯ ฉบับนี้ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ โดยกำหนดให้ ก.ค.ศ. สามารถจัดสรรอัตราว่างฯ คืนตำแหน่งในสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไปได้
อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ [โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment : PISA)] โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ
1. นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองประธานกรรมการ
3. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองประธานกรรมการ
4. รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5. นายธงชัย ชิวปรีชา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นายศรัณย์ โปษยะจินดา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
7. นางเนตรชนก วิภาตะศิลปิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
8. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรรมการ
9. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรรมการ
10. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรรมการ
11. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรรมการ
12. ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กรรมการ
13. ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการและเลขานุการ
14. ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ช่วยเลขานุการ
15. ผู้อำนวยการสำนักวิชาการวัดและประเมินผล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาของประเทศ โดยเรียนรู้ผลการทดสอบ PISAเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA ของประเทศ
2. สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศในทุกภาคส่วนให้ประสานความร่วมมือกันอย่างจริงจัง และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของประเทศ อันนำไปสู่การยกระดับผลการทดสอบ PISA ของประเทศ
3. เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมกับองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ(OECD) ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA)
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และ/หรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางที่กำหนดไว้ในข้อ 1.
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น